“ปานเทพ” ชี้ จำเป็นต้องทวงคืนท่อก๊าซจาก ปตท. ให้เป็นของรัฐก่อนเปิดประมูลแหล่งก๊าซ “บงกช - เอราวัณ” ไม่เช่นนั้นจะได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะสามารถได้กำไรจากส่วนนี้แล้วไปดัมป์ราคาสู้กับรายอื่นได้สบาย ตั้งข้อสงสัยยึกยักไม่ยอมคืนท่อ คงหวังยื้อออกไปให้นานจนชนะประมูลก่อน
คำต่อคำ : รายการ “คนเคาะข่าว” 22 สิงหาคม 2560
เติมศักดิ์- สวัสดีครับ ขอต้อนรับสู่คนเคาะข่าว วันอังคาร ที่ 22 สิงหาคม 2560 วันนี้เราว่ากันด้วย ข้อน่ากังวลในท่าทีของรัฐ เกี่ยวกับการประมูลแหล่งก๊าซบงกชเอราวัณรอบใหม่ และก็มาทบทวนอีกครั้งนะครับว่าที่ภาคประชาชนต้องไปทวงคืนท่อก๊าซ ต้องเคลื่อนไหวเรื่องนี้มาตลอด ตกลงทวงคืนท่อก๊าซกับการประมูลแหล่งก๊าซรอบใหม่ มันเกี่ยวข้องกันอย่างไรนะครับ วันนี้สนทนากับเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทยหรือ คปท. อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ สวัสดีครับ อาจารย์ครับ
ปานเทพ- สวัสดีครับ
เติทมศักดิ์- อาจารย์ครับท่าทีของรัฐ โดยเฉพาะ ล่าสุดจากอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เกี่ยวกับทิศทาง เงื่อนไขของการประมูลแหล่งก๊าซบงกช เอราวัณรอบใหม่ มีข้อน่ากังวล ข้อน่าสงสัยอย่างไร จนอาจารย์ต้องไปเขียนบทความว่าให้ระวังปาหี่การประมูลครั้งนี้ เชิญครับอาจารย์ครับ
ปานเทพ- ครับ ก็อยากจะเรียนท่านผู้ชมและคุณเติมศักดิ์ว่า จากกรณีที่มีข่าวว่าภาครัฐโดยเฉพาะกรมเชื่อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานได้ออกมาบอกกับประชาชนว่าแหล่งปิโตรเลียมซึ่งเป็นแหล่งเอราวัณและบงกช จะใช้วิธีการประมูลในระบบแบ่งปันผลผลิตนะครับ ในข้อความนี้ก็ทำให้สื่อมวลหลงเข้าใจว่าภาคประชาชนชนะแล้วนะครับ หรือว่าทำให้ประชาชนชื่นใจจะมีบางคอลัมน์เขียนขนาดนั้นเลยหรือบางคนก็เข้าใจว่าข่าวดีครับ รัฐบาลจะดำเนินการด้วยความโปร่งใส ทั้งหมดนี้ผมเข้าใจว่าเป็นความไม่เข้าใจของสื่อมวลชน ที่ตามไม่ทันเกมส์ สิ่งที่มันเกิดขึ้นนะครับเพราะว่าสิ่งที่เราจับคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาตินี่นะครับ ทำให้เรามีความห่วงใยและมีความวิตกกังวลว่าการดำเนินการประมูลที่ชื่อว่า ประมูลแบ่งปันผลผลิตหรือว่า PSC จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของใครกันแน่ เพื่อประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์ของประชาชน หรือเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงาน กลุ่มเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นหรือไม่
เติมศักดิ์- ความสงสัยนี่มาจากคำพูดตอนไหนอย่างไรครับ
ปานเทพ- ความสงสัยข้อแรกเลยนะครับ ก็คือความสงสัยที่ว่าเขาเชื่อว่าผลการประมูลในระบบแบ่งปันผลผลิต คาดการณ์ว่ารัฐ 60 เปอร์เซ็นต์ โดยรวมแล้ว เมื่อเทียบกับโดยรวมในระบบสัมปทานเดิม เราวัดได้ 70 เปอร์เซ็นต์ นะครับ คำว่าประมูลแล้วได้ผลตอบแทนน้อย โดยยังไม่ทันประมูลเลย ประโยคแรกก็น่าเคลือบแคลงความสงสัยแล้ว ราวกับว่ามีการตั้งธงเอาไว้ก่อนและก็ประโยคที่สองที่ผมมีความเป็นห่วงก็คือว่ามีการพูดว่าราคาก๊าซจะต้องสูงขึ้น แล้วก็ต้องไปเจรจากับปตท. แต่จะให้สูงขึ้นมากจนเดือดร้อนก็ไม่ได้
เติมศักดิ์- ครับ
ปานเทพ- มีสองเรื่องนะครับ
เติมศักดิ์- ราคาขายก๊าซ
ปานเทพ- ราคาขายก๊าซจะต้องสูงขึ้น
เติมศักดิ์- ต้องสูงขึ้น
ปานเทพ- แปลว่าผู้รับผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ของเอราวัณบงกชอาจจะได้กำไรเพิ่มมากขึ้น แบ่งให้รัฐ น้อยลง
เติมศักดิ์- ครับ ผู้ชนะประมูล ใช้กำไรมากขึ้น
ปานเทพ- ผู้ชนะประมูลได้ราคาต่อหน่วยอาจจะสูงขึ้น ถ้าดูจากคำพูดนี้หรือและหรือส่วนที่จะแบ่งให้รัฐ ก็น้อยลงด้วย
เติมศักดิ์- น้อยลง
ปานเทพ- โอเค ได้ 2 ทางนี้ถือว่า ต้องถือว่าเป็นทุนต่อบริษัทเอกชนอย่างมาก ใครก็ตามที่จะชนะประมูลนะครับ แต่การที่ระบุเอาไว้ล่วงหน้าว่าผลตอบแทนรัฐ จะเหลือ 68 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับระบบสัมปทานเดิม ตรงนี้ทำให้หลายคนรู้สึกว่ามันเป็นการตอกย้ำในสิ่งที่ภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย ได้ทักท้วงมาตลอดว่า ระบบการประมูลถ้าไม่ได้มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ รัฐ ก็จะไม่สามารถนำปิโตรเลียมมาบริหารและขายด้วยตัวเองเพราะขาดองคาพยพหรือบริษัทที่ทำหน้าที่ค้าขายกิจการรายวันในกิจการพลังงาน เพราะองค์กรของรัฐอย่างกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่เขาอ้างว่าจะทำหน้าที่เป็นบรรษัทนั้น ไม่มีแผนกบัญชีของตัวเอง ไม่มีฝ่ายการตลาดของตัวเอง ไม่มีฝ่ายสต๊อกของตัวเอง แล้วก็วัสดุหรือสินทรัพย์ใด ต้องเป็นไปตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างและระเบียบว่าด้วยการพัสดุ ซึ่งต้องทำเป็นไปหลายๆ เดือน ประมูลขั้นตอนทำรายวันทำไม่ได้ เพราะกิจการของรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐ ไม่ได้มีหน้าที่มาทำการซื้อขายทางการพาณิชย์เป็นรายวันนะครับ เมื่อทำไม่ได้เขาก็จะฝากเอกชน เป็นผู้บริหารและขายปิโตรเลียมแทนรัฐฯ การที่เอกชนคู่สัญญา เป็นผู้บริหารและขายปิโตรเลียมของรัฐฯ เนื้อหาความนี้ถ้าเท่ากับวิธีการเดิมในระบบสัมปทานเดิม หมายความว่าโรงสัมปทานเดิมเมื่อก๊าซหรือน้ำมันนะครับ โผล่ขึ้นมา โดยเฉพาะแหล่งเอราวัณ บงกช เป็นแหล่งก๊าซ ก็จะมีท่อก๊าซพาดอยู่ เมื่อก่อนถ้าเราพูดถึงสัมปทาน สัมปทานหมายความว่าเอกชนนำน้ำมันหรือก๊าซมาขายให้หมดก่อน
เติมศักดิ์- ครับ
ปานเทพ- ได้เงินเท่าไหร่แบ่งให้รัฐ ตรงนี้ปหละครับสำคัญ การแบ่งเงินให้รัฐ ในภายหลัง มันมีโอกาสเกิดช่องว่าง ที่ทำให้เกิดหัวการหัวใส ที่ขายในราคาถูกๆ ให้บริษัทลูก บริษัทเครือข่าย ที่คอร์สแยก เรียกว่า แบ่งประโยชน์ข้ามไปมาและก็ขายราคาต่ำๆ เพื่อให้เมล็ดเงินกลับมาน้อยๆ แล้วก็แบ่งให้รัฐน้อยๆ พอผ่านบริษัทนั้นแล้วค่อยไปทำกำไรกับผู้ใช้จริง ไม่ว่าจะเป็นเอกชนหรือประชาชนในราคาที่แพง นี่ก็เป็นจุดอ่อนว่าด้วยเรื่องของการสูญเสียและอำนาจอธิปไตย การบริหารและการขายปิโตรเลียมให้กับเอกชน ถ้าทำแบบนี้คือระบบสัมปทาน คือระบบว่าด้วยเรื่องที่เราไม่รู้ว่าจะมีปริมาณปิโตรเลียมเท่าไร ปล่อยให้เขาลงทุน ถ้าเขาไม่เจอ ถือว่าโชคร้าย ถ้าโชคดีเราขอแบ่งด้วย แต่เป็นเมล็ดเงิน เพราะเราไม่บริหาร เราไม่ขายด้วยตัวเอง ก็แปลว่าเขากำหนดราคาทั้งสิ้น
เติมศักดิ์ - แบ่งด้วยเมล็ด ไม่ใช่แบ่งด้วยผลผลิต
ปานเทพ - ใช่ครับ ไม่มีการแบ่งด้วยผลผลิต แต่แบ่งด้วยเมล็ดเงิน การแบ่งด้วยเมล็ดเงินนี้ถ้ารัฐฯ ได้น้อย รัฐ เอกชนก็อยากขายในราคาถูกๆ แต่ถ้าผ่านมาอีกชั้นหนึ่ง อีก 2 บริษัท ผู้ขายเอาไปขายทอดในราคาแพงๆ ให้กับประชาชน คราวนี้เสีย 2 ด้านเลย คือ 1.วรัฐฐา ได้น้อย 2.ประชาชนใช้ของแพง 2 ด้าน เพราะว่าบริษัทที่ขายทอดอีกทอดหนึ่ง ก็สามารถแสวงหาผลกำไรสูงสุดได้ในกรณีน้ำมันนะครับ ที่นี่มาถึงขั้นนี้แล้วเราก็เห็นว่าการไม่มีบรรษัทแห่งชาติ เราบอกแล้วสุดท้ายมันเป็นระบบสัมปทานจำแลงหรือมันเป็นการใช้วาทกรรมว่าเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต แต่เนื้อแล้ว ฝากให้เอกชนบริหารขายปิโตรเลียมด้วยระบบสัมปทาน ระบบนี้ที่อ้างว่าเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต ประชาชน สื่อมวลชนบางแขนงดีใจ เป็นการอำพราง เพราะเนื้อแท้ยังคงบริหารขายปิโตรเลียมเหมือนระบบสัมปทาน แต่ว่าช่องโหว่ที่เราพูดถึงเมื่อสักครู่นี้มันยังคงดำรงอยู่ ภายใต้ชื่อระบบแบ่งปันผลผลิตที่มีเนื้อหาเหมือนกับระบบสัมปทาน นี่ข้อแรกเลยนะครับ ข้อที่ 2 ก็คือว่าผมตกใจที่ท่านอธิบดีบอกว่าจะมีผลตอบแทนของรัฐ 68 เปอร์เซ็นต์
เติมศักดิ์ - ตัวเลขนี้ท่านได้แต่ใดมา
ปานเทพ - ตัวเลขนี้มีความหมายเพราะอย่างนี้ครับ ในระบบสัมปทานแบบเดิมรัฐ ส่งผลวิจัยในเรื่องของเนื้องาน เมล็ดเงินมีการเจรจากฎหมายตามกำหนด หมายถึงว่าผลตอบแทนของรัฐฯ คงที่ เช่น 70 เปอร์เซ็นต์ รวมภาษีทุกอย่างแล้ว ก็ 70 จะ 68 กำหนดไว้ที่ 68 แล้วประมูลว่าใครได้คะแนนสูงสุดให้คนนั้น
เติมศักดิ์ - ตกลงใช้วิธีประกวดอีกแล้วเหรอ
ปานเทพ - นี่คือระบบสัมปทานเดิมครับ ระบบสัมปทานเดิมทำแบบนี่หมายความว่ารัฐฯ กำหนดผลตอบแทนคงที่ แล้วแข่งกันด้วยการให้คะแนน ในการใช้ดุลพินิจของกรรมการบางชุด ผมอยากจะบอกว่าวิธีการแบบนี้มันล่อแหลม ที่จะเกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ง่าย เพราะวิธีการดังกล่าวมันเป็นการให้คะแนนตามความนึกคิด ที่ตัวเองคิดว่าอะไรจะให้ใคร ยิ่งไม่เกิดการแข่งขัน ยิ่งไปกันใหญ่ เป็นการให้คะแนน แทนที่รัฐฯ จะทำหน้าที่กำหนดว่ารัฐฯ ต้องการเนื้องานขั้นต่ำเท่าไหร่ เช่น ต้องการปริมาณให้ได้แท่นเท่านั้น เท่านี้ เนื้องานต้องได้เท่านี้ตามเป้าหมาย แล้วแข่งกันที่ว่าคุณจะประมูลตอบแทนรัฐฯ สูงสุดเท่าไหร่
เติมศักดิ์ - ใครให้ผลตอบแทนต่อรัฐฯ มากที่สุด
ปานเทพ - คนนั้นก็เอาไป
เติมศักดิ์ - ก็ชนะไป มันควรจะเป็นแบบนี้
ปานเทพ - ควรจะเป็นแบบนี้ นั้นคือแบ่งผลผลิตที่แท้จริง แต่ด้วยเนื้อหาที่ไม่มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ แล้วก็ยังคิดจะไม่ประมูลอีกหรือไม่ อันนี้น่าสงสัยมาก เพราะรู้ได้ไงว่า 68 เปอร์เซ็นต์ ถ้าคุณประมูลผลตอบแทนแก่รัฐ สูงสุดจริง คุณไม่สามารถจะรู้ได้เลยว่าเขาประมูลราคาเท่าไหร่ เขาอาจจะ 68 70 หรือ 90 ก็ได้ เพราะแหล่งเอราวัณบงกชเป็นแหล่งก๊าซที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการลงทุนแท่นขุดเจาะทุกอย่างพร้อมไว้หมดแล้ว เมื่อสัมปทานหมดลงในอีก 5 ปีข้างหน้า ทรัพย์สินเหล่านี้เอกชนไม่ต้องลงทุนอีก แต่ว่าเขาแค่มาบริหารจัดการ แค่นั้น ทำให้ผลตอบแทนของรัฐ มันถึงจะน้อยลง ถ้ามีการประมูล โดยใช้ผลตอบแทนแก่รัฐ สูงสุด โดยเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน ทำให้เราสงสัยว่า ที่เราสงสัยมานาน ว่าเขาจะไม่ได้ใช้วิธีการประมูลผลตอบแทนแก่รัฐ สูงสุด อาจจะจริงหรือไม่ หรือไม่ก็ได้ เพราะว่าการที่กำหนด 68 เปอร์เซ็นต์ แล้วบอกว่าจะน้อยลงกว่าเดิม มันขัดสามัญสำนึกของคนธรรมดาทั่วไปว่า ถ้ามีการใช้กำหนดที่ 68 เปอร์เซ็นต์ ในเอราวัณบงกช ถ้าเป็นอย่างนั้น เราจะวิตกกังวลอย่างยิ่ง เพราะถ้าเท่ากับว่าการลงทุนที่รัฐฯ แทบไม่ลงทุน ลงทุนน้อยแล้ว ทั้งรัฐ และเอกชน และทรัพย์สิน กลับมาเป็นของรัฐ ทั้งหมด ทำไมผลตอบแทนของรัฐมันจึงจะน้อยลง เมื่อเทียบกับระบบสัมปทานเดิม
เติมศักดิ์ - มันควรจะมากขึ้นสิ
ปานเทพ - มันควรจะมากขึ้น
เติมศักดิ์ - ใช่ไหม ถ้าด้วยสามัญสำนึก
ปานเทพ - ใช่ครับ ผมก็คิดว่าเราควรก็จะต้องตั้งคำถามว่าคุณจะประมูลรึเปล่า ประมูลโดยตอบแทนแก่รัฐสูงสุด เป็นเกณฑ์รึเปล่า เพราะถ้าไม่ทำแบบนั้น ก็อาจจะเข้าข่ายประชาชนมีสิทธิสงสัยได้ว่าการประมูลนั่นเป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นไปด้วยผลตอบแทนแก่รัฐ สูงสุด เป็นเกณฑ์จริงหรือไม่หรือเป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจของของคนไม่กี่คน ที่ใช้ดุลยพินิจตามความรู้สึกเอาเอง หรือตามประสบการณ์ของตัวเอง ซึ่งไม่ควรจะเป็นเกมแบบนี้ ถ้าเราต้องการเดิมพัน แหล่งปิโตรเลี่ยมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานลง ทั้งเอราวัณและบงกช
เติมศักดิ์- น่าสงสัยว่า ตกลงการแข่งขันการประมูลรอบใหม่ 2 แหล่งจะเสรี โปร่งใส เป็นธรรมหรือเปล่า
ปานเทพ- เพราะถ้าไม่เป็นธรรม เราอุตส่าห์รอมาหลายสิบปี กลัวแหล่งสัมปานเหล่านี้จะหมดอายุลง หมดอายุสัญญาสัมปทาน แต่มีแหล่งก๊าซอย่างมหาศาล ถ้าเราไม่มีโอกาสทำให้เกิดการประมูลอย่างโปร่งใส เสรี เป็นธรรม 3 คำนี้สำคัญนะครับ ถ้าทำไม่ได้แปลว่าคนรุ่นเราทั้งหมด สูญเสียโอกาสครั้งสำคัญ สร้างความมั่งคั่งกับลูกหลานได้ในอนาคต เพราะเรารู้อยู่แก่ใจว่า อีกไม่นานไม่เกิดทศวรรษนี้ โลกทั้งโลกหันมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หมายความว่า แหล่งพลังงานที่มาจากน้ำมัน จะเริ่มน้องลง พลังงานจะสะอาดขึ้น และทุกคนต้องการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น เราต้องการผลิตทั้งโซล่าเซลล์ พลังงานลง แต่อย่างไรก็แล้วแต่พลังงานจากก๊าซ ยังเป็นพลังงานสำคัญในการผลิตไฟฟ้าอยู่ดี โดยเฉพาะประเทศไทย
เติมศักดิ์- เป็นแหล่งพลังงานหลัก
ปานเทพ-แหล่งพลังงานหลักสำคัญอยู่ ดังนั้นไม่ควรพลาดโอกาสในการปล่อย ทำให้ไม่เกิดการประมูลที่จะดึงผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดมาเป็นเกณฑ์ มีคนทักท้วงบอกว่า ในเมื่อพลังงานจากฟอสซิลทั้งหมด กำลังหายไปจากโลกนี้ ทำไมเราไม่รีบประเคนไปให้เร็วที่สุด ราคาเท่าไร ราคาจะดิ่งลงไปเรื่อยๆ ผมอยากบอกว่าความคิดแบบนี้ไม่ถูก เพราะมันจะมีราคาหรือไม่ เราควรประมูลแข่งขันกับเอกชน ไม่ใช่รัฐเป็นห่วงแทนเอกชน เอกชนคิดได้เองว่าราคาเท่าไรในอนาคต มันจะขึ้นหรือลง หรือมันมีอนาคตที่เป็นพลังงานหลักหรือไม่ ไม่ใช่รัฐอยากประเคนให้เขา โดยเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น ถ้าแหล่งสัมปทานนั้นเป็นแหล่งที่มีศักยภาพขายอยู่จริง ผลิตอยู่จริง ลงทุนหมดแล้ว รัฐไม่ต้องลงทุนในทรัพย์สินเหล่านี้แล้ว ควรต้องประมูลอย่างโปร่งใส การกำหนดว่าจะได้ 68 เปอร์เซนต์ ผมหวั่นวิตกเหมือนกับพี่น้องประชาชนจำนวนมากว่า มีการประมูลอย่างโปร่งใสเป็นธรรมจริงหรือไม่
เติมศักดิ์- และสังคมมีสิทธิ์สงสัย มีการฮั้วกัน หรือมีการล็อกสเปกกัน จนกระทั่งรู้ล่วงหน้า ว่าจะได้ 68 เปอร์เซนต์
ปานเทพ- ถูกต้องครับ น้อยกว่าเดิมไม่สมเหตุสมผลเลย ที่สำคัญคือ มีคำสัมภาษณ์ว่า ราคาที่ซื้อต่อไปจะแพงขึ้น
เติมศักดิ์- ราคาที่จะขายก๊าซธรรมชาติ เราจะประมูลได้แล้ว ขายไป
ปานเทพ- เวลาเอกชนที่จะขายให้รัฐ ขายในราคาที่สูงขึ้นกำลังชั่งน้ำหนักอยู่ อ้างว่าแบบนั้นครับ จะเทียบน้ำมันเตาหรือเเอลเอ็นจี ผมอยากบอกว่าในความคิดอิงราคาอะไร กำหนดสูตรควรเลิกได้แล้ว เพราะมันมีคนได้คนเสีย การกำหนดสูตร
เติมศักดิ์- ขยายความนิดนึงครับ
ปานเทพ- ปกติการแข่งขันอะไรก็ตาม ควรสร้างกำหนดกติกาให้ชัดเจน แม้แหล่งที่ผลิตได้ ใครอยากได้ ควรประมูลแข่งขันกัน ตามหลัก คนสงสัยว่าแบบนี้คนประมูลไปราคาแพง เดี๋ยวประชาชนเดือดร้อน ไม่ครับ เราต้องกำหนดว่า สมมุติประชาชนได้ราคาเท่าไร คุณประมูลราคาเท่าไร อย่างนี้เรากำหนดราคาผู้บริโภคได้โดยตรงว่า ไม่เกินเท่าไร
เติมศักดิ์- ถ้าจะขายให้ผู้บริโภค ขายในเกณฑ์ที่เท่าไร ถูกไหมครับ เพื่อนำไปสู่ตัวเลขการประมูลได้ ซื้อในราคาเท่าไร
ปานเทพ- แต่ไม่ใช่ให้เขา และบอกราคาสูงขึ้น เท่ากับว่าไม่เกิดการแข่งขันอย่างสมบูรณ์
เติมศักดิ์- แปลว่าเอาราคาที่ขายให้ประชาชนผู้บริโภคเป็นตัวตั้ง
ปานเทพ- และต้องมีอะไรสักอย่างในการประมูล เหลือกำไรเท่าไร เท่ากับว่าประชาชนไม่เดือดร้อน การประมูลเกิดการแข่งขันอย่างสูงสุด กำหนดสูตรเอาควรอิงราคาเท่าไรดี ที่สำคัญไม่ประมูลเพราะเป็นการเจรจากับเจ้าเดียว คือ ปตท.จำกัด (มหาชน) ตามคำสัมภาษณ์ของอธิบดี เพราะแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ เรามีท่อก๊าซเชื่อมท่อก๊าซจากหน้าปากหลุมเลย ขึ้นฝั่งที่โรงแยกก๊าซ แปลว่าท่อตกเป็นของเอกชนรายใดรายหนึ่ง และมาประมูลด้วย ผมถามว่าเกิดความเป็นธรรมการประมูลจริงหรือเปล่า
เติมศักดิ์- ผู้ถือกรรมสิทธิ์ท่อ กับผู้มาประมูลแหล่งก๊าซ เกิดเป็นคนเดียวกัน
ปานเทพ- หรือเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งวันนี้ประกาศแล้วว่าบริษัทที่ถือท่อคือ ปตท. บริษัทที่จะประมูลคือ ปตท.สผ. บริษัทลูกของคนที่ถือท่อก๊าซ ผมถามว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น คำตอบคือ ถ้าไม่ชัดเจนการใช้ท่อเป็นกรรมสิทธิ์ของ ปตท. เอกชนรายอื่นต้องสร้างท่อเอง การประมูลไม่เกิดความเป็นธรรมแล้ว ภาคประชาชนเห็นว่าทวงคืนท่อก๊าซ เพราะเห็นว่าท่อก๊าซที่จริงแล้วเป็นตัวกำหนดว่าแหล่งเอราวัณที่จะหมดอายุสัมปทาน ประมูลปราศจากการแข่งขัน หรือเกิดการแข่งขันหรือไม่ ขึ้นอยู่กับใครถือท่อก๊าซ เช่น รัฐเป็นผู้ถือท่อก๊าซทั้งหมด แปลว่า รัฐ 100 เปอร์เซนต์ ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ประมูล รัฐมีหน้าที่กำหนดค่าผ่านท่อเป็นเท่าไร ถึงประชาชนเท่าไร ไม่มีใครเป็นเจ้าของนะครับ รัฐเป็นเจ้าของ 100 เปอร์เซนต์ เช่น มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ รัฐถือหุ้น 100 เปอร์เซนต์ ท่อก๊าซถือได้ แต่เป็นเอกชนรายใดรายหนึ่งที่เป็นบริษัทจำกัดมหาชน เขาต้องแสวงหาผลกำไรเป็นตัวตั้ง โดยธรรมชาติอยู่แล้ว เราเข้าใจได้ แต่ประชาชนเดือดร้อนไหม พอถึงปลายทาง แม้มีคณะกรรมการคอยกำกับดูแล แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลกำไรเป็นคนถือท่อ เอื้อประโยชน์ให้บริษัทใดบริษัทหนึ่ง ดังนั้นท่อเป็นของรัฐ 100 เปอร์เซนต์ แปลว่าทุกคนมีเงื่อนไขเหมือนกันหมด 1.รัฐกำหนดให้ทุกรายมีสิทธิ์ใช้ท่อได้ อันนี้ข้อเเรก
เติมศักดิ์- ครับ มีความเสมอภาคกัน ในการเข้าถึงท่อก๊าซ
ปานเทพ- เหมือนมีสายไฟ การไฟฟ้าถ้าไม่ส่งสายไฟไปยังโซลาร์รูฟ หรือพลังงานแสงอาทิตย์ตามหลังคา เราจ่ายไฟไม่ได้เหมือนกัน ท่อก๊าซเหมือนกัน ซึ่งรัฐเป็นเจ้าของ วางอยู่แล้ว กำหนดเป็นของรัฐ แล้วอนุญาตให้ทุกรายใช้ได้ ต่อท่อแขนงเชื่อมได้ ในราคาเท่าไร อย่างไร และทุกรายเสมอภาคกัน โดยที่ไม่เกิดอุปสรรครายใดรายหนึ่งเสียเปรียบ แบบนี้เกิดการแข่งขันสมบูรณ์ หรือ ถ้ามีรายใดรายหนึ่งเป็นเจ้าของ อาจเกิดเหตุการณ์เขาดัมพ์**ราคาสู้ ชนะการประมูล แต่กำไรค่าท่อไม่เป็นธรรมอยู่ดี เพราะสุดท้ายคุณทำให้เกิดการได้รับประโยชน์เหนือกว่าเอกชนรายอื่น เพียงเพราะว่าคุณได้กำไรถ่ายมาแล้ว อยู่ในท่อก๊าซ เลยสามารถดัมพ์ราคาสู้กับรายอื่น สุดท้ายเราไม่สามารถเห็นการประมูลอย่างแท้จริงได้อยู่ดี
เติมศักดิ์- หมายความว่าใครถือกรรมสิทธิ์ในท่อก๊าซ ย่อมมีผลต่อการแข่งขัน ในการแข่งขันประมูลได้ราคาให้รายได้ต่อรัฐสูงสุดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตรงนี้ด้วยใช่ไหมครับ
ปานเทพ- ถูกต้องครับ เพราะท่อเป็นของรัฐ รัฐได้กำไรค่าท่อเป็นของรัฐ ไม่ได้แบ่งให้ใคร แต่ถ้าเป็นเอกชนรายใดรายหนึ่ง เขามีกำไรจากท่อก๊าซมากกว่าเอกชนรายอื่น และเขาดัมพ์ราคาเวลาประมูล ในการผลิตปิโตรเลี่ยม ผลสุดท้ายคือ รัฐได้กำไรน้อยลง หรือผลตอบแทนแก่รัฐน้อยลง เพราะเขาสามารถดัมพ์ราคา เขาดึงกำไรจากท่อไป ลักษณะแบบนี้ผมรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม ถ้าเราทวงท่อไม่ทันอันตราย โดยเฉพาะทวงไม่ทันก่อนการประมูลแล้ว จะมีคนกล้าแข่งขันอย่างสมบูรณ์จริงหรือไม่ เป็นคำถามข้อใหญ่ แต่ถ้าทวงเวลาตอนนี้ ทวงเวลาเป็นปีแล้ว เพราะเราทวงจนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดืนว่าต้องคืนท่อ กี่วันในกี่วัน ตอนนี้เกินร้อยวันแล้ว ต่ออีก 60 วันยังไม่คืนอีก ผมวิตกว่า มันเป็นแผนการหรือไม่ ที่ต้องการคงสภาพท่อให้เป็นบริษัท ปตท. จนเกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบในการประมูลจนเสร็จสิ้นแล้ว คิดจะคืนท่อค่อยคืนภายหลัง
เติมศักดิ์- หลังจากผ่านการประมูลหมดแล้ว
ปานเทพ- จนรู้ผู้ชนะแล้ว ผมคิดว่าไม่น่าเป็นธรรมนะครับกับผู้แข่งขันรายอื่น ผมคิดว่า ทำไมเกมถึงยืดเยื้อเรื่องท่อก๊าซ เพราะผมรู้สึกว่า เขากำลังต้องการยื้อออกไปให้นานที่สุด จนกระทั่งประมูลได้รับผู้ชนะดั่งใจแล้ว จะปล่อยไม่ปล่อยอีกเรื่องหนึ่งแล้ว
เติมศักดิ์- คือที่มาที่ทำให้ คปพ. ต้องยื่นหนังสือจาก คตง. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปานเทพ- สัมพันธ์กันอย่างยิ่งเลย มีความเชื่อมโยงกัน เดิมพันครั้งสำคัญด้วย 1.ไม่มีบรรษัททำหน้าที่ เอาอำนาจการบริหารและการขายปิโตรเลี่ยม มาเป็นของรัฐ 100 เปอร์เซนต์ ถามมีประโยชน์ตรงไหน ไม่กลัวการทุจริตเหรอ ไม่กลัวครับมาถึงตรงนี้ ประมูลการแข่งขัน น้ำมันที่ได้ก็ประมูล ท่อก๊าซที่ได้ก็ประมูล กำหนดการประมูลที่แข่งขัน ไม่ต้องทำเองทุกเรื่อง เราสามารถเป็นตัวกลางประมูล เหมือนกับ กสทช.ที่ประมูลคลื่นความถี่ครับ แบบเดียวกัน
เติมศักดิ์- ซึ่งสังคมย่อมมีสิทธิ์สงสัยว่า อย่างนี้เอง ทำไมเขาไม่ยอมถึงใส่เรื่องบรรษัท
ปานเทพ- พอไม่มีบรรษัททำไม่ได้ ต้องฝากเอกชนช่วยขาย ช่วยบริหารแทนรัฐ เขาจะขายราคาเท่าไร เรารอรายงานตัวเลข มันขาดอำนาจอธิปไตยการบริหารและขายปิโตรเลียม และทำให้สภาพบังคับให้นับปริมาณปิโตรเลี่ยมทุกหยดหายไป กลายเป็นการรอรายงานจากเอกชนหลังการขาย มันต่างกันมากนะครับ ในการยึดเรื่องกรรมสิทธิ์ เป็นของใคร ปริมาณปิโตรเลียมสำคัญอย่างยิ่ง
เติมศักดิ์- เป็นเรื่องที่ภาคประชาชนต่อสู้มาโดยตลอดว่ากรรมสิทธิ์ ต้องตกเป็นของรัฐก่อน
ปานเทพ- 1.ว่าด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์ไม่มีบรรษัทก็ขาดกรรมสิทธ์อำนาจอธิปไตยในการบริหารและขายปิโตเลียม 2.วิธีการประมูลราวกับว่าทำให้ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยตกลง จะให้วิธีประมูลหรือประกวดนางงาม ประมูลหมายถึงประมูลแข่งขันเม็ดปริมาณปิโตรเลียมว่าแบ่งให้รัฐกี่เปอร์เซ็นต์ หรือจะกำหนดปริมาณปิโตรเลียมที่ให้รัฐจะได้เปอร์เซ็นต์ให้ลดลงด้วย แล้วคุณประมูลตามเนื้องานและให้คะแนนตามเนื้อคณะกรรมการไม่กี่คน ผมว่าเรื่องการประมูล สำคัญมากเป็นเดิมพันครั้งสำคัญ
เติมศักดิ์- มันไม่มีเกณฑ์ที่โปร่งใสจับต้องได้
ปานเทพ- มันอาจมีเกณฑ์ที่โปร่งใส แต่เป็นการใช้ดุลพินิจในการให้คะแนนอยู่ดี มันไม่ได้เอาเม็ดเงินประมูลมันไม่เหมือน e-Auction (อีอ็อคชั่น) บิดไปเรื่อยๆ ประมูลไปเรื่อยๆ สู้กันไปเท่าไหร่ แล้วจะได้กลับมาเป็นของเอกชนนะ สู้กันอย่างนี้เม็ดเงินกลับมาเป็นของรัฐเวลาเม็ดเงินมันกลับมาอย่างมหาศาลอย่าคิดว่ามันไม่เกิดประโยชน์นะครับ เราสามารถเอาเม็ดเงินเหล่านั้นมาสร้างสวัสดิการให้กับสังคมก็ได้หรือเอาไปพัฒนาต่อยอดในการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และทำให้มีพลังงานมาทดแทนสิ่งเดิมมากขึ้นได้ 2.ไม่มีการประมูลอย่างชัดเจนหรือไม่ 3. มีการล็อกสเปกที่ก่อให้เกิดรายใดรายหนึ่งได้รับประโยชน์หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องท่อก๊าซ ความชัดเจนในเรื่องการใช้ท่อ ราคา ที่จะขายให้กับปิโตรเลียมแหล่งปลายทาง หรือแม้กระทั่งราคาก๊าซที่จะขาย ธรณีวิทยาวิธรการให้ดุลพินิจในการให้คะแนน ถ้าท่อยังคงเป็นของรายใดรายหนึ่ง ก็ยังคงเป็นที่หน้าสงสัยว่าอาจจะเกิดความไม่เป็นธรรม ถ้าเกิดความไม่ชัดเจนในการประมูลถึงวิธีการไม่เอาเม็ดเงินไปตรวจตั้งให้คะแนนก็น่าสงสัย และอีกประการที่น่าสงสัยที่มีข่าวก่อนหน้านี้ ว่าต้องให้ผู้ประมูลมีความสัมพันธ์กับกลุ่มที่มีประสบการณ์อยู่ในแหล่งเอราวัณ-บงกชด้วย
เติมศักดิ์- นี่อาจรูปแบบหนึ่งในการล็อกสเปก คือความน่าสงสัย
ปานเทพ- ความน่าสงสัยเพราะมันมีข่าวก่อนหน้านี้ ว่าจะทำลักษณะแบบนี้ อย่างนั้นยิ่งล็อกสเปกเลยเป็นใครไปไม่ได้
เติมศักดิ์- ฟังเผินๆ ก็น่าจะดีนะที่จะมาประมูลก็ต้องควรมีประสบการณ์สิใช่ไหมครับ ฟังเผินๆ เหมือนจะดีนะ
ปานเทพ- ฟังเผินๆ เหมือนจะดีนะ แต่ผมอยากจะบอกว่าในเมื่อแหล่งปิโตรเลียมถ้าคุณให้ข้อมูลเท่ากัน เช่นข้อมูลธรณีวิทยา ปริมาณก๊าซ คุณทำได้ทั้งหมดเป็นของสาธารณะที่ประมูลกันทั่วโลก เท่ากับคุณรู้เท่ากัน ประสบการณ์ผลิตทุกคนในโลก มีเยอะในโลก เพียงแต่ข้อมูลที่เท่ากันหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนทัดเทียมกัน ไม่มีใครรายใดรายหนึ่งถือท่อก๊าซมีประโยชน์เหนือกว่ารายอื่น ถ้าทำอย่างนี้ก็จะทำให้เกิดการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ อย่างเสรี อย่างโปร่งใส อย่างเป็นธรรม โดยเอาผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดเป็นเกณฑ์ ผมว่ามีคนสู้แน่นอน เพราะเป็นแหล่งสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุ โดยที่เอกชนรายอื่นแทบไม่ต้องลงทุนในสิ่งที่ลงทุนไปแล้ว มันไม่ต้องมีความเสี่ยงมันรู้ว่าอยู่ที่ไหนโซนไหนอย่างไรก๊าซชัดเจนแล้ว ผู้ซื้อก็ชัดเจนแล้ว
เติมศักดิ์- เพราะฉะนั้นการไปกำหนดข้อ 2. มันเหมือนไปล็อกสเปกมันทำให้แคบลง เมื่อแคบลงโอกาสที่จะแข่งขันสูงสุด เพื่อเอื้อรายได้ให้รัฐสูงสุด
ปานเทพ- และพอผู้เข้าแข่งขันน้อยราย หรือเกิดไปใช้วิธีว่าต้องมีความสัมพันธ์กับผู้ที่สัมปทานแต่เดิมเป็นหุ้นเดิม มันก็เกิดการฮั้วกันก็ได้ แบ่งประโยชน์กัน ทำให้ผลตอบแทนแก่รัฐเหลือ 68 เปอร์เซ็นต์พอดี โดยไม่ต้องมีการแข่งขันไปไกลมากกว่านี้ก็ได้ ถ้าเกิดความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น เอาละครับมันบอกอะไรเอา ถ้าไม่ใช้วิธีการดังกล่าวเดิมทีแหล่งปิโตรเลียม ทั้งเอราวัณและบงกช ซึ่งเป็นแหล่งที่มีศักยภาพสูงที่สุดในประเทศไทยไปใช้กฎหมายเดิม จริงๆ แล้วต่ออายุสัญญาไม่ได้แล้ว เพราะต่อไปแล้ว 1 ครั้ง ต้องกลับมาเป็นของรัฐทั้งหมดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเดิม เดิมทีทำไม่ได้แล้วนะครับ วันนี้พอเราพูดถึงประเด็นนี้ก็อ้างความชอบธรรมเพื่อแก้กฎหมายทำให้เหมือนกับว่าจะทำได้ด้วย 1.ระบบสัมปทาน 2.ระบบแบ่งปันผลผลิต มีเนื้อหาเมหือนระบบสัมปทานระบบจ้างผลิตแปลว่ารัฐถือทั้งหมดเอง 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีการแบ่งให้ใครมันก็เลยไม่มีผู้บริหารในการขายปิโตรเลียม ก้เลยทำให้ระบบนี้ใช้ไม่ได้จริง
เติมศักดิ์- ระบบที่ 3.นี้คือผู้ประมูลไม่ได้ใช้ จะได้แค่ค่าจ้างแต่กรรมสิทธิ์ทั้งหมดเป็นของรัฐเลย
ปานเทพ- กรรมสิทธิ์ทั้งหมดเป็นของรัฐเลย ด้วยเหตุผลนี้ ข้อ 3. ถึงทำไม่ได้ถึงทำไม่ได้กับแหล่งมที่จะหมดอายุเพราะไม่มีใครมาบริหารและขายได้ก้เลยตัดโมเดลที่ 3 ทิ้ง ในทางปฏิบัติเหลือเพียงแบ่งปันผลผลิตที่มีเนื้อหาในระบบสัมปทาน ที่จากเดิมทำระบบสัมปทานไม่ได้แล้ว เริ่มทำเนื้อหาเหมือนระบบสัมปทานภายใต้การอำพรางชื่อระบบแบ่งปันผลผลิต นี่คือขั้นแรก
เติมศักดิ์- นี่คือขั้นแรก คืออ้างความชอบธรรมในการแก้กฎหมายก่อน
ปานเทพ- พอขั้นที่ 2 แก้ไขกฎหมายแล้ว ก็ทำไม่มีสภาพบังคับให้รัฐตรวจปริมาณปิโตรเลียมเหมือนกับระบบสัมปทาน ด้วยการแก้ไขกฎหมายด้วยการไม่ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ และเปิดช่องกฎหมายให้ว่าปิโตรเลียมที่ได้ ให้ฝากเอกชนขายปิโตรเลียมแทนรัฐ ทำให้เนื้อหาในระบบแบ่งปันผลผลิตที่เหลืออยู่ 2 ทางเลือก กลายเป็นระบบสัมปทาน จากเดิมต่ออายุสัญญาสัมปทานไม่ได้ กลายเป็นมีขั้นที่ 2 มีกฎหมายเปิดช่องให้เหมือนระบบสัมปทานได้ เอาละ พอข้อที่ 3.ข้อสงสัยว่าจะมีการล็อกสเปกเพื่อทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการประมูลหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นล็อกสเปกในมิติที่ 1 ระบบท่อก๊าซ ยังคงอยู่กับ ปตท.ทำให้เกิดการล็อกสเปกหรือไม่ 2 กำหนดให้ผู้ประมูลต้องเป็นผู้มีประสบการณ์บงกชและเอราวัณจะมีหรือไม่ข่าวที่เคยได้รับมาก่อนหน้านี้ และ3. ทำให้ข้อมูลไม่ชัดเจนเช่นผู้ซื้อก๊าซจะซื้อไม่ ซื้อราคาเท่าไหร่ จะประมูลอย่างไร ราคาก๊าซจะเป็นเท่าไหร่ ธรณีวิทยาอย่างไร และสุดท้ายจบด้วยการไม่ใช้ตัวเงินตัดสิ้นและใช้ดุลพินิจในการให้คะแนนทดแทน
เติมศักดิ์- และด้วยเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อนี้ ขั้นที่ 1 ขั้น 2 ขั้น 3 เมื่อมีการเปิดประมูล
ปานเทพ- เมื่อเปิดประมูลก็จะทำให้ข้อสงสัยว่าเชฟรอนจะชนะประมูลหรือไม่ หรือ ปตท. สผ. จะประมูลหรือไม่ชนะประมูลในแหล่งเดิมหรือไม่ แบ่งกันสำเร็จหรือไม่ และมันอาจเป็นเหตุการณ์ที่ ปตท. สผ. ประมูลชนะในแหล่งเอราวัณควบด้วยก็ได้ เพราะเคยมีคนได้รับหุ้นอุปการะเป็นคนในประเทศและมีคนได้รับหุ้นเป็นชาวต่างชาติ อยู่ในบริษัท ปตท. และปตท.สผ. หรือไม่ด้วย เราก็ยังไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วเขาจะประมูลเอราวัณแบบไม่แบ่งใครหรือไหม เรียกว่ารวบเอาเลย ทั้งหมดทำให้ผมเป็นห่วงว่าการแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นธรรม ไม่เสรี ไม่โปร่งใส มันอาจทำให้ ผลตอบแทนแก่รัฐ ไม่สูงสุดจริงในทางปฏิบัติ ที่เรามีความเป็นห่วงและเราก็อยากเห็นการประมูลที่แข่งขันโดย โปร่งใส แข่งขันสมบูรณ์ แข่งขันอย่างเสรี แข่งขันอย่างเป็นธรรม ผลตอบแทนมันจะเป็นอย่างไรมันก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้ามีผู้ประมูล 10 ราย ราคาตลาดและกลไกเอกชนที่เขาตัดสิน เขาจะแข่งกันเอง ไม่ใช่รัฐตัดสิน เพราะถ้ารัฐตัดสินต่ำไป ไม่ต้องเซ็นสัญญา ถ้ารัฐเสียค่าโง่ให้ผลตอบแทนสูงมากๆ มันก็ไม่มีคนเข้าประมูล ถูกไหมครับ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การประมูลต้องเอกชนเป็นคนตัดสินว่าเขาคิดว่าอย่างไร และผมก็เชื่อมั่น เพราะแหล่งนี้ มันมีปริมาณเป็นตัวเลขอยู่แล้ว การลงทุน ลงทุนน้อยลง ผู้ซื้อชัดเจดไม่มีอะไร นี่คือครีมที่สุด ถ้าแหล่งที่ดีที่สุด มากที่สุดในประเทศไทย ยังไม่สามารถทำให้โปร่งใสได้ จบแล้วประเทศไทย คนรุ่นเรา หมดแล้วโอกาสที่จะเอาแหล่งปิโตรเลียม เพื่อสร้างอนาคตให้กับชาติ ถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน เพราะแหล่งอื่นจะยากกว่านี้ ขุดยากกว่านี้ มีข้ออ้างสารพัดยิ่งกว่านี้ ถ้าสองแหล่งนี้ ยังทำการประมูลโปร่งใสไม่ได้ ประเทศไทยจบแล้ว แปลว่ารัฐบาลชุดนนี้เข้ามาทั้งหมด ตั้งแต่ตอนแรก ก็เพื่อสิ่งนี้ใช่หรือเปล่า เพราะเมื่อรัฐประหาร เมื่อปี 2549 ในคราวนั้นเองรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ ก็เข้ามา ในตอนนั้นเองคุณปิยสวัสดิ์ ก็เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก็สองแหล่งนี้ไม่ใช่หรือครับ ที่ต่ออายุกันมาเมื่อสิบกว่าปีก่อน
เติมศักดิ์- เมื่อปี 50
ปานเทพ- เมื่อปี 50 นะครับ วันนี้รัฐประหารอีกมันก็เข้าประวัติศาสตร์ ซ้ำเดิม ที่หมดอายุพอดี ราวกับว่ามันถูกวางมา ในการรัฐประหารและก็มาสู่การตัดสินใจแหล่งเอราวัณ บงกช ดีที่ประชาชนทักท้วง ไม่อย่างนั้นแหล่งนี้ก็คงไปกันหมดแล้ว ก่อนหน้านี้ว่ามันจะทำให้เกิดความโปร่งใสเป็นธรรม อันนี้ต้องทำให้ประชาชนได้รับรู้มากขึ้น
เติมศักดิ์- ทางภาคประชาชน โดย คปพ. ก็ต่อสู้มาในทุกขั้นตอน อย่างเขาจะเริ่มที่สัมปทานรอบที่ 21 ต่อสู้คัดค้านมา จนกระทั่งมาสู่การแก้ไข พ.ร.บ. แก้ไขปิโตรเลียม แล้วก็คัดค้านว่าทำไม ไม่มีระบบแบ่งปัน เขาก็ใส่ไป แต่นทำไม่มีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ เราก็คัดค้านอีก แต่ว่าเขาก็ทำมาเรื่อย จนกระทั่ง
ปานเทพ- ทำมาเรื่อย จนจะประมูลละ ประมูลแล้วก็ยังบอกว่า ประมูลตัวเลข 68 เปอร์เซนต์ เอ้า 68 ได้อย่างไร 68 นั้นก็แสดงว่าคุณกำหนดชัดเจนแล้วใช่ไหม จะให้เขา 68 เปอร์เซนต์ รัฐได้ 68 เปอร์เซนต์ ตกลงรัฐได้แค่ 68 เปอร์เซนต์ น้อยกว่าเดิมใช่ไหม ผมว่ามันไม่ได้แล้วครับ ถ้ามันเป็นการประมูล
เติมศักดิ์- ผมว่าเรากำลังสู้อย่างหนัก
ปานเทพ- ยกสุดท้ายแล้ว
เติมศักดิ์- ในบันไดขั้นที่ 3
ปานเทพ- บันไดขั้นที่ 3
เติมศักดิ์- จะเกิดการล็อกสเปก หรือเปล่า
ปานเทพ- ก็อยากกจะบอกว่า เราต่อสู้ในการคัดค้านสัมปทานปิโตรเลียม รอบ 21 สำเร็จ จมาถึงขั้นตอนการแก้ไขกฎหมายนะครับ พอแก้กฎหมายก็ไม่ใส่บรรษัท บอกรออีก 1 ปี ทำไมตค้องรอ 1 ปีรู้ไหม เพราะว่ามันจะได้ประมูลเอราวัณ บงกช ให้เสร็จก่อน
เติมศักดิ์- แต่อ้างว่าต้องใช้เวลาศึกษา
ปานเทพ- ต้องใช้เวลาศึกษา จะเอาหรือไม่เอาอีกเรื่องหนึ่ง แต่นเราลึกๆ รู้อยู่ว่าเขาต้องการถ่วงเวลาเพื่อที่จะได้ประมูลหรือประเคน ให้รายใดรายหนึ่งได้แหล่งเอราวัณ บงกช ในเงื่อนไขที่อาจจะไม่มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ ด้วยเหตุผลนี้กลุ่มทุนพลังงานถึงต้องเข้าแทรกทุกอณู เพื่อบล็อกไม่ให้ภาคประชาชนสามารถเข้าไปมีบทบาทอย่างแท้จริง ในการเสนอความคิดเห็น ในการตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ
เติมศักดิ์- นับตั้งแต่ สปช. สปท. กรรมาธิการวิสามัญ
ปานเทพ- จนถึงคณะกรรมการปฏิรูป จนมาถึงล่าสุด ในสภาพัฒน์เอง ก็อาจจจะมีบางคนอยู่คณะกรรมการปฏิรูปพลังงานด้วย เข้าเป็นกรรมการตัดสินว่าตั้งบรรษัท ไหม ทุกอย่าง มกันถูกวางกลไกไว้หมดแม้กระทั่ง ผมเสนอขอให้เปิดรายชื่อ ผู้มีอุปการะคุณในการแปรรูปบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ป่านนี้ยังไม่ได้เลย แล้วคณะกรรมการบางคน ที่ตั้งกันมาในการพิจารณาเรื่องข้้อมูลสข่าวสาร บางคนก็เป็นลูกของคนบางคน ที่เคยได้รับหุ้นจาก ปตท. ด้วย
เติมศักดิ์- ลูกของคนบางคนที่เคยได้รับหุ้นอุปการะ จาก ปตท.
ปานเทพ- มันอาจจะไม่อุปการะคุณ แต่ใครก็ไม่รู้ ผมก็ต้องทักท้วง ว่าอาจจะมีส่วนได้ส่วนเสีย อาจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน ป่านนี้ก็ยังเงียบอยู่เลย จะเห็นได้ว่า มันไปทุกอณู เพราะมันเป็นเดิมพันสำคัญที่สุด ระหว่างผลประโยชน์กลุ่มทุนพลังงาน กับประเทศชาติกับประชาชน มันอยู่ยกนี้ ช่วงเวลานี้เท่านั้น พ้นจากนี้ ถ้าเราพลาดก็พลาดไปอีกหลายสิบปี เราไม่ต้องพูดเรื่องนี้กันอีก
เติมศักดิ์- จิ๊กซอว์อีกอันหนึ่งก็คือ คนก็คาดหวังว่า คณะกรรมาการปฏิรูปประเทศ ด้านพลังงาน อย่างน้อยมันควรจะมีการดุลกันระหว่างสองขั้วความคิดสิ แต่ในที่สุดเราก็เห็นแล้ว มันเป็นอย่างไร
ปานเทพ- มันชัดเจนแล้ว ว่าในที่สุดแล้ว การปฏิรูปพลังงาน ตั้งแต่สมัยการเคลื่อนไหว กปปส. ว่ามันถูกวางมาใช่หรือไม่ว่า มีภาคประชาชนบางคนไม่มีโอกาสขึ้นเวทีหลักของ กปปส. แล้วก็บางคนกลายเป็นมีบทบาทสำคัญในกลุ่มทุนพลังงานหลังรัฐประหาร ใช่หรือเปล่า แล้วถ้ามันใช่ทั้งหมดหลังจากนั้นแล้ว ในเวลาต่อมา การปฏิรูปพลังงานเป็นเรื่องในหนึ่งไม่กี่เรื่อง ที่ทำอย่างไรมันก็ไม่สำเร็จ สำหรับการมองมิติวัติประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน จริงหรือเปล่า และเป็นเรื่องที่เรียกร้องกันอย่างมากในหมู่ภาคประชาชน ก็คือการปฏิรูปตำรวจ การปฏิรูปพลังงาน 2 เรื่องนี้ ยังไม่สามารถคืบหน้าได้จริง ในทางปฏิบัติเลย มาถึงวันนี้ มันเป็นบทพิสูจน์ทั้งหมดว่ารัฐประหารทั้งหมด มาถึงปีที่ 10 นับตั้งแต่รัฐประหารปี 49-50 ที่มีการต่ออายุเอราวัณ บงกช ไปแล้ว 1 รอบ มารอบนี้การรัฐประหารทั้งหมด มาเพื่อการนี้จริงหรือไม่ มันจะพิสูจน์ด้วยเอราวัณ บงกช เป็นตัวชี้ขาด
เติมศักดิ์- มาเพราะเดิมพันนี้ ใชื่หรือไม่
ปานเทพ- เดิมพันประโยชน์นี้ ใชื่หรือไม่ ท่านผู้ชมดู แล้วก็จับตาดู จะได้เข้าใจทั้งหมดว่า ตกลงการรัฐประหารครั้งนี้ มีมาเพื่อใคร เพื่ออะไร
เติมศักดิ์- ทีนี้เราสรุปบทเรียนอย่างไรครับ จากที่ต่อสู้มาหลายปี บทเรียนเรื่องปฏิรูปพลังงาน ปฏิรูปปิโตรเลียม ซึ่งประชาชนก็เกิดความตื่นตัว แต่ว่าในขณะเดียวกันเขาก็อาจจะเริ่มรู้สึกท้อๆ ว่า ที่ต่อสู้มา เหมือนกับว่าฝ่ายรัฐไม่สนใจเสียงของประชาชนเลย
ปานเทพ- ผมมองโลก ในแง่ดีทุกเรื่อง ว่า 1. เราก็ดำเนินการตามาความสามารถของประชาชนที่มือเปล่า ไม่มีอาวุธ ไม่มีเงิน ไม่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ สองมือเปล่าและสองเท้าที่เดิน ไม่มีอะไรอย่างอื่นเลย มีสติปัญญา มีปากสื่อ เท่าที่เราจะทำได้ 2. ก็คือว่า เรายก็ได้ความคืบหน้าระดับหนึ่ง ไม่ใช่ไม่ได้อะไรเลย สิ่งที่เราได้ เราได้ชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบ 21 ออกไป และการชะลอออกไป แม้ว่าจะเป็นการอำพรางแก้กฎหมายที่ซ่อนรูปและก็ทำให้เกิดความไม่โปร่งใส อย่างที่เราเห็นกันอยู่ แต่เราใช้เวลาตั้งหลายปี ทำให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้น จากเรื่องที่ยากที่สุด ผมว่าตรงนี้เราน่าพอใจ อย่างนี้ คือการตื่นรู้ของประชาชน อย่างน้อยกฌ็ดีกว่าเดิม เทียบกับ 3-4 ปีที่แล้ว 3. อย่างน้อยที่สุด สิ่งที่เราได้มาวันนี้ เรายังได้ พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ซึ่งมีการแก้ไขดีขึ้นมา เทียบก่อนหน้านี้ที่มีการดำเนินการกันอย่างมีช่องโหว่ มีรอยรั่วอยู่มาก มันปรับปรุงขึ้นจากการเคลื่อนไหวของประชาชน และเดิมรัฐไม่เคยคิดแก้ มันเกิดจากการผลักดันของเรา อย่างน้อยเราก็ได้อะไรดีขึ้นบางอย่างเกิดขึ้น มัานเหลือเรื่องเดียวก็คือ ทำอย่างไรให้เกิดการประมูลอย่างแข่งขัน แข่งขันอย่างสมบูรณ์ ทำอย่างไรให้มีการตั้งบรรษัท ทำอย่างไรให้เอาท่อก๊าซกลับคืนมาให้เป็นของรัฐ เหลือแค่ 3 ภารกิจ ซึ่งยากที่สุด แต่สมมติเรายังไม่ได้ทั้งหมด ทั้งสองอย่าง ทั้งบรรษัท ทั้งท่อ อย่างน้อยสุด ต้องทำให้การบประมูลแข่งขันสมบูณณ์ที่สุด เสรีที่สุด จำนวนผู้เข้าแข่งขันมากที่สุด ส่วนเรื่องท่อก็ทยอยแก้ไขไป บรรษัทก็ทยอยแก้ไขได้ เพราะแม้ว่าเขาบอก ใช้เวลาศึกษา 1 ปี เขาอาจจะไม่ตั้งก็ได้ แต่วกว่าอายุสัมปทานจะหมดอีก 5 ปี ถ้าตั้งระหว่างทางได้ สวมทันที สวมในการรับประโยชน์ทั้งหมดทันที ซึ่งมันทำได้ แต่ต้องยกท่อก๊าซไปให้บรรษัทด้วย
เติมศักดิ์- แม้ว่าจะเกิดขึ้นหลังประมูลก็ตาม
ปานเทพ- ก็ยังมีหวัง แม้ว่าจะเลือนลาง เพราะถ้าหลังรัฐบาลทหาร รัฐประหารของทหารแล้ว จะหวังนักการเมืองจากเลือกตั้งยิ่งยาก เพราะเขาอยู่ภายใต้การครอบงำของกลุ่มสทุนพลังงานยดิ่งกว่าทหารเสียอีก เพราะฉะนั้นแล้ว ผมอยากจะบอกว่า ยกเว้นว่าจะมีนักการเมืองหรือพรรคการเมือง เมื่อถึงวันเลือกตั้งลุกขึ้นมา แล้วเราเรื่องนี้มาจุดประเด็นในการรวมชาติ บทเรียนที่เราได้รับก็คือว่า ความเหลื่อมล้ำ ระหว่างสังคมไทยมันยังมีอยู่มากนะครับ เวลาเราพูดถึง GDP เราไม่ค่อยพูดถึงความเหลื่อมล้ำ ระหว่างคนรวยที่รวยมากขึ้น กับคนจนที่ยิ่งยากจนลง ในทุกอย่างที่แพงขึ้น แต่วันนี้กลุ่มทุนพลังงานหรือกลุ่มพลังงานโดยอำนาจรัฐที่ภายใต้นโยบายประชารัฐที่ว่านี้ มันถูกตั้งข้อสงสัยว่า เขากำลังถ่างความเหลื่อมล้ำ ในเรื่องของพลังงานให้ห่างไกลกันมากขึ้นหรือเปล่า ระหว่างประชาชนกับกลุ่มทุนพลังงาน เพราะถ้าเป็นแบบนั้นการปรองดอง มันอาจจะไม่เกิดเลย และเลือกตั้งอีกทีก็จะกลับมาสู่ระบอบทักษิณเหมือนเดิม เพราะอย่างน้อยประชาชนกลุ่มหนึ่งที่เขารักระบอบทักษิณ เพราะเรื่องความคิดที่จะทำให้ประชาชนรากหญ้า หรือฐานล่างของประชาชนที่ยากจน มีความอยู่ดีกินดีดีขึ้น แต่ถ้าหลักคิดนี้ไม่มี ก็แปลว่าการรัฐประหารที่ผ่านมาไม่สามารถครองหัวใจประชาชนได้ ความคิดแบ่งแยกสีเสื้อและขั้วอำนาจจะยังคงอยู่ บ้านเมืองก็จะไม่มีความสามัคคี เพราะไม่ได้เอาเรื่องของประโยชน์ของประชาชน เป็นจุดศูนย์กลางในการรวมชาติ
เติมศักดิ์- นี่คือเหตุผลที่ทำไมภาคประชาชน ต้องกังวลหรือตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับทิศทางการประมูลแหล่งก๊าซบงกช เอราวัณ ในรอบใหม่ และทำไมต้องทวงคืนท่อก๊าซ เพราะการทวงคืนท่อก๊าซ มันจะช่วยลดการล็อกสเปกในการประมูลรอบใหม่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและทำให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุด
ปานเทพ- ถูกต้องครับ
เติมศักดิ์- วันนี้ขอบคุณอาจารย์ปานเทพ มากนะครับ ขอบคุณครับ คนเคาะข่าวลาไปก่อนนะครับ สวัสดีครับ