คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.โปรดเกล้าฯ ครม. “ประยุทธ์ 4” มี รมต.พ้นตำแหน่ง 7 แต่งตั้งใหม่ 12 “สุวพันธุ์” นั่ง รมว.ยุติธรรม แทน “ไพบูลย์” !
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า 1.ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
2.ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายพิชิต อัคราทิตย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นางอรรชกา สีบุญเรือง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายอุตตม สาวนายน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2559
2.ร.10 พระราชทานอภัยโทษผู้ต้องขัง 3 หมื่นรายในโอกาสแรกขึ้นทรงราชย์ “ชูวิทย์” เฮ ได้รับอิสรภาพแล้ว ด้าน “สนธิ-หมอเลี้ยบ” ยังไม่เข้าข่าย!
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนจากทุกสารทิศยังคงเดินทางเข้าสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง อย่างล้นหลาม โดยบางวันยอดผู้เข้าสักการะพระบรมศพมีมากกว่า 5 หมื่นคน
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เผยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงรับสั่งกับรัฐบาลและรัฐมนตรีบางคนว่า ขอให้รัฐบาลทำหน้าที่เพื่อให้ประชาชนมีความสุขให้มากที่สุดในรัชกาลปัจจุบัน โดยใช้แนวทางของสมเด็จพระบรมชนกนาถที่ได้ทรงทำมาตลอด 70 ปีที่ผ่านมา พระองค์ท่านทรงให้สืบสานต่อในสิ่งเหล่านี้ไม่ให้เสื่อมถอย หรือน้อยลงไปกว่าเดิมที่มีอยู่ พระองค์ท่านทรงรับสั่งด้วยความห่วงใยในสิ่งสำคัญหลักๆ คือเรื่องของการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสาธารณสุข การเสริมสร้างอาชีพ รายได้ และคุณภาพชีวิต สิ่งสำคัญจะต้องทำให้ประเทศชาติสงบสุข สันติ ไม่มีความขัดแย้ง ดังนั้น ทุกคนจะต้องสนองพระราชปณิธานของพระองค์ท่านตามแนวทางของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ โดยใช้ศาสตร์พระราชาของพระบรมชนกนาถ รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นกับประชาชนและรัฐบาล จะต้องสนองต่อสิ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งไว้ และแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติที่จะทำให้ประเทศมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวด้วยว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีรับสั่งไว้ว่า การพัฒนาประเทศไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนาคู่ขนานกัน ไม่ใช่พัฒนาโดยใช้แนวทางตะวันตกเพียงอย่างเดียว จะต้องใช้ของตะวันออกควบคู่ไปด้วย เพราะแบบตะวันตกอาจทำให้ทุกอย่างพัฒนาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่อาจจะไม่ยั่งยืน จนเกิดผลกระทบและความเสี่ยงต่างๆ การพัฒนาแบบตะวันออกอาจจะช้า แต่มีความมั่นคงมากกว่า หากเราสร้างความเข้มแข็งระดับฐานรากได้ ก็จะเติบโตไปอย่างมั่นคง ในเรื่องของงบประมาณถือเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญในการบริหารประเทศ ทั้งการจัดสรร และการใช้จ่าย เราจึงจำเป็นต้องใช้ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียง และการบริหารประเทศตะวันตก และตะวันออก คู่ขนานไปด้วยกัน เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข การใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดี”
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ราชกิจจานุเบกษาได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสแรกนับแต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2559 โดยพระองค์ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ทรงมีพระราชดำริว่า เนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์ฯ เพื่อเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับตัวประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป
ด้านนายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า หลังจากนี้กรมราชทัณฑ์จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาดำเนินการและทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดว่า มี พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2559 โดยเบื้องต้นคาดว่า จะมีผู้ต้องขังได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษประมาณ 1 แสนราย และได้รับการปล่อยตัวพ้นเรือนจำประมาณ 3 หมื่นราย จากเรือนจำทั่วประเทศ และว่า ผู้ต้องขังที่ได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์ครั้งนี้ จะเป็นผู้ต้องขังชั้นดีขึ้นไป ส่วนผู้ต้องขังคดีความผิดหมิ่นสถาบันมาตรา 112 จะได้รับสิทธิในการลดวันต้องโทษ ตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ และอาจมีบางรายที่ได้ลดวันต้องโทษจนเข้าสู่หลักเกณฑ์การปล่อยตัวพ้นเรือนจำ แต่ต้องให้ทางเรือนจำตรวจสอบอีกครั้ง
นายกอบเกียรติกล่าวถึงผู้ต้องขังที่เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษอีกครั้งเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.ว่า ต้องเป็นผู้ต้องขังชั้นดี-ชั้นเยี่ยม ไม่ใช่ผู้ต้องโทษคดีฆ่าข่มขืน ฉ้อโกงประชาชนหรือค้ายาเสพติด ส่วนผู้ต้องขังชั้นกลางลงมา-ชั้นเลวมาก ไม่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษ และว่า ผู้ต้องขังที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องโทษน้อยไม่เกิน 2 ปี
ทั้งนี้ รายงานข่าวแจ้งว่า มีผู้ต้องขังในคดีสำคัญหรือเป็นผู้ต้องขังที่เป็นที่รู้จักในแวดวงสังคม เช่น ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ อดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย และนายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จะได้รับการลดวันต้องโทษ 1 ใน 4 ของโทษ เนื่องจากเป็นผู้ต้องขังชั้นดีเยี่ยม ส่วนนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และอดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้ต้องขังคดีทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 20 ปี เมื่อวันที่ 6 ก.ย.2559 ยังไม่เข้าเกณฑ์ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เนื่องจากเป็นผู้ต้องขังชั้นกลาง เช่นเดียวกับ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ผู้ต้องขังคดีแก้ไขสัมปทานดาวเทียมเอื้อชินคอร์ป ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก 1 ปี เมื่อวันที่ 25 ส.ค.2559 เป็นผู้ต้องขังชั้นกลางเช่นกัน
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ผู้ต้องขังที่ได้รับการลดวันต้องโทษตามหลักเกณฑ์ และรอบนี้ได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ.เป็นครั้งที่ 2 เข้าข่ายได้รับการปล่อยตัว ได้แก่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ พร้อมด้วย พ.ท.หิมาลัย ผิวพรรณ และ พ.ต.ธัญเทพ ธรรมธร ผู้ต้องขังคดีรื้อบาร์เบียร์ ที่ถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุก 2 ปี เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2559 โดยนายชูวิทย์ ได้รับการปล่อยตัวแล้วเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนายชูวิทย์ เผยว่า รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร อย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระราชทานอภัยโทษให้กับผู้ต้องโทษทุกคนให้ได้กลับเนื้อกลับตัว ยืนยันว่า จะปฏิบัติตัวเป็นคนดี ขอให้สังคมได้ให้โอกาส
ส่วนผู้ต้องขังคดีความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูงตามมาตรา 112 นั้น มีรายงานว่า มีผู้ที่เข้าเกณฑ์ลดวันต้องโทษประมาณ 60 ราย แต่ยังไม่เข้าเกณฑ์ปล่อยตัว รวมถึงนายพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กับพวก
3.ดีเอสไอ-ตำรวจยังไม่บุกค้นวัดพระธรรมกาย แต่ดำเนินคดีแล้ว 158 คดี ด้านศาลอนุมัติหมายจับ “องอาจ” โฆษกธรรมกาย ฐานยุยงปลุกปั่น!
ความคืบหน้าการดำเนินการติดตามจับกุมพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย มาดำเนินคดีตามหมายจับ 3 ใบ ใบแรก คดีสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร ใบที่สอง คดีบุกรุกป่าที่ จ.เลย และใบที่สาม บุกรุกป่าที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา หลังดีเอสไอได้เจรจา 4 ฝ่ายกับสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ วัดพระธรรมกาย และเจ้าคณะ จ.ปทุมธานี เพื่อให้พระธัมมชโยมอบตัว แต่ก็ไร้ผล เพราะฝ่ายธรรมกายต่อรองว่า ถ้ามอบตัว พระธัมมชโยต้องได้ประกันตัว ซึ่งดีเอสไอชี้แจงว่า การจะได้ประกันตัวหรือไม่ อยู่ที่ดุลพินิจของศาลซึ่งเป็นผู้ออกหมาย หลังจากนั้น ดีเอสไอได้เตรียมขอศาลเพื่อออกหมายค้นวัดพระธรรมกายเพื่อนำพระธัมมชโยมาดำเนินคดี ขณะเดียวกันได้ประสานขอกำลังสนับสนุนจากทางตำรวจประมาณ 6-7 กองร้อย ทั้งทีมแพทย์ พยาบาล ตำรวจสื่อสาร หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด สุนัขตำรวจ และเฮลิคอปเตอร์ไว้เตรียมพร้อมปฏิบัติการ 24 ชั่วโมงนั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. นายองอาจ ธรรมนิทา โฆษกคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ได้แถลงท่าทีและจุดยืนของวัดพระธรรมกาย 9 ข้อ เช่น อ้างว่า ขณะนี้สถานการณ์ส่อว่าจะเกิดเหตุรุนแรงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับสถาบันพระพุทธศาสนา ที่สืบเนื่องจากพนักงานสอบสวนดำเนินคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นไม่เป็นธรรมหลายประการ, อ้างว่าตำรวจดำเนินคดีพระธัมมชโยข้อหาบุกรุกป่าที่ จ.เลย และ จ.นครราชสีมา โดยอ้างความเห็นของนายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศของศาล, อ้างว่าดีเอสไอและตำรวจเตรียมนำกำลังบุกค้นวัดพระธรรมกายต่อเนื่องเป็นเวลา 4 วัน และส่อใช้ความรุนแรงปราบปรามจับกุมคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ฯลฯ นายองอาจยังพูดเหมือนขู่ด้วยว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนหมู่ใหญ่หลายล้านคน ขอให้เจ้าหน้าที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแสดงออก อย่าให้มีลักษณะข่มขู่คุกคาม ต้องแสดงถึงความเป็นกลางและยุติธรรมอย่างแท้จริง
ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวเหมือนให้สติศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายและพระธัมมชโยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของกฎหมาย ทำผิดกฎหมายก็ต้องยอมรับว่าทำผิดกฎหมาย แล้วมาสู้กันทางกฎหมาย หากว่าตัวเองไม่ผิด ก็มาสู้กันในชั้นศาล
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้เผยผลสำรวจความเห็นประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินคดีพระธัมมชโย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 48.88 เห็นว่า พระธัมมชโยควรมอบตัว เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ รองลงมาร้อยละ 23.12 เห็นว่า ดีเอสไอและตำรวจควรรีบบุกจับกุมพระธัมมชโยโดยเร็ว ขณะที่ร้อยละ 5.68 เห็นว่า เจ้าหน้าที่ควรมีมาตรการกดดันให้พระธัมมชโยมอบตัว เช่น ตัดน้ำ ตัดไฟ หรือระบบสื่อสารของวัดพระธรรมกาย เมื่อถามว่าเชื่อมั่นว่าตำรวจจะจับกุมพระธัมมชโยมาดำเนินคดีได้ภายใน 3 เดือนหรือไม่ ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 36.08 ไม่ค่อยมั่นใจ ขณะที่ร้อยละ 28 ไม่มั่นใจเลย
ทั้งนี้ ดีเอสไอได้ขอศาลออกหมายค้นวัดพระธรรมกายเพื่อจับกุมพระธัมมชโยมาดำเนินคดีระหว่างวันที่ 13-16 ธ.ค. ซึ่งศาลอนุมัติตามที่ขอ แต่ในที่สุด ก็ไม่ได้มีการนำกำลังเข้าตรวจค้นวัดพระธรรมกายตามที่ขอหมายค้นแต่อย่างใด ขณะที่วัดพระธรรมกายมีการเพิ่มความเข้มงวดการเข้าออกวัด รวมทั้งมีศิษยานุศิษย์และพระนั่งสวดมนต์ขวางทางเดินตามประตูทางเข้าวัดแต่ละด้าน อย่างไรก็ตาม แม้ดีเอสไอและตำรวจจะยังไม่มีการเข้าตรวจค้นวัดพระธรรมกาย แต่ในแง่คดีความ มีการแจ้งความดำเนินคดีวัดพระธรรมกายแล้วรวม 158 คดี เช่น ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ก่อสร้างรุกล้ำทางสาธารณะ ก่อสร้างกำแพงสูงรอบวัด ตั้งเสาวิทยุทาวเวอร์ ขุดถนนลูกรังเลียบคลองแอน 2-3 เชื่อมต่อประตู 5 ของวัด ฯลฯ ซึ่งผิดกฎหมายหลายฉบับ
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.พูดถึงกรณีดีเอสไอขอหมายค้นวัดพระธรรมกายว่า เมื่อมีหมายศาล หมายเรียก หมายค้น หมายจับ ก็ต้องดำเนินการไปตามกติกา ไม่จำเป็นต้องย้ำหรือสั่งการอะไรเพิ่มเติม เป็นมาตรการต่างๆ ที่ทางฝ่ายกฎหมายและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ ศาลต่างๆ เป็นผู้ดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรม พล.อ.ประยุทธ์ยังพูดเหมือนให้สติพระธัมมชโยและผู้ที่เชื่อมั่นศรัทธาพระธัมมชโยด้วยว่า ต้องเคารพกฎหมายด้วย “ผมในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ขอยืนยันว่า การตัดสินอะไรผิดหรือถูก เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม เราจะใช้ความรู้สึกในการตัดสินอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งนี้ ก็จำเป็นต้องแสดงความบริสุทธิ์ใจออกมาให้ได้ อยากขอร้องเท่านั้นเอง แต่มาตรการต่างๆ ตามกฎหมาย ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามขั้นตอน สิ่งที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้นคือ ความขัดแย้ง ผมก็เข้าใจถึงพุทธศาสนิกชนต่างๆ ผู้หลักผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ ความเชื่อต่างๆ แต่กฎหมายก็คือกฎหมาย สิ่งใดก็ตามที่ละเมิดกฎหมายก็ต้องดำเนินการ”
ทั้งนี้ การแถลงท่าทีธรรมกาย 9 ข้อของนายองอาจ ธรรมนิทา โฆษกคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ได้นำไปสู่การถูกแจ้งความดำเนินคดี โดยดีเอสไอแจ้งความดำเนินคดีนายองอาจและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ขณะที่นายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ของศาลยุติธรรมและอดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้ ได้แจ้งความดำเนินคดีนายองอาจเช่นกัน ฐานหมิ่นประมาท กรณีแถลงข่าวกล่าวหาว่านายวิฑูรย์ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ศาลได้อนุมัติหมายจับนายองอาจกับพวก ฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนแล้ว
4.ครม.เคาะแล้ว “ช็อปช่วยชาติ” 14-31 ธ.ค. นำใบเสร็จซื้อสินค้าลดหย่อนภาษีเงินได้ 15,000 บาท คาดเงินสะพัด 2.5 หมื่นล้าน!
เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติมาตรการช็อปช่วยชาติ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการยกเว้นภาษีสำหรับผู้ที่ซื้อสินค้าและค่าบริการ ระหว่างวันที่ 14-31 ธ.ค. 59 ตามจำนวนจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยสามารถนำใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการมาหักภาษีเงินได้ คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อปลายปี ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ และช่วยบรรเทาภาระภาษีให้กับประชาชน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อด้วย “การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับผู้มีเงินได้ที่ซื้อสินค้า หรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม คาดว่าจะมีภาษีสูญเสียประมาณ 3.2 พันล้านบาท แต่จะเพิ่มยอดขายสินค้า หรือบริการ ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น 2 หมื่นล้านบาท”
นายกอบศักดิ์กล่าวด้วยว่า สำหรับปีนี้ได้เพิ่มจำนวนวันภายใต้มาตรการดังกล่าวเป็น 18 วันจากปีที่แล้ว 7 วัน โดยสิ่งที่ซื้อและสามารถได้รับสิทธิ จะไม่รวมค่าสุรา เบียร์ ไวน์ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ น้ำมัน ก๊าซ และไม่รวมค่าบริการที่จ่ายให้ผู้ประกอบการเป็นค่านำเที่ยว มัคคุเทศก์ ค่าที่พัก โรงแรม เนื่องจากได้มีการยกเว้นไปแล้วในส่วนของมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว และว่า ในระยะยาว เป็นการจูงใจผู้ประกอบการให้เข้าสู่ระบบภาษี ซึ่งเป็นการขยายฐานภาษีที่จะช่วยเพิ่มการจัดเก็บภาษีให้กับรัฐบาลต่อไป
ทั้งนี้ นายกอบศักดิ์เผยว่า เมื่อปีที่แล้ว มีคนใช้จ่ายตามมาตรการดังกล่าวประมาณ 1 ล้านคน เม็ดเงินลดภาษีประมาณ 1,200 ล้านบาท มียอดขายเกือบหมื่นล้านบาท ซึ่งปีที่แล้วมีเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ส่วนปีนี้คาดว่าจะมีคนใช้จ่าย 2 ล้านคน เม็ดเงินประมาณ 2 หมื่นล้านบาท
สำหรับมาตรการช็อปช่วยชาติที่ให้สิทธิลดหย่อนภาษีบุคลธรรมดาไม่เกิน 15,000 บาท กำหนดการใช้สิทธิลดภาษีตามฐานเงินได้สุทธิ โดยแบ่งเป็น 8 ขั้นภาษี ได้แก่ 1.เงินได้สุทธิระหว่าง 0 – 150,000 บาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 0% 2.เงินได้สุทธิระหว่าง 150,001 – 3 แสนบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 5% หรือ 750 บาท 3.เงินได้สุทธิระหว่าง 350,001 – 5 แสนบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 10% หรือ 1,500 บาท 4.เงินได้สุทธิระหว่าง 500,001 – 7.5 แสนบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 15% หรือ 2,250 บาท 5.เงินได้สุทธิระหว่าง 750,001 – 1 ล้านบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 20% หรือ 3,000 บาท 6.เงินได้สุทธิระหว่าง 1,000,001 – 2 ล้านบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 25% หรือ 3,750 บาท 7.เงินได้สุทธิระหว่าง 2,000,001 – 4 ล้านบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 30% หรือ 4,500 บาท และรายได้มากกว่า 4 ล้านบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 35% หรือไม่เกิน 5,250 บาท
5.ศาลฎีกาพิพากษายืนยกฟ้องคดี “ทักษิณ” ฟ้อง “สนธิ” กับพวกหมิ่นกรณีปฏิญญาฟินแลนด์ ชี้ แสดงความเห็นโดยสุจริต-ติชมด้วยความเป็นธรรม!
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ศาลอาญาได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคไทยรักไทย มอบอำนาจให้นายนพดล มีวรรณะ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ว. กทม., นายชัยอนันต์ สมุทวณิช, นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระและคอลัมนิสต์, บริษัท ไทยเดย์ ด็อท คอม จำกัด ผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบดาวเทียม ASTV, นายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล, นายพชร สมุทวณิช, นายขุนทอง ลอเสรีวานิช กรรมการ บ.ไทยเดย์ฯ, บริษัท แมเนจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์ อดีตผู้บริหารแผนฟื้นฟู บมจ.แมเนเจอร์ และนายปัญจภัทร อังคสุวรรณ ผู้ดูแลเว็บไซต์แมเนเจอร์ เป็นจำเลยที่ 1-11 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นผู้อื่นด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 24-28 พ.ค. 2549 พวกจำเลยร่วมกันจัดเสวนา เรื่อง "ปฏิญญาฟินแลนด์ ยุทธศาสตร์ครองเมืองของไทยรักไทย" ซึ่งถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ASTV และเว็บไซต์ผู้จัดการ หมิ่นประมาทโจทก์ว่า ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไปสู่การปกครองในระบอบทักษิณ โดยมุ่งหมายเข้าบริหารประเทศตามปฏิญญาฟินแลนด์ ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ
ต่อมา ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องจำเลย เพราะเห็นว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของนายทักษิณ โจทก์ ในฐานะผู้นำรัฐบาลในขณะนั้น ที่ประชาชนทั่วไปสามารถกระทำได้ ต่อมาโจทก์ได้ยื่นฎีกา ขอให้ลงโทษพวกจำเลยด้วย
ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนดนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลได้เบิกตัวนายสนธิ จำเลยที่ 1 มาจากเรือนจำกลางคลองเปรม เพื่อฟังคำพิพากษา ขณะที่จำเลยอื่นมาศาล ขาดเพียงนายชัยอนันต์ สมุทวณิช นักวิชาการอิสระและคอลัมนิสต์ จำเลยที่ 3 ที่มีอาการป่วยหนัก ไม่ได้เดินทางมาศาล
หลังศาลฎีกาได้ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า พรรคไทยรักไทย โจทก์ที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก ได้จัดตั้งรัฐบาล มีโจทก์ที่ 2 เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งโจทก์ทั้งสองบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา การบริหารราชการแผ่นดินของโจทก์ทั้งสอง ย่อมมีผลกระทบต่อประชาชนและผลประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งสถาบันสำคัญของชาติ จึงถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลสาธารณะด้วย การที่จำเลยที่ 1-4 ร่วมกันเสวนาในหัวข้อเรื่อง ปฏิญญาฟินแลนด์ ยุทธศาสตร์ครองเมืองของไทยรักไทย เป็นการนำเรื่องราวหรือหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจในขณะนั้นมาพูดคุยถกเถียงกัน ซึ่งเนื้อหาสาระประกอบด้วย หัวข้อเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของโจทก์ทั้งสอง คือเรื่องการทำให้พรรคเป็นพรรคการเมืองหลักพรรคเดียว การปฏิรูประบบราชการ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน แม้จะไม่ปรากฏว่าหัวข้อดังกล่าว เป็นนโยบายที่โจทก์ที่ 2 แถลงต่อรัฐสภาหรือไม่ แต่ก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลของโจทก์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินอยู่
ทั้งนี้ จำเลยที่ 1-4 มีการหยิบยกเอาการกระทำที่ผ่านมาของโจทก์ที่ 2 มายืนยันว่ามีการกระทำหลายประการที่ไม่เหมาะสม เช่น ประเด็นหัวข้อที่อาจจะมีการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ลดบทบาทลงเป็นเพียงสัญลักษณ์ได้ในอนาคต ซึ่งเป็นหัวข้อเสวนาเกี่ยวกับการมีความพยายามทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ ซึ่งแม้พยานโจทก์ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย จะเบิกความว่า โจทก์ทั้งสองไม่เคยมีแนวคิดหรือการกระทำดังกล่าว แต่โจทก์ทั้งสองก็มิได้นำสืบว่าโจทก์ไม่ได้มีการกระทำดังที่จำเลยที่ 1-4 ได้กล่าวยกตัวอย่างไว้ในการเสวนา จึงฟังได้ว่า โจทก์ที่ 2 มีการกระทำดังที่กล่าวไว้จริง
การเสวนาดังกล่าวจึงเป็นการแสดงความเห็นอยู่บนมูลฐานของข้อเท็จจริง ที่จำเลยที่ 1-4 ไม่เห็นด้วยกับการบริหารราชการแผ่นดินของโจทก์ทั้งสอง ขณะเดียวกันก็ยังมีบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่ในบ้านเมือง เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พล.อ.สายหยุด เกิดผล เป็นต้น ที่ไม่เห็นด้วยกับการบริหารราชการบ้านเมืองของโจทก์ทั้งสองในบางประการเช่นกัน ดังนั้นหัวข้อที่เสวนาจึงเป็นประเด็นที่สังคมยังมีการโต้แย้งถกเถียงกันอยู่
ส่วนประเด็นที่การเสวนามีการใช้ถ้อยคำเรียกโจทก์ที่ 1 ว่า แก๊งเลือกตั้งหรืออั้งยี่เลือกตั้งนั้นได้ความว่า จำเลยที่ 4 เป็นผู้กล่าวในการเสวนา เห็นว่าแม้จำเลยที่ 4 จะใช้ถ้อยคำรุนแรงไปบ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่า เป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดความเสียหาย ดังนั้นการเสวนาของจำเลยที่ 1-4 จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือประชาชนย่อมกระทำได้ ตามประมวลกฎมายอาญา มาตรา 329(3) จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
ส่วนประเด็นที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ไม่เคยบริหารโดยใช้ปฏิญญาฟินแลนด์หรือยุทธศาสตร์ฟินแลนด์ตามที่ถูกกล่าวหา เห็นว่า จำเลยที่ 4 เป็นผู้เขียนบทความเรื่องยุทธศาสตร์ฟินแลนด์ แผนการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ก่อนที่จะจัดการเสวนาดังกล่าวขึ้น ขณะที่ในการเสวนานั้น จำเลยที่ 1-4 ก็ไม่มีผู้ใดยืนยันว่า โจทก์ที่ 2 ได้ไปร่วมตกลงกับผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทยที่ประเทศฟินแลนด์แต่อย่างใด ดังนั้นจำเลยที่ 1-4 จึงไม่ได้ใส่ความโจทก์ทั้งสองในเรื่องนี้ และการเขียนบทความเรื่องยุทธศาสตร์ฟินแลนด์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นั้น ก็เป็นคนละส่วนกับการเสวนา ซึ่งโจทก์ที่ 2 ได้แยกฟ้องจำเลยที่ 4 เป็นอีกคดีหนึ่งแล้ว ไม่สามารถนำมาเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1-4 ในคดีนี้ได้ ดังนั้นเมื่อการเสวนาของจำเลยที่ 1-4 ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท จำเลยที่ 5-9 และ 11 ที่โจทก์ระบุว่าเป็นผู้ร่วมจัดเสวนาและนำเอาถ้อยคำไปเผยแพร่ จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทเช่นกัน ฎีกาของโจทก์ทั้งสองฟังไม่ขึ้น ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืนให้ยกฟ้อง
ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของจำเลย กล่าวหลังฟังคำพิพากษาว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาในครั้งนี้ มีรายละเอียดครบถ้วน ชัดเจน บรรยายถึงพฤติการณ์ของระบอบทักษิณได้อย่างเด่นชัด
6.ศาลอาญาเลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นครั้งที่ 2 คดี “เจ๋ง ดอกจิก” แกนนำ นปช.หมิ่นเบื้องสูง หลังเจ้าตัวอ้างป่วย นัดใหม่ 7 มี.ค.ปีหน้า!
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และจำเลยคดีก่อการร้าย เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 2, 8 และ 12 จากกรณีเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2553 จำเลยได้ขึ้นปราศรัยบนเวที นปช. ที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
คดีนี้ อัยการโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2553 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2556 เห็นว่าลักษณะท่าทางและคำพูดของจำเลยสื่อให้เห็นว่ายังมีผู้ที่อยู่เหนือกว่า หรืออยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อีก ซึ่งผู้นั้นต้องมีศักดิ์ฐานะที่สูงยิ่งกว่าองคมนตรี กล่าวหาว่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 112 ให้จำคุก 3 ปี แต่ในทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา มีเหตุลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยเป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์สู้คดี และขอให้ลงโทษสถานเบา หรือรอการลงโทษ โดยอ้างว่าจำเลยเคยร่วมกิจกรรมถวายพระพรเฉลิมพระเกียรติมาโดยตลอด
ขณะที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2557 พิพากษายืน โดยเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักรับฟังได้มั่นคงว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นสถาบันฯ จึงสมควรลงโทษไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง ที่ศาลชั้นต้นให้จำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษนั้นเหมาะสมแล้ว จากนั้นจำเลยได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดเพื่อขอประกันตัวระหว่างการยื่นฎีกาสู้คดี ซึ่งศาลอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว โดยตีราคาประกัน 700,000 บาท
ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนดที่ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา(15 ธ.ค.) นายยศวริศไม่เดินทางมาศาล มีเพียงทนายความเดินทางมายื่นใบรับรองแพทย์พร้อมแถลงต่อศาลว่า นายยศวริศมีอาการปวดท้อง ไม่สามารถมาศาลได้ จึงขอเลื่อนฟังคำพิพากษาออกไปก่อน ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้เลื่อนฟังคำพิพากษาศาลฎีกา โดยนัดฟังคำพิพากษาอีกครั้งในวันที่ 7 มี.ค.60 เวลา 09.00 น.
อนึ่ง การเลื่อนอ่านคำพิพากษาฎีกาครั้งนี้เป็นการเลื่อนครั้งที่ 2 แล้ว โดยการเลื่อนครั้งแรกมีขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากศาลไม่สามารถส่งหมายให้นายยศวริศ จำเลยได้ ส่วนครั้งนี้จำเลยได้ขอเลื่อนฟังคำพิพากษาศาลฎีกา โดยอ้างว่าปวดท้อง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายยศวริศ แกนนำ นปช. และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2556 เพิ่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาจำคุก 1 เดือน และปรับ 4,000 บาท คดีปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน พร้อมตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี โดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้เป็นเวลา 1 ปี
1.โปรดเกล้าฯ ครม. “ประยุทธ์ 4” มี รมต.พ้นตำแหน่ง 7 แต่งตั้งใหม่ 12 “สุวพันธุ์” นั่ง รมว.ยุติธรรม แทน “ไพบูลย์” !
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า 1.ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
2.ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายพิชิต อัคราทิตย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นางอรรชกา สีบุญเรือง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายอุตตม สาวนายน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2559
2.ร.10 พระราชทานอภัยโทษผู้ต้องขัง 3 หมื่นรายในโอกาสแรกขึ้นทรงราชย์ “ชูวิทย์” เฮ ได้รับอิสรภาพแล้ว ด้าน “สนธิ-หมอเลี้ยบ” ยังไม่เข้าข่าย!
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนจากทุกสารทิศยังคงเดินทางเข้าสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง อย่างล้นหลาม โดยบางวันยอดผู้เข้าสักการะพระบรมศพมีมากกว่า 5 หมื่นคน
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เผยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงรับสั่งกับรัฐบาลและรัฐมนตรีบางคนว่า ขอให้รัฐบาลทำหน้าที่เพื่อให้ประชาชนมีความสุขให้มากที่สุดในรัชกาลปัจจุบัน โดยใช้แนวทางของสมเด็จพระบรมชนกนาถที่ได้ทรงทำมาตลอด 70 ปีที่ผ่านมา พระองค์ท่านทรงให้สืบสานต่อในสิ่งเหล่านี้ไม่ให้เสื่อมถอย หรือน้อยลงไปกว่าเดิมที่มีอยู่ พระองค์ท่านทรงรับสั่งด้วยความห่วงใยในสิ่งสำคัญหลักๆ คือเรื่องของการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสาธารณสุข การเสริมสร้างอาชีพ รายได้ และคุณภาพชีวิต สิ่งสำคัญจะต้องทำให้ประเทศชาติสงบสุข สันติ ไม่มีความขัดแย้ง ดังนั้น ทุกคนจะต้องสนองพระราชปณิธานของพระองค์ท่านตามแนวทางของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ โดยใช้ศาสตร์พระราชาของพระบรมชนกนาถ รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นกับประชาชนและรัฐบาล จะต้องสนองต่อสิ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งไว้ และแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติที่จะทำให้ประเทศมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวด้วยว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีรับสั่งไว้ว่า การพัฒนาประเทศไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนาคู่ขนานกัน ไม่ใช่พัฒนาโดยใช้แนวทางตะวันตกเพียงอย่างเดียว จะต้องใช้ของตะวันออกควบคู่ไปด้วย เพราะแบบตะวันตกอาจทำให้ทุกอย่างพัฒนาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่อาจจะไม่ยั่งยืน จนเกิดผลกระทบและความเสี่ยงต่างๆ การพัฒนาแบบตะวันออกอาจจะช้า แต่มีความมั่นคงมากกว่า หากเราสร้างความเข้มแข็งระดับฐานรากได้ ก็จะเติบโตไปอย่างมั่นคง ในเรื่องของงบประมาณถือเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญในการบริหารประเทศ ทั้งการจัดสรร และการใช้จ่าย เราจึงจำเป็นต้องใช้ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียง และการบริหารประเทศตะวันตก และตะวันออก คู่ขนานไปด้วยกัน เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข การใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดี”
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ราชกิจจานุเบกษาได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสแรกนับแต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2559 โดยพระองค์ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ทรงมีพระราชดำริว่า เนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์ฯ เพื่อเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับตัวประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป
ด้านนายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า หลังจากนี้กรมราชทัณฑ์จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาดำเนินการและทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดว่า มี พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2559 โดยเบื้องต้นคาดว่า จะมีผู้ต้องขังได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษประมาณ 1 แสนราย และได้รับการปล่อยตัวพ้นเรือนจำประมาณ 3 หมื่นราย จากเรือนจำทั่วประเทศ และว่า ผู้ต้องขังที่ได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์ครั้งนี้ จะเป็นผู้ต้องขังชั้นดีขึ้นไป ส่วนผู้ต้องขังคดีความผิดหมิ่นสถาบันมาตรา 112 จะได้รับสิทธิในการลดวันต้องโทษ ตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ และอาจมีบางรายที่ได้ลดวันต้องโทษจนเข้าสู่หลักเกณฑ์การปล่อยตัวพ้นเรือนจำ แต่ต้องให้ทางเรือนจำตรวจสอบอีกครั้ง
นายกอบเกียรติกล่าวถึงผู้ต้องขังที่เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษอีกครั้งเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.ว่า ต้องเป็นผู้ต้องขังชั้นดี-ชั้นเยี่ยม ไม่ใช่ผู้ต้องโทษคดีฆ่าข่มขืน ฉ้อโกงประชาชนหรือค้ายาเสพติด ส่วนผู้ต้องขังชั้นกลางลงมา-ชั้นเลวมาก ไม่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษ และว่า ผู้ต้องขังที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องโทษน้อยไม่เกิน 2 ปี
ทั้งนี้ รายงานข่าวแจ้งว่า มีผู้ต้องขังในคดีสำคัญหรือเป็นผู้ต้องขังที่เป็นที่รู้จักในแวดวงสังคม เช่น ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ อดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย และนายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จะได้รับการลดวันต้องโทษ 1 ใน 4 ของโทษ เนื่องจากเป็นผู้ต้องขังชั้นดีเยี่ยม ส่วนนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และอดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้ต้องขังคดีทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 20 ปี เมื่อวันที่ 6 ก.ย.2559 ยังไม่เข้าเกณฑ์ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เนื่องจากเป็นผู้ต้องขังชั้นกลาง เช่นเดียวกับ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ผู้ต้องขังคดีแก้ไขสัมปทานดาวเทียมเอื้อชินคอร์ป ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก 1 ปี เมื่อวันที่ 25 ส.ค.2559 เป็นผู้ต้องขังชั้นกลางเช่นกัน
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ผู้ต้องขังที่ได้รับการลดวันต้องโทษตามหลักเกณฑ์ และรอบนี้ได้รับพระราชทานอภัยโทษตาม พ.ร.ฎ.เป็นครั้งที่ 2 เข้าข่ายได้รับการปล่อยตัว ได้แก่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ พร้อมด้วย พ.ท.หิมาลัย ผิวพรรณ และ พ.ต.ธัญเทพ ธรรมธร ผู้ต้องขังคดีรื้อบาร์เบียร์ ที่ถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุก 2 ปี เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2559 โดยนายชูวิทย์ ได้รับการปล่อยตัวแล้วเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนายชูวิทย์ เผยว่า รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร อย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระราชทานอภัยโทษให้กับผู้ต้องโทษทุกคนให้ได้กลับเนื้อกลับตัว ยืนยันว่า จะปฏิบัติตัวเป็นคนดี ขอให้สังคมได้ให้โอกาส
ส่วนผู้ต้องขังคดีความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูงตามมาตรา 112 นั้น มีรายงานว่า มีผู้ที่เข้าเกณฑ์ลดวันต้องโทษประมาณ 60 ราย แต่ยังไม่เข้าเกณฑ์ปล่อยตัว รวมถึงนายพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กับพวก
3.ดีเอสไอ-ตำรวจยังไม่บุกค้นวัดพระธรรมกาย แต่ดำเนินคดีแล้ว 158 คดี ด้านศาลอนุมัติหมายจับ “องอาจ” โฆษกธรรมกาย ฐานยุยงปลุกปั่น!
ความคืบหน้าการดำเนินการติดตามจับกุมพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย มาดำเนินคดีตามหมายจับ 3 ใบ ใบแรก คดีสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร ใบที่สอง คดีบุกรุกป่าที่ จ.เลย และใบที่สาม บุกรุกป่าที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา หลังดีเอสไอได้เจรจา 4 ฝ่ายกับสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ วัดพระธรรมกาย และเจ้าคณะ จ.ปทุมธานี เพื่อให้พระธัมมชโยมอบตัว แต่ก็ไร้ผล เพราะฝ่ายธรรมกายต่อรองว่า ถ้ามอบตัว พระธัมมชโยต้องได้ประกันตัว ซึ่งดีเอสไอชี้แจงว่า การจะได้ประกันตัวหรือไม่ อยู่ที่ดุลพินิจของศาลซึ่งเป็นผู้ออกหมาย หลังจากนั้น ดีเอสไอได้เตรียมขอศาลเพื่อออกหมายค้นวัดพระธรรมกายเพื่อนำพระธัมมชโยมาดำเนินคดี ขณะเดียวกันได้ประสานขอกำลังสนับสนุนจากทางตำรวจประมาณ 6-7 กองร้อย ทั้งทีมแพทย์ พยาบาล ตำรวจสื่อสาร หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด สุนัขตำรวจ และเฮลิคอปเตอร์ไว้เตรียมพร้อมปฏิบัติการ 24 ชั่วโมงนั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. นายองอาจ ธรรมนิทา โฆษกคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ได้แถลงท่าทีและจุดยืนของวัดพระธรรมกาย 9 ข้อ เช่น อ้างว่า ขณะนี้สถานการณ์ส่อว่าจะเกิดเหตุรุนแรงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับสถาบันพระพุทธศาสนา ที่สืบเนื่องจากพนักงานสอบสวนดำเนินคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นไม่เป็นธรรมหลายประการ, อ้างว่าตำรวจดำเนินคดีพระธัมมชโยข้อหาบุกรุกป่าที่ จ.เลย และ จ.นครราชสีมา โดยอ้างความเห็นของนายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศของศาล, อ้างว่าดีเอสไอและตำรวจเตรียมนำกำลังบุกค้นวัดพระธรรมกายต่อเนื่องเป็นเวลา 4 วัน และส่อใช้ความรุนแรงปราบปรามจับกุมคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ฯลฯ นายองอาจยังพูดเหมือนขู่ด้วยว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนหมู่ใหญ่หลายล้านคน ขอให้เจ้าหน้าที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแสดงออก อย่าให้มีลักษณะข่มขู่คุกคาม ต้องแสดงถึงความเป็นกลางและยุติธรรมอย่างแท้จริง
ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวเหมือนให้สติศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายและพระธัมมชโยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของกฎหมาย ทำผิดกฎหมายก็ต้องยอมรับว่าทำผิดกฎหมาย แล้วมาสู้กันทางกฎหมาย หากว่าตัวเองไม่ผิด ก็มาสู้กันในชั้นศาล
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้เผยผลสำรวจความเห็นประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินคดีพระธัมมชโย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 48.88 เห็นว่า พระธัมมชโยควรมอบตัว เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ รองลงมาร้อยละ 23.12 เห็นว่า ดีเอสไอและตำรวจควรรีบบุกจับกุมพระธัมมชโยโดยเร็ว ขณะที่ร้อยละ 5.68 เห็นว่า เจ้าหน้าที่ควรมีมาตรการกดดันให้พระธัมมชโยมอบตัว เช่น ตัดน้ำ ตัดไฟ หรือระบบสื่อสารของวัดพระธรรมกาย เมื่อถามว่าเชื่อมั่นว่าตำรวจจะจับกุมพระธัมมชโยมาดำเนินคดีได้ภายใน 3 เดือนหรือไม่ ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 36.08 ไม่ค่อยมั่นใจ ขณะที่ร้อยละ 28 ไม่มั่นใจเลย
ทั้งนี้ ดีเอสไอได้ขอศาลออกหมายค้นวัดพระธรรมกายเพื่อจับกุมพระธัมมชโยมาดำเนินคดีระหว่างวันที่ 13-16 ธ.ค. ซึ่งศาลอนุมัติตามที่ขอ แต่ในที่สุด ก็ไม่ได้มีการนำกำลังเข้าตรวจค้นวัดพระธรรมกายตามที่ขอหมายค้นแต่อย่างใด ขณะที่วัดพระธรรมกายมีการเพิ่มความเข้มงวดการเข้าออกวัด รวมทั้งมีศิษยานุศิษย์และพระนั่งสวดมนต์ขวางทางเดินตามประตูทางเข้าวัดแต่ละด้าน อย่างไรก็ตาม แม้ดีเอสไอและตำรวจจะยังไม่มีการเข้าตรวจค้นวัดพระธรรมกาย แต่ในแง่คดีความ มีการแจ้งความดำเนินคดีวัดพระธรรมกายแล้วรวม 158 คดี เช่น ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ก่อสร้างรุกล้ำทางสาธารณะ ก่อสร้างกำแพงสูงรอบวัด ตั้งเสาวิทยุทาวเวอร์ ขุดถนนลูกรังเลียบคลองแอน 2-3 เชื่อมต่อประตู 5 ของวัด ฯลฯ ซึ่งผิดกฎหมายหลายฉบับ
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.พูดถึงกรณีดีเอสไอขอหมายค้นวัดพระธรรมกายว่า เมื่อมีหมายศาล หมายเรียก หมายค้น หมายจับ ก็ต้องดำเนินการไปตามกติกา ไม่จำเป็นต้องย้ำหรือสั่งการอะไรเพิ่มเติม เป็นมาตรการต่างๆ ที่ทางฝ่ายกฎหมายและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ ศาลต่างๆ เป็นผู้ดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรม พล.อ.ประยุทธ์ยังพูดเหมือนให้สติพระธัมมชโยและผู้ที่เชื่อมั่นศรัทธาพระธัมมชโยด้วยว่า ต้องเคารพกฎหมายด้วย “ผมในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ขอยืนยันว่า การตัดสินอะไรผิดหรือถูก เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม เราจะใช้ความรู้สึกในการตัดสินอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งนี้ ก็จำเป็นต้องแสดงความบริสุทธิ์ใจออกมาให้ได้ อยากขอร้องเท่านั้นเอง แต่มาตรการต่างๆ ตามกฎหมาย ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามขั้นตอน สิ่งที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้นคือ ความขัดแย้ง ผมก็เข้าใจถึงพุทธศาสนิกชนต่างๆ ผู้หลักผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ ความเชื่อต่างๆ แต่กฎหมายก็คือกฎหมาย สิ่งใดก็ตามที่ละเมิดกฎหมายก็ต้องดำเนินการ”
ทั้งนี้ การแถลงท่าทีธรรมกาย 9 ข้อของนายองอาจ ธรรมนิทา โฆษกคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ได้นำไปสู่การถูกแจ้งความดำเนินคดี โดยดีเอสไอแจ้งความดำเนินคดีนายองอาจและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ขณะที่นายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ของศาลยุติธรรมและอดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้ ได้แจ้งความดำเนินคดีนายองอาจเช่นกัน ฐานหมิ่นประมาท กรณีแถลงข่าวกล่าวหาว่านายวิฑูรย์ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ศาลได้อนุมัติหมายจับนายองอาจกับพวก ฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนแล้ว
4.ครม.เคาะแล้ว “ช็อปช่วยชาติ” 14-31 ธ.ค. นำใบเสร็จซื้อสินค้าลดหย่อนภาษีเงินได้ 15,000 บาท คาดเงินสะพัด 2.5 หมื่นล้าน!
เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติมาตรการช็อปช่วยชาติ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการยกเว้นภาษีสำหรับผู้ที่ซื้อสินค้าและค่าบริการ ระหว่างวันที่ 14-31 ธ.ค. 59 ตามจำนวนจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยสามารถนำใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการมาหักภาษีเงินได้ คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อปลายปี ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ และช่วยบรรเทาภาระภาษีให้กับประชาชน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อด้วย “การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับผู้มีเงินได้ที่ซื้อสินค้า หรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม คาดว่าจะมีภาษีสูญเสียประมาณ 3.2 พันล้านบาท แต่จะเพิ่มยอดขายสินค้า หรือบริการ ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น 2 หมื่นล้านบาท”
นายกอบศักดิ์กล่าวด้วยว่า สำหรับปีนี้ได้เพิ่มจำนวนวันภายใต้มาตรการดังกล่าวเป็น 18 วันจากปีที่แล้ว 7 วัน โดยสิ่งที่ซื้อและสามารถได้รับสิทธิ จะไม่รวมค่าสุรา เบียร์ ไวน์ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ น้ำมัน ก๊าซ และไม่รวมค่าบริการที่จ่ายให้ผู้ประกอบการเป็นค่านำเที่ยว มัคคุเทศก์ ค่าที่พัก โรงแรม เนื่องจากได้มีการยกเว้นไปแล้วในส่วนของมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว และว่า ในระยะยาว เป็นการจูงใจผู้ประกอบการให้เข้าสู่ระบบภาษี ซึ่งเป็นการขยายฐานภาษีที่จะช่วยเพิ่มการจัดเก็บภาษีให้กับรัฐบาลต่อไป
ทั้งนี้ นายกอบศักดิ์เผยว่า เมื่อปีที่แล้ว มีคนใช้จ่ายตามมาตรการดังกล่าวประมาณ 1 ล้านคน เม็ดเงินลดภาษีประมาณ 1,200 ล้านบาท มียอดขายเกือบหมื่นล้านบาท ซึ่งปีที่แล้วมีเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ส่วนปีนี้คาดว่าจะมีคนใช้จ่าย 2 ล้านคน เม็ดเงินประมาณ 2 หมื่นล้านบาท
สำหรับมาตรการช็อปช่วยชาติที่ให้สิทธิลดหย่อนภาษีบุคลธรรมดาไม่เกิน 15,000 บาท กำหนดการใช้สิทธิลดภาษีตามฐานเงินได้สุทธิ โดยแบ่งเป็น 8 ขั้นภาษี ได้แก่ 1.เงินได้สุทธิระหว่าง 0 – 150,000 บาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 0% 2.เงินได้สุทธิระหว่าง 150,001 – 3 แสนบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 5% หรือ 750 บาท 3.เงินได้สุทธิระหว่าง 350,001 – 5 แสนบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 10% หรือ 1,500 บาท 4.เงินได้สุทธิระหว่าง 500,001 – 7.5 แสนบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 15% หรือ 2,250 บาท 5.เงินได้สุทธิระหว่าง 750,001 – 1 ล้านบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 20% หรือ 3,000 บาท 6.เงินได้สุทธิระหว่าง 1,000,001 – 2 ล้านบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 25% หรือ 3,750 บาท 7.เงินได้สุทธิระหว่าง 2,000,001 – 4 ล้านบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 30% หรือ 4,500 บาท และรายได้มากกว่า 4 ล้านบาทต่อปี ยกเว้นภาษีสูงสุด 35% หรือไม่เกิน 5,250 บาท
5.ศาลฎีกาพิพากษายืนยกฟ้องคดี “ทักษิณ” ฟ้อง “สนธิ” กับพวกหมิ่นกรณีปฏิญญาฟินแลนด์ ชี้ แสดงความเห็นโดยสุจริต-ติชมด้วยความเป็นธรรม!
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ศาลอาญาได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคไทยรักไทย มอบอำนาจให้นายนพดล มีวรรณะ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ว. กทม., นายชัยอนันต์ สมุทวณิช, นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระและคอลัมนิสต์, บริษัท ไทยเดย์ ด็อท คอม จำกัด ผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบดาวเทียม ASTV, นายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล, นายพชร สมุทวณิช, นายขุนทอง ลอเสรีวานิช กรรมการ บ.ไทยเดย์ฯ, บริษัท แมเนจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์ อดีตผู้บริหารแผนฟื้นฟู บมจ.แมเนเจอร์ และนายปัญจภัทร อังคสุวรรณ ผู้ดูแลเว็บไซต์แมเนเจอร์ เป็นจำเลยที่ 1-11 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นผู้อื่นด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 24-28 พ.ค. 2549 พวกจำเลยร่วมกันจัดเสวนา เรื่อง "ปฏิญญาฟินแลนด์ ยุทธศาสตร์ครองเมืองของไทยรักไทย" ซึ่งถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ASTV และเว็บไซต์ผู้จัดการ หมิ่นประมาทโจทก์ว่า ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไปสู่การปกครองในระบอบทักษิณ โดยมุ่งหมายเข้าบริหารประเทศตามปฏิญญาฟินแลนด์ ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ
ต่อมา ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องจำเลย เพราะเห็นว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของนายทักษิณ โจทก์ ในฐานะผู้นำรัฐบาลในขณะนั้น ที่ประชาชนทั่วไปสามารถกระทำได้ ต่อมาโจทก์ได้ยื่นฎีกา ขอให้ลงโทษพวกจำเลยด้วย
ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนดนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลได้เบิกตัวนายสนธิ จำเลยที่ 1 มาจากเรือนจำกลางคลองเปรม เพื่อฟังคำพิพากษา ขณะที่จำเลยอื่นมาศาล ขาดเพียงนายชัยอนันต์ สมุทวณิช นักวิชาการอิสระและคอลัมนิสต์ จำเลยที่ 3 ที่มีอาการป่วยหนัก ไม่ได้เดินทางมาศาล
หลังศาลฎีกาได้ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า พรรคไทยรักไทย โจทก์ที่ 1 เป็นพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก ได้จัดตั้งรัฐบาล มีโจทก์ที่ 2 เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งโจทก์ทั้งสองบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา การบริหารราชการแผ่นดินของโจทก์ทั้งสอง ย่อมมีผลกระทบต่อประชาชนและผลประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งสถาบันสำคัญของชาติ จึงถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลสาธารณะด้วย การที่จำเลยที่ 1-4 ร่วมกันเสวนาในหัวข้อเรื่อง ปฏิญญาฟินแลนด์ ยุทธศาสตร์ครองเมืองของไทยรักไทย เป็นการนำเรื่องราวหรือหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจในขณะนั้นมาพูดคุยถกเถียงกัน ซึ่งเนื้อหาสาระประกอบด้วย หัวข้อเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของโจทก์ทั้งสอง คือเรื่องการทำให้พรรคเป็นพรรคการเมืองหลักพรรคเดียว การปฏิรูประบบราชการ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน แม้จะไม่ปรากฏว่าหัวข้อดังกล่าว เป็นนโยบายที่โจทก์ที่ 2 แถลงต่อรัฐสภาหรือไม่ แต่ก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลของโจทก์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินอยู่
ทั้งนี้ จำเลยที่ 1-4 มีการหยิบยกเอาการกระทำที่ผ่านมาของโจทก์ที่ 2 มายืนยันว่ามีการกระทำหลายประการที่ไม่เหมาะสม เช่น ประเด็นหัวข้อที่อาจจะมีการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ลดบทบาทลงเป็นเพียงสัญลักษณ์ได้ในอนาคต ซึ่งเป็นหัวข้อเสวนาเกี่ยวกับการมีความพยายามทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ ซึ่งแม้พยานโจทก์ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย จะเบิกความว่า โจทก์ทั้งสองไม่เคยมีแนวคิดหรือการกระทำดังกล่าว แต่โจทก์ทั้งสองก็มิได้นำสืบว่าโจทก์ไม่ได้มีการกระทำดังที่จำเลยที่ 1-4 ได้กล่าวยกตัวอย่างไว้ในการเสวนา จึงฟังได้ว่า โจทก์ที่ 2 มีการกระทำดังที่กล่าวไว้จริง
การเสวนาดังกล่าวจึงเป็นการแสดงความเห็นอยู่บนมูลฐานของข้อเท็จจริง ที่จำเลยที่ 1-4 ไม่เห็นด้วยกับการบริหารราชการแผ่นดินของโจทก์ทั้งสอง ขณะเดียวกันก็ยังมีบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่ในบ้านเมือง เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พล.อ.สายหยุด เกิดผล เป็นต้น ที่ไม่เห็นด้วยกับการบริหารราชการบ้านเมืองของโจทก์ทั้งสองในบางประการเช่นกัน ดังนั้นหัวข้อที่เสวนาจึงเป็นประเด็นที่สังคมยังมีการโต้แย้งถกเถียงกันอยู่
ส่วนประเด็นที่การเสวนามีการใช้ถ้อยคำเรียกโจทก์ที่ 1 ว่า แก๊งเลือกตั้งหรืออั้งยี่เลือกตั้งนั้นได้ความว่า จำเลยที่ 4 เป็นผู้กล่าวในการเสวนา เห็นว่าแม้จำเลยที่ 4 จะใช้ถ้อยคำรุนแรงไปบ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่า เป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดความเสียหาย ดังนั้นการเสวนาของจำเลยที่ 1-4 จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือประชาชนย่อมกระทำได้ ตามประมวลกฎมายอาญา มาตรา 329(3) จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
ส่วนประเด็นที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ไม่เคยบริหารโดยใช้ปฏิญญาฟินแลนด์หรือยุทธศาสตร์ฟินแลนด์ตามที่ถูกกล่าวหา เห็นว่า จำเลยที่ 4 เป็นผู้เขียนบทความเรื่องยุทธศาสตร์ฟินแลนด์ แผนการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ก่อนที่จะจัดการเสวนาดังกล่าวขึ้น ขณะที่ในการเสวนานั้น จำเลยที่ 1-4 ก็ไม่มีผู้ใดยืนยันว่า โจทก์ที่ 2 ได้ไปร่วมตกลงกับผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทยที่ประเทศฟินแลนด์แต่อย่างใด ดังนั้นจำเลยที่ 1-4 จึงไม่ได้ใส่ความโจทก์ทั้งสองในเรื่องนี้ และการเขียนบทความเรื่องยุทธศาสตร์ฟินแลนด์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นั้น ก็เป็นคนละส่วนกับการเสวนา ซึ่งโจทก์ที่ 2 ได้แยกฟ้องจำเลยที่ 4 เป็นอีกคดีหนึ่งแล้ว ไม่สามารถนำมาเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1-4 ในคดีนี้ได้ ดังนั้นเมื่อการเสวนาของจำเลยที่ 1-4 ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท จำเลยที่ 5-9 และ 11 ที่โจทก์ระบุว่าเป็นผู้ร่วมจัดเสวนาและนำเอาถ้อยคำไปเผยแพร่ จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทเช่นกัน ฎีกาของโจทก์ทั้งสองฟังไม่ขึ้น ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืนให้ยกฟ้อง
ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของจำเลย กล่าวหลังฟังคำพิพากษาว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาในครั้งนี้ มีรายละเอียดครบถ้วน ชัดเจน บรรยายถึงพฤติการณ์ของระบอบทักษิณได้อย่างเด่นชัด
6.ศาลอาญาเลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นครั้งที่ 2 คดี “เจ๋ง ดอกจิก” แกนนำ นปช.หมิ่นเบื้องสูง หลังเจ้าตัวอ้างป่วย นัดใหม่ 7 มี.ค.ปีหน้า!
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และจำเลยคดีก่อการร้าย เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 2, 8 และ 12 จากกรณีเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2553 จำเลยได้ขึ้นปราศรัยบนเวที นปช. ที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
คดีนี้ อัยการโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2553 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2556 เห็นว่าลักษณะท่าทางและคำพูดของจำเลยสื่อให้เห็นว่ายังมีผู้ที่อยู่เหนือกว่า หรืออยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อีก ซึ่งผู้นั้นต้องมีศักดิ์ฐานะที่สูงยิ่งกว่าองคมนตรี กล่าวหาว่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 112 ให้จำคุก 3 ปี แต่ในทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา มีเหตุลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยเป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์สู้คดี และขอให้ลงโทษสถานเบา หรือรอการลงโทษ โดยอ้างว่าจำเลยเคยร่วมกิจกรรมถวายพระพรเฉลิมพระเกียรติมาโดยตลอด
ขณะที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2557 พิพากษายืน โดยเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักรับฟังได้มั่นคงว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นสถาบันฯ จึงสมควรลงโทษไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง ที่ศาลชั้นต้นให้จำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษนั้นเหมาะสมแล้ว จากนั้นจำเลยได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดเพื่อขอประกันตัวระหว่างการยื่นฎีกาสู้คดี ซึ่งศาลอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว โดยตีราคาประกัน 700,000 บาท
ทั้งนี้ เมื่อถึงกำหนดที่ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา(15 ธ.ค.) นายยศวริศไม่เดินทางมาศาล มีเพียงทนายความเดินทางมายื่นใบรับรองแพทย์พร้อมแถลงต่อศาลว่า นายยศวริศมีอาการปวดท้อง ไม่สามารถมาศาลได้ จึงขอเลื่อนฟังคำพิพากษาออกไปก่อน ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้เลื่อนฟังคำพิพากษาศาลฎีกา โดยนัดฟังคำพิพากษาอีกครั้งในวันที่ 7 มี.ค.60 เวลา 09.00 น.
อนึ่ง การเลื่อนอ่านคำพิพากษาฎีกาครั้งนี้เป็นการเลื่อนครั้งที่ 2 แล้ว โดยการเลื่อนครั้งแรกมีขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากศาลไม่สามารถส่งหมายให้นายยศวริศ จำเลยได้ ส่วนครั้งนี้จำเลยได้ขอเลื่อนฟังคำพิพากษาศาลฎีกา โดยอ้างว่าปวดท้อง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายยศวริศ แกนนำ นปช. และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2556 เพิ่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาจำคุก 1 เดือน และปรับ 4,000 บาท คดีปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน พร้อมตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี โดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้เป็นเวลา 1 ปี