คุณครูผู้ชำนาญด้านดนตรีคลาสสิกที่คนไทยจำนวนไม่น้อยพร้อมใจคลิกเพลย์คลิป Live ของเขาทางเฟซบุ๊ก เมื่อเขาลุกขึ้นมาบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ ไล่เรียงไปทีละเพลงด้วยเปียโนคู่ใจ เขาคือ “ครูเสกข์ ทองสุวรรณ” นักเรียนทุนพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
สำหรับหลายๆ ท่าน อาจจะเคยผ่านหูผ่านตาคลิป Live ดังกล่าวของครูเสกข์มาบ้างแล้ว เพราะมีการแชร์กันไปอย่างมากมายในช่วงที่ผ่านมา ครูเสกข์บอกกับเราว่า ถึงแม้เขาจะเชี่ยวชาญในทางดนตรีคลาสสิก และมีความยากลำบากมากในการบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ซึ่งเป็นดนตรีในแนวทางแจ๊ส แต่ด้วยปรารถนาอันแรงกล้าที่จะเผยแพร่บทเพลงของพระองค์ท่าน เป็นความหมายแทนการถวายความอาลัย เขาก็ใช้ความเพียรอย่างเต็มที่เพื่อถ่ายทอดให้คนทั่วไปได้รู้จักมากขึ้น
• ความประทับใจแรกสุดของคุณกับพระองค์ท่านครับ
ท่านทรงเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดสำหรับผมในทุกๆ ด้าน และทุกๆ เรื่องครับ ทรงเป็นแรงบันดาลใจในเรื่องของความพยายามอุตสาหะ ความพยายามที่จะทำงานให้สำเร็จ และทำให้ดีที่สุด ความวิริยอุตสาหะ ในขณะเดียวกัน ความมีอัจฉริยภาพของท่าน ในทุกๆ ด้าน ที่เป็นรูปแบบในหลายอย่างครับ เพราะพระองค์ท่านมีความสามารถทั้งในด้านดนตรี วิทยาศาสตร์ กีฬา ซึ่งทำให้ผมมีแรงบันดาลใจตรงนี้ครับ
• นอกจากในเรื่องดนตรีแล้ว คุณประทับใจในเรื่องใดของพระองค์ท่านอีกครับ
คือทุกพระราชกรณียกิจทุกเรื่อง อย่างโครงการวิทยาศาสตร์ โครงการแก้มลิง หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ทำ นั่นแสดงถึงความเป็นอัจฉริยะครับ ไม่ใช่แค่ด้านดนตรี ในแง่ทางวิทยาศาสตร์ ท่านก็คิดอะไรได้หลายๆ อย่าง เช่น โครงการฝนหลวง ที่พระองค์ท่านทรงคิดค้นมา ในช่วงที่ประเทศไทยแห้งแล้ง หรืออย่างโครงการแก้มลิง หรือโครงการชั่งหัวมัน ไม่เว้นแม้แต่เรื่องครอบครัว พระองค์ท่านจะมีเวลาเสวยพระกระยาหารกับสมเด็จย่า 5 วัน
• การทรงดนตรีของพระองค์ท่านถือว่าเป็นแรงบันดาลใจให้กับคุณด้วยไหมครับ
ท่านทรงเป็นถึงพระมหากษัตริย์ ที่มีพระราชกรณียกิจมากมาย แต่ทรงมีเวลาให้กับดนตรี ทั้งในเรื่องการซ้อม การประพันธ์เพลง ทำให้เราที่มีเวลามากกว่าท่าน ต้องพยายามใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ให้มาก
พระปรีชาสามารถของท่านไม่ธรรมดาครับ นอกเหนือจากทรงงานหนักแล้ว สามารถประพันธ์เพลงได้ด้วย จากผลงานถึง 48 เพลง แน่นอนครับ คือความประทับใจนั้น ในเรื่องของการประพันธ์เพลง เรื่องทำนอง ไม่ใช่ว่าคนทั่วไปจะสามารถประพันธ์ได้ง่ายครับ คือลักษณะกลุ่มคอร์ดและ Harmony (เสียงประสาน) เพลงต่างๆ เป็นค่อนข้างสูงนิดหนึ่ง คือด้วยลักษณะที่ต้องเรียนทางด้านดนตรีมา แล้วจะได้เสียงประสานที่สละสลวย กับทำนองที่เข้ากับทางเสียงประสาน ที่ยอดเยี่ยมครับ ซึ่งผมมองตรงนี้มากกว่า เพราะว่าเป็นความสามารถทางด้านดนตรี คือทั้งทำนองและเสียงประสานมันเข้ากันมากครับ แล้วการลื่นไหลของทำนอง จากโน้ตตัวนี้ ไปอีกโน้ตตัวต่อไป สามารถบรรเลงไปได้ดีมากครับ
• เมื่อได้ศึกษาทางดนตรีของพระองค์ท่านอย่างจริงจังแล้ว คุณได้อะไรจากการศึกษานี้ครับ
คือบทเพลงของพระองค์เป็นแนวแจ๊ส ซึ่งแตกต่างจากที่ผมศึกษา คือแนวคลาสสิกครับ ซึ่งมีนักประพันธ์เอกของโลก เช่น โชแปง บีโธเฟ่น โมสาร์ท ส่วนของพระองค์จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ต่างออกไป ที่พระองค์ท่านแต่งมาจะเป็นบทเพลงสมัยใหม่ แต่เป็นแนวดนตรีแจ๊ส อาศัยในการด้นสด จะมีทำนองหลัก และมีการ Improvise (การด้นสด) ส่วนคลาสสิกจะเป็นแบบแผนคือเล่นตามโน้ตเป๊ะๆ เลย เป็น Standard Jazz อีกอย่างพระองค์ท่านทรงเรียนดนตรีมาจากที่สวิตเซอร์แลนด์ เรียนการ composition (เรียนเรื่องการแสดงเบื้องต้น) พระองค์ทรงโปรดทางแนวแจ๊ส รู้สึกว่าไอดอลของพระองค์ท่านคือ หลุยส์ อาร์มสตรอง (นักทรัมเป็ตและนักร้องเพลงแจ๊สชาวอเมริกัน) เพราะพระองค์ท่านทรงโปรดเครื่อง Brass Instrument (เครื่องลมทองเหลือง) น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ
• ในช่วงที่ไปเรียนที่รัสเซีย คุณเล่นบทเพลงพระราชนิพนธ์บ่อยไหมครับ
ทุกครั้งที่มีการแสดงและขึ้นเวที ก็จะเล่นบทเพลงพระราชนิพนธ์ แต่ก็ต้องเล่นเพลงคลาสสิกก่อน ส่วนปฏิกิริยาของผู้ชม เขาก็ตื่นเต้นกันดีนะครับ เพราะเขาไม่ทราบว่าเมืองไทยมีนักประพันธ์ด้วย ก็ถือว่าเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมส่วนหนึ่งไป แต่ถามว่าเมืองไทยมีนักประพันธ์มั้ย เพราะที่รัสเซียมีถึง 19 คนที่เก่งๆ แต่ของเราเป็นพระมหากษัตริย์ที่ประพันธ์เพลง ซึ่งคนดูมีความตื่นเต้นจากที่ผมกล่าวมา เพราะเขาก็ไม่นึกว่าประเทศเรามีนักประพันธ์
ตอนนั้น ผมก็เผยแพร่บทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน เป็นเพลง "Oh I Say" แล้วก็ “ใกล้รุ่ง” แต่ส่วนใหญ่เล่นเพลงแรก เพราะจังหวะโอเคและด้นสดได้ครับ ส่วนเพื่อนนักดนตรีร่วมรุ่นเขาก็ไม่ทราบว่าพระองค์ท่านเป็นนักดนตรี เพราะที่ที่ผมเรียนจะเน้นแต่เพลงคลาสสิก แนวอื่นนี่คือแทบไม่ทราบเลย อย่างผลงานแบบบีโธเฟ่น เขาจะทราบ แต่นักประพันธ์ใหม่ๆ เขาจะไม่ทราบครับ ซึ่งเป็นไปได้ว่า ที่ไม่ทราบกัน อาจเป็นเพราะว่าไม่มีการเผยแพร่น่ะครับ
อีกอย่าง ทั้ง 48 บทเพลงพระราชนิพนธ์ ก็แทบจะไม่ค่อยมีการเผยแพร่อย่างเต็มที่น่ะครับ เพิ่งจะมีมาเปิดในช่วงหลังๆ นี่เองครับ คือผมเล่นเพลงพระราชนิพนธ์มา 16 ปี ผมก็เล่นเรื่อยๆ บางคนก็ให้ความสนใจ บางคนก็ไม่ทราบเลย พอผ่านๆ อย่างเพลงมาร์ชราชวัลลภ บางคนก็เพิ่งมาทราบว่าเป็นเพลงของพระองค์ท่าน
อาจเป็นเพราะว่า คนไทยฟังผ่านๆ คือรู้ว่ามีความสวยงามแบบนั้น แต่ไม่ได้ศึกษาต่อ บางคนก็ไม่รู้ว่าเป็นเพลงของใคร แค่เคยฟังผ่านๆ ซึ่งถ้าเปิดบ่อยๆ คนอาจจะจำได้ แต่บทเพลงของพระองค์ท่านจะถูกเปิดแค่บางเพลง แล้วก็เปิดไม่จบด้วย เพราะฉะนั้น ความรับรู้ก็อาจจะไม่ทั่วถึงเหมือนกับเพลงทั่วไป
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงพยายามจะบรรเลงให้ครบ 48 บทเพลง เพราะว่าหลังๆ เริ่มมีคนที่จะมาตามฟังและให้เล่นให้ฟังน่ะครับ ผมก็ถือว่าเป็นเรื่องดีครับ เพราะจะได้เผยแพร่ผลงานของพระองค์ไป ซึ่งตอนนี้เพิ่งเริ่มต้นครับ และอันที่จริงก็เล่นได้หมดแต่ว่าต้องค่อยๆ เล่นไป ถ้าจะรอองค์กรมาช่วย ก็ไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่ ซึ่งเคยทำครับ แต่โครงการก็ยกเลิกไปเพราะเหตุบางประการ ส่วนปฏิกิริยาของคนฟังก็ดีครับ ส่วนใหญ่จะแชร์กัน แต่คุณภาพเสียงก็ยังไม่ดีมาก อาจจะมีเสียงแทรก ไม่เหมือนกับในห้องอัด นั่นคือเท่าที่ทำได้เต็มที่
• อยากให้คุณช่วยเล่าช่วงเวลาที่อัดคลิปเพลงสรรเสริญฯ หน่อยครับ
ขณะนั้นคิดแค่ว่าอยากจะเล่นเพื่อส่งเสด็จพระองค์ท่าน โดยปกติ เราใช้เพลงนี้เพื่อรับและส่งเสด็จพระองค์ ปกติจะเล่นให้อลังการเต็มเปี่ยมไปด้วยความยิ่งใหญ่ แต่ครั้งนั้นเป็นการเล่นส่งเสด็จพระองค์เป็นครั้งสุดท้ายครับ พอถ่ายคลิปเรียบร้อย เราก็ไม่ได้ทราบว่ามีคนไปแชร์อะไรกันเยอะแยะ จนวันหนึ่งเปิดเฟซบุ๊ก เห็นว่าถึงกับเป็นข่าว ก็ตกใจ แต่ก็รู้สึกยินดีที่มีคนระลึกถึงพระองค์ท่านมากมายครับ
• มีนักดนตรีหลายๆ ท่าน บอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากในหลวง คุณคิดว่า เพราะอะไรถึงเป็นเหตุผลนั้นครับ
เพราะพระปรีชาสามารถครับ บทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์มีความซับซ้อน ทั้งในเรื่องของทำนองและเสียงประสาน ไม่ใช่บทเพลงธรรมดาๆ ผมในฐานะนักดนตรี จะบรรเลงเพลงของพระองค์ ต้องฝึกซ้อมระดับเดียวกับเพลงคลาสสิก เพราะไม่ใช่เพลงที่เล่นง่ายๆ
• สำหรับ “ครูเสกข์” ภาพของพระองค์ท่านที่ระลึกถึงเสมอ เป็นอย่างไร และเป็นแรงบันดาลใจอย่างไรให้กับเราครับ
พระองค์ทรงมอบเวลาส่วนพระองค์ แลกกับความสุขของประชาชน เสียสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อให้สังคมมีความสุข ส่วนตัวของผม ในฐานะครูเปียโนคนหนึ่ง ก็ทำได้แค่การสร้างลูกศิษย์ที่มีศักยภาพ สร้างความสุขด้วยเสียงเพลงให้กับประชาชนครับ
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพและคลิปวิดีโอ : facebook Fanpage : Sek Thongsuwan, Concert Pianist
สำหรับหลายๆ ท่าน อาจจะเคยผ่านหูผ่านตาคลิป Live ดังกล่าวของครูเสกข์มาบ้างแล้ว เพราะมีการแชร์กันไปอย่างมากมายในช่วงที่ผ่านมา ครูเสกข์บอกกับเราว่า ถึงแม้เขาจะเชี่ยวชาญในทางดนตรีคลาสสิก และมีความยากลำบากมากในการบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ซึ่งเป็นดนตรีในแนวทางแจ๊ส แต่ด้วยปรารถนาอันแรงกล้าที่จะเผยแพร่บทเพลงของพระองค์ท่าน เป็นความหมายแทนการถวายความอาลัย เขาก็ใช้ความเพียรอย่างเต็มที่เพื่อถ่ายทอดให้คนทั่วไปได้รู้จักมากขึ้น
• ความประทับใจแรกสุดของคุณกับพระองค์ท่านครับ
ท่านทรงเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดสำหรับผมในทุกๆ ด้าน และทุกๆ เรื่องครับ ทรงเป็นแรงบันดาลใจในเรื่องของความพยายามอุตสาหะ ความพยายามที่จะทำงานให้สำเร็จ และทำให้ดีที่สุด ความวิริยอุตสาหะ ในขณะเดียวกัน ความมีอัจฉริยภาพของท่าน ในทุกๆ ด้าน ที่เป็นรูปแบบในหลายอย่างครับ เพราะพระองค์ท่านมีความสามารถทั้งในด้านดนตรี วิทยาศาสตร์ กีฬา ซึ่งทำให้ผมมีแรงบันดาลใจตรงนี้ครับ
• นอกจากในเรื่องดนตรีแล้ว คุณประทับใจในเรื่องใดของพระองค์ท่านอีกครับ
คือทุกพระราชกรณียกิจทุกเรื่อง อย่างโครงการวิทยาศาสตร์ โครงการแก้มลิง หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ทำ นั่นแสดงถึงความเป็นอัจฉริยะครับ ไม่ใช่แค่ด้านดนตรี ในแง่ทางวิทยาศาสตร์ ท่านก็คิดอะไรได้หลายๆ อย่าง เช่น โครงการฝนหลวง ที่พระองค์ท่านทรงคิดค้นมา ในช่วงที่ประเทศไทยแห้งแล้ง หรืออย่างโครงการแก้มลิง หรือโครงการชั่งหัวมัน ไม่เว้นแม้แต่เรื่องครอบครัว พระองค์ท่านจะมีเวลาเสวยพระกระยาหารกับสมเด็จย่า 5 วัน
• การทรงดนตรีของพระองค์ท่านถือว่าเป็นแรงบันดาลใจให้กับคุณด้วยไหมครับ
ท่านทรงเป็นถึงพระมหากษัตริย์ ที่มีพระราชกรณียกิจมากมาย แต่ทรงมีเวลาให้กับดนตรี ทั้งในเรื่องการซ้อม การประพันธ์เพลง ทำให้เราที่มีเวลามากกว่าท่าน ต้องพยายามใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ให้มาก
พระปรีชาสามารถของท่านไม่ธรรมดาครับ นอกเหนือจากทรงงานหนักแล้ว สามารถประพันธ์เพลงได้ด้วย จากผลงานถึง 48 เพลง แน่นอนครับ คือความประทับใจนั้น ในเรื่องของการประพันธ์เพลง เรื่องทำนอง ไม่ใช่ว่าคนทั่วไปจะสามารถประพันธ์ได้ง่ายครับ คือลักษณะกลุ่มคอร์ดและ Harmony (เสียงประสาน) เพลงต่างๆ เป็นค่อนข้างสูงนิดหนึ่ง คือด้วยลักษณะที่ต้องเรียนทางด้านดนตรีมา แล้วจะได้เสียงประสานที่สละสลวย กับทำนองที่เข้ากับทางเสียงประสาน ที่ยอดเยี่ยมครับ ซึ่งผมมองตรงนี้มากกว่า เพราะว่าเป็นความสามารถทางด้านดนตรี คือทั้งทำนองและเสียงประสานมันเข้ากันมากครับ แล้วการลื่นไหลของทำนอง จากโน้ตตัวนี้ ไปอีกโน้ตตัวต่อไป สามารถบรรเลงไปได้ดีมากครับ
• เมื่อได้ศึกษาทางดนตรีของพระองค์ท่านอย่างจริงจังแล้ว คุณได้อะไรจากการศึกษานี้ครับ
คือบทเพลงของพระองค์เป็นแนวแจ๊ส ซึ่งแตกต่างจากที่ผมศึกษา คือแนวคลาสสิกครับ ซึ่งมีนักประพันธ์เอกของโลก เช่น โชแปง บีโธเฟ่น โมสาร์ท ส่วนของพระองค์จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ต่างออกไป ที่พระองค์ท่านแต่งมาจะเป็นบทเพลงสมัยใหม่ แต่เป็นแนวดนตรีแจ๊ส อาศัยในการด้นสด จะมีทำนองหลัก และมีการ Improvise (การด้นสด) ส่วนคลาสสิกจะเป็นแบบแผนคือเล่นตามโน้ตเป๊ะๆ เลย เป็น Standard Jazz อีกอย่างพระองค์ท่านทรงเรียนดนตรีมาจากที่สวิตเซอร์แลนด์ เรียนการ composition (เรียนเรื่องการแสดงเบื้องต้น) พระองค์ทรงโปรดทางแนวแจ๊ส รู้สึกว่าไอดอลของพระองค์ท่านคือ หลุยส์ อาร์มสตรอง (นักทรัมเป็ตและนักร้องเพลงแจ๊สชาวอเมริกัน) เพราะพระองค์ท่านทรงโปรดเครื่อง Brass Instrument (เครื่องลมทองเหลือง) น่าจะเป็นเช่นนั้นครับ
• ในช่วงที่ไปเรียนที่รัสเซีย คุณเล่นบทเพลงพระราชนิพนธ์บ่อยไหมครับ
ทุกครั้งที่มีการแสดงและขึ้นเวที ก็จะเล่นบทเพลงพระราชนิพนธ์ แต่ก็ต้องเล่นเพลงคลาสสิกก่อน ส่วนปฏิกิริยาของผู้ชม เขาก็ตื่นเต้นกันดีนะครับ เพราะเขาไม่ทราบว่าเมืองไทยมีนักประพันธ์ด้วย ก็ถือว่าเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมส่วนหนึ่งไป แต่ถามว่าเมืองไทยมีนักประพันธ์มั้ย เพราะที่รัสเซียมีถึง 19 คนที่เก่งๆ แต่ของเราเป็นพระมหากษัตริย์ที่ประพันธ์เพลง ซึ่งคนดูมีความตื่นเต้นจากที่ผมกล่าวมา เพราะเขาก็ไม่นึกว่าประเทศเรามีนักประพันธ์
ตอนนั้น ผมก็เผยแพร่บทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน เป็นเพลง "Oh I Say" แล้วก็ “ใกล้รุ่ง” แต่ส่วนใหญ่เล่นเพลงแรก เพราะจังหวะโอเคและด้นสดได้ครับ ส่วนเพื่อนนักดนตรีร่วมรุ่นเขาก็ไม่ทราบว่าพระองค์ท่านเป็นนักดนตรี เพราะที่ที่ผมเรียนจะเน้นแต่เพลงคลาสสิก แนวอื่นนี่คือแทบไม่ทราบเลย อย่างผลงานแบบบีโธเฟ่น เขาจะทราบ แต่นักประพันธ์ใหม่ๆ เขาจะไม่ทราบครับ ซึ่งเป็นไปได้ว่า ที่ไม่ทราบกัน อาจเป็นเพราะว่าไม่มีการเผยแพร่น่ะครับ
อีกอย่าง ทั้ง 48 บทเพลงพระราชนิพนธ์ ก็แทบจะไม่ค่อยมีการเผยแพร่อย่างเต็มที่น่ะครับ เพิ่งจะมีมาเปิดในช่วงหลังๆ นี่เองครับ คือผมเล่นเพลงพระราชนิพนธ์มา 16 ปี ผมก็เล่นเรื่อยๆ บางคนก็ให้ความสนใจ บางคนก็ไม่ทราบเลย พอผ่านๆ อย่างเพลงมาร์ชราชวัลลภ บางคนก็เพิ่งมาทราบว่าเป็นเพลงของพระองค์ท่าน
อาจเป็นเพราะว่า คนไทยฟังผ่านๆ คือรู้ว่ามีความสวยงามแบบนั้น แต่ไม่ได้ศึกษาต่อ บางคนก็ไม่รู้ว่าเป็นเพลงของใคร แค่เคยฟังผ่านๆ ซึ่งถ้าเปิดบ่อยๆ คนอาจจะจำได้ แต่บทเพลงของพระองค์ท่านจะถูกเปิดแค่บางเพลง แล้วก็เปิดไม่จบด้วย เพราะฉะนั้น ความรับรู้ก็อาจจะไม่ทั่วถึงเหมือนกับเพลงทั่วไป
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงพยายามจะบรรเลงให้ครบ 48 บทเพลง เพราะว่าหลังๆ เริ่มมีคนที่จะมาตามฟังและให้เล่นให้ฟังน่ะครับ ผมก็ถือว่าเป็นเรื่องดีครับ เพราะจะได้เผยแพร่ผลงานของพระองค์ไป ซึ่งตอนนี้เพิ่งเริ่มต้นครับ และอันที่จริงก็เล่นได้หมดแต่ว่าต้องค่อยๆ เล่นไป ถ้าจะรอองค์กรมาช่วย ก็ไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่ ซึ่งเคยทำครับ แต่โครงการก็ยกเลิกไปเพราะเหตุบางประการ ส่วนปฏิกิริยาของคนฟังก็ดีครับ ส่วนใหญ่จะแชร์กัน แต่คุณภาพเสียงก็ยังไม่ดีมาก อาจจะมีเสียงแทรก ไม่เหมือนกับในห้องอัด นั่นคือเท่าที่ทำได้เต็มที่
• อยากให้คุณช่วยเล่าช่วงเวลาที่อัดคลิปเพลงสรรเสริญฯ หน่อยครับ
ขณะนั้นคิดแค่ว่าอยากจะเล่นเพื่อส่งเสด็จพระองค์ท่าน โดยปกติ เราใช้เพลงนี้เพื่อรับและส่งเสด็จพระองค์ ปกติจะเล่นให้อลังการเต็มเปี่ยมไปด้วยความยิ่งใหญ่ แต่ครั้งนั้นเป็นการเล่นส่งเสด็จพระองค์เป็นครั้งสุดท้ายครับ พอถ่ายคลิปเรียบร้อย เราก็ไม่ได้ทราบว่ามีคนไปแชร์อะไรกันเยอะแยะ จนวันหนึ่งเปิดเฟซบุ๊ก เห็นว่าถึงกับเป็นข่าว ก็ตกใจ แต่ก็รู้สึกยินดีที่มีคนระลึกถึงพระองค์ท่านมากมายครับ
• มีนักดนตรีหลายๆ ท่าน บอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากในหลวง คุณคิดว่า เพราะอะไรถึงเป็นเหตุผลนั้นครับ
เพราะพระปรีชาสามารถครับ บทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์มีความซับซ้อน ทั้งในเรื่องของทำนองและเสียงประสาน ไม่ใช่บทเพลงธรรมดาๆ ผมในฐานะนักดนตรี จะบรรเลงเพลงของพระองค์ ต้องฝึกซ้อมระดับเดียวกับเพลงคลาสสิก เพราะไม่ใช่เพลงที่เล่นง่ายๆ
• สำหรับ “ครูเสกข์” ภาพของพระองค์ท่านที่ระลึกถึงเสมอ เป็นอย่างไร และเป็นแรงบันดาลใจอย่างไรให้กับเราครับ
พระองค์ทรงมอบเวลาส่วนพระองค์ แลกกับความสุขของประชาชน เสียสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อให้สังคมมีความสุข ส่วนตัวของผม ในฐานะครูเปียโนคนหนึ่ง ก็ทำได้แค่การสร้างลูกศิษย์ที่มีศักยภาพ สร้างความสุขด้วยเสียงเพลงให้กับประชาชนครับ
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพและคลิปวิดีโอ : facebook Fanpage : Sek Thongsuwan, Concert Pianist