คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.ประชาชนทุกสารทิศพร้อมใจใส่ชุดดำร้องเพลง “สรรเสริญพระบารมี” ล้นสนามหลวง ด้านสำนักพระราชวังเตรียมเปิดให้ ปชช.ถวายบังคมพระบรมศพ 28 ต.ค.!
หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ประชาชนยังคงทยอยเข้าสักการะพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์และลงนามแสดงความอาลัย ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง อย่างต่อเนื่อง โดยสำนักพระราชวังเผยว่า ตัวเลขประชาชนที่เข้าแสดงความอาลัยทั้ง 7 วัน อยู่ที่ 225,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 40,000-50,000 คน ขณะที่พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร( 7 วัน) พระบรมศพมีขึ้นเมื่อวันที่ 20 ต.ค. โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ ร่วมในพระราชพิธี
ทั้งนี้ สำนักพระราชวังจะเปิดให้ประชาชนเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ได้ภายหลังพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค. เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังพระราชทานพระราชานุญาตให้บุคคล คณะบุคคล ภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ร่วมเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญพระราชกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพได้ ภายหลังพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 50 วัน
นอกจากประชาชนไทยทั้งในและต่างประเทศจะเศร้าโศกเสียใจและแสดงความอาลัยต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแล้ว ผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังคงทยอยส่งสารแสดงความเสียใจมายังประเทศไทย อาทิ นางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ได้ส่งหนังสือผ่านกระทรวงศึกษาธิการถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความอาลัยอย่างสุดซึ้งต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมชื่นชมพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงความสำคัญต่อศตวรรษที่ 21 พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความสมัครสมานสามัคคีของคนไทยในชาติ นอกจากนี้ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อการดำเนินงานของสหประชาชาติ สิ่งที่ไม่สามารถลบเลือนจากจิตใจได้ คือการที่พระองค์ได้ทรงอุทิศกำลังพระวรกาย และทรงพระวิริยอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อการส่งเสริมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความเสมอภาพในสังคม นำประเทศชาติสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน...
ขณะที่ผู้นำบางประเทศเดินทางมาสักการะพระบรมศพถึงเมืองไทย ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน และสมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก, นายนาจิบ ราซะก์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เป็นต้น
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยเมื่อกลางดึกคืนวันที่ 15 ต.ค.ว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พร้อมด้วยตนเอง เข้าเฝ้าฯ ถวายรายงานข้อราชการ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยพระองค์ทรงมีพระราชปรารภสำคัญเรื่องหนึ่งคือ ขออย่าให้ประชาชนเกิดความสับสนหรือกังวลใจใดๆ เกี่ยวกับราชการแผ่นดินหรือแม้แต่การสืบราชสันตติวงศ์ เพราะเรื่องนี้มีรัฐธรรมนูญ กฏมนเทียรบาลและจารีตประเพณีกำหนดไว้แล้ว แต่การจะดำเนินการเมื่อใด อย่างไรนั้น ทรงมีพระราชบัณฑูรว่า ช่วงเวลานี้ทุกคนทุกฝ่าย แม้แต่พระองค์ท่านเองอยู่ระหว่างความโศกเศร้าโทมนัสอาลัย จึงควรให้ทุกฝ่ายช่วยกันทำให้รู้สึกว่า เราผ่านพ้นหรือบรรเทาความวิปโยคอาดูรนี้ไปได้บ้างก่อน อย่าให้ความรู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลงใดๆ ภายในร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกิดขึ้นกะทันหันเกินไป ทุกคนควรใช้เวลานี้รักษาความทรงจำอันงดงามของเหตุการณ์ 70 ปีที่ผ่านมา เมื่อการบำเพ็ญพระราชกุศลและพระราชพีธีพระบรมศพผ่านพ้นไปแล้วระยะหนึ่ง ก็น่าจะถึงเวลาสมควรดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ไม่น่าจะกระทบต่อแผนงานหรือขั้นตอนใดๆ
พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงการสืบราชสันตติวงศ์อีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ว่า ขอทุกคนอย่ากังวล เมื่อพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลผ่านพ้น ช่วงเวลา 7 วัน 15 วัน ไประยะหนึ่ง น่าจะได้เวลาอันสมควร ที่จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 23 ต่อไป “นั่นคือขั้นตอนที่รัฐบาลจะต้องนำเรื่องแจ้งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อมีมติตามรัฐธรรมนูญ โดยระหว่างนี้ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพลางก่อน เดี๋ยวจะเข้าใจอะไรกันผิดอีก ส่วนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่จะทรงลงพระปรมาภิไธยภายในกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ โดยจะไม่กระทบต่อปฏิทินการทำงานเป็นอันขาด” พล.อ.ประยุทธ์ยังกำชับให้ส่วนราชการทุกแห่งห้ามนำพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชออกจากสถานที่ที่เคยติดตั้งไว้เดิมโดยเด็ดขาด แต่ให้ปรับการใช้ถ้อยคำใต้พระบรมฉายาลักษณ์ให้เหมาะสม
ทั้งนี้ วันที่ 22 ต.ค. ได้เกิดภาพประวัติศาสตร์แห่งความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อประชาชนจากทุกสารทิศต่างพร้อมใจกันใส่ชุดดำเดินทางมาที่ท้องสนามหลวง เพื่อร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ในเวลา 13.00 น.และ 22.00 น. ซึ่งบรรเลงดนตรีโดย Siam Philharmonic Orchestra ที่มี อ.สมเถา สุจริตกุล เป็นวาทยากร พร้อมด้วยคอรัส โดยการรวมพลังร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีครั้งนี้ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล และทีมงาน จัดขึ้นเพื่อบันทึกภาพประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความรักอันยิ่งใหญ่ ความผูกพัน และความอาลัย ของประชาชนผู้จงรักภักดีทุกหมู่เหล่า จัดทำเป็นภาพยนตร์และวิดีทัศน์สำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ และสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ซึ่งประชาชนต่างพร้อมใจกันเดินทางมาร่วมแสดงความอาลัยผ่านเพลงสรรเสริญพระบารมีอย่างล้นหลามทั้งบริเวณท้องสนามหลวงและรอบนอก
สำหรับความคืบหน้าของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ส่งให้นายกรัฐมนตรีแล้ว และนายกฯ ขอเวลาตรวจทาน ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยนั้น ปรากฏว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสวรรคต ส่งผลให้ต้องมีการแก้ไขคำปรารภในร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากคำปรารภเดิมเขียนไว้ เป็นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อมีการเปลี่ยนแผ่นดิน รัฐบาลจึงได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายกรัฐมนตรีสามารถแก้ไขปรับปรุงคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติรับเรื่องดังกล่าวไว้วินิจฉัย พร้อมนัดแถลงด้วยวาจาและลงมติในวันที่ 26 ต.ค.นี้ เวลา 13.30 น.
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า โรดแมปของรัฐบาลยังเหมือนเดิม การดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามที่รัฐบาลได้แจ้งเอาไว้ โดยรัฐบาลได้นำร่างรัฐธรรมนูญเอามาเขียนไว้ในสมุดไทย โดยมีเวลาถึงวันที่ 9 พ.ย. แต่น่าจะเสร็จประมาณต้นเดือน พ.ย. ส่วนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ นั้น สำนักราชเลขาธิการจะนำไปดำเนินการต่อ โดยขั้นตอนลงพระปรมาภิไธยจะมีเวลา 90 วัน เสร็จประมาณปลายเดือน ม.ค.2560 จะช้าหรือเร็วก็ได้ แต่หากจะช้าไปก็ไม่มีเหตุให้กังวล “ที่มาบอกว่า เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญช้าแล้วทุกอย่างจะเดินช้า ไม่จริง เพราะมันเริ่มเร็วและเริ่มไปก่อนหน้านี้แล้ว ผมได้ทราบว่าร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับจวนเสร็จแล้วด้วยซ้ำ ซึ่ง 1-2 ฉบับจากทั้งหมด 10 ฉบับ น่าจะเสร็จเร็ว และมีฉบับอื่นที่ต้องทำต่อ ไม่มีอะไรน่ากังวลใดๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างอย่าไปคิดว่าจะช้า อยู่ในกำหนดเวลาที่ผมได้พูดไปแล้ว”
นายวิษณุยังเผยด้วยว่า เมื่อวันที่ 14 ต.ค. คณะองคมนตรีได้มีการปรึกษาและเลือกนายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรีเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน เนื่องจาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ต้องปฏิบัติหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 24 ระบุไว้ ซึ่งเขียนไว้ด้วยว่า ในระหว่างที่ประธานองคมนตรีปฏิบัติหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวนั้น ไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรีด้วย แม้จะยังเป็นประธานองคมนตรีอยู่ก็ตาม ต้องแยกกัน ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 25 เขียนไว้ว่า กรณีดังกล่าว ให้คณะองคมนตรีเลือกองคมนตรีขึ้นมาคนหนึ่ง มาปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานองคมนตรีเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน เมื่อถึงเวลาที่ พล.อ.เปรม ได้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แล้ว สามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรีได้ตามปกติ โดยไม่ต้องทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย
2.“บิ๊กตู่” ใช้ ม.44 ปลด "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" พ้นผู้ว่าฯ กทม.พร้อมรองผู้ว่าฯ และตั้ง "พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง" รองผู้ว่าฯ กทม.ขึ้นผู้ว่าฯ แทน!
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เรื่องการให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตําแหน่ง และการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยระบุว่า ตามที่มีคําสั่งหัวหน้า คสช. เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยให้ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในกรุงเทพมหานครของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.เป็นการชั่วคราวนั้น เนื่องจากการตรวจสอบหรือการสอบข้อเท็จจริงตามข้อกล่าวหาต่าง ๆ ขององค์กรที่มีอํานาจหน้าที่ตรวจสอบตามกฎหมายยังต้องดําเนินไปอีกระยะหนึ่ง ในขณะที่วาระการดํารงตําแหน่งของผู้ว่าฯ กทม.ใกล้จะสิ้นสุดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ซึ่งจะยังไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ได้ตามนัยแห่งประกาศ คสช. และคําสั่งหัวหน้า คสช.ที่ยังใช้บังคับอยู่ แต่มีความจําเป็นต้องเร่งจัดการบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้เรียบร้อย เกิดความต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคประชาชนได้อย่างมีเอกภาพ... อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช.จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ 1. ให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. พ้นจากตําแหน่งผู้ว่าฯ กทม. และให้ผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้ว่าฯ กทม.อยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ พ้นจากตําแหน่ง รองผู้ว่าฯ กทม. 2. ให้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่า กทม. เป็นผู้ว่าฯ กทม. และให้มีรองผู้ว่าฯ กทม.ไม่เกินสี่คนตามที่ผู้ว่าฯ กทม.แต่งตั้งตามมาตรา 49(3) และมาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หรือ คสช.มีคําสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สำหรับการแต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าฯ กทม.ให้กระทําได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.กล่าวถึงการใช้มาตรา 44 ปลด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.และแต่งตั้ง พล.ต.อ.อัศวิน ดำรงตำแหน่งแทนว่า ขออย่าเพิ่งไปว่ามีใครผิดหรือถูก เพราะทุกอย่างล้วนอยู่ในกระบวนการทั้งสิ้น วันนี้จำเป็นต้องปรับการบริหารงานให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ เพราะบางอย่าง หากไม่เกิดความชัดเจน จะบริหารงบประมาณไม่ได้ จึงต้องมีคนเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้
ขณะที่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ให้สัมภาษณ์หลัง พล.อ.ประยุทธ์ มีคำสั่งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. แทน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้โทรศัพท์แจ้งให้ทราบด้วยตนเอง ก่อนได้รับหนังสือคำสั่งอย่างเป็นทางการ พร้อมเผยว่า "ก่อนหน้านั้น ก็มีผู้หลักผู้ใหญ่มาเกริ่นๆ กับผมไว้บ้างแล้ว เมื่อช่วงวันที่ 11-12 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่ผมยังไม่มีความชัดเจน" ส่วนการแต่งตั้งรองผู้ว่าฯ กทม.ทั้ง 4 คนนั้น พล.ต.อ.อัศวินกล่าวว่า "หากเป็นคนเดิม เชื่อว่าทางผู้ใหญ่คงไม่เอา โดยขอใช้คำว่าล้างกระดาน กทม.ทั้งหมด จะใช้ทีมใหม่ทั้งหมด หลังจากที่เข้าทำงานแล้ว จะเร่งแต่งตั้งทันที"
พล.ต.อ.อัศวินกล่าวอีกว่า ขณะนี้ภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการคือ การจัดเตรียมงานพระราชพิธีและการวางแผนรองรับประชาชนที่หลั่งไหลเข้าร่วมสักการะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แก้ปัญหาน้ำท่วม และแก้ไขปัญหาจราจร ส่วนเรื่องแนวทางการดำเนินงานหรือทิศทางดำเนินงานต่อไปนั้น ขอเวลาศึกษาก่อน ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้พูดคุยกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์หรือไม่ พล.ต.อ.อัศวินกล่าวว่า มีการพูดคุยกันแล้ว โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ได้อวยพรให้ "ผมก็ได้แสดงความเสียใจกับท่าน เนื่องจากอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ต่างคนต่างไม่รู้ และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น"
ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 ต.ค. พล.ต.อ.อัศวิน เผยว่า ได้รองผู้ว่าฯ กทม.ทั้ง 4 คนแล้ว โดย พล.อ.ประยุทธ์ได้ลงนามแต่งตั้ง ประกอบด้วย 1.พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) และอดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 2.นายจักกพันธุ์ ผิวงาม อดีตรองปลัด กทม. 3.นางวรรณวิไล พรหมลักขโณ อดีตรองปลัด กทม.และสมาชิกสภา กทม. และ 4.นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักการจราจรขนส่ง กทม. และให้ น.ส.ตรีดาว อภัยวงศ์ เป็นโฆษก กทม. ทั้งนี้ เดิมมีชื่อ พล.อ.จีระศักดิ์ ชมประสพ ที่ปรึกษานายกและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เป็น 1 ในทีมรองผู้ว่าฯ กทม.ด้วย แต่ได้ขอเปลี่ยแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจของ กทม.
ด้านนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ได้กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรา 44 ปลด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ พ้นตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. เพราะยังเชื่อมั่นในกระบวนการสอบสวนและตรวจสอบตามปกติ และว่า รู้สึกแปลกๆ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ เลือก พล.ต.อ.อัศวิน เข้ามาทำหน้าที่แทนผู้ว่าฯ กทม.แทนคนกรุงเทพฯ ไม่เข้าใจว่าเห็นความสามารถพิเศษอะไร ทำไมถึงไม่ให้ปลัด กทม.ในฐานะหัวหน้าฝ่ายข้าราชการประจำทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.แทน นายอนุสรณ์ยังกล่าวด้วยว่า หาก พล.ต.อ.อัศวิน ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้คนกรุงเทพฯ ได้ พล.อ.ประยุทธ์ จะต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย
ขณะที่นายอัษฎางค์ ปาณิกบุตร นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ได้กล่าวไม่เห็นด้วยเช่นกันที่ คสช.ใช้มาตรา 44 แต่งตั้ง พล.ต.อ.อัศวิน เป็นผู้ว่าฯ กทม. โดยให้มีอำนาจแต่งตั้งรองผู้ว่าฯ อีกไม่เกิน 4 คน เนื่องจากเดิม พล.ต.อ.อัศวิน เคยทำหน้าที่รองผู้ว่าฯ กทม.ในทีมงานของอดีตผู้ว่าฯ ที่ถูกปลดมาก่อน ดังนั้น หาก คสช.มีเจตนามุ่งมั่นปราบทุจริตอย่างจริงจัง และเพื่อให้เกิดความโปร่งใสเป็นกลางในการทำหน้าที่ ไม่ให้มีข้อสงสัยว่า เหตุใดผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ต้องสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เหมือนเดิม ทั้งที่ คสช.ควรสรรหาบุคคลมีความเป็นกลางทางการเมือง อาจเป็นอดีตข้าราชการระดับสูงหรือตัวแทนภาคเอกชนที่มีความรู้ ความเข้าใจบริบทของ กทม.
3.รมช.คลัง-ปลัดกระทรวง ลงนามคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายจำนำข้าวจาก “ยิ่งลักษณ์” แล้ว 3.5 หมื่นล้าน ขณะที่เจ้าตัวอ้างคำสั่งไม่เป็นธรรม!
เมื่อวันที่ 18 ต.ค.มีรายงานข่าวจากกระทรวงการคลังว่า นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ร่วมลงนามคำสั่งทางปกครองเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจำนำข้าวจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีแล้วตั้งแต่สัปดาห์ก่อนหน้า โดยเรียกค่าเสียหายในสัดส่วน 20% ของค่าเสียหาย 1.78 แสนล้านบาท คิดเป็นวงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท โดยนายวิสุทธิ์ลงนามแทน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มอบหมายมา ส่วนนายสมชัยลงนามแทนนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นายอภิศักดิ์ติดภารกิจไปประชุมที่ประเทศสหรัฐฯ และเปรู และได้มอบหมายงานทุกอย่าง รวมถึงการดำเนินการเรื่องจำนำข้าวให้นายสมชัยดำเนินการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอยู่ระหว่างส่งหนังสือไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งทางปกครองดังกล่าว สามารถอุทธรณ์ต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งทางปกครองได้
3 วันต่อมา(21 ต.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวระหว่างเดินทางไปศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อฟังการไต่สวนคดีจำนำข้าว ถึงกรณีที่กระทรวงการคลังส่งคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายจากโครงการจำนำข้าว 3.5 หมื่นล้านบาทว่า ได้รับหนังสือทางปกครองแล้ว ส่วนจะทำอย่างไรต่อไป คิดว่าในช่วงที่คนไทยกำลังโศกเศร้า จะยังไม่ขอแถลงใดๆ จนกว่าจะถึงเวลาอันควร แต่ยืนยันว่า การออกคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมกับตนเป็นอย่างมาก “เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องนโยบายและยังไม่เคยมีใครถูกกระทำในเวลาอันเร่งรีบมาก่อน ดิฉันขอยืนยันจะใช้สิทธิทุกช่องทางกฎหมายที่มีในการต่อสู้ครั้งนี้ และขอปฏิเสธข้อกล่าวหาต่างๆ รวมถึงการใช้คำสั่งที่ไม่ถูกต้องและเป็นธรรม และจะเปิดแถลงในเวลาอันควร”
ด้าน นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีกระทรวงการคลังออกคำสั่งทางปกครองเรียกเก็บค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าวจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ 3.5 หมื่นล้านบาทว่า ต้องขอชื่นชมนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ที่ได้ทำหน้าที่ลงนามคำสั่งทางปกครองเพื่อเรียกค่าเสียหายในวงเงิน 35,717 ล้านบาท จากผู้ที่สร้างความเสียหายแก่ประเทศของเรา ถือว่าทั้งสองได้ทำหน้าที่สมกับที่ประชาชนไว้วางใจให้ช่วยกันดูแลสมบัติของประเทศ “ส่วนกรณีผู้ที่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย ถ้ารู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากประเทศของเรานั้นปกครองโดยหลักของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายก็ให้โอกาสร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองได้ สิ่งใดที่คิดว่าไม่เป็นธรรม ทุกฝ่ายก็มีศาลเป็นที่พึ่ง ถ้าทุกฝ่ายเคารพกฎหมาย ไม่นำเสนอข้อมูลที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ผมเชื่อเลยว่าประเทศไทยของเราจะไม่ติดหล่มความขัดแย้ง จะเดินหน้าได้อย่างมั่นคง และจะเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลกภายใต้ร่มพระบารมีพ่อของเรา ขอให้ทุกฝ่ายเคารพกฎหมายของประเทศจริงๆ เคารพคำตัดสินของศาลจริงๆ เท่านั้นเอง”
4.ถอดยศทหาร-ยึดเครื่องราชฯ “เสธ.แอ๊ป” ผู้ต้องหาคดีรื้อบาร์เบียร์ และถอดยศ “ร.ต.ภัฏณัฐ” เหตุสั่งซ้อมพลทหารที่ยะลาเสียชีวิต!
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดยศทหารและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ต.ธัญเทพ ธรรมธร หรือ เสธ.แอ๊ป สังกัดกองทัพบก ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุก เนื่องจากมีความผิดต่อเสรีภาพ บุกรุก ทําให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ยศทหาร พ.ศ.2479 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยศทหาร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 ประกอบระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยผู้ซึ่งไม่สมควรจะดํารงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ. 2507 พร้อมกันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นตริตาภรณ์มงกุฎไทย และจัตุรถาภรณ์ช้างเผือก ที่บุคคลดังกล่าวได้รับพระราชทาน ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548 ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2559
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2559 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีรื้อบาร์เบียร์ พ.ศ. 2546 ที่ปากซอยสุขุมวิท 10 โดยในส่วนของ พ.ต.ธัญเทพ หรือ เสธ.แอ๊ป จำเลยถูกตัดสินจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา แต่ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษา ซึ่งศาลได้ออกหมายจับ ขณะที่กรมพระธรรมนูญทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ดำเนินการปลดออกจากราชการ ทั้งนี้ ในกรณี พ.ต.ธัญเทพนั้นมีรายงานว่า ได้ถูกกองทัพปลดออกจากราชการมาก่อนหน้านี้แล้ว
วันเดียวกัน(19 ต.ค.) ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดยศทหาร ร.ต.ภัฏณัท เลิศชัยกุล สังกัดกองทัพบก ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. 2559 ซึ่งเป็นวันที่มีคำสั่งปลดออกจากราชการ เนื่องจากกระทำความผิดวินัยทหาร ฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ยศทหาร พ.ศ. 2479 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยศทหาร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 ประกอบระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยผู้ซึ่งไม่สมควรจะดำรงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ. 2507 ประกาศ ณ วันที่ 7 ต.ค. 2559
สำหรับนายภัฏณัฐ ถูกระบุว่า เคยเป็นนายทหารเวร และออกคำสั่งให้ทหารเวรลงโทษทางวินัย พลทหาร ทรงธรรม หมุดหมัด สังกัดค่ายพยัคฆ์ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 152 (ร.152 พัน.1) อ.บันนังสตา จ.ยะลา จนเสียชีวิต ซึ่งกรณีนี้มีทหารร่วมกระทำความผิด 6 นาย และกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในสังคม เนื่องจากมีรายงานข่าวว่า จริงๆ แล้วพลทหารทรงธรรม ที่เกิดเรื่องก็เนื่องจากต้องการเงินจำนวน 5,000 บาทที่ถูกผู้บังคับบัญชาเอาไป จนเกิดการทะเลาะกัน เพราะผู้บังคับบัญชาไม่ยอมคืนเงินให้ ต่อมาได้มีการลงโทษทารุณพลทหารทรงธรรมทั้งคืนตั้งแต่ 4 ทุ่มจนถึงตี 4 ทำให้พลทหารทรงธรรมบาดเจ็บสาหัส กระทั่งเสียชีวิตในที่สุด ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้สั่งให้ลงโทษและสอบสวนครูฝึกที่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่า “ถ้าผิดจริงจะต้องปลดออก งดบำเหน็จบำนาญ ต้องว่าไปตามวินัยของทหารและคดีอาญา” ขณะที่กองทัพบกได้มีคำสั่งให้ย้าย พ.ท.สมคิด คงแข็ง ผบ.ร.152 พัน.1 และนายทหารยศร้อยเอก ออกนอกหน่วยแล้ว เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ต้องร่วมรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
5.คณะกรรมการค่าจ้างมีมติขึ้นค่าแรง 69 จังหวัด ตั้งแต่ 5-10 บาท ส่วนอีก 8 จังหวัดไม่ขึ้น เตรียมชง ครม.เห็นชอบก่อนประกาศใช้ 1 ม.ค.ปีหน้า!
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง) เผยหลังประชุมบอร์ดค่าจ้างว่า คณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมพิจารณาการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2560 โดยใช้สูตรการคำนวณใหม่ ซึ่งเพิ่มปัจจัยชี้วัดทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมกว่า 10 รายการ ได้แก่ 1.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับปัจจุบัน 2.ดัชนีค่าครองชีพ 3.อัตราค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อตั้งแต่ปี 2558-2559 4.มาตรฐานค่าเฉลี่ยการครองชีพ 5.ต้นทุนการผลิต 6.ราคาสินค้าและบริการ 7.ความสามารถของธุรกิจ 8.ผลิตภาพแรงงาน 9.ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(จีดีพี) ตั้งแต่ปี 2553-2557 และ 10.สภาพเศรษฐกิจและสังคม
หลังการพิจารณา ที่ประชุมได้มีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2560 ซึ่งจะขึ้นตั้งแต่ 5-10 บาท โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ไม่ปรับขึ้นค่าจ้าง มี 8 จังหวัด คือ สิงห์บุรี, ชุมพร, นครศรีธรรมราช, ตรัง, ระนอง, นราธิวาส, ปัตตานี และยะลา กลุ่มที่ 2 ปรับขึ้น 5 บาท มี 49 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, น่าน, ตาก, กาญจนบุรี, ราชบุรี, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, พัทลุง, สตูล, กำแพงเพชร, พิจิตร, แพร่, เพชรบูรณ์, อุทัยธานี, สกลนคร, กาฬสินธุ์, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, บุรีรัมย์, สุรินทร์, อำนาจเจริญ, ชัยนาท, ลพบุรี, นครนายก, สระแก้ว, ประจวบคีรีขันธ์, สมุทรสงคราม, จันทบุรี, ตราด, ลำพูน, พะเยา, สุโขทัย, อุตรดิตถ์, บึงกาฬ, นครพนม, อุบลราชธานี, อ่างทอง, เลย, หนองบัวลำภู, มุกดาหาร, ยโสธร, เชียงราย, พิษณุโลก, อุดรธานี, ชัยภูมิ, ศรีสะเกษ, นครสวรรค์ และหนองคาย กลุ่มที่ 3 ขึ้น 8 บาท มี 13 จังหวัด คือ ขอนแก่น, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, ชลบุรี, ระยอง, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, เชียงใหม่, สระบุรี, ฉะเชิงเทรา, กระบี่, พังงา และพระนครศรีอยุธยา และกลุ่มที่ 4 ขึ้น 10 บาท มี 7 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และภูเก็ต
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะนำผลสรุปของคณะกรรมการค่าจ้างเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจะประกาศบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.2560
ประธานบอร์ดค่าจ้าง ยืนยันว่า การปรับค่าข้างครั้งนี้ยึดหลักตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และการนำ 10 ปัจจัย คือ ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิต ราคาการผลิต ความสามารถในการผลิต มาตรฐานการครองชีพ ราคาสินค้าและบริการ ความสามารถธุรกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมระดับประเทศ และสภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงศึกษาให้เทียบเคียงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยนำมาเข้าสูตรคำนวณใหม่ จึงได้ผลลัพธ์ตามที่มีมติออกมา ส่วนขั้นตอนต่อไปจะสรุปผลการประชุมส่งให้ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานพิจารณาลงนาม และส่งเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด
ด้านนายวัลลภ กิ่งชาญศิลป์ กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า การพิจารณาอัตราค่าจ้างครั้งนี้ มีทั้งปรับขึ้นและไม่ปรับขึ้น ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่บอร์ดค่าจ้างมีการคิดสูตรการคำนวณขึ้นมาใหม่ ที่สอดคล้องกับข้อมูลสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับปัจจัยชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สามารถนำไปปรับใช้ในโอกาสต่อไปได้ สิ่งที่ทำในวันนี้คือการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างครบถ้วนแล้ว
ขณะที่นายสมบัติ น้อยหว้า กรรมการค่าจ้างฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่า บอร์ดค่าจ้างได้ใช้สูตรการคำนวณใหม่และได้พิจารณาร่วมกันอย่างรอบคอบที่สุดในการปรับขึ้นและไม่ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างครั้งนี้ โดยคำนึงถึงระบบเศรษฐกิจและผลกระทบที่อาจจะตามมาเป็นหลัก ยืนยันว่าไม่มีการชี้นำหรือแทรกแซงทางการเมืองอย่างแน่นอน
ด้านนายชาลี ลอยสูง รักษาการประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่า ทาง คสรท.และพี่น้องแรงงานต่างไม่พอใจ ผลที่ออกมาทำให้เสียความรู้สึก เนื่องจาก 1.มีจังหวัดที่ไม่ได้ปรับค่าจ้าง หนำซ้ำจังหวัดที่ได้ปรับสูงสุดเพียง 10 บาท ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน และจังหวัดที่ไม่ปรับ ก็ไปอยู่ทางภาคใต้ ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น เพราะภาคใต้มีความเป็นอยู่ลำบาก ไม่ควรไปกดค่าจ้างหรือไม่เพิ่มเลย "สงสัยว่า ทำไมไม่ปรับให้เท่ากันทั่วประเทศ หากจะปรับ 10 บาท ควรให้ทุกจังหวัดเท่ากัน ดีกว่าปรับขึ้น 5 บาท 8 บาท 10 บาท ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ค่าครองชีพ...กรณีปรับขึ้น 5 บาท หากคิดจริงๆ ผ่านมา 5 ปี เพิ่งจะมาปรับค่าจ้าง ดังนั้น คิดเฉลี่ยแล้วตกปีละ 1 บาทกว่าเอง เครือข่ายแรงงานจะมีการหารือกัน จะทำหนังสือร้องไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องนี้ต่อไป"
1.ประชาชนทุกสารทิศพร้อมใจใส่ชุดดำร้องเพลง “สรรเสริญพระบารมี” ล้นสนามหลวง ด้านสำนักพระราชวังเตรียมเปิดให้ ปชช.ถวายบังคมพระบรมศพ 28 ต.ค.!
หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ประชาชนยังคงทยอยเข้าสักการะพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์และลงนามแสดงความอาลัย ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง อย่างต่อเนื่อง โดยสำนักพระราชวังเผยว่า ตัวเลขประชาชนที่เข้าแสดงความอาลัยทั้ง 7 วัน อยู่ที่ 225,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 40,000-50,000 คน ขณะที่พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร( 7 วัน) พระบรมศพมีขึ้นเมื่อวันที่ 20 ต.ค. โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ ร่วมในพระราชพิธี
ทั้งนี้ สำนักพระราชวังจะเปิดให้ประชาชนเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ได้ภายหลังพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค. เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังพระราชทานพระราชานุญาตให้บุคคล คณะบุคคล ภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ร่วมเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญพระราชกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพได้ ภายหลังพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลครบ 50 วัน
นอกจากประชาชนไทยทั้งในและต่างประเทศจะเศร้าโศกเสียใจและแสดงความอาลัยต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแล้ว ผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังคงทยอยส่งสารแสดงความเสียใจมายังประเทศไทย อาทิ นางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ได้ส่งหนังสือผ่านกระทรวงศึกษาธิการถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความอาลัยอย่างสุดซึ้งต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมชื่นชมพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงความสำคัญต่อศตวรรษที่ 21 พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความสมัครสมานสามัคคีของคนไทยในชาติ นอกจากนี้ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อการดำเนินงานของสหประชาชาติ สิ่งที่ไม่สามารถลบเลือนจากจิตใจได้ คือการที่พระองค์ได้ทรงอุทิศกำลังพระวรกาย และทรงพระวิริยอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อการส่งเสริมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความเสมอภาพในสังคม นำประเทศชาติสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน...
ขณะที่ผู้นำบางประเทศเดินทางมาสักการะพระบรมศพถึงเมืองไทย ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน และสมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก, นายนาจิบ ราซะก์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เป็นต้น
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยเมื่อกลางดึกคืนวันที่ 15 ต.ค.ว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พร้อมด้วยตนเอง เข้าเฝ้าฯ ถวายรายงานข้อราชการ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยพระองค์ทรงมีพระราชปรารภสำคัญเรื่องหนึ่งคือ ขออย่าให้ประชาชนเกิดความสับสนหรือกังวลใจใดๆ เกี่ยวกับราชการแผ่นดินหรือแม้แต่การสืบราชสันตติวงศ์ เพราะเรื่องนี้มีรัฐธรรมนูญ กฏมนเทียรบาลและจารีตประเพณีกำหนดไว้แล้ว แต่การจะดำเนินการเมื่อใด อย่างไรนั้น ทรงมีพระราชบัณฑูรว่า ช่วงเวลานี้ทุกคนทุกฝ่าย แม้แต่พระองค์ท่านเองอยู่ระหว่างความโศกเศร้าโทมนัสอาลัย จึงควรให้ทุกฝ่ายช่วยกันทำให้รู้สึกว่า เราผ่านพ้นหรือบรรเทาความวิปโยคอาดูรนี้ไปได้บ้างก่อน อย่าให้ความรู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลงใดๆ ภายในร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกิดขึ้นกะทันหันเกินไป ทุกคนควรใช้เวลานี้รักษาความทรงจำอันงดงามของเหตุการณ์ 70 ปีที่ผ่านมา เมื่อการบำเพ็ญพระราชกุศลและพระราชพีธีพระบรมศพผ่านพ้นไปแล้วระยะหนึ่ง ก็น่าจะถึงเวลาสมควรดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ไม่น่าจะกระทบต่อแผนงานหรือขั้นตอนใดๆ
พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงการสืบราชสันตติวงศ์อีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ว่า ขอทุกคนอย่ากังวล เมื่อพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลผ่านพ้น ช่วงเวลา 7 วัน 15 วัน ไประยะหนึ่ง น่าจะได้เวลาอันสมควร ที่จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 23 ต่อไป “นั่นคือขั้นตอนที่รัฐบาลจะต้องนำเรื่องแจ้งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อมีมติตามรัฐธรรมนูญ โดยระหว่างนี้ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพลางก่อน เดี๋ยวจะเข้าใจอะไรกันผิดอีก ส่วนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่จะทรงลงพระปรมาภิไธยภายในกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ โดยจะไม่กระทบต่อปฏิทินการทำงานเป็นอันขาด” พล.อ.ประยุทธ์ยังกำชับให้ส่วนราชการทุกแห่งห้ามนำพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชออกจากสถานที่ที่เคยติดตั้งไว้เดิมโดยเด็ดขาด แต่ให้ปรับการใช้ถ้อยคำใต้พระบรมฉายาลักษณ์ให้เหมาะสม
ทั้งนี้ วันที่ 22 ต.ค. ได้เกิดภาพประวัติศาสตร์แห่งความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อประชาชนจากทุกสารทิศต่างพร้อมใจกันใส่ชุดดำเดินทางมาที่ท้องสนามหลวง เพื่อร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ในเวลา 13.00 น.และ 22.00 น. ซึ่งบรรเลงดนตรีโดย Siam Philharmonic Orchestra ที่มี อ.สมเถา สุจริตกุล เป็นวาทยากร พร้อมด้วยคอรัส โดยการรวมพลังร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีครั้งนี้ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล และทีมงาน จัดขึ้นเพื่อบันทึกภาพประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความรักอันยิ่งใหญ่ ความผูกพัน และความอาลัย ของประชาชนผู้จงรักภักดีทุกหมู่เหล่า จัดทำเป็นภาพยนตร์และวิดีทัศน์สำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ และสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ซึ่งประชาชนต่างพร้อมใจกันเดินทางมาร่วมแสดงความอาลัยผ่านเพลงสรรเสริญพระบารมีอย่างล้นหลามทั้งบริเวณท้องสนามหลวงและรอบนอก
สำหรับความคืบหน้าของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ส่งให้นายกรัฐมนตรีแล้ว และนายกฯ ขอเวลาตรวจทาน ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยนั้น ปรากฏว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสวรรคต ส่งผลให้ต้องมีการแก้ไขคำปรารภในร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากคำปรารภเดิมเขียนไว้ เป็นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อมีการเปลี่ยนแผ่นดิน รัฐบาลจึงได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายกรัฐมนตรีสามารถแก้ไขปรับปรุงคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติรับเรื่องดังกล่าวไว้วินิจฉัย พร้อมนัดแถลงด้วยวาจาและลงมติในวันที่ 26 ต.ค.นี้ เวลา 13.30 น.
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า โรดแมปของรัฐบาลยังเหมือนเดิม การดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามที่รัฐบาลได้แจ้งเอาไว้ โดยรัฐบาลได้นำร่างรัฐธรรมนูญเอามาเขียนไว้ในสมุดไทย โดยมีเวลาถึงวันที่ 9 พ.ย. แต่น่าจะเสร็จประมาณต้นเดือน พ.ย. ส่วนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ นั้น สำนักราชเลขาธิการจะนำไปดำเนินการต่อ โดยขั้นตอนลงพระปรมาภิไธยจะมีเวลา 90 วัน เสร็จประมาณปลายเดือน ม.ค.2560 จะช้าหรือเร็วก็ได้ แต่หากจะช้าไปก็ไม่มีเหตุให้กังวล “ที่มาบอกว่า เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญช้าแล้วทุกอย่างจะเดินช้า ไม่จริง เพราะมันเริ่มเร็วและเริ่มไปก่อนหน้านี้แล้ว ผมได้ทราบว่าร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับจวนเสร็จแล้วด้วยซ้ำ ซึ่ง 1-2 ฉบับจากทั้งหมด 10 ฉบับ น่าจะเสร็จเร็ว และมีฉบับอื่นที่ต้องทำต่อ ไม่มีอะไรน่ากังวลใดๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างอย่าไปคิดว่าจะช้า อยู่ในกำหนดเวลาที่ผมได้พูดไปแล้ว”
นายวิษณุยังเผยด้วยว่า เมื่อวันที่ 14 ต.ค. คณะองคมนตรีได้มีการปรึกษาและเลือกนายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรีเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน เนื่องจาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ต้องปฏิบัติหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 24 ระบุไว้ ซึ่งเขียนไว้ด้วยว่า ในระหว่างที่ประธานองคมนตรีปฏิบัติหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราวนั้น ไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรีด้วย แม้จะยังเป็นประธานองคมนตรีอยู่ก็ตาม ต้องแยกกัน ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 25 เขียนไว้ว่า กรณีดังกล่าว ให้คณะองคมนตรีเลือกองคมนตรีขึ้นมาคนหนึ่ง มาปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานองคมนตรีเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน เมื่อถึงเวลาที่ พล.อ.เปรม ได้พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แล้ว สามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรีได้ตามปกติ โดยไม่ต้องทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย
2.“บิ๊กตู่” ใช้ ม.44 ปลด "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" พ้นผู้ว่าฯ กทม.พร้อมรองผู้ว่าฯ และตั้ง "พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง" รองผู้ว่าฯ กทม.ขึ้นผู้ว่าฯ แทน!
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เรื่องการให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตําแหน่ง และการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยระบุว่า ตามที่มีคําสั่งหัวหน้า คสช. เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยให้ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในกรุงเทพมหานครของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.เป็นการชั่วคราวนั้น เนื่องจากการตรวจสอบหรือการสอบข้อเท็จจริงตามข้อกล่าวหาต่าง ๆ ขององค์กรที่มีอํานาจหน้าที่ตรวจสอบตามกฎหมายยังต้องดําเนินไปอีกระยะหนึ่ง ในขณะที่วาระการดํารงตําแหน่งของผู้ว่าฯ กทม.ใกล้จะสิ้นสุดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ซึ่งจะยังไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ได้ตามนัยแห่งประกาศ คสช. และคําสั่งหัวหน้า คสช.ที่ยังใช้บังคับอยู่ แต่มีความจําเป็นต้องเร่งจัดการบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้เรียบร้อย เกิดความต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคประชาชนได้อย่างมีเอกภาพ... อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช.จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ 1. ให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. พ้นจากตําแหน่งผู้ว่าฯ กทม. และให้ผู้ดํารงตําแหน่งรองผู้ว่าฯ กทม.อยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ พ้นจากตําแหน่ง รองผู้ว่าฯ กทม. 2. ให้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่า กทม. เป็นผู้ว่าฯ กทม. และให้มีรองผู้ว่าฯ กทม.ไม่เกินสี่คนตามที่ผู้ว่าฯ กทม.แต่งตั้งตามมาตรา 49(3) และมาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หรือ คสช.มีคําสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น สำหรับการแต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าฯ กทม.ให้กระทําได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.กล่าวถึงการใช้มาตรา 44 ปลด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.และแต่งตั้ง พล.ต.อ.อัศวิน ดำรงตำแหน่งแทนว่า ขออย่าเพิ่งไปว่ามีใครผิดหรือถูก เพราะทุกอย่างล้วนอยู่ในกระบวนการทั้งสิ้น วันนี้จำเป็นต้องปรับการบริหารงานให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ เพราะบางอย่าง หากไม่เกิดความชัดเจน จะบริหารงบประมาณไม่ได้ จึงต้องมีคนเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้
ขณะที่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ให้สัมภาษณ์หลัง พล.อ.ประยุทธ์ มีคำสั่งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. แทน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้โทรศัพท์แจ้งให้ทราบด้วยตนเอง ก่อนได้รับหนังสือคำสั่งอย่างเป็นทางการ พร้อมเผยว่า "ก่อนหน้านั้น ก็มีผู้หลักผู้ใหญ่มาเกริ่นๆ กับผมไว้บ้างแล้ว เมื่อช่วงวันที่ 11-12 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่ผมยังไม่มีความชัดเจน" ส่วนการแต่งตั้งรองผู้ว่าฯ กทม.ทั้ง 4 คนนั้น พล.ต.อ.อัศวินกล่าวว่า "หากเป็นคนเดิม เชื่อว่าทางผู้ใหญ่คงไม่เอา โดยขอใช้คำว่าล้างกระดาน กทม.ทั้งหมด จะใช้ทีมใหม่ทั้งหมด หลังจากที่เข้าทำงานแล้ว จะเร่งแต่งตั้งทันที"
พล.ต.อ.อัศวินกล่าวอีกว่า ขณะนี้ภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการคือ การจัดเตรียมงานพระราชพิธีและการวางแผนรองรับประชาชนที่หลั่งไหลเข้าร่วมสักการะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แก้ปัญหาน้ำท่วม และแก้ไขปัญหาจราจร ส่วนเรื่องแนวทางการดำเนินงานหรือทิศทางดำเนินงานต่อไปนั้น ขอเวลาศึกษาก่อน ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้พูดคุยกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์หรือไม่ พล.ต.อ.อัศวินกล่าวว่า มีการพูดคุยกันแล้ว โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ได้อวยพรให้ "ผมก็ได้แสดงความเสียใจกับท่าน เนื่องจากอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ต่างคนต่างไม่รู้ และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น"
ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 ต.ค. พล.ต.อ.อัศวิน เผยว่า ได้รองผู้ว่าฯ กทม.ทั้ง 4 คนแล้ว โดย พล.อ.ประยุทธ์ได้ลงนามแต่งตั้ง ประกอบด้วย 1.พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) และอดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 2.นายจักกพันธุ์ ผิวงาม อดีตรองปลัด กทม. 3.นางวรรณวิไล พรหมลักขโณ อดีตรองปลัด กทม.และสมาชิกสภา กทม. และ 4.นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักการจราจรขนส่ง กทม. และให้ น.ส.ตรีดาว อภัยวงศ์ เป็นโฆษก กทม. ทั้งนี้ เดิมมีชื่อ พล.อ.จีระศักดิ์ ชมประสพ ที่ปรึกษานายกและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เป็น 1 ในทีมรองผู้ว่าฯ กทม.ด้วย แต่ได้ขอเปลี่ยแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจของ กทม.
ด้านนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ได้กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรา 44 ปลด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ พ้นตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. เพราะยังเชื่อมั่นในกระบวนการสอบสวนและตรวจสอบตามปกติ และว่า รู้สึกแปลกๆ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ เลือก พล.ต.อ.อัศวิน เข้ามาทำหน้าที่แทนผู้ว่าฯ กทม.แทนคนกรุงเทพฯ ไม่เข้าใจว่าเห็นความสามารถพิเศษอะไร ทำไมถึงไม่ให้ปลัด กทม.ในฐานะหัวหน้าฝ่ายข้าราชการประจำทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.แทน นายอนุสรณ์ยังกล่าวด้วยว่า หาก พล.ต.อ.อัศวิน ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้คนกรุงเทพฯ ได้ พล.อ.ประยุทธ์ จะต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย
ขณะที่นายอัษฎางค์ ปาณิกบุตร นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ได้กล่าวไม่เห็นด้วยเช่นกันที่ คสช.ใช้มาตรา 44 แต่งตั้ง พล.ต.อ.อัศวิน เป็นผู้ว่าฯ กทม. โดยให้มีอำนาจแต่งตั้งรองผู้ว่าฯ อีกไม่เกิน 4 คน เนื่องจากเดิม พล.ต.อ.อัศวิน เคยทำหน้าที่รองผู้ว่าฯ กทม.ในทีมงานของอดีตผู้ว่าฯ ที่ถูกปลดมาก่อน ดังนั้น หาก คสช.มีเจตนามุ่งมั่นปราบทุจริตอย่างจริงจัง และเพื่อให้เกิดความโปร่งใสเป็นกลางในการทำหน้าที่ ไม่ให้มีข้อสงสัยว่า เหตุใดผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ต้องสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เหมือนเดิม ทั้งที่ คสช.ควรสรรหาบุคคลมีความเป็นกลางทางการเมือง อาจเป็นอดีตข้าราชการระดับสูงหรือตัวแทนภาคเอกชนที่มีความรู้ ความเข้าใจบริบทของ กทม.
3.รมช.คลัง-ปลัดกระทรวง ลงนามคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายจำนำข้าวจาก “ยิ่งลักษณ์” แล้ว 3.5 หมื่นล้าน ขณะที่เจ้าตัวอ้างคำสั่งไม่เป็นธรรม!
เมื่อวันที่ 18 ต.ค.มีรายงานข่าวจากกระทรวงการคลังว่า นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ร่วมลงนามคำสั่งทางปกครองเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจำนำข้าวจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีแล้วตั้งแต่สัปดาห์ก่อนหน้า โดยเรียกค่าเสียหายในสัดส่วน 20% ของค่าเสียหาย 1.78 แสนล้านบาท คิดเป็นวงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท โดยนายวิสุทธิ์ลงนามแทน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มอบหมายมา ส่วนนายสมชัยลงนามแทนนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นายอภิศักดิ์ติดภารกิจไปประชุมที่ประเทศสหรัฐฯ และเปรู และได้มอบหมายงานทุกอย่าง รวมถึงการดำเนินการเรื่องจำนำข้าวให้นายสมชัยดำเนินการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอยู่ระหว่างส่งหนังสือไปยัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งทางปกครองดังกล่าว สามารถอุทธรณ์ต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งทางปกครองได้
3 วันต่อมา(21 ต.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวระหว่างเดินทางไปศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อฟังการไต่สวนคดีจำนำข้าว ถึงกรณีที่กระทรวงการคลังส่งคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายจากโครงการจำนำข้าว 3.5 หมื่นล้านบาทว่า ได้รับหนังสือทางปกครองแล้ว ส่วนจะทำอย่างไรต่อไป คิดว่าในช่วงที่คนไทยกำลังโศกเศร้า จะยังไม่ขอแถลงใดๆ จนกว่าจะถึงเวลาอันควร แต่ยืนยันว่า การออกคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมกับตนเป็นอย่างมาก “เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องนโยบายและยังไม่เคยมีใครถูกกระทำในเวลาอันเร่งรีบมาก่อน ดิฉันขอยืนยันจะใช้สิทธิทุกช่องทางกฎหมายที่มีในการต่อสู้ครั้งนี้ และขอปฏิเสธข้อกล่าวหาต่างๆ รวมถึงการใช้คำสั่งที่ไม่ถูกต้องและเป็นธรรม และจะเปิดแถลงในเวลาอันควร”
ด้าน นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีกระทรวงการคลังออกคำสั่งทางปกครองเรียกเก็บค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าวจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ 3.5 หมื่นล้านบาทว่า ต้องขอชื่นชมนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ที่ได้ทำหน้าที่ลงนามคำสั่งทางปกครองเพื่อเรียกค่าเสียหายในวงเงิน 35,717 ล้านบาท จากผู้ที่สร้างความเสียหายแก่ประเทศของเรา ถือว่าทั้งสองได้ทำหน้าที่สมกับที่ประชาชนไว้วางใจให้ช่วยกันดูแลสมบัติของประเทศ “ส่วนกรณีผู้ที่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย ถ้ารู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากประเทศของเรานั้นปกครองโดยหลักของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายก็ให้โอกาสร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองได้ สิ่งใดที่คิดว่าไม่เป็นธรรม ทุกฝ่ายก็มีศาลเป็นที่พึ่ง ถ้าทุกฝ่ายเคารพกฎหมาย ไม่นำเสนอข้อมูลที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ผมเชื่อเลยว่าประเทศไทยของเราจะไม่ติดหล่มความขัดแย้ง จะเดินหน้าได้อย่างมั่นคง และจะเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลกภายใต้ร่มพระบารมีพ่อของเรา ขอให้ทุกฝ่ายเคารพกฎหมายของประเทศจริงๆ เคารพคำตัดสินของศาลจริงๆ เท่านั้นเอง”
4.ถอดยศทหาร-ยึดเครื่องราชฯ “เสธ.แอ๊ป” ผู้ต้องหาคดีรื้อบาร์เบียร์ และถอดยศ “ร.ต.ภัฏณัฐ” เหตุสั่งซ้อมพลทหารที่ยะลาเสียชีวิต!
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดยศทหารและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ต.ธัญเทพ ธรรมธร หรือ เสธ.แอ๊ป สังกัดกองทัพบก ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุก เนื่องจากมีความผิดต่อเสรีภาพ บุกรุก ทําให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ยศทหาร พ.ศ.2479 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยศทหาร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 ประกอบระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยผู้ซึ่งไม่สมควรจะดํารงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ. 2507 พร้อมกันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นตริตาภรณ์มงกุฎไทย และจัตุรถาภรณ์ช้างเผือก ที่บุคคลดังกล่าวได้รับพระราชทาน ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548 ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2559
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2559 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีรื้อบาร์เบียร์ พ.ศ. 2546 ที่ปากซอยสุขุมวิท 10 โดยในส่วนของ พ.ต.ธัญเทพ หรือ เสธ.แอ๊ป จำเลยถูกตัดสินจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา แต่ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษา ซึ่งศาลได้ออกหมายจับ ขณะที่กรมพระธรรมนูญทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ดำเนินการปลดออกจากราชการ ทั้งนี้ ในกรณี พ.ต.ธัญเทพนั้นมีรายงานว่า ได้ถูกกองทัพปลดออกจากราชการมาก่อนหน้านี้แล้ว
วันเดียวกัน(19 ต.ค.) ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดยศทหาร ร.ต.ภัฏณัท เลิศชัยกุล สังกัดกองทัพบก ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. 2559 ซึ่งเป็นวันที่มีคำสั่งปลดออกจากราชการ เนื่องจากกระทำความผิดวินัยทหาร ฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการขัดคำสั่งนั้นเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ยศทหาร พ.ศ. 2479 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยศทหาร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 ประกอบระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยผู้ซึ่งไม่สมควรจะดำรงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ. 2507 ประกาศ ณ วันที่ 7 ต.ค. 2559
สำหรับนายภัฏณัฐ ถูกระบุว่า เคยเป็นนายทหารเวร และออกคำสั่งให้ทหารเวรลงโทษทางวินัย พลทหาร ทรงธรรม หมุดหมัด สังกัดค่ายพยัคฆ์ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 152 (ร.152 พัน.1) อ.บันนังสตา จ.ยะลา จนเสียชีวิต ซึ่งกรณีนี้มีทหารร่วมกระทำความผิด 6 นาย และกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในสังคม เนื่องจากมีรายงานข่าวว่า จริงๆ แล้วพลทหารทรงธรรม ที่เกิดเรื่องก็เนื่องจากต้องการเงินจำนวน 5,000 บาทที่ถูกผู้บังคับบัญชาเอาไป จนเกิดการทะเลาะกัน เพราะผู้บังคับบัญชาไม่ยอมคืนเงินให้ ต่อมาได้มีการลงโทษทารุณพลทหารทรงธรรมทั้งคืนตั้งแต่ 4 ทุ่มจนถึงตี 4 ทำให้พลทหารทรงธรรมบาดเจ็บสาหัส กระทั่งเสียชีวิตในที่สุด ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้สั่งให้ลงโทษและสอบสวนครูฝึกที่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่า “ถ้าผิดจริงจะต้องปลดออก งดบำเหน็จบำนาญ ต้องว่าไปตามวินัยของทหารและคดีอาญา” ขณะที่กองทัพบกได้มีคำสั่งให้ย้าย พ.ท.สมคิด คงแข็ง ผบ.ร.152 พัน.1 และนายทหารยศร้อยเอก ออกนอกหน่วยแล้ว เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ต้องร่วมรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
5.คณะกรรมการค่าจ้างมีมติขึ้นค่าแรง 69 จังหวัด ตั้งแต่ 5-10 บาท ส่วนอีก 8 จังหวัดไม่ขึ้น เตรียมชง ครม.เห็นชอบก่อนประกาศใช้ 1 ม.ค.ปีหน้า!
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง) เผยหลังประชุมบอร์ดค่าจ้างว่า คณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมพิจารณาการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2560 โดยใช้สูตรการคำนวณใหม่ ซึ่งเพิ่มปัจจัยชี้วัดทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมกว่า 10 รายการ ได้แก่ 1.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับปัจจุบัน 2.ดัชนีค่าครองชีพ 3.อัตราค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อตั้งแต่ปี 2558-2559 4.มาตรฐานค่าเฉลี่ยการครองชีพ 5.ต้นทุนการผลิต 6.ราคาสินค้าและบริการ 7.ความสามารถของธุรกิจ 8.ผลิตภาพแรงงาน 9.ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(จีดีพี) ตั้งแต่ปี 2553-2557 และ 10.สภาพเศรษฐกิจและสังคม
หลังการพิจารณา ที่ประชุมได้มีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2560 ซึ่งจะขึ้นตั้งแต่ 5-10 บาท โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ไม่ปรับขึ้นค่าจ้าง มี 8 จังหวัด คือ สิงห์บุรี, ชุมพร, นครศรีธรรมราช, ตรัง, ระนอง, นราธิวาส, ปัตตานี และยะลา กลุ่มที่ 2 ปรับขึ้น 5 บาท มี 49 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, น่าน, ตาก, กาญจนบุรี, ราชบุรี, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, พัทลุง, สตูล, กำแพงเพชร, พิจิตร, แพร่, เพชรบูรณ์, อุทัยธานี, สกลนคร, กาฬสินธุ์, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, บุรีรัมย์, สุรินทร์, อำนาจเจริญ, ชัยนาท, ลพบุรี, นครนายก, สระแก้ว, ประจวบคีรีขันธ์, สมุทรสงคราม, จันทบุรี, ตราด, ลำพูน, พะเยา, สุโขทัย, อุตรดิตถ์, บึงกาฬ, นครพนม, อุบลราชธานี, อ่างทอง, เลย, หนองบัวลำภู, มุกดาหาร, ยโสธร, เชียงราย, พิษณุโลก, อุดรธานี, ชัยภูมิ, ศรีสะเกษ, นครสวรรค์ และหนองคาย กลุ่มที่ 3 ขึ้น 8 บาท มี 13 จังหวัด คือ ขอนแก่น, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, ชลบุรี, ระยอง, สุราษฎร์ธานี, สงขลา, เชียงใหม่, สระบุรี, ฉะเชิงเทรา, กระบี่, พังงา และพระนครศรีอยุธยา และกลุ่มที่ 4 ขึ้น 10 บาท มี 7 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และภูเก็ต
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะนำผลสรุปของคณะกรรมการค่าจ้างเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจะประกาศบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.2560
ประธานบอร์ดค่าจ้าง ยืนยันว่า การปรับค่าข้างครั้งนี้ยึดหลักตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และการนำ 10 ปัจจัย คือ ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิต ราคาการผลิต ความสามารถในการผลิต มาตรฐานการครองชีพ ราคาสินค้าและบริการ ความสามารถธุรกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมระดับประเทศ และสภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงศึกษาให้เทียบเคียงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยนำมาเข้าสูตรคำนวณใหม่ จึงได้ผลลัพธ์ตามที่มีมติออกมา ส่วนขั้นตอนต่อไปจะสรุปผลการประชุมส่งให้ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานพิจารณาลงนาม และส่งเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด
ด้านนายวัลลภ กิ่งชาญศิลป์ กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า การพิจารณาอัตราค่าจ้างครั้งนี้ มีทั้งปรับขึ้นและไม่ปรับขึ้น ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่บอร์ดค่าจ้างมีการคิดสูตรการคำนวณขึ้นมาใหม่ ที่สอดคล้องกับข้อมูลสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับปัจจัยชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สามารถนำไปปรับใช้ในโอกาสต่อไปได้ สิ่งที่ทำในวันนี้คือการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างครบถ้วนแล้ว
ขณะที่นายสมบัติ น้อยหว้า กรรมการค่าจ้างฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่า บอร์ดค่าจ้างได้ใช้สูตรการคำนวณใหม่และได้พิจารณาร่วมกันอย่างรอบคอบที่สุดในการปรับขึ้นและไม่ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างครั้งนี้ โดยคำนึงถึงระบบเศรษฐกิจและผลกระทบที่อาจจะตามมาเป็นหลัก ยืนยันว่าไม่มีการชี้นำหรือแทรกแซงทางการเมืองอย่างแน่นอน
ด้านนายชาลี ลอยสูง รักษาการประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่า ทาง คสรท.และพี่น้องแรงงานต่างไม่พอใจ ผลที่ออกมาทำให้เสียความรู้สึก เนื่องจาก 1.มีจังหวัดที่ไม่ได้ปรับค่าจ้าง หนำซ้ำจังหวัดที่ได้ปรับสูงสุดเพียง 10 บาท ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน และจังหวัดที่ไม่ปรับ ก็ไปอยู่ทางภาคใต้ ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น เพราะภาคใต้มีความเป็นอยู่ลำบาก ไม่ควรไปกดค่าจ้างหรือไม่เพิ่มเลย "สงสัยว่า ทำไมไม่ปรับให้เท่ากันทั่วประเทศ หากจะปรับ 10 บาท ควรให้ทุกจังหวัดเท่ากัน ดีกว่าปรับขึ้น 5 บาท 8 บาท 10 บาท ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ค่าครองชีพ...กรณีปรับขึ้น 5 บาท หากคิดจริงๆ ผ่านมา 5 ปี เพิ่งจะมาปรับค่าจ้าง ดังนั้น คิดเฉลี่ยแล้วตกปีละ 1 บาทกว่าเอง เครือข่ายแรงงานจะมีการหารือกัน จะทำหนังสือร้องไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องนี้ต่อไป"