เปิดใจเภสัชกรระดับชำนาญการพิเศษ อดีตนักเรียนทุนพระราชทาน โรงเรียนวังไกลกังวล ผู้ได้รับรางวัลถุงทอง จากในหลวงรัชกาลที่ ๙ เผย...ตนน้อมคำสอนใส่เกล้า ตามรอยพระยุคลบาท ปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อตรง ดังคำสอน “ข้าราชการต้องมีความซื่อสัตย์”
จากพระราชกรณียกิจนานัปการของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ที่ทรงงานอย่างหนักเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนชาวไทย นับเป็นความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และในด้านการศึกษา เป็นที่ทราบกันดีว่า “โรงเรียนวังไกลกังวล” ที่ตั้งอยู่ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งพระประสงค์ของพระองค์ท่าน เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนในพื้นที่ดังกล่าว
ด้วยพระบรมราโชวาทที่ว่าด้วยเรื่องของหน้าที่ ได้จุดประกายให้เด็กนักเรียนคนหนึ่ง ทำตามคำสอนของพระองค์ท่าน และตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนได้รับรางวัลพระราชทานเรียนดีมาตั้งแต่ชั้นประถมปลายจนถึงมัธยมต้น ก่อนจะออกมารับราชการเป็นเภสัชกรที่พร้อมทำงานเพื่อในหลวง
“ปัญจรัตน์ พจนพิมล” เภสัชกรระดับชำนาญการพิเศษ ด้านเภสัชกรรมคลินิก โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ก็คงยังทำงานตามหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ ตามแนวพระราชดำรัสอย่างไม่ย่อท้อ
จุดเริ่มในรอบรั้วโรงเรียน “วังไกลกังวล”
“เราเรียนโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล เนื่องจากทางบ้านเข้าใจว่า ต้องรอตอนโรงเรียนเขาเปิดสอบเข้า ตอน ป.5 ก็เลยเรียนเอกชนจนถึงชั้น ป.4 แล้วเด็กส่วนใหญ่ก็จะสอบเข้าเรียนที่โรงเรียนวังไกลกังวล เพราะตอนนั้น คนหัวหินส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกว่าอยากให้ลูกเข้าไปเรียนที่นี่ เพราะเป็นโรงเรียนของในหลวง ที่เป็นลักษณะโรงเรียนเอกชน แต่ว่าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งค่าเล่าเรียนก็พอๆ กับโรงเรียนรัฐบาล แต่ทางโรงเรียนก็มีข้อจำกัดในการรับนักเรียน คือจะให้รับในจำนวนทั้งหมดที่ไปสมัครไม่ได้ ก็ต้องมีการสอบคัดเลือกเข้ามา แล้วเราก็ผ่านการคัดเลือกเละได้เริ่มเรียนที่โรงเรียนมาตั้งแต่ ป.5 ในปี พ.ศ. 2518
นอกจากเหตุผลว่าเป็นโรงเรียนของในหลวงแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งคือเด็กนักเรียนในโรงเรียนมีสิทธิ์เข้าเฝ้าฯ ในหลวงอย่างใกล้ชิดทุกคน คือทุกปี พระองค์ท่านจะแปรพระราชฐาน เสด็จฯ มาติดตามผลการเรียนการสอนของโรงเรียนว่าผลการเรียนโดยรวมของเด็กเป็นยังไงบ้าง ก็โปรดเกล้าฯ ให้คณะครูอาจารย์ และนักเรียน เข้าเฝ้าฯ ประมาณปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายนของทุกปี
ในโอกาสนี้ ถ้าเด็กคนไหนมีผลการเรียนที่ดี สอบได้อันดับที่ 1-3 ของแต่ละชั้น ก็จะได้รับพระราชทานรางวัลในฐานะนักเรียนเรียนดี แล้วก็ไม่ใช่แค่เด็กเรียนดีเท่านั้นนะคะ ถ้ามีความประพฤติดี ช่วยเหลือกิจกรรมโรงเรียน ก็จะได้รับพระราชทานรางวัลนักเรียนดีด้วย ซึ่งตอนที่ตัวเราเองได้รับรางวัลเรียนดี คือ ป.5 ถึง ม.ศ.2 รางวัลที่ได้คือหนังสือเรียนที่เราจะต้องใช้เรียน และสมุด คือถ้าเด็กคนไหนเรียนดี ผู้ปกครองก็ไม่ต้องไปซื้อหนังสือเรียน ก็จะได้รับจากพระองค์ท่าน”
ความประทับใจ
ของนักเรียนรางวัลพระราชทาน
“ตอนที่เข้าเฝ้าฯ ในหลวง นอกจากได้รับรางวัลพระราชทานเรื่องเรียนดีแล้ว ท่านยังทรงให้พระบรมราโชวาททุกปี ซึ่งสิ่งที่ท่านเน้นก็คือความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในเรื่องการเรียน จะเน้นว่าวิชาความรู้มีความสำคัญนะ จะทำให้ตัวเองและประเทศชาติเจริญได้ แล้วก็มีอยู่ปีหนึ่งที่ประทับใจมาก ซึ่งคนที่ได้รางวัลมีไม่กี่คน แล้วท่านก็จะตรัสว่า ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รางวัล แต่ก็ต้องมีความพยายามเล่าเรียนนะ ก็ต้องหาความรู้รอบตัว เพราะสักวัน ทุกคนก็จะได้รับรางวัล แต่อาจจะไม่ใช่ที่พระองค์ท่านพระราชทานให้ แต่รางวัลที่คนจะได้คือความสำเร็จในชีวิตและความเจริญก้าวหน้าในอนาคตด้วย
“นอกจากนั้น พระองค์ท่านก็สอนในเรื่องจริยธรรม เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เห็นแก่ตัว แล้วก็เกี่ยวกับความเอื้อเฟื้อในการทำกิจกรรมโรงเรียนด้วย และสิ่งที่สำคัญคือมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีความกตัญญู ซึ่งเราได้ฟังตั้งแต่เด็กน่ะค่ะ มันก็จะค่อยๆ ซึมซับมาว่า นี่คือหลักการใช้ชีวิตที่ดี เราก็ฟังว่า อะไรที่รับในตอนเด็กๆ มันจะฝัง และกลายเป็นทัศนคติที่เราเอามาใช้ในชีวิตประจำวัน ก็เอาหลักที่ท่านสอนมาใช้ในครอบครัวหรือในชีวิตที่ทำงานอยู่ทุกวันนี้
“ในช่วงที่เราเรียน ถ้าโรงเรียนมีกิจกรรมอะไรก็จะเข้าร่วมให้มากที่สุดน่ะค่ะ แต่ว่ากิจกรรมในช่วงประถมถึงมัธยมก็อาจจะไม่ใช่กิจกรรมแบบมหาวิทยาลัย ก็จะเป็นกิจกรรม เช่น การแสดงต่างๆ เราก็จะไปช่วยเรื่องตรงนี้ ส่วนกิจกรรมอื่นๆ ก็จะมีเดินขบวนแถว ตามประเพณี ร่วมขบวนกับทางอำเภอ อะไรประมาณนั้น”
“ถุงทองพระราชทาน”
ความซาบซึ้งใจไม่รู้ลืมของนักเรียนทุนฯ
“คือคำว่านักเรียนทุนรุ่นหลังๆ นี้ มันจะไม่เหมือนกับรุ่นที่เราเรียนนะคะ ซึ่งพระองค์ท่านจะส่งให้เรียนจนจบ แล้วเท่าที่รู้ก็คืออาจารย์บางท่านที่โรงเรียนก็เป็นนักเรียนทุนและกลับมาก็เป็นอาจารย์ที่โรงเรียนเดิม แต่ตอนที่เราได้ตอนนั้น ทางโรงเรียนไม่ได้แจ้งอะไร บอกแค่ว่าได้รับทุนพระราชทานเรียนดี ก็ไปรับ ไม่มีเงื่อนไขอะไรเลยค่ะ ก็จะได้เป็นถุงทองหนึ่งถุง แล้วก็ไม่มีสัญญาอะไรว่าจะให้กลับไปทำอะไร ซึ่งไม่เหมือนกับแบบแรกที่อาจารย์ที่กลับมาสอนที่โรงเรียน แต่เราคือรับแล้วไม่มีเงื่อนไขอะไร”
“คนที่จะได้ทุนตอนนั้น คือสอบได้ที่ 1 ของ ม.ต้น 3 ปีติดต่อกัน แล้วตอนที่เราไปรับทุนมา ก็ได้รับพระราชทานเงิน 3,000 บาท แต่เนื่องจากว่า ทางบ้านของเราก็ไม่ถึงลำบาก เราก็เลือกที่จะเก็บถุงใบนั้นไว้ ไม่ได้ใช้เงินนั้น ทั้งๆ ที่พระราชประสงค์ของพระองค์ท่านคือนำไปใช้ในการศึกษา แต่เราก็กลับมองว่า เงินตรงนี้เป็นเหมือนเครื่องเตือนเราว่าได้จากในหลวงนะ เราต้องเรียนให้ได้ดีต่อเนื่อง และเราก็เลือกเรียนสายสามัญ เลือกที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้น เราต้องตั้งใจเรียน และถ้าเราตั้งใจ เรามีสิทธิ์ที่จะเลือกคณะเราที่อยากเรียนได้ แต่ถ้าเราเรียนไม่ดี เราก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกเรียนเพื่อประกอบอาชีพในอนาคต สุดท้ายก็ได้ไปเรียนที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค่ะ
ตามรอยในหลวง
ตั้งแต่เรียนมหา’ลัย
“พอเราเรียนที่เชียงใหม่ เราได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งตอนที่เราเรียนที่นั่น มันก็ไม่ได้เรียนอย่างเดียว เราจะทำกิจกรรมที่ได้ออกนอกพื้นที่ คือเขาจะมีชมรมวิชาชีพน่ะค่ะ และชมรมนี้จะออกไปตามพื้นที่ชนบท แล้วก็ไปให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาในพื้นที่ชนบท อันนี้คือกิจกรรมที่เรานำแนวทางของพระองค์ท่านมาปฏิบัติว่า ถ้าเราเรียนมาทางด้านนี้ เราจะให้อะไรกับสังคมตอนที่เราเป็นนักศึกษา อันนี้คือทำตามหลักพระบรมราโชวาทที่ท่านให้เรามา คือต้องเอื้อเฟื้อ และนำความรู้ความสามารถไปก่อให้เกิดประโยชน์ให้ได้
“ตอนที่เป็นนักศึกษาก็ได้ไปทำกิจกรรมนอกพื้นที่อยู่พอสมควร แต่มีเหตุการณ์หนึ่งที่ประทับใจ คือตอนนั้นได้ไปร่วมกับมูลนิธิภายนอกน่ะค่ะ น่าจะเป็นกิจกรรมไถ่ชีวิตโคกระบือนี่แหละ แถวอำเภอฝาง แล้วเราไปร่วมกับเขา เราก็ไปจัดโต๊ะและให้ความรู้เรื่องยาชุด คือชาวบ้านเขาจะทานยาพวกนี้เพื่อให้หายป่วยเร็วๆ โดยไม่รู้ว่า ผลข้างเคียงจะทำให้เป็นโรคกระเพาะในอนาคตได้ เราก็จะออกไปแนะนำเรื่องดังกล่าว เพราะว่าการใช้ยาพวกนี้ กินแล้วจะต้องระวังเรื่องโรคกระเพาะอาหารนะ ถ้ามีการซื้อกินเองบ่อยๆ เราก็จะไปแนะนำ หรือยาชุดกินแล้วมีผลเสียยังไง จะมีสเตียรอยด์ พวกเราก็แนะนำว่าไม่อยากให้เขาไปซื้อยาชุดมาใช้เอง อย่างยาที่กินนี่คือ ต้องทานหลังอาหารทันทีนะ แต่ถ้ามีอาการแสบท้อง ก็ต้องไปพบแพทย์ บอกว่าอาการเป็นยังไง ซึ่งตอนนั้นเราก็จะให้ความรู้แบบพื้นฐาน ทำหน้าที่ตามนักศึกษาเภสัชฯ ที่ยังเรียนอยู่น่ะค่ะ”
แม้รู้ว่าต้องทำใจ แต่น้ำตาก็ไหล
ในวันที่ข่าวร้ายมาถึง
“เพราะความที่ตัวเองอยู่ในวงการสาธารณสุขน่ะค่ะ และด้วยข่าวของพระองค์ท่าน ก็เฝ้าติดตามข่าวตลอดเวลา แต่ตอนนั้นก็เตรียมทำใจแล้ว เพราะตั้งแต่ที่มีการผ่าตัด แสดงว่าพระองค์ท่านมีอาการประชวรที่หนักมากแล้ว พอเราคิดว่าพระองค์ท่านเป็นญาติพี่น้องเรา เราก็มีความรู้สึกว่าท่านคงทรมาน เหนื่อยและสุขภาพถดถอยมากแล้ว
“ก็เตรียมใจไว้ค่อนข้างเยอะแล้วว่าท่านอาจจะอยู่กับเราไม่นาน และถ้าดูจากการรักษาในระดับหนึ่ง ก็คิดว่าทางคณะแพทย์ก็คงช่วยแบบเต็มที่แล้ว ก็เข้าใจว่าเกิดแก่เจ็บตายทุกคนก็ต้องเจอ คงไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ พอถึงช่วงเวลาที่ประกาศนี่คือคงแย่ ขนาดว่ายังไม่มีประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ แต่เห็นว่า ที่ศิริราชเปิดเพลงสรรเสริญฯ นี่คือน้ำตาหยดแล้วค่ะ ไม่ต้องรอข้อเท็จจริงแล้ว คือฟังเพลงนี้ในวันนั้น มันไม่เหมือนทุกๆ วัน มันเศร้ามาก”
“ข้าราชการต้องมีความซื่อสัตย์”
แนวคำสอนที่ถือปฏิบัติเสมอมา
“อย่างที่บอกค่ะว่าตอนที่เราทำงาน เราก็ต้องรู้จุดประสงค์ของงานก็คือ การดูแลผู้ป่วยด้านยา ฉะนั้น การที่มาดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพจริงๆ ก็ยังคงปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านสอนมาตลอด ท่านสอนว่าการใฝ่และการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะทุกวันนี้ เราไม่สามารถเอาความรู้ที่ได้จากการเรียนมาใช้ได้ตลอด เพราะวิทยาการทางการแพทย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะฉะนั้น เราก็ต้องอ่าน เรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ที่ต่างประเทศทำ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานเราอย่างต่อเนื่อง แล้วสิ่งที่สำคัญก็ต้องมีจริยธรรม
“ตั้งแต่เรารับราชการมา เราไม่เคยเปิดร้านขายยาเลย เพราะถ้ามีเรื่องธุรกิจมาเกี่ยวข้อง เราจะสามารถใช้วิชาชีพของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปล่า แต่ถ้ารับราชการ ยังไงก็สามารถรับราชการตามจรรยาบรรณวิชาชีพได้อย่างเต็มที่ แล้วก็ปฏิบัติงานราชการ ไม่มีคำว่า “ตามน้ำ” นะคะ ยึดถือความซื่อสัตย์สุจริตตามที่พระองค์ท่านเน้นว่าเป็นข้าราชการต้องมีความซื่อสัตย์ และดูแลคนไข้เต็มกำลังเท่าที่จะทำได้ ซึ่งคนไข้ที่เราดูแลก็คือกลุ่มเล็กๆ ที่เขาใช้ยาที่มีความเสี่ยงก่อให้เกิดความร้ายแรง ถ้าเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ติดต่อเราได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเกรงใจ”
พระมหากษัตริย์ที่ดีที่สุดในโลก
“ส่วนตัวแล้ว คิดว่าพระองค์ท่านเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดีที่สุดในโลก ไม่มีใครมาทำงานยิ่งกว่า พูดง่ายๆ คือพระองค์ท่านเหนื่อยกว่าสามัญชนทั่วไป อายุอย่างพวกเรา พอถึง 60 ปีก็เกษียณแล้ว แต่พระองค์ท่านยังทรงทำงานจนร่างกายตัวเองไม่ไหวจริงๆ พระองค์ท่านมีความอดทน และมีความทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชน”
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
จากพระราชกรณียกิจนานัปการของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ที่ทรงงานอย่างหนักเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนชาวไทย นับเป็นความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และในด้านการศึกษา เป็นที่ทราบกันดีว่า “โรงเรียนวังไกลกังวล” ที่ตั้งอยู่ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งพระประสงค์ของพระองค์ท่าน เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนในพื้นที่ดังกล่าว
ด้วยพระบรมราโชวาทที่ว่าด้วยเรื่องของหน้าที่ ได้จุดประกายให้เด็กนักเรียนคนหนึ่ง ทำตามคำสอนของพระองค์ท่าน และตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนได้รับรางวัลพระราชทานเรียนดีมาตั้งแต่ชั้นประถมปลายจนถึงมัธยมต้น ก่อนจะออกมารับราชการเป็นเภสัชกรที่พร้อมทำงานเพื่อในหลวง
“ปัญจรัตน์ พจนพิมล” เภสัชกรระดับชำนาญการพิเศษ ด้านเภสัชกรรมคลินิก โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ก็คงยังทำงานตามหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ ตามแนวพระราชดำรัสอย่างไม่ย่อท้อ
จุดเริ่มในรอบรั้วโรงเรียน “วังไกลกังวล”
“เราเรียนโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล เนื่องจากทางบ้านเข้าใจว่า ต้องรอตอนโรงเรียนเขาเปิดสอบเข้า ตอน ป.5 ก็เลยเรียนเอกชนจนถึงชั้น ป.4 แล้วเด็กส่วนใหญ่ก็จะสอบเข้าเรียนที่โรงเรียนวังไกลกังวล เพราะตอนนั้น คนหัวหินส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกว่าอยากให้ลูกเข้าไปเรียนที่นี่ เพราะเป็นโรงเรียนของในหลวง ที่เป็นลักษณะโรงเรียนเอกชน แต่ว่าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งค่าเล่าเรียนก็พอๆ กับโรงเรียนรัฐบาล แต่ทางโรงเรียนก็มีข้อจำกัดในการรับนักเรียน คือจะให้รับในจำนวนทั้งหมดที่ไปสมัครไม่ได้ ก็ต้องมีการสอบคัดเลือกเข้ามา แล้วเราก็ผ่านการคัดเลือกเละได้เริ่มเรียนที่โรงเรียนมาตั้งแต่ ป.5 ในปี พ.ศ. 2518
นอกจากเหตุผลว่าเป็นโรงเรียนของในหลวงแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งคือเด็กนักเรียนในโรงเรียนมีสิทธิ์เข้าเฝ้าฯ ในหลวงอย่างใกล้ชิดทุกคน คือทุกปี พระองค์ท่านจะแปรพระราชฐาน เสด็จฯ มาติดตามผลการเรียนการสอนของโรงเรียนว่าผลการเรียนโดยรวมของเด็กเป็นยังไงบ้าง ก็โปรดเกล้าฯ ให้คณะครูอาจารย์ และนักเรียน เข้าเฝ้าฯ ประมาณปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายนของทุกปี
ในโอกาสนี้ ถ้าเด็กคนไหนมีผลการเรียนที่ดี สอบได้อันดับที่ 1-3 ของแต่ละชั้น ก็จะได้รับพระราชทานรางวัลในฐานะนักเรียนเรียนดี แล้วก็ไม่ใช่แค่เด็กเรียนดีเท่านั้นนะคะ ถ้ามีความประพฤติดี ช่วยเหลือกิจกรรมโรงเรียน ก็จะได้รับพระราชทานรางวัลนักเรียนดีด้วย ซึ่งตอนที่ตัวเราเองได้รับรางวัลเรียนดี คือ ป.5 ถึง ม.ศ.2 รางวัลที่ได้คือหนังสือเรียนที่เราจะต้องใช้เรียน และสมุด คือถ้าเด็กคนไหนเรียนดี ผู้ปกครองก็ไม่ต้องไปซื้อหนังสือเรียน ก็จะได้รับจากพระองค์ท่าน”
ความประทับใจ
ของนักเรียนรางวัลพระราชทาน
“ตอนที่เข้าเฝ้าฯ ในหลวง นอกจากได้รับรางวัลพระราชทานเรื่องเรียนดีแล้ว ท่านยังทรงให้พระบรมราโชวาททุกปี ซึ่งสิ่งที่ท่านเน้นก็คือความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในเรื่องการเรียน จะเน้นว่าวิชาความรู้มีความสำคัญนะ จะทำให้ตัวเองและประเทศชาติเจริญได้ แล้วก็มีอยู่ปีหนึ่งที่ประทับใจมาก ซึ่งคนที่ได้รางวัลมีไม่กี่คน แล้วท่านก็จะตรัสว่า ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รางวัล แต่ก็ต้องมีความพยายามเล่าเรียนนะ ก็ต้องหาความรู้รอบตัว เพราะสักวัน ทุกคนก็จะได้รับรางวัล แต่อาจจะไม่ใช่ที่พระองค์ท่านพระราชทานให้ แต่รางวัลที่คนจะได้คือความสำเร็จในชีวิตและความเจริญก้าวหน้าในอนาคตด้วย
“นอกจากนั้น พระองค์ท่านก็สอนในเรื่องจริยธรรม เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เห็นแก่ตัว แล้วก็เกี่ยวกับความเอื้อเฟื้อในการทำกิจกรรมโรงเรียนด้วย และสิ่งที่สำคัญคือมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ มีความกตัญญู ซึ่งเราได้ฟังตั้งแต่เด็กน่ะค่ะ มันก็จะค่อยๆ ซึมซับมาว่า นี่คือหลักการใช้ชีวิตที่ดี เราก็ฟังว่า อะไรที่รับในตอนเด็กๆ มันจะฝัง และกลายเป็นทัศนคติที่เราเอามาใช้ในชีวิตประจำวัน ก็เอาหลักที่ท่านสอนมาใช้ในครอบครัวหรือในชีวิตที่ทำงานอยู่ทุกวันนี้
“ในช่วงที่เราเรียน ถ้าโรงเรียนมีกิจกรรมอะไรก็จะเข้าร่วมให้มากที่สุดน่ะค่ะ แต่ว่ากิจกรรมในช่วงประถมถึงมัธยมก็อาจจะไม่ใช่กิจกรรมแบบมหาวิทยาลัย ก็จะเป็นกิจกรรม เช่น การแสดงต่างๆ เราก็จะไปช่วยเรื่องตรงนี้ ส่วนกิจกรรมอื่นๆ ก็จะมีเดินขบวนแถว ตามประเพณี ร่วมขบวนกับทางอำเภอ อะไรประมาณนั้น”
“ถุงทองพระราชทาน”
ความซาบซึ้งใจไม่รู้ลืมของนักเรียนทุนฯ
“คือคำว่านักเรียนทุนรุ่นหลังๆ นี้ มันจะไม่เหมือนกับรุ่นที่เราเรียนนะคะ ซึ่งพระองค์ท่านจะส่งให้เรียนจนจบ แล้วเท่าที่รู้ก็คืออาจารย์บางท่านที่โรงเรียนก็เป็นนักเรียนทุนและกลับมาก็เป็นอาจารย์ที่โรงเรียนเดิม แต่ตอนที่เราได้ตอนนั้น ทางโรงเรียนไม่ได้แจ้งอะไร บอกแค่ว่าได้รับทุนพระราชทานเรียนดี ก็ไปรับ ไม่มีเงื่อนไขอะไรเลยค่ะ ก็จะได้เป็นถุงทองหนึ่งถุง แล้วก็ไม่มีสัญญาอะไรว่าจะให้กลับไปทำอะไร ซึ่งไม่เหมือนกับแบบแรกที่อาจารย์ที่กลับมาสอนที่โรงเรียน แต่เราคือรับแล้วไม่มีเงื่อนไขอะไร”
“คนที่จะได้ทุนตอนนั้น คือสอบได้ที่ 1 ของ ม.ต้น 3 ปีติดต่อกัน แล้วตอนที่เราไปรับทุนมา ก็ได้รับพระราชทานเงิน 3,000 บาท แต่เนื่องจากว่า ทางบ้านของเราก็ไม่ถึงลำบาก เราก็เลือกที่จะเก็บถุงใบนั้นไว้ ไม่ได้ใช้เงินนั้น ทั้งๆ ที่พระราชประสงค์ของพระองค์ท่านคือนำไปใช้ในการศึกษา แต่เราก็กลับมองว่า เงินตรงนี้เป็นเหมือนเครื่องเตือนเราว่าได้จากในหลวงนะ เราต้องเรียนให้ได้ดีต่อเนื่อง และเราก็เลือกเรียนสายสามัญ เลือกที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้น เราต้องตั้งใจเรียน และถ้าเราตั้งใจ เรามีสิทธิ์ที่จะเลือกคณะเราที่อยากเรียนได้ แต่ถ้าเราเรียนไม่ดี เราก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกเรียนเพื่อประกอบอาชีพในอนาคต สุดท้ายก็ได้ไปเรียนที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค่ะ
ตามรอยในหลวง
ตั้งแต่เรียนมหา’ลัย
“พอเราเรียนที่เชียงใหม่ เราได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งตอนที่เราเรียนที่นั่น มันก็ไม่ได้เรียนอย่างเดียว เราจะทำกิจกรรมที่ได้ออกนอกพื้นที่ คือเขาจะมีชมรมวิชาชีพน่ะค่ะ และชมรมนี้จะออกไปตามพื้นที่ชนบท แล้วก็ไปให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาในพื้นที่ชนบท อันนี้คือกิจกรรมที่เรานำแนวทางของพระองค์ท่านมาปฏิบัติว่า ถ้าเราเรียนมาทางด้านนี้ เราจะให้อะไรกับสังคมตอนที่เราเป็นนักศึกษา อันนี้คือทำตามหลักพระบรมราโชวาทที่ท่านให้เรามา คือต้องเอื้อเฟื้อ และนำความรู้ความสามารถไปก่อให้เกิดประโยชน์ให้ได้
“ตอนที่เป็นนักศึกษาก็ได้ไปทำกิจกรรมนอกพื้นที่อยู่พอสมควร แต่มีเหตุการณ์หนึ่งที่ประทับใจ คือตอนนั้นได้ไปร่วมกับมูลนิธิภายนอกน่ะค่ะ น่าจะเป็นกิจกรรมไถ่ชีวิตโคกระบือนี่แหละ แถวอำเภอฝาง แล้วเราไปร่วมกับเขา เราก็ไปจัดโต๊ะและให้ความรู้เรื่องยาชุด คือชาวบ้านเขาจะทานยาพวกนี้เพื่อให้หายป่วยเร็วๆ โดยไม่รู้ว่า ผลข้างเคียงจะทำให้เป็นโรคกระเพาะในอนาคตได้ เราก็จะออกไปแนะนำเรื่องดังกล่าว เพราะว่าการใช้ยาพวกนี้ กินแล้วจะต้องระวังเรื่องโรคกระเพาะอาหารนะ ถ้ามีการซื้อกินเองบ่อยๆ เราก็จะไปแนะนำ หรือยาชุดกินแล้วมีผลเสียยังไง จะมีสเตียรอยด์ พวกเราก็แนะนำว่าไม่อยากให้เขาไปซื้อยาชุดมาใช้เอง อย่างยาที่กินนี่คือ ต้องทานหลังอาหารทันทีนะ แต่ถ้ามีอาการแสบท้อง ก็ต้องไปพบแพทย์ บอกว่าอาการเป็นยังไง ซึ่งตอนนั้นเราก็จะให้ความรู้แบบพื้นฐาน ทำหน้าที่ตามนักศึกษาเภสัชฯ ที่ยังเรียนอยู่น่ะค่ะ”
แม้รู้ว่าต้องทำใจ แต่น้ำตาก็ไหล
ในวันที่ข่าวร้ายมาถึง
“เพราะความที่ตัวเองอยู่ในวงการสาธารณสุขน่ะค่ะ และด้วยข่าวของพระองค์ท่าน ก็เฝ้าติดตามข่าวตลอดเวลา แต่ตอนนั้นก็เตรียมทำใจแล้ว เพราะตั้งแต่ที่มีการผ่าตัด แสดงว่าพระองค์ท่านมีอาการประชวรที่หนักมากแล้ว พอเราคิดว่าพระองค์ท่านเป็นญาติพี่น้องเรา เราก็มีความรู้สึกว่าท่านคงทรมาน เหนื่อยและสุขภาพถดถอยมากแล้ว
“ก็เตรียมใจไว้ค่อนข้างเยอะแล้วว่าท่านอาจจะอยู่กับเราไม่นาน และถ้าดูจากการรักษาในระดับหนึ่ง ก็คิดว่าทางคณะแพทย์ก็คงช่วยแบบเต็มที่แล้ว ก็เข้าใจว่าเกิดแก่เจ็บตายทุกคนก็ต้องเจอ คงไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ พอถึงช่วงเวลาที่ประกาศนี่คือคงแย่ ขนาดว่ายังไม่มีประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ แต่เห็นว่า ที่ศิริราชเปิดเพลงสรรเสริญฯ นี่คือน้ำตาหยดแล้วค่ะ ไม่ต้องรอข้อเท็จจริงแล้ว คือฟังเพลงนี้ในวันนั้น มันไม่เหมือนทุกๆ วัน มันเศร้ามาก”
“ข้าราชการต้องมีความซื่อสัตย์”
แนวคำสอนที่ถือปฏิบัติเสมอมา
“อย่างที่บอกค่ะว่าตอนที่เราทำงาน เราก็ต้องรู้จุดประสงค์ของงานก็คือ การดูแลผู้ป่วยด้านยา ฉะนั้น การที่มาดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพจริงๆ ก็ยังคงปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านสอนมาตลอด ท่านสอนว่าการใฝ่และการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะทุกวันนี้ เราไม่สามารถเอาความรู้ที่ได้จากการเรียนมาใช้ได้ตลอด เพราะวิทยาการทางการแพทย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะฉะนั้น เราก็ต้องอ่าน เรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ที่ต่างประเทศทำ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานเราอย่างต่อเนื่อง แล้วสิ่งที่สำคัญก็ต้องมีจริยธรรม
“ตั้งแต่เรารับราชการมา เราไม่เคยเปิดร้านขายยาเลย เพราะถ้ามีเรื่องธุรกิจมาเกี่ยวข้อง เราจะสามารถใช้วิชาชีพของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปล่า แต่ถ้ารับราชการ ยังไงก็สามารถรับราชการตามจรรยาบรรณวิชาชีพได้อย่างเต็มที่ แล้วก็ปฏิบัติงานราชการ ไม่มีคำว่า “ตามน้ำ” นะคะ ยึดถือความซื่อสัตย์สุจริตตามที่พระองค์ท่านเน้นว่าเป็นข้าราชการต้องมีความซื่อสัตย์ และดูแลคนไข้เต็มกำลังเท่าที่จะทำได้ ซึ่งคนไข้ที่เราดูแลก็คือกลุ่มเล็กๆ ที่เขาใช้ยาที่มีความเสี่ยงก่อให้เกิดความร้ายแรง ถ้าเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ติดต่อเราได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเกรงใจ”
พระมหากษัตริย์ที่ดีที่สุดในโลก
“ส่วนตัวแล้ว คิดว่าพระองค์ท่านเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดีที่สุดในโลก ไม่มีใครมาทำงานยิ่งกว่า พูดง่ายๆ คือพระองค์ท่านเหนื่อยกว่าสามัญชนทั่วไป อายุอย่างพวกเรา พอถึง 60 ปีก็เกษียณแล้ว แต่พระองค์ท่านยังทรงทำงานจนร่างกายตัวเองไม่ไหวจริงๆ พระองค์ท่านมีความอดทน และมีความทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชน”
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช