จากคนที่ชื่นชอบการทานอาหาร ที่ไหนเขาว่าอร่อย แปลกใหม่ น่าสนใจ เธอจะไม่พลาด และเธอก็ไปชิมมาแล้วกว่าครึ่งประเทศ ซึ่งความชื่นชอบนี้ก็ทำให้เธอต่อยอดเป็นธุรกิจร้านอาหาร เครือ fortunecookinggroup ที่ทำรายได้งอกงามขึ้นทุกวัน
รักสิ่งใด ก็สร้างรายได้จากสิ่งนั้น
คำกล่าวนี้ ดูเหมือนจะเป็นจริงจนยากจะปฏิเสธ
เพราะถึงความเชี่ยวชาญพิเศษของหญิงสาวผู้นี้ "ตู๋-เลิศรินิญฒ์ สิปปภาค" จะดูเหมือนไม่ค่อยเป็นแก่นสาร เพราะสิ่งที่เธอชำนาญคือ “การกิน”!
แต่สุดท้าย การกิน รวมทั้งความรักความชอบในการทำอาหารการกิน ก็กลายมาเป็นธุรกิจสร้างรายได้ให้ชีวิต ในฐานะเจ้าของร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง...
• ทราบมาว่าคุณตู๋เป็นคนหนึ่งชื่นชอบการกินมากๆ
ใช่ค่ะ ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งในชีวิตเลยก็ได้ บางคนอาจจะชอบฟังเพลง ชอบดูหนัง แต่ตู๋ชอบทานเป็นอันดับหนึ่ง ตู๋ชอบกินมาตั้งแต่เด็กๆ พอมีโอกาสไปเรียนเมืองนอก แต่ไม่มีเงินเยอะอะไร บางมื้อก็เลยต้องทำอาหารทานเอง ซึ่งพอทำแล้วเพื่อนชมว่าอร่อย อร่อยจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ตอนนั้น (หัวเราะ) แต่เรายิ่งสนุก ก็ยิ่งทำ
ตู๋ชอบอาหารที่อร่อยๆ แปลกใหม่ อีกอย่าง ด้วยความที่เราเป็นคนสนใจการทาน ทำให้เราชอบการทำกับข้าวด้วย ชอบค้นคว้าหาความรู้เรื่องวัตถุดิบซึ่งบางทีก็รู้จักบ้าง ไม่รู้จักบ้าง จะเป็นคนที่ค่อนข้างแสวงหาสิ่งเหล่านี้ ส่วนเรื่องการทานอาหาร ใครบอกว่าอะไรที่ไหนอร่อย ก็จะไปทาน ไปเที่ยวที่ไหน เราก็จะหาข้อมูลก่อนไปทุกครั้งค่ะ ตู๋ชอบเรียนรู้ ชอบศึกษา ชอบเสาะแสวงหา เพราะไม่งั้นเราก็จะไม่รู้ว่าอะไรที่มันอร่อย หรือเวลาทำอาหาร เราควรทำยังไงให้มันออกอร่อย นั่งๆ อยู่ ไม่มีอะไรทำ ก็จะดูรูปอาหาร (หัวเราะ)
• คือร้านไหนหรือเมนูไหนที่เขาว่าอร่อย เราต้องไปชิมหมดเลยใช่ไหมคะ
ตู๋ไม่ถึงกับตะเวนชิมมากมายอะไรนะคะ แต่จะเป็นประมาณว่า สมมุติเรามีโอกาสได้ไปเที่ยวที่ไหน เราก็จะวางแผนไว้ก่อนว่าที่นั่นมีร้านไหนน่าสนใจบ้าง และก็ต้องเป็นประเภทอาหารที่เราชอบ ก็ชิมตั้งแต่ข้างทางไปจนถึงร้านแพงๆ กินได้หมด เราก็จะทำลิสต์รายการไว้ แต่เราก็ไม่ใช่พวกแบบวันหนึ่งกินไม่รู้กี่มื้อต่อกี่มื้อนะคะ การกินของตู๋จะเป็นลักษณะกินแล้วดื่มด่ำในรสชาติของอาหารด้วย ไม่ได้กินแค่เอาปริมาณแบบสั่งมากินเยอะๆ อย่างนี้ไม่ใช่ (หัวเราะ) เราจะกินตามมื้อปกติ เช้า กลางวัน เย็นเลยค่ะ
อาหารที่ตู๋ชอบมาก คืออาหารไทย เป็นคนหลงใหลในอาหารไทยมากๆ และก็ไม่ใช่ภาคเดียวนะคะ จะกินทั้งสี่ภาคเลย อย่างประเทศไทยก็ไปมาแล้วหลายจังหวัด พูดได้ว่า ไปมาแล้วมากกว่าครึ่งประเทศ
• มีร้านไหนที่ไปทานแล้วประทับใจมากๆ เลยไหมคะ
มีค่ะ ร้านนี้เป็นร้านเชฟระดับโลก ที่จองไปก็ยากมาก ให้เวลาจองตั้งแต่ 4 เดือน แล้วก็จองไม่ได้ พอถึงวันที่จองได้ก็ดีใจมาก เตรียมตัวไปทานมาก ซึ่งร้านนี้มันจะออกจากลอนดอนไปประมาณเกือบชั่วโมง ก็ขับรถไป ตั้งใจไปทานมาก แต่พอไปถึง เขาก็เป็นร้านที่ไม่ได้ใหญ่มากนะคะ อาหารทุกจาน เราเข้าถึงเชฟว่าเชฟเขาพยายามจะสื่อ จะบอกอะไร คือมันเป็นการทานอาหาร 4 ชั่วโมงที่รื่นรมย์มาก เพราะว่าเขาจะมีพนักงานมาแนะนำว่าแต่ละจานเป็นมายังไง วัตถุดิบที่เขาคัดสรร เป็นแบบไหน ผสมกับอันนี้แล้วรสชาติจะออกมาเป็นอย่างนี้ ให้รูป รส กลิ่น สี แบบไหน มันครบทั้ง 5 สัมผัส แล้วเขาก็ใช้วิทยาศาสตร์การอาหารเข้ามาผสมผสานด้วย มันก็ยิ่งตื่นตาตื่นใจมาก สนุก แบบนั่งทานอาหารไป มี i pod ให้ฟังไป ให้ฟังว่าอันนี้กำลังกินซีเชลล์อยู่ ก็สนุกค่ะ ชอบมากๆ ค่ะ ถ้ามีโอกาสก็คงไปอีก (ยิ้ม)
• มีประสบการณ์การไปทานอาหารที่ไหนแล้วไม่อร่อยบ้างไหมคะ
ก็มีนะ (หัวเราะ) แต่ว่าในฐานะที่เป็นเจ้าของร้านอาหาร เราจะไม่พูดเรื่องนี้ ถ้าเป็นตอนเด็กๆ ถ้าไม่อร่อย เราก็จะไม่กิน เพราะเราเป็นคนอย่างนี้ แต่มันก็พูดลำบากนะคะ อร่อยของเขา กับอร่อยของเรา คือคนเราบางทีรสชาติมันไม่เหมือนกัน เราก็เลยไม่สามารถที่จะวิจารณ์ได้ แต่ถ้าเกิดสมมติว่าที่ไหนเรารู้สึกว่าอร่อย เราก็จะรู้สึกว่าที่นี่แหละถูกใจรสลิ้นของเรา
ตู๋จะไม่ค่อยชอบวิจารณ์เท่าไหร่นะคะเพราะเราเข้าใจทุกคนนะว่าต้องการที่จะทำอะไรให้ออกมาดีที่สุดอยู่แล้ว ตู๋เป็นเจ้าของร้านอาหาร ตู๋ว่าเราต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน เพราะบางครั้งอาจจะเป็นการผิดพลาดแค่นิดๆ หน่อยๆ หรือสมมติเลยนะ ถ้าทำอาหารออกมาผิดพลาดมากที่สุดคือถ้ามียางรัดผมแค่เส้นเดียวลงไปอยู่ในอาหาร แต่ทำโดยการที่ไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งอาจจะเป็นข้อผิดพลาด เพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเราไปรุมด่าว่าร้านเขา วิจารณ์เยอะเกินไป เราเข้าใจหัวอกคนที่เป็นเจ้าของร้านนะ เราคงคิดว่า กะจะให้ถึงปิดร้านกันเลยหรือเปล่า ธุรกิจเขาแทบล้มอ่ะ บางคนอารมณ์แบบนั้นเลยนะ เพราะฉะนั้น ตู๋จะไม่วิจารณ์อะไรที่แรงๆ ค่ะ เพราะเราเห็นใจ ไม่มีใครทำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์หรอกค่ะ หรือถ้ามีก็น้อย มันต้องมีผิดพลาดบ้าง ก็เห็นใจกันไป ส่วนใหญ่ตู๋จะลงแค่ว่า อร่อย อร่อยมาก ดีมาก อยู่ในขอบเขตที่เรารู้สึกอยากที่จะชื่นชมเขาจริงๆ แต่อะไรที่มันไม่ดี ไม่อร่อย เราก็ไม่พูดถึงดีกว่า (ยิ้ม)
อาหารมันเป็นรสนิยม บางคนเขาก็บอกว่าที่นี่อร่อยมาก แต่พอเรากินแล้วเราไม่ชอบ มันก็คือรสนิยม ก็เหมือนกับการแต่งตัว สมมติเราใส่ชุดนี้สวย แต่อีกคนใส่แล้วบอกไม่สวย มันก็คือรสนิยมของคุณมันอยู่กับคนหมู่มากหรือคนหมู่น้อยแค่นั้นเอง เพราะฉะนั้นจะตู๋มองว่า ไม่มีอะไรในโลกที่ไม่อร่อยเลยหรอก บางทีมันก็อร่อย แต่ว่าอาจจะเป็นการอร่อยสำหรับคนหมู่น้อย และอร่อยสำหรับคนหมู่มาก มันถึงได้รับความนิยม แค่นั้นเอง
• แบบนี้คุณตู๋ก็เป็นกูรูด้านอาหารน่ะสิคะ
ไม่หรอกค่ะ (หัวเราะ) พูดจริงๆ ว่าคนเป็นนักชิม ในมุมของตู๋นะ ตู๋ไม่คอยนับถือคนที่ชิม แต่สักแต่ว่าชิม ตู๋จะพูดว่าไงดี สมมุติว่ามีจานหนึ่งมา คุณต้องบอกว่า อะไรคือไม่อร่อย แล้วไม่อร่อยต้องแก้ไขยังไง คือมันต้องอธิบายได้โดยละเอียด หรือถ้ามันต้องบอกถึงความหลังได้ว่ามันคืออะไร อย่างงั้นเลยนะ บางคนชิมแล้วพูดว่าก็มันไม่เห็นดีเลย ไม่อร่อยเลย อันนี้ดีน้อย อันดีมาก ซึ่งจริงๆ บางทีมันไม่ใช่หรอก อาหารจานหนึ่งมันมีประวัติการทำให้ออกมาได้ด้วยซ้ำ
เดี๋ยวนี้ใครเป็นนักชิมก็ดูง่ายเนอะ ไม่เอาดีกว่า ตู๋ไม่พูดว่านักชิมคืออะไร นักชิมคือคนชมบ่อยๆ ใครก็เป็นได้ มันไม่ได้มีสถาบันอะไรรับรองว่าคนคนนี้คือนักชิม ตู๋แค่มองว่าเราเป็นคนคนหนึ่งที่ชอบทานอาหาร แล้วก็ไม่เคยรู้สึกว่าจะต้องเรียกตัวเองว่าเป็นนักชิมอะไร เราแค่รู้สึกว่าเราเป็นคนชอบทานอาหาร ชอบทำอาหาร แค่นี้ตู๋ว่ามันก็โอเคแล้ว
แต่มีบางท่านที่ตู๋นับถือมากๆ ระดับอาจารย์เลย ตู๋ถือว่า ถ้าจะเรียกคนคนหนึ่งว่าเป็นนักชิมได้ ก็น่าจะต้องเป็นบุคคลแบบนี้ คือนอกจากจะชิมแล้ว คุณกินอาหารจานนี้ คุณต้องรู้ประวัติเขาด้วย ว่าอย่างโบราณเขาจะบอกเลยนะ เมื่อก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 เรามีน้ำพริก เมื่อก่อนน้ำพริกของเรา มันไม่ได้เหมือนสมัยนี้นะ เมื่อก่อนการทำน้ำพริกของเราคือเอาพริกมาตำจริงๆ อย่างเดียว เขาถึงได้เรียกว่าเป็นน้ำพริก แต่ตอนนี้เรามาดัดแปลงใหม่ คือมันมีประวัติ
ตู๋รู้สึกว่า คนที่เรียกตัวเองว่านักชิม แต่ถ้าไม่รู้พื้นเพหรือไม่รู้ประวัติ หรือไม่รู้ภูมิหลังอะไรเลย มันพูดถึงความนั้นไม่ได้ ซึ่งตู๋ก็คิดว่าตัวเราเองก็ยังไม่ได้มีศักยภาพหรือรู้มากขนาดนั้น เพียงแค่เราเป็นคนชอบทานก็เท่านั้นเองค่ะ ตอนนี้ก็มีบ้างที่บางที มีคนเชิญให้เราไปเป็นวิทยากรสาธิต ทำเมนูต่างๆ ในงานอีเว้นท์ ตู๋ก็จะดูแล้วก็รับงานตามสิ่งที่คิดว่าเข้ากับเราและน่าสนใจ หรือบางทีมีลงหนังสือทำกับข้าว เขาก็จะให้โชว์วิธีทำนู่นทำนี่ บางทีเขาก็เรียกเราว่าเชฟตู๋ (หัวเราะ)
• เห็นว่าชอบทานมากถึงขนาดที่ว่ามาทำธุรกิจร้านอาหารเลย แล้วธุรกิจร้านอาหารเริ่มต้นขึ้นมาได้อย่างไรคะ
จริงๆ ต้องบอกก่อนว่าตู๋เรียนบริหารที่ประเทศอังกฤษมา ก่อนหน้านี้ ตู๋ทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศบริษัทคอมพิวเตอร์มาก่อน ส่วนร้านอาหาร ตอนแรกเราไม่ได้ตั้งใจเปิดนะคะ แต่เพื่อนตู๋เขากำลังจะเปิดร้านอาหาร แล้วเขาเห็นว่าตอนเราเรียนอยู่ด้วยกัน ตู๋เป็นคนชอบทำอาหาร เขาก็เลยบอกว่าระหว่างรองาน คือตอนนั้นเราก็สมัครงานอยู่ ลองมาทำเล่นๆ ไหม เราก็เลยตอบตกลงไป เพราะอยากทำสนุกๆ ฆ่าเวลา เลยไปหุ้นกับเขา ก็ไม่ได้หุ้นอะไรเยอะหรอกนะคะ แต่ก็ไปทำ เสร็จปุ๊ป ก็ทำเค้กขาย ทำอะไรขายในร้านด้วย ปรากฏว่ามันขายดีมากๆ เลย เรามานั่งคิดว่าทำร้านอาหารรายได้ดีเหมือนกันนะ ไม่ต้องมาทำงานบริษัทก็ได้ เราได้ทำในสิ่งที่เรารักด้วย ตั้งแต่ตอนนั้นก็เปิดร้านอาหารเรื่อยมา แล้วก็ไม่ได้กลับไปทำงานประจำอีกเลยค่ะ
ร้านแรกที่ตู๋ทำ ชื่อร้าน “รักเอย” อยู่แถวประชาชื่น ตอนนั้นก็ไปได้สวยค่ะ สมัยนั้นคนก็รู้จักเยอะ ถึงแม้ว่าจะอยู่ไกล แต่คนก็ขับรถไปกิน เพราะว่าเราจะมีอาหารที่มันเป็นซิกเนเจอร์ของเราเองด้วย ค่อนข้างจะเป็นโฮมเมดด้วย ร้านนั้นก็โอเค อยู่มา 10 ปี
พอทำร้านแรกไปได้ด้วยดี เราก็เลยต่อยอดมาเปิดเป็นร้านที่ 2 ที่ห้างสรรพสินค้าพารากอน ชื่อร้านว่า Cafe Chilli (คาเฟ่ชิลลี่) อันนี้เราก็เป็นคนบุกเบิก เป็นเจ้าแรกๆ ที่เอาอาหารอีสานเข้ามาอยู่ในศูนย์การค้า มาอยู่ในห้างฯ เป็นที่แรกที่กล้าขายส้มตำราคาจานละ100 -200 บาท ซึ่งทุกคนก็จะรู้จักคาเฟ่ชิลลี่ในนามอาหารอีสานค่ะ
หลังจากนั้น พอเราได้เห็นว่าปัจจุบันมันมีแต่ชาบูอยู่ในตลาดอาหารมากๆ เราก็เลยรู้สึกว่าเราอยากจะทำฮอทพอท เกาเหลาหม้อไฟขึ้นมาบ้าง ซึ่งเกาเหลาหม้อไฟจะเป็นแบรนด์ Eat Pot เหมาะสำหรับคนทำงานออฟฟิศ เน้นทานง่ายและเร็วๆ เป็นก๋วยเตี๋ยว เป็นเกาเหลาหม้อไฟ และจาก Eat Pot (อีท พอท) ตู๋ก็มาเปิดร้าน POT Ministry (พอทมินิสทรี) ร้านล่าสุดเลยค่ะ ร้านนี้จะมีเอกลักษณ์เป็นน้ำซุป 4 ภาค ที่เราคิดขึ้นมาเองจากจุดเด่นของแต่ละภาค
ตอนนี้ตู๋มีร้านอาหารในเครือ fortunecookinggroup ทั้งหมด 5 แบรนด์ มีหน้าร้าน 3 แบรนด์ ได้แก่ Cafe Chilli (คาเฟ่ ชิลลี่), Eat Pot (อีท พอท), POT Ministry (พอทมินิสทรี) อีก 2 แบรนด์ กำลังเริ่มทำในส่วนของแคทเทอริ่ง แต่ก็มีลูกค้าที่ชอบทานหน้าร้าน เขาก็จะมาให้ไปออกงานอยู่เรื่อยๆ แต่ว่ายังไม่เคยทำพีอาร์จริงๆ คิดอยู่ว่าปีหน้าอาจจะทำ ซึ่งปีนี้ ตู๋มีโปรเจ็คต์ที่ต้องเปิดเพิ่มอีก 2 ร้านพอเปิดอีก 2 ร้านนี้เสร็จแล้วปีหน้าก็อาจจะค่อยๆ เริ่มขยับขยายในส่วนของงานแคทเทอริ่งแล้วค่ะ
• ทำธุรกิจร้านอาหาร แล้วแบบนี้มีอุปสรรคอะไรบ้างหรือเปล่าคะ
การทำร้านอาหาร หลายคนบอกว่ายาก แต่ด้วยความที่ตู๋เดินทางมาทางนี้ แล้วตู๋ก็ชอบและรักในสิ่งนี้ มันก็เลยไม่ได้เป็นสิ่งที่ยากสำหรับตู๋มากเท่าไหร่ ถึงแม้ว่าบางครั้งมันจะไม่ได้ดั่งใจ มีผิดมีถูก เราก็ต้องเรียนรู้กันไป
• จุดเด่นของร้านอาหารในเครือ fortunecookinggroup มีอะไรบ้างคะ
เนื่องจากตู๋เป็นคนชอบทาน จะเปิดร้านอาหารอะไร ตู๋ก็จะไปถึงแหล่งเลยนะคะอย่างตอนจะเปิดร้านอาหารอีสาน คาเฟ่ชิลลี่ ตู๋ก็ไปวนอยู่แถวอีสานเป็นเดือน ไปวนอยู่ประเทศลาวเป็นหลายอาทิตย์เลย เพื่อที่เราจะได้ไปเรียนรู้จากรสชาติที่แท้จริง แบบต้นตำรับเขาเลยว่าเป็นยังไง ให้ได้วิธีการทำทุกสิ่ง ทุกอย่างที่ถูกต้อง
ตู๋จะไปเจาะข้อมูลของแต่ละพื้นที่ เพราะเราเป็นคนชอบคุย ชอบเดินตลาดด้วย ตี 4 ตี 5 ก็ตื่นไปเดินตลาด เราก็ได้คุยกับแม่ค้า เราก็จะได้รู้ในส่วนของอาหารพื้นบ้านจริงๆ แต่ละที่เขาก็จะมีเคล็ดลับที่แตกต่างกันออกไป หรือแม้แต่บางครอบครัวก็จะมีสูตรลับต่างกัน ยิ่งเราได้คุย ยิ่งเราได้ศึกษาค้นหา ก็สามารถเก็บไว้เป็นข้อมูลแล้วนำสิ่งเหล่านั้นกลับมาใช้ในร้านของเรา
• การทำธุรกิจร้านอาหาร ต้องคำนึงถึงอะไรเป็นอันดับต้นๆ คะ
ตอนนี้อาหารพัฒนาไปมากกว่าเมื่อก่อนค่อนข้างเยอะ มันมีวิทยาศาสตร์การอาหารเข้ามาเกี่ยวข้อง ตู๋มองว่าตอนนี้ อาหารต้องสัมผัสได้ครบ ทั้ง รูป รส กลิ่น สี มันต้องมาครบ สมัยนี้มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ นะ อย่างเมื่อก่อนอาหารอร่อย ทำยังไงมา มันก็จะดูอร่อย แต่สมัยนี้มันไม่ใช่ อาหารสะอาด อร่อย ทำยังไง มันจะต้องอยู่ในการนำเสนอที่น่ารับประทาน ยิ่งเรานำเสนอให้มันน่าสนใจมากยิ่งขึ้น มันก็ยิ่งเพิ่มมูลค่าของอาหารจานนั้นมากยิ่งขึ้นไป อีกอย่าง วัตถุดิบต้องดีและถูกต้อง มันถึงจะส่งเสริมอาหารจานนั้นให้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
ตู๋มองว่าทุกอย่างมันต้องมาประกอบกันหมดเลยนะคะ รสชาติต้องดี วัตถุดิบต้องสดใหม่ สะอาด บริการดี มีไม่กี่ข้อหรอกค่ะ ร้านอาหารมีแค่นี้แหละ เพราะถ้ารสชาติดี แต่การบริการแย่ ไม่สะอาด ก็ไม่มีใครเข้า ทุกคนก็จะชอบแบบ เรามาทานข้าวนะ เรามาให้คุณดูแล ถ้าคุณมีเซอร์วิสชาร์จแล้ว คุณก็ต้องบริการเราให้ดี ถ้าถึงอาหารจะอร่อยขนาดไหน แต่บริการไม่ดี คนก็ไม่ไป หรืออาหารอร่อยแค่ไหน แต่พอเดินเข้าไปหลังร้านแล้วเจอแมลงสาบ มันรู้สึกไม่สะอาด เราก็ไม่เลือกที่จะบริโภค เดี๋ยวนี้มันต้องประกอบกัน นึกถึงหรือเลือกข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ ถ้าเราทำได้ทุกข้อได้ดี มันก็จะส่งเสริมซึ่งกันและกันค่ะ
• แล้วถ้ามีคนอยากเปิดร้านอาหารบ้าง คุณตู๋มีคำแนะนำอย่างไรบ้างคะ
การเปิดร้านอาหารมันก็มีหลายปัจจัยนะคะ คือคนทานอาหารอร่อย ก็อาจจะเปิดร้านอาหารแล้วไม่ประสบความสำเร็จก็ได้ เพราะว่าคุณไม่ได้เป็นนักชิมแล้ว แต่คุณคือคนขาย แล้วจะทำอย่างไรให้ถูกใจคนหลายคน คุณจะบริหารงานคนในร้านอย่างไร บริหารงานของร้านยังไง วิธีการทำเรื่องต้นทุนทำอย่างไร ทุกอย่างต้องลงตัว ซึ่งตู๋ได้ยินคนที่เขาเบื่อที่สุดในร้านอาหารคือเบื่อการบริหารคน เพราะว่ามันก็ลำบากนะคะ จะให้ทำอาหารทุกจานให้อร่อยเหมือนเดิมเป๊ะๆ มันไม่ใช่เรื่องง่าย ขนาดเราทำทุกวัน มันยังมีบวกลบนิดหน่อยเลย เพราะเราทำจานต่อจาน เราไม่ได้ทำจากโรงงาน
อีกอย่าง ตู๋เชื่อว่าเราต้อง learning by doing ซึ่งเราต้องลงมือทำก่อน เราถึงจะเห็น ถ้าเรามัวแต่มานั่งคิดล่วงหน้าในอนาคต เราไม่มีทางเจอของจริง เราไม่เจอสิ่งที่จริง เพราะฉะนั้น ถ้าคิดแล้วก็ต้องลงมือทำเลย แล้วคุณก็ถึงจะเห็นค่ะ (ยิ้ม)
• อยากต่อยอดหรือพัฒนาอะไรต่อไปบ้างคะ
ตอนนี้สิ่งที่อยากทำจริงๆ ก็คืออยากเปิดร้านอาหารที่ต่างประเทศ อยากไปทำอาหารไทยให้ฝรั่งกิน แต่ตอนนี้ปัจจัยหลายๆ อย่างยังไม่เอื้ออำนวย ถ้าวันหนึ่งจะทำจริงๆ เราก็คงจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่นั่น และก็จะไปอยู่กับร้านเลยและก็ทำเลย แต่ก็ติดเรื่องครอบครัวด้วย อะไรด้วย หลายๆ อย่าง จึงยังไปไม่ได้ ก็เปิดร้านอาหารสนุกสนานอยู่ในประเทศไทยไปก่อนค่ะ รายได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ แค่นี้ก็พอใจแล้วค่ะ (ยิ้ม)
.
เรื่อง : วรัญญา งามขำ, นงนุช พุดขาว
ภาพ : วรวิทย์ พานิชนันท์
รักสิ่งใด ก็สร้างรายได้จากสิ่งนั้น
คำกล่าวนี้ ดูเหมือนจะเป็นจริงจนยากจะปฏิเสธ
เพราะถึงความเชี่ยวชาญพิเศษของหญิงสาวผู้นี้ "ตู๋-เลิศรินิญฒ์ สิปปภาค" จะดูเหมือนไม่ค่อยเป็นแก่นสาร เพราะสิ่งที่เธอชำนาญคือ “การกิน”!
แต่สุดท้าย การกิน รวมทั้งความรักความชอบในการทำอาหารการกิน ก็กลายมาเป็นธุรกิจสร้างรายได้ให้ชีวิต ในฐานะเจ้าของร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง...
• ทราบมาว่าคุณตู๋เป็นคนหนึ่งชื่นชอบการกินมากๆ
ใช่ค่ะ ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งในชีวิตเลยก็ได้ บางคนอาจจะชอบฟังเพลง ชอบดูหนัง แต่ตู๋ชอบทานเป็นอันดับหนึ่ง ตู๋ชอบกินมาตั้งแต่เด็กๆ พอมีโอกาสไปเรียนเมืองนอก แต่ไม่มีเงินเยอะอะไร บางมื้อก็เลยต้องทำอาหารทานเอง ซึ่งพอทำแล้วเพื่อนชมว่าอร่อย อร่อยจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ตอนนั้น (หัวเราะ) แต่เรายิ่งสนุก ก็ยิ่งทำ
ตู๋ชอบอาหารที่อร่อยๆ แปลกใหม่ อีกอย่าง ด้วยความที่เราเป็นคนสนใจการทาน ทำให้เราชอบการทำกับข้าวด้วย ชอบค้นคว้าหาความรู้เรื่องวัตถุดิบซึ่งบางทีก็รู้จักบ้าง ไม่รู้จักบ้าง จะเป็นคนที่ค่อนข้างแสวงหาสิ่งเหล่านี้ ส่วนเรื่องการทานอาหาร ใครบอกว่าอะไรที่ไหนอร่อย ก็จะไปทาน ไปเที่ยวที่ไหน เราก็จะหาข้อมูลก่อนไปทุกครั้งค่ะ ตู๋ชอบเรียนรู้ ชอบศึกษา ชอบเสาะแสวงหา เพราะไม่งั้นเราก็จะไม่รู้ว่าอะไรที่มันอร่อย หรือเวลาทำอาหาร เราควรทำยังไงให้มันออกอร่อย นั่งๆ อยู่ ไม่มีอะไรทำ ก็จะดูรูปอาหาร (หัวเราะ)
• คือร้านไหนหรือเมนูไหนที่เขาว่าอร่อย เราต้องไปชิมหมดเลยใช่ไหมคะ
ตู๋ไม่ถึงกับตะเวนชิมมากมายอะไรนะคะ แต่จะเป็นประมาณว่า สมมุติเรามีโอกาสได้ไปเที่ยวที่ไหน เราก็จะวางแผนไว้ก่อนว่าที่นั่นมีร้านไหนน่าสนใจบ้าง และก็ต้องเป็นประเภทอาหารที่เราชอบ ก็ชิมตั้งแต่ข้างทางไปจนถึงร้านแพงๆ กินได้หมด เราก็จะทำลิสต์รายการไว้ แต่เราก็ไม่ใช่พวกแบบวันหนึ่งกินไม่รู้กี่มื้อต่อกี่มื้อนะคะ การกินของตู๋จะเป็นลักษณะกินแล้วดื่มด่ำในรสชาติของอาหารด้วย ไม่ได้กินแค่เอาปริมาณแบบสั่งมากินเยอะๆ อย่างนี้ไม่ใช่ (หัวเราะ) เราจะกินตามมื้อปกติ เช้า กลางวัน เย็นเลยค่ะ
อาหารที่ตู๋ชอบมาก คืออาหารไทย เป็นคนหลงใหลในอาหารไทยมากๆ และก็ไม่ใช่ภาคเดียวนะคะ จะกินทั้งสี่ภาคเลย อย่างประเทศไทยก็ไปมาแล้วหลายจังหวัด พูดได้ว่า ไปมาแล้วมากกว่าครึ่งประเทศ
• มีร้านไหนที่ไปทานแล้วประทับใจมากๆ เลยไหมคะ
มีค่ะ ร้านนี้เป็นร้านเชฟระดับโลก ที่จองไปก็ยากมาก ให้เวลาจองตั้งแต่ 4 เดือน แล้วก็จองไม่ได้ พอถึงวันที่จองได้ก็ดีใจมาก เตรียมตัวไปทานมาก ซึ่งร้านนี้มันจะออกจากลอนดอนไปประมาณเกือบชั่วโมง ก็ขับรถไป ตั้งใจไปทานมาก แต่พอไปถึง เขาก็เป็นร้านที่ไม่ได้ใหญ่มากนะคะ อาหารทุกจาน เราเข้าถึงเชฟว่าเชฟเขาพยายามจะสื่อ จะบอกอะไร คือมันเป็นการทานอาหาร 4 ชั่วโมงที่รื่นรมย์มาก เพราะว่าเขาจะมีพนักงานมาแนะนำว่าแต่ละจานเป็นมายังไง วัตถุดิบที่เขาคัดสรร เป็นแบบไหน ผสมกับอันนี้แล้วรสชาติจะออกมาเป็นอย่างนี้ ให้รูป รส กลิ่น สี แบบไหน มันครบทั้ง 5 สัมผัส แล้วเขาก็ใช้วิทยาศาสตร์การอาหารเข้ามาผสมผสานด้วย มันก็ยิ่งตื่นตาตื่นใจมาก สนุก แบบนั่งทานอาหารไป มี i pod ให้ฟังไป ให้ฟังว่าอันนี้กำลังกินซีเชลล์อยู่ ก็สนุกค่ะ ชอบมากๆ ค่ะ ถ้ามีโอกาสก็คงไปอีก (ยิ้ม)
• มีประสบการณ์การไปทานอาหารที่ไหนแล้วไม่อร่อยบ้างไหมคะ
ก็มีนะ (หัวเราะ) แต่ว่าในฐานะที่เป็นเจ้าของร้านอาหาร เราจะไม่พูดเรื่องนี้ ถ้าเป็นตอนเด็กๆ ถ้าไม่อร่อย เราก็จะไม่กิน เพราะเราเป็นคนอย่างนี้ แต่มันก็พูดลำบากนะคะ อร่อยของเขา กับอร่อยของเรา คือคนเราบางทีรสชาติมันไม่เหมือนกัน เราก็เลยไม่สามารถที่จะวิจารณ์ได้ แต่ถ้าเกิดสมมติว่าที่ไหนเรารู้สึกว่าอร่อย เราก็จะรู้สึกว่าที่นี่แหละถูกใจรสลิ้นของเรา
ตู๋จะไม่ค่อยชอบวิจารณ์เท่าไหร่นะคะเพราะเราเข้าใจทุกคนนะว่าต้องการที่จะทำอะไรให้ออกมาดีที่สุดอยู่แล้ว ตู๋เป็นเจ้าของร้านอาหาร ตู๋ว่าเราต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน เพราะบางครั้งอาจจะเป็นการผิดพลาดแค่นิดๆ หน่อยๆ หรือสมมติเลยนะ ถ้าทำอาหารออกมาผิดพลาดมากที่สุดคือถ้ามียางรัดผมแค่เส้นเดียวลงไปอยู่ในอาหาร แต่ทำโดยการที่ไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งอาจจะเป็นข้อผิดพลาด เพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเราไปรุมด่าว่าร้านเขา วิจารณ์เยอะเกินไป เราเข้าใจหัวอกคนที่เป็นเจ้าของร้านนะ เราคงคิดว่า กะจะให้ถึงปิดร้านกันเลยหรือเปล่า ธุรกิจเขาแทบล้มอ่ะ บางคนอารมณ์แบบนั้นเลยนะ เพราะฉะนั้น ตู๋จะไม่วิจารณ์อะไรที่แรงๆ ค่ะ เพราะเราเห็นใจ ไม่มีใครทำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์หรอกค่ะ หรือถ้ามีก็น้อย มันต้องมีผิดพลาดบ้าง ก็เห็นใจกันไป ส่วนใหญ่ตู๋จะลงแค่ว่า อร่อย อร่อยมาก ดีมาก อยู่ในขอบเขตที่เรารู้สึกอยากที่จะชื่นชมเขาจริงๆ แต่อะไรที่มันไม่ดี ไม่อร่อย เราก็ไม่พูดถึงดีกว่า (ยิ้ม)
อาหารมันเป็นรสนิยม บางคนเขาก็บอกว่าที่นี่อร่อยมาก แต่พอเรากินแล้วเราไม่ชอบ มันก็คือรสนิยม ก็เหมือนกับการแต่งตัว สมมติเราใส่ชุดนี้สวย แต่อีกคนใส่แล้วบอกไม่สวย มันก็คือรสนิยมของคุณมันอยู่กับคนหมู่มากหรือคนหมู่น้อยแค่นั้นเอง เพราะฉะนั้นจะตู๋มองว่า ไม่มีอะไรในโลกที่ไม่อร่อยเลยหรอก บางทีมันก็อร่อย แต่ว่าอาจจะเป็นการอร่อยสำหรับคนหมู่น้อย และอร่อยสำหรับคนหมู่มาก มันถึงได้รับความนิยม แค่นั้นเอง
• แบบนี้คุณตู๋ก็เป็นกูรูด้านอาหารน่ะสิคะ
ไม่หรอกค่ะ (หัวเราะ) พูดจริงๆ ว่าคนเป็นนักชิม ในมุมของตู๋นะ ตู๋ไม่คอยนับถือคนที่ชิม แต่สักแต่ว่าชิม ตู๋จะพูดว่าไงดี สมมุติว่ามีจานหนึ่งมา คุณต้องบอกว่า อะไรคือไม่อร่อย แล้วไม่อร่อยต้องแก้ไขยังไง คือมันต้องอธิบายได้โดยละเอียด หรือถ้ามันต้องบอกถึงความหลังได้ว่ามันคืออะไร อย่างงั้นเลยนะ บางคนชิมแล้วพูดว่าก็มันไม่เห็นดีเลย ไม่อร่อยเลย อันนี้ดีน้อย อันดีมาก ซึ่งจริงๆ บางทีมันไม่ใช่หรอก อาหารจานหนึ่งมันมีประวัติการทำให้ออกมาได้ด้วยซ้ำ
เดี๋ยวนี้ใครเป็นนักชิมก็ดูง่ายเนอะ ไม่เอาดีกว่า ตู๋ไม่พูดว่านักชิมคืออะไร นักชิมคือคนชมบ่อยๆ ใครก็เป็นได้ มันไม่ได้มีสถาบันอะไรรับรองว่าคนคนนี้คือนักชิม ตู๋แค่มองว่าเราเป็นคนคนหนึ่งที่ชอบทานอาหาร แล้วก็ไม่เคยรู้สึกว่าจะต้องเรียกตัวเองว่าเป็นนักชิมอะไร เราแค่รู้สึกว่าเราเป็นคนชอบทานอาหาร ชอบทำอาหาร แค่นี้ตู๋ว่ามันก็โอเคแล้ว
แต่มีบางท่านที่ตู๋นับถือมากๆ ระดับอาจารย์เลย ตู๋ถือว่า ถ้าจะเรียกคนคนหนึ่งว่าเป็นนักชิมได้ ก็น่าจะต้องเป็นบุคคลแบบนี้ คือนอกจากจะชิมแล้ว คุณกินอาหารจานนี้ คุณต้องรู้ประวัติเขาด้วย ว่าอย่างโบราณเขาจะบอกเลยนะ เมื่อก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 เรามีน้ำพริก เมื่อก่อนน้ำพริกของเรา มันไม่ได้เหมือนสมัยนี้นะ เมื่อก่อนการทำน้ำพริกของเราคือเอาพริกมาตำจริงๆ อย่างเดียว เขาถึงได้เรียกว่าเป็นน้ำพริก แต่ตอนนี้เรามาดัดแปลงใหม่ คือมันมีประวัติ
ตู๋รู้สึกว่า คนที่เรียกตัวเองว่านักชิม แต่ถ้าไม่รู้พื้นเพหรือไม่รู้ประวัติ หรือไม่รู้ภูมิหลังอะไรเลย มันพูดถึงความนั้นไม่ได้ ซึ่งตู๋ก็คิดว่าตัวเราเองก็ยังไม่ได้มีศักยภาพหรือรู้มากขนาดนั้น เพียงแค่เราเป็นคนชอบทานก็เท่านั้นเองค่ะ ตอนนี้ก็มีบ้างที่บางที มีคนเชิญให้เราไปเป็นวิทยากรสาธิต ทำเมนูต่างๆ ในงานอีเว้นท์ ตู๋ก็จะดูแล้วก็รับงานตามสิ่งที่คิดว่าเข้ากับเราและน่าสนใจ หรือบางทีมีลงหนังสือทำกับข้าว เขาก็จะให้โชว์วิธีทำนู่นทำนี่ บางทีเขาก็เรียกเราว่าเชฟตู๋ (หัวเราะ)
• เห็นว่าชอบทานมากถึงขนาดที่ว่ามาทำธุรกิจร้านอาหารเลย แล้วธุรกิจร้านอาหารเริ่มต้นขึ้นมาได้อย่างไรคะ
จริงๆ ต้องบอกก่อนว่าตู๋เรียนบริหารที่ประเทศอังกฤษมา ก่อนหน้านี้ ตู๋ทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศบริษัทคอมพิวเตอร์มาก่อน ส่วนร้านอาหาร ตอนแรกเราไม่ได้ตั้งใจเปิดนะคะ แต่เพื่อนตู๋เขากำลังจะเปิดร้านอาหาร แล้วเขาเห็นว่าตอนเราเรียนอยู่ด้วยกัน ตู๋เป็นคนชอบทำอาหาร เขาก็เลยบอกว่าระหว่างรองาน คือตอนนั้นเราก็สมัครงานอยู่ ลองมาทำเล่นๆ ไหม เราก็เลยตอบตกลงไป เพราะอยากทำสนุกๆ ฆ่าเวลา เลยไปหุ้นกับเขา ก็ไม่ได้หุ้นอะไรเยอะหรอกนะคะ แต่ก็ไปทำ เสร็จปุ๊ป ก็ทำเค้กขาย ทำอะไรขายในร้านด้วย ปรากฏว่ามันขายดีมากๆ เลย เรามานั่งคิดว่าทำร้านอาหารรายได้ดีเหมือนกันนะ ไม่ต้องมาทำงานบริษัทก็ได้ เราได้ทำในสิ่งที่เรารักด้วย ตั้งแต่ตอนนั้นก็เปิดร้านอาหารเรื่อยมา แล้วก็ไม่ได้กลับไปทำงานประจำอีกเลยค่ะ
ร้านแรกที่ตู๋ทำ ชื่อร้าน “รักเอย” อยู่แถวประชาชื่น ตอนนั้นก็ไปได้สวยค่ะ สมัยนั้นคนก็รู้จักเยอะ ถึงแม้ว่าจะอยู่ไกล แต่คนก็ขับรถไปกิน เพราะว่าเราจะมีอาหารที่มันเป็นซิกเนเจอร์ของเราเองด้วย ค่อนข้างจะเป็นโฮมเมดด้วย ร้านนั้นก็โอเค อยู่มา 10 ปี
พอทำร้านแรกไปได้ด้วยดี เราก็เลยต่อยอดมาเปิดเป็นร้านที่ 2 ที่ห้างสรรพสินค้าพารากอน ชื่อร้านว่า Cafe Chilli (คาเฟ่ชิลลี่) อันนี้เราก็เป็นคนบุกเบิก เป็นเจ้าแรกๆ ที่เอาอาหารอีสานเข้ามาอยู่ในศูนย์การค้า มาอยู่ในห้างฯ เป็นที่แรกที่กล้าขายส้มตำราคาจานละ100 -200 บาท ซึ่งทุกคนก็จะรู้จักคาเฟ่ชิลลี่ในนามอาหารอีสานค่ะ
หลังจากนั้น พอเราได้เห็นว่าปัจจุบันมันมีแต่ชาบูอยู่ในตลาดอาหารมากๆ เราก็เลยรู้สึกว่าเราอยากจะทำฮอทพอท เกาเหลาหม้อไฟขึ้นมาบ้าง ซึ่งเกาเหลาหม้อไฟจะเป็นแบรนด์ Eat Pot เหมาะสำหรับคนทำงานออฟฟิศ เน้นทานง่ายและเร็วๆ เป็นก๋วยเตี๋ยว เป็นเกาเหลาหม้อไฟ และจาก Eat Pot (อีท พอท) ตู๋ก็มาเปิดร้าน POT Ministry (พอทมินิสทรี) ร้านล่าสุดเลยค่ะ ร้านนี้จะมีเอกลักษณ์เป็นน้ำซุป 4 ภาค ที่เราคิดขึ้นมาเองจากจุดเด่นของแต่ละภาค
ตอนนี้ตู๋มีร้านอาหารในเครือ fortunecookinggroup ทั้งหมด 5 แบรนด์ มีหน้าร้าน 3 แบรนด์ ได้แก่ Cafe Chilli (คาเฟ่ ชิลลี่), Eat Pot (อีท พอท), POT Ministry (พอทมินิสทรี) อีก 2 แบรนด์ กำลังเริ่มทำในส่วนของแคทเทอริ่ง แต่ก็มีลูกค้าที่ชอบทานหน้าร้าน เขาก็จะมาให้ไปออกงานอยู่เรื่อยๆ แต่ว่ายังไม่เคยทำพีอาร์จริงๆ คิดอยู่ว่าปีหน้าอาจจะทำ ซึ่งปีนี้ ตู๋มีโปรเจ็คต์ที่ต้องเปิดเพิ่มอีก 2 ร้านพอเปิดอีก 2 ร้านนี้เสร็จแล้วปีหน้าก็อาจจะค่อยๆ เริ่มขยับขยายในส่วนของงานแคทเทอริ่งแล้วค่ะ
• ทำธุรกิจร้านอาหาร แล้วแบบนี้มีอุปสรรคอะไรบ้างหรือเปล่าคะ
การทำร้านอาหาร หลายคนบอกว่ายาก แต่ด้วยความที่ตู๋เดินทางมาทางนี้ แล้วตู๋ก็ชอบและรักในสิ่งนี้ มันก็เลยไม่ได้เป็นสิ่งที่ยากสำหรับตู๋มากเท่าไหร่ ถึงแม้ว่าบางครั้งมันจะไม่ได้ดั่งใจ มีผิดมีถูก เราก็ต้องเรียนรู้กันไป
• จุดเด่นของร้านอาหารในเครือ fortunecookinggroup มีอะไรบ้างคะ
เนื่องจากตู๋เป็นคนชอบทาน จะเปิดร้านอาหารอะไร ตู๋ก็จะไปถึงแหล่งเลยนะคะอย่างตอนจะเปิดร้านอาหารอีสาน คาเฟ่ชิลลี่ ตู๋ก็ไปวนอยู่แถวอีสานเป็นเดือน ไปวนอยู่ประเทศลาวเป็นหลายอาทิตย์เลย เพื่อที่เราจะได้ไปเรียนรู้จากรสชาติที่แท้จริง แบบต้นตำรับเขาเลยว่าเป็นยังไง ให้ได้วิธีการทำทุกสิ่ง ทุกอย่างที่ถูกต้อง
ตู๋จะไปเจาะข้อมูลของแต่ละพื้นที่ เพราะเราเป็นคนชอบคุย ชอบเดินตลาดด้วย ตี 4 ตี 5 ก็ตื่นไปเดินตลาด เราก็ได้คุยกับแม่ค้า เราก็จะได้รู้ในส่วนของอาหารพื้นบ้านจริงๆ แต่ละที่เขาก็จะมีเคล็ดลับที่แตกต่างกันออกไป หรือแม้แต่บางครอบครัวก็จะมีสูตรลับต่างกัน ยิ่งเราได้คุย ยิ่งเราได้ศึกษาค้นหา ก็สามารถเก็บไว้เป็นข้อมูลแล้วนำสิ่งเหล่านั้นกลับมาใช้ในร้านของเรา
• การทำธุรกิจร้านอาหาร ต้องคำนึงถึงอะไรเป็นอันดับต้นๆ คะ
ตอนนี้อาหารพัฒนาไปมากกว่าเมื่อก่อนค่อนข้างเยอะ มันมีวิทยาศาสตร์การอาหารเข้ามาเกี่ยวข้อง ตู๋มองว่าตอนนี้ อาหารต้องสัมผัสได้ครบ ทั้ง รูป รส กลิ่น สี มันต้องมาครบ สมัยนี้มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ นะ อย่างเมื่อก่อนอาหารอร่อย ทำยังไงมา มันก็จะดูอร่อย แต่สมัยนี้มันไม่ใช่ อาหารสะอาด อร่อย ทำยังไง มันจะต้องอยู่ในการนำเสนอที่น่ารับประทาน ยิ่งเรานำเสนอให้มันน่าสนใจมากยิ่งขึ้น มันก็ยิ่งเพิ่มมูลค่าของอาหารจานนั้นมากยิ่งขึ้นไป อีกอย่าง วัตถุดิบต้องดีและถูกต้อง มันถึงจะส่งเสริมอาหารจานนั้นให้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
ตู๋มองว่าทุกอย่างมันต้องมาประกอบกันหมดเลยนะคะ รสชาติต้องดี วัตถุดิบต้องสดใหม่ สะอาด บริการดี มีไม่กี่ข้อหรอกค่ะ ร้านอาหารมีแค่นี้แหละ เพราะถ้ารสชาติดี แต่การบริการแย่ ไม่สะอาด ก็ไม่มีใครเข้า ทุกคนก็จะชอบแบบ เรามาทานข้าวนะ เรามาให้คุณดูแล ถ้าคุณมีเซอร์วิสชาร์จแล้ว คุณก็ต้องบริการเราให้ดี ถ้าถึงอาหารจะอร่อยขนาดไหน แต่บริการไม่ดี คนก็ไม่ไป หรืออาหารอร่อยแค่ไหน แต่พอเดินเข้าไปหลังร้านแล้วเจอแมลงสาบ มันรู้สึกไม่สะอาด เราก็ไม่เลือกที่จะบริโภค เดี๋ยวนี้มันต้องประกอบกัน นึกถึงหรือเลือกข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ ถ้าเราทำได้ทุกข้อได้ดี มันก็จะส่งเสริมซึ่งกันและกันค่ะ
• แล้วถ้ามีคนอยากเปิดร้านอาหารบ้าง คุณตู๋มีคำแนะนำอย่างไรบ้างคะ
การเปิดร้านอาหารมันก็มีหลายปัจจัยนะคะ คือคนทานอาหารอร่อย ก็อาจจะเปิดร้านอาหารแล้วไม่ประสบความสำเร็จก็ได้ เพราะว่าคุณไม่ได้เป็นนักชิมแล้ว แต่คุณคือคนขาย แล้วจะทำอย่างไรให้ถูกใจคนหลายคน คุณจะบริหารงานคนในร้านอย่างไร บริหารงานของร้านยังไง วิธีการทำเรื่องต้นทุนทำอย่างไร ทุกอย่างต้องลงตัว ซึ่งตู๋ได้ยินคนที่เขาเบื่อที่สุดในร้านอาหารคือเบื่อการบริหารคน เพราะว่ามันก็ลำบากนะคะ จะให้ทำอาหารทุกจานให้อร่อยเหมือนเดิมเป๊ะๆ มันไม่ใช่เรื่องง่าย ขนาดเราทำทุกวัน มันยังมีบวกลบนิดหน่อยเลย เพราะเราทำจานต่อจาน เราไม่ได้ทำจากโรงงาน
อีกอย่าง ตู๋เชื่อว่าเราต้อง learning by doing ซึ่งเราต้องลงมือทำก่อน เราถึงจะเห็น ถ้าเรามัวแต่มานั่งคิดล่วงหน้าในอนาคต เราไม่มีทางเจอของจริง เราไม่เจอสิ่งที่จริง เพราะฉะนั้น ถ้าคิดแล้วก็ต้องลงมือทำเลย แล้วคุณก็ถึงจะเห็นค่ะ (ยิ้ม)
• อยากต่อยอดหรือพัฒนาอะไรต่อไปบ้างคะ
ตอนนี้สิ่งที่อยากทำจริงๆ ก็คืออยากเปิดร้านอาหารที่ต่างประเทศ อยากไปทำอาหารไทยให้ฝรั่งกิน แต่ตอนนี้ปัจจัยหลายๆ อย่างยังไม่เอื้ออำนวย ถ้าวันหนึ่งจะทำจริงๆ เราก็คงจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่นั่น และก็จะไปอยู่กับร้านเลยและก็ทำเลย แต่ก็ติดเรื่องครอบครัวด้วย อะไรด้วย หลายๆ อย่าง จึงยังไปไม่ได้ ก็เปิดร้านอาหารสนุกสนานอยู่ในประเทศไทยไปก่อนค่ะ รายได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ แค่นี้ก็พอใจแล้วค่ะ (ยิ้ม)
.
เรื่อง : วรัญญา งามขำ, นงนุช พุดขาว
ภาพ : วรวิทย์ พานิชนันท์