คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.“บิ๊กตู่” ประกาศลงประชามติรับร่าง รธน.พร้อมคำถามพ่วง ด้าน “ยิ่งลักษณ์” ไม่รับร่างฯ ขณะที่ “ทักษิณ” ซัดร่าง รธน. “งี่เง่า”
ความเคลื่อนไหวช่วงโค้งสุดท้ายก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. หลายฝ่ายยังคงทยอยเผยท่าทีต่อการออกเสียงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ขณะที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลข้อหนึ่งว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้กลไกในการปราบโกงอ่อนแอลง โดยนายมีชัยถามกลับว่า ตรงไหนที่อ่อนแอ พร้อมชี้แจงว่า ไม่เพียง ป.ป.ช.มีอำนาจปราบนักการเมือง แต่ยังมีอำนาจปราบข้าราชการมากขึ้นด้วย ส่วนการอุทธรณ์ในคดีทุจริตในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น มีที่มาจากความตกลงระหว่างประเทศที่ทำกันมาในปี 2539 ใช้ต่อมาถึงปี 2540 ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ออกมา เนื้อหาร่างฯ ฉบับนั้นก็เริ่มเขียนเหมือนอุทธรณ์ได้ แต่ความจริงไม่ใช่การอุทธรณ์ เพราะต้องหาพยานหลักฐานใหม่ เพื่อให้ศาลพิจารณาเพิ่มเติม
ส่วนที่นายอภิสิทธิ์ระบุว่า การให้มีการอุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากการบัญญัติแบบนี้กลุ่มแรกคือ จำเลยคดีจำนำข้าวนั้น นายมีชัยกล่าวว่า “การบัญญัติแบบนี้นั้น ไม่ได้คิดจะเล่นงานใครโดยเฉพาะ แต่เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล รัฐธรรมนูญในปี 2550 มีหลายคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินว่าไม่ผิด ก็หงายหลังกัน เพราะคนทั่วไปรู้สึกว่าน่าจะผิด คราวนี้ กรธ.จึงเขียนว่า ให้สามารถอุทธรณ์ได้ในชั้นศาลฎีกาฯ ที่ผ่านมาศาลฎีกาฯ เห็นว่า หลักฐานอ่อนก็ยกประโยชน์ให้จำเลย เรามีสิทธิ์อุทธรณ์ได้เพื่อให้พิจารณาได้อีกชั้นศาล ถือว่าเป็นไปตามระบบยุติธรรมตามหลักสากลที่ไปเซ็นกับเขาไว้...อย่านึกว่าคนที่เราไม่ชอบจะเป็นพวกเดียวที่ไปสู่ศาลได้ วันดีคืนดี คนที่เราชอบก็อาจไปที่ศาลนั้นได้เหมือนกัน ทุกคนในวงการเมืองก็มีโอกาสไปสู่ศาลนั้นได้ทั้งนั้น พอถึงวันนั้นอาจจะนั่งนึกขอบคุณ กรธ.ก็ได้ว่าเราได้คิดมาไกลเผื่อเขา”
สำหรับท่าทีของฝ่ายต่างๆ ต่อการออกเสียงประขามตินั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ได้ประกาศแล้วว่า วันที่ 7 ส.ค.นี้ จะไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง “ในส่วนตัวผมก็จะไปร่วมลงประชามติในฐานะประชาชนคนหนึ่ง และจะลงเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงคำถามพ่วงประชามติ เพราะถ้าเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไปไม่ได้ ทุกอย่างจะกลับไปที่เดิม” พล.อ.ประยุทธ์ยังย้ำด้วยว่า ที่เผยท่าทีเรื่องลงประชามติไม่ถือว่าเป็นการโน้มน้าวเเละชักชวน แล้วเเต่ประชาชนจะตัดสินใจ ส่วนกรณีที่มีบางฝ่ายเรียกร้องให้ลาออก หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามตินั้น พล.อ.ประยุทธ์ยืนยันว่า ไม่เกี่ยวกัน จะอยู่ไปตามโรดแมป เพราะมีหน้าที่แก้ปัญหา หยุดความขัดแย้ง พร้อมเผยว่า วันที่ 9 ส.ค.จะมีการประชุมร่วม ครม.-คสช.เพื่อวางแผนหาวิธีการดำเนินการต่อไปว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ต้องทำอย่างไร และถ้าไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 2 ส.ค. ว่าจะไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติในวันที่ 7 ส.ค.เช่นกัน โดยบอกว่า แม้ตนจะถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ยังเหลือสิทธิในการออกเสียงประชามติ โดยจะลงประชามติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง เพราะร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นไปตามแนวทางที่ตนวางไว้ ทั้งการกำหนดรูปแบบการปกครองประเทศ การให้สิทธิเสรีภาพและสิ่งที่ประชาชนพึงจะได้รับ และการถ่วงดุลระหว่างอำนาจต่างๆ
เป็นที่น่าสังเกตว่า นายทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคำพิพากษาศาลฎีกาฯ จำคุก 2 ปีคดีซื้อที่รัชดาฯ ได้ส่งอีเมลคำแถลงถึงสำนักข่าวรอยเตอร์ วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีการทำประชามติว่า “งี่เง่า” พร้อมระบุตอนหนึ่งว่า เป็นฝันร้ายที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและความสับสน คณะผู้ร่างได้จัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อความต่อเนื่องของอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของคณะผู้ก่อการรัฐประหารชุดปัจจุบันภายหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ฉบับนี้แล้ว และให้อำนาจมากมายไปอยู่ในกำมือขององค์กรต่างๆ ซึ่งมีภารกิจในการเป็นตัวถ่วงดุลรัฐบาล จนกระทั่งทำให้ไม่สามารถที่จะปกครองประเทศได้ “ผมขอพยากรณ์ว่า แม้กระทั่งรัฐบาลชุดใหม่ที่ได้รับการรับรองอย่างเต็มที่จากระบอบปกครองปัจจุบัน รัฐบาลนั้นก็จะพบว่าเป็นไปไม่ได้ที่ตนเองจะจัดการเศรษฐกิจของไทย หรือบริหารประเทศภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ที่เสนอกันออกมาเหล่านี้”
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) ได้กล่าวผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ว่า ตนได้ติดตามข่าวนายทักษิณ ที่ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนี้ และต่อมา นายพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายนายทักษิณ ก็ออกมาโพสต์เฟชบุ๊คยืนยันเรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นการประกาศจุดยืนในวันเกิดของนายทักษิณ โดยมีบุคคลสำคัญของพรรคเพื่อไทยเข้าไปรับนโยบายหลายคน รวมทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ก็ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เท่ากับว่าคนในระบอบทักษิณทำทุกอย่างเพื่อที่จะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญให้ได้ ทั้งที่นายทักษิณเป็นบุคคลต้องห้ามทางการเมืองตลอดชีวิต แต่ยังพยายามทำตัวเป็นผู้บงการประเทศไทย ถึงได้ส่งสัญญาณให้ลูกสมุนคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ “โอหังมาก มีการประกาศว่า ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านประชามติในวันที่ 7 ส.ค. พวกเขาจะออกมาขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ โดยอ้างว่าไม่มีความชอบธรรมที่จะอยู่ต่อไป แสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้มีแผน มีความตั้งใจทำให้บ้านเมืองเกิดปัญหาวุ่นวายมากมายไม่รู้จบสิ้น เพราะยังอยากกลับมามีอำนาจในประเทศไทย และจากการที่พวกเขาเคลื่อนไหว ยิ่งทำให้คนอย่างผมมีพลัง มีความตั้งใจทำหน้าที่ประชาชนเพื่อกำหนดอนาคตไทยด้วยมือของเรา พาประเทศให้พ้นจากอำนาจนักการเมืองเลวในระบบทุนสามานย์ ไม่ให้ประเทศไทยอยู่ในวงจรอุบาทว์เหมือนที่ผ่านมา ผมจะรับร่างรัฐธรรมนูญนี้และรับคำถามพ่วง”
สำหรับผลประชามตินั้น นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.เผยว่า หลังปิดหีบลงคะแนนในเวลา 16.00 น. จะมีการนับคะแนนหน้าหน่วยออกเสียงทุกหน่วยทั่วประเทศเช่นเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ส. และแต่ละหน่วยจะส่งผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการถึง กกต.กลาง คาดว่าจะทราบผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการได้ในเวลาไม่เกิน 21.00 น. ส่วนผลอย่างเป็นทางการ คาดว่าจะทราบได้ภายใน 3 วัน
2.คกก.สอบข้อเท็จจริงฯ สรุปแล้ว “ยิ่งลักษณ์” จำนำข้าวเสียหายกว่า 2.86 แสนล้าน ด้านเจ้าตัวขึ้นศาลฯ แถลงเปิดคดีทุจริตจำนำข้าว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา!
เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักปลัดสำนักนายรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังนายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิดจากโครงการรับจำนำข้าว เข้ารายงานตัวเลขความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวว่า ตนได้รับตัวเลขจากนายจิรชัยเพื่อจะรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ในวันที่ 3 ส.ค. แล้ว โดยตัวเลขที่ได้รับการยืนยันพบว่า ความเสียหายจากการบริหารจัดการโครงการรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่ที่ 286,639 ล้านบาท ส่วนของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และพวก อยู่ที่ 18,743 ล้านบาท ส่วนตัวเลขการระบายข้าวในสต๊อกของฝ่ายบริหารในอดีต มีการรับมอบข้าวเข้ามาจำนวน 13.3 ล้านตัน แต่ส่งออกไปยังต่างประเทศไม่ถึง 1 ล้านตัน คงค้างในคลัง 13 ล้านตัน
ด้านนายจิรชัยกล่าวถึงรายงานตัวเลขดังกล่าวว่า เป็นการรายงานสถานการณ์เรื่องข้าว โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ความเสียหายในส่วนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จำนวน 2 แสนกว่าล้านบาท ที่เคยให้การต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไป โดยเป็นตัวเลขที่ต้องรอคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธาน พิจารณาอีกรอบหนึ่ง และว่า ในส่วนของนายบุญทรงที่เป็นค่าเสียหายจากการขายข้าวแบบจีทูจี จำนวน 1.8 หมื่นล้านบาท แต่คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง พิจารณาแล้วเห็นว่าควรปรับเพิ่มเรียกค่าเสียหายกับผู้ที่เกี่ยวข้องเป็น 2 หมื่นล้านบาท และเรื่องการระบายข้าวในสต๊อกและข้าวคงเหลือในสต๊อกของรัฐบาลในอดีต โดยทั้งหมดจะมีการรายงานต่อที่ประชุม นบข.รับทราบ ในวันที่ 3 ส.ค.
ทั้งนี้ หลังประชุม นบข.เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นประธาน พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ตัวเลขความเสียหายทั้งหมดไม่ใช่ 2 แสนกว่าล้าน อาจจะมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะขายข้าวไม่ได้ ข้าวจะเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ และจะขายมากๆ ก็ไม่ได้ เพราะต้องดูราคาตลาดด้วย
วันเดียวกัน(3 ส.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กทำนองขอกำลังใจจากประชาชน โดยบอก ความรู้สึกก่อนขึ้นศาล(ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง) วันที่ 5 ส.ค. เป็นช่วงยากลำบากสำหรับชีวิต บางครั้งรู้สึกเหนื่อย ท้อ แต่ก็บอกกับตัวเองว่าจะป่วย จะท้อ จะหมดกำลังใจไม่ได้ เพราะยังมีผู้คนอีกมากที่คอยให้กำลังใจ เหลือเวลาอีกเพียงสองวัน จะต้องขึ้นศาลฯ เพื่อแถลงเปิดคดีและตอบคำถามฝ่ายโจทก์ด้วยตัวเอง
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อถึงกำหนดขึ้นศาลฯ (5 ส.ค.) มีมวลชนไปรอให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ศาลฯ จำนวนหนึ่ง ส่วนการแถลงเปิดคดีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นจำเลยในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯ กรณีละเลยไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว จนเกิดความเสียหายกว่า 4 แสนล้านบาทนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยืนยันว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต และขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาตามฟ้องของโจทก์และสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ใน 6 ประเด็น สรุปว่า โครงการรับจำนำข้าวเป็นนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่คุ้มครองรักษาประโยชน์ให้เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย และเมื่อได้แถลงนโยบายต่อสภาแล้ว ก็มีผลผูกพันที่ ครม.ต้องปฏิบัติตาม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเศรษฐกิจโดยรวม ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร และว่า ตามรายงานศึกษาของหน่วยงานทั้งไทยและต่างประเทศ โครงการนโยบายสาธารณะมีความคุ้มค่า ซึ่งไม่อาจใช้แนวคิดผลกำไรและขาดทุนแบบเอกชนมาเปรียบเทียบได้ พร้อมยืนยันว่า ข้อกล่าวหาและการแจ้งข้อกล่าวหานั้นไม่ถูกต้องและไม่ให้ความเป็นธรรม โดยไม่เปิดโอกาสไต่สวนพยานจำเลยในชั้น ป.ป.ช.
ทั้งนี้ ศาลได้ไต่สวน น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นพยานปากแรก โดยอัยการซักถามว่า เงินที่ใช้ในโครงการจำนำข้าวสูงขึ้นเรื่อยๆ จำเลยมีมาตรการอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า อย่ามองว่าการจ่ายเงินให้ชาวนาเป็นการขาดทุน ไม่เช่นนั้นจะเป็นโครงการสาธารณะไม่ได้ อัยการถามว่า การระบายข้าวแบบจีทูจีเป็นลักษณะอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบว่า ได้มอบอำนาจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบ ตนดูในระดับนโยบาย พร้อมอ้างว่า อัยการนำคำถามในระดับปฏิบัติมาถาม ไม่ถูกต้อง และเรื่องจีทูจีไม่ได้อยู่ในสำนวนตั้งแต่ต้น
3.กรมสรรพสามิตประเมินภาษีรถเบนซ์ “สมเด็จช่วง” แล้ว ต้องเรียกเก็บเพิ่ม 6.8 ล้าน พร้อมให้ดีเอสไอดำเนินคดีอาญาผู้ผลิต-ผู้จดประกอบ-ผู้ครอบครอง!
เมื่อวันที่ 1 ส.ค. นายสมศักดิ์ โตรักษา ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้แถลงถึงกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ประชุมร่วมกับพนักงานอัยการคดีพิเศษ เกี่ยวกับรถเบนซ์โบราณที่อยู่ในความครอบครองของสมเด็จช่วง เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ว่าได้พิจารณาความผิดของกลุ่มผู้ครอบครองรถเบนซ์โบราณ โดยระบุว่า รถมีการชำระภาษีสรรพสามิตไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และผู้ครอบครองรถเสียภาษีไม่ครบถ้วนจะมีความผิดตามมาตรา 161(1) พ.ร.บ.สรรพสมิต พ.ศ.2527 แต่ไม่พบว่ามีชื่อของสมเด็จช่วงในคำแถลงแต่อย่างใด จึงขัดแย้งกับคำแถลงของอธิบดีและรองอธิบดีดีเอสไอที่แถลงก่อนหน้านี้ที่อ้างว่า ผู้ครอบครองทำผิดกฎหมาย เช่น แจ้งความเท็จ เสียภาษีไม่ครบ เป็นต้น การแถลงของอธิบดีและรองอธิบดีดีเอสไอจึงกระทบต่อสิทธิของสมเด็จช่วง เพราะทำให้ประชาชนเชื่อว่า สมเด็จช่วงมีความผิดตามที่กล่าวหา ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียและความวุ่นวายในคณะสงฆ์ และกระทบต่อการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชด้วย ทั้งที่ยังไม่มีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาส่งมายังผู้ถูกกล่าวหา จึงขอให้อธิบดีดีเอสไอชี้แจงความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้
นายสมศักดิ์กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้จะรักษาสิทธิให้สมเด็จช่วง โดยจะทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงไปยังนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของสมเด็จช่วง ส่วนจะมีการฟ้องดีเอสไอข้อหาละเมิดสิทธิสมเด็จช่วงหรือไม่ นายสมศักดิ์กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับสมเด็จช่วงจะอนุมัติหรือไม่ พร้อมกันนี้ นายสมศักดิ์ยังปฏิเสธด้วยว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรืออยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของพระเมธีธรรมาจารย์ หรือเจ้าคุณประสาร เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ที่เคลื่อนไหวเรื่องการสถาปนาพระสังฆราชแต่อย่างใด
ด้าน พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ ยืนยันว่า ดีเอสไอทำตามขั้นตอนของกฎหมาย และว่า การประชุมครั้งที่ผ่านมา มีความชัดเจนว่า ดีเอสไอต้องรอการประเมินภาษีจากกรมสรรพสามิตก่อน จึงจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้
ขณะที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่นายสมศักดิ์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายสมเด็จช่วง เตรียมทำหนังสือชี้แจงถึงนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยอ้างว่าดีเอสไอแถลงคดีรถเบนซ์โบราณกระทบต่อสิทธิของสมเด็จช่วงว่า พนักงานสอบสวนเปิดเผยบางเรื่องไม่ได้ เพราะอยู่ในสำนวนสอบสวน และว่า คนเป็นทนายความของใคร ก็ต้องหาความเป็นธรรมให้กับลูกความของตัวเอง แต่ผู้ต้องหาต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วย “ผมพูดทุกครั้งว่า การที่ผู้ถูกกล่าวหาจะใช้กระบวนการยุติธรรมในเรื่องของการเรียกร้องความเป็นธรรมเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ผู้ต้องหาต้องเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่ไปฟ้องคนอื่น แต่ตัวเองไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม”
ด้านนายธรรมศักดิ์ ลออเอี่ยม ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต กรมสรรพสามิต กล่าวว่า กรมฯ จะสรุปผลการตรวจสอบภาษีรถยนต์ของสมเด็จช่วงส่งให้ดีเอสไอดำเนินการต่อ และว่า การตรวจสอบแบ่งเป็น 2 กรณี คือคดีแพ่ง คือการประเมินภาษี กรมฯ ต้องเรียกเก็บจากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบ เบื้องต้นรถยนต์คันดังกล่าวต้องเสียภาษีเพิ่ม 6 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2554 เสียภาษีไว้แล้ว 2 แสนบาท จากราคาประเมินรถยนต์ 5 แสนบาท ส่วนที่ 2 คือ คดีอาญา ต้องดำเนินการกับผู้ครอบครองรถยนต์ ซึ่งดีเอสไอจะเป็นผู้ดำเนินการ และว่า เบื้องต้นเรียกเก็บภาษีและค่าปรับจากผู้ครอบครองรถยนต์เพิ่มเติม 1.6 ล้านบาท “การตรวจสอบ กรมฯ ยึดตามเอกสารที่ดีเอสไอส่งมาให้ พบว่ารถยนต์คันดังกล่าวชำระภาษีไม่ครบถ้วน ก่อนหน้านี้การประเมินภาษียึดตามราคานำเข้าแจ้งมายังกรมศุลกากร ระบุว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีราคา 5 แสนบาท แต่ต่อมาดีเอสไอตรวจสอบราคาตลาดพบว่า รถยนต์คันดังกล่าวขายในตลาด 4 ล้านบาท จึงต้องเรียกเก็บภาษีเพิ่มพร้อมค่าปรับ มีโทษของการเสียภาษีไม่ครบคือปรับ 2-10 เท่าจากภาษีที่ขาด”
นายธรรมศักดิ์กล่าวอีกว่า หากผู้ประกอบรถยนต์ไม่มีข้อโต้แย้ง ต้องมาเสียภาษีในส่วนที่ขาดพร้อมค่าปรับภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง แต่ถ้ามีข้อโต้แย้ง ต้องใช้เวลานานกว่านั้น และถ้าตกลงกันไม่ได้ ต้องฟ้องร้องต่อศาลภาษี
ทั้งนี้ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ เผยเมื่อวันที่ 3 ส.ค.ว่า กรมสรรพสามิตได้ส่งหนังสือประเมินภาษีรถเบนซ์ของสมเด็จช่วงมาให้ดีเอสไอแล้ว มีการกระทำผิดจริงตาม พ.ร.บ.สรรพสามิต ดังนั้นดีเอสไอจะสอบปากคำเจ้าหน้าที่สรรพสามิตเพื่อยืนยันคำให้การตามเอกสาร จากนั้นจะพิจารณาออกหมายเรียกผู้เกี่ยวข้องมารับทราบข้อหาต่อไป
มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ส.ค. กรมสรรพสามิตได้ทำหนังสือส่งมายังอธิบดีดีเอสไอ โดยแจ้งผลการตรวจสอบการชำระภาษีรถเบนซ์ของสมเด็จช่วง ตามที่ดีเอสไอขอให้กรมฯ ประเมินภาษีรถยนต์จากอุปกรณ์ชิ้นส่วนรถยนต์เก่าของรถเบนซ์ดังกล่าว ปรากฏพยานหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายที่แท้จริง ณ โรงงานอุตสาหกรรม ราคา 4 ล้านบาท กรมสรรพสามิตได้ตรวจสอบพบว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยังไม่ได้ชำระภาษีสรรพสามิต จึงประเมินภาษีสรรพสามิตผู้ผลิตรถยนต์รายนายวิชาญ รัษฐปานะ ดังนี้ ค่าภาษีสรรพสามิต 1,600,000 บาท เบี้ยปรับ 3,200,000 บาท เงินเพิ่ม 1,440,000 บาท ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย 624,000 บาท รวมเป็นภาษีทั้งสิ้น 6.864,000 บาท สำหรับความผิดทางอาญาของผู้ผลิต ผู้จดประกอบ ผู้ครอบครอง และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง กรมสรรพสามิตขอให้ดีเอสไอพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 ส.ค. มีรายงานว่า พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล รองอธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน จะออกหมายเรียกพระมหาศาสนมุนี หรือหลวงพี่แป๊ะ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ซึ่งเป็นเลขานุการของสมเด็จช่วงด้วย เข้ารับทราบข้อกล่าวหามีรถยนต์ไว้ครอบครองโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527 ในวันที่ 16 ส.ค. เวลา 10.00 น. ที่ดีเอสไอ เนื่องจากปรากฏหลักฐานว่า หลวงพี่แป๊ะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดรถเบนซ์โบราณ ในฐานะเป็นผู้สั่งซื้อและประกอบรถดังกล่าว
ส่วนความคืบหน้ากรณีดีเอสไอออกหมายเรียกพระ 5 รูป หลังอัยการให้พนักงานสอบสวนสอบเพิ่มคดีพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย กับพวกสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจรนั้น เมื่อวันที่ 2 ส.ค. พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล ผู้บัญชาการสำนักคดีการเงินการธนาคาร ดีเอสไอ กล่าวว่า พระ 5 รูปที่ออกหมายเรียก เป็นผู้บริหารวัดพระธรรมกาย และใกล้ชิดกับพระธัมมชโย และเมื่อวันที่ 2 ส.ค. เป็นวันครบกำหนดนัดตามที่พนักงานสอบสวนได้ทำหนังสือแจ้งไปยังพระมหาบุญชัย จารุทัตโต ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและบัญชี วัดพระธรรมกาย มาให้ปากคำเกี่ยวกับการใช้เงินของวัด แต่เมื่อถึงกำหนด พระมหาบุญชัยได้ประสานขอเลื่อนการเข้าให้ปากคำ โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากเอกสารหลักฐานมีจำนวนมาก ทำให้ยังรวบรวมเอกสารทั้งหมดไม่แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวนคดีพิเศษพร้อมด้วยอัยการฝ่ายคดีพิเศษและที่ปรึกษาคดีพิเศษ ประชุมร่วมกันและมีมติให้พนักงานสอบสวนเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษพระมหาบุญชัยที่ สน.ทุ่งสองห้อง ข้อหาขัดหมายเรียก เพราะก่อนหน้านี้พนักงานสอบสวนได้ทำหนังสือแจ้งแล้ว 3 ครั้ง แต่ก็เลื่อนการเข้าให้ปากคำมาโดยตลอด ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนจะเร่งสรุปสำนวนคดีพิเศษที่อัยการมีคำสั่งให้สอบเพิ่มส่งให้ทันวันที่ 11 ส.ค.นี้ ส่วนบุคคลที่ไม่เดินทางมาพบพนักงานสอบสวน จะได้รายงานให้อัยการทราบต่อไป
4.ศาลพิพากษาจำคุก “หมอเลี้ยบ” 1 ปี คดีแต่งตั้งบอร์ด ธปท.มิชอบ ลุ้นอีกคดี แปลงสัญญาสัมปทานเอื้อชินแซทฯ 25 ส.ค.นี้!
เมื่อวันที่ 4 ส.ค. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้นัดอ่านคำพิพากษาคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือหมอเลี้ยบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จากกรณีเมื่อปี 2551 นพ.สุรพงษ์ ขณะดำรงตำแหน่ง รมว.คลัง ได้มีการแต่งตั้งประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ หรือบอร์ดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมิชอบ ซึ่งมีการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ภายหลังวินิจฉัยว่าการคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในบอร์ด ธปท.เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกฯ บางคนมีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 28/1 และได้แจ้งให้นายกรัฐมนตรี พิจารณาดำเนินการระงับการทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงแต่งตั้งประธานกรรมการ ธปท. และให้ รมว.คลังดำเนินการยกเลิกการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ธปท.
องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากพิจารณาแล้วเห็นว่า การแต่งตั้งนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ นายวิจิตร สุพินิจ และนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ เข้าไปทำหน้าที่คณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ถือว่าบุคคลทั้งสามเป็นผู้มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามความหมายของ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 28/1 วรรคสาม เนื่องจากบุคคลทั้งสามต่างเป็นตัวแทนในสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อจำเลยแต่งตั้งบุคคลทั้งสามเป็นคณะกรรมการคัดเลือก จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำคุกเป็นเวลา 1 ปี และปรับ 2 หมื่นบาท แต่ศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า หลังจากจำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว แม้คณะกรรมการคัดเลือกจะได้คัดเลือกกรรมการผู้ทรงวุฒิในธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตาม แต่ต่อมามีการยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยและกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าว จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา
หลังฟังคำพิพากษา นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า น้อมรับคำพิพากษาและขอบคุณในความเมตตาของศาล และว่า เรื่องนี้ถือเป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งบังคับใช้ ศาลก็ได้ให้ความชัดเจนและเป็นบรรทัดฐานให้รัฐมนตรีดำเนินการตามคำวินิจฉัยต่อไป นพ.สุรพงษ์กล่าวอีกว่า วันนี้ได้ยกภูเขาออกไปแล้ว 1 ลูก ส่วนอีก 1 ลูก คือคดีปฏิบัติหน้าที่มิชอบกรณีแปลงสัญญาสัมปทานเอื้อประโยชน์บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ที่ศาลจะมีคำพิพากษในวันที่ 25 ส.ค.นี้ เวลา 10.30 น.
5.“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์” ฟ้องผู้ว่าฯ สตง.กรณีแถลงโครงการไฟประดับ กทม.ทุจริต ชี้ไม่ใช่หน้าที่ ด้าน “พิศิษฐ์” ยันเป็นหน้าที่!
เมื่อวันที่ 2 ส.ค. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบอำนาจให้นายสัก กอแสงเรือง ทนายความ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328
ทั้งนี้ คำฟ้องโจทก์ระบุว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2559 จำเลยได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เกี่ยวกับโครงการประดับตกแต่งไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งกรุงเทพมหานครจัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2558 - 31 ม.ค. 2559 ว่า คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินพิจารณาผลการตรวจสอบโครงการไฟประดับมูลค่า 39,500,000 บาท พบว่ามีพฤติการณ์ไม่สุจริต ฮั้วราคา ซึ่งเดิมสภากรุงเทพมหานครไม่อนุมัติให้ดำเนินการตามงบปกติ จึงใช้งบฉุกเฉินซึ่งมีไว้เฉพาะกรณีจำเป็นเร่งด่วน แม้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของผู้ว่าฯ กทม.ก็ใช้โดยไม่ชอบ เพราะไม่ได้ทำตามวิธีการงบประมาณตามปกติ น่าเชื่อว่ามีการทุจริตในความรับผิดชอบของผู้ว่าฯ กทม.กับผู้บริหารระดับสูง 2 คน รวมทั้งคณะกรรมการที่มีบทบาทหน้าที่กำหนดเรื่องทีโออาร์ จะรีบทำสำนวนส่ง ป.ป.ช.
ซึ่งถ้อยแถลงของจำเลย ทำให้ประชาชนเข้าใจและเชื่อว่าโครงการไฟประดับ โจทก์นำงบประมาณมาใช้ผิดประเภท และมีการนำงบฉุกเฉินมาใช้โดยไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน มีการฮั้วประมูลโครงการ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ และจะต้องดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ที่ทำผิดกฎหมาย ทั้งที่จำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่ต้องออกมาแถลงข่าว ซึ่งจำเลยไม่มีอำนาจตามกฎหมายโดยตรงในการดำเนินการเรื่องทุจริต หรือความผิดต่อการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. ซึ่งภายหลังจากที่ ป.ป.ช.รับเรื่องจากจำเลยแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการเอาผิดต่อโจทก์แต่อย่างใด แต่จำเลยกลับนำเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และไม่ใช่อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรงของตนมาแถลงข่าวเป็นรายวัน การกระทำดังกล่าวทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงและถูกดูหมิ่น โจทก์จึงขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องพิจารณาพิพากษาตามกฎหมายต่อไป และขอให้ศาลสั่งจำเลยลงประกาศคำพิพากษาทั้งหมดลงในหนังสือพิมพ์รายวัน 11 ฉบับเป็นเวลา 30 วันติดต่อกัน โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ศาลรับคำฟ้องไว้ในสารบบเพื่อมีคำสั่งต่อไป
ด้านนายพิศิษฐ์ ลีลาวโรภาส ผู้ว่าฯ สตง.กล่าวว่า ทราบเบื้องต้นเท่านั้นว่ามีการฟ้อง แต่ยังไม่ทราบรายละเอียด และว่า การฟ้องร้องถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ทำได้ คงไม่สามารถขอร้องหรือควบคุมใครว่าไม่ให้ฟ้องร้องได้ ยืนยันว่าได้ทำตามหน้าที่ โดยการตรวจสอบและการแถลงข่าวของตนก็ดำเนินการตามข้อเท็จจริง ไม่มีการใส่ร้ายแต่อย่างใด เพราะการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐต้องโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลอยู่แล้ว การบิดเบือนข้อเท็จจริงจึงทำไม่ได้ง่ายๆ ซึ่งการทำงานของ สตง. เพื่อตอบคำถามของสังคมที่มีความเคลือบแคลงสงสัยในเรื่องการใช้งบประมาณ เพราะหน่วยงานรัฐใช้เงินงบประมาณของแผ่นดินซึ่งมาจากประชาชน การใช้เงินจะต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ ไม่มีความลับ และการเปิดเผยข้อมูลของ สตง.เป็นการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
1.“บิ๊กตู่” ประกาศลงประชามติรับร่าง รธน.พร้อมคำถามพ่วง ด้าน “ยิ่งลักษณ์” ไม่รับร่างฯ ขณะที่ “ทักษิณ” ซัดร่าง รธน. “งี่เง่า”
ความเคลื่อนไหวช่วงโค้งสุดท้ายก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. หลายฝ่ายยังคงทยอยเผยท่าทีต่อการออกเสียงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ขณะที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลข้อหนึ่งว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้กลไกในการปราบโกงอ่อนแอลง โดยนายมีชัยถามกลับว่า ตรงไหนที่อ่อนแอ พร้อมชี้แจงว่า ไม่เพียง ป.ป.ช.มีอำนาจปราบนักการเมือง แต่ยังมีอำนาจปราบข้าราชการมากขึ้นด้วย ส่วนการอุทธรณ์ในคดีทุจริตในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น มีที่มาจากความตกลงระหว่างประเทศที่ทำกันมาในปี 2539 ใช้ต่อมาถึงปี 2540 ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ออกมา เนื้อหาร่างฯ ฉบับนั้นก็เริ่มเขียนเหมือนอุทธรณ์ได้ แต่ความจริงไม่ใช่การอุทธรณ์ เพราะต้องหาพยานหลักฐานใหม่ เพื่อให้ศาลพิจารณาเพิ่มเติม
ส่วนที่นายอภิสิทธิ์ระบุว่า การให้มีการอุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากการบัญญัติแบบนี้กลุ่มแรกคือ จำเลยคดีจำนำข้าวนั้น นายมีชัยกล่าวว่า “การบัญญัติแบบนี้นั้น ไม่ได้คิดจะเล่นงานใครโดยเฉพาะ แต่เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล รัฐธรรมนูญในปี 2550 มีหลายคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินว่าไม่ผิด ก็หงายหลังกัน เพราะคนทั่วไปรู้สึกว่าน่าจะผิด คราวนี้ กรธ.จึงเขียนว่า ให้สามารถอุทธรณ์ได้ในชั้นศาลฎีกาฯ ที่ผ่านมาศาลฎีกาฯ เห็นว่า หลักฐานอ่อนก็ยกประโยชน์ให้จำเลย เรามีสิทธิ์อุทธรณ์ได้เพื่อให้พิจารณาได้อีกชั้นศาล ถือว่าเป็นไปตามระบบยุติธรรมตามหลักสากลที่ไปเซ็นกับเขาไว้...อย่านึกว่าคนที่เราไม่ชอบจะเป็นพวกเดียวที่ไปสู่ศาลได้ วันดีคืนดี คนที่เราชอบก็อาจไปที่ศาลนั้นได้เหมือนกัน ทุกคนในวงการเมืองก็มีโอกาสไปสู่ศาลนั้นได้ทั้งนั้น พอถึงวันนั้นอาจจะนั่งนึกขอบคุณ กรธ.ก็ได้ว่าเราได้คิดมาไกลเผื่อเขา”
สำหรับท่าทีของฝ่ายต่างๆ ต่อการออกเสียงประขามตินั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ได้ประกาศแล้วว่า วันที่ 7 ส.ค.นี้ จะไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง “ในส่วนตัวผมก็จะไปร่วมลงประชามติในฐานะประชาชนคนหนึ่ง และจะลงเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงคำถามพ่วงประชามติ เพราะถ้าเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไปไม่ได้ ทุกอย่างจะกลับไปที่เดิม” พล.อ.ประยุทธ์ยังย้ำด้วยว่า ที่เผยท่าทีเรื่องลงประชามติไม่ถือว่าเป็นการโน้มน้าวเเละชักชวน แล้วเเต่ประชาชนจะตัดสินใจ ส่วนกรณีที่มีบางฝ่ายเรียกร้องให้ลาออก หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามตินั้น พล.อ.ประยุทธ์ยืนยันว่า ไม่เกี่ยวกัน จะอยู่ไปตามโรดแมป เพราะมีหน้าที่แก้ปัญหา หยุดความขัดแย้ง พร้อมเผยว่า วันที่ 9 ส.ค.จะมีการประชุมร่วม ครม.-คสช.เพื่อวางแผนหาวิธีการดำเนินการต่อไปว่า ถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ต้องทำอย่างไร และถ้าไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 2 ส.ค. ว่าจะไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติในวันที่ 7 ส.ค.เช่นกัน โดยบอกว่า แม้ตนจะถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ยังเหลือสิทธิในการออกเสียงประชามติ โดยจะลงประชามติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง เพราะร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นไปตามแนวทางที่ตนวางไว้ ทั้งการกำหนดรูปแบบการปกครองประเทศ การให้สิทธิเสรีภาพและสิ่งที่ประชาชนพึงจะได้รับ และการถ่วงดุลระหว่างอำนาจต่างๆ
เป็นที่น่าสังเกตว่า นายทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคำพิพากษาศาลฎีกาฯ จำคุก 2 ปีคดีซื้อที่รัชดาฯ ได้ส่งอีเมลคำแถลงถึงสำนักข่าวรอยเตอร์ วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีการทำประชามติว่า “งี่เง่า” พร้อมระบุตอนหนึ่งว่า เป็นฝันร้ายที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและความสับสน คณะผู้ร่างได้จัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อความต่อเนื่องของอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของคณะผู้ก่อการรัฐประหารชุดปัจจุบันภายหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ฉบับนี้แล้ว และให้อำนาจมากมายไปอยู่ในกำมือขององค์กรต่างๆ ซึ่งมีภารกิจในการเป็นตัวถ่วงดุลรัฐบาล จนกระทั่งทำให้ไม่สามารถที่จะปกครองประเทศได้ “ผมขอพยากรณ์ว่า แม้กระทั่งรัฐบาลชุดใหม่ที่ได้รับการรับรองอย่างเต็มที่จากระบอบปกครองปัจจุบัน รัฐบาลนั้นก็จะพบว่าเป็นไปไม่ได้ที่ตนเองจะจัดการเศรษฐกิจของไทย หรือบริหารประเทศภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ที่เสนอกันออกมาเหล่านี้”
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) ได้กล่าวผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ว่า ตนได้ติดตามข่าวนายทักษิณ ที่ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนี้ และต่อมา นายพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายนายทักษิณ ก็ออกมาโพสต์เฟชบุ๊คยืนยันเรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นการประกาศจุดยืนในวันเกิดของนายทักษิณ โดยมีบุคคลสำคัญของพรรคเพื่อไทยเข้าไปรับนโยบายหลายคน รวมทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ก็ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เท่ากับว่าคนในระบอบทักษิณทำทุกอย่างเพื่อที่จะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญให้ได้ ทั้งที่นายทักษิณเป็นบุคคลต้องห้ามทางการเมืองตลอดชีวิต แต่ยังพยายามทำตัวเป็นผู้บงการประเทศไทย ถึงได้ส่งสัญญาณให้ลูกสมุนคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ “โอหังมาก มีการประกาศว่า ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านประชามติในวันที่ 7 ส.ค. พวกเขาจะออกมาขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ โดยอ้างว่าไม่มีความชอบธรรมที่จะอยู่ต่อไป แสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้มีแผน มีความตั้งใจทำให้บ้านเมืองเกิดปัญหาวุ่นวายมากมายไม่รู้จบสิ้น เพราะยังอยากกลับมามีอำนาจในประเทศไทย และจากการที่พวกเขาเคลื่อนไหว ยิ่งทำให้คนอย่างผมมีพลัง มีความตั้งใจทำหน้าที่ประชาชนเพื่อกำหนดอนาคตไทยด้วยมือของเรา พาประเทศให้พ้นจากอำนาจนักการเมืองเลวในระบบทุนสามานย์ ไม่ให้ประเทศไทยอยู่ในวงจรอุบาทว์เหมือนที่ผ่านมา ผมจะรับร่างรัฐธรรมนูญนี้และรับคำถามพ่วง”
สำหรับผลประชามตินั้น นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.เผยว่า หลังปิดหีบลงคะแนนในเวลา 16.00 น. จะมีการนับคะแนนหน้าหน่วยออกเสียงทุกหน่วยทั่วประเทศเช่นเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ส. และแต่ละหน่วยจะส่งผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการถึง กกต.กลาง คาดว่าจะทราบผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการได้ในเวลาไม่เกิน 21.00 น. ส่วนผลอย่างเป็นทางการ คาดว่าจะทราบได้ภายใน 3 วัน
2.คกก.สอบข้อเท็จจริงฯ สรุปแล้ว “ยิ่งลักษณ์” จำนำข้าวเสียหายกว่า 2.86 แสนล้าน ด้านเจ้าตัวขึ้นศาลฯ แถลงเปิดคดีทุจริตจำนำข้าว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา!
เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักปลัดสำนักนายรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังนายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงความผิดทางละเมิดจากโครงการรับจำนำข้าว เข้ารายงานตัวเลขความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวว่า ตนได้รับตัวเลขจากนายจิรชัยเพื่อจะรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ในวันที่ 3 ส.ค. แล้ว โดยตัวเลขที่ได้รับการยืนยันพบว่า ความเสียหายจากการบริหารจัดการโครงการรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่ที่ 286,639 ล้านบาท ส่วนของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และพวก อยู่ที่ 18,743 ล้านบาท ส่วนตัวเลขการระบายข้าวในสต๊อกของฝ่ายบริหารในอดีต มีการรับมอบข้าวเข้ามาจำนวน 13.3 ล้านตัน แต่ส่งออกไปยังต่างประเทศไม่ถึง 1 ล้านตัน คงค้างในคลัง 13 ล้านตัน
ด้านนายจิรชัยกล่าวถึงรายงานตัวเลขดังกล่าวว่า เป็นการรายงานสถานการณ์เรื่องข้าว โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ความเสียหายในส่วนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จำนวน 2 แสนกว่าล้านบาท ที่เคยให้การต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไป โดยเป็นตัวเลขที่ต้องรอคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธาน พิจารณาอีกรอบหนึ่ง และว่า ในส่วนของนายบุญทรงที่เป็นค่าเสียหายจากการขายข้าวแบบจีทูจี จำนวน 1.8 หมื่นล้านบาท แต่คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง พิจารณาแล้วเห็นว่าควรปรับเพิ่มเรียกค่าเสียหายกับผู้ที่เกี่ยวข้องเป็น 2 หมื่นล้านบาท และเรื่องการระบายข้าวในสต๊อกและข้าวคงเหลือในสต๊อกของรัฐบาลในอดีต โดยทั้งหมดจะมีการรายงานต่อที่ประชุม นบข.รับทราบ ในวันที่ 3 ส.ค.
ทั้งนี้ หลังประชุม นบข.เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นประธาน พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ตัวเลขความเสียหายทั้งหมดไม่ใช่ 2 แสนกว่าล้าน อาจจะมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะขายข้าวไม่ได้ ข้าวจะเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ และจะขายมากๆ ก็ไม่ได้ เพราะต้องดูราคาตลาดด้วย
วันเดียวกัน(3 ส.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กทำนองขอกำลังใจจากประชาชน โดยบอก ความรู้สึกก่อนขึ้นศาล(ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง) วันที่ 5 ส.ค. เป็นช่วงยากลำบากสำหรับชีวิต บางครั้งรู้สึกเหนื่อย ท้อ แต่ก็บอกกับตัวเองว่าจะป่วย จะท้อ จะหมดกำลังใจไม่ได้ เพราะยังมีผู้คนอีกมากที่คอยให้กำลังใจ เหลือเวลาอีกเพียงสองวัน จะต้องขึ้นศาลฯ เพื่อแถลงเปิดคดีและตอบคำถามฝ่ายโจทก์ด้วยตัวเอง
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อถึงกำหนดขึ้นศาลฯ (5 ส.ค.) มีมวลชนไปรอให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ศาลฯ จำนวนหนึ่ง ส่วนการแถลงเปิดคดีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นจำเลยในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯ กรณีละเลยไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว จนเกิดความเสียหายกว่า 4 แสนล้านบาทนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยืนยันว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต และขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาตามฟ้องของโจทก์และสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ใน 6 ประเด็น สรุปว่า โครงการรับจำนำข้าวเป็นนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่คุ้มครองรักษาประโยชน์ให้เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย และเมื่อได้แถลงนโยบายต่อสภาแล้ว ก็มีผลผูกพันที่ ครม.ต้องปฏิบัติตาม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเศรษฐกิจโดยรวม ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร และว่า ตามรายงานศึกษาของหน่วยงานทั้งไทยและต่างประเทศ โครงการนโยบายสาธารณะมีความคุ้มค่า ซึ่งไม่อาจใช้แนวคิดผลกำไรและขาดทุนแบบเอกชนมาเปรียบเทียบได้ พร้อมยืนยันว่า ข้อกล่าวหาและการแจ้งข้อกล่าวหานั้นไม่ถูกต้องและไม่ให้ความเป็นธรรม โดยไม่เปิดโอกาสไต่สวนพยานจำเลยในชั้น ป.ป.ช.
ทั้งนี้ ศาลได้ไต่สวน น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นพยานปากแรก โดยอัยการซักถามว่า เงินที่ใช้ในโครงการจำนำข้าวสูงขึ้นเรื่อยๆ จำเลยมีมาตรการอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า อย่ามองว่าการจ่ายเงินให้ชาวนาเป็นการขาดทุน ไม่เช่นนั้นจะเป็นโครงการสาธารณะไม่ได้ อัยการถามว่า การระบายข้าวแบบจีทูจีเป็นลักษณะอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบว่า ได้มอบอำนาจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบ ตนดูในระดับนโยบาย พร้อมอ้างว่า อัยการนำคำถามในระดับปฏิบัติมาถาม ไม่ถูกต้อง และเรื่องจีทูจีไม่ได้อยู่ในสำนวนตั้งแต่ต้น
3.กรมสรรพสามิตประเมินภาษีรถเบนซ์ “สมเด็จช่วง” แล้ว ต้องเรียกเก็บเพิ่ม 6.8 ล้าน พร้อมให้ดีเอสไอดำเนินคดีอาญาผู้ผลิต-ผู้จดประกอบ-ผู้ครอบครอง!
เมื่อวันที่ 1 ส.ค. นายสมศักดิ์ โตรักษา ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้แถลงถึงกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ประชุมร่วมกับพนักงานอัยการคดีพิเศษ เกี่ยวกับรถเบนซ์โบราณที่อยู่ในความครอบครองของสมเด็จช่วง เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ว่าได้พิจารณาความผิดของกลุ่มผู้ครอบครองรถเบนซ์โบราณ โดยระบุว่า รถมีการชำระภาษีสรรพสามิตไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และผู้ครอบครองรถเสียภาษีไม่ครบถ้วนจะมีความผิดตามมาตรา 161(1) พ.ร.บ.สรรพสมิต พ.ศ.2527 แต่ไม่พบว่ามีชื่อของสมเด็จช่วงในคำแถลงแต่อย่างใด จึงขัดแย้งกับคำแถลงของอธิบดีและรองอธิบดีดีเอสไอที่แถลงก่อนหน้านี้ที่อ้างว่า ผู้ครอบครองทำผิดกฎหมาย เช่น แจ้งความเท็จ เสียภาษีไม่ครบ เป็นต้น การแถลงของอธิบดีและรองอธิบดีดีเอสไอจึงกระทบต่อสิทธิของสมเด็จช่วง เพราะทำให้ประชาชนเชื่อว่า สมเด็จช่วงมีความผิดตามที่กล่าวหา ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียและความวุ่นวายในคณะสงฆ์ และกระทบต่อการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชด้วย ทั้งที่ยังไม่มีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาส่งมายังผู้ถูกกล่าวหา จึงขอให้อธิบดีดีเอสไอชี้แจงความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้
นายสมศักดิ์กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้จะรักษาสิทธิให้สมเด็จช่วง โดยจะทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงไปยังนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของสมเด็จช่วง ส่วนจะมีการฟ้องดีเอสไอข้อหาละเมิดสิทธิสมเด็จช่วงหรือไม่ นายสมศักดิ์กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับสมเด็จช่วงจะอนุมัติหรือไม่ พร้อมกันนี้ นายสมศักดิ์ยังปฏิเสธด้วยว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรืออยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของพระเมธีธรรมาจารย์ หรือเจ้าคุณประสาร เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ที่เคลื่อนไหวเรื่องการสถาปนาพระสังฆราชแต่อย่างใด
ด้าน พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ ยืนยันว่า ดีเอสไอทำตามขั้นตอนของกฎหมาย และว่า การประชุมครั้งที่ผ่านมา มีความชัดเจนว่า ดีเอสไอต้องรอการประเมินภาษีจากกรมสรรพสามิตก่อน จึงจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้
ขณะที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่นายสมศักดิ์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายสมเด็จช่วง เตรียมทำหนังสือชี้แจงถึงนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยอ้างว่าดีเอสไอแถลงคดีรถเบนซ์โบราณกระทบต่อสิทธิของสมเด็จช่วงว่า พนักงานสอบสวนเปิดเผยบางเรื่องไม่ได้ เพราะอยู่ในสำนวนสอบสวน และว่า คนเป็นทนายความของใคร ก็ต้องหาความเป็นธรรมให้กับลูกความของตัวเอง แต่ผู้ต้องหาต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วย “ผมพูดทุกครั้งว่า การที่ผู้ถูกกล่าวหาจะใช้กระบวนการยุติธรรมในเรื่องของการเรียกร้องความเป็นธรรมเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ผู้ต้องหาต้องเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่ไปฟ้องคนอื่น แต่ตัวเองไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม”
ด้านนายธรรมศักดิ์ ลออเอี่ยม ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต กรมสรรพสามิต กล่าวว่า กรมฯ จะสรุปผลการตรวจสอบภาษีรถยนต์ของสมเด็จช่วงส่งให้ดีเอสไอดำเนินการต่อ และว่า การตรวจสอบแบ่งเป็น 2 กรณี คือคดีแพ่ง คือการประเมินภาษี กรมฯ ต้องเรียกเก็บจากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบ เบื้องต้นรถยนต์คันดังกล่าวต้องเสียภาษีเพิ่ม 6 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้เมื่อปี 2554 เสียภาษีไว้แล้ว 2 แสนบาท จากราคาประเมินรถยนต์ 5 แสนบาท ส่วนที่ 2 คือ คดีอาญา ต้องดำเนินการกับผู้ครอบครองรถยนต์ ซึ่งดีเอสไอจะเป็นผู้ดำเนินการ และว่า เบื้องต้นเรียกเก็บภาษีและค่าปรับจากผู้ครอบครองรถยนต์เพิ่มเติม 1.6 ล้านบาท “การตรวจสอบ กรมฯ ยึดตามเอกสารที่ดีเอสไอส่งมาให้ พบว่ารถยนต์คันดังกล่าวชำระภาษีไม่ครบถ้วน ก่อนหน้านี้การประเมินภาษียึดตามราคานำเข้าแจ้งมายังกรมศุลกากร ระบุว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีราคา 5 แสนบาท แต่ต่อมาดีเอสไอตรวจสอบราคาตลาดพบว่า รถยนต์คันดังกล่าวขายในตลาด 4 ล้านบาท จึงต้องเรียกเก็บภาษีเพิ่มพร้อมค่าปรับ มีโทษของการเสียภาษีไม่ครบคือปรับ 2-10 เท่าจากภาษีที่ขาด”
นายธรรมศักดิ์กล่าวอีกว่า หากผู้ประกอบรถยนต์ไม่มีข้อโต้แย้ง ต้องมาเสียภาษีในส่วนที่ขาดพร้อมค่าปรับภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง แต่ถ้ามีข้อโต้แย้ง ต้องใช้เวลานานกว่านั้น และถ้าตกลงกันไม่ได้ ต้องฟ้องร้องต่อศาลภาษี
ทั้งนี้ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ เผยเมื่อวันที่ 3 ส.ค.ว่า กรมสรรพสามิตได้ส่งหนังสือประเมินภาษีรถเบนซ์ของสมเด็จช่วงมาให้ดีเอสไอแล้ว มีการกระทำผิดจริงตาม พ.ร.บ.สรรพสามิต ดังนั้นดีเอสไอจะสอบปากคำเจ้าหน้าที่สรรพสามิตเพื่อยืนยันคำให้การตามเอกสาร จากนั้นจะพิจารณาออกหมายเรียกผู้เกี่ยวข้องมารับทราบข้อหาต่อไป
มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ส.ค. กรมสรรพสามิตได้ทำหนังสือส่งมายังอธิบดีดีเอสไอ โดยแจ้งผลการตรวจสอบการชำระภาษีรถเบนซ์ของสมเด็จช่วง ตามที่ดีเอสไอขอให้กรมฯ ประเมินภาษีรถยนต์จากอุปกรณ์ชิ้นส่วนรถยนต์เก่าของรถเบนซ์ดังกล่าว ปรากฏพยานหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายที่แท้จริง ณ โรงงานอุตสาหกรรม ราคา 4 ล้านบาท กรมสรรพสามิตได้ตรวจสอบพบว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยังไม่ได้ชำระภาษีสรรพสามิต จึงประเมินภาษีสรรพสามิตผู้ผลิตรถยนต์รายนายวิชาญ รัษฐปานะ ดังนี้ ค่าภาษีสรรพสามิต 1,600,000 บาท เบี้ยปรับ 3,200,000 บาท เงินเพิ่ม 1,440,000 บาท ภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย 624,000 บาท รวมเป็นภาษีทั้งสิ้น 6.864,000 บาท สำหรับความผิดทางอาญาของผู้ผลิต ผู้จดประกอบ ผู้ครอบครอง และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง กรมสรรพสามิตขอให้ดีเอสไอพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 ส.ค. มีรายงานว่า พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล รองอธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน จะออกหมายเรียกพระมหาศาสนมุนี หรือหลวงพี่แป๊ะ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ซึ่งเป็นเลขานุการของสมเด็จช่วงด้วย เข้ารับทราบข้อกล่าวหามีรถยนต์ไว้ครอบครองโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527 ในวันที่ 16 ส.ค. เวลา 10.00 น. ที่ดีเอสไอ เนื่องจากปรากฏหลักฐานว่า หลวงพี่แป๊ะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดรถเบนซ์โบราณ ในฐานะเป็นผู้สั่งซื้อและประกอบรถดังกล่าว
ส่วนความคืบหน้ากรณีดีเอสไอออกหมายเรียกพระ 5 รูป หลังอัยการให้พนักงานสอบสวนสอบเพิ่มคดีพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย กับพวกสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจรนั้น เมื่อวันที่ 2 ส.ค. พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล ผู้บัญชาการสำนักคดีการเงินการธนาคาร ดีเอสไอ กล่าวว่า พระ 5 รูปที่ออกหมายเรียก เป็นผู้บริหารวัดพระธรรมกาย และใกล้ชิดกับพระธัมมชโย และเมื่อวันที่ 2 ส.ค. เป็นวันครบกำหนดนัดตามที่พนักงานสอบสวนได้ทำหนังสือแจ้งไปยังพระมหาบุญชัย จารุทัตโต ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและบัญชี วัดพระธรรมกาย มาให้ปากคำเกี่ยวกับการใช้เงินของวัด แต่เมื่อถึงกำหนด พระมหาบุญชัยได้ประสานขอเลื่อนการเข้าให้ปากคำ โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากเอกสารหลักฐานมีจำนวนมาก ทำให้ยังรวบรวมเอกสารทั้งหมดไม่แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม พนักงานสอบสวนคดีพิเศษพร้อมด้วยอัยการฝ่ายคดีพิเศษและที่ปรึกษาคดีพิเศษ ประชุมร่วมกันและมีมติให้พนักงานสอบสวนเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษพระมหาบุญชัยที่ สน.ทุ่งสองห้อง ข้อหาขัดหมายเรียก เพราะก่อนหน้านี้พนักงานสอบสวนได้ทำหนังสือแจ้งแล้ว 3 ครั้ง แต่ก็เลื่อนการเข้าให้ปากคำมาโดยตลอด ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนจะเร่งสรุปสำนวนคดีพิเศษที่อัยการมีคำสั่งให้สอบเพิ่มส่งให้ทันวันที่ 11 ส.ค.นี้ ส่วนบุคคลที่ไม่เดินทางมาพบพนักงานสอบสวน จะได้รายงานให้อัยการทราบต่อไป
4.ศาลพิพากษาจำคุก “หมอเลี้ยบ” 1 ปี คดีแต่งตั้งบอร์ด ธปท.มิชอบ ลุ้นอีกคดี แปลงสัญญาสัมปทานเอื้อชินแซทฯ 25 ส.ค.นี้!
เมื่อวันที่ 4 ส.ค. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้นัดอ่านคำพิพากษาคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือหมอเลี้ยบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จากกรณีเมื่อปี 2551 นพ.สุรพงษ์ ขณะดำรงตำแหน่ง รมว.คลัง ได้มีการแต่งตั้งประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ หรือบอร์ดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมิชอบ ซึ่งมีการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ภายหลังวินิจฉัยว่าการคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในบอร์ด ธปท.เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกฯ บางคนมีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 28/1 และได้แจ้งให้นายกรัฐมนตรี พิจารณาดำเนินการระงับการทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงแต่งตั้งประธานกรรมการ ธปท. และให้ รมว.คลังดำเนินการยกเลิกการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ธปท.
องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากพิจารณาแล้วเห็นว่า การแต่งตั้งนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ นายวิจิตร สุพินิจ และนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ เข้าไปทำหน้าที่คณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ถือว่าบุคคลทั้งสามเป็นผู้มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามความหมายของ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 28/1 วรรคสาม เนื่องจากบุคคลทั้งสามต่างเป็นตัวแทนในสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อจำเลยแต่งตั้งบุคคลทั้งสามเป็นคณะกรรมการคัดเลือก จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำคุกเป็นเวลา 1 ปี และปรับ 2 หมื่นบาท แต่ศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า หลังจากจำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว แม้คณะกรรมการคัดเลือกจะได้คัดเลือกกรรมการผู้ทรงวุฒิในธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตาม แต่ต่อมามีการยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยและกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าว จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา
หลังฟังคำพิพากษา นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า น้อมรับคำพิพากษาและขอบคุณในความเมตตาของศาล และว่า เรื่องนี้ถือเป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งบังคับใช้ ศาลก็ได้ให้ความชัดเจนและเป็นบรรทัดฐานให้รัฐมนตรีดำเนินการตามคำวินิจฉัยต่อไป นพ.สุรพงษ์กล่าวอีกว่า วันนี้ได้ยกภูเขาออกไปแล้ว 1 ลูก ส่วนอีก 1 ลูก คือคดีปฏิบัติหน้าที่มิชอบกรณีแปลงสัญญาสัมปทานเอื้อประโยชน์บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ที่ศาลจะมีคำพิพากษในวันที่ 25 ส.ค.นี้ เวลา 10.30 น.
5.“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์” ฟ้องผู้ว่าฯ สตง.กรณีแถลงโครงการไฟประดับ กทม.ทุจริต ชี้ไม่ใช่หน้าที่ ด้าน “พิศิษฐ์” ยันเป็นหน้าที่!
เมื่อวันที่ 2 ส.ค. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบอำนาจให้นายสัก กอแสงเรือง ทนายความ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328
ทั้งนี้ คำฟ้องโจทก์ระบุว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2559 จำเลยได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เกี่ยวกับโครงการประดับตกแต่งไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งกรุงเทพมหานครจัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2558 - 31 ม.ค. 2559 ว่า คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินพิจารณาผลการตรวจสอบโครงการไฟประดับมูลค่า 39,500,000 บาท พบว่ามีพฤติการณ์ไม่สุจริต ฮั้วราคา ซึ่งเดิมสภากรุงเทพมหานครไม่อนุมัติให้ดำเนินการตามงบปกติ จึงใช้งบฉุกเฉินซึ่งมีไว้เฉพาะกรณีจำเป็นเร่งด่วน แม้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของผู้ว่าฯ กทม.ก็ใช้โดยไม่ชอบ เพราะไม่ได้ทำตามวิธีการงบประมาณตามปกติ น่าเชื่อว่ามีการทุจริตในความรับผิดชอบของผู้ว่าฯ กทม.กับผู้บริหารระดับสูง 2 คน รวมทั้งคณะกรรมการที่มีบทบาทหน้าที่กำหนดเรื่องทีโออาร์ จะรีบทำสำนวนส่ง ป.ป.ช.
ซึ่งถ้อยแถลงของจำเลย ทำให้ประชาชนเข้าใจและเชื่อว่าโครงการไฟประดับ โจทก์นำงบประมาณมาใช้ผิดประเภท และมีการนำงบฉุกเฉินมาใช้โดยไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน มีการฮั้วประมูลโครงการ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ และจะต้องดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ที่ทำผิดกฎหมาย ทั้งที่จำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่ต้องออกมาแถลงข่าว ซึ่งจำเลยไม่มีอำนาจตามกฎหมายโดยตรงในการดำเนินการเรื่องทุจริต หรือความผิดต่อการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. ซึ่งภายหลังจากที่ ป.ป.ช.รับเรื่องจากจำเลยแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการเอาผิดต่อโจทก์แต่อย่างใด แต่จำเลยกลับนำเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และไม่ใช่อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรงของตนมาแถลงข่าวเป็นรายวัน การกระทำดังกล่าวทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงและถูกดูหมิ่น โจทก์จึงขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องพิจารณาพิพากษาตามกฎหมายต่อไป และขอให้ศาลสั่งจำเลยลงประกาศคำพิพากษาทั้งหมดลงในหนังสือพิมพ์รายวัน 11 ฉบับเป็นเวลา 30 วันติดต่อกัน โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ศาลรับคำฟ้องไว้ในสารบบเพื่อมีคำสั่งต่อไป
ด้านนายพิศิษฐ์ ลีลาวโรภาส ผู้ว่าฯ สตง.กล่าวว่า ทราบเบื้องต้นเท่านั้นว่ามีการฟ้อง แต่ยังไม่ทราบรายละเอียด และว่า การฟ้องร้องถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ทำได้ คงไม่สามารถขอร้องหรือควบคุมใครว่าไม่ให้ฟ้องร้องได้ ยืนยันว่าได้ทำตามหน้าที่ โดยการตรวจสอบและการแถลงข่าวของตนก็ดำเนินการตามข้อเท็จจริง ไม่มีการใส่ร้ายแต่อย่างใด เพราะการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐต้องโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลอยู่แล้ว การบิดเบือนข้อเท็จจริงจึงทำไม่ได้ง่ายๆ ซึ่งการทำงานของ สตง. เพื่อตอบคำถามของสังคมที่มีความเคลือบแคลงสงสัยในเรื่องการใช้งบประมาณ เพราะหน่วยงานรัฐใช้เงินงบประมาณของแผ่นดินซึ่งมาจากประชาชน การใช้เงินจะต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ ไม่มีความลับ และการเปิดเผยข้อมูลของ สตง.เป็นการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน