บ่มเพาะหล่อหลอมศิลปะการขับร้องมาจากเจรียงที่เป็นสุ้มเสียงแห่งเขมร และออกตระเวนเล่นร้องหมอลำตั้งแต่จบประถม “รัสมี เวระนะ” ณ ปัจจุบัน เป็นศิลปินหน้าใหม่ที่วงการจับตา ในฐานะผู้ผสานเสียงหมอลำควบกล้ำกับสุ้มเสียงแห่งโซลได้อย่างกลมกล่อมหอมหู
ด้วยการซึมซับบทเพลงลูกทุ่งและหมอลำจากของพ่อมาแต่เด็ก รวมทั้งได้เรียนรู้ท่วงทำนองบทเพลงจากโลกตะวันตก จนตกผลึกเป็นอัลบั้มชุดแรกในชื่อ “Isan Soul EP.” ผลงานซึ่งผสานเสียงจากสองวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว ถึงขนาดคว้ารางวัล 3 รางวัลจากเวทีคมชัดลึก อวอร์ดส์ มาสดๆ ร้อนๆ
• จุดแรกเริ่มในการร้องเพลง
จริงๆ เราร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะความที่พ่อเราเป็นนักร้องและครูสอนเจรียง (ศิลปะการขับร้องและแสดงของเขมร คล้ายกับลิเกของภาคกลางของไทย) ก็จะร้องเพลงกล่อมเราทุกคืนก่อนนอน เวลาเราร้องก็จะเหมือนอยู่ในอ้อมกอดพ่อ พ่อก็ร้องเพลงให้ฟัง ก็จะติดมาทั้งเพลงในสมัยนั้น พวกสายัณห์ สัญญา พุ่มพวง ดวงจันทร์ เสรี รุ่งสว่าง ได้ฟังหมด แต่เราไม่เคยได้ฟังจากเทปจริง อย่างพุ่มพวงนี่ไม่เคยฟังเลย ก็จะฟังจากที่พ่อร้องอย่างเดียว ก็คือเราซึมซับมาตั้งแต่เด็กด้วยการฟังๆๆ จากนั้นก็เริ่มมาหัดร้อง ตอนแรกก็ร้องลูกทุ่งก่อน จากนั้นก็มาเป็นหมอลำ ตอนนั้นก็จะเป็นพวกจินตหรา พูนลาภ เฉลิมพล มาลาคำ ฮันนี่ ศรีอีสาน โดยเฉพาะจินตหรานี่คือเราก็อปพี่เขาเยอะมาก เป็นช่วงที่เรายังเด็กๆ เลย แม้กระทั่งเพื่อนเราก็ยังร้องเลย ดังมาก หลังจากนั้น พอเรียนจบ ป.6 ตอน อายุ 13 เราก็ไปอยู่วงดนตรี และไม่ได้เรียนหนังสือเลย รับงานร้องเพลงหมอลำ ไปเรื่อยๆ ตามหมู่บ้านต่างๆ
อีกอย่าง เพราะที่บ้านเราเป็นลูกคนโต แล้วต้องรับผิดชอบน้องๆ ด้วย ก็ไม่เป็นไร ได้ทำในสิ่งที่เราชอบ เราก็ไปร้องเพลง ทำงานส่งเงินกลับบ้าน มาที่บ้านบ้างบางครั้ง บ้านเราเป็นเกษตรกร ทำไร่ทำนา คือจริงๆ แล้ว ทางของเรามันเด่นชัดมาตั้งแต่เด็กแล้ว เวลาเราร้องให้ใครฟังแล้วจะไม่อาย ใครให้ร้อง ร้องหมดเลย คุณครูที่โรงเรียนให้ร้องก็ร้อง แล้วก็ได้ทิป จากคนในหมู่บ้าน 10 บาท 20 บาท ได้ทุกที่ เขาเห็นด้วยว่าแนวทางของเรามันชัดมาก เขาก็ผลักดันเราเยอะ อย่างพ่อเขาก็เคยอยากจะเป็นนักร้อง แต่ด้วยที่มีพันธะ ทำให้ไม่สามารถไปต่อได้ เขาก็พยายามที่จะผลักดันเรา
แต่เมื่อก่อน เราเป็นคนขี้กลัว จะมีความรู้สึกนั้นเวลาขึ้นเวที เสียงโอเคก็จริง แต่ว่าเราไม่เคยพูดเลย ไมค์สำหรับเราในตอนนั้นคือการร้องเพลงอย่างเดียว พอร้องจบก็เดินลงเวที เดินขึ้นไป เราร้อง แต่เราจะเป็นคนกลัว เวลาที่ร้องเพลงแล้วพูด เราไม่เป็นเลย 6-7 ปีนั้น เขาให้ร้องยังไงก็ร้องแล้วก็จบลง มีอะไรหลายๆ อย่างที่เราไม่รู้ เหมือนกับเราคิดแค่ว่า เสียงดีอย่างเดียวก็พอแล้ว
• ในระหว่างนั้น มีความฝันที่อยากจะร้องเพลงออกอัลบั้มด้วยหรือเปล่า
คือตอนนั้นมีเรื่องดราม่าเยอะ น้ำเน่ามากด้วย เราไปประกวดในเวทีต่างๆ ก็ไม่ได้ ไปค่ายเพลงก็จับเซ็นสัญญาและโดนยกเลิก จนทำให้เรารู้สึกท้อด้วย และเราเป็นผู้หญิง พอเราได้เข้าไป ก็ถึงได้เห็นอะไรต่างๆ ในวงการที่ค่อนข้างขี้เหร่มาก จนทำให้เราท้อและไม่อยากเป็นนักร้อง การที่จะเป็นนักร้อง คุณต้องเซ็นสัญญา ซึ่งบนกระดาษนี่ไม่พอหรอก คุณต้องมีมากกว่านั้นด้วย เราได้ยินเรื่องแบบนี้มา เราถอยเลย เราไม่อยากเป็นแบบนั้น มันทำให้เรารู้สึกแย่และไม่อยากร้องเพลงอยู่ช่วงหนึ่ง ช่วงนั้นก็อายุ 18 เราไปค่ายเพลงนัดไปนั่งเจอ นั่งคุย เขาก็บอกว่า เดี๋ยวจะอัดให้ เสียงดี แต่ต้องอัดอีก 3 คนนะ เราก็โอเค ตกลงทุกอย่าง พอเรานั่งรถกลับบ้าน ไปกับพี่คนหนึ่ง เขาก็เล่าให้ฟังเลยว่า รู้มั้ยวงการนี้ ใครเป็นแฟนใคร ถ้าฉันเซ็นกับคุณแล้วไม่ดัง จะทำยังไง เราต้องเสียทุกอย่างฟรี เพราะทุกอย่างมันมืดมิดเลย เราก็ไม่ชอบ เพราะเขาไม่ได้มองที่ความสามารถอย่างเดียว
• แล้วจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของคุณเริ่มขึ้นตอนไหนอย่างไร
ตอนที่เราเจอแฟนคนแรกและตามเขาไปอยู่เชียงใหม่ แต่ก็ไม่ราบรื่น หลังจากนั้นก็เลิกกัน ช่วงอายุ 20-21 ระหว่างนั้น เราก็กลับมาเรียนหนังสือ เลิกร้องเพลง ตอนที่อยู่นั่นใหม่ๆ เราเริ่มจากศูนย์เลย มีวุฒิแค่ ป.6 พอไปอยู่เชียงใหม่ เจอแฟน เราไม่ได้ทำอะไร ก็เริ่มเรียน กศน. เริ่มเรียนเสริมสวยในวันธรรมดา ทำอะไรไป ไม่ให้มันว่าง หลังจบ กศน. ก็มาต่อที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ เชียงใหม่ เพราะเป็นคนที่ชอบแสดงและความรู้สึก ตอนนั้นคิดว่าไม่ได้ร้องเพลงก็ไปเรียนศิลปะ พอจบ ปวช. ก็ไปต่อมหาวิทยาลัยราชมงคลวิทยาเขตล้านนา ระหว่างเรียนนั้นก็ยังไม่ได้คิดเรื่องร้องเพลง แต่ใจอยากร้องมาก นี่คือเป็นเหตุผลหนึ่งด้วยที่ไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ทำให้เราอยู่กับแฟนคนเก่าไม่ได้ ก็คือเลิก และได้กลับมาร้องเพลง
การไปอยู่เชียงใหม่ ได้สิ่งผลต่อคุณในด้านใดอีกไหม
ก่อนหน้านั้น เราฟังแต่หมอลำกับลูกทุ่งอย่างเดียว แต่พอเรามามีแฟน เราก็ได้ฟังงานเพลงที่หลากหลาย เพราะเขามีเพลงเยอะ ก็ฟังมาตั้งแต่ eagle หลังๆ ก็จะเป็น Nina Simone เพลงโซล ของ Noora Noor พอเวลาต่อมา เราเริ่มที่จะทำงานทางดนตรี เราก็ต้องเจอกับนักดนตรีหลากหลาย แต่เราค่อนข้างที่จะอัตโนมัติมากที่จะรับสาร ซึ่งเจอนักดนตรีแจ๊ส เราก็ต้องฟังงานแจ๊ส หลังจากนั้น ก็ไปเจอกับนักดนตรีแอฟริกัน แล้วอยากทำเพลงแนวนี้ เราก็ต้องฟังดนตรีในท่วงทำนองนี้ ได้ฟังงานแอฟริกันคลาสสิกหลายๆ คน อย่าง Oumau Sangare (นักร้องชาวมาลี), Fela Kuti (ศิลปินนักดนตรีชาวไนจีเรีย) เราฟังเพลงของพวกเขา มันเหมือนเพลงเขมรอ่ะ พอเอามาแต่งแล้วมันเข้ากับภาษาเขมรได้เยอะเลย ได้ดีเลย หลังจากนั้นทำอีสานแจ๊ส ก็ได้ฟังแจ๊ส หลังๆ ก็ได้ร้องเพลงบลูส์ ร้องในโรงแรม ร้องแจ๊ส ช่วงนี้เหมือนกับประตูเปิดออกมาเยอะมาก และโอกาสจังหวะมันดีมากก่อนจะทำอีพีชุดนี้
พอเราร้องเพลงมานาน ร้องมาหลายที่ หลายวง และก่อนหน้านั้นเรามีวงแอฟริกันด้วย ไปฝรั่งเศสมาด้วย เพราะตอนไปที่นั่นเราไปร้องหมอลำแจ๊ส เราไปร้องหมอลำ คนมาดูเยอะมาก และมันก็จุดประกายให้เรากลับมาแต่งเพลงและทำเพลงเป็นเรื่องราว เมื่อก่อนก็ร้องไปเรื่อย ใครพาไปไหนก็ไป ใครให้ทำอะไรก็ทำ แต่ชุดนี้คืออยากนำความเป็นตัวเองออกมา อยากทำเพื่อให้คนอื่นรู้ว่าเพลงหมอลำไม่ใช่แค่คนขับแท็กซี่หรือชนชั้นแรงงานฟังอย่างเดียว ทุกคนก็ฟังได้ คนอื่นก็เสพตาม
• อยากให้ช่วยอธิบายถึงอีพีอัลบั้มชุดนี้หน่อยครับว่าเป็นยังไง
ถ้าไล่มาตั้งแต่จุดเริ่มต้นเลยก็คืออยากทำเพลง แล้วต่อมาก็โทรหาคนที่เขาเล่นดนตรีอีสาน แต่ด้วยความที่เราอยู่ทางเหนือ การจะหาคนที่เล่นเครื่องดนตรีอีสาน มันก็หายากมาก แทบไม่มี ระหว่างนั้น ก็มีคนว่าเราเยอะบ้าง ทำทำไม ทำไปเพื่ออะไร แต่ ณ จุดนั้น เราก็ไม่ได้คิดแล้วว่าเราทำเพลงเพื่ออะไร เพื่อใคร เราทำเพราะมันเป็นความอยาก เราอยากทำ จนมาได้เจอก้อง (สาธุการ ทิยา ธิรา - มือกีต้าร์และหนึ่งในผู้ร่วมทำผลงานอีพีชุดนี้) ก็ได้มาร่วมงานกัน จนเรารู้สึกว่า เขาสามารถทำให้เพลงอีสาน ฉีกออกไปได้อีก ด้วยวิธีการเล่นกีต้าร์ของก้อง คือเริ่มทำมาเรื่อยๆ ทำเพลงแต่งเพลง ต่อเพลง เข้าห้องอัดอาทิตย์ละครั้ง 2 ครั้ง ดีไซน์ปกกันเอง นั่งพับซีดี ใส่ซองเอง ทำทุกอย่าง คือกระบวนการในการผลิตนี่คืออินดี้มากเลย ก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา จนถึงตอนนี้ ก็ไม่ได้ฝันอะไรเยอะ
และด้วยความที่เราฟังเพลงมาเยอะก่อนหน้านั้น แล้วทำวงแบบแอฟริกันอีก จริงๆ เราอยากผสมผสานบวกกับหมอลำด้วย ในตอนที่ทำใหม่ๆ เราทำวงแอฟริกันมาก่อนหน้านี้ 2 ปี แต่ทำกับต่างชาติหมดเลย เราได้เรียนรู้ตรงนี้ เราทำเพลงแล้วมีนักดนตรี 7 คน หลากเชื้อชาติหมดเลย อีกทั้งตอนที่ไปฝรั่งเศสก็ทำให้เรารู้สึกว่า เพลงหมอลำมันสามารถที่จะต่อยอดไปอีกได้ดี ขณะเดียวกัน เราเป็นคนแต่งเพลง แต่เรื่องการทำดนตรี เราว่าเราโชคดีที่เราอยู่เชียงใหม่ แล้วจุดตรงนั้นมันมีนักดนตรีที่หลากหลาย มีทั้งคนเล่นแจ็ส เล่นบลูส์ เล่นทุกอย่าง ซึ่งถ้าเราทำเพลงที่อีสาน มันก็จะเป็นกลิ่นของท้องถิ่นไปเลย แต่การที่เราได้นักดนตรีที่เขาไม่รู้จักเพลงอีสานเลย ก็ถือว่าเป็นข้อดี มันถึงฉีกจากที่มันเป็นอยู่ได้ เพราะจากความไม่รู้นั่นเอง
แต่พูดจริงๆ เราไม่ได้หานะ เรามีมันมานานแล้ว คือทางของเราชัดเจนมากตั้งแต่แรกเลย เราเป็นหมอลำ เราอยากทำหมอลำ เราเป็นคนร้องเพลงแบบนี้ตั้งแต่แรก อันนี้เราคิดว่าเราเป็นอินดี้นะ อินดี้ที่เราไม่ได้ให้ค่ายมาเปลี่ยนเรา เราเป็นแบบนี้ เราก็เป็นอย่างนี้ พอเราไปร้องกับแนวอื่น มันก็เป็นแบบนี้ พอมาทำอัลบั้มกับก้อง เราก็เป็นแบบนี้ จริงๆ มันไม่ต้องไปหาอะไรเลย มันอยู่ในตัวเราอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ได้แสดงออก แต่พอเราได้แสดงออกมาปุ๊บ มันมีคนเห็น มันถึงเป็นชิ้นเป็นอัน เรามองแบบนี้มากกว่า
สาธุการ : ผมว่ามันเป็นการแสดงออกของความเป็นโซลข้างในอีกรูปแบบหนึ่ง
รัสมี : เพราะคำว่าโซล มันไม่ใช่แค่วิธีการร้อง โซลมันก็หมายถึงจิตใต้สำนึกที่เรามีมากกว่า คำนี้มันลึกมากกว่าเทคนิคการร้อง สำหรับเรานะ เราถึงเรียกตัวเองว่า อีสานโซล
สาธุการ : พูดคำว่าอีสาน เราจะนึกถึงอีกมุมมองหนึ่ง ในความเป็นจริงนะ เราจะมองไปถึงวิถีชีวิตชาวบ้าน ไปถึงชีวิตของเขา ในเพลงหนึ่ง เราใช้คำว่า น้องแกงแมวรอพี่ แต่ไม่เห็นพี่กลับมา มันสะท้อนเรื่องราวในความเป็นอยู่ของเขาจริงๆ คือผู้หญิงเขาแกงอาหารแมวเพื่อรอสามีกลับมา แต่ในชีวิตจริงของคนในเมือง เขาจะไม่ได้สัมผัสแบบนี้ จะรู้สึกว่าบ้าหรือเปล่า กินแมว แต่คำว่าโซลคือจิตวิญญาณของเขา เรื่องจริงของเขา คือเพลงทั้งชุดมันคือการแสดงออกทางจิตวิญญาณ
ในส่วนของผู้ฟัง ผมเชื่อว่ายังมีคนกลุ่มนั้นอยู่ กลุ่มที่คล้ายๆ เรา กลุ่มที่เขาพยายามที่จะทำสิ่งนั้นอยู่ และยังมีคนที่ห้ามปรามเขา ผมพูดได้เลยว่า ตอนที่เริ่มทำใหม่ๆ คือเจอคำวิจารณ์ที่แรงมาก เวลาที่เจอมา ผมก็มาพูดคุยกันในวง เช่น ใครจะไปฟังเพลงมึงวะ เพลงเขมร เพลงอีสาน คือต้องยอมรับเลยว่า เพลงอีสาน ไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้างนัก คือคนไทยมันจะมีเรื่องการเหยียดนิดหนึ่ง ซึ่งตัวนี้มันก็เลยเป็นเกณฑ์ที่จะทำให้ไม่กล้าทำอะไร ซึ่งมันส่งผลเลยว่า บางคนไม่กล้าออกจากบ้าน เพราะว่าตัวเองดำ บางคนไม่กล้าออกไป เพราะกลัวคนอื่นล้อ ผมคิดว่าการที่เราได้พยายามทำมันออกไป เราทำให้ทุกคนเห็นว่าสิ่งที่ทุกคนล้อ มันไม่จริงหรอก ลองทำดู เพราะตอนที่เราทำใหม่ๆ เราถูกเบรกไปเยอะมาก ก็ค่อนข้างทำร้ายจิตใจ แต่ผมเชื่อว่ายังมีคนแบบนี้ที่เขาเชื่อว่า ตอนนี้ตาคุณแล้วนะ คนที่โดนล้อ คนที่ถูกห้ามปราม ตอนนี้เป็นตาคุณแล้ว แสดงผลงานหน่อยว่ายังทำได้อยู่นะ
รัสมี : มันจะมีเสียงตอบรับทำนองว่า เราได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายๆ คนที่เขามีของดีอยู่แล้ว แต่เขาไม่กล้าที่จะปล่อยออกมา เพราะร้องหมอลำ ร้องลูกทุ่ง เหมือนที่ดีเจMARFSAI เขาทำ เขาจะเป็นตัวของตัวเอง เขาจะทำแบบนี้ ใครจะว่าอะไรไม่สนใจ พอตอนนี้สิ่งต่างๆ ที่เริ่มเปิด ณ ปัจจุบัน ที่คนไทยเสพงานแปลกๆ เยอะขึ้น คิดว่ามันจะเป็นพลังหนึ่งให้คนเก่งๆ มาทำงานแบบนี้เยอะขึ้น
• การที่คนที่กลับมาฟัง คิดว่านับเป็นสัญญาณที่ดีหรือเปล่า
สาธุการ : ผมใช้คำว่ามันเปิด เหมือนโดมิโน่ ผมเปิดก่อน แล้วพี่เปิดตาม แต่พี่อาจจะไม่ชอบก็ได้ แต่พี่ก็เปิดดู ถึงพี่ชอบหรือไม่ชอบ พี่อาจจะวิจารณ์แล้วส่งให้คนอื่นต่อ มันก็จะเปิดแล้ว อีกคนหนึ่งเปิดไปเรื่อยๆ มันมีกระแสชอบไม่ชอบ แต่มันก็จะถูกเปิดไปเรื่อยๆ ผมว่าอันนี้สำคัญ ซึ่งการทำอันนี้ มันทำให้สังคมเริ่มเปิดมากขึ้น พอมีคนเปิด แล้วคนที่ชอบก็ให้โอกาส คนที่ให้โอกาส ผมว่าสำคัญ แทนที่จะไป 1-2-3 มันไปทีละ 20 ผมว่าอีกหน่อย การที่เราเริ่มต้นจากก้าวเล็กๆ จะทำให้อีกหลายวงมาทำมาเปิดในจุดที่มองไม่เห็น ผมว่ามันเป็นการเริ่มต้นให้เขา
รัสมี : เราว่าคนเปิดนะ ซึ่งคนมันโดนบีบแล้วไม่ได้ทำอะไรใหม่ๆ มาให้คนเสพ มันจะดูเหมือนเดิมๆ แต่เราว่าเราทำออกมาแล้ว มีคนรอเสพอยู่ ถ้าไม่มีวันนี้แล้ว มันจะมีอย่างงี้มั้ย จริงๆ คนมีคนเสพ แต่เพียงแต่ว่า คนยังกลัวด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง มองอย่างงี้มากกว่า
• ถึงตอนนี้ คิดว่าเราสำเร็จในเบื้องต้นไหม
รัสมี : ความสำเร็จคืออะไร เรารู้สึกว่าเราสำเร็จแล้วที่ได้ทำในสิ่งที่เราชอบ ได้ร้องเพลง แต่สิ่งที่ตามมานั่นคือความโชคดี หรือจังหวะที่ดีของเรานะ ส่วนประสบความสำเร็จมั้ย ก็แล้วแต่มุมมอง ถามว่ารางวัลที่ได้มันก็ดีนะ แต่สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา มันก็ไม่สามารถที่จะหยุดให้เราทำงานตรงนี้ ต่อให้เราจะได้หรือไม่ได้รางวัล สิ่งเดียวที่เราทำและมีความสุขนั่นคือการได้ร้องเพลง อนาคตข้างหน้าก็คงที่จะทำงานต่อไป
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร
ด้วยการซึมซับบทเพลงลูกทุ่งและหมอลำจากของพ่อมาแต่เด็ก รวมทั้งได้เรียนรู้ท่วงทำนองบทเพลงจากโลกตะวันตก จนตกผลึกเป็นอัลบั้มชุดแรกในชื่อ “Isan Soul EP.” ผลงานซึ่งผสานเสียงจากสองวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว ถึงขนาดคว้ารางวัล 3 รางวัลจากเวทีคมชัดลึก อวอร์ดส์ มาสดๆ ร้อนๆ
• จุดแรกเริ่มในการร้องเพลง
จริงๆ เราร้องเพลงมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะความที่พ่อเราเป็นนักร้องและครูสอนเจรียง (ศิลปะการขับร้องและแสดงของเขมร คล้ายกับลิเกของภาคกลางของไทย) ก็จะร้องเพลงกล่อมเราทุกคืนก่อนนอน เวลาเราร้องก็จะเหมือนอยู่ในอ้อมกอดพ่อ พ่อก็ร้องเพลงให้ฟัง ก็จะติดมาทั้งเพลงในสมัยนั้น พวกสายัณห์ สัญญา พุ่มพวง ดวงจันทร์ เสรี รุ่งสว่าง ได้ฟังหมด แต่เราไม่เคยได้ฟังจากเทปจริง อย่างพุ่มพวงนี่ไม่เคยฟังเลย ก็จะฟังจากที่พ่อร้องอย่างเดียว ก็คือเราซึมซับมาตั้งแต่เด็กด้วยการฟังๆๆ จากนั้นก็เริ่มมาหัดร้อง ตอนแรกก็ร้องลูกทุ่งก่อน จากนั้นก็มาเป็นหมอลำ ตอนนั้นก็จะเป็นพวกจินตหรา พูนลาภ เฉลิมพล มาลาคำ ฮันนี่ ศรีอีสาน โดยเฉพาะจินตหรานี่คือเราก็อปพี่เขาเยอะมาก เป็นช่วงที่เรายังเด็กๆ เลย แม้กระทั่งเพื่อนเราก็ยังร้องเลย ดังมาก หลังจากนั้น พอเรียนจบ ป.6 ตอน อายุ 13 เราก็ไปอยู่วงดนตรี และไม่ได้เรียนหนังสือเลย รับงานร้องเพลงหมอลำ ไปเรื่อยๆ ตามหมู่บ้านต่างๆ
อีกอย่าง เพราะที่บ้านเราเป็นลูกคนโต แล้วต้องรับผิดชอบน้องๆ ด้วย ก็ไม่เป็นไร ได้ทำในสิ่งที่เราชอบ เราก็ไปร้องเพลง ทำงานส่งเงินกลับบ้าน มาที่บ้านบ้างบางครั้ง บ้านเราเป็นเกษตรกร ทำไร่ทำนา คือจริงๆ แล้ว ทางของเรามันเด่นชัดมาตั้งแต่เด็กแล้ว เวลาเราร้องให้ใครฟังแล้วจะไม่อาย ใครให้ร้อง ร้องหมดเลย คุณครูที่โรงเรียนให้ร้องก็ร้อง แล้วก็ได้ทิป จากคนในหมู่บ้าน 10 บาท 20 บาท ได้ทุกที่ เขาเห็นด้วยว่าแนวทางของเรามันชัดมาก เขาก็ผลักดันเราเยอะ อย่างพ่อเขาก็เคยอยากจะเป็นนักร้อง แต่ด้วยที่มีพันธะ ทำให้ไม่สามารถไปต่อได้ เขาก็พยายามที่จะผลักดันเรา
แต่เมื่อก่อน เราเป็นคนขี้กลัว จะมีความรู้สึกนั้นเวลาขึ้นเวที เสียงโอเคก็จริง แต่ว่าเราไม่เคยพูดเลย ไมค์สำหรับเราในตอนนั้นคือการร้องเพลงอย่างเดียว พอร้องจบก็เดินลงเวที เดินขึ้นไป เราร้อง แต่เราจะเป็นคนกลัว เวลาที่ร้องเพลงแล้วพูด เราไม่เป็นเลย 6-7 ปีนั้น เขาให้ร้องยังไงก็ร้องแล้วก็จบลง มีอะไรหลายๆ อย่างที่เราไม่รู้ เหมือนกับเราคิดแค่ว่า เสียงดีอย่างเดียวก็พอแล้ว
• ในระหว่างนั้น มีความฝันที่อยากจะร้องเพลงออกอัลบั้มด้วยหรือเปล่า
คือตอนนั้นมีเรื่องดราม่าเยอะ น้ำเน่ามากด้วย เราไปประกวดในเวทีต่างๆ ก็ไม่ได้ ไปค่ายเพลงก็จับเซ็นสัญญาและโดนยกเลิก จนทำให้เรารู้สึกท้อด้วย และเราเป็นผู้หญิง พอเราได้เข้าไป ก็ถึงได้เห็นอะไรต่างๆ ในวงการที่ค่อนข้างขี้เหร่มาก จนทำให้เราท้อและไม่อยากเป็นนักร้อง การที่จะเป็นนักร้อง คุณต้องเซ็นสัญญา ซึ่งบนกระดาษนี่ไม่พอหรอก คุณต้องมีมากกว่านั้นด้วย เราได้ยินเรื่องแบบนี้มา เราถอยเลย เราไม่อยากเป็นแบบนั้น มันทำให้เรารู้สึกแย่และไม่อยากร้องเพลงอยู่ช่วงหนึ่ง ช่วงนั้นก็อายุ 18 เราไปค่ายเพลงนัดไปนั่งเจอ นั่งคุย เขาก็บอกว่า เดี๋ยวจะอัดให้ เสียงดี แต่ต้องอัดอีก 3 คนนะ เราก็โอเค ตกลงทุกอย่าง พอเรานั่งรถกลับบ้าน ไปกับพี่คนหนึ่ง เขาก็เล่าให้ฟังเลยว่า รู้มั้ยวงการนี้ ใครเป็นแฟนใคร ถ้าฉันเซ็นกับคุณแล้วไม่ดัง จะทำยังไง เราต้องเสียทุกอย่างฟรี เพราะทุกอย่างมันมืดมิดเลย เราก็ไม่ชอบ เพราะเขาไม่ได้มองที่ความสามารถอย่างเดียว
• แล้วจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของคุณเริ่มขึ้นตอนไหนอย่างไร
ตอนที่เราเจอแฟนคนแรกและตามเขาไปอยู่เชียงใหม่ แต่ก็ไม่ราบรื่น หลังจากนั้นก็เลิกกัน ช่วงอายุ 20-21 ระหว่างนั้น เราก็กลับมาเรียนหนังสือ เลิกร้องเพลง ตอนที่อยู่นั่นใหม่ๆ เราเริ่มจากศูนย์เลย มีวุฒิแค่ ป.6 พอไปอยู่เชียงใหม่ เจอแฟน เราไม่ได้ทำอะไร ก็เริ่มเรียน กศน. เริ่มเรียนเสริมสวยในวันธรรมดา ทำอะไรไป ไม่ให้มันว่าง หลังจบ กศน. ก็มาต่อที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ เชียงใหม่ เพราะเป็นคนที่ชอบแสดงและความรู้สึก ตอนนั้นคิดว่าไม่ได้ร้องเพลงก็ไปเรียนศิลปะ พอจบ ปวช. ก็ไปต่อมหาวิทยาลัยราชมงคลวิทยาเขตล้านนา ระหว่างเรียนนั้นก็ยังไม่ได้คิดเรื่องร้องเพลง แต่ใจอยากร้องมาก นี่คือเป็นเหตุผลหนึ่งด้วยที่ไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ทำให้เราอยู่กับแฟนคนเก่าไม่ได้ ก็คือเลิก และได้กลับมาร้องเพลง
การไปอยู่เชียงใหม่ ได้สิ่งผลต่อคุณในด้านใดอีกไหม
ก่อนหน้านั้น เราฟังแต่หมอลำกับลูกทุ่งอย่างเดียว แต่พอเรามามีแฟน เราก็ได้ฟังงานเพลงที่หลากหลาย เพราะเขามีเพลงเยอะ ก็ฟังมาตั้งแต่ eagle หลังๆ ก็จะเป็น Nina Simone เพลงโซล ของ Noora Noor พอเวลาต่อมา เราเริ่มที่จะทำงานทางดนตรี เราก็ต้องเจอกับนักดนตรีหลากหลาย แต่เราค่อนข้างที่จะอัตโนมัติมากที่จะรับสาร ซึ่งเจอนักดนตรีแจ๊ส เราก็ต้องฟังงานแจ๊ส หลังจากนั้น ก็ไปเจอกับนักดนตรีแอฟริกัน แล้วอยากทำเพลงแนวนี้ เราก็ต้องฟังดนตรีในท่วงทำนองนี้ ได้ฟังงานแอฟริกันคลาสสิกหลายๆ คน อย่าง Oumau Sangare (นักร้องชาวมาลี), Fela Kuti (ศิลปินนักดนตรีชาวไนจีเรีย) เราฟังเพลงของพวกเขา มันเหมือนเพลงเขมรอ่ะ พอเอามาแต่งแล้วมันเข้ากับภาษาเขมรได้เยอะเลย ได้ดีเลย หลังจากนั้นทำอีสานแจ๊ส ก็ได้ฟังแจ๊ส หลังๆ ก็ได้ร้องเพลงบลูส์ ร้องในโรงแรม ร้องแจ๊ส ช่วงนี้เหมือนกับประตูเปิดออกมาเยอะมาก และโอกาสจังหวะมันดีมากก่อนจะทำอีพีชุดนี้
พอเราร้องเพลงมานาน ร้องมาหลายที่ หลายวง และก่อนหน้านั้นเรามีวงแอฟริกันด้วย ไปฝรั่งเศสมาด้วย เพราะตอนไปที่นั่นเราไปร้องหมอลำแจ๊ส เราไปร้องหมอลำ คนมาดูเยอะมาก และมันก็จุดประกายให้เรากลับมาแต่งเพลงและทำเพลงเป็นเรื่องราว เมื่อก่อนก็ร้องไปเรื่อย ใครพาไปไหนก็ไป ใครให้ทำอะไรก็ทำ แต่ชุดนี้คืออยากนำความเป็นตัวเองออกมา อยากทำเพื่อให้คนอื่นรู้ว่าเพลงหมอลำไม่ใช่แค่คนขับแท็กซี่หรือชนชั้นแรงงานฟังอย่างเดียว ทุกคนก็ฟังได้ คนอื่นก็เสพตาม
• อยากให้ช่วยอธิบายถึงอีพีอัลบั้มชุดนี้หน่อยครับว่าเป็นยังไง
ถ้าไล่มาตั้งแต่จุดเริ่มต้นเลยก็คืออยากทำเพลง แล้วต่อมาก็โทรหาคนที่เขาเล่นดนตรีอีสาน แต่ด้วยความที่เราอยู่ทางเหนือ การจะหาคนที่เล่นเครื่องดนตรีอีสาน มันก็หายากมาก แทบไม่มี ระหว่างนั้น ก็มีคนว่าเราเยอะบ้าง ทำทำไม ทำไปเพื่ออะไร แต่ ณ จุดนั้น เราก็ไม่ได้คิดแล้วว่าเราทำเพลงเพื่ออะไร เพื่อใคร เราทำเพราะมันเป็นความอยาก เราอยากทำ จนมาได้เจอก้อง (สาธุการ ทิยา ธิรา - มือกีต้าร์และหนึ่งในผู้ร่วมทำผลงานอีพีชุดนี้) ก็ได้มาร่วมงานกัน จนเรารู้สึกว่า เขาสามารถทำให้เพลงอีสาน ฉีกออกไปได้อีก ด้วยวิธีการเล่นกีต้าร์ของก้อง คือเริ่มทำมาเรื่อยๆ ทำเพลงแต่งเพลง ต่อเพลง เข้าห้องอัดอาทิตย์ละครั้ง 2 ครั้ง ดีไซน์ปกกันเอง นั่งพับซีดี ใส่ซองเอง ทำทุกอย่าง คือกระบวนการในการผลิตนี่คืออินดี้มากเลย ก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา จนถึงตอนนี้ ก็ไม่ได้ฝันอะไรเยอะ
และด้วยความที่เราฟังเพลงมาเยอะก่อนหน้านั้น แล้วทำวงแบบแอฟริกันอีก จริงๆ เราอยากผสมผสานบวกกับหมอลำด้วย ในตอนที่ทำใหม่ๆ เราทำวงแอฟริกันมาก่อนหน้านี้ 2 ปี แต่ทำกับต่างชาติหมดเลย เราได้เรียนรู้ตรงนี้ เราทำเพลงแล้วมีนักดนตรี 7 คน หลากเชื้อชาติหมดเลย อีกทั้งตอนที่ไปฝรั่งเศสก็ทำให้เรารู้สึกว่า เพลงหมอลำมันสามารถที่จะต่อยอดไปอีกได้ดี ขณะเดียวกัน เราเป็นคนแต่งเพลง แต่เรื่องการทำดนตรี เราว่าเราโชคดีที่เราอยู่เชียงใหม่ แล้วจุดตรงนั้นมันมีนักดนตรีที่หลากหลาย มีทั้งคนเล่นแจ็ส เล่นบลูส์ เล่นทุกอย่าง ซึ่งถ้าเราทำเพลงที่อีสาน มันก็จะเป็นกลิ่นของท้องถิ่นไปเลย แต่การที่เราได้นักดนตรีที่เขาไม่รู้จักเพลงอีสานเลย ก็ถือว่าเป็นข้อดี มันถึงฉีกจากที่มันเป็นอยู่ได้ เพราะจากความไม่รู้นั่นเอง
แต่พูดจริงๆ เราไม่ได้หานะ เรามีมันมานานแล้ว คือทางของเราชัดเจนมากตั้งแต่แรกเลย เราเป็นหมอลำ เราอยากทำหมอลำ เราเป็นคนร้องเพลงแบบนี้ตั้งแต่แรก อันนี้เราคิดว่าเราเป็นอินดี้นะ อินดี้ที่เราไม่ได้ให้ค่ายมาเปลี่ยนเรา เราเป็นแบบนี้ เราก็เป็นอย่างนี้ พอเราไปร้องกับแนวอื่น มันก็เป็นแบบนี้ พอมาทำอัลบั้มกับก้อง เราก็เป็นแบบนี้ จริงๆ มันไม่ต้องไปหาอะไรเลย มันอยู่ในตัวเราอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ได้แสดงออก แต่พอเราได้แสดงออกมาปุ๊บ มันมีคนเห็น มันถึงเป็นชิ้นเป็นอัน เรามองแบบนี้มากกว่า
สาธุการ : ผมว่ามันเป็นการแสดงออกของความเป็นโซลข้างในอีกรูปแบบหนึ่ง
รัสมี : เพราะคำว่าโซล มันไม่ใช่แค่วิธีการร้อง โซลมันก็หมายถึงจิตใต้สำนึกที่เรามีมากกว่า คำนี้มันลึกมากกว่าเทคนิคการร้อง สำหรับเรานะ เราถึงเรียกตัวเองว่า อีสานโซล
สาธุการ : พูดคำว่าอีสาน เราจะนึกถึงอีกมุมมองหนึ่ง ในความเป็นจริงนะ เราจะมองไปถึงวิถีชีวิตชาวบ้าน ไปถึงชีวิตของเขา ในเพลงหนึ่ง เราใช้คำว่า น้องแกงแมวรอพี่ แต่ไม่เห็นพี่กลับมา มันสะท้อนเรื่องราวในความเป็นอยู่ของเขาจริงๆ คือผู้หญิงเขาแกงอาหารแมวเพื่อรอสามีกลับมา แต่ในชีวิตจริงของคนในเมือง เขาจะไม่ได้สัมผัสแบบนี้ จะรู้สึกว่าบ้าหรือเปล่า กินแมว แต่คำว่าโซลคือจิตวิญญาณของเขา เรื่องจริงของเขา คือเพลงทั้งชุดมันคือการแสดงออกทางจิตวิญญาณ
ในส่วนของผู้ฟัง ผมเชื่อว่ายังมีคนกลุ่มนั้นอยู่ กลุ่มที่คล้ายๆ เรา กลุ่มที่เขาพยายามที่จะทำสิ่งนั้นอยู่ และยังมีคนที่ห้ามปรามเขา ผมพูดได้เลยว่า ตอนที่เริ่มทำใหม่ๆ คือเจอคำวิจารณ์ที่แรงมาก เวลาที่เจอมา ผมก็มาพูดคุยกันในวง เช่น ใครจะไปฟังเพลงมึงวะ เพลงเขมร เพลงอีสาน คือต้องยอมรับเลยว่า เพลงอีสาน ไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้างนัก คือคนไทยมันจะมีเรื่องการเหยียดนิดหนึ่ง ซึ่งตัวนี้มันก็เลยเป็นเกณฑ์ที่จะทำให้ไม่กล้าทำอะไร ซึ่งมันส่งผลเลยว่า บางคนไม่กล้าออกจากบ้าน เพราะว่าตัวเองดำ บางคนไม่กล้าออกไป เพราะกลัวคนอื่นล้อ ผมคิดว่าการที่เราได้พยายามทำมันออกไป เราทำให้ทุกคนเห็นว่าสิ่งที่ทุกคนล้อ มันไม่จริงหรอก ลองทำดู เพราะตอนที่เราทำใหม่ๆ เราถูกเบรกไปเยอะมาก ก็ค่อนข้างทำร้ายจิตใจ แต่ผมเชื่อว่ายังมีคนแบบนี้ที่เขาเชื่อว่า ตอนนี้ตาคุณแล้วนะ คนที่โดนล้อ คนที่ถูกห้ามปราม ตอนนี้เป็นตาคุณแล้ว แสดงผลงานหน่อยว่ายังทำได้อยู่นะ
รัสมี : มันจะมีเสียงตอบรับทำนองว่า เราได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายๆ คนที่เขามีของดีอยู่แล้ว แต่เขาไม่กล้าที่จะปล่อยออกมา เพราะร้องหมอลำ ร้องลูกทุ่ง เหมือนที่ดีเจMARFSAI เขาทำ เขาจะเป็นตัวของตัวเอง เขาจะทำแบบนี้ ใครจะว่าอะไรไม่สนใจ พอตอนนี้สิ่งต่างๆ ที่เริ่มเปิด ณ ปัจจุบัน ที่คนไทยเสพงานแปลกๆ เยอะขึ้น คิดว่ามันจะเป็นพลังหนึ่งให้คนเก่งๆ มาทำงานแบบนี้เยอะขึ้น
• การที่คนที่กลับมาฟัง คิดว่านับเป็นสัญญาณที่ดีหรือเปล่า
สาธุการ : ผมใช้คำว่ามันเปิด เหมือนโดมิโน่ ผมเปิดก่อน แล้วพี่เปิดตาม แต่พี่อาจจะไม่ชอบก็ได้ แต่พี่ก็เปิดดู ถึงพี่ชอบหรือไม่ชอบ พี่อาจจะวิจารณ์แล้วส่งให้คนอื่นต่อ มันก็จะเปิดแล้ว อีกคนหนึ่งเปิดไปเรื่อยๆ มันมีกระแสชอบไม่ชอบ แต่มันก็จะถูกเปิดไปเรื่อยๆ ผมว่าอันนี้สำคัญ ซึ่งการทำอันนี้ มันทำให้สังคมเริ่มเปิดมากขึ้น พอมีคนเปิด แล้วคนที่ชอบก็ให้โอกาส คนที่ให้โอกาส ผมว่าสำคัญ แทนที่จะไป 1-2-3 มันไปทีละ 20 ผมว่าอีกหน่อย การที่เราเริ่มต้นจากก้าวเล็กๆ จะทำให้อีกหลายวงมาทำมาเปิดในจุดที่มองไม่เห็น ผมว่ามันเป็นการเริ่มต้นให้เขา
รัสมี : เราว่าคนเปิดนะ ซึ่งคนมันโดนบีบแล้วไม่ได้ทำอะไรใหม่ๆ มาให้คนเสพ มันจะดูเหมือนเดิมๆ แต่เราว่าเราทำออกมาแล้ว มีคนรอเสพอยู่ ถ้าไม่มีวันนี้แล้ว มันจะมีอย่างงี้มั้ย จริงๆ คนมีคนเสพ แต่เพียงแต่ว่า คนยังกลัวด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง มองอย่างงี้มากกว่า
• ถึงตอนนี้ คิดว่าเราสำเร็จในเบื้องต้นไหม
รัสมี : ความสำเร็จคืออะไร เรารู้สึกว่าเราสำเร็จแล้วที่ได้ทำในสิ่งที่เราชอบ ได้ร้องเพลง แต่สิ่งที่ตามมานั่นคือความโชคดี หรือจังหวะที่ดีของเรานะ ส่วนประสบความสำเร็จมั้ย ก็แล้วแต่มุมมอง ถามว่ารางวัลที่ได้มันก็ดีนะ แต่สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา มันก็ไม่สามารถที่จะหยุดให้เราทำงานตรงนี้ ต่อให้เราจะได้หรือไม่ได้รางวัล สิ่งเดียวที่เราทำและมีความสุขนั่นคือการได้ร้องเพลง อนาคตข้างหน้าก็คงที่จะทำงานต่อไป
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร