เปิด..บริษัทรับจัดงานศพ “ฟิวเนอรัล เซอร์วิส” ธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแบ่งเบาภาระ ในห้วงขณะที่ความตายมาเยือน...
จากความตายของบุคคลอันเป็นที่รักในช่วงวันหยุดยาวที่ยากเหลือเกินสำหรับการจัดงาน นำทางสู่การก่อตั้งธุรกิจที่เอื้ออำนวยความสะดวกสบายให้แก่ทั้งผู้มีชีวิตและไร้ชีวิต ในนาม กับ “Funeral Service ” (ฟิวเนอรัล เซอร์วิส) บริษัทรับจัดงานศพอย่างเป็นทางการแห่งแรกของประเทศไทย โดยมี “สถิตย์พงษ์ พรประภา”, “วิริยะ อนุจารี” และ “ปราณี เสาธงยุติธรรม” เป็นสามแกนนำตัวหลัก
• จุดเริ่มต้นบนเส้นทางรับจ้างจัดงานศพ
วิริยะ : คุณแนน-ธนิสา ติรณสวัสดิ์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง พ่อของเขาได้จากไปในวันสงกรานต์ปีหนึ่ง และเจอปัญหาเรื่องการจัดงานศพ ทั้งตามคนไม่ได้ ติดต่อใครไม่ได้ ไม่มีใครช่วย เป็นเรื่องกะทันหันและฉุกละหุกมากสำหรับเขา นอกจากความเสียใจกับการที่พ่อจากไป ยังมีปัญหาเรื่องการดำเนินการจัดงานศพด้วย ทำให้เขาเกิดความคิดว่าถ้ามีหน่วยงานที่จัดเรื่องพวกนี้ให้ทั้งหมด มันก็จะดีกับคนที่พบประสบกับเหตุการณ์ดังว่า สามารถลดความเดือดร้อนได้ในระดับหนึ่ง
ต่อมา ก็เป็นงานศพของคุณแม่ของผม คุณแนนก็มาช่วยที่งานศพของแม่ผมด้วย ผมกับคุณแนนก็คุยกันว่า จริงๆ แล้ว มองในแง่ธุรกิจมันเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เรารู้กันอยู่แล้วว่าทุกคนยังไงก็ต้องตาย แต่พิธีการจัดงานศพ ระหว่างในไทยกับต่างประเทศ มันคนละรูปแบบ แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ขณะที่ในอดีต ถ้าจัดก็เป็นแบบบ้านนั้นมาช่วยบ้านนี้ สังคมมันเกื้อกูลกัน ก็ไม่ค่อยมีปัญหานัก สมมุติว่าพ่อคนหนึ่งเสียตอนวันสงกรานต์ ก็ยังมีคนมาช่วยเหลือและจัดการได้ แต่พอมาอยู่ในสังคมเมือง รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้ไม่สามารถที่จะทำแบบนั้นได้ ตอนนี้คนในเมืองที่รู้พิธีศพก็มีไม่เยอะ จะไปจัดการแบบไม่มีประสบการณ์เลยก็ไม่ได้ ผมก็เลยคุยกับคุณแนนในแง่ของธุรกิจ จากนั้นคุณแนนก็ตั้งทีมมา แล้วพบกับคุณสถิตย์พงษ์ แล้วก็เริ่มทำธุรกิจนี้กันมาตั้งแต่นั้น
สถิตย์พงษ์ : ถ้าญาติพี่น้องเสียชีวิตกะทันหัน สิ่งหนึ่งซึ่งคนจะรู้สึกคือโดดเดี่ยว อยากได้คนช่วย อยากได้คู่คิด อยากได้เพื่อน เพราะตอนนั้นมันจะมึนไปหมด ผมเคยพบ ผมถึงรู้ว่ามันทำอะไรไม่ถูก จะเอายังไงดี เดี๋ยวต้องแจ้งตำรวจหรือเปล่า ไปโรงพยาบาลแล้วต้องทำยังไง ขั้นตอนมีอะไรบ้าง จะไปติดต่อวัดยังไง ไหนจะเรื่องโลงศพอีก คือเยอะแยะเต็มไปหมด เราคิดไม่ออกเลย ถ้ามีคนที่รู้เรื่องมาช่วยเรา ก็น่าจะดี
คือไม่ต้องพูดเรื่องงานศพหรอก ถ้าเราไปเกิดอุบัติเหตุแล้วอาการหนัก เจ๋งแค่ไหนก็ทำอะไรไม่ถูก อยากได้ใครสักคนมาช่วยเรา อันนี้อาการเดียวกัน แต่มันหนักกว่า ผมเคยไปงานศพเพื่อนร่วมงานที่ญี่ปุ่นบ้าง อเมริกาบ้าง เรายังเห็นว่า ที่เมืองนอกก็มีธุรกิจแบบนี้ แบบหาบ้านที่ดีอยู่ แบบ next life คือเราไปใช้ชีวิตใหม่เลย อย่างคนบ้านเขานี่คือเตรียมรู้เรื่องตัวเองหมด จะไปฝังที่ไหนอย่างไร เขามีเตรียมหมด รู้สึกว่าทางประกันภัยเขาก็จะช่วยด้วย หรืออย่างที่ญี่ปุ่น จากหลักๆ ติดตามแล้วเจอว่าเขามีจัดทัวร์เลยนะ มาถึงปุ๊บลองมานอนในโลงก่อนว่าชอบมั้ย สั่งโลงก่อน นอนสบายมั้ย พาไปดูที่ฝังว่าฝังที่ไหน ก็มีเตรียมตัวกัน แต่พอมาดูบ้านเราแล้ว มันขาดสิ่งนี้ไป
ในมุมมองเรา คิดว่าเจ้าภาพจะได้รับแขกสบายๆ แล้วก็ดูดีด้วย อย่างเวลาเราเห็นงานแต่งงาน เขาจะไล่นะ ตั้งแต่ประวัติในตอนเด็กจนวันแต่งงาน แต่งานศพ มีแค่กระดาษใบเดียวแล้วมานั่งอ่านแค่นั้น คือมันต่างกันเยอะเลย แล้วพอไปดูงานศพของต่างประเทศ มันก็เป็นคนละรูปแบบ จริงๆ งานศพในต่างจังหวัด จะสนุกสนานนะ เพราะถือว่ามาอยู่เป็นเพื่อนศพ แล้วจัดงาน แต่พอเป็นในเมือง ทุกอย่างเปลี่ยน ซึ่งต่างจังหวัดมันก็เศร้านะ แต่เขาก็ทำแบบรื่นเริงเพื่อให้คลายความเศร้าลงได้ แต่เราก็มีคิดนะว่า จัดยังไงแล้วให้มันดูดี ในงบประมาณที่พอๆ กับเขาทำเอง หลายคนก็เข้าใจว่าแพงกว่าเยอะแน่ๆ เผลอๆ เราถูกกว่าด้วย เพราะเราคุมได้ เราคุมแบบออร์แกไนเซอร์เลย ควบคุมและวางแผน
สิ่งเหล่านี้ คุณแนนเขามีความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว และด้วยความที่เขามีประสบการณ์ในเรื่องการจัดโชว์และโรงถ่ายหนัง ถ้ามาประยุกต์แล้วทำ คืองานศพมันก็เหมือนงานแต่งงานน่ะ งานแต่งงานมีอีเวนท์ แต่งานศพไม่มี พอนั่งคุยกันแล้ว เราก็คิดว่า งานศพก็สามารถมีอีเวนท์ได้ รูปแบบอยากได้ยังไง
• อยากจะให้ช่วยไล่ลำดับของการทำงานหน่อยครับว่าเป็นยังไง
ปราณี : เริ่มตั้งแต่ผู้เสียชีวิต เราก็เริ่มงานและเช็คเลยว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน ถ้าอยู่บ้าน เราก็จะไปบ้าน หรือถ้าเป็นโรงพยาบาลก็ไปโรงพยาบาล ไปดูว่าเขาจัดการอะไรถึงไหนแล้ว บางทีเราเข้าไป ทางโรงพยาบาลอาจจะจัดการไปแล้วบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการฉีดยาอะไรก็แล้วแต่ บางทีไปที่บ้าน จะใช้เวลาเยอะกว่า เพราะส่วนใหญ่จะต้องแจ้งความก่อน พอเรียบร้อย ตำรวจก็จะนำแพทย์มาชันสูตร ซึ่งถ้ามีการสงสัย ก็จะส่งให้นิติเวชเพื่อผ่าพิสูจน์อีกที แต่ถ้าไม่มี ก็สามารถนำส่งต่อไปที่ทำพิธีได้เลย เพื่อติดต่ออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งตรงนี้เราดำเนินการให้หมด ในระหว่างนั้น ญาติไม่รับรู้อะไรแล้ว เราก็ไปดำเนินการให้หมด ทั้งในเรื่องเอกสาร เพราะว่าเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะไปที่วัด ก็ต้องนำใบมรณบัตรไปให้วัด เนื่องจากให้เขารู้ว่าเขาเสียชีวิต เพราะเป็นอย่างงี้ๆ วัดก็จะบันทึกไว้ แล้วพอในส่วนของวัด ก็ต้องดูอีกว่า ญาติต้องการวัดแบบไหนอย่างไร
พอได้สถานที่เรียบร้อย เราก็เข้าไปดำเนินการในส่วนของวัด กำหนดวัน ว่าสวดกี่วัน จะแจ้งสำนักงานของพระ และเรื่องของพิธี ถ้าเป็นพิธีไทยก็รดน้ำ พิธีจีนก็ป้อนข้าวป้อนน้ำ ก่อนที่จะบรรจุโรงหีบ ทำตารางงานให้เขาเห็นเลยค่ะว่าแต่ละวันทำอะไรบ้าง จนถึงวันสุดท้าย คนจีนอาจจะเป็นกงเต็ก ถ้าไม่มีก็จะเป็นประเพณีไทยไป เป็นพิธีฌาปนกิจ ซึ่งถ้ามีขอพระราชทานเพลิง เราก็สามารถทำให้ได้ ในกรณีพิเศษ ในส่วนตรงนั้น เราก็สามารถจัดให้ได้ ถ้าญาติต้องการหรือมีความประสงค์ ก็ดำเนินการให้เสร็จ จนถึงขั้นตอนเก็บกระดูก หรือบางท่านอยากจะไปลอยอังคาร เราก็สามารถดูแลตรงนั้นเพิ่มเติมได้ จะเป็นพิธีทำบุญ 49 วัน 90 วัน หรือ 100 วัน ก็ทำให้ได้ ในงานจริงๆ เราจัดครบทุกอย่าง ไล่มาตั้งแต่พิธี หีบ ดอกไม้ น้ำดื่ม ทั้งรับแขกและเสิร์ฟอาหารและน้ำ คือญาติไปถึงปุ๊บ ไม่ต้องไปหาซื้อนั่นนี่ คือเขาสามารถทำงานได้ปกติ หรือแบบมีจัดทั้งภาพและวีดีโอ เราก็มีให้
อย่างในระหว่างงาน เราจะมีจอทีวีในงานนะคะ ก็จะขึ้นกำหนดการ ซึ่งบางท่านมาถึง ไม่ต้องไปถามญาติแล้ว สามารถดูที่จอได้เลย เราจะขึ้นเป็นมุมๆ ให้เห็นชัดเจน แต่ไม่ได้เกะกะขวางทาง ก็จะทำให้สวยงาม อย่างบางเคสก็จะให้ใส่รูปในระหว่างการทำกิจกรรมนู่นนี่นั่น เราก็จะทำเป็นพรีเซ็นชั่น เอาขึ้นสลับให้ เพราะมันจะมีช่วงเวลาที่แขกมาช่วงเย็นก่อนที่พระจะลง คือถ้าไม่ได้คุยกับใคร ก็จะนั่งดูนั่งอ่าน ก็จะมีบทความขึ้นสลับให้ดูเนี่ยค่ะ เรื่องของคติธรรม หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ทางญาติ อาจจะจัดหามาบางส่วน เช่น อยากให้มี มีการเขียนประวัติย่อๆ ว่าท่านเป็นใคร ก็จะขึ้นให้ ในส่วนตรงนี้ก็จะเสริมเพิ่มเติมไป เราจัดงานให้ไม่ดูเศร้าโศก แต่จะจัดในเชิงระลึกถึงผู้เสียชีวิต ในที่ๆ บางทีเราไม่รู้จักหรอกว่าเขาคือใคร พอเราไปนั่งดู ก็จะทีราบประวัติได้ว่า ท่านอายุเท่านี้นะ ท่านทำอะไรมา ก็ประมาณนั้นค่ะ
• การทำธุรกิจแบบนี้ ค่อนข้างถูกมองในแง่ลบพบสมควรทางผู้บริหารเอง มองตรงนี้ยังไงครับ
สถิตย์พงษ์ : เราเข้าใจในมุมนี้นะครับ คนไทยไม่ชอบพูดถึงความตาย แต่ถ้าเป็นคนจีน เจ้าตัวเตรียมฮวงซุ้ยเอง ไปดูเองหมด หรือแม้กระทั่งฝรั่งและญี่ปุ่นเอง ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องยากสำหรับคนไทย ซึ่งจริงๆ ธุรกิจประเภทนี้มันก็มี แต่มันอยู่ในรูปแฝง แต่ทุกคนก็หนีไม่พ้นหรอก กับสิ่งที่เราเรียนรู้ แบบสมัยใหม่ก็มีแล้วว่า ตัวเองต้องเตรียมตัวแล้ว คือญาติผมเนี่ย เขาสั่งเลยนะ ใช้โลงยังไง แต่งตัวยังไง เชิญพระวัดไหน เขาเขียนสั่งเสียหมดเลย ในรายละเอียด ซึ่งเขาบอกว่า อันนี้ก็น่าสนใจ เป็นผม ผมก็บอกเช่นกัน บอกกับที่บ้านไว้ ถ้าเกิดอะไรขึ้น ก็บอกไว้
วิริยะ : อย่างของไทยเราจะมีสุภาษิตที่ว่า ผีถึงป่าช้า หรือว่าหากินกับคนตาย จริงๆ แล้วมันมีแบบนี้ เพราะว่ารูปแบบการจัดการที่มันเปลี่ยนมาในสังคมเมือง มันไม่ชัดเจน มันไม่ได้เป็นไปในลักษณะธุรกิจที่แท้ มันจะเป็นในรูปแบบซ่อนแฝงไว้ มันเลยทำให้ความชัดเจนเลยไม่เกิด ก็จะเป็นแบบทั่วไปที่เห็นๆ กันอยู่ อย่างที่จัดงานกันอยู่ พอถึงปั๊บค่าอะไรต่างๆ จ่ายอย่างเดียวไม่ต้องต่อ อันนี้ก็เป็นในเรื่องผีถึงป่าช้า แล้วมันก็พ่วงในเรื่องที่ว่า คนไทยเรามักจะไม่ค่อยเตรียมตัว ก่อนที่จะเกิดเหตุ คือถ้าเราเตรียม เราจะรู้เลยว่าจะต้องทำอะไร แล้วมันจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สิ่งที่เข้ามาตรงนี้ มันก็มีอยู่ในส่วนที่ว่าเราจะเข้าไปในทุกอย่างชัดเจน รูปแบบเป็นแบบนี้ๆ ราคาอย่างงี้ คุณมาแต่ตัวเลย บาทเดียวคุณก็ไม่ต้องจ่ายหลังจากนี้ ในราคาตรงนี้ เราเคลียร์หมดทุกอย่าง อันนี้ในเชิงธุรกิจ ส่วนในรูปแบบที่เราเข้าไป เราก็มีการคุยเสมอว่า สิ่งที่เราเข้าไป ถึงแม้ว่าจะเป็นธุรกิจ แต่ว่า คนเสียชีวิตเราก็ต้องให้เกียรติเขา และรู้สึกว่าเขาเหมือนเป็นญาติพี่น้องเราถ้าเราคิดอย่างงี้ปั๊บ สิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราแสดงออก สิ่งที่เราช่วยเหลือเขา มันจะเป็นเรื่องดีที่ คนของเราส่วนใหญ่ พอออกไปแล้ว เขาจะมีความสุขใจที่ได้ช่วยคนอื่น จะเป็นลักษณะนั้น คือถ้ามันจะเป็นอย่างงี้ไปได้ แล้วมันมีการจัดการที่ชัดเจน ในอนาคตที่เราพูดถึง ผีถึงป่าช้า มันก็คงจะลดลง และอาจจะไม่เกิดขึ้น อาจจะเป็นรูปแบบในเชิงเหมือนต่างประเทศ
• กล่าวโดยสรุปคือ เราให้เกียรติผู้เสียชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีเป็นครั้งสุดท้าย
ธนิสา : การจัดงานศพ มันไม่ใช่งานที่จัดกันบ่อยๆ คือเป็นสิ่งที่ทุกคนที่จะเรียนรู้กัน อย่างเราไม่ค่อยพูดถึงอยู่แล้วในครอบครัว ดังนั้น เราจะไม่คุ้นเคยว่า เวลาถ้าเราเกิดเหตุการณ์จริง เราต้องทำอะไร คือนอกจากการให้เกียรติอย่างสมศักดิ์ศรีแล้ว อย่างที่ท่านทั้งหลายควรที่จะถูกจดจำในแบบที่ลูกหลานต้องการให้เป็น อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ เราอยากให้ผู้ที่จากไป ได้รับการดูแลเสมือนว่าเขาก็คือญาติของเราน่ะคะ
• พอเริ่มธุรกิจมา แน่นอนว่าเราก็อยู่กับความเป็นจริง ในเรื่องความตาย เราได้เห็นสัจธรรมในข้อนี้พอสมควร
วิริยะ: ที่จริงในทีมที่ทำกันอยู่ เราคิดคล้ายๆ กันในเรื่องพวกนี้ มันเป็นธรรมชาติในชีวิต ทุกคนเกิดมาก็ต้องไปทั้งนั้นแหละ ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้าหรอก จะเป็นด้วยพรหมลิขิตหรืออะไรก็ตาม ออกมาแนวเดียวกันหมด คล้ายๆ กัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำธุรกิจนี้ก็ตาม มันเป็นความเป็นจริงในชีวิต คือเราเห็นข้อนี้ชัดขึ้น แบบคนเราก็เท่านี้ แต่เราจะทำยังไงให้ใช้ชีวิตได้อย่างดี ส่วนเรื่องงาน เราจะทำยังไงให้ธุรกิจนี้ไปได้ เราก็ทำให้คนที่สูญเสีย วุ่นวายน้อยลง มีความสงบมากขึ้น
สถิตย์พงษ์ : จริงๆ ก็คล้ายกัน คือเมื่อผ่านงานต่างๆ สิ่งที่เราเห็นมา ชีวิตมันไม่เที่ยง ต้องเตรียมตัวและจัดการ ถ้าเราสามารถให้แต่ละคนเข้าใจและเตรียมตัวเอง ทุกอย่างก็จะราบรื่น คือที่คิดกันจริงๆ เรามีความสุขนะ ถ้าเราได้ช่วยคน มาทำสิ่งเหล่านี้ให้เขา อันนี้จากมุมมองที่เราเริ่มใหม่ๆ ที่เราเชื่อว่า มันน่าจะไปในทางนี้ และทุกคนเจอปัญหาแบบนี้ ฉะนั้น ถ้ามีคนมาช่วยดูแลให้เขาหน่อย อย่างน้อยอนาคตก็มีคนมาดูแลให้ จึงมั่นใจได้ประมาณหนึ่ง ซึ่งสัจธรรมมันหนีไม่พ้นหรอก ถ้าเรารู้ว่าหนีไม่พ้น ก็เตรียมตัว ผมว่าคนรุ่นใหม่ๆ เขารับได้ อย่างฝรั่ง หมอจะบอกเลยว่าจะอยู่ได้อีกเมื่อไหร่ พอรู้ปุ๊บ ก็จัดการให้ตัวเองเลย ซึ่งผมมองว่าแนวโน้มนี้ คนหนุ่มสาวน่าจะรับได้มากขึ้น ส่วนคนรุ่นเก่าอาจจะรับยาก
• เป้าหมายของทางกลุ่ม คิดว่าจะนำธุรกิจไปในทิศทางไหนต่อครับ
วิริยะ : สิ่งที่เราทำมันเป็นลักษณะของการเปลี่ยนวิธีการในมุมมองของสังคมในปัจจุบัน ในวิถีในการจัดงานศพ เราก็อยากจะเห็นในสิ่งที่เราทำ มันอาจจะเปลี่ยนวิถีในสังคม ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่มีปัญญาที่จะทำให้ทุกงานในประเทศได้แน่นอน แต่ถ้ามีก็คงมีแบบที่เราทำเยอะแยะมากมายมากกว่า แล้วมันเป็นแนวโน้มของสังคมที่มันจะไป เราแค่หวังจะเป็นแค่ว่า เราจะเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างหนึ่งที่คนจะมาทำ ถ้าคุณมาทำ อย่าไปคิดแค่ว่าเป็นธุรกิจอย่างเดียว ส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่ง มันก็คล้ายๆ รับใช้สังคมนะครับ เหมือนกับสัปเหร่อที่เราบอก ถ้าไม่มีเขามันก็ลำบาก คือทำยังไงที่ธุรกิจนี้ออกจากความเป็นใต้ดิน ก็เอาขึ้นมาให้ชัดเจน ให้มันเห็นชัด และเป็นรูปแบบที่มืออาชีพจริงๆ ในภาพรวมของตัวธุรกิจ แต่โดยส่วนตัวของเรา เราจะดูว่า เราจะพัฒนาไปได้แบบไหน แล้วเราสามารถทำได้เหมือนกับต่างประเทศหรือเปล่า ซึ่งในเมืองนอกถือว่าเป็นธุรกิจที่ใหญ่มาก และเขาก็มีสมาคมที่ถือว่าจับมือกันแน่นทีเดียว อันนี้ก็เป็นแนวที่เราจะพัฒนาไป
สถิตย์พงษ์ : เราเชื่อว่าเราเป็นตัวอย่างที่ในสังคมมันต้องมี และรูปแบบมืออาชีพ ไม่ใช่ในลักษณะแบบทุกวันนี้ เราต้องพัฒนารูปแบบ เราอยากให้คนเข้ามาพัฒนาและเปิดให้บริการ ผมว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องมีความตั้งใจ และเสียสละ เพราะว่างานไม่ง่าย ต้องมีเซอร์วิส มายด์ ต้องรู้ เข้าใจในจุดมุ่งหมายของบริษัท ถามว่าธุรกิจนี้จะเติบโตรวดเร็วไหม ไม่มีทาง แต่มันจะโตแบบค่อยเป็นค่อยไป
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร และ Funeral Service
จากความตายของบุคคลอันเป็นที่รักในช่วงวันหยุดยาวที่ยากเหลือเกินสำหรับการจัดงาน นำทางสู่การก่อตั้งธุรกิจที่เอื้ออำนวยความสะดวกสบายให้แก่ทั้งผู้มีชีวิตและไร้ชีวิต ในนาม กับ “Funeral Service ” (ฟิวเนอรัล เซอร์วิส) บริษัทรับจัดงานศพอย่างเป็นทางการแห่งแรกของประเทศไทย โดยมี “สถิตย์พงษ์ พรประภา”, “วิริยะ อนุจารี” และ “ปราณี เสาธงยุติธรรม” เป็นสามแกนนำตัวหลัก
• จุดเริ่มต้นบนเส้นทางรับจ้างจัดงานศพ
วิริยะ : คุณแนน-ธนิสา ติรณสวัสดิ์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง พ่อของเขาได้จากไปในวันสงกรานต์ปีหนึ่ง และเจอปัญหาเรื่องการจัดงานศพ ทั้งตามคนไม่ได้ ติดต่อใครไม่ได้ ไม่มีใครช่วย เป็นเรื่องกะทันหันและฉุกละหุกมากสำหรับเขา นอกจากความเสียใจกับการที่พ่อจากไป ยังมีปัญหาเรื่องการดำเนินการจัดงานศพด้วย ทำให้เขาเกิดความคิดว่าถ้ามีหน่วยงานที่จัดเรื่องพวกนี้ให้ทั้งหมด มันก็จะดีกับคนที่พบประสบกับเหตุการณ์ดังว่า สามารถลดความเดือดร้อนได้ในระดับหนึ่ง
ต่อมา ก็เป็นงานศพของคุณแม่ของผม คุณแนนก็มาช่วยที่งานศพของแม่ผมด้วย ผมกับคุณแนนก็คุยกันว่า จริงๆ แล้ว มองในแง่ธุรกิจมันเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เรารู้กันอยู่แล้วว่าทุกคนยังไงก็ต้องตาย แต่พิธีการจัดงานศพ ระหว่างในไทยกับต่างประเทศ มันคนละรูปแบบ แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ขณะที่ในอดีต ถ้าจัดก็เป็นแบบบ้านนั้นมาช่วยบ้านนี้ สังคมมันเกื้อกูลกัน ก็ไม่ค่อยมีปัญหานัก สมมุติว่าพ่อคนหนึ่งเสียตอนวันสงกรานต์ ก็ยังมีคนมาช่วยเหลือและจัดการได้ แต่พอมาอยู่ในสังคมเมือง รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้ไม่สามารถที่จะทำแบบนั้นได้ ตอนนี้คนในเมืองที่รู้พิธีศพก็มีไม่เยอะ จะไปจัดการแบบไม่มีประสบการณ์เลยก็ไม่ได้ ผมก็เลยคุยกับคุณแนนในแง่ของธุรกิจ จากนั้นคุณแนนก็ตั้งทีมมา แล้วพบกับคุณสถิตย์พงษ์ แล้วก็เริ่มทำธุรกิจนี้กันมาตั้งแต่นั้น
สถิตย์พงษ์ : ถ้าญาติพี่น้องเสียชีวิตกะทันหัน สิ่งหนึ่งซึ่งคนจะรู้สึกคือโดดเดี่ยว อยากได้คนช่วย อยากได้คู่คิด อยากได้เพื่อน เพราะตอนนั้นมันจะมึนไปหมด ผมเคยพบ ผมถึงรู้ว่ามันทำอะไรไม่ถูก จะเอายังไงดี เดี๋ยวต้องแจ้งตำรวจหรือเปล่า ไปโรงพยาบาลแล้วต้องทำยังไง ขั้นตอนมีอะไรบ้าง จะไปติดต่อวัดยังไง ไหนจะเรื่องโลงศพอีก คือเยอะแยะเต็มไปหมด เราคิดไม่ออกเลย ถ้ามีคนที่รู้เรื่องมาช่วยเรา ก็น่าจะดี
คือไม่ต้องพูดเรื่องงานศพหรอก ถ้าเราไปเกิดอุบัติเหตุแล้วอาการหนัก เจ๋งแค่ไหนก็ทำอะไรไม่ถูก อยากได้ใครสักคนมาช่วยเรา อันนี้อาการเดียวกัน แต่มันหนักกว่า ผมเคยไปงานศพเพื่อนร่วมงานที่ญี่ปุ่นบ้าง อเมริกาบ้าง เรายังเห็นว่า ที่เมืองนอกก็มีธุรกิจแบบนี้ แบบหาบ้านที่ดีอยู่ แบบ next life คือเราไปใช้ชีวิตใหม่เลย อย่างคนบ้านเขานี่คือเตรียมรู้เรื่องตัวเองหมด จะไปฝังที่ไหนอย่างไร เขามีเตรียมหมด รู้สึกว่าทางประกันภัยเขาก็จะช่วยด้วย หรืออย่างที่ญี่ปุ่น จากหลักๆ ติดตามแล้วเจอว่าเขามีจัดทัวร์เลยนะ มาถึงปุ๊บลองมานอนในโลงก่อนว่าชอบมั้ย สั่งโลงก่อน นอนสบายมั้ย พาไปดูที่ฝังว่าฝังที่ไหน ก็มีเตรียมตัวกัน แต่พอมาดูบ้านเราแล้ว มันขาดสิ่งนี้ไป
ในมุมมองเรา คิดว่าเจ้าภาพจะได้รับแขกสบายๆ แล้วก็ดูดีด้วย อย่างเวลาเราเห็นงานแต่งงาน เขาจะไล่นะ ตั้งแต่ประวัติในตอนเด็กจนวันแต่งงาน แต่งานศพ มีแค่กระดาษใบเดียวแล้วมานั่งอ่านแค่นั้น คือมันต่างกันเยอะเลย แล้วพอไปดูงานศพของต่างประเทศ มันก็เป็นคนละรูปแบบ จริงๆ งานศพในต่างจังหวัด จะสนุกสนานนะ เพราะถือว่ามาอยู่เป็นเพื่อนศพ แล้วจัดงาน แต่พอเป็นในเมือง ทุกอย่างเปลี่ยน ซึ่งต่างจังหวัดมันก็เศร้านะ แต่เขาก็ทำแบบรื่นเริงเพื่อให้คลายความเศร้าลงได้ แต่เราก็มีคิดนะว่า จัดยังไงแล้วให้มันดูดี ในงบประมาณที่พอๆ กับเขาทำเอง หลายคนก็เข้าใจว่าแพงกว่าเยอะแน่ๆ เผลอๆ เราถูกกว่าด้วย เพราะเราคุมได้ เราคุมแบบออร์แกไนเซอร์เลย ควบคุมและวางแผน
สิ่งเหล่านี้ คุณแนนเขามีความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว และด้วยความที่เขามีประสบการณ์ในเรื่องการจัดโชว์และโรงถ่ายหนัง ถ้ามาประยุกต์แล้วทำ คืองานศพมันก็เหมือนงานแต่งงานน่ะ งานแต่งงานมีอีเวนท์ แต่งานศพไม่มี พอนั่งคุยกันแล้ว เราก็คิดว่า งานศพก็สามารถมีอีเวนท์ได้ รูปแบบอยากได้ยังไง
• อยากจะให้ช่วยไล่ลำดับของการทำงานหน่อยครับว่าเป็นยังไง
ปราณี : เริ่มตั้งแต่ผู้เสียชีวิต เราก็เริ่มงานและเช็คเลยว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน ถ้าอยู่บ้าน เราก็จะไปบ้าน หรือถ้าเป็นโรงพยาบาลก็ไปโรงพยาบาล ไปดูว่าเขาจัดการอะไรถึงไหนแล้ว บางทีเราเข้าไป ทางโรงพยาบาลอาจจะจัดการไปแล้วบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการฉีดยาอะไรก็แล้วแต่ บางทีไปที่บ้าน จะใช้เวลาเยอะกว่า เพราะส่วนใหญ่จะต้องแจ้งความก่อน พอเรียบร้อย ตำรวจก็จะนำแพทย์มาชันสูตร ซึ่งถ้ามีการสงสัย ก็จะส่งให้นิติเวชเพื่อผ่าพิสูจน์อีกที แต่ถ้าไม่มี ก็สามารถนำส่งต่อไปที่ทำพิธีได้เลย เพื่อติดต่ออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งตรงนี้เราดำเนินการให้หมด ในระหว่างนั้น ญาติไม่รับรู้อะไรแล้ว เราก็ไปดำเนินการให้หมด ทั้งในเรื่องเอกสาร เพราะว่าเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะไปที่วัด ก็ต้องนำใบมรณบัตรไปให้วัด เนื่องจากให้เขารู้ว่าเขาเสียชีวิต เพราะเป็นอย่างงี้ๆ วัดก็จะบันทึกไว้ แล้วพอในส่วนของวัด ก็ต้องดูอีกว่า ญาติต้องการวัดแบบไหนอย่างไร
พอได้สถานที่เรียบร้อย เราก็เข้าไปดำเนินการในส่วนของวัด กำหนดวัน ว่าสวดกี่วัน จะแจ้งสำนักงานของพระ และเรื่องของพิธี ถ้าเป็นพิธีไทยก็รดน้ำ พิธีจีนก็ป้อนข้าวป้อนน้ำ ก่อนที่จะบรรจุโรงหีบ ทำตารางงานให้เขาเห็นเลยค่ะว่าแต่ละวันทำอะไรบ้าง จนถึงวันสุดท้าย คนจีนอาจจะเป็นกงเต็ก ถ้าไม่มีก็จะเป็นประเพณีไทยไป เป็นพิธีฌาปนกิจ ซึ่งถ้ามีขอพระราชทานเพลิง เราก็สามารถทำให้ได้ ในกรณีพิเศษ ในส่วนตรงนั้น เราก็สามารถจัดให้ได้ ถ้าญาติต้องการหรือมีความประสงค์ ก็ดำเนินการให้เสร็จ จนถึงขั้นตอนเก็บกระดูก หรือบางท่านอยากจะไปลอยอังคาร เราก็สามารถดูแลตรงนั้นเพิ่มเติมได้ จะเป็นพิธีทำบุญ 49 วัน 90 วัน หรือ 100 วัน ก็ทำให้ได้ ในงานจริงๆ เราจัดครบทุกอย่าง ไล่มาตั้งแต่พิธี หีบ ดอกไม้ น้ำดื่ม ทั้งรับแขกและเสิร์ฟอาหารและน้ำ คือญาติไปถึงปุ๊บ ไม่ต้องไปหาซื้อนั่นนี่ คือเขาสามารถทำงานได้ปกติ หรือแบบมีจัดทั้งภาพและวีดีโอ เราก็มีให้
อย่างในระหว่างงาน เราจะมีจอทีวีในงานนะคะ ก็จะขึ้นกำหนดการ ซึ่งบางท่านมาถึง ไม่ต้องไปถามญาติแล้ว สามารถดูที่จอได้เลย เราจะขึ้นเป็นมุมๆ ให้เห็นชัดเจน แต่ไม่ได้เกะกะขวางทาง ก็จะทำให้สวยงาม อย่างบางเคสก็จะให้ใส่รูปในระหว่างการทำกิจกรรมนู่นนี่นั่น เราก็จะทำเป็นพรีเซ็นชั่น เอาขึ้นสลับให้ เพราะมันจะมีช่วงเวลาที่แขกมาช่วงเย็นก่อนที่พระจะลง คือถ้าไม่ได้คุยกับใคร ก็จะนั่งดูนั่งอ่าน ก็จะมีบทความขึ้นสลับให้ดูเนี่ยค่ะ เรื่องของคติธรรม หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ทางญาติ อาจจะจัดหามาบางส่วน เช่น อยากให้มี มีการเขียนประวัติย่อๆ ว่าท่านเป็นใคร ก็จะขึ้นให้ ในส่วนตรงนี้ก็จะเสริมเพิ่มเติมไป เราจัดงานให้ไม่ดูเศร้าโศก แต่จะจัดในเชิงระลึกถึงผู้เสียชีวิต ในที่ๆ บางทีเราไม่รู้จักหรอกว่าเขาคือใคร พอเราไปนั่งดู ก็จะทีราบประวัติได้ว่า ท่านอายุเท่านี้นะ ท่านทำอะไรมา ก็ประมาณนั้นค่ะ
• การทำธุรกิจแบบนี้ ค่อนข้างถูกมองในแง่ลบพบสมควรทางผู้บริหารเอง มองตรงนี้ยังไงครับ
สถิตย์พงษ์ : เราเข้าใจในมุมนี้นะครับ คนไทยไม่ชอบพูดถึงความตาย แต่ถ้าเป็นคนจีน เจ้าตัวเตรียมฮวงซุ้ยเอง ไปดูเองหมด หรือแม้กระทั่งฝรั่งและญี่ปุ่นเอง ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องยากสำหรับคนไทย ซึ่งจริงๆ ธุรกิจประเภทนี้มันก็มี แต่มันอยู่ในรูปแฝง แต่ทุกคนก็หนีไม่พ้นหรอก กับสิ่งที่เราเรียนรู้ แบบสมัยใหม่ก็มีแล้วว่า ตัวเองต้องเตรียมตัวแล้ว คือญาติผมเนี่ย เขาสั่งเลยนะ ใช้โลงยังไง แต่งตัวยังไง เชิญพระวัดไหน เขาเขียนสั่งเสียหมดเลย ในรายละเอียด ซึ่งเขาบอกว่า อันนี้ก็น่าสนใจ เป็นผม ผมก็บอกเช่นกัน บอกกับที่บ้านไว้ ถ้าเกิดอะไรขึ้น ก็บอกไว้
วิริยะ : อย่างของไทยเราจะมีสุภาษิตที่ว่า ผีถึงป่าช้า หรือว่าหากินกับคนตาย จริงๆ แล้วมันมีแบบนี้ เพราะว่ารูปแบบการจัดการที่มันเปลี่ยนมาในสังคมเมือง มันไม่ชัดเจน มันไม่ได้เป็นไปในลักษณะธุรกิจที่แท้ มันจะเป็นในรูปแบบซ่อนแฝงไว้ มันเลยทำให้ความชัดเจนเลยไม่เกิด ก็จะเป็นแบบทั่วไปที่เห็นๆ กันอยู่ อย่างที่จัดงานกันอยู่ พอถึงปั๊บค่าอะไรต่างๆ จ่ายอย่างเดียวไม่ต้องต่อ อันนี้ก็เป็นในเรื่องผีถึงป่าช้า แล้วมันก็พ่วงในเรื่องที่ว่า คนไทยเรามักจะไม่ค่อยเตรียมตัว ก่อนที่จะเกิดเหตุ คือถ้าเราเตรียม เราจะรู้เลยว่าจะต้องทำอะไร แล้วมันจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สิ่งที่เข้ามาตรงนี้ มันก็มีอยู่ในส่วนที่ว่าเราจะเข้าไปในทุกอย่างชัดเจน รูปแบบเป็นแบบนี้ๆ ราคาอย่างงี้ คุณมาแต่ตัวเลย บาทเดียวคุณก็ไม่ต้องจ่ายหลังจากนี้ ในราคาตรงนี้ เราเคลียร์หมดทุกอย่าง อันนี้ในเชิงธุรกิจ ส่วนในรูปแบบที่เราเข้าไป เราก็มีการคุยเสมอว่า สิ่งที่เราเข้าไป ถึงแม้ว่าจะเป็นธุรกิจ แต่ว่า คนเสียชีวิตเราก็ต้องให้เกียรติเขา และรู้สึกว่าเขาเหมือนเป็นญาติพี่น้องเราถ้าเราคิดอย่างงี้ปั๊บ สิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราแสดงออก สิ่งที่เราช่วยเหลือเขา มันจะเป็นเรื่องดีที่ คนของเราส่วนใหญ่ พอออกไปแล้ว เขาจะมีความสุขใจที่ได้ช่วยคนอื่น จะเป็นลักษณะนั้น คือถ้ามันจะเป็นอย่างงี้ไปได้ แล้วมันมีการจัดการที่ชัดเจน ในอนาคตที่เราพูดถึง ผีถึงป่าช้า มันก็คงจะลดลง และอาจจะไม่เกิดขึ้น อาจจะเป็นรูปแบบในเชิงเหมือนต่างประเทศ
• กล่าวโดยสรุปคือ เราให้เกียรติผู้เสียชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีเป็นครั้งสุดท้าย
ธนิสา : การจัดงานศพ มันไม่ใช่งานที่จัดกันบ่อยๆ คือเป็นสิ่งที่ทุกคนที่จะเรียนรู้กัน อย่างเราไม่ค่อยพูดถึงอยู่แล้วในครอบครัว ดังนั้น เราจะไม่คุ้นเคยว่า เวลาถ้าเราเกิดเหตุการณ์จริง เราต้องทำอะไร คือนอกจากการให้เกียรติอย่างสมศักดิ์ศรีแล้ว อย่างที่ท่านทั้งหลายควรที่จะถูกจดจำในแบบที่ลูกหลานต้องการให้เป็น อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ เราอยากให้ผู้ที่จากไป ได้รับการดูแลเสมือนว่าเขาก็คือญาติของเราน่ะคะ
• พอเริ่มธุรกิจมา แน่นอนว่าเราก็อยู่กับความเป็นจริง ในเรื่องความตาย เราได้เห็นสัจธรรมในข้อนี้พอสมควร
วิริยะ: ที่จริงในทีมที่ทำกันอยู่ เราคิดคล้ายๆ กันในเรื่องพวกนี้ มันเป็นธรรมชาติในชีวิต ทุกคนเกิดมาก็ต้องไปทั้งนั้นแหละ ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้าหรอก จะเป็นด้วยพรหมลิขิตหรืออะไรก็ตาม ออกมาแนวเดียวกันหมด คล้ายๆ กัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำธุรกิจนี้ก็ตาม มันเป็นความเป็นจริงในชีวิต คือเราเห็นข้อนี้ชัดขึ้น แบบคนเราก็เท่านี้ แต่เราจะทำยังไงให้ใช้ชีวิตได้อย่างดี ส่วนเรื่องงาน เราจะทำยังไงให้ธุรกิจนี้ไปได้ เราก็ทำให้คนที่สูญเสีย วุ่นวายน้อยลง มีความสงบมากขึ้น
สถิตย์พงษ์ : จริงๆ ก็คล้ายกัน คือเมื่อผ่านงานต่างๆ สิ่งที่เราเห็นมา ชีวิตมันไม่เที่ยง ต้องเตรียมตัวและจัดการ ถ้าเราสามารถให้แต่ละคนเข้าใจและเตรียมตัวเอง ทุกอย่างก็จะราบรื่น คือที่คิดกันจริงๆ เรามีความสุขนะ ถ้าเราได้ช่วยคน มาทำสิ่งเหล่านี้ให้เขา อันนี้จากมุมมองที่เราเริ่มใหม่ๆ ที่เราเชื่อว่า มันน่าจะไปในทางนี้ และทุกคนเจอปัญหาแบบนี้ ฉะนั้น ถ้ามีคนมาช่วยดูแลให้เขาหน่อย อย่างน้อยอนาคตก็มีคนมาดูแลให้ จึงมั่นใจได้ประมาณหนึ่ง ซึ่งสัจธรรมมันหนีไม่พ้นหรอก ถ้าเรารู้ว่าหนีไม่พ้น ก็เตรียมตัว ผมว่าคนรุ่นใหม่ๆ เขารับได้ อย่างฝรั่ง หมอจะบอกเลยว่าจะอยู่ได้อีกเมื่อไหร่ พอรู้ปุ๊บ ก็จัดการให้ตัวเองเลย ซึ่งผมมองว่าแนวโน้มนี้ คนหนุ่มสาวน่าจะรับได้มากขึ้น ส่วนคนรุ่นเก่าอาจจะรับยาก
• เป้าหมายของทางกลุ่ม คิดว่าจะนำธุรกิจไปในทิศทางไหนต่อครับ
วิริยะ : สิ่งที่เราทำมันเป็นลักษณะของการเปลี่ยนวิธีการในมุมมองของสังคมในปัจจุบัน ในวิถีในการจัดงานศพ เราก็อยากจะเห็นในสิ่งที่เราทำ มันอาจจะเปลี่ยนวิถีในสังคม ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่มีปัญญาที่จะทำให้ทุกงานในประเทศได้แน่นอน แต่ถ้ามีก็คงมีแบบที่เราทำเยอะแยะมากมายมากกว่า แล้วมันเป็นแนวโน้มของสังคมที่มันจะไป เราแค่หวังจะเป็นแค่ว่า เราจะเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างหนึ่งที่คนจะมาทำ ถ้าคุณมาทำ อย่าไปคิดแค่ว่าเป็นธุรกิจอย่างเดียว ส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่ง มันก็คล้ายๆ รับใช้สังคมนะครับ เหมือนกับสัปเหร่อที่เราบอก ถ้าไม่มีเขามันก็ลำบาก คือทำยังไงที่ธุรกิจนี้ออกจากความเป็นใต้ดิน ก็เอาขึ้นมาให้ชัดเจน ให้มันเห็นชัด และเป็นรูปแบบที่มืออาชีพจริงๆ ในภาพรวมของตัวธุรกิจ แต่โดยส่วนตัวของเรา เราจะดูว่า เราจะพัฒนาไปได้แบบไหน แล้วเราสามารถทำได้เหมือนกับต่างประเทศหรือเปล่า ซึ่งในเมืองนอกถือว่าเป็นธุรกิจที่ใหญ่มาก และเขาก็มีสมาคมที่ถือว่าจับมือกันแน่นทีเดียว อันนี้ก็เป็นแนวที่เราจะพัฒนาไป
สถิตย์พงษ์ : เราเชื่อว่าเราเป็นตัวอย่างที่ในสังคมมันต้องมี และรูปแบบมืออาชีพ ไม่ใช่ในลักษณะแบบทุกวันนี้ เราต้องพัฒนารูปแบบ เราอยากให้คนเข้ามาพัฒนาและเปิดให้บริการ ผมว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องมีความตั้งใจ และเสียสละ เพราะว่างานไม่ง่าย ต้องมีเซอร์วิส มายด์ ต้องรู้ เข้าใจในจุดมุ่งหมายของบริษัท ถามว่าธุรกิจนี้จะเติบโตรวดเร็วไหม ไม่มีทาง แต่มันจะโตแบบค่อยเป็นค่อยไป
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร และ Funeral Service