ใช่ว่าจะกล่าวถมทับบลัฟใคร แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ถั่วแระ เชิญยิ้ม คือตลกที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมากที่สุดคนหนึ่ง กว่า 30 ปีที่ยืนหยัดบนทางสายนี้ เขามีวิธีคิดและบริหารชีวิตตนเองอย่างไร ไม่ให้ล้มเหลวตกต่ำ กระทั่งได้รับการยอมรับในฐานะนายกสมาคมศิลปินตลก(ประเทศไทย)
ในแวดวงวงตลกของบ้านเรา “ศรสุทธา กลั่นมาลี” หรือ “ถั่วแระ เชิญยิ้ม” คือหนึ่งในนามที่ทุกคนจะนึกถึงเป็นลำดับต้นๆ ด้วยภาพลักษณ์ที่ใส่ผ้าโพกหัว ไว้หนวดเคราราวกับนักร้องเพื่อชีวิตซึ่งกลายเป็นที่จดจำให้กับใครหลายคนได้เป็นอย่างดีตลอดระยะเวลาร่วม 30 ปีบนเส้นทางสายนี้
จากอดีตนายช่าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้คอยดูแลเครื่องจักรกลในโรงงานตัดสินใจมุ่งสู่การเป็นตลก จนต่อยอดไปสู่การเป็นเชียร์ลีดเดอร์ให้กับนักกีฬาทีมชาติไทย และอีกหลากหน้าที่ หลายตำแหน่ง ทั้งนายกสมาคมศิลปินตลก (ประเทศไทย), เจ้าของกิจการร้านอาหาร “ครัวถั่วแระ” ที่อยู่ได้และอยู่ดีมาตลอดสิบกว่าปี รวมถึงงานจิตอาสาอีกมากมาย ทั้งหมดนี้ จะกล่าวเป็นอื่นอย่างไรไปได้ ถ้าไม่ใช่ว่า เขาคือคนอีกหนึ่งคนซึ่งควรแก่การแสดงความชื่นชม...
ดูแลตัวเองได้ ช่วยเหลือคนอื่นได้
นี่ล่ะความหมายของชีวิตตลกถั่วแระ
หากนำตารางงานของ “ศรสุทธา” มากางให้ชมแล้ว หลายคนคงตกใจกับหมายงานที่แทบไม่มีวันหยุด นอกจากการแสดง เขายังมีงานอื่นอีกมากมายที่ต้องไปร่วม ทั้งงานการกุศล งานสังคม หรืองานจิตอาสา แต่ก็อย่างว่า ต่อให้มากมายเพียงใด ถั่วแระก็เอาอยู่
“ก็ค่อนข้างที่จะควบคุมได้นะครับ และเราก็ไม่รู้ว่าชีวิตของศิลปินมันจะเป็นแบบไหน เราเริ่มถอยหรือยัง เราเริ่มอ่อนพลังลงหรือยัง ขาลงหรือยัง และมันย่อมมีคลื่นลูกใหม่ซึ่งจะมาแทนที่เรา เราก็ต้องบูมตัวเองขึ้นไปให้อยู่ในปัจจุบันให้ได้ คือถ้าเราหลุดจากการเป็นตลก เราก็อาจจะต้องขาดอะไรไปอย่างหนึ่ง ธุรกิจร้านอาหารก็อาจต้องเสียไปด้วย แต่เราจะทำยังไงเพื่อไม่ให้ธุรกิจของร้านถอยหลังลงไป เราก็ต้องบูม เราต้องทำ เพื่อให้ร้านอยู่ได้ ต้องทำเต็มที่สองอย่างเลยครับ ทั้งแสดงตลกและร้านอาหาร
“นอกจากการเป็นนายกสมาคมตลกฯ แล้ว ผมยังเป็นจิตอาสาอีก เป็นจิตอาสาของสังคม ทำงานให้ประเทศ ทำงานให้แผ่นดิน ทำงานให้สังคมเกี่ยวกับเรื่องเกิดแก่เจ็บตาย เราต้องแบ่งและบริหารตัวเองให้ได้ เช้าขึ้นมามาดูแลร้านจนถึงบ่ายสอง ก็จะไปสมาคมเพื่อไปดูงานที่นั่น พอออกมา เราต้องมานั่งดูคิวงานว่า วันนี้มีงานจิตอาสาอะไรมั้ย ถ้ามีก็ไปทำงานนั้น หรือก่อนบ่ายสอง เรามีงานจิตอาสามั้ย ต้องไปช่วยน้ำท่วม ไฟไหม้ มีแจกข้าวสารกับทางร่วมกตัญญูหรือปอเต็กตึ๊งมั้ย หรือมีงานวันเกิด งานแต่งงาน งานสังคมอะไรต่างๆ มั้ย หลังจาก 6 โมงเย็นแล้ว ต้องแบ่งเวลา ต้องจดลงไว้นะ งานทุกอย่าง ต้องไปอีกนะ เดี๋ยวนี้เพิ่มงานอีกแล้ว เพราะว่าผมทำวงรำวงร่วมสมัยให้กับทางสมาคม
“การทำงานในสมาคมถือว่าหนักเลยครับ เพราะมีแต่คนทุกข์ร้อน มีแต่คนต้องการนั่นนี่ มีปัญหาต่างๆ ก็มาร้องที่สมาคมให้ไปช่วยเหลือ เราก็ต้องไปคุยกับเขา สมาคมมีกฎระเบียบ ต้องเดินตามระเบียบที่ตั้ง ใครที่เป็นสมาชิก เราควรจะดูแล แต่ใครที่ไม่ใช่ เราก็ดูแล แต่น้อยกว่าคนที่เป็นสมาชิก แล้วที่ช่วยไปแล้ว จะยังไงต่อ สมมุติว่าหายแล้ว ต้องดูแลถึงไหน เขามีญาติพี่น้องหรือเปล่า หรือครอบครัวเขาเองเป็นยังไง ลูกเต้าเคยสนใจมั้ย ไม่ใช่เย็นมานั่งกินเหล้าหน้าบ้าน พ่อเขาป่วยอยู่ข้างใน มันก็ไม่ใช่ สังคมมันต้องดูกว้างๆหน่อย ฉะนั้น ถามก่อนสิว่ายังไง ไม่ใช่เอะอะก็ร้องสื่อ แล้วอาชีพที่คุณทำนั้น คุณทำจริงหรือเปล่า สภาพร่างกายคุณไม่ไหว แล้วบอกว่าคุณไปเก็บขยะ คุณไปดูถูกอาชีพนี้ไม่ได้นะ รวยเป็นเศรษฐีมาไม่รู้กี่คนแล้วนะ สำคัญก็คือคุณทำถึงหรือเปล่าล่ะ ฉะนั้น บุคคลเหล่านี้มาร้องแรกแหกกระเชอกับผม ผมก็ไม่รู้จะช่วยยังไงเหมือนกัน ก็ต้องว่าไปตามกฎระเบียบของสมาคม ช่วยได้ช่วย ทุนส่วนตัวยังได้เลย แต่ช่วยในระดับหนึ่ง
“อย่างบางราย เราก็รู้ว่าเขาก็ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บางคนป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นเส้นโลหิตในสมองแตก หรือบางรายขาดญาติไร้มิตรด้วย มันก็เลยไปกันใหญ่ ซึ่งเราก็กลัวเหมือนกันว่าอาจจะเป็นแบบนั้นก็ได้ในซักวันหนึ่ง และถ้าเราเป็นแล้ว ครอบครัวเราจะเป็นยังไง พี่น้องผมมีมั้ย ชาติตระกูลผมมีหรือเปล่า สำคัญมาก แต่คนที่ไม่มีที่พึ่งเลย คนที่ไม่รู้จะช่วยตัวเองยังไง เราก็สงสารอยู่ แต่เขาก็ต้องดูแลตัวเองด้วย
“อย่างบางคน ตอนที่เขารุ่งๆ เขาก็ไม่ได้คิดว่าควรจะเก็บจะออมหรืออะไรยังไง ผมตำหนิพวกเขามานานแสนนานแล้วว่า บางทีเลิกตีสามหรือตีสอง เขาถึงบ้าน 9 โมงเช้า หลังเลิกงานเขาไปไหนมา แล้วเขาก็มานอน นอนแล้วเย็นก็ออกไปทำงาน วันๆ หนึ่ง เขาได้อะไรไปบ้าง ทำไมไม่รีบกลับบ้านล่ะ เอาเงินไปไหน ทำไมไม่ให้ลูกเมีย พอเจ็บป่วย หรือไม่มีขึ้นมา ก็ร้องขอความช่วยเหลือ เราก็มีโดนอีกนะว่า “พี่ไม่เป็นอย่างผม พี่ไม่รู้หรอก” เราก็หนักใจเหมือนกันนะ เพราะฉะนั้น เราทำไง ชีวิตใครชีวิตมัน อย่างงั้นหรือเปล่า เราทำได้มั้ย ถ้าเรายังมีตำแหน่งและฐานะการงานอยู่อย่างนี้ เราก็ทำไม่ได้ แต่เราก็ต้องหาวิธีว่าทำยังไงถึงจะช่วยเขาได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ไหน เราต้องช่วย ไม่ใช่ไม่ช่วย”
เด็กขายผลไม้-ชายหนุ่มโรงงาน
ลุยมาแล้วทุกรูปแบบ
“ผมก็เป็นเด็กจนๆ ธรรมดาคนหนึ่ง ไม่ได้หรูหราอะไร ไม่ได้เกิดจากกองเงินกองทองอะไร มีพี่น้อง 5 คน ผมเป็นคนสุดท้อง มีพี่ชาย 3 พี่สาว 1เกิดมาในย่านสะพานควาย พ่อของผมทำงานเป็นพนักงานขับรถรับส่งพนักงานเดินอากาศไทย แล้วเปลี่ยนมาเป็น “แพนแอม” จนกระทั่งเกษียณ ส่วนแม่ก็เป็นแม่บ้าน ปากกัดตีนถีบมาตลอด คือลำบากมาตั้งแต่เด็ก แต่ตอนนั้นก็มีหัวทางด้านการค้า ก็เริ่มทำมาหากิน เริ่มตั้งแต่ขายไอติม ขายเรียงเบอร์ ในช่วงตอน ป.5-ป.6 จนถึงช่วงปิดเทอม จากนั้นก็มาเข็นผลไม้ขาย เมื่อก่อนไม่มีรถกระบะหรอก จะเป็นการใช้เข็นเอา ขาไปเอาผลไม้จากมหาชัยแล้วเข็นย้อนกลับมาขายกรุงเทพฯ เข็นมาเรื่อย แวะซอกซอยต่างๆ พอของหมด ก็โทรให้รถมารับ
“เงินที่ได้จากการค้าขายส่วนหนึ่งก็มาเป็นค่าหนังสือ ค่าเสื้อผ้าไปโรงเรียน ก็ขายมาเรื่อยๆ คือพอถึงช่วงปิดเทอมที ก็ไปเช่ารถเขา กว้านหาซื้อจักรยานประมาณ 10 คัน แล้วซ่อม ก็มาให้เขาเช่า ชั่วโมงละ 3 บาท เปิดร้านซ่อมด้วย ให้เช่าไปด้วย จากนั้นก็ขายต้นไม้ ตอนนั้นก็ซื้อว่านไปขายที่สนามหลวง เมื่อก่อนเขาจะมีตลาดนัด บางจังหวะก็ไปช่วยคนเขาเก็บผ้าใบโยง เขาก็ให้มา 50 บาท ก็ไปทำกับเพื่อน นี่คือช่วงชีวิตในวัยเด็ก”
ด้วยสภาวะทางครอบครัวที่ค่อนข้างลำบาก จึงทำให้ศรสุทธา หรือ “ปาน” น้องชายคนสุดท้องของพี่ๆ ต้องทำงานหารายได้พิเศษในช่วงเวลาที่ว่างเว้นจากการเรียน เพื่อนำรายได้มาช่วยแบ่งเบาภาระให้กับครอบครัว
“แต่เราก็ใช้ชีวิตปกติ เรียนหนังสือเหมือนคนทั่วๆ ไป ก็ไม่มีความฝันอะไรหรอก เรารู้ตัวว่าเราเรียนไม่ทันเพื่อน สมองเราไม่ได้เลอเลิศอะไร เมื่อก่อนเรียนเป็นเปอร์เซ็นต์นะ 50 เปอร์เซ็นต์ตลอด พอมีความฝันบ้างก็คืออยากเป็นนักร้อง เคยฝึกร้องเพลง แต่ก็ไปไม่ถึงดวงดาว พอจะมาจับเครื่องดนตรี พ่อเราก็ด่า พี่ๆ ก็ยังว่า ว่าหนังสือหนังหาไม่ดู หรือเวลาเราซื้อเมาท์ออร์แกนมาเป่าเล่น จำได้เลยว่าเพลงของพี่ชินกร ไกรลาศ ตอนนั้นมีการแข่งขันร้องเพลงของพี่แกทุกสถานีเลย (เพลง “ลิลิตพระลอ”) ก็ไปไม่ถึงดวงดาว เลยมาเล่นฟุตบอล ก็หวังว่าจะติดทีมชาติบ้าง ได้เล่นถ้วย ก. ถ้วย ข. ในตอนนั้น จนคิดว่าน่าจะแข่งขันเพื่อให้ไปติดทีมชาติ แต่พ่อผมก็ไม่สนับสนุนเรื่องนี้ คือพ่อสามารถย้ายที่อยู่เราเพื่อไม่ให้เราเล่นบอล ย้ายที่อยู่ ซื้อบ้าน จากสะพานควาย ย้ายมาอยู่ซอยเขมา เพื่อไม่ให้ลูกเล่นบอล แต่ในใจเขาคงไม่ได้คิดอย่างงั้น เขากลัวว่าเราจะติดยาเสพติดมากกว่า คือกลับจากโรงเรียน หรือวันเสาร์อาทิตย์ ก็ไปเตะบอล กลับบ้านก็ทุ่มสองทุ่ม แล้วบริเวณนั้นก็มีแต่พวกติดยาไง พ่อเขากลัว
“ยังไงก็ตาม เราก็เล่นฟุตบอลให้โรงเรียน เล่นบอลประชาชน เมื่อก่อนฟุตบอลดังๆ เขาเล่นกันที่สนามหลวงนะ แข่งกันฝุ่นตลบเลย เราอยากจะไปให้ถึงตรงนั้น แต่พ่อก็ไม่สนับสนุนอีก เลยเป็นแค่ตัวโรงเรียน พอมาอยู่ที่ใหม่ เราเห็นเขาเล่นบอล เราก็อยากเล่น เราก็ไปยืนดูเขา พอได้โอกาสก็ขอเขาเล่นด้วย วันรุ่งขึ้น ถูกตามตัวไปเล่นเลย เพราะว่าเห็นฝีมือเราไง ไปตามถึงบ้านเลย ให้มาเล่นต่อ (หัวเราะเบาๆ) คือพูดง่ายๆ ว่าเราเรียนจบได้เพราะว่าเป็นนักกีฬาของโรงเรียน ไล่มาตั้งแต่ที่ผดุงศิษย์พิทยา สาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ จนถึงช่างกลบางซ่อน ชีวิตในโรงเรียน ก็จะมีแต่เรื่องกีฬา และเรื่องตลกโปกฮา ทำทุกอย่างเพื่อให้สอบผ่าน ไม่งั้นไม่รอด และเป็นกิจกรรมอย่างเดียวของเราในตอนนั้น เรื่องกีฬาก็คือที่ 1 เลย เล่นหมด วอลเลย์บอลก็เล่น
“หลังจากเรียนจบ มาทำงานที่แรกคือองค์การทอผ้า ตรงเกียกกาย ตอนนั้นเป็นโรงงานของรัฐบาล ตอนเข้าไปก็ไม่ได้เอาวุฒิจบ ปวช. ไป ก็ไปแบกกล่อง แบกขยะ แบกผ้าเป็นมัดๆ ไป อยู่ได้หนึ่งเดือน ค่อยเอาวุฒิไปเทียบ ก็เลยได้เป็นช่างดูแลรักษาเครื่องจักร เงินเดือนประมาณ 1,800 บาท เมื่อประมาณ 40 ปีก่อนก็ถือว่าค่อนข้างมาก จากนั้นก็ย้ายไปอยู่ โอสถสภา ตอนแรกก็ไปอยู่ในห้องซิกก่อน มันจะเป็นห้องที่ทำยาทัมใจ ไปเป็นคนยกข้าวของปกติแหละ หลังจากนั้นเอาวุฒิไปเทียบอีก เจ้านายชื่อพี่วรพจน์ก็ให้เราได้อยู่ในแผนกดูแลบำรุงเครื่องจักร อยู่ในกองช่าง ทีนี้คือดูเครื่องจักรทุกจุดในโรงงานเลย อยู่ได้อีก 3-4 ปี ก็ย้ายไปทำที่บริษัทเชลส์ ไปคุมน้ำมันทางทะเล ก็พอจะมีรายได้ดี เพราะพอออกมาแล้วญาติที่ทำบริษัทนี้ เขาเลยดึงเราไปด้วย เพราะมีรายได้ดี ในระหว่างที่ทำงาน เราเริ่มที่จะเป็นศิลปิน นั่นคือการเล่นมายากล”
จากมายากล “ปานโชว์”
สู่ตลกชื่อดัง “ถั่วแระ เชิญยิ้ม”
ด้วยความรักความชอบในศาสตร์แห่งมายากล ทำให้เขาได้ฝึกฝนในการเล่นจนสามารถแสดงโชว์ในคาเฟ่และห้องอาหารต่างๆ และถือเป็นการปูทางไปสู่วิถีตลกคาเฟ่ในเวลาต่อมา
“คือช่วงที่เราเรียนอยู่บางซ่อน แล้วแฟนเรียนอยู่ตั้งตรงจิตร ตอนเช้าเราต้องไปส่งที่โรงเรียน สมัยก่อนมีรถเมล์นั่งฟรี ในระหว่างที่เราไม่มีเรียน เราก็ไปที่สนามหลวง ไปดูเขาเล่นมายากล แบบปาหี่ ก็ชอบ และศึกษาว่าเป็นยังไง พอถึงช่วงที่ทำงาน เรามีความรู้เกี่ยวกับมายากลอยู่บ้างแล้ว ก็เริ่มทำคณะมายากลขึ้นมา ชื่อ “ปานโชว์” เล่นในระหว่างที่อยู่บริษัทเชลส์ หลังจากนั้นก็มีเพื่อนมาชวนให้ไปเล่นตลกด้วย เราบอกเราเล่นไม่เป็น เขาก็บอกว่า งั้นพี่เล่นมายากลเปิดก่อนละกัน ตามคาเฟ่นี่แหละ เราก็ไป จากนั้นเขาก็ชวนอีกว่า ทำไมไม่ลองเล่นตลกดูบ้างล่ะ เขาก็สอนๆๆ บวกกับการที่เราเริ่มได้เรียนรู้แบบครูพักลักจำ ศิษย์มีครูมาตลอด แล้วเราก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของยุคตลกคาเฟ่ที่บูมด้วย อยู่คณะ “มายายิ้มแป้น” ต่อมาเป็น “บิ๊กโจ๊ก - เด่น บิ๊กโจ๊ก - ปานแดงบิ๊กโจ๊ก” จากนั้นก็มาอยู่พี่โน้ต เชิญยิ้ม ให้พี่โน้ตเป็นครูฝึกเรา และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ถั่วแระ เชิญยิ้ม
“ตอนแรกนั้น เราบอกกับพี่ชายว่าจะมาเล่นตลก พี่ชายก็เตือนเราเหมือนกันว่า คิดดูให้ดีก่อนนะ ครอบครัวเราไม่มีใครเป็นศิลปินเลยนะ จะไปรอดมั้ย แต่เราก็ตัดสินใจแล้ว และถ้าเรายังทำงานบริษัทอยู่ ถ้าเกิดมีงานต่างจังหวัด ก็จะไปเล่นกับเขาไม่ได้ เราตอนนั้นก็เหมือนเป็นตัวหลักตัวหนึ่ง ถ้าขาดเราสักคน มันก็เป็นอุปสรรคของทีมงาน เลยตัดสินใจลาออก
“เรามีความคิดว่า ถ้าเรายังอยู่ในทะเล มันอาจจะเกิดความอันตรายต่อชีวิตเรานะ ในเมื่อมีหนทางที่คิดว่าจะไปได้ เราก็ลองตัดสินใจดู จากที่เราทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ได้เดือนละ 4,000 บาท ซึ่งตอนนั้นตอนนั้นแต่งงานแล้วนะ แต่ละเดือนแทบจะไม่เหลืออะไรเลย มีแต่ตั๋วจำนำ ชักหน้าไม่ถึงหลัง ถือเป็นช่วงวิกฤตของชีวิตแล้วว่ามันไม่พอกินจริงๆ เราก็นึกไปต่างๆ นานาว่าจะเอายังไงต่อกับชีวิตนะ ก็เลยลาออก แล้วปรากฏว่า อะไรที่เราคาดหวังและไม่เคยได้ เชื่อมั้ยว่าเรามีตลอด เราไม่เคยมีโทรศัพท์ ทีวี ตู้เย็น เราก็มี จากนั้นก็เริ่มมีบ้าน มีรถแล้ว ในตอนที่เล่นตลก และก็เริ่มมีหนี้แล้ว (หัวเราะเบาๆ) คือก็เริ่มดีขึ้นๆ
“แต่ตอนเข้ามาแรกๆ ก็หนักเลย เพราะเราเล่นไม่เป็น ขึ้นมาเล่นก็เห็นแต่หัวดำๆ ไม่เห็นเลยว่าใครใส่แว่นหรือไม่ใส่ หน้าตาคนเป็นยังไงก็ไม่รู้ สั่นไปหมด กลัวไปหมด นี่คือครั้งแรกในชีวิต เราจะทำยังไงให้ยืนอยู่บนนั้นได้ ก็ต้องใฝ่หาใฝ่รู้ มันถึงจะอยู่ได้ ไม่ใช่นึกแค่ว่าอาชีพนี้ดีจังเลย ได้เงินดี แต่มันยากและนาน กว่าจะปรับตัวได้ก็ใช้เวลาเป็นปีๆ กว่าจะหาตัวเองเจอ ไม่ได้หาตัวเองเจอง่ายๆ นะ ที่คนอื่นเขามองเราแล้วจำได้ เมื่อก่อนไม่ได้ไว้หนวดและโพกผ้า พอคิดว่าทำยังไงจะให้คนมารู้จักเรา ตลกมันก็หน้าตาเหมือนกันหมด บางคนก็หล่อ แต่ก็ไม่เห็นดัง บางคนขี้เหร่ก็ไม่ดังอีก ก็ยังจำไม่ได้ เพราะตลกมีหลายรูปแบบ ตลกสังขาร ตลกวาจา ตลกธรรมะ เยอะแยะไปหมด เราก็คิดเลยว่า ไว้หนวดดีกว่า ไม่พอ ลองโพกผ้าดู แต่ก็คิดเหมือนกันว่า ถ้าโพกเข้าไปเล่นแล้ว เขาจะว่าเราหรือเปล่าว่าไม่มีมารยาท แต่ตอนนั้น เพลงเพื่อชีวิตก็เริ่มฮิต แอ๊ด คาราบาว (ยืนยง โอภากุล) กำลังดัง เราก็เป็นคนพวกนั้นได้นี่หว่า ก็ตัดสินใจโพกผ้าไปเล่นครั้งสองครั้ง ก็ไม่มีใครว่า และกลับกลายเป็นว่าเล่นตลกได้ดีขึ้น ก็เลยสร้างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเราเลย”
เมื่อตลกคาเฟ่ผ่านพ้นยุคสมัยแห่งสปอตไลต์รุ่งเรือง สู่ความซบเซา ดาราตลกหลายรายต้องฝ่าฟันช่วงวิกฤตดังกล่าว บ้างก็ยังคงเล่นตลกต่อไป บ้างก็เข้าสู่วงการโทรทัศน์และภาพยนตร์ แต่ถั่วแระ เชิญยิ้ม ตัดสินใจเปิดร้านอาหารของตนเอง ในชื่อ “ครัวถั่วแระ”
“ร้านนี้มันเกิดมาตั้งนานแล้ว เพราะเรารู้ว่าอาชีพเราต้องดร็อปลงในสักวันหนึ่ง รู้มาตั้งแต่เราเล่นตลกแล้ว พอเปิดกิจการก็ดีมาตลอด ส่วนปัจจัยที่คิดว่าสำเร็จ คือเราต้องใส่ใจในการทำอาหารครับ ใครที่คิดจะทำการค้าแล้วไม่ใส่ใจ มันไปไม่ได้หรอก เอาแต่ชื่อเสียงดารามา แต่ไม่มาคลุกคลี ไม่ได้มาทำอาหารเนี่ย มันสำคัญนะ อยู่ๆ มาเปิดร้าน แล้วใช้ชื่อนั่นนี่ในการแสดง ถามว่าเจ้าตัวอยู่ไหน คนก็อยากจะมาดูมาหา แล้วทำอาหารเองเป็นหรือเปล่า เราสามารถจัดการบริหารคนของเราได้หรือเปล่า เรามีพระเดชมากกว่าพระคุณหรือเปล่า เราตั้งร้านมา 13 ปี ทุกคนอยู่กันด้วยความรัก เรียกเราว่าพ่อ เรียกแฟนเราว่าแม่ ดูแลซึ่งกันและกัน ไม่ทอดทิ้งกัน ต่างฝ่ายต่างไม่ทอดทิ้ง ใจล้วนๆ
“ธุรกิจเราตรงนี้ ส่วนใหญ่จะให้ภรรยาทำ เพราะเขาจะละเอียดอ่อนกว่าเรา แล้วเรามีแต่พระเดช เราทำให้มันสุดไป ในเรื่องการจัดการร้าน เราช่วยกันดูแลครับ เราใส่ใจกับวัตถุดิบ ความจริงก็เหมือนก๋วยเตี๋ยวแหละ ร้านไหนก็ทำได้ แต่ความตั้งใจของคุณน่ะ คุณเอาจากส่วนไหนมา คุณไปดูเขา คุณก็ลอกเลียนแบบเขา มันเป็นเสน่ห์ปลายจวักนะ
“ถามว่าทำไมเราถึงใส่ใจในการทำอาหาร ใส่ใจหมายถึง หนึ่ง วัตถุดิบ เรื่องถั่ว บางคนไม่กินถั่ว เพราะกลัวหืนกลัวอะไร ไปซื้อถั่วที่เขาตำแล้ว เอามาใส่มั้ย ไม่ใช่ เราคั่วเอง ไปซื้อเมล็ดถั่วที่ได้อายุก่อน จะไปซื้อถั่วอ่อนๆ มาคั่ว ก็ไม่ได้ความหอมความมัน หรืออย่างพริกขี้หนูแห้ง เราควรเลือกเองมั้ย เราควรมาป่นแห้งเพื่อปรุงอาหาร หรือหมู เราควรใช้ส่วนไหน เราเลือกหมดทุกสิ่งอย่าง คุณต้องส่งผม เราเป็นบัดดี้กันมั้ย ถ้าเป็น คุณก็ต้องทำอย่างที่เราบอก คือทุกอย่างเราทำเอง ซึ่งใครมากินก็บอกว่าอร่อย ก็แล้วแต่ครับ แกงคนละหม้อ แต่มันได้มาด้วยความใส่ใจ ไม่งั้นเราไม่เกิดเด็ดขาด เราไม่ได้ขายเช้าชามเย็นชาม ผมต้องเก็บทุกชาม ไม่ใช่แบบขายชามทิ้งชาม ไม่ใช่”
• จากทั้งชีวิตของคุณที่ประสบความสำเร็จมาจนวันนี้ คิดว่ามันเกิดจากอะไร
ผมคิดว่าต้องใฝ่ดี อะไรมันก็ดี แต่บางครอบครัว ทีแรกไม่ดี แต่บั้นปลายดี ก็มีนะ คือต้องทำดี คิดดี ถึงจะดีนะ เมื่อไหร่ที่สลับไปสลับมา มันก็อาจจะอึดอัด ใครที่ยังไม่ดี ก็สู้ต่อไป สู้ด้วยธรรมะและธรรมชาติ เดี๋ยวมันก็ได้ดีเองแหละ ผมบอกไม่ได้ว่าที่ได้ดีเพราะอะไร แต่มันอยู่ในสมองแต่ละคนเลยว่าเราได้ดีเพราะอะไร บางคนอาจจะขโมยมา หรือ โกงเขาหรือเปล่า มันอยู่ในใจเขาน่ะ อย่างนั้นมันดีหรือเปล่า เพราะฉะนั้น เราก็ตอบไม่ได้ว่าเพราะอะไร แต่อยู่ที่ใจของแต่ละคนว่าจะดีหรือไม่ อย่างน้อยต้องคิดบวกไว้ก่อน คือผมพยายามหาข้อมูลต่างๆ นะ
และอีกอย่างหนึ่ง อย่าลืมบุญคุณคน อย่าลืมคนที่ให้กำลังใจเรา อย่าลืมคนที่เคยช่วยเหลือเรา ดูแลเรา อย่าลืมเด็ดขาด นั่นแหละคือสิ่งที่ดีที่สุดเลย ถ้าวันไหนเราลืมเขา เขาจะต้องด่าเราแน่ๆ คนนี้ได้ดีแล้วลืมตัว คืออย่างน้อย เราไม่ลืมบุญคุณพ่อแม่อยู่แล้ว เราต้องดูแลพ่อแม่เราอยู่แล้ว รวมทั้งคนที่ฉุดเราขึ้นมา เราก็ไม่ควรลืมเช่นกัน เมื่อก่อนเป็นคนปกติแล้วเรามาโด่งดังได้เพราะใคร ทุกวันนี้ก็ไม่เคยลืมพวกเขา
• ย้อนไปที่เรื่องจิตอาสาหน่อยครับว่าเจตนารมณ์เราเป็นอย่างไร เพราะอะไรถึงต้องไปทำสิ่งเหล่านั้น
พูดตามตรง เราก็ทำได้เท่านี้นะ ใครจะมองเห็นเราว่าจัดฉากหรือว่าเราทำไปเพื่อผลประโยชน์หรือเปล่า เราไม่ได้ใส่ใจ แต่เราอยากให้เขามองไปให้ลึกว่าเราทำไปเพื่ออะไร จริงๆ เราอยากทำทุกช่วงเวลานะ เราอยากช่วยเหลือเจือจุนเขาเหลือเกิน ผมทำทุกอย่างโดยที่ไม่ใช่เรื่องการแสดง ทำอะไรเพื่อสังคมจริงๆ ผมอยากจะให้ทุกคนทำเพื่อสังคมให้มากๆ พยายามคิดหรือทำอะไรก็ได้ ให้ไปในทางบวก อย่าคิดอะไรที่มันเป็นลบตลอดเวลา เห็นคนอื่น ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่เอา คุณลองคิดใหม่ทำใหม่ คุณลองมีน้ำใจกับคนอื่น คุณเห็นแก่ได้หรือเห็นแก่ตัวมากไปมั้ย สังคมเขายอมรับคุณได้มากน้อยไหน คุณควรจะใส่ใจในเรื่องแบบนี้ได้มั้ย เมื่อไหร่ที่คุณมีความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ ไม่มีใครเขาอยากคบคุณหรอก
แต่คุณไม่จำเป็นต้องทำแบบผมก็ได้ ทำในแบบของตัวคุณเอง คิดบวกไว้ ไม่ใช่คิดลบอยู่กับเขาตลอดเวลา คือยังไงก็แล้วแต่ เรียนรู้เรื่องธรรมะและธรรมชาติให้มากที่สุด คนเราต้องเรียนรู้เรื่องนี้ เพราะว่ามันไม่มีอะไรที่จะเหนือกว่าเรื่องนี้ได้ ไม่มีทางที่จะชนะเรื่องนี้ได้ แล้วคุณจะทำเพื่ออะไร คุณจะเอาอะไรไป ผมไม่ได้อยากได้อะไรมากมาย แต่ถามว่าทำไมผมต้องทำร้านนี้ เพราะผมไม่รู้ว่าวันข้างหน้าเราจะมีกินหรือเปล่า ผมก็ต้องทำ แต่การกระทำของผม ผมเพียงพอ พอเพียง เท่านั้นแหละ เพราะฉะนั้น เราเอาธรรมะกับธรรมชาติมาอยู่กับเราให้มากที่สุด ท่านพุทธทาสก็กล่าวไว้อย่างนี้
• มันเหมือนกับเราได้ตอบแทนบุญคุณประเทศนี้ในแง่การเป็นจิตอาสา
ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะตอบแทนบุญคุณได้หมดนะ ทางไหนก็ได้ เพราะทุกอย่างมันคือจิตอาสา คุณไม่ต้องทำเหมือนผมก็ได้ ลองมาคิดค้นกัน ทำยังไงก็ได้ คุณอยู่ผืนแผ่นดินไทย คุณไม่คิดหรือว่า ผืนแผ่นดินเกิดของคุณ บรรพบุรุษของคุณทำมาด้วยเลือดเนื้อ เสียไปมากแค่ไหน แต่เราทำอะไรกันอยู่
คือถ้าผมตาย ผมอยากเป็นอัศวินนะ อัศวินในที่นี้คือ ทหารตำรวจที่อยู่ชายแดนคืออัศวินของผมเลยนะ เขาปกป้องประเทศให้เรา ผมอยากเป็นอัศวิน แต่ผมเป็นไม่ได้ แต่เราก็อยู่เบื้องหลังที่ว่าคอยสนับสนุนบุคคลเหล่านั้น ถึงแม้ว่าเราจะเป็นศิลปิน แต่เราสร้างความสุขสนุกสนานให้เขาไป
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วชิร สายจำปา
ในแวดวงวงตลกของบ้านเรา “ศรสุทธา กลั่นมาลี” หรือ “ถั่วแระ เชิญยิ้ม” คือหนึ่งในนามที่ทุกคนจะนึกถึงเป็นลำดับต้นๆ ด้วยภาพลักษณ์ที่ใส่ผ้าโพกหัว ไว้หนวดเคราราวกับนักร้องเพื่อชีวิตซึ่งกลายเป็นที่จดจำให้กับใครหลายคนได้เป็นอย่างดีตลอดระยะเวลาร่วม 30 ปีบนเส้นทางสายนี้
จากอดีตนายช่าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้คอยดูแลเครื่องจักรกลในโรงงานตัดสินใจมุ่งสู่การเป็นตลก จนต่อยอดไปสู่การเป็นเชียร์ลีดเดอร์ให้กับนักกีฬาทีมชาติไทย และอีกหลากหน้าที่ หลายตำแหน่ง ทั้งนายกสมาคมศิลปินตลก (ประเทศไทย), เจ้าของกิจการร้านอาหาร “ครัวถั่วแระ” ที่อยู่ได้และอยู่ดีมาตลอดสิบกว่าปี รวมถึงงานจิตอาสาอีกมากมาย ทั้งหมดนี้ จะกล่าวเป็นอื่นอย่างไรไปได้ ถ้าไม่ใช่ว่า เขาคือคนอีกหนึ่งคนซึ่งควรแก่การแสดงความชื่นชม...
ดูแลตัวเองได้ ช่วยเหลือคนอื่นได้
นี่ล่ะความหมายของชีวิตตลกถั่วแระ
หากนำตารางงานของ “ศรสุทธา” มากางให้ชมแล้ว หลายคนคงตกใจกับหมายงานที่แทบไม่มีวันหยุด นอกจากการแสดง เขายังมีงานอื่นอีกมากมายที่ต้องไปร่วม ทั้งงานการกุศล งานสังคม หรืองานจิตอาสา แต่ก็อย่างว่า ต่อให้มากมายเพียงใด ถั่วแระก็เอาอยู่
“ก็ค่อนข้างที่จะควบคุมได้นะครับ และเราก็ไม่รู้ว่าชีวิตของศิลปินมันจะเป็นแบบไหน เราเริ่มถอยหรือยัง เราเริ่มอ่อนพลังลงหรือยัง ขาลงหรือยัง และมันย่อมมีคลื่นลูกใหม่ซึ่งจะมาแทนที่เรา เราก็ต้องบูมตัวเองขึ้นไปให้อยู่ในปัจจุบันให้ได้ คือถ้าเราหลุดจากการเป็นตลก เราก็อาจจะต้องขาดอะไรไปอย่างหนึ่ง ธุรกิจร้านอาหารก็อาจต้องเสียไปด้วย แต่เราจะทำยังไงเพื่อไม่ให้ธุรกิจของร้านถอยหลังลงไป เราก็ต้องบูม เราต้องทำ เพื่อให้ร้านอยู่ได้ ต้องทำเต็มที่สองอย่างเลยครับ ทั้งแสดงตลกและร้านอาหาร
“นอกจากการเป็นนายกสมาคมตลกฯ แล้ว ผมยังเป็นจิตอาสาอีก เป็นจิตอาสาของสังคม ทำงานให้ประเทศ ทำงานให้แผ่นดิน ทำงานให้สังคมเกี่ยวกับเรื่องเกิดแก่เจ็บตาย เราต้องแบ่งและบริหารตัวเองให้ได้ เช้าขึ้นมามาดูแลร้านจนถึงบ่ายสอง ก็จะไปสมาคมเพื่อไปดูงานที่นั่น พอออกมา เราต้องมานั่งดูคิวงานว่า วันนี้มีงานจิตอาสาอะไรมั้ย ถ้ามีก็ไปทำงานนั้น หรือก่อนบ่ายสอง เรามีงานจิตอาสามั้ย ต้องไปช่วยน้ำท่วม ไฟไหม้ มีแจกข้าวสารกับทางร่วมกตัญญูหรือปอเต็กตึ๊งมั้ย หรือมีงานวันเกิด งานแต่งงาน งานสังคมอะไรต่างๆ มั้ย หลังจาก 6 โมงเย็นแล้ว ต้องแบ่งเวลา ต้องจดลงไว้นะ งานทุกอย่าง ต้องไปอีกนะ เดี๋ยวนี้เพิ่มงานอีกแล้ว เพราะว่าผมทำวงรำวงร่วมสมัยให้กับทางสมาคม
“การทำงานในสมาคมถือว่าหนักเลยครับ เพราะมีแต่คนทุกข์ร้อน มีแต่คนต้องการนั่นนี่ มีปัญหาต่างๆ ก็มาร้องที่สมาคมให้ไปช่วยเหลือ เราก็ต้องไปคุยกับเขา สมาคมมีกฎระเบียบ ต้องเดินตามระเบียบที่ตั้ง ใครที่เป็นสมาชิก เราควรจะดูแล แต่ใครที่ไม่ใช่ เราก็ดูแล แต่น้อยกว่าคนที่เป็นสมาชิก แล้วที่ช่วยไปแล้ว จะยังไงต่อ สมมุติว่าหายแล้ว ต้องดูแลถึงไหน เขามีญาติพี่น้องหรือเปล่า หรือครอบครัวเขาเองเป็นยังไง ลูกเต้าเคยสนใจมั้ย ไม่ใช่เย็นมานั่งกินเหล้าหน้าบ้าน พ่อเขาป่วยอยู่ข้างใน มันก็ไม่ใช่ สังคมมันต้องดูกว้างๆหน่อย ฉะนั้น ถามก่อนสิว่ายังไง ไม่ใช่เอะอะก็ร้องสื่อ แล้วอาชีพที่คุณทำนั้น คุณทำจริงหรือเปล่า สภาพร่างกายคุณไม่ไหว แล้วบอกว่าคุณไปเก็บขยะ คุณไปดูถูกอาชีพนี้ไม่ได้นะ รวยเป็นเศรษฐีมาไม่รู้กี่คนแล้วนะ สำคัญก็คือคุณทำถึงหรือเปล่าล่ะ ฉะนั้น บุคคลเหล่านี้มาร้องแรกแหกกระเชอกับผม ผมก็ไม่รู้จะช่วยยังไงเหมือนกัน ก็ต้องว่าไปตามกฎระเบียบของสมาคม ช่วยได้ช่วย ทุนส่วนตัวยังได้เลย แต่ช่วยในระดับหนึ่ง
“อย่างบางราย เราก็รู้ว่าเขาก็ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บางคนป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นเส้นโลหิตในสมองแตก หรือบางรายขาดญาติไร้มิตรด้วย มันก็เลยไปกันใหญ่ ซึ่งเราก็กลัวเหมือนกันว่าอาจจะเป็นแบบนั้นก็ได้ในซักวันหนึ่ง และถ้าเราเป็นแล้ว ครอบครัวเราจะเป็นยังไง พี่น้องผมมีมั้ย ชาติตระกูลผมมีหรือเปล่า สำคัญมาก แต่คนที่ไม่มีที่พึ่งเลย คนที่ไม่รู้จะช่วยตัวเองยังไง เราก็สงสารอยู่ แต่เขาก็ต้องดูแลตัวเองด้วย
“อย่างบางคน ตอนที่เขารุ่งๆ เขาก็ไม่ได้คิดว่าควรจะเก็บจะออมหรืออะไรยังไง ผมตำหนิพวกเขามานานแสนนานแล้วว่า บางทีเลิกตีสามหรือตีสอง เขาถึงบ้าน 9 โมงเช้า หลังเลิกงานเขาไปไหนมา แล้วเขาก็มานอน นอนแล้วเย็นก็ออกไปทำงาน วันๆ หนึ่ง เขาได้อะไรไปบ้าง ทำไมไม่รีบกลับบ้านล่ะ เอาเงินไปไหน ทำไมไม่ให้ลูกเมีย พอเจ็บป่วย หรือไม่มีขึ้นมา ก็ร้องขอความช่วยเหลือ เราก็มีโดนอีกนะว่า “พี่ไม่เป็นอย่างผม พี่ไม่รู้หรอก” เราก็หนักใจเหมือนกันนะ เพราะฉะนั้น เราทำไง ชีวิตใครชีวิตมัน อย่างงั้นหรือเปล่า เราทำได้มั้ย ถ้าเรายังมีตำแหน่งและฐานะการงานอยู่อย่างนี้ เราก็ทำไม่ได้ แต่เราก็ต้องหาวิธีว่าทำยังไงถึงจะช่วยเขาได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ไหน เราต้องช่วย ไม่ใช่ไม่ช่วย”
เด็กขายผลไม้-ชายหนุ่มโรงงาน
ลุยมาแล้วทุกรูปแบบ
“ผมก็เป็นเด็กจนๆ ธรรมดาคนหนึ่ง ไม่ได้หรูหราอะไร ไม่ได้เกิดจากกองเงินกองทองอะไร มีพี่น้อง 5 คน ผมเป็นคนสุดท้อง มีพี่ชาย 3 พี่สาว 1เกิดมาในย่านสะพานควาย พ่อของผมทำงานเป็นพนักงานขับรถรับส่งพนักงานเดินอากาศไทย แล้วเปลี่ยนมาเป็น “แพนแอม” จนกระทั่งเกษียณ ส่วนแม่ก็เป็นแม่บ้าน ปากกัดตีนถีบมาตลอด คือลำบากมาตั้งแต่เด็ก แต่ตอนนั้นก็มีหัวทางด้านการค้า ก็เริ่มทำมาหากิน เริ่มตั้งแต่ขายไอติม ขายเรียงเบอร์ ในช่วงตอน ป.5-ป.6 จนถึงช่วงปิดเทอม จากนั้นก็มาเข็นผลไม้ขาย เมื่อก่อนไม่มีรถกระบะหรอก จะเป็นการใช้เข็นเอา ขาไปเอาผลไม้จากมหาชัยแล้วเข็นย้อนกลับมาขายกรุงเทพฯ เข็นมาเรื่อย แวะซอกซอยต่างๆ พอของหมด ก็โทรให้รถมารับ
“เงินที่ได้จากการค้าขายส่วนหนึ่งก็มาเป็นค่าหนังสือ ค่าเสื้อผ้าไปโรงเรียน ก็ขายมาเรื่อยๆ คือพอถึงช่วงปิดเทอมที ก็ไปเช่ารถเขา กว้านหาซื้อจักรยานประมาณ 10 คัน แล้วซ่อม ก็มาให้เขาเช่า ชั่วโมงละ 3 บาท เปิดร้านซ่อมด้วย ให้เช่าไปด้วย จากนั้นก็ขายต้นไม้ ตอนนั้นก็ซื้อว่านไปขายที่สนามหลวง เมื่อก่อนเขาจะมีตลาดนัด บางจังหวะก็ไปช่วยคนเขาเก็บผ้าใบโยง เขาก็ให้มา 50 บาท ก็ไปทำกับเพื่อน นี่คือช่วงชีวิตในวัยเด็ก”
ด้วยสภาวะทางครอบครัวที่ค่อนข้างลำบาก จึงทำให้ศรสุทธา หรือ “ปาน” น้องชายคนสุดท้องของพี่ๆ ต้องทำงานหารายได้พิเศษในช่วงเวลาที่ว่างเว้นจากการเรียน เพื่อนำรายได้มาช่วยแบ่งเบาภาระให้กับครอบครัว
“แต่เราก็ใช้ชีวิตปกติ เรียนหนังสือเหมือนคนทั่วๆ ไป ก็ไม่มีความฝันอะไรหรอก เรารู้ตัวว่าเราเรียนไม่ทันเพื่อน สมองเราไม่ได้เลอเลิศอะไร เมื่อก่อนเรียนเป็นเปอร์เซ็นต์นะ 50 เปอร์เซ็นต์ตลอด พอมีความฝันบ้างก็คืออยากเป็นนักร้อง เคยฝึกร้องเพลง แต่ก็ไปไม่ถึงดวงดาว พอจะมาจับเครื่องดนตรี พ่อเราก็ด่า พี่ๆ ก็ยังว่า ว่าหนังสือหนังหาไม่ดู หรือเวลาเราซื้อเมาท์ออร์แกนมาเป่าเล่น จำได้เลยว่าเพลงของพี่ชินกร ไกรลาศ ตอนนั้นมีการแข่งขันร้องเพลงของพี่แกทุกสถานีเลย (เพลง “ลิลิตพระลอ”) ก็ไปไม่ถึงดวงดาว เลยมาเล่นฟุตบอล ก็หวังว่าจะติดทีมชาติบ้าง ได้เล่นถ้วย ก. ถ้วย ข. ในตอนนั้น จนคิดว่าน่าจะแข่งขันเพื่อให้ไปติดทีมชาติ แต่พ่อผมก็ไม่สนับสนุนเรื่องนี้ คือพ่อสามารถย้ายที่อยู่เราเพื่อไม่ให้เราเล่นบอล ย้ายที่อยู่ ซื้อบ้าน จากสะพานควาย ย้ายมาอยู่ซอยเขมา เพื่อไม่ให้ลูกเล่นบอล แต่ในใจเขาคงไม่ได้คิดอย่างงั้น เขากลัวว่าเราจะติดยาเสพติดมากกว่า คือกลับจากโรงเรียน หรือวันเสาร์อาทิตย์ ก็ไปเตะบอล กลับบ้านก็ทุ่มสองทุ่ม แล้วบริเวณนั้นก็มีแต่พวกติดยาไง พ่อเขากลัว
“ยังไงก็ตาม เราก็เล่นฟุตบอลให้โรงเรียน เล่นบอลประชาชน เมื่อก่อนฟุตบอลดังๆ เขาเล่นกันที่สนามหลวงนะ แข่งกันฝุ่นตลบเลย เราอยากจะไปให้ถึงตรงนั้น แต่พ่อก็ไม่สนับสนุนอีก เลยเป็นแค่ตัวโรงเรียน พอมาอยู่ที่ใหม่ เราเห็นเขาเล่นบอล เราก็อยากเล่น เราก็ไปยืนดูเขา พอได้โอกาสก็ขอเขาเล่นด้วย วันรุ่งขึ้น ถูกตามตัวไปเล่นเลย เพราะว่าเห็นฝีมือเราไง ไปตามถึงบ้านเลย ให้มาเล่นต่อ (หัวเราะเบาๆ) คือพูดง่ายๆ ว่าเราเรียนจบได้เพราะว่าเป็นนักกีฬาของโรงเรียน ไล่มาตั้งแต่ที่ผดุงศิษย์พิทยา สาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ จนถึงช่างกลบางซ่อน ชีวิตในโรงเรียน ก็จะมีแต่เรื่องกีฬา และเรื่องตลกโปกฮา ทำทุกอย่างเพื่อให้สอบผ่าน ไม่งั้นไม่รอด และเป็นกิจกรรมอย่างเดียวของเราในตอนนั้น เรื่องกีฬาก็คือที่ 1 เลย เล่นหมด วอลเลย์บอลก็เล่น
“หลังจากเรียนจบ มาทำงานที่แรกคือองค์การทอผ้า ตรงเกียกกาย ตอนนั้นเป็นโรงงานของรัฐบาล ตอนเข้าไปก็ไม่ได้เอาวุฒิจบ ปวช. ไป ก็ไปแบกกล่อง แบกขยะ แบกผ้าเป็นมัดๆ ไป อยู่ได้หนึ่งเดือน ค่อยเอาวุฒิไปเทียบ ก็เลยได้เป็นช่างดูแลรักษาเครื่องจักร เงินเดือนประมาณ 1,800 บาท เมื่อประมาณ 40 ปีก่อนก็ถือว่าค่อนข้างมาก จากนั้นก็ย้ายไปอยู่ โอสถสภา ตอนแรกก็ไปอยู่ในห้องซิกก่อน มันจะเป็นห้องที่ทำยาทัมใจ ไปเป็นคนยกข้าวของปกติแหละ หลังจากนั้นเอาวุฒิไปเทียบอีก เจ้านายชื่อพี่วรพจน์ก็ให้เราได้อยู่ในแผนกดูแลบำรุงเครื่องจักร อยู่ในกองช่าง ทีนี้คือดูเครื่องจักรทุกจุดในโรงงานเลย อยู่ได้อีก 3-4 ปี ก็ย้ายไปทำที่บริษัทเชลส์ ไปคุมน้ำมันทางทะเล ก็พอจะมีรายได้ดี เพราะพอออกมาแล้วญาติที่ทำบริษัทนี้ เขาเลยดึงเราไปด้วย เพราะมีรายได้ดี ในระหว่างที่ทำงาน เราเริ่มที่จะเป็นศิลปิน นั่นคือการเล่นมายากล”
จากมายากล “ปานโชว์”
สู่ตลกชื่อดัง “ถั่วแระ เชิญยิ้ม”
ด้วยความรักความชอบในศาสตร์แห่งมายากล ทำให้เขาได้ฝึกฝนในการเล่นจนสามารถแสดงโชว์ในคาเฟ่และห้องอาหารต่างๆ และถือเป็นการปูทางไปสู่วิถีตลกคาเฟ่ในเวลาต่อมา
“คือช่วงที่เราเรียนอยู่บางซ่อน แล้วแฟนเรียนอยู่ตั้งตรงจิตร ตอนเช้าเราต้องไปส่งที่โรงเรียน สมัยก่อนมีรถเมล์นั่งฟรี ในระหว่างที่เราไม่มีเรียน เราก็ไปที่สนามหลวง ไปดูเขาเล่นมายากล แบบปาหี่ ก็ชอบ และศึกษาว่าเป็นยังไง พอถึงช่วงที่ทำงาน เรามีความรู้เกี่ยวกับมายากลอยู่บ้างแล้ว ก็เริ่มทำคณะมายากลขึ้นมา ชื่อ “ปานโชว์” เล่นในระหว่างที่อยู่บริษัทเชลส์ หลังจากนั้นก็มีเพื่อนมาชวนให้ไปเล่นตลกด้วย เราบอกเราเล่นไม่เป็น เขาก็บอกว่า งั้นพี่เล่นมายากลเปิดก่อนละกัน ตามคาเฟ่นี่แหละ เราก็ไป จากนั้นเขาก็ชวนอีกว่า ทำไมไม่ลองเล่นตลกดูบ้างล่ะ เขาก็สอนๆๆ บวกกับการที่เราเริ่มได้เรียนรู้แบบครูพักลักจำ ศิษย์มีครูมาตลอด แล้วเราก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของยุคตลกคาเฟ่ที่บูมด้วย อยู่คณะ “มายายิ้มแป้น” ต่อมาเป็น “บิ๊กโจ๊ก - เด่น บิ๊กโจ๊ก - ปานแดงบิ๊กโจ๊ก” จากนั้นก็มาอยู่พี่โน้ต เชิญยิ้ม ให้พี่โน้ตเป็นครูฝึกเรา และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ถั่วแระ เชิญยิ้ม
“ตอนแรกนั้น เราบอกกับพี่ชายว่าจะมาเล่นตลก พี่ชายก็เตือนเราเหมือนกันว่า คิดดูให้ดีก่อนนะ ครอบครัวเราไม่มีใครเป็นศิลปินเลยนะ จะไปรอดมั้ย แต่เราก็ตัดสินใจแล้ว และถ้าเรายังทำงานบริษัทอยู่ ถ้าเกิดมีงานต่างจังหวัด ก็จะไปเล่นกับเขาไม่ได้ เราตอนนั้นก็เหมือนเป็นตัวหลักตัวหนึ่ง ถ้าขาดเราสักคน มันก็เป็นอุปสรรคของทีมงาน เลยตัดสินใจลาออก
“เรามีความคิดว่า ถ้าเรายังอยู่ในทะเล มันอาจจะเกิดความอันตรายต่อชีวิตเรานะ ในเมื่อมีหนทางที่คิดว่าจะไปได้ เราก็ลองตัดสินใจดู จากที่เราทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ได้เดือนละ 4,000 บาท ซึ่งตอนนั้นตอนนั้นแต่งงานแล้วนะ แต่ละเดือนแทบจะไม่เหลืออะไรเลย มีแต่ตั๋วจำนำ ชักหน้าไม่ถึงหลัง ถือเป็นช่วงวิกฤตของชีวิตแล้วว่ามันไม่พอกินจริงๆ เราก็นึกไปต่างๆ นานาว่าจะเอายังไงต่อกับชีวิตนะ ก็เลยลาออก แล้วปรากฏว่า อะไรที่เราคาดหวังและไม่เคยได้ เชื่อมั้ยว่าเรามีตลอด เราไม่เคยมีโทรศัพท์ ทีวี ตู้เย็น เราก็มี จากนั้นก็เริ่มมีบ้าน มีรถแล้ว ในตอนที่เล่นตลก และก็เริ่มมีหนี้แล้ว (หัวเราะเบาๆ) คือก็เริ่มดีขึ้นๆ
“แต่ตอนเข้ามาแรกๆ ก็หนักเลย เพราะเราเล่นไม่เป็น ขึ้นมาเล่นก็เห็นแต่หัวดำๆ ไม่เห็นเลยว่าใครใส่แว่นหรือไม่ใส่ หน้าตาคนเป็นยังไงก็ไม่รู้ สั่นไปหมด กลัวไปหมด นี่คือครั้งแรกในชีวิต เราจะทำยังไงให้ยืนอยู่บนนั้นได้ ก็ต้องใฝ่หาใฝ่รู้ มันถึงจะอยู่ได้ ไม่ใช่นึกแค่ว่าอาชีพนี้ดีจังเลย ได้เงินดี แต่มันยากและนาน กว่าจะปรับตัวได้ก็ใช้เวลาเป็นปีๆ กว่าจะหาตัวเองเจอ ไม่ได้หาตัวเองเจอง่ายๆ นะ ที่คนอื่นเขามองเราแล้วจำได้ เมื่อก่อนไม่ได้ไว้หนวดและโพกผ้า พอคิดว่าทำยังไงจะให้คนมารู้จักเรา ตลกมันก็หน้าตาเหมือนกันหมด บางคนก็หล่อ แต่ก็ไม่เห็นดัง บางคนขี้เหร่ก็ไม่ดังอีก ก็ยังจำไม่ได้ เพราะตลกมีหลายรูปแบบ ตลกสังขาร ตลกวาจา ตลกธรรมะ เยอะแยะไปหมด เราก็คิดเลยว่า ไว้หนวดดีกว่า ไม่พอ ลองโพกผ้าดู แต่ก็คิดเหมือนกันว่า ถ้าโพกเข้าไปเล่นแล้ว เขาจะว่าเราหรือเปล่าว่าไม่มีมารยาท แต่ตอนนั้น เพลงเพื่อชีวิตก็เริ่มฮิต แอ๊ด คาราบาว (ยืนยง โอภากุล) กำลังดัง เราก็เป็นคนพวกนั้นได้นี่หว่า ก็ตัดสินใจโพกผ้าไปเล่นครั้งสองครั้ง ก็ไม่มีใครว่า และกลับกลายเป็นว่าเล่นตลกได้ดีขึ้น ก็เลยสร้างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเราเลย”
เมื่อตลกคาเฟ่ผ่านพ้นยุคสมัยแห่งสปอตไลต์รุ่งเรือง สู่ความซบเซา ดาราตลกหลายรายต้องฝ่าฟันช่วงวิกฤตดังกล่าว บ้างก็ยังคงเล่นตลกต่อไป บ้างก็เข้าสู่วงการโทรทัศน์และภาพยนตร์ แต่ถั่วแระ เชิญยิ้ม ตัดสินใจเปิดร้านอาหารของตนเอง ในชื่อ “ครัวถั่วแระ”
“ร้านนี้มันเกิดมาตั้งนานแล้ว เพราะเรารู้ว่าอาชีพเราต้องดร็อปลงในสักวันหนึ่ง รู้มาตั้งแต่เราเล่นตลกแล้ว พอเปิดกิจการก็ดีมาตลอด ส่วนปัจจัยที่คิดว่าสำเร็จ คือเราต้องใส่ใจในการทำอาหารครับ ใครที่คิดจะทำการค้าแล้วไม่ใส่ใจ มันไปไม่ได้หรอก เอาแต่ชื่อเสียงดารามา แต่ไม่มาคลุกคลี ไม่ได้มาทำอาหารเนี่ย มันสำคัญนะ อยู่ๆ มาเปิดร้าน แล้วใช้ชื่อนั่นนี่ในการแสดง ถามว่าเจ้าตัวอยู่ไหน คนก็อยากจะมาดูมาหา แล้วทำอาหารเองเป็นหรือเปล่า เราสามารถจัดการบริหารคนของเราได้หรือเปล่า เรามีพระเดชมากกว่าพระคุณหรือเปล่า เราตั้งร้านมา 13 ปี ทุกคนอยู่กันด้วยความรัก เรียกเราว่าพ่อ เรียกแฟนเราว่าแม่ ดูแลซึ่งกันและกัน ไม่ทอดทิ้งกัน ต่างฝ่ายต่างไม่ทอดทิ้ง ใจล้วนๆ
“ธุรกิจเราตรงนี้ ส่วนใหญ่จะให้ภรรยาทำ เพราะเขาจะละเอียดอ่อนกว่าเรา แล้วเรามีแต่พระเดช เราทำให้มันสุดไป ในเรื่องการจัดการร้าน เราช่วยกันดูแลครับ เราใส่ใจกับวัตถุดิบ ความจริงก็เหมือนก๋วยเตี๋ยวแหละ ร้านไหนก็ทำได้ แต่ความตั้งใจของคุณน่ะ คุณเอาจากส่วนไหนมา คุณไปดูเขา คุณก็ลอกเลียนแบบเขา มันเป็นเสน่ห์ปลายจวักนะ
“ถามว่าทำไมเราถึงใส่ใจในการทำอาหาร ใส่ใจหมายถึง หนึ่ง วัตถุดิบ เรื่องถั่ว บางคนไม่กินถั่ว เพราะกลัวหืนกลัวอะไร ไปซื้อถั่วที่เขาตำแล้ว เอามาใส่มั้ย ไม่ใช่ เราคั่วเอง ไปซื้อเมล็ดถั่วที่ได้อายุก่อน จะไปซื้อถั่วอ่อนๆ มาคั่ว ก็ไม่ได้ความหอมความมัน หรืออย่างพริกขี้หนูแห้ง เราควรเลือกเองมั้ย เราควรมาป่นแห้งเพื่อปรุงอาหาร หรือหมู เราควรใช้ส่วนไหน เราเลือกหมดทุกสิ่งอย่าง คุณต้องส่งผม เราเป็นบัดดี้กันมั้ย ถ้าเป็น คุณก็ต้องทำอย่างที่เราบอก คือทุกอย่างเราทำเอง ซึ่งใครมากินก็บอกว่าอร่อย ก็แล้วแต่ครับ แกงคนละหม้อ แต่มันได้มาด้วยความใส่ใจ ไม่งั้นเราไม่เกิดเด็ดขาด เราไม่ได้ขายเช้าชามเย็นชาม ผมต้องเก็บทุกชาม ไม่ใช่แบบขายชามทิ้งชาม ไม่ใช่”
• จากทั้งชีวิตของคุณที่ประสบความสำเร็จมาจนวันนี้ คิดว่ามันเกิดจากอะไร
ผมคิดว่าต้องใฝ่ดี อะไรมันก็ดี แต่บางครอบครัว ทีแรกไม่ดี แต่บั้นปลายดี ก็มีนะ คือต้องทำดี คิดดี ถึงจะดีนะ เมื่อไหร่ที่สลับไปสลับมา มันก็อาจจะอึดอัด ใครที่ยังไม่ดี ก็สู้ต่อไป สู้ด้วยธรรมะและธรรมชาติ เดี๋ยวมันก็ได้ดีเองแหละ ผมบอกไม่ได้ว่าที่ได้ดีเพราะอะไร แต่มันอยู่ในสมองแต่ละคนเลยว่าเราได้ดีเพราะอะไร บางคนอาจจะขโมยมา หรือ โกงเขาหรือเปล่า มันอยู่ในใจเขาน่ะ อย่างนั้นมันดีหรือเปล่า เพราะฉะนั้น เราก็ตอบไม่ได้ว่าเพราะอะไร แต่อยู่ที่ใจของแต่ละคนว่าจะดีหรือไม่ อย่างน้อยต้องคิดบวกไว้ก่อน คือผมพยายามหาข้อมูลต่างๆ นะ
และอีกอย่างหนึ่ง อย่าลืมบุญคุณคน อย่าลืมคนที่ให้กำลังใจเรา อย่าลืมคนที่เคยช่วยเหลือเรา ดูแลเรา อย่าลืมเด็ดขาด นั่นแหละคือสิ่งที่ดีที่สุดเลย ถ้าวันไหนเราลืมเขา เขาจะต้องด่าเราแน่ๆ คนนี้ได้ดีแล้วลืมตัว คืออย่างน้อย เราไม่ลืมบุญคุณพ่อแม่อยู่แล้ว เราต้องดูแลพ่อแม่เราอยู่แล้ว รวมทั้งคนที่ฉุดเราขึ้นมา เราก็ไม่ควรลืมเช่นกัน เมื่อก่อนเป็นคนปกติแล้วเรามาโด่งดังได้เพราะใคร ทุกวันนี้ก็ไม่เคยลืมพวกเขา
• ย้อนไปที่เรื่องจิตอาสาหน่อยครับว่าเจตนารมณ์เราเป็นอย่างไร เพราะอะไรถึงต้องไปทำสิ่งเหล่านั้น
พูดตามตรง เราก็ทำได้เท่านี้นะ ใครจะมองเห็นเราว่าจัดฉากหรือว่าเราทำไปเพื่อผลประโยชน์หรือเปล่า เราไม่ได้ใส่ใจ แต่เราอยากให้เขามองไปให้ลึกว่าเราทำไปเพื่ออะไร จริงๆ เราอยากทำทุกช่วงเวลานะ เราอยากช่วยเหลือเจือจุนเขาเหลือเกิน ผมทำทุกอย่างโดยที่ไม่ใช่เรื่องการแสดง ทำอะไรเพื่อสังคมจริงๆ ผมอยากจะให้ทุกคนทำเพื่อสังคมให้มากๆ พยายามคิดหรือทำอะไรก็ได้ ให้ไปในทางบวก อย่าคิดอะไรที่มันเป็นลบตลอดเวลา เห็นคนอื่น ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่เอา คุณลองคิดใหม่ทำใหม่ คุณลองมีน้ำใจกับคนอื่น คุณเห็นแก่ได้หรือเห็นแก่ตัวมากไปมั้ย สังคมเขายอมรับคุณได้มากน้อยไหน คุณควรจะใส่ใจในเรื่องแบบนี้ได้มั้ย เมื่อไหร่ที่คุณมีความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ ไม่มีใครเขาอยากคบคุณหรอก
แต่คุณไม่จำเป็นต้องทำแบบผมก็ได้ ทำในแบบของตัวคุณเอง คิดบวกไว้ ไม่ใช่คิดลบอยู่กับเขาตลอดเวลา คือยังไงก็แล้วแต่ เรียนรู้เรื่องธรรมะและธรรมชาติให้มากที่สุด คนเราต้องเรียนรู้เรื่องนี้ เพราะว่ามันไม่มีอะไรที่จะเหนือกว่าเรื่องนี้ได้ ไม่มีทางที่จะชนะเรื่องนี้ได้ แล้วคุณจะทำเพื่ออะไร คุณจะเอาอะไรไป ผมไม่ได้อยากได้อะไรมากมาย แต่ถามว่าทำไมผมต้องทำร้านนี้ เพราะผมไม่รู้ว่าวันข้างหน้าเราจะมีกินหรือเปล่า ผมก็ต้องทำ แต่การกระทำของผม ผมเพียงพอ พอเพียง เท่านั้นแหละ เพราะฉะนั้น เราเอาธรรมะกับธรรมชาติมาอยู่กับเราให้มากที่สุด ท่านพุทธทาสก็กล่าวไว้อย่างนี้
• มันเหมือนกับเราได้ตอบแทนบุญคุณประเทศนี้ในแง่การเป็นจิตอาสา
ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะตอบแทนบุญคุณได้หมดนะ ทางไหนก็ได้ เพราะทุกอย่างมันคือจิตอาสา คุณไม่ต้องทำเหมือนผมก็ได้ ลองมาคิดค้นกัน ทำยังไงก็ได้ คุณอยู่ผืนแผ่นดินไทย คุณไม่คิดหรือว่า ผืนแผ่นดินเกิดของคุณ บรรพบุรุษของคุณทำมาด้วยเลือดเนื้อ เสียไปมากแค่ไหน แต่เราทำอะไรกันอยู่
คือถ้าผมตาย ผมอยากเป็นอัศวินนะ อัศวินในที่นี้คือ ทหารตำรวจที่อยู่ชายแดนคืออัศวินของผมเลยนะ เขาปกป้องประเทศให้เรา ผมอยากเป็นอัศวิน แต่ผมเป็นไม่ได้ แต่เราก็อยู่เบื้องหลังที่ว่าคอยสนับสนุนบุคคลเหล่านั้น ถึงแม้ว่าเราจะเป็นศิลปิน แต่เราสร้างความสุขสนุกสนานให้เขาไป
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : วชิร สายจำปา