คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.มส. อุ้ม “ธัมมชโย” ไม่ปาราชิก อ้างคดีจบนานแล้ว ด้าน “พระพุทธะอิสระ” แจ้งความเอาผิด มส. ขณะที่ “ไพบูลย์” เตรียมยื่นดีเอสไอ-ผู้ตรวจการฯ !
ความคืบหน้ากรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ส่งหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เพื่อทวงถามความคืบหน้าหลังจากได้ส่งผลการพิจารณาเกี่ยวกับพระลิขิตพระสังฆราชและการถือครองที่ดินและทรัพย์สินของพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ให้ พศ.เพื่อเสนอต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม(มส.) พิจารณาพระธัมมชโย ต้องอาบัติปาราชิกตามลิขิตพระสังฆราช ขณะที่นายชยพล พงษ์สีดา รองผู้อำนวยการ พศ.ได้ออกมาส่งสัญญาณส่อปกป้องธัมมชโยเมื่อวันที่ 4 ก.พ. ว่า พศ.มีคำตอบสำหรับทุกข้อสงสัยแล้ว ขอหารือกับคณะสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง ก่อนเข้าพบดีเอสไอในสัปดาห์หน้า
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ได้มีการประชุม มส. หลังประชุม นายชยพล รองผู้อำนวยการ พศ. เผยว่า กรณีที่ดีเอสไอ ได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการ พศ. เพื่อให้พิจารณาคดีของพระธัมมชโย และเจ้าคณะผู้ปกครองที่เกี่ยวข้องว่าเข้าข่ายกระทำผิดอาญาหรือไม่ จากกรณีที่พระธัมมชโยถือครองที่ดินและทรัพย์สินและกรณีของพระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่มีพระลิขิตให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกว่า ขณะนี้ พศ.ได้ทำร่างหนังสือเพื่อชี้แจงดีเอสไอไว้เรียบร้อยแล้ว และได้นำร่างดังกล่าวเข้าที่ประชุม มส.เพื่อพิจารณา
นายชยพล กล่าวอีกว่า ร่างหนังสือดังกล่าวได้ชี้แจงเกี่ยวกับคำถามที่ถูกถามเข้ามามากว่า ทำไม มส.จึงไม่ออกคำสั่งให้พระธัมมชโยปาราชิกตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช จึงขออธิบายว่า ในขั้นตอนการพิจารณาความของคณะสงฆ์ ประชาชนทั่วไปอาจไม่เข้าใจ ซึ่งตามกฎ มส.ฉบับที่ 11 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม คณะสงฆ์ได้กำหนดขั้นตอนการพิจารณาเหมือนฝ่ายบ้านเมือง โดยแบ่งเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ซึ่ง มส.จะเป็นศาลฎีกาทุกกรณี ส่วนศาลชั้นต้นและศาลชั้นอุทธรณ์ จะขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ที่ถูกกล่าวหา ยกกรณีตัวอย่างของพระธัมมชโย ในขณะนั้นมีสมณศักดิ์ที่พระราชาคณะชั้นราช ดังนั้น ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคือเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี โดยมีเจ้าคณะภาค 1 เป็นประธาน
อย่างไรก็ตามเจ้าคณะภาค 1 ในขณะนั้นไม่รับคำร้องจากผู้กล่าวหา 2 คน คือ นายสมพร เทพสิทธา ประธานยุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติในขณะนั้น และนายมานพ พลไพรินทร์ ผู้เชี่ยวชาญกรมการศาสนาในขณะนั้น ที่ร้องพระธัมมชโยในคดีละเมิดพระธรรมวินัยและละเมิดจริยาพระสังฆาธิการ โดยเจ้าคณะภาค 1 ยึดตามพระธรรมวินัยว่า ผู้ที่ร้องต้องเป็นผู้ที่วาจาน่าเชื่อถือ และเปรียบเท่าพระโสดาบันขึ้นไป ดังนั้น จึงไม่รับคำร้อง แต่ มส.ยืนยันให้รับ และได้ขอความร่วมมือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ให้มาตีความกฎแห่งนิคหกรรม ซึ่งนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภาในขณะนั้น ยืนยันว่าสามารถรับคำฟ้องได้ เพราะตามกฎ มส.ผู้ร้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป จึงรับคำฟ้องได้ ดังนั้น เจ้าคณะใหญ่หนกลาง จึงได้สั่งปลดเจ้าคณะภาค 1 ด้วยเหตุที่ไม่รับคำร้อง และตั้งเจ้าคณะภาค 1 รูปใหม่ขึ้น เพื่อมาพิจารณาคดีดังกล่าว
นายชยพล เล่าต่อว่า แต่เนื่องจากคำกล่าวหาไม่สมบูรณ์ เจ้าคณะภาค 1 จึงได้ให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องในปี 2543 ขณะเดียวกัน ทางคณะสงฆ์ขอให้รัฐบาลดำเนินคดีกับพระธัมมชโยด้วย ซึ่งขณะนั้นอัยการรับฟ้อง ทำให้เกิดคดีทางโลกขึ้น คดีทางสงฆ์จึงต้องยุติเพราะกฎหมายบังคับไว้ กระทั่งปี 2549 นายมานพได้ถอนฟ้องไป เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีรูปใหม่ จึงได้หยิบคำร้องของนายสมพรมาพิจารณาต่อ แต่ด้วยคำร้องของนายสมพรไม่เป็นไปตามหลัก ขาดบางประเด็น และเป็นคุรุกาบัติ (อาบัติหนัก) เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี จึงไม่รับคำร้องดังกล่าว และได้เสนอคำร้องที่ไม่สมบูรณ์ไปยังเจ้าคณะภาค 1 รองเจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เพื่อให้รับทราบ เมื่อคำร้องไม่สมบูรณ์และผู้ร้องไม่ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน และนายสมพรได้เซ็นรับทราบแล้ว ดังนั้น จึงถือว่าคดีของพระธัมมชโย สิ้นสุดในศาลชั้นต้นของคณะสงฆ์แล้ว “ยืนยันว่าตามกฎหมายและพระวินัยไม่สามารถที่จะรื้อฟื้นคดีเดิมที่พิจารณาสิ้นสุดแล้วมาพิจารณาใหม่ จะต้องเป็นประเด็นใหม่เท่านั้นถึงจะร้องได้ เมื่อคดีจบในศาลชั้นต้นแล้ว มส.ไม่มีอำนาจจะหยิบมาพิจารณาเอง เพราะ มส.ทำหน้าที่ศาลฎีกาเท่านั้น ไม่มีอำนาจที่จะลงไปล้วงลูก เพราะฉะนั้นถือว่าคดีของพระธัมมชโย ไม่ได้ไปถึงขั้นตอนพิจารณาเรื่องปาราชิก”
ด้าน พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีที่ พศ.เตรียมส่งหนังสือชี้แจงดีเอสไอเกี่ยวกับมติ มส.กรณีพระธัมมชโยว่า เป็นหน้าที่ของ มส.และ พศ. ซึ่งรับผิดชอบทั้งหมด ส่วนผลออกมาอย่างไรก็คงต้องยอมรับมติของ มส. และ พศ. เนื่องจากมีอำนาจพิจารณาโดยตรง ทางดีเอสไอก็จะรับฟัง แต่ในที่สุดแล้วสังคมจะตัดสินเองว่ารับได้หรือไม่กับมติดังกล่าว “ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียน มส. และ พศ. เกี่ยวกับความผิดในมาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หากผู้ร้องเห็นว่า มส. และ พศ. ผิดมาตราดังกล่าว ก็สามารถยื่นเรื่องกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ แต่หากผู้ร้องส่งเรื่องมาที่ดีเอสไอ ก็ต้องส่งเรื่องไปให้กับ ป.ป.ช. พิจารณาอีก เพราะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง”
ขณะที่ พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ รองอธิบดีดีเอสไอ เผยความคืบหน้าการดำเนินคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ที่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯ คลองจั่น กับพวกตกเป็นจำเลยว่า ทางพนักงานอัยการมีหนังสือแจ้งมายังดีเอสไอ เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา ให้พนักงานสอบสวนดีเอสไอสามารถดำเนินการพิจารณาในเรื่องของฐานความผิดฟอกเงินหรือรับของโจรได้เลย คาดว่า จะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ก.พ. นี้
พ.ต.ท.สมบูรณ์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่ตนรับผิดชอบในคดีสหกรณ์ฯ คลองจั่น คือส่วนที่นายศุภชัย ยักยอกเงิน และเอาเงินส่วนหนึ่งสั่งจ่ายไปที่วัดพระธรรมกาย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของพระธรรมวินัย ส่วนจะมีการไปร้องเรียนเรื่องให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่นั้น ตรงนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) พร้อมด้วยเครือข่ายสตรีปกป้องพระพุทธศาสนา ได้ร่วมกันแถลงข่าวเมื่อวันที่ 11 ก.พ. ถึงกรณี มส.ระบุว่าคดีของพระธัมมชโยสิ้นสุดในชั้นคณะผู้พิจารณาชั้นต้นแล้วว่า การกระทำของ มส. และ พศ.อาจเข้าข่ายปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นอกจากนี้ที่ประชุม มส.ยังได้รับรองการดำเนินการให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นดำเนินการชอบด้วยกฎหมายและธรรมวินัยที่เกี่ยวข้องต่อ มส. เพื่อให้พิจารณาตามกฏของ มส.ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2538) ข้อ 4 วรรคแรกและวรรคท้าย จึงอาจเข้าข่ายปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ดังนั้นเพื่อให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายดำเนินการให้ได้ข้อยุติ จะยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษต่อดีเอสไอและผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยต่อไป
ขณะที่พระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจ สภ.เมืองนครปฐม ให้ดำเนินคดี มส.ข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และผิดจรรยาสังฆาธิการ กรณีปล่อยปละละเลยให้พระธัมมชโยเดินเรี่ยไรเงินไปทั่วประเทศ ทั้งที่กฎหมายกำหนดว่า ห้ามสงฆ์ออกเรี่ยไรเงินนอกพื้นที่ของตน และปล่อยให้ธรรมกายยักยอกทรัพย์ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ทำให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนหลายราย
2.“วิษณุ” เผย เคาะวันประชามติร่าง รธน.แล้ว 31 ก.ค.บวกลบ 7 วัน รณรงค์ไม่รับร่างฯ ได้ แต่ห้ามบิดเบือน!
ความคืบหน้าเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ หลังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ได้เผยแพร่เนื้อหาของรัฐธรรมนูญร่างแรกเมื่อวันที่ 29 ม.ค. พร้อมส่งร่างรัฐธรรมนูญให้แม่น้ำ 4 สาย(คสช.-ครม.-สนช.-สปท.) พิจารณา หากมีข้อเสนอแนะ ให้ส่งกลับ กรธ.เพื่อพิจารณาปรับปรุงภายในวันที่ 15 ก.พ. ซึ่งในส่วนของ ครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เวลารัฐมนตรีแต่ละคนไปอ่านร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนส่งข้อเสนอแนะให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ในวันที่ 10 ก.พ. เพื่อให้นายวิษณุรวบรวมส่ง กรธ.ต่อไป ส่วนกรณีที่ยังไม่ชัดเจนเรื่องการทำประชามตินั้น เมื่อวันที่ 10 ก.พ. นายวิษณุ ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย และตัวแทนคณะกรรมการ กรธ. รวมทั้งบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (มหาชน) หลังประชุม นายวิษณุ เผยว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้นที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 เรื่องหลักเกณฑ์การประกาศผลประชามติ โดยให้ยึดเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ และปรับหลักเกณฑ์การแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญ จากร้อยละ 80 ของครัวเรือน ให้ลดจำนวนลงเพื่อประหยัดงบประมาณ
นอกจากนี้ ให้มีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวางและส่งไปยังท้องถิ่น ชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดียด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถปรับลดงบประมาณที่ กกต. เสนอมาจากจำนวน 4,200 ล้านบาท เหลือประมาณ 3,400 ล้านบาท โดยมอบหมายให้ กกต. ไปร่างหลักเกณฑ์การควบคุมความสงบเรียบร้อยในการลงประชามติ จากนั้นให้เสนอมายังรัฐบาลเพื่อพิจารณาว่าจะออกเป็น พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ก. หรือใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557
ส่วนวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า กำหนดคร่าว ๆ คือ วันที่ 31 ก.ค. 2559 หรือบวกลบ 7 วัน และขยายเวลาการลงประชามติจาก 08.00 - 15.00 น. เป็น 08.00 - 16.00 น. นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นว่าสามารถรณรงค์ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องไม่เป็นการหลอกลวง บิดเบือน ข่มขู่ หรือก่อให้เกิดความไม่สงบ นายวิษณุ บอกด้วยว่า ข้อเสนอทั้งหมดนี้จะเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อนส่งเรื่องให้กฤษฎีการ่างแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 จากนั้นจึงเสนอให้ที่ประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ คสช. เห็นชอบ ก่อนส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา โดยกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน
ทั้งนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ จะทำอย่างไรต่อไป โดยนายวิษณุ พูดเหมือนโยนหินถามทางว่า หากคะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญสูงกว่ารับร่างไม่มาก มีโอกาสที่จะหยิบร่างรัฐธรรมนูญฉบับ กรธ.มาปรับใช้
ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. รีบออกมาค้าน โดยชี้ว่า ไม่มีความชอบธรรมที่จะนำร่างเดิมที่ไม่ผ่านประชามติมาใส่ตะกร้าล้างน้ำแล้วยัดเยียดให้ประชาชนอีก “ขอยืนยันข้อเสนอเดิมคือ หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 40 เพื่อจัดการเลือกตั้ง แล้วให้รัฐบาลเลือกตั้งจัดเลือกตั้ง สสร.มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วทำประชามติในกรอบเวลา 1 ปี จากนั้นก็ยุบสภา จัดการเลือกตั้งตามกติกาใหม่ เรื่องคะแนนที่น่าคิดคือ ถ้าคะแนนฝ่ายคว่ำชนะขาดลอย รัฐบาลจะรักษาอำนาจในสถานการณ์เช่นนั้นอย่างไร”
ด้าน สนช.ได้มีการประชุมรวบรวมความเห็นของ สนช. ประกอบการร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 12 ก.พ. โดยมีประเด็นที่จะเสนอ กรธ. 5 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ที่มา ส.ส. เสนอให้ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ โดยแบ่งการเลือกตั้ง ส.ส.เขตและ ส.ส.บัญชีรายชื่อออกจากกัน 2.ที่มา ส.ว. เสนอให้มี ส.ว. 200 คน และมาจากการสรรหาทั้งหมด จากกลุ่มอาชีพและกลุ่มสังคมที่หลากหลาย 3.ที่มานายกฯ ไม่เห็นด้วยที่ให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อบุคคลที่สมควรดำรงตำแหน่งนายกฯ พรรคละไม่เกิน 3 คน เพราะเป็นการจำกัดสิทธิของสภาในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ 4.จำเป็นต้องมีกลไกเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ กรณีที่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดแนวทางไว้ โดยให้เป็นอำนาจของรัฐสภาหรือวุฒิสภา แต่ถ้าสภาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเห็นว่าเป็นวิกฤตของประเทศแล้ว ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เรียกประชุมร่วมกันของผู้บัญชาการเหล่าทัพ, ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, ประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ, ปลัดกระทรวงกลาโหม และบุคคลอื่นตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยให้ที่ประชุมมีอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และ 5.ประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่น ควรคงหลักการตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ในเรื่องสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ , ควรบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในหมวดศาล เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับสถานะของศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
3.คกก.สอบข้อเท็จจริงฯ สรุป นโยบายจำนำข้าวไม่ผิด แต่ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” ผิดอย่างน้อย 3 กระทง ด้าน “ยิ่งลักษณ์” ยันไม่หนีคดี!
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. นายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดจากโครงการรับจำนำข้าว ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถูกกล่าวหา เผยถึงกรณีได้ส่งข้อสรุปความเห็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้วว่า คณะกรรมการทำงานมาตั้งแต่เดือน เม.ย. 2558 โดยได้เชิญบุคคล 3 กลุ่มมาให้ถ้อยคำ ได้แก่ กลุ่มข้าราชการจำนวน 15 หน่วยงาน กลุ่มผู้กล่าวหา 8 ราย อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และกลุ่มผู้ถูกกล่าวหา 15 ราย อาทิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพยานที่กล่าวอ้าง รวมทั้งที่ส่งมาเพิ่มอีก 20 ราย เมื่อเดือน ธ.ค.2558 ซึ่งกรรมการได้ขอให้ส่งถ้อยคำเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันที่ 20 มกราคม 2559 แต่ไม่มีใครส่งข้อมูลมาแต่อย่างใด
นายจิรชัย กล่าวว่า กรรมการได้พิจารณา 2 ลักษณะ คือ พฤติการณ์ดำเนินการในการกำกับดูแลติดตาม ในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) ว่ามีการติดตามรัดกุม กำกับชัดเจนหรือไม่ และเรื่องความเสียหาย ซึ่งถือวันปิดบัญชี 22 พฤษภาคม 2557 เพื่อนำตัวเลขปิดบัญชีมาพิจารณาวิเคราะห์ โดยให้ความเป็นธรรม อาทิ ตัวเลขที่ประชาชนจะได้รับส่วนต่าง เช่น ราคาท้องตลาดเกวียนละ 9,000 บาท แต่รับจำนำ 15,000 บาท ส่วนต่างตรงนี้ถือเป็นประโยชน์ประชาชน กรรมการไม่ได้คิดเป็นความเสียหาย ส่วนเรื่องดอกเบี้ย ที่ทางคณะกรรมการปิดบัญชีคิดดอกเบี้ยด้วย แต่กรรมการเราคิดว่าไม่ใช่การค้า เป็นการดำเนินงานราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขประชาชนก็ไม่คิดเป็นความเสียหาย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงตัวเลขที่ประเมินเพื่อฟ้องเรียกความเสียหายจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายจิรชัย ขอยังไม่เปิดเผย เนื่องจากเรื่องยังไม่จบ ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและนายกรัฐมนตรี และยังต้องให้คณะกรรมการพิจารณาเรียกร้องทางแพ่ง กรมบัญชีกลางดำเนินการพิจารณาต่อ จึงยังไม่นิ่ง แต่ยืนยันว่าในนามกรรมการชุดของตนนั้นไม่มีการถูกกดดันใดๆ ทำงานด้วยความอิสระ ให้ความเป็นธรรม ให้โอกาสมากที่สุด ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้มอบไว้
เมื่อถามว่า ผลจากการพิจารณาของกรรมการถือว่าพฤติการณ์สอดคล้องกับที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดมาหรือไม่ นายจิรชัย กล่าวว่า ก็สอดคล้องกัน ตามพฤติการณ์ก็มีความผิด แต่เรื่องความเสียหายนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ตัวเลขความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวที่เกิดขึ้นนั้นสูงถึงหลักแสนล้านบาท ตามที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลหรือไม่ นายจิรชัย พูดเหมือนเดิมว่า ต้องขอสงวนไว้ก่อน และว่า ตัวเลขความเสียหายนั้นทางอนุกรรมการปิดบัญชีได้สรุปไว้แล้ว และนำตัวเลขนั้นมาวิเคราะห์ โดยไม่ได้เห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะเขาคิดละเอียดแบบนักบัญชี แต่เราเป็นนักบริหารต้องดูความเหมาะสม ดูความเป็นธรรม ดูประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
นายจิรชัย ได้ย้ำอีกครั้งในวันต่อมา(11 ก.พ.) ถึงกรณีที่ระบุว่าเกษตรกรได้ประโยชน์จากส่วนต่างของราคาข้าวที่ท้องตลาดรับซื้อ 9,000 บาท แต่รับจำนำ 15,000 บาท/เกวียนว่า อะไรที่เป็นประโยชน์กับชาวบ้านถือว่าเป็นนโยบายที่ดี เรื่องนี้นโยบายไม่ผิด แต่การจำนำข้าวของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผิดแน่นอนอย่างน้อย 3 กระทง คือ 1.ผิดที่จำนำทุกเมล็ดด้วยราคาที่สูงเกินความเป็นจริงมาก เป็นการบิดเบือนกลไกตลาดทำให้ระบบข้าวของไทยเสียหาย เป็นการเร่งปลูกใช้น้ำต้นทุนในเขื่อนจนเกิดวิกฤติ ระบบตลาดข้าวไทยเสียหายไม่สามารถแข่งขันได้ มีการเร่งผลิตโดยเอาพันธุ์ข้าวอื่นที่ได้ผลเร็วมาปลูก ทำให้ข้าวพันธุ์ดีในพื้นที่ปลูกเดิมผสมจนกลายพันธุ์ 2.ผิดที่มีการทุจริต เช่น การขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ(จีทูจี) เก๊ ซื้อราคาถูกไปขายแพงเอากำไร ทำให้รัฐเสียหาย มีข้าวในโกดังหาย รัฐบาลสำรวจยอดแล้วตอบสื่อมวลชนที่ถามไม่ได้ มีการทำนั่งร้านแล้วเรียงกระสอบข้าวปิด หลอกว่าข้าวที่เก็บในโกดังอยู่ครบ และ 3.คณะกรรมการ ป.ป.ข. ทักท้วงว่าการจำนำข้าวเกิดความเสียหายแก่รัฐฯ ให้รัฐบาลหยุดดำเนินการแต่อดีตนายกฯ ไม่หยุด จึงมีความผิดฐานละเว้นฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ ของสิงคโปร์ ตีพิมพ์วันที่ 11 ก.พ. โดยเรียกร้องขอความเป็นธรรมในการดำเนินการทางกฎหมายต่อโครงการรับจำนำข้าว และย้ำถึงการถูกดำเนินคดีโครงการรับจำนำข้าวที่ถูกกล่าวหาว่าทำให้รัฐสูญเงิน 5 แสนล้านบาทว่า เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร พร้อมยืนยันด้วยว่า ไม่หนีคดีแน่นอน เพราะถ้าต้องการหนี คงหนีไปแต่แรกแล้ว จะไปขึ้นศาลทำไม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังย้ำอีกว่า ตนไม่ได้คุกคามรัฐบาลทหาร เพราะไม่มีตำแหน่งอะไร เป็นแค่คุณแม่ลูกหนึ่ง ดังนั้นไม่ต้องหวาดหวั่นอะไรในตัวตน
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เปิดบ้าน ซ.โยธินพัฒนา 3 ให้สื่อมวลชนของสำนักข่าวต่างประเทศประมาณ 30 คนเข้าพูดคุย เมื่อวันที่ 12 ก.พ. โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แสดงท่าทีงงๆ และข้องใจกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการรับจำนำข้าวระบุว่า นโยบายไม่ผิด แต่พฤติการณ์ผิด โดยกล่าวว่า เมื่อตัวนโยบายไม่ผิด แล้วข้าวก็ไม่ได้หาย ผู้ปฏิบัติก็ไม่ได้ผิด แล้วผู้ที่กำหนดนโยบายจะผิดได้อย่างไร
4.ศาลแพ่ง พิพากษาให้ “เก่ง การุณ” อดีต ส.ส.เพื่อไทย ชดใช้ค่าจัดเลือกตั้งใหม่เขตดอนเมือง 5.3 ล้าน หลังถูก กกต.แจกใบแดง!
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ศาลแพ่ง ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นโจทก์ฟ้องนายการุณ โหสกุล หรือเก่ง อดีต ส.ส. กทม. เขต 12 ดอนเมือง พรรคเพื่อไทย เป็นจำเลย โดยให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดเลือกตั้ง ส.ส. ในเขตดังกล่าวใหม่ จำนวน 5,369,108.32 บาท
จากกรณีที่ กกต. โจทก์ ได้จัดให้มีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2554 โดยโจทก์ได้ประกาศผลการเลือกตั้งให้นายการุณ จำเลย ซึ่งเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. แบบแบ่งเขต พรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.กทม. เขตเลือกตั้งที่ 12 ซึ่งต่อมา นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตเดียวกัน ได้ยื่นคำร้องว่า จำเลยปราศรัยใส่ร้ายนายแทนคุณ ด้วยข้อความเท็จ เพื่อให้ประชาชนงดเว้นการลงคะแนนให้นายแทนคุณและพรรคประชาธิปัตย์ ส่งผลให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม โดย กกต. สอบถามแล้วเห็นว่า จำเลยกระทำการดังกล่าวจริง จึงยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลย ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของจำเลย 5 ปี (ให้ใบแดง) และให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 12 ใหม่ โจทก์จึงจัดการเลือกตั้งใหม่และประกาศผลให้นายแทนคุณชนะการเลือกตั้งเป็น ส.ส. กทม. เขตเลือกตั้งที่ 12 โดยโจทก์ใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งใหม่เป็นเงินทั้งสิ้น 5,201,313 บาท และขอให้จำเลยชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 5,369,108.32 บาท
ด้านศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 มาตรา 113 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ศาลฎีกาฯ มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ส.ส. ผู้ใด เป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ให้ผู้ถูกเพิกถอนการเลือกตั้งต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย” จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่ให้แก่โจทก์จำนวน 5,369,108.32 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากเงินต้น 5,201,313 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จ
ด้าน นายการุณ ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษาศาลแพ่ง โดยบอกว่า ไม่ทราบว่าศาลมีคำพิพากษาในวันดังกล่าว และจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่
อนึ่ง เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่นายแทนคุณ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายการุณ เรื่องกระทำละเมิดจากกรณีปราศรัยโจมตีใส่ร้ายนายแทนคุณต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก ด้วยข้อความอันเป็นเท็จที่เขตเลือกตั้งดอนเมือง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้นายการุณ ชดใช้เงิน 1 ล้านบาท ให้นายแทนคุณ
5. “พล.ต.อ.สมยศ” ชนะคู่แข่งถล่มทลายได้นั่งนายกสมาคมบอลฯ คนใหม่ ด้าน “ฟีฟ่า” ขู่แบนบอลไทย เตือนทุกฝ่ายถอนฟ้อง!
เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) คณะกรรมการกลางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งแต่งตั้งโดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(ฟีฟ่า) ที่มี พล.ร.อ.สุรวุฒิ มหารมณ์ หรือ เสธ.โต เป็นประธาน ได้จัดการประชุมใหญ่พิเศษสมาคมฟุตบอลฯ เพื่อเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลฯ คนใหม่แทนนายวรวีร์ มะกูดี หรือบังยี อดีตนายกสมาคมฟุตบอลฯ 4 สมัย และอดีตคณะกรรมการบริหารฟีฟ่า ที่ถูกฟีฟ่าสั่งพักงานฐานละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับจริยธรรม
สำหรับผู้สมัครชิงนายกสมาคมฟุตบอลฯ ได้แก่ นายธวัชชัย สัจจกุล หรือบิ๊กหอย, พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง หรือบิ๊กอ๊อด อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, นายพินิจ สะสินิน, ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน หรือโค้ชหรั่ง, นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ หรือบิ๊กตั้น และ พ.ต.ท.ชัยทรัพย์ ธรัช ฤทธิ์เต็ม หรือรองแห้ว ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า มีเพียง พ.ต.ท.ชัยทรัพย์ เพียงคนเดียวที่ไม่ได้เดินทางมาสังเกตการณ์การเลือกตั้งครั้งนี้แต่อย่างใด
ทั้งนี้ การลงคะแนนเลือกตั้งครั้งนี้ มีทั้งหมด 68 เสียงจาก 72 เสียง เนื่องจาก 4 สโมสรไม่เดินทางมา ประกอบด้วย 1.เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด (ไทยลีก) 2.บีอีซี เทโรศาสน (ไทยลีก) 3.โอสถสภา เอ็ม-150 (ไทยลีก) และวิทยาลัยเทคโนโลยีพิชญเกษม (ถ้วย ค)
โดยผลการลงคะแนนเลือกตั้ง ปรากฏว่า พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมฟุตบอลฯ คนใหม่ ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 62 เสียง ขณะที่ ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน ได้ 4 คะแนน ส่วนนายณัฐพล ทีปสุวรรณ ได้ 1 คะแนน มีไม่ประสงค์ลงคะแนน 1 คะแนน ขณะที่ผู้สมัครอีก 3 คน คือ นายธวัชชัย สัจจกุล , นายพินิจ สะสินิน และ พ.ต.ท.ชัยทรัพย์ ธรัช ฤทธิ์เต็ม ไม่มีคะแนน
ส่วนผลการเลือกตั้งอุปนายกสมาคมฯ ปรากฏว่า อุปนายก 5 คนในชุดของ พล.ต.อ.สมยศ ชนะการเลือกตั้งทั้งหมด ประกอบด้วย นายทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์, นายศุภสิน ลีลาฤทธิ์, นายธนศักดิ์ สุระประเสริฐ, นายวิทยา เลาหกุล และ พล.อ.อดุลย์เดช อินทะพงษ์
สำหรับผลการเลือกตั้งกรรมการกลาง ปรากฏว่า กรรมการกลาง 13 คน ชุด พล.ต.อ.สมยศ ได้รับเลือกตั้งเช่นกัน ประกอบด้วย น.ส.นันทนี วงศ์อำนิษฐกุล, นายธนวัชร์ นิติกาญจนา, พล.ร.อ.นาวิน ธนเนตร, นายสมเกียรติ กิตติธรกุล, นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล, นายชาติชาย เจียมสิริพงศ์, นายทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์, ดร.วิชิต คนึงสุขเกษม, นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ, นายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล, นายธวัช อุยสุย, นายทรงยศ เทียนทอง และนายณัฐ ชยุติมันต์
ด้าน “เสธ.โต” พล.ร.อ.สุรวุฒิ ประธานคณะกรรมการกลางการเลือกตั้ง บอกว่า กกต.จะนำผลไปให้เอเอฟซีและฟีฟ่ารับรอง ทั้งนายกสมาคมฯ อุปนายก และสภากรรมการ เมื่อรับรองแล้ว จะส่งให้การกีฬาแห่งประเทศไทยรับรองผลการเลือกตั้งต่อไป
ขณะที่ พล.ต.อ.สมยศ ว่าที่นายกสมาคมฟุตบอลฯ คนใหม่ ได้แถลงข่าวขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย พร้อมยืนยัน ตนและทีมงานจะบริหารสมาคมอย่างเต็มความสามารถด้วยการร่วมกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ และร่วมกันรับผิดชอบ เพื่อนำพาวงการฟุตบอลไทยให้ก้าวหน้าตามที่แฟนบอลชาวไทยอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง หากมีสิ่งบกพร่องขอให้เตือนและท้วงติงได้ จะเน้นความถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ พร้อมนัดประชุมทีมงานวันที่ 14 ก.พ.นี้
ด้านนายภาคิน จินาภักดิ์ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของสมาคมฟุตบอลฯ ได้ยื่นหนังสือต่อนายสกล วรรณพงษ์ หรือบิ๊กเสือ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ขอให้ระงับการรับรองผลเลือกตั้งครั้งนี้ โดยอ้างว่าคณะกรรมการกลางฝ่าฝืนข้อบังคับลักษณะการปกครองของสมาคมฯ รวมถึงการเลือกตั้งตัวแทน 30 เสียงใหม่ในลีกภูมิภาคเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ฟีฟ่า ได้ส่งหนังสือถึง “เสธ.โต” พล.ร.อ.สุรวุฒิ ว่า ตามกฎของฟีฟ่า ไม่อนุญาตให้สมาคมฟุตบอลชาติสมาชิก รวมถึงสโมสรสมาชิก คณะกรรมการบริหารลีก ผู้เล่น เจ้าหน้าที่ หรือบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นำเรื่องเข้าสู่ชั้นศาล เว้นแต่จะได้รับคำสั่งจากฟีฟา อีกทั้งตามระเบียบของฟีฟ่า สมาคมฟุตบอลชาติสมาชิกจะต้องลงโทษสโมสรสมาชิก ผู้เล่น หรือผู้เกี่ยวข้องที่ละเมิดกฎ หากไม่ดำเนินการ จะลงโทษสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยที่ไม่สามารถควบคุมสโมสรสมาชิกได้ และอาจส่งผลให้ทีมสโมสรหรือทีมชาติโดนแบน
ด้าน “บิ๊กหอย” ธวัชชัย สัจจกุล 1 ใน 6 แคนดิเดตชิงเก้าอี้นายกสมาคมฟุตบอลฯ ได้ทำหนังสือถึงฟีฟ่าเมื่อวันที่ 12 ก.พ. โดยยินดีจะถอนฟ้องคณะกรรมการกลางสมาคมฟุตบอลฯ เนื่องจากไม่อยากให้ทีมฟุตบอลไทยถูกฟีฟ่าลงโทษ อย่างไรก็ตาม นอกจากคดีของ “บิ๊กหอย” แล้ว ยังมีคดีที่ พ.ต.ท.ชัยทรัพย์ ธรัช ฤทธิ์เต็ม หนึ่งในผู้สมัครนายกสมาคมฟุตบอลฯ รวมถึงคดีนางอนงค์ ล่อใจ อดีตประธานสุราษฎร์ เอฟซี พร้อม 3 ทีมภาคใต้ ปัตตานี เอฟซี , พังงา เอฟซี , ยะลา ยูไนเต็ด และคดีที่ พล.อ.จีระศักดิ์ บุตรเนียร ประธานสโมสรมุกดาหาร ลำโขง ยื่นฟ้องคณะกรรมการกลางอยู่ในชั้นศาลด้วย
1.มส. อุ้ม “ธัมมชโย” ไม่ปาราชิก อ้างคดีจบนานแล้ว ด้าน “พระพุทธะอิสระ” แจ้งความเอาผิด มส. ขณะที่ “ไพบูลย์” เตรียมยื่นดีเอสไอ-ผู้ตรวจการฯ !
ความคืบหน้ากรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ส่งหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เพื่อทวงถามความคืบหน้าหลังจากได้ส่งผลการพิจารณาเกี่ยวกับพระลิขิตพระสังฆราชและการถือครองที่ดินและทรัพย์สินของพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ให้ พศ.เพื่อเสนอต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม(มส.) พิจารณาพระธัมมชโย ต้องอาบัติปาราชิกตามลิขิตพระสังฆราช ขณะที่นายชยพล พงษ์สีดา รองผู้อำนวยการ พศ.ได้ออกมาส่งสัญญาณส่อปกป้องธัมมชโยเมื่อวันที่ 4 ก.พ. ว่า พศ.มีคำตอบสำหรับทุกข้อสงสัยแล้ว ขอหารือกับคณะสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง ก่อนเข้าพบดีเอสไอในสัปดาห์หน้า
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ได้มีการประชุม มส. หลังประชุม นายชยพล รองผู้อำนวยการ พศ. เผยว่า กรณีที่ดีเอสไอ ได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการ พศ. เพื่อให้พิจารณาคดีของพระธัมมชโย และเจ้าคณะผู้ปกครองที่เกี่ยวข้องว่าเข้าข่ายกระทำผิดอาญาหรือไม่ จากกรณีที่พระธัมมชโยถือครองที่ดินและทรัพย์สินและกรณีของพระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่มีพระลิขิตให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกว่า ขณะนี้ พศ.ได้ทำร่างหนังสือเพื่อชี้แจงดีเอสไอไว้เรียบร้อยแล้ว และได้นำร่างดังกล่าวเข้าที่ประชุม มส.เพื่อพิจารณา
นายชยพล กล่าวอีกว่า ร่างหนังสือดังกล่าวได้ชี้แจงเกี่ยวกับคำถามที่ถูกถามเข้ามามากว่า ทำไม มส.จึงไม่ออกคำสั่งให้พระธัมมชโยปาราชิกตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช จึงขออธิบายว่า ในขั้นตอนการพิจารณาความของคณะสงฆ์ ประชาชนทั่วไปอาจไม่เข้าใจ ซึ่งตามกฎ มส.ฉบับที่ 11 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม คณะสงฆ์ได้กำหนดขั้นตอนการพิจารณาเหมือนฝ่ายบ้านเมือง โดยแบ่งเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ซึ่ง มส.จะเป็นศาลฎีกาทุกกรณี ส่วนศาลชั้นต้นและศาลชั้นอุทธรณ์ จะขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ที่ถูกกล่าวหา ยกกรณีตัวอย่างของพระธัมมชโย ในขณะนั้นมีสมณศักดิ์ที่พระราชาคณะชั้นราช ดังนั้น ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคือเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี โดยมีเจ้าคณะภาค 1 เป็นประธาน
อย่างไรก็ตามเจ้าคณะภาค 1 ในขณะนั้นไม่รับคำร้องจากผู้กล่าวหา 2 คน คือ นายสมพร เทพสิทธา ประธานยุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติในขณะนั้น และนายมานพ พลไพรินทร์ ผู้เชี่ยวชาญกรมการศาสนาในขณะนั้น ที่ร้องพระธัมมชโยในคดีละเมิดพระธรรมวินัยและละเมิดจริยาพระสังฆาธิการ โดยเจ้าคณะภาค 1 ยึดตามพระธรรมวินัยว่า ผู้ที่ร้องต้องเป็นผู้ที่วาจาน่าเชื่อถือ และเปรียบเท่าพระโสดาบันขึ้นไป ดังนั้น จึงไม่รับคำร้อง แต่ มส.ยืนยันให้รับ และได้ขอความร่วมมือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ให้มาตีความกฎแห่งนิคหกรรม ซึ่งนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภาในขณะนั้น ยืนยันว่าสามารถรับคำฟ้องได้ เพราะตามกฎ มส.ผู้ร้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป จึงรับคำฟ้องได้ ดังนั้น เจ้าคณะใหญ่หนกลาง จึงได้สั่งปลดเจ้าคณะภาค 1 ด้วยเหตุที่ไม่รับคำร้อง และตั้งเจ้าคณะภาค 1 รูปใหม่ขึ้น เพื่อมาพิจารณาคดีดังกล่าว
นายชยพล เล่าต่อว่า แต่เนื่องจากคำกล่าวหาไม่สมบูรณ์ เจ้าคณะภาค 1 จึงได้ให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องในปี 2543 ขณะเดียวกัน ทางคณะสงฆ์ขอให้รัฐบาลดำเนินคดีกับพระธัมมชโยด้วย ซึ่งขณะนั้นอัยการรับฟ้อง ทำให้เกิดคดีทางโลกขึ้น คดีทางสงฆ์จึงต้องยุติเพราะกฎหมายบังคับไว้ กระทั่งปี 2549 นายมานพได้ถอนฟ้องไป เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีรูปใหม่ จึงได้หยิบคำร้องของนายสมพรมาพิจารณาต่อ แต่ด้วยคำร้องของนายสมพรไม่เป็นไปตามหลัก ขาดบางประเด็น และเป็นคุรุกาบัติ (อาบัติหนัก) เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี จึงไม่รับคำร้องดังกล่าว และได้เสนอคำร้องที่ไม่สมบูรณ์ไปยังเจ้าคณะภาค 1 รองเจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เพื่อให้รับทราบ เมื่อคำร้องไม่สมบูรณ์และผู้ร้องไม่ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน และนายสมพรได้เซ็นรับทราบแล้ว ดังนั้น จึงถือว่าคดีของพระธัมมชโย สิ้นสุดในศาลชั้นต้นของคณะสงฆ์แล้ว “ยืนยันว่าตามกฎหมายและพระวินัยไม่สามารถที่จะรื้อฟื้นคดีเดิมที่พิจารณาสิ้นสุดแล้วมาพิจารณาใหม่ จะต้องเป็นประเด็นใหม่เท่านั้นถึงจะร้องได้ เมื่อคดีจบในศาลชั้นต้นแล้ว มส.ไม่มีอำนาจจะหยิบมาพิจารณาเอง เพราะ มส.ทำหน้าที่ศาลฎีกาเท่านั้น ไม่มีอำนาจที่จะลงไปล้วงลูก เพราะฉะนั้นถือว่าคดีของพระธัมมชโย ไม่ได้ไปถึงขั้นตอนพิจารณาเรื่องปาราชิก”
ด้าน พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีที่ พศ.เตรียมส่งหนังสือชี้แจงดีเอสไอเกี่ยวกับมติ มส.กรณีพระธัมมชโยว่า เป็นหน้าที่ของ มส.และ พศ. ซึ่งรับผิดชอบทั้งหมด ส่วนผลออกมาอย่างไรก็คงต้องยอมรับมติของ มส. และ พศ. เนื่องจากมีอำนาจพิจารณาโดยตรง ทางดีเอสไอก็จะรับฟัง แต่ในที่สุดแล้วสังคมจะตัดสินเองว่ารับได้หรือไม่กับมติดังกล่าว “ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียน มส. และ พศ. เกี่ยวกับความผิดในมาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หากผู้ร้องเห็นว่า มส. และ พศ. ผิดมาตราดังกล่าว ก็สามารถยื่นเรื่องกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ แต่หากผู้ร้องส่งเรื่องมาที่ดีเอสไอ ก็ต้องส่งเรื่องไปให้กับ ป.ป.ช. พิจารณาอีก เพราะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง”
ขณะที่ พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ รองอธิบดีดีเอสไอ เผยความคืบหน้าการดำเนินคดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ที่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯ คลองจั่น กับพวกตกเป็นจำเลยว่า ทางพนักงานอัยการมีหนังสือแจ้งมายังดีเอสไอ เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา ให้พนักงานสอบสวนดีเอสไอสามารถดำเนินการพิจารณาในเรื่องของฐานความผิดฟอกเงินหรือรับของโจรได้เลย คาดว่า จะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ก.พ. นี้
พ.ต.ท.สมบูรณ์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่ตนรับผิดชอบในคดีสหกรณ์ฯ คลองจั่น คือส่วนที่นายศุภชัย ยักยอกเงิน และเอาเงินส่วนหนึ่งสั่งจ่ายไปที่วัดพระธรรมกาย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของพระธรรมวินัย ส่วนจะมีการไปร้องเรียนเรื่องให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่นั้น ตรงนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) พร้อมด้วยเครือข่ายสตรีปกป้องพระพุทธศาสนา ได้ร่วมกันแถลงข่าวเมื่อวันที่ 11 ก.พ. ถึงกรณี มส.ระบุว่าคดีของพระธัมมชโยสิ้นสุดในชั้นคณะผู้พิจารณาชั้นต้นแล้วว่า การกระทำของ มส. และ พศ.อาจเข้าข่ายปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นอกจากนี้ที่ประชุม มส.ยังได้รับรองการดำเนินการให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นดำเนินการชอบด้วยกฎหมายและธรรมวินัยที่เกี่ยวข้องต่อ มส. เพื่อให้พิจารณาตามกฏของ มส.ฉบับที่ 21 (พ.ศ.2538) ข้อ 4 วรรคแรกและวรรคท้าย จึงอาจเข้าข่ายปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ดังนั้นเพื่อให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายดำเนินการให้ได้ข้อยุติ จะยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษต่อดีเอสไอและผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยต่อไป
ขณะที่พระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจ สภ.เมืองนครปฐม ให้ดำเนินคดี มส.ข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และผิดจรรยาสังฆาธิการ กรณีปล่อยปละละเลยให้พระธัมมชโยเดินเรี่ยไรเงินไปทั่วประเทศ ทั้งที่กฎหมายกำหนดว่า ห้ามสงฆ์ออกเรี่ยไรเงินนอกพื้นที่ของตน และปล่อยให้ธรรมกายยักยอกทรัพย์ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ทำให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนหลายราย
2.“วิษณุ” เผย เคาะวันประชามติร่าง รธน.แล้ว 31 ก.ค.บวกลบ 7 วัน รณรงค์ไม่รับร่างฯ ได้ แต่ห้ามบิดเบือน!
ความคืบหน้าเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ หลังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ได้เผยแพร่เนื้อหาของรัฐธรรมนูญร่างแรกเมื่อวันที่ 29 ม.ค. พร้อมส่งร่างรัฐธรรมนูญให้แม่น้ำ 4 สาย(คสช.-ครม.-สนช.-สปท.) พิจารณา หากมีข้อเสนอแนะ ให้ส่งกลับ กรธ.เพื่อพิจารณาปรับปรุงภายในวันที่ 15 ก.พ. ซึ่งในส่วนของ ครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เวลารัฐมนตรีแต่ละคนไปอ่านร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนส่งข้อเสนอแนะให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ในวันที่ 10 ก.พ. เพื่อให้นายวิษณุรวบรวมส่ง กรธ.ต่อไป ส่วนกรณีที่ยังไม่ชัดเจนเรื่องการทำประชามตินั้น เมื่อวันที่ 10 ก.พ. นายวิษณุ ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย และตัวแทนคณะกรรมการ กรธ. รวมทั้งบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (มหาชน) หลังประชุม นายวิษณุ เผยว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้นที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 เรื่องหลักเกณฑ์การประกาศผลประชามติ โดยให้ยึดเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ และปรับหลักเกณฑ์การแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญ จากร้อยละ 80 ของครัวเรือน ให้ลดจำนวนลงเพื่อประหยัดงบประมาณ
นอกจากนี้ ให้มีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวางและส่งไปยังท้องถิ่น ชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดียด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถปรับลดงบประมาณที่ กกต. เสนอมาจากจำนวน 4,200 ล้านบาท เหลือประมาณ 3,400 ล้านบาท โดยมอบหมายให้ กกต. ไปร่างหลักเกณฑ์การควบคุมความสงบเรียบร้อยในการลงประชามติ จากนั้นให้เสนอมายังรัฐบาลเพื่อพิจารณาว่าจะออกเป็น พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ก. หรือใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557
ส่วนวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า กำหนดคร่าว ๆ คือ วันที่ 31 ก.ค. 2559 หรือบวกลบ 7 วัน และขยายเวลาการลงประชามติจาก 08.00 - 15.00 น. เป็น 08.00 - 16.00 น. นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นว่าสามารถรณรงค์ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องไม่เป็นการหลอกลวง บิดเบือน ข่มขู่ หรือก่อให้เกิดความไม่สงบ นายวิษณุ บอกด้วยว่า ข้อเสนอทั้งหมดนี้จะเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อนส่งเรื่องให้กฤษฎีการ่างแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 จากนั้นจึงเสนอให้ที่ประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ คสช. เห็นชอบ ก่อนส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา โดยกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน
ทั้งนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ จะทำอย่างไรต่อไป โดยนายวิษณุ พูดเหมือนโยนหินถามทางว่า หากคะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญสูงกว่ารับร่างไม่มาก มีโอกาสที่จะหยิบร่างรัฐธรรมนูญฉบับ กรธ.มาปรับใช้
ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. รีบออกมาค้าน โดยชี้ว่า ไม่มีความชอบธรรมที่จะนำร่างเดิมที่ไม่ผ่านประชามติมาใส่ตะกร้าล้างน้ำแล้วยัดเยียดให้ประชาชนอีก “ขอยืนยันข้อเสนอเดิมคือ หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ ให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 40 เพื่อจัดการเลือกตั้ง แล้วให้รัฐบาลเลือกตั้งจัดเลือกตั้ง สสร.มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วทำประชามติในกรอบเวลา 1 ปี จากนั้นก็ยุบสภา จัดการเลือกตั้งตามกติกาใหม่ เรื่องคะแนนที่น่าคิดคือ ถ้าคะแนนฝ่ายคว่ำชนะขาดลอย รัฐบาลจะรักษาอำนาจในสถานการณ์เช่นนั้นอย่างไร”
ด้าน สนช.ได้มีการประชุมรวบรวมความเห็นของ สนช. ประกอบการร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 12 ก.พ. โดยมีประเด็นที่จะเสนอ กรธ. 5 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ที่มา ส.ส. เสนอให้ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ โดยแบ่งการเลือกตั้ง ส.ส.เขตและ ส.ส.บัญชีรายชื่อออกจากกัน 2.ที่มา ส.ว. เสนอให้มี ส.ว. 200 คน และมาจากการสรรหาทั้งหมด จากกลุ่มอาชีพและกลุ่มสังคมที่หลากหลาย 3.ที่มานายกฯ ไม่เห็นด้วยที่ให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อบุคคลที่สมควรดำรงตำแหน่งนายกฯ พรรคละไม่เกิน 3 คน เพราะเป็นการจำกัดสิทธิของสภาในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ 4.จำเป็นต้องมีกลไกเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ กรณีที่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดแนวทางไว้ โดยให้เป็นอำนาจของรัฐสภาหรือวุฒิสภา แต่ถ้าสภาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเห็นว่าเป็นวิกฤตของประเทศแล้ว ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เรียกประชุมร่วมกันของผู้บัญชาการเหล่าทัพ, ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, ประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ, ปลัดกระทรวงกลาโหม และบุคคลอื่นตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยให้ที่ประชุมมีอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และ 5.ประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่น ควรคงหลักการตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ในเรื่องสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ , ควรบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในหมวดศาล เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับสถานะของศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
3.คกก.สอบข้อเท็จจริงฯ สรุป นโยบายจำนำข้าวไม่ผิด แต่ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” ผิดอย่างน้อย 3 กระทง ด้าน “ยิ่งลักษณ์” ยันไม่หนีคดี!
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. นายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดจากโครงการรับจำนำข้าว ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถูกกล่าวหา เผยถึงกรณีได้ส่งข้อสรุปความเห็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้วว่า คณะกรรมการทำงานมาตั้งแต่เดือน เม.ย. 2558 โดยได้เชิญบุคคล 3 กลุ่มมาให้ถ้อยคำ ได้แก่ กลุ่มข้าราชการจำนวน 15 หน่วยงาน กลุ่มผู้กล่าวหา 8 ราย อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และกลุ่มผู้ถูกกล่าวหา 15 ราย อาทิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพยานที่กล่าวอ้าง รวมทั้งที่ส่งมาเพิ่มอีก 20 ราย เมื่อเดือน ธ.ค.2558 ซึ่งกรรมการได้ขอให้ส่งถ้อยคำเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันที่ 20 มกราคม 2559 แต่ไม่มีใครส่งข้อมูลมาแต่อย่างใด
นายจิรชัย กล่าวว่า กรรมการได้พิจารณา 2 ลักษณะ คือ พฤติการณ์ดำเนินการในการกำกับดูแลติดตาม ในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) ว่ามีการติดตามรัดกุม กำกับชัดเจนหรือไม่ และเรื่องความเสียหาย ซึ่งถือวันปิดบัญชี 22 พฤษภาคม 2557 เพื่อนำตัวเลขปิดบัญชีมาพิจารณาวิเคราะห์ โดยให้ความเป็นธรรม อาทิ ตัวเลขที่ประชาชนจะได้รับส่วนต่าง เช่น ราคาท้องตลาดเกวียนละ 9,000 บาท แต่รับจำนำ 15,000 บาท ส่วนต่างตรงนี้ถือเป็นประโยชน์ประชาชน กรรมการไม่ได้คิดเป็นความเสียหาย ส่วนเรื่องดอกเบี้ย ที่ทางคณะกรรมการปิดบัญชีคิดดอกเบี้ยด้วย แต่กรรมการเราคิดว่าไม่ใช่การค้า เป็นการดำเนินงานราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขประชาชนก็ไม่คิดเป็นความเสียหาย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงตัวเลขที่ประเมินเพื่อฟ้องเรียกความเสียหายจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายจิรชัย ขอยังไม่เปิดเผย เนื่องจากเรื่องยังไม่จบ ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและนายกรัฐมนตรี และยังต้องให้คณะกรรมการพิจารณาเรียกร้องทางแพ่ง กรมบัญชีกลางดำเนินการพิจารณาต่อ จึงยังไม่นิ่ง แต่ยืนยันว่าในนามกรรมการชุดของตนนั้นไม่มีการถูกกดดันใดๆ ทำงานด้วยความอิสระ ให้ความเป็นธรรม ให้โอกาสมากที่สุด ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้มอบไว้
เมื่อถามว่า ผลจากการพิจารณาของกรรมการถือว่าพฤติการณ์สอดคล้องกับที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดมาหรือไม่ นายจิรชัย กล่าวว่า ก็สอดคล้องกัน ตามพฤติการณ์ก็มีความผิด แต่เรื่องความเสียหายนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ตัวเลขความเสียหายโครงการรับจำนำข้าวที่เกิดขึ้นนั้นสูงถึงหลักแสนล้านบาท ตามที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลหรือไม่ นายจิรชัย พูดเหมือนเดิมว่า ต้องขอสงวนไว้ก่อน และว่า ตัวเลขความเสียหายนั้นทางอนุกรรมการปิดบัญชีได้สรุปไว้แล้ว และนำตัวเลขนั้นมาวิเคราะห์ โดยไม่ได้เห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะเขาคิดละเอียดแบบนักบัญชี แต่เราเป็นนักบริหารต้องดูความเหมาะสม ดูความเป็นธรรม ดูประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
นายจิรชัย ได้ย้ำอีกครั้งในวันต่อมา(11 ก.พ.) ถึงกรณีที่ระบุว่าเกษตรกรได้ประโยชน์จากส่วนต่างของราคาข้าวที่ท้องตลาดรับซื้อ 9,000 บาท แต่รับจำนำ 15,000 บาท/เกวียนว่า อะไรที่เป็นประโยชน์กับชาวบ้านถือว่าเป็นนโยบายที่ดี เรื่องนี้นโยบายไม่ผิด แต่การจำนำข้าวของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผิดแน่นอนอย่างน้อย 3 กระทง คือ 1.ผิดที่จำนำทุกเมล็ดด้วยราคาที่สูงเกินความเป็นจริงมาก เป็นการบิดเบือนกลไกตลาดทำให้ระบบข้าวของไทยเสียหาย เป็นการเร่งปลูกใช้น้ำต้นทุนในเขื่อนจนเกิดวิกฤติ ระบบตลาดข้าวไทยเสียหายไม่สามารถแข่งขันได้ มีการเร่งผลิตโดยเอาพันธุ์ข้าวอื่นที่ได้ผลเร็วมาปลูก ทำให้ข้าวพันธุ์ดีในพื้นที่ปลูกเดิมผสมจนกลายพันธุ์ 2.ผิดที่มีการทุจริต เช่น การขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ(จีทูจี) เก๊ ซื้อราคาถูกไปขายแพงเอากำไร ทำให้รัฐเสียหาย มีข้าวในโกดังหาย รัฐบาลสำรวจยอดแล้วตอบสื่อมวลชนที่ถามไม่ได้ มีการทำนั่งร้านแล้วเรียงกระสอบข้าวปิด หลอกว่าข้าวที่เก็บในโกดังอยู่ครบ และ 3.คณะกรรมการ ป.ป.ข. ทักท้วงว่าการจำนำข้าวเกิดความเสียหายแก่รัฐฯ ให้รัฐบาลหยุดดำเนินการแต่อดีตนายกฯ ไม่หยุด จึงมีความผิดฐานละเว้นฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ ของสิงคโปร์ ตีพิมพ์วันที่ 11 ก.พ. โดยเรียกร้องขอความเป็นธรรมในการดำเนินการทางกฎหมายต่อโครงการรับจำนำข้าว และย้ำถึงการถูกดำเนินคดีโครงการรับจำนำข้าวที่ถูกกล่าวหาว่าทำให้รัฐสูญเงิน 5 แสนล้านบาทว่า เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร พร้อมยืนยันด้วยว่า ไม่หนีคดีแน่นอน เพราะถ้าต้องการหนี คงหนีไปแต่แรกแล้ว จะไปขึ้นศาลทำไม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังย้ำอีกว่า ตนไม่ได้คุกคามรัฐบาลทหาร เพราะไม่มีตำแหน่งอะไร เป็นแค่คุณแม่ลูกหนึ่ง ดังนั้นไม่ต้องหวาดหวั่นอะไรในตัวตน
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เปิดบ้าน ซ.โยธินพัฒนา 3 ให้สื่อมวลชนของสำนักข่าวต่างประเทศประมาณ 30 คนเข้าพูดคุย เมื่อวันที่ 12 ก.พ. โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แสดงท่าทีงงๆ และข้องใจกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการรับจำนำข้าวระบุว่า นโยบายไม่ผิด แต่พฤติการณ์ผิด โดยกล่าวว่า เมื่อตัวนโยบายไม่ผิด แล้วข้าวก็ไม่ได้หาย ผู้ปฏิบัติก็ไม่ได้ผิด แล้วผู้ที่กำหนดนโยบายจะผิดได้อย่างไร
4.ศาลแพ่ง พิพากษาให้ “เก่ง การุณ” อดีต ส.ส.เพื่อไทย ชดใช้ค่าจัดเลือกตั้งใหม่เขตดอนเมือง 5.3 ล้าน หลังถูก กกต.แจกใบแดง!
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ศาลแพ่ง ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นโจทก์ฟ้องนายการุณ โหสกุล หรือเก่ง อดีต ส.ส. กทม. เขต 12 ดอนเมือง พรรคเพื่อไทย เป็นจำเลย โดยให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดเลือกตั้ง ส.ส. ในเขตดังกล่าวใหม่ จำนวน 5,369,108.32 บาท
จากกรณีที่ กกต. โจทก์ ได้จัดให้มีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2554 โดยโจทก์ได้ประกาศผลการเลือกตั้งให้นายการุณ จำเลย ซึ่งเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. แบบแบ่งเขต พรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.กทม. เขตเลือกตั้งที่ 12 ซึ่งต่อมา นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตเดียวกัน ได้ยื่นคำร้องว่า จำเลยปราศรัยใส่ร้ายนายแทนคุณ ด้วยข้อความเท็จ เพื่อให้ประชาชนงดเว้นการลงคะแนนให้นายแทนคุณและพรรคประชาธิปัตย์ ส่งผลให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม โดย กกต. สอบถามแล้วเห็นว่า จำเลยกระทำการดังกล่าวจริง จึงยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลย ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของจำเลย 5 ปี (ให้ใบแดง) และให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 12 ใหม่ โจทก์จึงจัดการเลือกตั้งใหม่และประกาศผลให้นายแทนคุณชนะการเลือกตั้งเป็น ส.ส. กทม. เขตเลือกตั้งที่ 12 โดยโจทก์ใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งใหม่เป็นเงินทั้งสิ้น 5,201,313 บาท และขอให้จำเลยชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 5,369,108.32 บาท
ด้านศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 มาตรา 113 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ศาลฎีกาฯ มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ส.ส. ผู้ใด เป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ให้ผู้ถูกเพิกถอนการเลือกตั้งต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่นั้นด้วย” จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งใหม่ให้แก่โจทก์จำนวน 5,369,108.32 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากเงินต้น 5,201,313 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จ
ด้าน นายการุณ ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษาศาลแพ่ง โดยบอกว่า ไม่ทราบว่าศาลมีคำพิพากษาในวันดังกล่าว และจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่
อนึ่ง เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา ศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่นายแทนคุณ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายการุณ เรื่องกระทำละเมิดจากกรณีปราศรัยโจมตีใส่ร้ายนายแทนคุณต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก ด้วยข้อความอันเป็นเท็จที่เขตเลือกตั้งดอนเมือง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้นายการุณ ชดใช้เงิน 1 ล้านบาท ให้นายแทนคุณ
5. “พล.ต.อ.สมยศ” ชนะคู่แข่งถล่มทลายได้นั่งนายกสมาคมบอลฯ คนใหม่ ด้าน “ฟีฟ่า” ขู่แบนบอลไทย เตือนทุกฝ่ายถอนฟ้อง!
เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) คณะกรรมการกลางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ซึ่งแต่งตั้งโดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(ฟีฟ่า) ที่มี พล.ร.อ.สุรวุฒิ มหารมณ์ หรือ เสธ.โต เป็นประธาน ได้จัดการประชุมใหญ่พิเศษสมาคมฟุตบอลฯ เพื่อเลือกตั้งนายกสมาคมฟุตบอลฯ คนใหม่แทนนายวรวีร์ มะกูดี หรือบังยี อดีตนายกสมาคมฟุตบอลฯ 4 สมัย และอดีตคณะกรรมการบริหารฟีฟ่า ที่ถูกฟีฟ่าสั่งพักงานฐานละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับจริยธรรม
สำหรับผู้สมัครชิงนายกสมาคมฟุตบอลฯ ได้แก่ นายธวัชชัย สัจจกุล หรือบิ๊กหอย, พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง หรือบิ๊กอ๊อด อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, นายพินิจ สะสินิน, ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน หรือโค้ชหรั่ง, นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ หรือบิ๊กตั้น และ พ.ต.ท.ชัยทรัพย์ ธรัช ฤทธิ์เต็ม หรือรองแห้ว ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า มีเพียง พ.ต.ท.ชัยทรัพย์ เพียงคนเดียวที่ไม่ได้เดินทางมาสังเกตการณ์การเลือกตั้งครั้งนี้แต่อย่างใด
ทั้งนี้ การลงคะแนนเลือกตั้งครั้งนี้ มีทั้งหมด 68 เสียงจาก 72 เสียง เนื่องจาก 4 สโมสรไม่เดินทางมา ประกอบด้วย 1.เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด (ไทยลีก) 2.บีอีซี เทโรศาสน (ไทยลีก) 3.โอสถสภา เอ็ม-150 (ไทยลีก) และวิทยาลัยเทคโนโลยีพิชญเกษม (ถ้วย ค)
โดยผลการลงคะแนนเลือกตั้ง ปรากฏว่า พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมฟุตบอลฯ คนใหม่ ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 62 เสียง ขณะที่ ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน ได้ 4 คะแนน ส่วนนายณัฐพล ทีปสุวรรณ ได้ 1 คะแนน มีไม่ประสงค์ลงคะแนน 1 คะแนน ขณะที่ผู้สมัครอีก 3 คน คือ นายธวัชชัย สัจจกุล , นายพินิจ สะสินิน และ พ.ต.ท.ชัยทรัพย์ ธรัช ฤทธิ์เต็ม ไม่มีคะแนน
ส่วนผลการเลือกตั้งอุปนายกสมาคมฯ ปรากฏว่า อุปนายก 5 คนในชุดของ พล.ต.อ.สมยศ ชนะการเลือกตั้งทั้งหมด ประกอบด้วย นายทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์, นายศุภสิน ลีลาฤทธิ์, นายธนศักดิ์ สุระประเสริฐ, นายวิทยา เลาหกุล และ พล.อ.อดุลย์เดช อินทะพงษ์
สำหรับผลการเลือกตั้งกรรมการกลาง ปรากฏว่า กรรมการกลาง 13 คน ชุด พล.ต.อ.สมยศ ได้รับเลือกตั้งเช่นกัน ประกอบด้วย น.ส.นันทนี วงศ์อำนิษฐกุล, นายธนวัชร์ นิติกาญจนา, พล.ร.อ.นาวิน ธนเนตร, นายสมเกียรติ กิตติธรกุล, นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล, นายชาติชาย เจียมสิริพงศ์, นายทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์, ดร.วิชิต คนึงสุขเกษม, นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ, นายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล, นายธวัช อุยสุย, นายทรงยศ เทียนทอง และนายณัฐ ชยุติมันต์
ด้าน “เสธ.โต” พล.ร.อ.สุรวุฒิ ประธานคณะกรรมการกลางการเลือกตั้ง บอกว่า กกต.จะนำผลไปให้เอเอฟซีและฟีฟ่ารับรอง ทั้งนายกสมาคมฯ อุปนายก และสภากรรมการ เมื่อรับรองแล้ว จะส่งให้การกีฬาแห่งประเทศไทยรับรองผลการเลือกตั้งต่อไป
ขณะที่ พล.ต.อ.สมยศ ว่าที่นายกสมาคมฟุตบอลฯ คนใหม่ ได้แถลงข่าวขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย พร้อมยืนยัน ตนและทีมงานจะบริหารสมาคมอย่างเต็มความสามารถด้วยการร่วมกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ และร่วมกันรับผิดชอบ เพื่อนำพาวงการฟุตบอลไทยให้ก้าวหน้าตามที่แฟนบอลชาวไทยอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง หากมีสิ่งบกพร่องขอให้เตือนและท้วงติงได้ จะเน้นความถูกต้อง โปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ พร้อมนัดประชุมทีมงานวันที่ 14 ก.พ.นี้
ด้านนายภาคิน จินาภักดิ์ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของสมาคมฟุตบอลฯ ได้ยื่นหนังสือต่อนายสกล วรรณพงษ์ หรือบิ๊กเสือ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ขอให้ระงับการรับรองผลเลือกตั้งครั้งนี้ โดยอ้างว่าคณะกรรมการกลางฝ่าฝืนข้อบังคับลักษณะการปกครองของสมาคมฯ รวมถึงการเลือกตั้งตัวแทน 30 เสียงใหม่ในลีกภูมิภาคเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ฟีฟ่า ได้ส่งหนังสือถึง “เสธ.โต” พล.ร.อ.สุรวุฒิ ว่า ตามกฎของฟีฟ่า ไม่อนุญาตให้สมาคมฟุตบอลชาติสมาชิก รวมถึงสโมสรสมาชิก คณะกรรมการบริหารลีก ผู้เล่น เจ้าหน้าที่ หรือบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นำเรื่องเข้าสู่ชั้นศาล เว้นแต่จะได้รับคำสั่งจากฟีฟา อีกทั้งตามระเบียบของฟีฟ่า สมาคมฟุตบอลชาติสมาชิกจะต้องลงโทษสโมสรสมาชิก ผู้เล่น หรือผู้เกี่ยวข้องที่ละเมิดกฎ หากไม่ดำเนินการ จะลงโทษสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยที่ไม่สามารถควบคุมสโมสรสมาชิกได้ และอาจส่งผลให้ทีมสโมสรหรือทีมชาติโดนแบน
ด้าน “บิ๊กหอย” ธวัชชัย สัจจกุล 1 ใน 6 แคนดิเดตชิงเก้าอี้นายกสมาคมฟุตบอลฯ ได้ทำหนังสือถึงฟีฟ่าเมื่อวันที่ 12 ก.พ. โดยยินดีจะถอนฟ้องคณะกรรมการกลางสมาคมฟุตบอลฯ เนื่องจากไม่อยากให้ทีมฟุตบอลไทยถูกฟีฟ่าลงโทษ อย่างไรก็ตาม นอกจากคดีของ “บิ๊กหอย” แล้ว ยังมีคดีที่ พ.ต.ท.ชัยทรัพย์ ธรัช ฤทธิ์เต็ม หนึ่งในผู้สมัครนายกสมาคมฟุตบอลฯ รวมถึงคดีนางอนงค์ ล่อใจ อดีตประธานสุราษฎร์ เอฟซี พร้อม 3 ทีมภาคใต้ ปัตตานี เอฟซี , พังงา เอฟซี , ยะลา ยูไนเต็ด และคดีที่ พล.อ.จีระศักดิ์ บุตรเนียร ประธานสโมสรมุกดาหาร ลำโขง ยื่นฟ้องคณะกรรมการกลางอยู่ในชั้นศาลด้วย