เรื่องจริง! บอกไปจะตกใจ ปั้นชาหนึ่งใบมีราคาสูงถึง 400 ล้านบาท! จิบชาสนทนากับคนรักและหลงใหลในศิลปะแห่งปั้นชา “นพ.วรวิทย์ วรภัทรากุล” หมอศัลย์มือหนึ่ง ซึ่งถูกเสน่ห์แห่งปั้นชาฉุดดึงจนลุ่มหลง และลงลึกศึกษาเรื่องรางแห่งปั้นชาที่ล้ำค่าคนไทยควรได้รู้ บางที สิ่งที่คุณมีอยู่อาจมีราคาหลายล้านบาทและคุณอาจไม่รู้ตัว!
แม้จะเป็นแพทย์ด้านศัลยกรรม แต่การเดินทางก็ทำให้นายแพทย์ผู้นี้ได้พบกับสิ่งที่ล้ำค่า นั่นคือ “ปั้นชา” ที่หลายคนอาจกวาดสายตามองอย่างเห็นเป็นของธรรมดา แต่ทว่ายิ่งศึกษาอย่างลงลึก ผลึกแห่งความรู้ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมก็นำพา “นายแพทย์วรวิทย์ วรภัทรากุล” หมกมุ่นเรียนรู้เรื่องปั้นชา จนกลายมาเป็นนักศึกษาและนักสะสมปั้นชาตัวจริง ถึงขนาดเขียนหนังสือ “ปั้นอี๋ซิง จากจีนสู่สยาม” เล่าเรื่องราวที่งดงามของวัฒนธรรมปั้นชาที่ควรค่าศึกษาและสะสม
ว่ากันว่า “ชา” คือ 1 ใน 7 สิ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวันของคนจีน ประกอบไปด้วย “ไม้”, “ข้าว”, “น้ำมัน”, “เกลือ”, “ซีอิ้ว”, “น้ำส้ม” รวมถึง “ชา” และด้วยเหตุนี้ สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่า ย่อมเป็น “ปั้นชา” ที่หาได้ควรถูกมองแค่ในสถานะของ “อาภรณ์แห่งชา” หากแต่คุณค่าของมัน ล้ำเลิศถึงขนาดมีคนยอมจ่ายหลายสิบล้านบาทเพื่อให้ได้เป็นเจ้าของ “ปั้นชา” เพียงใบเดียว!
• คุณหมอเริ่มสนใจเรื่องปั้นชามาตั้งแต่ตอนไหน
ย้อนกลับไปราวปี พ.ศ.2530 ตอนนั้น ผมเป็นแพทย์สังกัดสภากาชาดไทย และได้อาสาไปตรวจรักษาชาวกัมพูชาอพยพที่ค่ายเขาอีด่าง และชาวไทยที่อยู่บริเวณชายแดนอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ทำการตรวจรักษาและผ่าตัดผู้ป่วยทุกวันเสาร์อาทิตย์ ต่อเนื่องกันนานเกือบ 3 ปี แต่ในระหว่างที่มีเวลาว่างจากการตรวจรักษาคนไข้ ผมชอบไปเดินเล่นที่ตลาดอรัญประเทศ และได้พบเห็นสินค้าแปลกๆ หลายอย่างที่ชาวกัมพูชานำมาจำหน่าย ซึ่งสินค้าที่สะดุดตามากเป็นพิเศษคือ “ปั้นชา” ของจีน นับเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นปั้นชาที่ผลิตจากเมืองอี๋ซิง และเป็นปั้นชาที่มีอายุประมาณหนึ่งถึงสองร้อยปีขึ้นไป
ความรู้สึกแรกที่ได้เห็นนั้นบอกว่า นี่เป็นงานศิลปะชั้นยอดโดยแท้ แม้ดูเผินๆ ปั้นอี๋ซิงจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เรียบง่าย แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่า ในความเรียบง่ายนั้น ช่างปั้นได้ซ่อนรายละเอียดที่ประณีตบรรจง รูปทรงของปั้นมีสัดส่วนที่พอเหมาะและได้สมมาตร ส่วนที่เป็นขอบของปั้น ไม่ว่าจะทำเป็นสันเหลี่ยมหรือสันมน จะเห็นถึงความสม่ำเสมอ ความประณีตของเส้นสาย และเมื่อดูโดยรวมจะรู้สึกถึงความสง่างามและความสงบ
ตั้งแต่ตอนนั้นก็เริ่มเก็บสะสมปั้นชาเลยใช่ไหมคะ
ใช่ครับ ก็เริ่มสะสมมาเรื่อยๆ และเมื่อสะสมมากขึ้น ก็พบว่าปั้นชาส่วนมากจะมีตราประทับ และที่แปลกก็คือ ปั้นบางใบมีตราประทับเป็นภาษาไทย ทำให้เกิดความสงสัยว่าปั้นเหล่านั้นมีความเป็นมาอย่างไร เมื่อสงสัย ก็เริ่มศึกษาค้นคว้าโดยพยายามสอบถามจากพ่อค้าและนักสะสม ซึ่งก็ได้คำตอบที่แตกต่างกันไป ยังหาข้อสรุปที่มีหลักฐานและเหตุผลที่น่าเชื่อถือไม่ได้ จนวันหนึ่ง ได้อ่านหนังสือ “ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น” พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของถ้วยชาอี๋ซิงกับสยาม โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เพิ่มขึ้นเป็นอันมาก และเมื่อสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็พบว่ายังมีปัญหาที่หาคำตอบไม่ได้อีกเป็นจำนวนมากที่ต้องค้นหา
• ประเด็นหนึ่งซึ่งน่าสนใจคือเรื่องการเข้ามาเมืองไทยของปั้นชา คุณหมอได้พบข้อมูลอย่างไรบ้างคะ
คือการเข้ามาของปั้นอี๋ซิงในประเทศไทย เกิดจากการที่เราส่ง “จิ้มก้อง” หรือเครื่องบรรณาการไปยังจีนแล้วได้รับเอาปั้นชากลับเข้ามาพร้อมกับผ้าไหม เครื่องกระเบื้อง เครื่องลายคราม โดยไทยรับเครื่องปั้นชาเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งทางราชสำนักไทยส่งเรือสำเภาบรรทุกสิ่งของไปถวายจักรพรรดิจีน และจักรพรรดิจีนก็มอบสิ่งของเหล่านี้ให้เป็นบรรณาการตอบแทน ต่อมาภายหลังได้รับความนิยมมาก จนถึงขั้นมีการออกแบบปั้นชาแล้วส่งไปให้จีนทำ
ปั้นชาที่เราสั่งทำนี้เรียกว่า “ปั้นจีนสยาม” ซึ่งเป็นปั้นที่ผลิตจากจีน แต่มีลักษณะบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนออกแบบ สั่งทำ หรือเป็นแบบที่จีนตั้งใจทำเพื่อส่งมาขายไทยโดยเฉพาะ ดังนั้น ปั้นชาจีนสยามจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับประเทศไทย ที่พบมากคือ ปั้นกงเก็ก และปั้นลี่ซิง ปั้นกงเก็กจะเป็นแบบที่มีเป็นตราประทับหรือเขียนไว้ ที่ใต้ฝา ลิ้น ก้น หรือบางครั้งก็มีตราอยู่ถึง 2 แห่ง แต่เนื่องจากมีจำนวนมาก จึงมีราคาต่ำกว่าปั้นตราอื่นๆ ปั้นชาของเก่า กว่า 60-70% จะเป็นปั้นกงเก็ก ซึ่ง “กงเก็ก” แปลว่า “กรมบรรณาการ” ในอดีตไทยเรามีการค้าขายกับจีนก็ต้องรู้จักกับคำว่า “จิ้มก้อง” หรือ “การถวายบรรณาการ”
• มีวิธีการสังเกตอย่างไรคะว่าอันไหนเป็น “ปั้นจีนสยาม”
มีเอกลักษณ์อยู่ 4 ประการ ครับ ประกอบไปด้วย 1.รูปทรง เช่น ทรงลูกแก้ว ทรงเท้าปุ้มคอหม้อ ทรงก้นช้อยคอช้อย ทรงตะพาบ ทรงหอยสังข์ 2.ตราประทับ เช่น ตราหนูกับตัวอักษร ศก ๑๑๐ ตราธรรมจักร ตรายันต์ตรีนิสิงเห ตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ห้า 3.ปั้นขนาดจิ๋ว หรือปั้นเจ้าฟ้า และ 4.การตกแต่งปั้นของช่างไทย คือปั้นที่เมื่อมาถึงไทยแล้วได้รับการขัดผิว การเลี่ยมขอบด้วยโลหะ และการทำสายโลหะสำหรับหิ้ว
แต่ปั้นชาที่น่าทึ่งมากๆ ก็คือปั้นชาขนาดเล็กจิ๋วที่มีสัดส่วนหรือขนาดและความประณีตพิถีพิถันที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นปั้นขนาดจิ๋วที่เรียกว่า “ปั้นเจ้าฟ้า” มีขนาดใหญ่กว่าหัวแม่มือของผู้ใหญ่เล็กน้อยจนถึงขนาดเท่ากำปั้นของทารก เป็นปั้นที่หาได้ยากมาก และทำด้วยฝีมือประณีต ตัวปั้นได้สมมาตรลวดลายเส้นสายคมชัด เนื้อบางและแกร่ง
• คุณหมอมีขั้นตอนและวิธีการค้นคว้าหาข้อมูลอย่างไรคะ
เริ่มแรกคิดว่าน่าจะต้องศึกษาเรื่องราวของปั้นชาอี๋ซิงจากทางจีนเพราะว่าปั้นชาอี๋ซิงผลิตจากประเทศจีน และจีนเป็นชนชาติที่ชอบจดบันทึก จึงน่าจะหารายละเอียดได้มากกว่า แต่เนื่องจากเรียนภาษาจีนมาน้อยมาก และพอเรียนจบก็ไม่ได้นำมาใช้อีกเลย ความรู้จึงค่อยๆ เลือนหายไปจนคืนกลับไปให้อาจารย์เกือบทั้งหมด ดังนั้น ถึงอยากจะอ่านเรื่องปั้นชาจากตำราภาษาจีน ก็ได้แต่พลิกดูรูป ไม่มีปัญญาจะไปทำความเข้าใจในเนื้อหาได้ และเฝ้าแต่รอคอยว่าจะมีผู้แปลหรือเขียนเรื่องราวของปั้นอี๋ซิงให้ได้อ่านบ้าง จนได้พบกับคอลัมน์ระบำชาในนิตยสารพลอยแกมเพชร ซึ่งผู้เขียนใช้นามปากาว่า “อ๋อง” (เข้าใจว่าน่าจะเป็นคุณนพพร ภาสะพงศ์) ก็ได้ความรู้เกี่ยวกับปั้นอี๋ซิงเพิ่มขึ้นเป็นอันมากและได้เฝ้าติดตามอ่านมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงหนังสือ “ปั้นชา” เสน่หางานศิลป์แห่งดินปั้น ที่เขียนโดยคุณนพพร ภาสะพงศ์ นับว่าคุณนพพรเป็นครูผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับปั้นชาอี๋ซิงโดยแท้จริง
และเมื่อห้าปีก่อน ผมได้รู้จักกับอาจารย์ นพ.สิโรช ศรีสวัสดิ์ ศัลยแพทย์แห่งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และทราบว่าท่านมีความรู้ทางภาษาจีนอย่างลึกซึ้ง แม้ว่าท่านจะเรียนภาษาจีนจบประถม 4 เช่นเดียวกัน แต่ท่านไม่ได้ละทิ้ง ท่านได้ทบทวนและอ่านหนังสือจีนอย่างสม่ำเสมอ ความรู้ทางภาษาจีนของท่านพอที่จะเป็นราชบัณฑิตได้ จึงฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่าน ซึ่งท่านก็เมตตาถ่ายทอดวิชาภาษาจีนให้อย่างสม่ำเสมอและอดทน จนเวลาผ่านไปประมาณ 3 ปี จึงพออ่านตำราปั้นชาที่เป็นภาษาจีนได้บ้าง จากนั้นก็เริ่มอ่านตำราจำนวนมาก ส่วนที่ยังไม่เข้าใจก็อาศัยอาจารย์สิโรชช่วยอธิบายให้
นอกจากภาษาจีนแล้วอาจารย์ศิโรชยังสอนให้รู้จักใช้คอมพิวเตอร์และท่องไปในโลกของอินเทอร์เนต โดยมีรุ่นน้องอีกคนหนึ่งคือ นพ.ไกรฤกษ์ อธิรกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต ประจำโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้การแนะนำเพิ่มเติมโดยเฉพาะการลงโปรแกรมภาษาจีน เพื่อให้สามารถค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องปั้นชาอี๋ซิงจากเว็บไซต์ภาษาจีนได้ การหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเป็นอันมาก
• “ปั้นอี๋ซิง” มีความพิเศษแตกต่างจากปั้นชาอื่นๆ อย่างไรคะ ทำไมคุณหมอถึงให้ความสนใจเป็นพิเศษ
ปั้นอี๋ซิง คือปั้นชาที่ผลิตขึ้นที่เมืองอี๋ซิง มณฑลเจียงซู ในภาคตะวันออกของประเทศจีน อยู่ห่างจากเซี่ยงไฮ้ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 190 กิโลเมตร ปั้นอี๋ซิงเป็นปั้นชาจีนที่นิยมสะสมกันทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะมีปั้นชาสีน้ำตาลแดงที่ผลิตจากแหล่งอื่นก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าปั้นชาที่ผลิตจากเมืองอี๋ซิง เนื่องจากเนื้อดิน “จื่อซา” ที่นำมาทำปั้นชานั้นมีความเฉพาะตัว และมีที่เมืองอี๋ซิงเพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยคุณสมบัติของเนื้อดินจื่อซาที่อี๋ซิง เมื่อนำเข้าเตาเผาแล้วจะหดตัวน้อยมาก ช่างที่ชำนาญจึงสามารถทำให้ลิ้นของฝากับปากปั้นมีขนาดไล่เลี่ยกัน ช่องว่างระหว่างลิ้นกับปากจึงน้อยมาก อากาศเข้าไปในปั้นได้ยาก การเติมออกซิเจนจากอากาศลงไปในน้ำชา จะเกิดได้น้อย จึงไม่ค่อยเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้รสชาติของน้ำชาเสียไป
ปั้นอี๋ซิง มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ปั้นจื่อซา” หรือ “ปั้นจื่อซาแห่งอี๋ซิง” ดินที่ใช้ทำปั้นอี๋ซิง ภาษาจีนเรียกว่า “จื่อซาหนี” “จื่อ” แปลว่า สีม่วง “ซา” แปลว่าทรายเม็ดหยาบ และ “หนี” แปลว่า ดิน ดังนั้น ดินจื่อซาจึงหมายถึงดินทรายที่มีสีออกม่วง (สีตับหมู) ความจริงดินที่ใช้ทำปั้นชาอี๋ซิงไม่ได้มีสีตับหมูสีเดียวเท่านั้น แต่ยังมีสีน้ำตาลและสีดำสนิท ซึ่งอาจถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสีตับหมู นอกจากนี้ยังมีสีเขียว สีเหลือง และสีเหลืองอมแดงที่นักเล่นปั้นแต่เดิมถือรวมเป็นส่วนหนึ่งของสีสวาดซึ่งเป็นของไทยสั่งทำ ขึ้นอยู่กับธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในเนื้อดิน
เนื้อดิน “จื่อซา” เมื่อเผาแล้วจะเกิดฟองอากาศ เป็นรูพรุนเล็กๆ อยู่ในเนื้อดิน รูพรุนเหล่านี้จะเป็นฉนวนช่วยรักษาอุณหภูมิของน้ำ และเก็บกลิ่นของชาไว้เป็นอย่างดี เมื่อชงชาด้วยปั้นอี๋ซิงจะสามารถเก็บความร้อน รักษาสี รส และกลิ่นของน้ำชาไว้ และเมื่อชงแต่ละครั้ง ด้วยรูพรุนที่ผนังของปั้นจะค่อยๆ เก็บสี รส และกลิ่นของชาไว้ เมื่อใช้ไปนานๆ สีของปั้นชาจะเข้มขึ้น ดู “ฉ่ำ” และสวยงามขึ้น เป็นที่ชื่นชอบของนักสะสมปั้น ผนังของปั้นก็จะสะสมสารสกัดจากใบชามากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อเติมน้ำเดือดลงไปเปล่าๆ ก็จะได้น้ำชาที่มีสี รส และกลิ่นของชาโดยไม่ต้องใส่ใบชา
“ปั้นอี๋ซิง” ได้มีการพัฒนามามาตลอดและทำให้เกิดช่างทำปั้นชาที่มีชื่อเสียงในแต่ละสมัยหลายท่าน ตั้งแต่สมัยราชวงค์หมิง ราชวงค์ซิง มาจนถึงสมัยปัจจุบัน จากสมัยสาธารณรัฐตอนต้นจนถึงทุกวันนี้ ปั้นอี๋ซิงได้พัฒนาเข้าสู่ยุคปัจจุบัน โดยมี “กู้จิ่งโจว” เป็นช่างปั้นที่โดดเด่นที่สุด และเป็นตัวแทนของยุคนี้ และยังมีช่างที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน
• ในความคิดของคุณหมอ เรื่องปั้นชาสำคัญเพียงใด ถึงขั้นที่ต้องมีการศึกษากันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวอย่างที่เห็น
คือคนจีนมีการดื่มชามานานแล้ว การดื่มชาเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของมิตรไมตรีและการต้อนรับด้วยความยินดีเมื่อมีแขกมาเยือน แต่ในอดีตจะเป็นการต้มชาด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า “กาน้ำชา” โดยใส่น้ำ ใส่ใบชาแล้วนำไปต้มโดยตรง ทำให้เมื่อใช้ไปนานๆ กาน้ำชาอาจแตกได้ทุกเมื่อ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคต้นราชวงศ์หมิง หรือเมื่อประมาณ 500 ปีก่อน ได้มีการเปลี่ยนวัฒนธรรมการดื่มชา จากการต้มเข้าสู่วิถีแห่งการชงชา จึงมีอุปกรณ์เพิ่มเข้ามาคือ “ปั้นชา” เป็นอุปกรณ์ชงชา โดยนำใบชามาใส่ไว้ในปั้นชา แล้วเทน้ำร้อนลงไปเพื่อชงดื่ม มิได้นำตัวปั้นชาไปเจอกับความร้อนอย่างการต้มแบบ “กาน้ำชา” โดยตรง ทำให้ปั้นชานั้นมีการออกแบบให้สวยงามขึ้น อีกทั้งน้ำชาที่ได้จากการชงนั้นก็จะช่วยให้ปั้นชามีสีที่เข้มเงางามยิ่งขึ้น
ปั้นชาถือเป็นศิลปะที่แสดงถึงวัฒนธรรมการดื่มชาที่มีราคาแพงและทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเป็นผลงานของช่างปั้นที่มีชื่อเสียง เช่น “กู่จิ่งโจว” ราคาแพงที่สุดคือประมาณ 400 ล้านบาท แม้ตัวปั้นชาจะมีอายุเพียงประมาณ 50-60 ปีเท่านั้น
ที่น่าห่วงคือประเทศไทยมีปั้นชาจำนวนมาก แต่คนไทยไม่ค่อยทราบถึงคุณค่าของมัน และขายให้ชาวต่างชาติในราคาถูก ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง นอกจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังรวมถึงมูลค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์ที่มากับปั้นชา แม้ว่าปั้นอี๋ซิงจะถูกกว้านซื้อจากต่างชาติไปเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยความที่ในอดีตคนไทยนิยมเล่นปั้นชาและเครื่องกระเบื้องจีนกันมาก จึงยังคงมี “ปั้นอี๋ซิง” หลงเหลืออยู่พอสมควร
ผมก็หวังว่าคนไทยจะเห็นคุณค่าของปั้นชาอี๋ซิงว่าไม่ใช่เป็นปั้นชาของจีนอย่างเดียว แต่ปั้นชาบางใบนั้น บรรพบุรุษได้ออกแบบไว้หรือได้นำมาตกแต่งให้มีกลิ่นอายของความเป็นไทย จะได้ช่วยกันเก็บรักษาไว้ให้หลงเหลืออยู่ในเมืองไทยตลอดไปครับ
เรื่อง / ภาพ : อรวรรณ เหม่นแหลม
(ขอบคุณภาพบางส่วนจากหนังสือ “ปั้นอี๋ซิง จากจีนสู่สยาม”)
แม้จะเป็นแพทย์ด้านศัลยกรรม แต่การเดินทางก็ทำให้นายแพทย์ผู้นี้ได้พบกับสิ่งที่ล้ำค่า นั่นคือ “ปั้นชา” ที่หลายคนอาจกวาดสายตามองอย่างเห็นเป็นของธรรมดา แต่ทว่ายิ่งศึกษาอย่างลงลึก ผลึกแห่งความรู้ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมก็นำพา “นายแพทย์วรวิทย์ วรภัทรากุล” หมกมุ่นเรียนรู้เรื่องปั้นชา จนกลายมาเป็นนักศึกษาและนักสะสมปั้นชาตัวจริง ถึงขนาดเขียนหนังสือ “ปั้นอี๋ซิง จากจีนสู่สยาม” เล่าเรื่องราวที่งดงามของวัฒนธรรมปั้นชาที่ควรค่าศึกษาและสะสม
ว่ากันว่า “ชา” คือ 1 ใน 7 สิ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวันของคนจีน ประกอบไปด้วย “ไม้”, “ข้าว”, “น้ำมัน”, “เกลือ”, “ซีอิ้ว”, “น้ำส้ม” รวมถึง “ชา” และด้วยเหตุนี้ สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่า ย่อมเป็น “ปั้นชา” ที่หาได้ควรถูกมองแค่ในสถานะของ “อาภรณ์แห่งชา” หากแต่คุณค่าของมัน ล้ำเลิศถึงขนาดมีคนยอมจ่ายหลายสิบล้านบาทเพื่อให้ได้เป็นเจ้าของ “ปั้นชา” เพียงใบเดียว!
• คุณหมอเริ่มสนใจเรื่องปั้นชามาตั้งแต่ตอนไหน
ย้อนกลับไปราวปี พ.ศ.2530 ตอนนั้น ผมเป็นแพทย์สังกัดสภากาชาดไทย และได้อาสาไปตรวจรักษาชาวกัมพูชาอพยพที่ค่ายเขาอีด่าง และชาวไทยที่อยู่บริเวณชายแดนอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ทำการตรวจรักษาและผ่าตัดผู้ป่วยทุกวันเสาร์อาทิตย์ ต่อเนื่องกันนานเกือบ 3 ปี แต่ในระหว่างที่มีเวลาว่างจากการตรวจรักษาคนไข้ ผมชอบไปเดินเล่นที่ตลาดอรัญประเทศ และได้พบเห็นสินค้าแปลกๆ หลายอย่างที่ชาวกัมพูชานำมาจำหน่าย ซึ่งสินค้าที่สะดุดตามากเป็นพิเศษคือ “ปั้นชา” ของจีน นับเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นปั้นชาที่ผลิตจากเมืองอี๋ซิง และเป็นปั้นชาที่มีอายุประมาณหนึ่งถึงสองร้อยปีขึ้นไป
ความรู้สึกแรกที่ได้เห็นนั้นบอกว่า นี่เป็นงานศิลปะชั้นยอดโดยแท้ แม้ดูเผินๆ ปั้นอี๋ซิงจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เรียบง่าย แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่า ในความเรียบง่ายนั้น ช่างปั้นได้ซ่อนรายละเอียดที่ประณีตบรรจง รูปทรงของปั้นมีสัดส่วนที่พอเหมาะและได้สมมาตร ส่วนที่เป็นขอบของปั้น ไม่ว่าจะทำเป็นสันเหลี่ยมหรือสันมน จะเห็นถึงความสม่ำเสมอ ความประณีตของเส้นสาย และเมื่อดูโดยรวมจะรู้สึกถึงความสง่างามและความสงบ
ตั้งแต่ตอนนั้นก็เริ่มเก็บสะสมปั้นชาเลยใช่ไหมคะ
ใช่ครับ ก็เริ่มสะสมมาเรื่อยๆ และเมื่อสะสมมากขึ้น ก็พบว่าปั้นชาส่วนมากจะมีตราประทับ และที่แปลกก็คือ ปั้นบางใบมีตราประทับเป็นภาษาไทย ทำให้เกิดความสงสัยว่าปั้นเหล่านั้นมีความเป็นมาอย่างไร เมื่อสงสัย ก็เริ่มศึกษาค้นคว้าโดยพยายามสอบถามจากพ่อค้าและนักสะสม ซึ่งก็ได้คำตอบที่แตกต่างกันไป ยังหาข้อสรุปที่มีหลักฐานและเหตุผลที่น่าเชื่อถือไม่ได้ จนวันหนึ่ง ได้อ่านหนังสือ “ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น” พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของถ้วยชาอี๋ซิงกับสยาม โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เพิ่มขึ้นเป็นอันมาก และเมื่อสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็พบว่ายังมีปัญหาที่หาคำตอบไม่ได้อีกเป็นจำนวนมากที่ต้องค้นหา
• ประเด็นหนึ่งซึ่งน่าสนใจคือเรื่องการเข้ามาเมืองไทยของปั้นชา คุณหมอได้พบข้อมูลอย่างไรบ้างคะ
คือการเข้ามาของปั้นอี๋ซิงในประเทศไทย เกิดจากการที่เราส่ง “จิ้มก้อง” หรือเครื่องบรรณาการไปยังจีนแล้วได้รับเอาปั้นชากลับเข้ามาพร้อมกับผ้าไหม เครื่องกระเบื้อง เครื่องลายคราม โดยไทยรับเครื่องปั้นชาเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งทางราชสำนักไทยส่งเรือสำเภาบรรทุกสิ่งของไปถวายจักรพรรดิจีน และจักรพรรดิจีนก็มอบสิ่งของเหล่านี้ให้เป็นบรรณาการตอบแทน ต่อมาภายหลังได้รับความนิยมมาก จนถึงขั้นมีการออกแบบปั้นชาแล้วส่งไปให้จีนทำ
ปั้นชาที่เราสั่งทำนี้เรียกว่า “ปั้นจีนสยาม” ซึ่งเป็นปั้นที่ผลิตจากจีน แต่มีลักษณะบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนออกแบบ สั่งทำ หรือเป็นแบบที่จีนตั้งใจทำเพื่อส่งมาขายไทยโดยเฉพาะ ดังนั้น ปั้นชาจีนสยามจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับประเทศไทย ที่พบมากคือ ปั้นกงเก็ก และปั้นลี่ซิง ปั้นกงเก็กจะเป็นแบบที่มีเป็นตราประทับหรือเขียนไว้ ที่ใต้ฝา ลิ้น ก้น หรือบางครั้งก็มีตราอยู่ถึง 2 แห่ง แต่เนื่องจากมีจำนวนมาก จึงมีราคาต่ำกว่าปั้นตราอื่นๆ ปั้นชาของเก่า กว่า 60-70% จะเป็นปั้นกงเก็ก ซึ่ง “กงเก็ก” แปลว่า “กรมบรรณาการ” ในอดีตไทยเรามีการค้าขายกับจีนก็ต้องรู้จักกับคำว่า “จิ้มก้อง” หรือ “การถวายบรรณาการ”
• มีวิธีการสังเกตอย่างไรคะว่าอันไหนเป็น “ปั้นจีนสยาม”
มีเอกลักษณ์อยู่ 4 ประการ ครับ ประกอบไปด้วย 1.รูปทรง เช่น ทรงลูกแก้ว ทรงเท้าปุ้มคอหม้อ ทรงก้นช้อยคอช้อย ทรงตะพาบ ทรงหอยสังข์ 2.ตราประทับ เช่น ตราหนูกับตัวอักษร ศก ๑๑๐ ตราธรรมจักร ตรายันต์ตรีนิสิงเห ตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ห้า 3.ปั้นขนาดจิ๋ว หรือปั้นเจ้าฟ้า และ 4.การตกแต่งปั้นของช่างไทย คือปั้นที่เมื่อมาถึงไทยแล้วได้รับการขัดผิว การเลี่ยมขอบด้วยโลหะ และการทำสายโลหะสำหรับหิ้ว
แต่ปั้นชาที่น่าทึ่งมากๆ ก็คือปั้นชาขนาดเล็กจิ๋วที่มีสัดส่วนหรือขนาดและความประณีตพิถีพิถันที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นปั้นขนาดจิ๋วที่เรียกว่า “ปั้นเจ้าฟ้า” มีขนาดใหญ่กว่าหัวแม่มือของผู้ใหญ่เล็กน้อยจนถึงขนาดเท่ากำปั้นของทารก เป็นปั้นที่หาได้ยากมาก และทำด้วยฝีมือประณีต ตัวปั้นได้สมมาตรลวดลายเส้นสายคมชัด เนื้อบางและแกร่ง
• คุณหมอมีขั้นตอนและวิธีการค้นคว้าหาข้อมูลอย่างไรคะ
เริ่มแรกคิดว่าน่าจะต้องศึกษาเรื่องราวของปั้นชาอี๋ซิงจากทางจีนเพราะว่าปั้นชาอี๋ซิงผลิตจากประเทศจีน และจีนเป็นชนชาติที่ชอบจดบันทึก จึงน่าจะหารายละเอียดได้มากกว่า แต่เนื่องจากเรียนภาษาจีนมาน้อยมาก และพอเรียนจบก็ไม่ได้นำมาใช้อีกเลย ความรู้จึงค่อยๆ เลือนหายไปจนคืนกลับไปให้อาจารย์เกือบทั้งหมด ดังนั้น ถึงอยากจะอ่านเรื่องปั้นชาจากตำราภาษาจีน ก็ได้แต่พลิกดูรูป ไม่มีปัญญาจะไปทำความเข้าใจในเนื้อหาได้ และเฝ้าแต่รอคอยว่าจะมีผู้แปลหรือเขียนเรื่องราวของปั้นอี๋ซิงให้ได้อ่านบ้าง จนได้พบกับคอลัมน์ระบำชาในนิตยสารพลอยแกมเพชร ซึ่งผู้เขียนใช้นามปากาว่า “อ๋อง” (เข้าใจว่าน่าจะเป็นคุณนพพร ภาสะพงศ์) ก็ได้ความรู้เกี่ยวกับปั้นอี๋ซิงเพิ่มขึ้นเป็นอันมากและได้เฝ้าติดตามอ่านมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงหนังสือ “ปั้นชา” เสน่หางานศิลป์แห่งดินปั้น ที่เขียนโดยคุณนพพร ภาสะพงศ์ นับว่าคุณนพพรเป็นครูผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับปั้นชาอี๋ซิงโดยแท้จริง
และเมื่อห้าปีก่อน ผมได้รู้จักกับอาจารย์ นพ.สิโรช ศรีสวัสดิ์ ศัลยแพทย์แห่งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และทราบว่าท่านมีความรู้ทางภาษาจีนอย่างลึกซึ้ง แม้ว่าท่านจะเรียนภาษาจีนจบประถม 4 เช่นเดียวกัน แต่ท่านไม่ได้ละทิ้ง ท่านได้ทบทวนและอ่านหนังสือจีนอย่างสม่ำเสมอ ความรู้ทางภาษาจีนของท่านพอที่จะเป็นราชบัณฑิตได้ จึงฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่าน ซึ่งท่านก็เมตตาถ่ายทอดวิชาภาษาจีนให้อย่างสม่ำเสมอและอดทน จนเวลาผ่านไปประมาณ 3 ปี จึงพออ่านตำราปั้นชาที่เป็นภาษาจีนได้บ้าง จากนั้นก็เริ่มอ่านตำราจำนวนมาก ส่วนที่ยังไม่เข้าใจก็อาศัยอาจารย์สิโรชช่วยอธิบายให้
นอกจากภาษาจีนแล้วอาจารย์ศิโรชยังสอนให้รู้จักใช้คอมพิวเตอร์และท่องไปในโลกของอินเทอร์เนต โดยมีรุ่นน้องอีกคนหนึ่งคือ นพ.ไกรฤกษ์ อธิรกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต ประจำโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้การแนะนำเพิ่มเติมโดยเฉพาะการลงโปรแกรมภาษาจีน เพื่อให้สามารถค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องปั้นชาอี๋ซิงจากเว็บไซต์ภาษาจีนได้ การหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเป็นอันมาก
• “ปั้นอี๋ซิง” มีความพิเศษแตกต่างจากปั้นชาอื่นๆ อย่างไรคะ ทำไมคุณหมอถึงให้ความสนใจเป็นพิเศษ
ปั้นอี๋ซิง คือปั้นชาที่ผลิตขึ้นที่เมืองอี๋ซิง มณฑลเจียงซู ในภาคตะวันออกของประเทศจีน อยู่ห่างจากเซี่ยงไฮ้ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 190 กิโลเมตร ปั้นอี๋ซิงเป็นปั้นชาจีนที่นิยมสะสมกันทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะมีปั้นชาสีน้ำตาลแดงที่ผลิตจากแหล่งอื่นก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าปั้นชาที่ผลิตจากเมืองอี๋ซิง เนื่องจากเนื้อดิน “จื่อซา” ที่นำมาทำปั้นชานั้นมีความเฉพาะตัว และมีที่เมืองอี๋ซิงเพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยคุณสมบัติของเนื้อดินจื่อซาที่อี๋ซิง เมื่อนำเข้าเตาเผาแล้วจะหดตัวน้อยมาก ช่างที่ชำนาญจึงสามารถทำให้ลิ้นของฝากับปากปั้นมีขนาดไล่เลี่ยกัน ช่องว่างระหว่างลิ้นกับปากจึงน้อยมาก อากาศเข้าไปในปั้นได้ยาก การเติมออกซิเจนจากอากาศลงไปในน้ำชา จะเกิดได้น้อย จึงไม่ค่อยเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้รสชาติของน้ำชาเสียไป
ปั้นอี๋ซิง มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ปั้นจื่อซา” หรือ “ปั้นจื่อซาแห่งอี๋ซิง” ดินที่ใช้ทำปั้นอี๋ซิง ภาษาจีนเรียกว่า “จื่อซาหนี” “จื่อ” แปลว่า สีม่วง “ซา” แปลว่าทรายเม็ดหยาบ และ “หนี” แปลว่า ดิน ดังนั้น ดินจื่อซาจึงหมายถึงดินทรายที่มีสีออกม่วง (สีตับหมู) ความจริงดินที่ใช้ทำปั้นชาอี๋ซิงไม่ได้มีสีตับหมูสีเดียวเท่านั้น แต่ยังมีสีน้ำตาลและสีดำสนิท ซึ่งอาจถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสีตับหมู นอกจากนี้ยังมีสีเขียว สีเหลือง และสีเหลืองอมแดงที่นักเล่นปั้นแต่เดิมถือรวมเป็นส่วนหนึ่งของสีสวาดซึ่งเป็นของไทยสั่งทำ ขึ้นอยู่กับธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในเนื้อดิน
เนื้อดิน “จื่อซา” เมื่อเผาแล้วจะเกิดฟองอากาศ เป็นรูพรุนเล็กๆ อยู่ในเนื้อดิน รูพรุนเหล่านี้จะเป็นฉนวนช่วยรักษาอุณหภูมิของน้ำ และเก็บกลิ่นของชาไว้เป็นอย่างดี เมื่อชงชาด้วยปั้นอี๋ซิงจะสามารถเก็บความร้อน รักษาสี รส และกลิ่นของน้ำชาไว้ และเมื่อชงแต่ละครั้ง ด้วยรูพรุนที่ผนังของปั้นจะค่อยๆ เก็บสี รส และกลิ่นของชาไว้ เมื่อใช้ไปนานๆ สีของปั้นชาจะเข้มขึ้น ดู “ฉ่ำ” และสวยงามขึ้น เป็นที่ชื่นชอบของนักสะสมปั้น ผนังของปั้นก็จะสะสมสารสกัดจากใบชามากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อเติมน้ำเดือดลงไปเปล่าๆ ก็จะได้น้ำชาที่มีสี รส และกลิ่นของชาโดยไม่ต้องใส่ใบชา
“ปั้นอี๋ซิง” ได้มีการพัฒนามามาตลอดและทำให้เกิดช่างทำปั้นชาที่มีชื่อเสียงในแต่ละสมัยหลายท่าน ตั้งแต่สมัยราชวงค์หมิง ราชวงค์ซิง มาจนถึงสมัยปัจจุบัน จากสมัยสาธารณรัฐตอนต้นจนถึงทุกวันนี้ ปั้นอี๋ซิงได้พัฒนาเข้าสู่ยุคปัจจุบัน โดยมี “กู้จิ่งโจว” เป็นช่างปั้นที่โดดเด่นที่สุด และเป็นตัวแทนของยุคนี้ และยังมีช่างที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน
• ในความคิดของคุณหมอ เรื่องปั้นชาสำคัญเพียงใด ถึงขั้นที่ต้องมีการศึกษากันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวอย่างที่เห็น
คือคนจีนมีการดื่มชามานานแล้ว การดื่มชาเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของมิตรไมตรีและการต้อนรับด้วยความยินดีเมื่อมีแขกมาเยือน แต่ในอดีตจะเป็นการต้มชาด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า “กาน้ำชา” โดยใส่น้ำ ใส่ใบชาแล้วนำไปต้มโดยตรง ทำให้เมื่อใช้ไปนานๆ กาน้ำชาอาจแตกได้ทุกเมื่อ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคต้นราชวงศ์หมิง หรือเมื่อประมาณ 500 ปีก่อน ได้มีการเปลี่ยนวัฒนธรรมการดื่มชา จากการต้มเข้าสู่วิถีแห่งการชงชา จึงมีอุปกรณ์เพิ่มเข้ามาคือ “ปั้นชา” เป็นอุปกรณ์ชงชา โดยนำใบชามาใส่ไว้ในปั้นชา แล้วเทน้ำร้อนลงไปเพื่อชงดื่ม มิได้นำตัวปั้นชาไปเจอกับความร้อนอย่างการต้มแบบ “กาน้ำชา” โดยตรง ทำให้ปั้นชานั้นมีการออกแบบให้สวยงามขึ้น อีกทั้งน้ำชาที่ได้จากการชงนั้นก็จะช่วยให้ปั้นชามีสีที่เข้มเงางามยิ่งขึ้น
ปั้นชาถือเป็นศิลปะที่แสดงถึงวัฒนธรรมการดื่มชาที่มีราคาแพงและทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเป็นผลงานของช่างปั้นที่มีชื่อเสียง เช่น “กู่จิ่งโจว” ราคาแพงที่สุดคือประมาณ 400 ล้านบาท แม้ตัวปั้นชาจะมีอายุเพียงประมาณ 50-60 ปีเท่านั้น
ที่น่าห่วงคือประเทศไทยมีปั้นชาจำนวนมาก แต่คนไทยไม่ค่อยทราบถึงคุณค่าของมัน และขายให้ชาวต่างชาติในราคาถูก ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง นอกจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังรวมถึงมูลค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์ที่มากับปั้นชา แม้ว่าปั้นอี๋ซิงจะถูกกว้านซื้อจากต่างชาติไปเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยความที่ในอดีตคนไทยนิยมเล่นปั้นชาและเครื่องกระเบื้องจีนกันมาก จึงยังคงมี “ปั้นอี๋ซิง” หลงเหลืออยู่พอสมควร
ผมก็หวังว่าคนไทยจะเห็นคุณค่าของปั้นชาอี๋ซิงว่าไม่ใช่เป็นปั้นชาของจีนอย่างเดียว แต่ปั้นชาบางใบนั้น บรรพบุรุษได้ออกแบบไว้หรือได้นำมาตกแต่งให้มีกลิ่นอายของความเป็นไทย จะได้ช่วยกันเก็บรักษาไว้ให้หลงเหลืออยู่ในเมืองไทยตลอดไปครับ
รู้จัก “ปั้นชา” ส่วนประกอบของปั้นนั้นชาแบ่งเป็น “ฝาปั้น” ประกอบด้วย “รูอากาศ”, “ดุม”, “ตัวฝา” และ “ลิ้น” ส่วน “ตัวปั้น” ประกอบด้วย “ปากปั้น”, “หลัก”, “คอ/บ่า”, “ลำตัว”, “พวย”, “ปากพวย”, “ก้น” และ “ใต้ก้น” โดยปั้นชาแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ 1.ปั้นสาย คือ ปั้นที่มีหูจับด้านบน 2.ปั้นหู คือปั้นที่มีหูจับอยู่ด้านข้าง 3.ปั้นด้าม คือปั้นที่มีที่จับเป็นด้าม 4.ปั้นตลก คือปั้นที่ทำขึ้นโดยไม่มีรูปแบบตายตัว มักเอาสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติมาปั้นเป็นแบบ ส่วนรูปทรงของปั้นชาแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ปั้นทรงเรขาคณิต ได้แก่ ทรงกระบอก ทรงกรวยตัด ทรงกลม ทรงเหลี่ยม ปั้นทรงเรขาคณิตที่ดัดแปลงมาจากทรงธรรมชาติ เช่น กลีบดอกไม้ และปั้นทรงเลียนแบบธรรมชาติ เช่น ทรงต้นสน ทรงท่อนไผ่ ทรงดอกเหมย เป็นต้น ขณะที่ปั้นชาของไทยนั้น มีการตั้งชื่อรูปทรงต่างๆ ของปั้นไว้อย่างมากมาย ซึ่งในตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น ก็ได้กล่าวถึง แต่ไม่มีภาพประกอบ ในหนังสือ ปั้นชาและถ้วยชาจีนของมัตตัญญู ได้กล่าวถึงทรงของปั้นไว้หลายแบบ โดยแบ่งเป็นปั้นสาย 7 แบบ และปั้นหู 22 แบบ |
เรื่อง / ภาพ : อรวรรณ เหม่นแหลม
(ขอบคุณภาพบางส่วนจากหนังสือ “ปั้นอี๋ซิง จากจีนสู่สยาม”)