จากลูกคนมีฐานะที่ทางชีวิตน่าจะโรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ “เอ-ณัฐปิยะ” กลับต้องระหกระเหินเดินสู่ทางวิบาก เนื่องจากแตกร้าวกับแม่ ก่อนมือแม่จะยื่นรักมาอุ้มโอบ ประคองเขาให้ปีนป่ายตนเองขึ้นมาจนสามารถสร้างฐานะได้อีกครั้ง ด้วยการตั้งบริษัท วาเลนไทน์ บอดี้แอนด์บิวตี้ (ไทยแลนด์) จินดาวารี ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวกายที่โตวันโตคืน
"ผมอาจไม่ใช่พ่อที่ดีหรือรวยอะไรครับ แต่ผมจะไม่ทิ้งพวกเขาไปไหน"
คือประโยคเปิดเรื่องราวของหนุ่มใหญ่ “เอ-ณัฐปิยะ ขาวละเอียด” ผู้มีฐานะทางบ้านค่อนข้างดี มีประสบการณ์เรียนและใช้ชีวิตไกลถึงเมืองนอก แต่เพราะรักความสบายสไตล์และอีโก้ประสาเด็กเกเร ทำให้โดนทางบ้านตัดหางปล่อยวัด ต้องมาขับแท็กซี่เลี้ยงดูครอบครัว...
ตัดขาดจากแม่
รอนแรมร่อแร่บนทางวิบาก
"คือด้วยความที่เรากับคุณแม่มีอายุที่ต่างกันหลายรอบ อย่างที่สมัยนี้เขาเรียกว่าคนละเจเนอเรชัน เลยทำให้เราสองคนมีความคิดเห็นเรื่องชีวิตที่ต่างกัน อย่างท่านบอกซ้าย เราไปขวา ประมาณนั้นเลย ที่สำคัญช่วงยุคของผม ต้องบอกว่ามันเป็นยุคที่เริ่มจะเปลี่ยนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน การดำเนินชีวิต ราคาข้าวของ คุณแม่จะบอกว่าแม่ไปทีได้วันละ 5 บาท แต่เราได้วันละ 5 บาทไม่ได้ กินก๋วยเตี๋ยวเรือชามละ 50 สตางค์ ตอนเราก็ 3 บาทแล้ว ตอนนี้เท่าไหร่ล่ะ แล้วเขาก็หาว่าใช้เงินเปลือง แต่มันเปรียบกันไมได้เลย ก็เลยต้องบอกว่าคนละเจเนอเรชันไม่ตรงกัน เลยทำให้ประสานกันไม่ได้"
หนุ่มใหญ่เบื้องหน้าเริ่มต้นสนทนาถึงเหตุผลที่ชีวิตเกือบ 10 ปี เรียกได้ว่าแทบตัดขาดจากทางบ้าน โดยการถูกตัดหางปล่อยวัด
“จริงๆ จะโทษคุณแม่ก็ไม่ได้ เพราะท่านก็รักและหวังดี แล้วด้วยความที่ท่านเป็นข้าราชการครู เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ชีวิตตอนเด็กๆ ท่านก็เลี้ยงดูเราอย่างเต็มที่ อนุบาลถึง ป.6 อยู่โรงเรียนเบญจมินทร์ ซึ่งถือว่าแถวนี้เบญจมินทร์หรูสุดแล้ว ม.1 ก็เรียนที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน มัธยมปลายก็มาเรียนที่สาธิต มศว.ประสานมิตร แต่เราไม่เอาเรื่องเรียนเอง เราเกเร เข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่จบสักที ย้ายเข้าออกอยู่ 4-5 มหาวิทยาลัย แล้วตอนนั้นเราก็ไปทำอาสามูลนิธิ บ้านช่องไม่ค่อยได้กลับ เรื่องสาวๆ ก็มีเยอะ ท่านก็รู้สึกว่าคุมเราไม่ได้ ก็ตัดสินใจส่งเราไปเมืองนอก เผื่อว่าไปอยู่ตรงนั้นจะบีบให้เรากลับมาได้”
แต่ก็ตรงกันข้าม...ประสบการณ์ชีวิตที่ได้กลับมาตอนนั้น นอกจากความโก้หรูหัวทันสมัยของนักเรียนนอก ช่วงชีวิต 3-4 ปี ในแดนต้นเมเปิ้ลประเทศแคนาดา ก็ไม่ได้ถูกสั่งสมเติบโตสมวัย
"เพราะเรากลับมาเราก็คล้ายๆ อีโก้สูงด้วย ได้ภาษา อะไรเราก็ได้ แต่พอกลับมาทำงาน ทำไมเงินเดือนมันได้น้อย ปี 2000 ได้เงินเดือน 9,000 บาท ไม่ผ่านโปรเหลือ 6,000 บาท เป็นแมสเซนเจอร์ มาทำงานโรงแรม คือชอบงานโรงแรม แต่ว่าบริหารได้ ทำได้ แต่ไม่ชอบเป็นพนักงาน”
และด้วยอีกปัญหาชาวออฟฟิศแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น สกัดขา ทำให้จึงเลือกที่จะหยุดและเลิกทำงานภายใต้ระบบ
"ผมรู้สึกสบายกว่านะ เอาง่ายๆ ถ้าเกิดทำงานบริษัท 8 โมงเช้าถึงออฟฟิศ เราทำงานว่าดีแล้ว แต่ผู้ร่วมงานบอกเจ้านายว่ายังไม่ดี โยนความผิดให้ แล้วเราเด็กใหม่ เขาจะเชื่อใคร ทำงานเสร็จ โอเค นายเอฝากทำหน่อย ทำเสร็จปุ๊บเรียบร้อยผ่านไป สมมุติอีกคน นายบี ทำงานนี้ซิ เสร็จปุ๊บส่งงานไป ไม่เรียบร้อยนี่ นายบี บอกเลยว่านายเอทำ นายเอปฏิเสธผมไม่ได้ทำ เขาจะเชื่อไหม ก็เลยไม่ทำดีกว่า ออกมาทำอะไรที่มันเป็นตัวเอง
"ตอนนั้นก็คอมพิวเตอร์กำลังบูม เราก็อยากจะเปิด แต่คุณแม่ห้าม ที่เราตัดกับคุณแม่ก็คือเรื่องนี้ ด้วยความที่ท่านเป็นครู ไม่อยากให้มอมเมาเยาวชน อยากให้เราทำงานราชการมากกว่า เพราะยุคสมัยนั้นมันมั่นคง ง่ายๆ คือถ้าเทียบข้าราชการกับโปรแกรมเมอร์ ก็ต้องข้าราชการ โปรแกรมเมอร์ท่านอาจจะไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าเป็นอย่างไร นั่นส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งคือเราก็ไม่เคยสร้างความเชื่อมั่นอะไรให้ท่านเห็นเลย ตั้งแต่ไม่เรียน เกเร กลับมาก็ทำงานได้สักพักก็ไม่ทำ ก็ไม่ลงรอยกัน ตอนนั้นก็เลยต่างคนต่างเป็นตัวเอง"
ก่อนจะตัดสินใจออกจากบ้าน ไปอาศัยพักพิงบ้านแฟนที่เคยพบเจอเป็นป๊อบปี้เลิฟรักครั้งแรกกันเมื่อสมัยเรียน ซึ่งนั้นเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตที่ทำให้รู้ซึ่งถึงบทเรียนชีวิตจริงๆ นอกกรอบอกแม่พ่อ
"ผมเจอกับคุณนก (ภีร์ระดาร์ นาคาสุ) ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมสาธิตปทุมวัน เป็นรักครั้งแรกของผม คุณนกเป็นคนที่ชีวิตคนละขั้วกับเราเลย เรามีคุณพ่อคุณแม่ดูแล พ่อเป็นนายตำรวจ แม่เป็นครูข้าราชการ บ้านช่องใหญ่โต แต่เขาอาศัยอยู่หลังกุฏิวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เพราะคุณพ่อคุณแม่เลิกกันตั้งแต่อายุ 8 ขวบ แล้วคุณแม่เขามีสามีใหม่ แล้วต่อมาอีกไม่นานคุณแม่เขาก็เดินไม่ได้อีก พี่น้องลูกหลานฝั่งพ่อเลี้ยงเขาก็ด่าทอแบบเสียๆ หายว่ากาฝากบ้าง หน้าด้านหน้าดำบ้าง เขาก็ต้องอดทน เพราะเขาไปไหนไม่ได้ เขาไม่มีเงิน คุณแม่ก็ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พี่นกปรนนิบัติทุกอย่างตั้งแต่เด็ก 10 ขวบ
"ก็ได้คุณนกเป็นคนขัดเกลา เพราะคุณนกเขาสู้ชีวิตด้วยตัวเองมาตลอดอย่างที่บอก วันนี้เขาจะรอดอย่างไร จะมีเงินไปโรงเรียนไหม จะมีข้าวให้คุณแม่กินไหม เขาอยู่แบบนี้มาตลอด ต้องพลิกแก้ปัญหาตลอด ชีวิตเขามีแต่ข้อสอบ ก็ทำให้เขาชอบที่จะลุกยืนด้วยตัวเอง แต่ว่าเราไม่ใช่ เราอยู่ที่บ้านมีคนเตรียมการให้เสร็จสรรพ ขนาดคำหยาบสักคำที่บ้านยังไม่เคยพูดให้เราได้ยิน เราได้เห็นพี่นก พี่นกคอยพูดกับเรา เราก็ค่อยๆ ปรับตัว”
ชีวิตทำท่าจะก้าวหน้าขึ้น หลังเข้าอกเข้าใจอะไรหลายๆ อย่าง แม้จะมีรายได้เพียงหลักร้อย ทว่าก็ยังมีความสุขดีตามประสา จนกระทั่ง "ครอบครัว" เริ่มเป็นชีวิตครอบครัวจริงๆ ด้วยการเริ่มมีทายาทถึงได้รู้จักแก่นแท้ของหัวอกพ่อแม่ที่รักและหวังดีไม่แปรเปลี่ยน
"คือเรื่องนี้จริงๆ เราไม่รู้ มารู้เอาตอนหลังที่พี่นกเล่าให้ฟังว่าคุณแม่หลังจากที่เราออกจากบ้าน ท่านก็เป็นห่วง พอรู้ว่าเรามาเช่าขับแท็กซี่ขับได้ระยะหนึ่งแล้ว ท่านก็แอบย่องมาหาคุณนก บอกว่าถ้าเช่าเขาขับมันก็จะเป็นของเขา เอาอย่างนี้ไหม เดี๋ยวแม่ดาวน์ให้ขับ แล้วก็ให้เราย้ายมาพักที่ตึกพาณิชย์ที่ท่านเคยซื้อไว้ ใกล้ๆ บ้านคุณแม่ บ้านเดิมที่เคยอยู่กัน
"นั่นคือเขาต้องการพิสูจน์เรา ไม่ใช่เขาไม่รักเรา เขายอมให้เราทำตามชีวิตที่เราต้องการ ให้เราพิสูจน์ให้เขาเห็น ตอนนั้นชีวิตก็ลำบากมาก เราขับรถดีหน่อยก็ตกแล้วได้วันละ 200 บาท มากสุด บางวันเสมอตัว บางวันเข้าเนื้อ เคยเลวร้ายที่สุดคือเหลือเงิน 20 บาท หลังออกกะขับรถ เพราะเสียค่าปรับเรื่องการแต่งกายไม่เรียบร้อย วันนั้นเราทรุดร้องไห้เลย เพราะสงสารแฟน พี่นกเขาลำบากมาตั้งแต่เด็กจนถึงโตก็ยังไม่สบาย ขนาดตั้งท้องยังต้องนั่งรถสาธารณะ รถตู้ไปทำงานถึงสีลม ลำพังเงินเดือนเขาดูแลคุณแม่เขาเองก็แย่พอแล้ว บางเดือนก็ชักหน้าไม่ถึงหลัง รวมเงินกันทั้งบ้านมีไม่ถึงร้อย แคะเศษกระป๋องเก็บเงิน จำได้เลยเคยกำเหรียญบาท 15 เหรียญไปซื้อข้าวสารมาครึ่งกิโลกรัมหุงกินกับน้ำปลาเป็นประจำ
"วันไหนพอจะมีมากหน่อยก็อยากทานอะไรที่ต่างออกไปบ้าง อยากพาลูกไปกินหมูกะทะ แต่เวลาเราไปทาน เราก็คำนวณแล้วว่าสามารถสั่งน้ำและน้ำแข็งได้แค่อย่างละ 1 เท่านั้น แล้วเราเป็นคนที่กินน้ำเก่ง ก็รอให้น้ำแข็งละลาย แล้วเทน้ำในกระป๋องดื่ม เบ็ดเสร็จถ้าน้ำในน้ำแข็งไม่พอ เราก็ทำเป็นผลัดกันเดินไปที่รถ 3 คน กินน้ำที่เราเตรียมไว้ที่กรอกมาจากบ้าน และในระหว่างนั้นเราก็จะแอบปิ้งพวกหมู ไก่ ปลาหมึก ลูกชิ้น ห่อใส่ทิชชู่เอากลับบ้านให้แม่แฟนทานกับข้าวที่บ้าน เพราะท่านเดินไม่ได้
"ลูกชายเรายังจำได้เลย...คนเขาก็มองนะ แต่เราไม่อายแล้ว วินาทีนั้น เราก็ต้องทำอย่างนั้นถึงจะพอจ่ายค่าหัว"
ร่องน้ำตาความรู้สึกของหัวอกผู้เป็นผู้นำครองครัวยังคงสะเทือนมาจนถึงทุกวันนี้ยามที่นึกถึงวันนั้นแม้จะผ่านมาราวร่วมเกือบ 10 ปี
"แล้วแฟนผมก็จะบอกเราเสมอว่าอย่าคิดน้อยใจพ่อแม่ เขาให้เธอได้เท่านี้มันดีแค่ไหน เขาไม่มีเลย เขาต้องทำเองทุกอย่าง ตอนเรียนเรียกง่ายๆ ว่าขอทานเขามา คือพอมาอยู่แล้วเนี่ย เรายังไม่ได้พิสูจน์ให้คุณแม่เห็น คุณนกก็ช่วยให้เราพิสูจน์เพื่อให้ชนะใจคุณแม่ให้ได้"
"ผมก็ฮึดสู้ก็ขับแท็กซี่อยู่ถึง 6 ปี จนกระทั่งรถโดนชน เราถูกทุกอย่าง แต่พอถึงขั้นดำเนินการก็ไม่ได้อะไรตอบแทน ค่าซงค่าซ่อม เงินที่มีก็แค่พอประทังชีวิต ก็เลยต้องเลิกขับ ก็คิดว่าทำไมชีวิตลำบากขนาดนี้ บังเอิญว่าพี่นกก็ขยับขยายที่ทำงานเดิม คือพี่นกทำงานหลายอย่างมาก ก็ทำให้รู้จักคนเยอะ ตอนนั้นเขามาขายบัตรเครดิตกินค่าคอมมิชชั่น ก็แนะนำเราจนได้งานเป็นไดร์เวอร์คนขับรถให้ประธานเจ้านายต่างชาติ ได้เงินเดือน 6,500 บาท"
ชีวิตเข้าสู่ตาจนอีกครั้งเมื่อภรรยาตกงานกะทันหัน อีกทั้งตนเองที่ขับรถรับจ้างก็เกิดซวยเพราะรถถูกขโมย แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยก็ยังต้องออกจากงาน
"คุณนกย้ายไปทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งก็สามารถสร้างยอดขายให้เขาเดือนแรกกว่าล้านบาท กำลังดีขึ้นๆ ก็มีปัญหาภายในมาทดสอบ ผลปรากฏว่าทำงานได้ไป 6 เดือนเขาก็เชิญให้ออก จริงๆ ก่อนหน้าที่จะออก เราสังเกตแล้วว่าเวลาที่คุณนกกลับมาบ้าน ทำไมดูไม่สบายใจ ร้องไห้กลับมาบ้าน เรารู้ว่าเขาจะไม่ยอมบอก แต่เรามีเบอร์หัวหน้าเขา เพราะเขาบอกว่ามีปัญหาอะไรให้โทรมาคุยกัน เราก็เลยโทรไปถามว่าทำไมคุณนกกลับมาบ้านถึงร้องไห้ เขาก็ย้อนกลับมาว่าก็ครอบครัวคุณมีปัญหาเอง เลยเป็นสาเหตุให้เขาเชิญออก
"คือพอเวลามันเปลี่ยน เงินมันทำให้คนเปลี่ยน ทุกวันนี้เราเลยย้ำตัวเอง เงินเลยเปลี่ยนเราไม่ได้ เรามาจากไหน ก็ระลึกถึงเสมอ" นก-ภีร์ระดาร์ ภรรยา ย้อนคิดและกล่าวถึงสถานการณ์ในวันวานดังกล่าว
"สุดท้าย พี่เอกลับไปหาคุณแม่ ซึ่งช่วงนั้นพี่เอได้พิสูจน์อะไรหลายๆ อย่างผ่านมา 6-7 ปี แล้ว อย่างที่บอก พี่เอเขาไม่รู้เลยว่าคุณแม่เขาแอบมาดูแอบเฝ้าพัฒนาการของเขา คอยสนับสนุนช่วยเหลือ อย่างตอนลูกเข้าโรงเรียนครั้งแรก เป็นโรงเรียนมูลนิธิของฝรั่ง อยู่ในแฟลต ไม่รองรับการศึกษาด้วย คุณแม่มารู้ ท่านก็ย้ายให้ไปอยู่โรงเรียนที่ดีขึ้นหน่อย กระทรวงการศึกษายอมรับ
"เขาก็ยอมละทิ้งทุกทิฐิทุกอย่าง เขาไปหาคุณแม่ ไปปรึกษาปัญหา แล้วท่านก็เรียกเราไปคุย ท่านพูดมาคำเดียวเลยว่าเปิดบริษัทเองใช้เงินเท่าไหร่ ได้ยินตรงนั้น ความรู้สึกที่เหนือว่าการที่คุณแม่ช่วยเราคือเราสามารถพิสูจน์ให้ท่านมั่นใจได้แล้ว เพราะครั้งนี้ใช้เงินหลักหลายล้าน ท่านไม่มีเงินสด ท่านให้กระทั่งบ้านท่านและตึกที่เราอาศัยอยู่ไปจำนอง ท่านกล้าวัดกับเรา เพราะถ้าล้มคือไม่เหลืออะไรแล้ว ต้องอยู่วัดกันสถานเดียว”
และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่แสงทองเริ่มส่องทอให้ชีวิตได้ลืมตาอ้าปากได้ จนกระทั่งเติบใหญ่ สามารถซื้อบ้านราคาสิบล้านได้ถึงสองหลัง ด้วยพลังสมองและพลังรักที่หลอมรวม ทั้งของครอบครัวตัวเอง และความรักจากแม่ที่แผ่มาสู่ลูก
เพราะครอบครัว
คือหัวใจของชีวิต
“หลังก่อตั้งบริษัท เราเหลือเงินทั้งหมดทั้งเนื้อทั้งตัวแค่ 6,000 บาท”
ณัฐปิยะ ขาวละเอียด แจกแจงรายละเอียดหลังจากเริ่มก่อร่างสร้างตนในฐานะเจ้าของบริษัท ลงทุนลงแรง ดิวงาน ทำเองทุกอย่าง ซึ่งในระหว่างนั้น ฝ่ายสามีก็ยังต้องทำงานขับรถแท็กซี่ควบคู่ไปด้วย
“สินค้า 2 ตัว ครีมกับอาหารเสริม ก็ทำงานตั้งแต่เช้ายันดึกทุกวัน ทุกวันจริงๆ ท่องอย่างเดียวต้องรอดๆ จะเหนื่อยๆ หันไปก็มีคุณแม่ท่านนั่งเป็นกำลังใจอยู่ข้างหลังตลอดเวลาที่ทำงาน ออฟฟิศก็เล็กๆ ทำที่ตึกที่จำนอง ขนาด 4 คูณ 4 ก็ติดวอลล์เปเปอร์ แล้วก็เริ่มมีเงินมาทาสี ก่อนจะเริ่มโตขึ้นๆ ขนาดช่วงน้ำท่วมยังส่งของกันอยู่เลย"
ด้วย 2 กำลัง 2 สมอง ทุกอย่างจึงดำเนินไปได้ด้วยดีลุล่วง หลังบริษัทวาเลนไทน์ ก็มีบริษัทที่ทำส่งออกต่างประเทศแถบทางยุโรป มีลงทุนธุรกิจที่ประเทศดูไบ ล่าสุดก็กำลังมีแบรนด์ตัวใหม่ เป็นโลชั่นกับเซรั่ม สครับ นำพาให้ชีวิตดีขึ้น จนสามารถซื้อบ้านราคา 10 ล้าน ได้ถึง 2 หลัง จากครอบครัวที่จวนเจียนร่อแร่ให้กลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาด้วยความสะดวกสบาย และที่สำคัญที่สุดคือความเข้าใจซึ่งกันและกัน
"คือชีวิตที่ผ่านมามันเป็นบทเรียนสำคัญ ทุกอาชีพมีความหมาย ทุกคนมี ความหมาย ทุกอย่างมีความหมาย มีความสำคัญในตัวมันเอง มันจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ ก็ต้องขอบคุณทุกเหตุการณ์ ประสบการณ์ที่สอนเราขึ้นมาให้เราเป็นอย่างนี้
"ถึงที่สุดหรือยังในชีวิตตอนนี้ ยังไม่สุดนะ ไม่ใช่ว่าโลภ แต่มองว่าตราบใดที่ยังเป็นหนี้ ธุรกิจเป็นเงินหมุน ธุรกิจไม่มีคำว่านิ่ง เปลี่ยนแปลงตลอด เราก็ยังต้องคอยสู้กันต่อไป ทุกอย่างไม่มีอะไรที่นิ่ง โลกมันหมุนเปลี่ยนแปลง ดวงเรามีขึ้นลง เก่าไปใหม่มา แต่เราจะทำอย่างไรให้ตัวเราอยู่ได้ในสังคม ทำได้เราต้องเปิดก็ต้องสู้ให้มากขึ้น แข็งแกร่งให้มากขึ้น เรียนรู้ความผิดพลาดแล้วกลับมาแก้ไข ไม่ว่าโลกเปลี่ยนไปก็แล้วแต่ เราต้องอยู่ให้ได้ ความลำบากต่างๆ ที่มันสอนเรามา ย้ำเตือนเราเสมอระวังนะ ถ้าไม่ระวังมันจะกลับมาอีก”
"งานแท็กซี่สอนพี่เอมาก” นก-ภีร์ระดาร์ กล่าวขึ้นมาเสริม
“ทุกวันนี้เราตื่นสายกว่าพี่เออีก ตี 5 กว่าๆ เขาต้องตื่นแล้ว เตรียมตัวทำงาน ไปส่งลูกที่โรงเรียนเอง พอมีลูกแล้วเขารู้แล้วว่าเป็นอย่างไรในความรู้สึก ตอนนี้ก็เขากับลูกก็คนละเจเนอเรชันเหมือนกันกับเขาในอดีต แต่เขาเข้าใจแล้วว่าต้องเข้าปรับหาลูกอย่างไร ไม่ใช่ว่าให้อิสระเต็มที่ ทำอะไร เผชิญอะไรเอง หรือ ตีกรอบให้เขาเดินจนเต็ม เรื่องในสังคม บางครั้งอิสระมากเกินไป บางครั้งเด็กก็คิดที่จะโตเกินไว แต่ถ้าเกิดสามารถควบคุม ถ้าเกิดว่าผู้ใหญ่มีการสอนและมีความเข้าใจ ผ่านตัวเองมาในตอนเด็กเป็นอย่างไร
"ไม่ใช่ว่าเด็กในตอนนี้ จะเป็นเหมือนตอนนั้น ผู้ใหญ่เองก็ต้องเรียนรู้ด้วยว่าเด็กเป็นอย่างไร สมัยเรานั้นยังไม่มี กูเกิล ที่ว่าหาอะไรแล้วเจอหมด ห้องสมุดอย่างเดียว แต่นี่มีแล้วก็ใช้พวกนี้ให้ได้ประโยชน์ที่สุด หางานหาการทำ ไม่ใช่ว่าไม่ทำการทำงานเลย ก็สอนลูกแบบนั้น เราเองก็ต้องลงไปหาเขา อย่างเขาเป็นเด็ก เขาไม่สามารถขึ้นมาเข้าใจเราได้หรอก เราต้องลงไปหาเขา เพราะว่าถ้าเกิดว่าจะให้เด็กเข้าใจผู้ใหญ่ แล้วทำไมผู้ใหญ่บางครั้งไม่ลงไปเข้าใจเด็กด้วย
"ก็อยากจะฝากทุกครอบครัวที่มีปัญหาไม่ว่าจะเรื่องความเข้าใจหรือเรื่องการต่อสู้ชีวิตเพราะคำว่าครอบครัว ครอบครัวสำคัญที่สุดคือความเข้าใจซึ่งกันและกัน อยากให้รักกันไว้ หันหน้าเข้าหากันแล้วทุกอุปสรรคจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี"
"ก็ต้องตั้งสติครับ” ณัฐปิยะ เสริมบทสนทนาของภรรยา
“และคิดว่าผมโชคดีที่คุณนกเขาละเอียดรอบคอบ ใจเย็น ค่อยๆ แก้ปัญหาทีละเปลาะ ทุกการกระทำของเขาเราก็สามารถรับรู้ได้ว่าเขาเชื่อมั่นในตัวเรา เขาตัดสินอยู่ใช้ชีวิตคู่กับเรา ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเราไม่มีอะไร แต่เขามองว่าเราไม่ใช่คนเลวร้ายจากในสันดาน คนเรามันต้องมีมุมดี ทุกวันนี้มีลูกน้อง คุณนกก็ไม่เคยดุ ถ้าลูกน้องมีปัญหาอะไรจะเรียกเข้ามาคุย แล้วสอน ผิดชอบชั่วดีต้องแยกให้เป็น
“เรื่องครอบครัวก็เหมือนกัน เพราะอย่างที่รู้ ครอบครัวไหนมีปัญหาเรื่องเงิน มักตามมาด้วยการทะเลาะเบาะแว้ง แต่พี่นกเขาเคยเห็นพ่อแม่เลิกกันแล้ว สุดท้ายเรามีลูก ถ้าเราประคับประคองชีวิตไม่ผ่าน เลิกกัน ทำตามใจที่ต้องการ ต่างคนต่างต้องการไปดีขึ้นโดยไม่มีใครมาฉุด คนที่จบสุดท้ายคือลูก
"เราไม่สามารถเปลี่ยนพ่อหรือแม่ให้ลูกได้ เราจะมีสามี มีภรรยาใหม่กี่ครั้ง เขาก็ไม่ใช่พ่อแม่ของลูก คนที่จะลำบากก็คือลูก ภรรยาพูดกับผมอย่างนี้ แล้วเขาก็รู้สึกว่าเราจะต้องอยู่ อยู่ให้ได้ แล้วจะผ่านมันให้ได้ จะจนจะไม่มีกินอย่างไร มันก็ต้องร่วมกันไปให้ได้
“นี่แหละความหมายของคำว่าครอบครัว เป็นจุดที่ทำให้ครอบครัวมันเป็นครอบครัวกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น"
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : พลภัทร วรรณดี
"ผมอาจไม่ใช่พ่อที่ดีหรือรวยอะไรครับ แต่ผมจะไม่ทิ้งพวกเขาไปไหน"
คือประโยคเปิดเรื่องราวของหนุ่มใหญ่ “เอ-ณัฐปิยะ ขาวละเอียด” ผู้มีฐานะทางบ้านค่อนข้างดี มีประสบการณ์เรียนและใช้ชีวิตไกลถึงเมืองนอก แต่เพราะรักความสบายสไตล์และอีโก้ประสาเด็กเกเร ทำให้โดนทางบ้านตัดหางปล่อยวัด ต้องมาขับแท็กซี่เลี้ยงดูครอบครัว...
ตัดขาดจากแม่
รอนแรมร่อแร่บนทางวิบาก
"คือด้วยความที่เรากับคุณแม่มีอายุที่ต่างกันหลายรอบ อย่างที่สมัยนี้เขาเรียกว่าคนละเจเนอเรชัน เลยทำให้เราสองคนมีความคิดเห็นเรื่องชีวิตที่ต่างกัน อย่างท่านบอกซ้าย เราไปขวา ประมาณนั้นเลย ที่สำคัญช่วงยุคของผม ต้องบอกว่ามันเป็นยุคที่เริ่มจะเปลี่ยนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน การดำเนินชีวิต ราคาข้าวของ คุณแม่จะบอกว่าแม่ไปทีได้วันละ 5 บาท แต่เราได้วันละ 5 บาทไม่ได้ กินก๋วยเตี๋ยวเรือชามละ 50 สตางค์ ตอนเราก็ 3 บาทแล้ว ตอนนี้เท่าไหร่ล่ะ แล้วเขาก็หาว่าใช้เงินเปลือง แต่มันเปรียบกันไมได้เลย ก็เลยต้องบอกว่าคนละเจเนอเรชันไม่ตรงกัน เลยทำให้ประสานกันไม่ได้"
หนุ่มใหญ่เบื้องหน้าเริ่มต้นสนทนาถึงเหตุผลที่ชีวิตเกือบ 10 ปี เรียกได้ว่าแทบตัดขาดจากทางบ้าน โดยการถูกตัดหางปล่อยวัด
“จริงๆ จะโทษคุณแม่ก็ไม่ได้ เพราะท่านก็รักและหวังดี แล้วด้วยความที่ท่านเป็นข้าราชการครู เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ชีวิตตอนเด็กๆ ท่านก็เลี้ยงดูเราอย่างเต็มที่ อนุบาลถึง ป.6 อยู่โรงเรียนเบญจมินทร์ ซึ่งถือว่าแถวนี้เบญจมินทร์หรูสุดแล้ว ม.1 ก็เรียนที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน มัธยมปลายก็มาเรียนที่สาธิต มศว.ประสานมิตร แต่เราไม่เอาเรื่องเรียนเอง เราเกเร เข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่จบสักที ย้ายเข้าออกอยู่ 4-5 มหาวิทยาลัย แล้วตอนนั้นเราก็ไปทำอาสามูลนิธิ บ้านช่องไม่ค่อยได้กลับ เรื่องสาวๆ ก็มีเยอะ ท่านก็รู้สึกว่าคุมเราไม่ได้ ก็ตัดสินใจส่งเราไปเมืองนอก เผื่อว่าไปอยู่ตรงนั้นจะบีบให้เรากลับมาได้”
แต่ก็ตรงกันข้าม...ประสบการณ์ชีวิตที่ได้กลับมาตอนนั้น นอกจากความโก้หรูหัวทันสมัยของนักเรียนนอก ช่วงชีวิต 3-4 ปี ในแดนต้นเมเปิ้ลประเทศแคนาดา ก็ไม่ได้ถูกสั่งสมเติบโตสมวัย
"เพราะเรากลับมาเราก็คล้ายๆ อีโก้สูงด้วย ได้ภาษา อะไรเราก็ได้ แต่พอกลับมาทำงาน ทำไมเงินเดือนมันได้น้อย ปี 2000 ได้เงินเดือน 9,000 บาท ไม่ผ่านโปรเหลือ 6,000 บาท เป็นแมสเซนเจอร์ มาทำงานโรงแรม คือชอบงานโรงแรม แต่ว่าบริหารได้ ทำได้ แต่ไม่ชอบเป็นพนักงาน”
และด้วยอีกปัญหาชาวออฟฟิศแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น สกัดขา ทำให้จึงเลือกที่จะหยุดและเลิกทำงานภายใต้ระบบ
"ผมรู้สึกสบายกว่านะ เอาง่ายๆ ถ้าเกิดทำงานบริษัท 8 โมงเช้าถึงออฟฟิศ เราทำงานว่าดีแล้ว แต่ผู้ร่วมงานบอกเจ้านายว่ายังไม่ดี โยนความผิดให้ แล้วเราเด็กใหม่ เขาจะเชื่อใคร ทำงานเสร็จ โอเค นายเอฝากทำหน่อย ทำเสร็จปุ๊บเรียบร้อยผ่านไป สมมุติอีกคน นายบี ทำงานนี้ซิ เสร็จปุ๊บส่งงานไป ไม่เรียบร้อยนี่ นายบี บอกเลยว่านายเอทำ นายเอปฏิเสธผมไม่ได้ทำ เขาจะเชื่อไหม ก็เลยไม่ทำดีกว่า ออกมาทำอะไรที่มันเป็นตัวเอง
"ตอนนั้นก็คอมพิวเตอร์กำลังบูม เราก็อยากจะเปิด แต่คุณแม่ห้าม ที่เราตัดกับคุณแม่ก็คือเรื่องนี้ ด้วยความที่ท่านเป็นครู ไม่อยากให้มอมเมาเยาวชน อยากให้เราทำงานราชการมากกว่า เพราะยุคสมัยนั้นมันมั่นคง ง่ายๆ คือถ้าเทียบข้าราชการกับโปรแกรมเมอร์ ก็ต้องข้าราชการ โปรแกรมเมอร์ท่านอาจจะไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าเป็นอย่างไร นั่นส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งคือเราก็ไม่เคยสร้างความเชื่อมั่นอะไรให้ท่านเห็นเลย ตั้งแต่ไม่เรียน เกเร กลับมาก็ทำงานได้สักพักก็ไม่ทำ ก็ไม่ลงรอยกัน ตอนนั้นก็เลยต่างคนต่างเป็นตัวเอง"
ก่อนจะตัดสินใจออกจากบ้าน ไปอาศัยพักพิงบ้านแฟนที่เคยพบเจอเป็นป๊อบปี้เลิฟรักครั้งแรกกันเมื่อสมัยเรียน ซึ่งนั้นเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตที่ทำให้รู้ซึ่งถึงบทเรียนชีวิตจริงๆ นอกกรอบอกแม่พ่อ
"ผมเจอกับคุณนก (ภีร์ระดาร์ นาคาสุ) ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมสาธิตปทุมวัน เป็นรักครั้งแรกของผม คุณนกเป็นคนที่ชีวิตคนละขั้วกับเราเลย เรามีคุณพ่อคุณแม่ดูแล พ่อเป็นนายตำรวจ แม่เป็นครูข้าราชการ บ้านช่องใหญ่โต แต่เขาอาศัยอยู่หลังกุฏิวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เพราะคุณพ่อคุณแม่เลิกกันตั้งแต่อายุ 8 ขวบ แล้วคุณแม่เขามีสามีใหม่ แล้วต่อมาอีกไม่นานคุณแม่เขาก็เดินไม่ได้อีก พี่น้องลูกหลานฝั่งพ่อเลี้ยงเขาก็ด่าทอแบบเสียๆ หายว่ากาฝากบ้าง หน้าด้านหน้าดำบ้าง เขาก็ต้องอดทน เพราะเขาไปไหนไม่ได้ เขาไม่มีเงิน คุณแม่ก็ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พี่นกปรนนิบัติทุกอย่างตั้งแต่เด็ก 10 ขวบ
"ก็ได้คุณนกเป็นคนขัดเกลา เพราะคุณนกเขาสู้ชีวิตด้วยตัวเองมาตลอดอย่างที่บอก วันนี้เขาจะรอดอย่างไร จะมีเงินไปโรงเรียนไหม จะมีข้าวให้คุณแม่กินไหม เขาอยู่แบบนี้มาตลอด ต้องพลิกแก้ปัญหาตลอด ชีวิตเขามีแต่ข้อสอบ ก็ทำให้เขาชอบที่จะลุกยืนด้วยตัวเอง แต่ว่าเราไม่ใช่ เราอยู่ที่บ้านมีคนเตรียมการให้เสร็จสรรพ ขนาดคำหยาบสักคำที่บ้านยังไม่เคยพูดให้เราได้ยิน เราได้เห็นพี่นก พี่นกคอยพูดกับเรา เราก็ค่อยๆ ปรับตัว”
ชีวิตทำท่าจะก้าวหน้าขึ้น หลังเข้าอกเข้าใจอะไรหลายๆ อย่าง แม้จะมีรายได้เพียงหลักร้อย ทว่าก็ยังมีความสุขดีตามประสา จนกระทั่ง "ครอบครัว" เริ่มเป็นชีวิตครอบครัวจริงๆ ด้วยการเริ่มมีทายาทถึงได้รู้จักแก่นแท้ของหัวอกพ่อแม่ที่รักและหวังดีไม่แปรเปลี่ยน
"คือเรื่องนี้จริงๆ เราไม่รู้ มารู้เอาตอนหลังที่พี่นกเล่าให้ฟังว่าคุณแม่หลังจากที่เราออกจากบ้าน ท่านก็เป็นห่วง พอรู้ว่าเรามาเช่าขับแท็กซี่ขับได้ระยะหนึ่งแล้ว ท่านก็แอบย่องมาหาคุณนก บอกว่าถ้าเช่าเขาขับมันก็จะเป็นของเขา เอาอย่างนี้ไหม เดี๋ยวแม่ดาวน์ให้ขับ แล้วก็ให้เราย้ายมาพักที่ตึกพาณิชย์ที่ท่านเคยซื้อไว้ ใกล้ๆ บ้านคุณแม่ บ้านเดิมที่เคยอยู่กัน
"นั่นคือเขาต้องการพิสูจน์เรา ไม่ใช่เขาไม่รักเรา เขายอมให้เราทำตามชีวิตที่เราต้องการ ให้เราพิสูจน์ให้เขาเห็น ตอนนั้นชีวิตก็ลำบากมาก เราขับรถดีหน่อยก็ตกแล้วได้วันละ 200 บาท มากสุด บางวันเสมอตัว บางวันเข้าเนื้อ เคยเลวร้ายที่สุดคือเหลือเงิน 20 บาท หลังออกกะขับรถ เพราะเสียค่าปรับเรื่องการแต่งกายไม่เรียบร้อย วันนั้นเราทรุดร้องไห้เลย เพราะสงสารแฟน พี่นกเขาลำบากมาตั้งแต่เด็กจนถึงโตก็ยังไม่สบาย ขนาดตั้งท้องยังต้องนั่งรถสาธารณะ รถตู้ไปทำงานถึงสีลม ลำพังเงินเดือนเขาดูแลคุณแม่เขาเองก็แย่พอแล้ว บางเดือนก็ชักหน้าไม่ถึงหลัง รวมเงินกันทั้งบ้านมีไม่ถึงร้อย แคะเศษกระป๋องเก็บเงิน จำได้เลยเคยกำเหรียญบาท 15 เหรียญไปซื้อข้าวสารมาครึ่งกิโลกรัมหุงกินกับน้ำปลาเป็นประจำ
"วันไหนพอจะมีมากหน่อยก็อยากทานอะไรที่ต่างออกไปบ้าง อยากพาลูกไปกินหมูกะทะ แต่เวลาเราไปทาน เราก็คำนวณแล้วว่าสามารถสั่งน้ำและน้ำแข็งได้แค่อย่างละ 1 เท่านั้น แล้วเราเป็นคนที่กินน้ำเก่ง ก็รอให้น้ำแข็งละลาย แล้วเทน้ำในกระป๋องดื่ม เบ็ดเสร็จถ้าน้ำในน้ำแข็งไม่พอ เราก็ทำเป็นผลัดกันเดินไปที่รถ 3 คน กินน้ำที่เราเตรียมไว้ที่กรอกมาจากบ้าน และในระหว่างนั้นเราก็จะแอบปิ้งพวกหมู ไก่ ปลาหมึก ลูกชิ้น ห่อใส่ทิชชู่เอากลับบ้านให้แม่แฟนทานกับข้าวที่บ้าน เพราะท่านเดินไม่ได้
"ลูกชายเรายังจำได้เลย...คนเขาก็มองนะ แต่เราไม่อายแล้ว วินาทีนั้น เราก็ต้องทำอย่างนั้นถึงจะพอจ่ายค่าหัว"
ร่องน้ำตาความรู้สึกของหัวอกผู้เป็นผู้นำครองครัวยังคงสะเทือนมาจนถึงทุกวันนี้ยามที่นึกถึงวันนั้นแม้จะผ่านมาราวร่วมเกือบ 10 ปี
"แล้วแฟนผมก็จะบอกเราเสมอว่าอย่าคิดน้อยใจพ่อแม่ เขาให้เธอได้เท่านี้มันดีแค่ไหน เขาไม่มีเลย เขาต้องทำเองทุกอย่าง ตอนเรียนเรียกง่ายๆ ว่าขอทานเขามา คือพอมาอยู่แล้วเนี่ย เรายังไม่ได้พิสูจน์ให้คุณแม่เห็น คุณนกก็ช่วยให้เราพิสูจน์เพื่อให้ชนะใจคุณแม่ให้ได้"
"ผมก็ฮึดสู้ก็ขับแท็กซี่อยู่ถึง 6 ปี จนกระทั่งรถโดนชน เราถูกทุกอย่าง แต่พอถึงขั้นดำเนินการก็ไม่ได้อะไรตอบแทน ค่าซงค่าซ่อม เงินที่มีก็แค่พอประทังชีวิต ก็เลยต้องเลิกขับ ก็คิดว่าทำไมชีวิตลำบากขนาดนี้ บังเอิญว่าพี่นกก็ขยับขยายที่ทำงานเดิม คือพี่นกทำงานหลายอย่างมาก ก็ทำให้รู้จักคนเยอะ ตอนนั้นเขามาขายบัตรเครดิตกินค่าคอมมิชชั่น ก็แนะนำเราจนได้งานเป็นไดร์เวอร์คนขับรถให้ประธานเจ้านายต่างชาติ ได้เงินเดือน 6,500 บาท"
ชีวิตเข้าสู่ตาจนอีกครั้งเมื่อภรรยาตกงานกะทันหัน อีกทั้งตนเองที่ขับรถรับจ้างก็เกิดซวยเพราะรถถูกขโมย แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยก็ยังต้องออกจากงาน
"คุณนกย้ายไปทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งก็สามารถสร้างยอดขายให้เขาเดือนแรกกว่าล้านบาท กำลังดีขึ้นๆ ก็มีปัญหาภายในมาทดสอบ ผลปรากฏว่าทำงานได้ไป 6 เดือนเขาก็เชิญให้ออก จริงๆ ก่อนหน้าที่จะออก เราสังเกตแล้วว่าเวลาที่คุณนกกลับมาบ้าน ทำไมดูไม่สบายใจ ร้องไห้กลับมาบ้าน เรารู้ว่าเขาจะไม่ยอมบอก แต่เรามีเบอร์หัวหน้าเขา เพราะเขาบอกว่ามีปัญหาอะไรให้โทรมาคุยกัน เราก็เลยโทรไปถามว่าทำไมคุณนกกลับมาบ้านถึงร้องไห้ เขาก็ย้อนกลับมาว่าก็ครอบครัวคุณมีปัญหาเอง เลยเป็นสาเหตุให้เขาเชิญออก
"คือพอเวลามันเปลี่ยน เงินมันทำให้คนเปลี่ยน ทุกวันนี้เราเลยย้ำตัวเอง เงินเลยเปลี่ยนเราไม่ได้ เรามาจากไหน ก็ระลึกถึงเสมอ" นก-ภีร์ระดาร์ ภรรยา ย้อนคิดและกล่าวถึงสถานการณ์ในวันวานดังกล่าว
"สุดท้าย พี่เอกลับไปหาคุณแม่ ซึ่งช่วงนั้นพี่เอได้พิสูจน์อะไรหลายๆ อย่างผ่านมา 6-7 ปี แล้ว อย่างที่บอก พี่เอเขาไม่รู้เลยว่าคุณแม่เขาแอบมาดูแอบเฝ้าพัฒนาการของเขา คอยสนับสนุนช่วยเหลือ อย่างตอนลูกเข้าโรงเรียนครั้งแรก เป็นโรงเรียนมูลนิธิของฝรั่ง อยู่ในแฟลต ไม่รองรับการศึกษาด้วย คุณแม่มารู้ ท่านก็ย้ายให้ไปอยู่โรงเรียนที่ดีขึ้นหน่อย กระทรวงการศึกษายอมรับ
"เขาก็ยอมละทิ้งทุกทิฐิทุกอย่าง เขาไปหาคุณแม่ ไปปรึกษาปัญหา แล้วท่านก็เรียกเราไปคุย ท่านพูดมาคำเดียวเลยว่าเปิดบริษัทเองใช้เงินเท่าไหร่ ได้ยินตรงนั้น ความรู้สึกที่เหนือว่าการที่คุณแม่ช่วยเราคือเราสามารถพิสูจน์ให้ท่านมั่นใจได้แล้ว เพราะครั้งนี้ใช้เงินหลักหลายล้าน ท่านไม่มีเงินสด ท่านให้กระทั่งบ้านท่านและตึกที่เราอาศัยอยู่ไปจำนอง ท่านกล้าวัดกับเรา เพราะถ้าล้มคือไม่เหลืออะไรแล้ว ต้องอยู่วัดกันสถานเดียว”
และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่แสงทองเริ่มส่องทอให้ชีวิตได้ลืมตาอ้าปากได้ จนกระทั่งเติบใหญ่ สามารถซื้อบ้านราคาสิบล้านได้ถึงสองหลัง ด้วยพลังสมองและพลังรักที่หลอมรวม ทั้งของครอบครัวตัวเอง และความรักจากแม่ที่แผ่มาสู่ลูก
เพราะครอบครัว
คือหัวใจของชีวิต
“หลังก่อตั้งบริษัท เราเหลือเงินทั้งหมดทั้งเนื้อทั้งตัวแค่ 6,000 บาท”
ณัฐปิยะ ขาวละเอียด แจกแจงรายละเอียดหลังจากเริ่มก่อร่างสร้างตนในฐานะเจ้าของบริษัท ลงทุนลงแรง ดิวงาน ทำเองทุกอย่าง ซึ่งในระหว่างนั้น ฝ่ายสามีก็ยังต้องทำงานขับรถแท็กซี่ควบคู่ไปด้วย
“สินค้า 2 ตัว ครีมกับอาหารเสริม ก็ทำงานตั้งแต่เช้ายันดึกทุกวัน ทุกวันจริงๆ ท่องอย่างเดียวต้องรอดๆ จะเหนื่อยๆ หันไปก็มีคุณแม่ท่านนั่งเป็นกำลังใจอยู่ข้างหลังตลอดเวลาที่ทำงาน ออฟฟิศก็เล็กๆ ทำที่ตึกที่จำนอง ขนาด 4 คูณ 4 ก็ติดวอลล์เปเปอร์ แล้วก็เริ่มมีเงินมาทาสี ก่อนจะเริ่มโตขึ้นๆ ขนาดช่วงน้ำท่วมยังส่งของกันอยู่เลย"
ด้วย 2 กำลัง 2 สมอง ทุกอย่างจึงดำเนินไปได้ด้วยดีลุล่วง หลังบริษัทวาเลนไทน์ ก็มีบริษัทที่ทำส่งออกต่างประเทศแถบทางยุโรป มีลงทุนธุรกิจที่ประเทศดูไบ ล่าสุดก็กำลังมีแบรนด์ตัวใหม่ เป็นโลชั่นกับเซรั่ม สครับ นำพาให้ชีวิตดีขึ้น จนสามารถซื้อบ้านราคา 10 ล้าน ได้ถึง 2 หลัง จากครอบครัวที่จวนเจียนร่อแร่ให้กลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาด้วยความสะดวกสบาย และที่สำคัญที่สุดคือความเข้าใจซึ่งกันและกัน
"คือชีวิตที่ผ่านมามันเป็นบทเรียนสำคัญ ทุกอาชีพมีความหมาย ทุกคนมี ความหมาย ทุกอย่างมีความหมาย มีความสำคัญในตัวมันเอง มันจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ ก็ต้องขอบคุณทุกเหตุการณ์ ประสบการณ์ที่สอนเราขึ้นมาให้เราเป็นอย่างนี้
"ถึงที่สุดหรือยังในชีวิตตอนนี้ ยังไม่สุดนะ ไม่ใช่ว่าโลภ แต่มองว่าตราบใดที่ยังเป็นหนี้ ธุรกิจเป็นเงินหมุน ธุรกิจไม่มีคำว่านิ่ง เปลี่ยนแปลงตลอด เราก็ยังต้องคอยสู้กันต่อไป ทุกอย่างไม่มีอะไรที่นิ่ง โลกมันหมุนเปลี่ยนแปลง ดวงเรามีขึ้นลง เก่าไปใหม่มา แต่เราจะทำอย่างไรให้ตัวเราอยู่ได้ในสังคม ทำได้เราต้องเปิดก็ต้องสู้ให้มากขึ้น แข็งแกร่งให้มากขึ้น เรียนรู้ความผิดพลาดแล้วกลับมาแก้ไข ไม่ว่าโลกเปลี่ยนไปก็แล้วแต่ เราต้องอยู่ให้ได้ ความลำบากต่างๆ ที่มันสอนเรามา ย้ำเตือนเราเสมอระวังนะ ถ้าไม่ระวังมันจะกลับมาอีก”
"งานแท็กซี่สอนพี่เอมาก” นก-ภีร์ระดาร์ กล่าวขึ้นมาเสริม
“ทุกวันนี้เราตื่นสายกว่าพี่เออีก ตี 5 กว่าๆ เขาต้องตื่นแล้ว เตรียมตัวทำงาน ไปส่งลูกที่โรงเรียนเอง พอมีลูกแล้วเขารู้แล้วว่าเป็นอย่างไรในความรู้สึก ตอนนี้ก็เขากับลูกก็คนละเจเนอเรชันเหมือนกันกับเขาในอดีต แต่เขาเข้าใจแล้วว่าต้องเข้าปรับหาลูกอย่างไร ไม่ใช่ว่าให้อิสระเต็มที่ ทำอะไร เผชิญอะไรเอง หรือ ตีกรอบให้เขาเดินจนเต็ม เรื่องในสังคม บางครั้งอิสระมากเกินไป บางครั้งเด็กก็คิดที่จะโตเกินไว แต่ถ้าเกิดสามารถควบคุม ถ้าเกิดว่าผู้ใหญ่มีการสอนและมีความเข้าใจ ผ่านตัวเองมาในตอนเด็กเป็นอย่างไร
"ไม่ใช่ว่าเด็กในตอนนี้ จะเป็นเหมือนตอนนั้น ผู้ใหญ่เองก็ต้องเรียนรู้ด้วยว่าเด็กเป็นอย่างไร สมัยเรานั้นยังไม่มี กูเกิล ที่ว่าหาอะไรแล้วเจอหมด ห้องสมุดอย่างเดียว แต่นี่มีแล้วก็ใช้พวกนี้ให้ได้ประโยชน์ที่สุด หางานหาการทำ ไม่ใช่ว่าไม่ทำการทำงานเลย ก็สอนลูกแบบนั้น เราเองก็ต้องลงไปหาเขา อย่างเขาเป็นเด็ก เขาไม่สามารถขึ้นมาเข้าใจเราได้หรอก เราต้องลงไปหาเขา เพราะว่าถ้าเกิดว่าจะให้เด็กเข้าใจผู้ใหญ่ แล้วทำไมผู้ใหญ่บางครั้งไม่ลงไปเข้าใจเด็กด้วย
"ก็อยากจะฝากทุกครอบครัวที่มีปัญหาไม่ว่าจะเรื่องความเข้าใจหรือเรื่องการต่อสู้ชีวิตเพราะคำว่าครอบครัว ครอบครัวสำคัญที่สุดคือความเข้าใจซึ่งกันและกัน อยากให้รักกันไว้ หันหน้าเข้าหากันแล้วทุกอุปสรรคจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี"
"ก็ต้องตั้งสติครับ” ณัฐปิยะ เสริมบทสนทนาของภรรยา
“และคิดว่าผมโชคดีที่คุณนกเขาละเอียดรอบคอบ ใจเย็น ค่อยๆ แก้ปัญหาทีละเปลาะ ทุกการกระทำของเขาเราก็สามารถรับรู้ได้ว่าเขาเชื่อมั่นในตัวเรา เขาตัดสินอยู่ใช้ชีวิตคู่กับเรา ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเราไม่มีอะไร แต่เขามองว่าเราไม่ใช่คนเลวร้ายจากในสันดาน คนเรามันต้องมีมุมดี ทุกวันนี้มีลูกน้อง คุณนกก็ไม่เคยดุ ถ้าลูกน้องมีปัญหาอะไรจะเรียกเข้ามาคุย แล้วสอน ผิดชอบชั่วดีต้องแยกให้เป็น
“เรื่องครอบครัวก็เหมือนกัน เพราะอย่างที่รู้ ครอบครัวไหนมีปัญหาเรื่องเงิน มักตามมาด้วยการทะเลาะเบาะแว้ง แต่พี่นกเขาเคยเห็นพ่อแม่เลิกกันแล้ว สุดท้ายเรามีลูก ถ้าเราประคับประคองชีวิตไม่ผ่าน เลิกกัน ทำตามใจที่ต้องการ ต่างคนต่างต้องการไปดีขึ้นโดยไม่มีใครมาฉุด คนที่จบสุดท้ายคือลูก
"เราไม่สามารถเปลี่ยนพ่อหรือแม่ให้ลูกได้ เราจะมีสามี มีภรรยาใหม่กี่ครั้ง เขาก็ไม่ใช่พ่อแม่ของลูก คนที่จะลำบากก็คือลูก ภรรยาพูดกับผมอย่างนี้ แล้วเขาก็รู้สึกว่าเราจะต้องอยู่ อยู่ให้ได้ แล้วจะผ่านมันให้ได้ จะจนจะไม่มีกินอย่างไร มันก็ต้องร่วมกันไปให้ได้
“นี่แหละความหมายของคำว่าครอบครัว เป็นจุดที่ทำให้ครอบครัวมันเป็นครอบครัวกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น"
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : พลภัทร วรรณดี