เธอเก่งและเจ๋งมาก...จากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นซึ่งดูจะเป็นเป็นที่นิยมเฉพาะคนในพื้นที่ “ภา-ภาวิษา” กลับนำพามันเดินทางออกจากบ้านเกิดแล้วไปเปิดตลาดในระดับอินเตอร์ ด้วยทักษะงานฝีมือบวกกับความรู้ด้านกราฟฟิกที่เรียนมา ปรับแปลงของท้องถิ่นให้อินเทรนด์ ไม่ว่าจะเป็นหมวกกะปิเยาะห์ของภาคใต้ ผ้าทอลายของทางภาคเหนือ และอื่นๆ อีกมากมายที่ฟังว่ากำลังตีตลาดญี่ปุ่นจนโด่งดังขึ้นชื่อ ถึงขั้นได้รับเชิญไปออกรายการทีวีที่ญี่ปุ่นด้วย
นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการพาสินค้าโอท็อปของไทยไปแจ้งเกิดได้ไกลในต่างประเทศ ด้วยการนำเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาปรับประยุกต์ให้มีความร่วมสมัย ผ่านสีสันสดใสวัยรุ่นชอบและขายดี ซึ่งคนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ เป็นหญิงสาวจากรั้วนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง “ภา-ภาวิษา มีศรีนนท์” ซึ่งหลังจากเรียนจบและดำเนินชีวิตด้วยการเป็นฟรีแลนซ์ เธอได้พบกับโปรเจคต์ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ทั้งของตัวเธอเอง และของผลิตภัณฑ์โอท็อปไทย
• คุณสนใจงานพวกแฟชั่นและดีไซน์มาตั้งแต่เมื่อไหร่
สนใจตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมเลยค่ะ ก็ชอบพวกแฟชั่นอยู่แล้ว แต่ถ้าเลือกเรียนแฟชั่น มันก็ดูจะเฉพาะทางเกินไป ซึ่งจริงๆ ที่บ้านไม่ได้สนับสนุนให้เรียนศิลปะ ตอนนั้นเรายังเรียนวิทย์-คณิตอยู่ เราก็เลยบอกว่าถ้าอย่างงั้นก็เรียนศิลปะแบบให้มันครึ่งๆ ละกัน สุดท้ายเราก็ไปเข้านิเทศศิลป์ อาจจะไม่เป็นแฟชั่นทั้งหมด แต่อย่างน้อยนิเทศศิลป์ เราก็ใช้เรื่องกราฟฟิกก็ไปผสมกับแฟชั่นได้ หรือเราเรียนแฟชั่นเพิ่มเติมก็ได้ แต่เราจะได้เปรียบตรงที่เราสามารถวาดภาพได้ ทำกราฟฟิกได้ อีกอย่างเราชอบวาดรูปอยู่แล้ว ตอนแรกจะถนัดวาดมือ แต่พอได้เข้าไปเรียนแล้วได้ทำพวกคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น ทำภาพเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น ก็เลยสนใจที่จะเรียนทางด้านนี้
• แล้วคุณสนใจแฟชั่น ในลักษณะไหนอย่างไร
เริ่มแรกเราชอบผ้าไทย พวกผ้าทอหรือผ้าถัก แล้วก็ชอบงานศิลปะจำพวกงานฝีมือ งานกราฟฟิกที่ภาทำในปัจจุบันก็เป็นพวกแบรนด์แฟชั่น แล้วภาก็จะเอางานฝีมือที่ตัวเองทำ มาผสมกับงานกราฟฟิก อย่างเช่น แกะกระดาษแล้วเอาลายนั้นมาทำเป็นแพ็ทเทิร์นอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็เหมือนสร้างมิติสร้างเงาลงไป ให้มันดูเหมือนกระดาษฉลุ แต่จริงๆ แล้ว เป็นแค่ 2 มิติ ประมาณนี้ค่ะ ก็เหมือนได้แรงบันดาลใจมาจากงานฝีมือ เอามาผสมกับกราฟฟิก
• ทำไมถึงสนใจในผ้าลักษณะนี้ครับ
เราชอบพวกงานของชนเผ่า ความเป็นเทคนิคแบบท้องถิ่นดั้งเดิม (Tradition) ทั้งของไทยและทั่วโลกด้วย เราเห็นว่ามันมีสีสันเฉพาะทาง มันดูน่าสนใจและลึกลับด้วย ก็เลยสนใจในผ้าไทย ซึ่งก็มีบางอย่างคล้ายกันนะ เช่น เลขาคณิต การวางลวดลาย จนมันเกิดลวดลายที่สวยงามขึ้นมา ทั้งๆ ที่มันก็ไม่มีอะไรมาก แค่จัดวางและเขียนแค่นั้นเอง ก็เกิดลายใหม่ๆ ได้ อย่างสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม กว่าจะมาเป็นผ้าทอ เขาก็จะเล่นเรื่องราวของท้องถิ่นของเขา ดอกไม้ หรือ ต้นไม้ใบหญ้า เอามาทำเป็นเลขาคณิต เพื่อที่จะทำให้ทอง่ายๆ ซึ่งพวกนี้จะเป็นพื้นฐานของผ้าพื้นเมืองของทั้งโลก ทำยังไงถึงจะสามารถออกแบบให้มันทอได้ มันก็เลยจะเป็นเลขาคณิตซะส่วนมาก ซึ่งมันจะมีเสน่ห์ของมัน
เหมือนกับว่าสัญลักษณ์บนผ้าทำให้เราอยากรู้ว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้เพิ่มเติม มันไม่ใช่แค่ทออย่างเดียว มันมีเทคนิคหลายอย่างที่มันจะเกิดเป็นผ้าได้ ไม่ว่าจะใส่เทคนิคนู่นนี่ลงไป ซึ่งปกติเราก็คิดว่ามันแค่ทออย่างเดียว แต่จริงๆ แล้ว ผ้ามันมีเทคนิคหลากหลายมาก เช่น เส้นยืน เส้นนอน อะไรอย่างงี้ แล้วมันมีเสน่ห์ เพราะมันมีความยาก มีทั้งงานฝีมือและแพทเทิร์นอยู่ในตัวเดียวกัน ภาก็เลยชอบเรื่องผ้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานทอ หรือว่าผ้าถัก งานปัก ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับลวดลาย แล้วมันก็ดันมาตรงกับที่ภาสนใจ คือ ภาออกแบบนิเทศศิลป์มา ก็เป็นงานอิลลัสต์ (Illustrator) ซึ่งก็เอางานแบบนี้มาผสมกับงานฝีมือ แล้วก็เป็นแพทเทิร์นนั่นเอง คล้ายกับเป็นการผสมผสานระหว่างศาสตร์โบราณและสมัยใหม่ เอามาประยุกต์ มาปรับแปลงให้ร่วมสมัยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสีสันให้มีกลิ่นอายของความเป็นดั้งเดิมอยู่ รวมถึงการแต่งตัวด้วย คือเราชอบอะไรแบบนี้หมดจนกลายเป็นไลฟ์เลย
• แล้วไปเจอกับโครงการนี้ได้ยังไงครับ
มีรุ่นพี่คนนึงชื่อพี่เหมียว เขาเห็นว่าเราถนัดการทำกราฟฟิก ก็เลยชวนส่งพอร์ทไปที่กรมส่งเสริมการส่งออก แล้วทางกรมก็เลือกผลงานจากนักออกแบบที่ส่งมา แล้วก็คัดเลือกแบบจากที่เขาต้องการในโครงการนี้ ซึ่งภาก็ส่งไป เขาก็เห็นว่าตรงกันกับที่เขาต้องการ เพราะผลงานทั่วไปจะเป็นแบบไทยประยุกต์ อย่างกราฟฟิกบนลายผ้าพันคอ อาจจะมาจากพวงมาลัย หรือผีเสื้ออนุรักษ์ในไทย ไม้ไผ่ เขาเห็นว่ามันน่าสนใจดี แล้วก็ เขาต้องการคนที่ออกแบบลวดลายได้ ก็เลยเลือกภามาเป็นนักออกแบบ ก็จะมีนักออกแบบท่านอื่นด้วย 8-9 คน ก็จะมีกลุ่มโอท็อปทั้งหมด 6 กลุ่ม ซึ่งทั้ง 6 กลุ่มนี้ จะต้องทำผลิตภัณฑ์ออกมา 1 ชิ้น เพื่อที่จะเอามาแข่งกัน แล้วก็เขาก็จะคัดเลือกทั้งหมด ตอนแรก o-top จะมี 50 กลุ่ม จากนั้นก็คัดมาเลือก 25 ทีม ซึ่งของภามี 6 กลุ่ม และคัดเลือกไป 4 ทีม หลังจากนั้นเราก็แตกยอด 1 โปรดักส์ ออกมาเป็น 5 ชิ้น ก็เท่ากับ 1 คอลเล็กชั่น แต่ละกลุ่มที่ได้ ก็จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน อย่างของภาก็มีทั้งภาคเหนือและภาคใต้ค่ะ ภาคเหนือก็จะมีปักลายอาข่า จ.เชียงราย และนิตติ้งของกลุ่ม อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ส่วนทางภาคใต้ ก็เป็นหมวกกะปิเยาะห์ และมีผ้าบาติก เมืองนรา กลุ่มนี้จะถนัดเรื่องการเพนต์มือ
• พอได้รับโจทย์กันมาแล้ว เราวางแผนกันยังไงบ้างครับ
เริ่มแรกเราคุยกับผู้ประกอบการก่อนว่าเขามีปัญหาอะไรบ้าง อย่างกลุ่มหมวกกะปิเยาะห์ เขาจะมีปัญหามากตรงที่เป็นหมวกที่ไม่รู้จะไปทางไหนแล้ว เพราะว่ามันก็แค่หมวกอย่างเดียว แล้ววัยรุ่นก็ไม่ค่อยได้ใช้หมวกแล้วด้วย เขาไม่จำเป็นต้องใส่แล้ว แล้วเทคนิคเดิมที่เป็นควบคุมด้วยเครื่องจักรก็กำลังจะตาย คือปักไปแล้วควบคุมมือโดยใช้ลาย โดยเครื่องมือของเขาเอง ปกติเราจะใส่โปรแกรมไปแล้วจะวิ่งเป็นลายเลย ซึ่งมันก็จะมีกลุ่มคู่แข่งของเขาที่ทำหมวกโดยปักจากคอมพิวเตอร์ ราคาถูกกว่า เร็วกว่า แต่ก็จะคนละลวดลายกับของกลุ่มที่จักรด้วยมือ มันก็จะมีเสน่ห์ของเขา ซึ่งเราก็มาคุยกันว่าจะสามารถแปลงเป็นโปรดักส์อะไรได้บ้าง ซึ่งตอนนี้ญี่ปุ่นสนใจเรื่องแฟชั่น ภาก็เอารูปทั้งหมดมาแปลงเป็นโปรดักส์กระเป๋าหลายๆ ขนาด และมีการใช้งานได้จริง ทั้งหมด 5 ใบ ซึ่งใช้เทคนิคเดิม ยังคงลวดลายน้ำหนักเดิม
เสน่ห์ของหมวกอาจจะหล่นไป แต่เสน่ห์งานปักของกลุ่มอิสลาม ลวดลายที่มันจะมีเทคนิคที่สามารถควบคุมจักรได้ อย่างพวกวงกลมหรือสามเหลี่ยมที่มันสามารถควบคุมจักรได้ มันก็เป็นเสน่ห์ของมัน และเราต้องแข่งกันด้วยงานฝีมือน่ะคะ ถึงแม้เราไม่สามารถเอาชนะในกระบวนการได้ แต่เราสู้ด้วยงานฝีมือแทน เราก็ยังคงเอกลักษณ์ของเขาอยู่ โดยใช้สิ่งนี้เปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ และก็ใช้ผ้า เปลี่ยนผ้าใหม่ จากที่เมื่อก่อนเป็นผ้าเงาๆ ซึ่งวัยรุ่นไม่ค่อยชอบ ภาก็เลยไปหาผ้าในท้องถิ่น ซึ่งภาจะเน้นของดั้งเดิมเลย เพื่อจะหาได้ง่ายๆ เราก็เลยเน้นผ้าในพื้นที่ และเน้นที่ปักใหม่ โดยใช้ลายเดิม เขาก็เอาลายเดิมที่เขามีมาวางใหม่ เปลี่ยนใหม่ ปรับใหม่ ให้มันเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น
• หลังจากแนวคิดและวัสดุอุปกรณ์ลงตัวหมดแล้ว เราดำเนินการอย่างไรต่อ
เราก็ออกแบบโปรดักส์ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาแล้วทำให้มันสวยงามด้วย แก้ปัญหายังไงบ้าง เพราะแต่ละที่มีปัญหาไม่เหมือนกัน อย่างกลุ่มแม่ออน เขาถักผ้าแค่ตกแต่งในบ้าน ผ้าคลุมที่นอน ผ้าคลุมโต๊ะ ก็ถักแต่สีขาวอย่างเดียว มีแค่นั้น แล้วคู่แข่งเยอะมาก ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลย พอเราเห็นว่ามีแค่สีนี้ เราก็ลองเอาสีสัน ซึ่งตรงกับเทรนด์ญี่ปุ่นพอดีที่สีสันกำลังมา เราก็ใช้สีที่กำลังอินมาเล่น ให้มันดูน่ารักและวัยรุ่นขึ้น เน้นกับวัสดุที่มันทันสมัยขึ้น เราก็สเกตซ์เป็น 2 แนวทาง แนวทางหนึ่งเป็นเด็กสดใส อีกแนวทางก็จะเป็นแบบสุขุมหน่อย แล้วเราก็เข้านั่งประชุม ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญล้อมรอบ (หัวเราะ) แล้วเราก็ฉายสไลด์ พรีเวนต์ว่า มีอะไรที่จะต้องแก้มั้ย ว่ามันโอเคแล้ว หรือแนวทางไหนที่มันดีกว่า เราก็เลือกแนวทางนั้นและก็ไปพัฒนา แล้วก็ปล่อยผลิตภัณฑ์มาทั้งหมดและแพทเทิร์นด้วย ลวดลายด้วย
อย่างกลุ่มแม่ออน ด้วยการที่เขาใช้ระยะเวลาในการทำ ก็ได้ผ้าถูก ถ้าอย่างงั้น เทรนด์ในการทำแบบโปร่ง ผ้าแบบโปร่ง ผ้าแบบตาข่าย แบบมีการโปร่ง มันกำลังมา เราก็เลยแนะนำว่า ทักแบบสลับลาย ย่นระยะเวลาอยู่ในเทรนด์ที่มันโปร่งขึ้นด้วย และมันก็เป็นการแก้ปัญหาให้เขา เราก็ผสมดีไซน์สมัยใหม่ลงไปในทุกๆ กลุ่มเลย
• แล้วในเรื่องคอนเซปต์ในการออกแบบ
คอนเซปต์ในแต่ละกลุ่มจะไม่เหมือนกันเลย อย่างอาข่า เราจะไปเปลี่ยนลวดลายเขาไม่ได้นะ ถ้าเปลี่ยนมันไม่ใช่ทันที แต่เราจะสามารถเปลี่ยนได้แค่สีสัน แล้วผลิตภัณฑ์เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ได้ ภาก็เลยเปลี่ยนสี เพื่อให้เป็นวัยรุ่นขึ้น และจับโปรดักส์ที่มันเชยๆ ล้าสมัย ให้มันเป็นวัยรุ่นขึ้น มีวัสดุที่วัยรุ่นขึ้น อย่างพวกหนังสีๆ ที่มันดูแฟชั่น ก็เอามามิกซ์กัน ซึ่งกลุ่มเขาปกติจะเป็นผู้สูงอายุ แล้วเราก็จะเป็นอีกแนวทางนึงให้เขา ให้วัยรุ่น หรืออย่างกลุ่มแม่ออน มีค่าตกแต่งบ้าน แล้วก็เพิ่มสีสันให้เขา เพราะกลุ่มนี้มีแต่สีขาวและสีครีม เน้นไปที่สีสัน ซึ่งต้องสดเลยว่าต้องสดมากๆ แบบเปลี่ยนรูปร่างไปเลย เขาจะได้มีทางเลือกอื่นเพิ่มมาก อย่างที่ภาออกแบบไป เขาอาจจะใช้สีอื่นก็ได้ เขาสามารถขายต่อไปได้เรื่อยๆ ส่วนหมวกกะปิเยาะห์ ถ้าให้เปลี่ยนสีสันเลย มันก็ไม่ใช่ เพราะอาจจะขัดแย้งกัน เราต้องเอาสีที่สุขุมนิดนึง ยังใช้ลวดลายเดิม ก็เปลี่ยนโปรดักส์ใหม่ แล้วก็เป็นผ้าบาติกบางๆ เหมือนกับเอาผ้าของเขามาทำเป็นชุด เป็นกระเป๋า หรือแบบใส่เดินเล่นริมทะเล ซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศของเขาและผ้าของเขาด้วย
• ทีนี้พอเรื่องผลิตภัณฑ์เรียบร้อย ต่อไปก็เป็นเรื่องการตลาด
คือโครงการนี้ เขาอยากให้สินค้าไทยโกอินเตอร์เพื่อที่จะไปญี่ปุ่น เราก็ศึกษาของญี่ปุ่น ซึ่งในช่วงนั้น ก็จะมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญการตลาดของที่นั่นมาให้คำแนะนำ ซึ่งไม่ใช่แค่แฟชั่น แต่รวมถึงไลฟ์สไตล์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการกินที่อยู่อาศัย พื้นที่ อย่างคนญี่ปุ่นจะไม่ชอบสินค้าที่มันใหญ่ เช่น เฟอร์นิเจอร์ เพราะว่ามันมีพื้นที่จำกัด หรือสินค้าที่มันฟุ่มเฟือยมากๆ อย่างกระเป๋า ที่ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นได้เลย เราออกแบบกระเป๋าที่เป็นแบบครัช แบบใส่สายลงไปหรือถอดสายออกไปก็ทำได้ เหมือนมันทำได้หลายอย่าง สำหรับกลุ่มที่ชอบ ก็ศึกษาไลฟ์สไตล์จากกลุ่มที่ปั่นจักรยานซะส่วนใหญ่ จากกระเป๋าที่เทอะทะ แล้วต้องถือตลอดเวลา ซึ่งอาจจะไม่นิยม เราก็ต้องออกแบบที่มันสะพายได้ เพื่อให้เขาใส่ไปทำงานได้ด้วย หรือสภาพอากาศที่ไม่เหมือนของเราที่ร้อนทั้งปี แต่เขาจะเป็นแบบร้อนก็ร้อน หนาวก็หนาวมาก สมมุติว่าออกแบบในช่วง spring หรือ summer เราก็ต้องมาดูว่าสีอะไรจะขายได้ ผ้าแบบไหนถึงจะขายได้ มันก็ต้องศึกษา แล้วสีสำคัญมาก คนญี่ปุ่นไม่กล้าใช้สีแรงๆ ในช่วงหน้าหนาว ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบบสีทึบๆ หน่อย พอ summer ปุ๊บ สีสันดอกมาเต็ม รู้สึกว่าเบ่งบาน เหมือนกับต้องรู้วัฒนธรรมของเขา ซึ่งจะมีประโยชน์มากที่เราจะทำการตลาดตรงนี้ได้
• พอทุกอย่างโอเคหมดแล้ว ผลตอบรับในการแสดงสินค้าเป็นอย่างไร
ได้ไปแสดงที่นั่น แล้วผู้ประกอบการก็ได้ลูกค้ากลับมา แต่จะมีกลุ่มของบางนรา ที่จะไม่เน้นงานขาย แต่เน้นศิลปะมาก แล้วจะคุยกับเขาว่าขายยังไง ก็คือเขาไม่ได้เน้นการขายแล้วทำๆๆๆ แต่เขาต้องการที่จะให้เป็นพรีเมี่ยม เหมือนงานศิลปะ เพราะเขาจะเป็นแบบเน้นวาดภาพ วาดลงสีลงไป เหมือนวาดรูปเลย แต่เขาจะเน้นเลยว่างานศิลปะนะ ผ้าทุกผืน ไม่มีอะไรเหมือนกันเลย เพราะฉะนั้น สินค้าก็ต้องแพง เขาก็จะเหมือนขายงานศิลปะเลย ปรากฏว่ากลุ่มทางญี่ปุ่นเข้าใจ ว่านี่คืองานคลาส เขาเคยให้ไปเพนท์โชว์ที่นั่นด้วย แล้วก็เอาสินค้าไปขาย ซึ่งสร้างความดีใจกับภามากๆ เพราะมันตรงกับที่เขาต้องการอยู่แล้ว และได้ไปแสดงสินค้าที่แกลอรี่ที่นั่นด้วย นั่นแหละชัดแล้วว่า มันเป็นกลุ่มที่เขาต้องการ ซึ่งเราเซอร์ไพรส์มากที่เขาเข้าใจในงานและกลุ่มที่เราทำ
คือเหนือกว่าที่คาดคิดไว้มาก เพราะว่า เราอาจจะไม่ได้ตั้งใจที่จะประสบความสำเร็จขนาดนั้น แค่คุยๆ กันว่าเราจะขายสินค้าแบบพรีเมี่ยมนะ อยากให้ลูกค้าซื้อของที่ดีที่สุด เหมือนกับซื้องานศิลปะแล้วไปตั้งโชว์อะไรก็แล้วแต่ เพราะว่าผ้าหนึ่งผืน สามารถเอาไปตัดหรือโชว์ก็ได้ แต่ทางแกลอรี่เขาเข้าใจว่าเป็นงานศิลปะ เลยตัดไปขายในแกลอรี่เลย เหมือนกับตรงกับกลุ่มเป้าหมายเป๊ะ คือขายคนที่สนใจงานศิลปะโดยเฉพาะ
• คิดว่าการที่เราไปมีส่วนร่วมในโครงการนี้ มันได้ให้อะไรกับตัวคุณบ้างครับ
ตอนแรกเราจะกังวลในเรื่องการตลาด เพราะว่าเราอยากจะทำแบรนด์ตัวเอง คือเราไม่รู้อะไรเลย เพราะเราเป็นนักออกแบบ เราอาจจะไม่ได้เก่งเรื่องการตลาดหรือควบคุมคน หรือเราไม่รู้การเผชิญปัญหา ที่เราต้องแก้ไขเรื่องต่างๆ ซึ่งเราจะต้องทำและแก้ต่างๆ ให้เขาทำ หรือ วัสดุตัวนี้ไม่มี เราจะทำยังไงให้เขาแทนได้ ซึ่งถ้าเราทำงานอยู่ในห้อง เราไม่มีทางรู้แน่ๆ เพราะเราไม่ได้ไปคลุกคลีและผลิต อันนี้คือออกแบบและผลิตเลย นอกจากผลิตแล้ว เราต้องควบคุมคนด้วย นี่มันสำคัญมาก ซึ่งมันไม่ใช่แค่เรื่องการออกแบบแล้ว มันต้องรู้เรื่องการตลาด รู้เรื่องไลฟ์สไตล์ด้วยว่าขายคนแบบนี้ เราต้องออกแบบแบบไหน
ส่วนในเรื่องธุรกิจสำคัญมาก เพราะตอนแรกเราคิดว่าเราจะออกแบบยังไงก็ได้ ถ้าคนซื้อสินค้าฉัน แต่เราก็จะขายอยู่แค่นั้น ไม่ได้ไปไหน ถ้าคนสนใจจริงๆ ก็มาซื้อสิ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมาก เรามีความเป็นนักออกแบบ มีความเป็นศิลปิน แต่เราไม่รู้ว่าการตลาดเป็นยังไง คืองานเราอาจจะศิลปะ แต่เราก็ต้องเข้าถึงกลุ่มคนส่วนใหญ่ด้วย เราก็ต้องมีช่องทางในการขายมากขึ้น ซึ่งเดี๋ยวนี้มันมีออนไลน์แล้ว หรืองานแฟร์ที่จะมีซับพลายเออร์ใหญ่ๆ มาเดินดูในงานนั้น เราก็ต้องขยันไปเดินงานเหล่านี้ด้วย หรือระบบเรื่องการขายในต่างประเทศ จะขายยังไง มีช่องทางไหนที่จะกว้างกว่านี้ได้บ้าง อย่างสินค้าบางตัว เราอาจจะคิดว่ามันเชยหรือธรรมดา แต่บางคนก็จะชอบก็ได้ ชาวต่างชาติแบบไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะเขาสนใจก็ได้
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช และ แฟนเพจ Pabaja
นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการพาสินค้าโอท็อปของไทยไปแจ้งเกิดได้ไกลในต่างประเทศ ด้วยการนำเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาปรับประยุกต์ให้มีความร่วมสมัย ผ่านสีสันสดใสวัยรุ่นชอบและขายดี ซึ่งคนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ เป็นหญิงสาวจากรั้วนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง “ภา-ภาวิษา มีศรีนนท์” ซึ่งหลังจากเรียนจบและดำเนินชีวิตด้วยการเป็นฟรีแลนซ์ เธอได้พบกับโปรเจคต์ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ทั้งของตัวเธอเอง และของผลิตภัณฑ์โอท็อปไทย
• คุณสนใจงานพวกแฟชั่นและดีไซน์มาตั้งแต่เมื่อไหร่
สนใจตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมเลยค่ะ ก็ชอบพวกแฟชั่นอยู่แล้ว แต่ถ้าเลือกเรียนแฟชั่น มันก็ดูจะเฉพาะทางเกินไป ซึ่งจริงๆ ที่บ้านไม่ได้สนับสนุนให้เรียนศิลปะ ตอนนั้นเรายังเรียนวิทย์-คณิตอยู่ เราก็เลยบอกว่าถ้าอย่างงั้นก็เรียนศิลปะแบบให้มันครึ่งๆ ละกัน สุดท้ายเราก็ไปเข้านิเทศศิลป์ อาจจะไม่เป็นแฟชั่นทั้งหมด แต่อย่างน้อยนิเทศศิลป์ เราก็ใช้เรื่องกราฟฟิกก็ไปผสมกับแฟชั่นได้ หรือเราเรียนแฟชั่นเพิ่มเติมก็ได้ แต่เราจะได้เปรียบตรงที่เราสามารถวาดภาพได้ ทำกราฟฟิกได้ อีกอย่างเราชอบวาดรูปอยู่แล้ว ตอนแรกจะถนัดวาดมือ แต่พอได้เข้าไปเรียนแล้วได้ทำพวกคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น ทำภาพเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น ก็เลยสนใจที่จะเรียนทางด้านนี้
• แล้วคุณสนใจแฟชั่น ในลักษณะไหนอย่างไร
เริ่มแรกเราชอบผ้าไทย พวกผ้าทอหรือผ้าถัก แล้วก็ชอบงานศิลปะจำพวกงานฝีมือ งานกราฟฟิกที่ภาทำในปัจจุบันก็เป็นพวกแบรนด์แฟชั่น แล้วภาก็จะเอางานฝีมือที่ตัวเองทำ มาผสมกับงานกราฟฟิก อย่างเช่น แกะกระดาษแล้วเอาลายนั้นมาทำเป็นแพ็ทเทิร์นอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็เหมือนสร้างมิติสร้างเงาลงไป ให้มันดูเหมือนกระดาษฉลุ แต่จริงๆ แล้ว เป็นแค่ 2 มิติ ประมาณนี้ค่ะ ก็เหมือนได้แรงบันดาลใจมาจากงานฝีมือ เอามาผสมกับกราฟฟิก
• ทำไมถึงสนใจในผ้าลักษณะนี้ครับ
เราชอบพวกงานของชนเผ่า ความเป็นเทคนิคแบบท้องถิ่นดั้งเดิม (Tradition) ทั้งของไทยและทั่วโลกด้วย เราเห็นว่ามันมีสีสันเฉพาะทาง มันดูน่าสนใจและลึกลับด้วย ก็เลยสนใจในผ้าไทย ซึ่งก็มีบางอย่างคล้ายกันนะ เช่น เลขาคณิต การวางลวดลาย จนมันเกิดลวดลายที่สวยงามขึ้นมา ทั้งๆ ที่มันก็ไม่มีอะไรมาก แค่จัดวางและเขียนแค่นั้นเอง ก็เกิดลายใหม่ๆ ได้ อย่างสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม กว่าจะมาเป็นผ้าทอ เขาก็จะเล่นเรื่องราวของท้องถิ่นของเขา ดอกไม้ หรือ ต้นไม้ใบหญ้า เอามาทำเป็นเลขาคณิต เพื่อที่จะทำให้ทอง่ายๆ ซึ่งพวกนี้จะเป็นพื้นฐานของผ้าพื้นเมืองของทั้งโลก ทำยังไงถึงจะสามารถออกแบบให้มันทอได้ มันก็เลยจะเป็นเลขาคณิตซะส่วนมาก ซึ่งมันจะมีเสน่ห์ของมัน
เหมือนกับว่าสัญลักษณ์บนผ้าทำให้เราอยากรู้ว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้เพิ่มเติม มันไม่ใช่แค่ทออย่างเดียว มันมีเทคนิคหลายอย่างที่มันจะเกิดเป็นผ้าได้ ไม่ว่าจะใส่เทคนิคนู่นนี่ลงไป ซึ่งปกติเราก็คิดว่ามันแค่ทออย่างเดียว แต่จริงๆ แล้ว ผ้ามันมีเทคนิคหลากหลายมาก เช่น เส้นยืน เส้นนอน อะไรอย่างงี้ แล้วมันมีเสน่ห์ เพราะมันมีความยาก มีทั้งงานฝีมือและแพทเทิร์นอยู่ในตัวเดียวกัน ภาก็เลยชอบเรื่องผ้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานทอ หรือว่าผ้าถัก งานปัก ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับลวดลาย แล้วมันก็ดันมาตรงกับที่ภาสนใจ คือ ภาออกแบบนิเทศศิลป์มา ก็เป็นงานอิลลัสต์ (Illustrator) ซึ่งก็เอางานแบบนี้มาผสมกับงานฝีมือ แล้วก็เป็นแพทเทิร์นนั่นเอง คล้ายกับเป็นการผสมผสานระหว่างศาสตร์โบราณและสมัยใหม่ เอามาประยุกต์ มาปรับแปลงให้ร่วมสมัยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสีสันให้มีกลิ่นอายของความเป็นดั้งเดิมอยู่ รวมถึงการแต่งตัวด้วย คือเราชอบอะไรแบบนี้หมดจนกลายเป็นไลฟ์เลย
• แล้วไปเจอกับโครงการนี้ได้ยังไงครับ
มีรุ่นพี่คนนึงชื่อพี่เหมียว เขาเห็นว่าเราถนัดการทำกราฟฟิก ก็เลยชวนส่งพอร์ทไปที่กรมส่งเสริมการส่งออก แล้วทางกรมก็เลือกผลงานจากนักออกแบบที่ส่งมา แล้วก็คัดเลือกแบบจากที่เขาต้องการในโครงการนี้ ซึ่งภาก็ส่งไป เขาก็เห็นว่าตรงกันกับที่เขาต้องการ เพราะผลงานทั่วไปจะเป็นแบบไทยประยุกต์ อย่างกราฟฟิกบนลายผ้าพันคอ อาจจะมาจากพวงมาลัย หรือผีเสื้ออนุรักษ์ในไทย ไม้ไผ่ เขาเห็นว่ามันน่าสนใจดี แล้วก็ เขาต้องการคนที่ออกแบบลวดลายได้ ก็เลยเลือกภามาเป็นนักออกแบบ ก็จะมีนักออกแบบท่านอื่นด้วย 8-9 คน ก็จะมีกลุ่มโอท็อปทั้งหมด 6 กลุ่ม ซึ่งทั้ง 6 กลุ่มนี้ จะต้องทำผลิตภัณฑ์ออกมา 1 ชิ้น เพื่อที่จะเอามาแข่งกัน แล้วก็เขาก็จะคัดเลือกทั้งหมด ตอนแรก o-top จะมี 50 กลุ่ม จากนั้นก็คัดมาเลือก 25 ทีม ซึ่งของภามี 6 กลุ่ม และคัดเลือกไป 4 ทีม หลังจากนั้นเราก็แตกยอด 1 โปรดักส์ ออกมาเป็น 5 ชิ้น ก็เท่ากับ 1 คอลเล็กชั่น แต่ละกลุ่มที่ได้ ก็จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน อย่างของภาก็มีทั้งภาคเหนือและภาคใต้ค่ะ ภาคเหนือก็จะมีปักลายอาข่า จ.เชียงราย และนิตติ้งของกลุ่ม อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ส่วนทางภาคใต้ ก็เป็นหมวกกะปิเยาะห์ และมีผ้าบาติก เมืองนรา กลุ่มนี้จะถนัดเรื่องการเพนต์มือ
• พอได้รับโจทย์กันมาแล้ว เราวางแผนกันยังไงบ้างครับ
เริ่มแรกเราคุยกับผู้ประกอบการก่อนว่าเขามีปัญหาอะไรบ้าง อย่างกลุ่มหมวกกะปิเยาะห์ เขาจะมีปัญหามากตรงที่เป็นหมวกที่ไม่รู้จะไปทางไหนแล้ว เพราะว่ามันก็แค่หมวกอย่างเดียว แล้ววัยรุ่นก็ไม่ค่อยได้ใช้หมวกแล้วด้วย เขาไม่จำเป็นต้องใส่แล้ว แล้วเทคนิคเดิมที่เป็นควบคุมด้วยเครื่องจักรก็กำลังจะตาย คือปักไปแล้วควบคุมมือโดยใช้ลาย โดยเครื่องมือของเขาเอง ปกติเราจะใส่โปรแกรมไปแล้วจะวิ่งเป็นลายเลย ซึ่งมันก็จะมีกลุ่มคู่แข่งของเขาที่ทำหมวกโดยปักจากคอมพิวเตอร์ ราคาถูกกว่า เร็วกว่า แต่ก็จะคนละลวดลายกับของกลุ่มที่จักรด้วยมือ มันก็จะมีเสน่ห์ของเขา ซึ่งเราก็มาคุยกันว่าจะสามารถแปลงเป็นโปรดักส์อะไรได้บ้าง ซึ่งตอนนี้ญี่ปุ่นสนใจเรื่องแฟชั่น ภาก็เอารูปทั้งหมดมาแปลงเป็นโปรดักส์กระเป๋าหลายๆ ขนาด และมีการใช้งานได้จริง ทั้งหมด 5 ใบ ซึ่งใช้เทคนิคเดิม ยังคงลวดลายน้ำหนักเดิม
เสน่ห์ของหมวกอาจจะหล่นไป แต่เสน่ห์งานปักของกลุ่มอิสลาม ลวดลายที่มันจะมีเทคนิคที่สามารถควบคุมจักรได้ อย่างพวกวงกลมหรือสามเหลี่ยมที่มันสามารถควบคุมจักรได้ มันก็เป็นเสน่ห์ของมัน และเราต้องแข่งกันด้วยงานฝีมือน่ะคะ ถึงแม้เราไม่สามารถเอาชนะในกระบวนการได้ แต่เราสู้ด้วยงานฝีมือแทน เราก็ยังคงเอกลักษณ์ของเขาอยู่ โดยใช้สิ่งนี้เปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ และก็ใช้ผ้า เปลี่ยนผ้าใหม่ จากที่เมื่อก่อนเป็นผ้าเงาๆ ซึ่งวัยรุ่นไม่ค่อยชอบ ภาก็เลยไปหาผ้าในท้องถิ่น ซึ่งภาจะเน้นของดั้งเดิมเลย เพื่อจะหาได้ง่ายๆ เราก็เลยเน้นผ้าในพื้นที่ และเน้นที่ปักใหม่ โดยใช้ลายเดิม เขาก็เอาลายเดิมที่เขามีมาวางใหม่ เปลี่ยนใหม่ ปรับใหม่ ให้มันเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น
• หลังจากแนวคิดและวัสดุอุปกรณ์ลงตัวหมดแล้ว เราดำเนินการอย่างไรต่อ
เราก็ออกแบบโปรดักส์ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาแล้วทำให้มันสวยงามด้วย แก้ปัญหายังไงบ้าง เพราะแต่ละที่มีปัญหาไม่เหมือนกัน อย่างกลุ่มแม่ออน เขาถักผ้าแค่ตกแต่งในบ้าน ผ้าคลุมที่นอน ผ้าคลุมโต๊ะ ก็ถักแต่สีขาวอย่างเดียว มีแค่นั้น แล้วคู่แข่งเยอะมาก ไม่มีอะไรเปลี่ยนเลย พอเราเห็นว่ามีแค่สีนี้ เราก็ลองเอาสีสัน ซึ่งตรงกับเทรนด์ญี่ปุ่นพอดีที่สีสันกำลังมา เราก็ใช้สีที่กำลังอินมาเล่น ให้มันดูน่ารักและวัยรุ่นขึ้น เน้นกับวัสดุที่มันทันสมัยขึ้น เราก็สเกตซ์เป็น 2 แนวทาง แนวทางหนึ่งเป็นเด็กสดใส อีกแนวทางก็จะเป็นแบบสุขุมหน่อย แล้วเราก็เข้านั่งประชุม ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญล้อมรอบ (หัวเราะ) แล้วเราก็ฉายสไลด์ พรีเวนต์ว่า มีอะไรที่จะต้องแก้มั้ย ว่ามันโอเคแล้ว หรือแนวทางไหนที่มันดีกว่า เราก็เลือกแนวทางนั้นและก็ไปพัฒนา แล้วก็ปล่อยผลิตภัณฑ์มาทั้งหมดและแพทเทิร์นด้วย ลวดลายด้วย
อย่างกลุ่มแม่ออน ด้วยการที่เขาใช้ระยะเวลาในการทำ ก็ได้ผ้าถูก ถ้าอย่างงั้น เทรนด์ในการทำแบบโปร่ง ผ้าแบบโปร่ง ผ้าแบบตาข่าย แบบมีการโปร่ง มันกำลังมา เราก็เลยแนะนำว่า ทักแบบสลับลาย ย่นระยะเวลาอยู่ในเทรนด์ที่มันโปร่งขึ้นด้วย และมันก็เป็นการแก้ปัญหาให้เขา เราก็ผสมดีไซน์สมัยใหม่ลงไปในทุกๆ กลุ่มเลย
• แล้วในเรื่องคอนเซปต์ในการออกแบบ
คอนเซปต์ในแต่ละกลุ่มจะไม่เหมือนกันเลย อย่างอาข่า เราจะไปเปลี่ยนลวดลายเขาไม่ได้นะ ถ้าเปลี่ยนมันไม่ใช่ทันที แต่เราจะสามารถเปลี่ยนได้แค่สีสัน แล้วผลิตภัณฑ์เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ได้ ภาก็เลยเปลี่ยนสี เพื่อให้เป็นวัยรุ่นขึ้น และจับโปรดักส์ที่มันเชยๆ ล้าสมัย ให้มันเป็นวัยรุ่นขึ้น มีวัสดุที่วัยรุ่นขึ้น อย่างพวกหนังสีๆ ที่มันดูแฟชั่น ก็เอามามิกซ์กัน ซึ่งกลุ่มเขาปกติจะเป็นผู้สูงอายุ แล้วเราก็จะเป็นอีกแนวทางนึงให้เขา ให้วัยรุ่น หรืออย่างกลุ่มแม่ออน มีค่าตกแต่งบ้าน แล้วก็เพิ่มสีสันให้เขา เพราะกลุ่มนี้มีแต่สีขาวและสีครีม เน้นไปที่สีสัน ซึ่งต้องสดเลยว่าต้องสดมากๆ แบบเปลี่ยนรูปร่างไปเลย เขาจะได้มีทางเลือกอื่นเพิ่มมาก อย่างที่ภาออกแบบไป เขาอาจจะใช้สีอื่นก็ได้ เขาสามารถขายต่อไปได้เรื่อยๆ ส่วนหมวกกะปิเยาะห์ ถ้าให้เปลี่ยนสีสันเลย มันก็ไม่ใช่ เพราะอาจจะขัดแย้งกัน เราต้องเอาสีที่สุขุมนิดนึง ยังใช้ลวดลายเดิม ก็เปลี่ยนโปรดักส์ใหม่ แล้วก็เป็นผ้าบาติกบางๆ เหมือนกับเอาผ้าของเขามาทำเป็นชุด เป็นกระเป๋า หรือแบบใส่เดินเล่นริมทะเล ซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศของเขาและผ้าของเขาด้วย
• ทีนี้พอเรื่องผลิตภัณฑ์เรียบร้อย ต่อไปก็เป็นเรื่องการตลาด
คือโครงการนี้ เขาอยากให้สินค้าไทยโกอินเตอร์เพื่อที่จะไปญี่ปุ่น เราก็ศึกษาของญี่ปุ่น ซึ่งในช่วงนั้น ก็จะมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญการตลาดของที่นั่นมาให้คำแนะนำ ซึ่งไม่ใช่แค่แฟชั่น แต่รวมถึงไลฟ์สไตล์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการกินที่อยู่อาศัย พื้นที่ อย่างคนญี่ปุ่นจะไม่ชอบสินค้าที่มันใหญ่ เช่น เฟอร์นิเจอร์ เพราะว่ามันมีพื้นที่จำกัด หรือสินค้าที่มันฟุ่มเฟือยมากๆ อย่างกระเป๋า ที่ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นได้เลย เราออกแบบกระเป๋าที่เป็นแบบครัช แบบใส่สายลงไปหรือถอดสายออกไปก็ทำได้ เหมือนมันทำได้หลายอย่าง สำหรับกลุ่มที่ชอบ ก็ศึกษาไลฟ์สไตล์จากกลุ่มที่ปั่นจักรยานซะส่วนใหญ่ จากกระเป๋าที่เทอะทะ แล้วต้องถือตลอดเวลา ซึ่งอาจจะไม่นิยม เราก็ต้องออกแบบที่มันสะพายได้ เพื่อให้เขาใส่ไปทำงานได้ด้วย หรือสภาพอากาศที่ไม่เหมือนของเราที่ร้อนทั้งปี แต่เขาจะเป็นแบบร้อนก็ร้อน หนาวก็หนาวมาก สมมุติว่าออกแบบในช่วง spring หรือ summer เราก็ต้องมาดูว่าสีอะไรจะขายได้ ผ้าแบบไหนถึงจะขายได้ มันก็ต้องศึกษา แล้วสีสำคัญมาก คนญี่ปุ่นไม่กล้าใช้สีแรงๆ ในช่วงหน้าหนาว ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบบสีทึบๆ หน่อย พอ summer ปุ๊บ สีสันดอกมาเต็ม รู้สึกว่าเบ่งบาน เหมือนกับต้องรู้วัฒนธรรมของเขา ซึ่งจะมีประโยชน์มากที่เราจะทำการตลาดตรงนี้ได้
• พอทุกอย่างโอเคหมดแล้ว ผลตอบรับในการแสดงสินค้าเป็นอย่างไร
ได้ไปแสดงที่นั่น แล้วผู้ประกอบการก็ได้ลูกค้ากลับมา แต่จะมีกลุ่มของบางนรา ที่จะไม่เน้นงานขาย แต่เน้นศิลปะมาก แล้วจะคุยกับเขาว่าขายยังไง ก็คือเขาไม่ได้เน้นการขายแล้วทำๆๆๆ แต่เขาต้องการที่จะให้เป็นพรีเมี่ยม เหมือนงานศิลปะ เพราะเขาจะเป็นแบบเน้นวาดภาพ วาดลงสีลงไป เหมือนวาดรูปเลย แต่เขาจะเน้นเลยว่างานศิลปะนะ ผ้าทุกผืน ไม่มีอะไรเหมือนกันเลย เพราะฉะนั้น สินค้าก็ต้องแพง เขาก็จะเหมือนขายงานศิลปะเลย ปรากฏว่ากลุ่มทางญี่ปุ่นเข้าใจ ว่านี่คืองานคลาส เขาเคยให้ไปเพนท์โชว์ที่นั่นด้วย แล้วก็เอาสินค้าไปขาย ซึ่งสร้างความดีใจกับภามากๆ เพราะมันตรงกับที่เขาต้องการอยู่แล้ว และได้ไปแสดงสินค้าที่แกลอรี่ที่นั่นด้วย นั่นแหละชัดแล้วว่า มันเป็นกลุ่มที่เขาต้องการ ซึ่งเราเซอร์ไพรส์มากที่เขาเข้าใจในงานและกลุ่มที่เราทำ
คือเหนือกว่าที่คาดคิดไว้มาก เพราะว่า เราอาจจะไม่ได้ตั้งใจที่จะประสบความสำเร็จขนาดนั้น แค่คุยๆ กันว่าเราจะขายสินค้าแบบพรีเมี่ยมนะ อยากให้ลูกค้าซื้อของที่ดีที่สุด เหมือนกับซื้องานศิลปะแล้วไปตั้งโชว์อะไรก็แล้วแต่ เพราะว่าผ้าหนึ่งผืน สามารถเอาไปตัดหรือโชว์ก็ได้ แต่ทางแกลอรี่เขาเข้าใจว่าเป็นงานศิลปะ เลยตัดไปขายในแกลอรี่เลย เหมือนกับตรงกับกลุ่มเป้าหมายเป๊ะ คือขายคนที่สนใจงานศิลปะโดยเฉพาะ
• คิดว่าการที่เราไปมีส่วนร่วมในโครงการนี้ มันได้ให้อะไรกับตัวคุณบ้างครับ
ตอนแรกเราจะกังวลในเรื่องการตลาด เพราะว่าเราอยากจะทำแบรนด์ตัวเอง คือเราไม่รู้อะไรเลย เพราะเราเป็นนักออกแบบ เราอาจจะไม่ได้เก่งเรื่องการตลาดหรือควบคุมคน หรือเราไม่รู้การเผชิญปัญหา ที่เราต้องแก้ไขเรื่องต่างๆ ซึ่งเราจะต้องทำและแก้ต่างๆ ให้เขาทำ หรือ วัสดุตัวนี้ไม่มี เราจะทำยังไงให้เขาแทนได้ ซึ่งถ้าเราทำงานอยู่ในห้อง เราไม่มีทางรู้แน่ๆ เพราะเราไม่ได้ไปคลุกคลีและผลิต อันนี้คือออกแบบและผลิตเลย นอกจากผลิตแล้ว เราต้องควบคุมคนด้วย นี่มันสำคัญมาก ซึ่งมันไม่ใช่แค่เรื่องการออกแบบแล้ว มันต้องรู้เรื่องการตลาด รู้เรื่องไลฟ์สไตล์ด้วยว่าขายคนแบบนี้ เราต้องออกแบบแบบไหน
ส่วนในเรื่องธุรกิจสำคัญมาก เพราะตอนแรกเราคิดว่าเราจะออกแบบยังไงก็ได้ ถ้าคนซื้อสินค้าฉัน แต่เราก็จะขายอยู่แค่นั้น ไม่ได้ไปไหน ถ้าคนสนใจจริงๆ ก็มาซื้อสิ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมาก เรามีความเป็นนักออกแบบ มีความเป็นศิลปิน แต่เราไม่รู้ว่าการตลาดเป็นยังไง คืองานเราอาจจะศิลปะ แต่เราก็ต้องเข้าถึงกลุ่มคนส่วนใหญ่ด้วย เราก็ต้องมีช่องทางในการขายมากขึ้น ซึ่งเดี๋ยวนี้มันมีออนไลน์แล้ว หรืองานแฟร์ที่จะมีซับพลายเออร์ใหญ่ๆ มาเดินดูในงานนั้น เราก็ต้องขยันไปเดินงานเหล่านี้ด้วย หรือระบบเรื่องการขายในต่างประเทศ จะขายยังไง มีช่องทางไหนที่จะกว้างกว่านี้ได้บ้าง อย่างสินค้าบางตัว เราอาจจะคิดว่ามันเชยหรือธรรมดา แต่บางคนก็จะชอบก็ได้ ชาวต่างชาติแบบไม่เคยเห็นมาก่อน เพราะเขาสนใจก็ได้
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : ปัญญพัฒน์ เข็มราช และ แฟนเพจ Pabaja