จากคนทำกราฟฟิกสู่ครีเอทีฟ จากแอร์โฮสเตสสู่ผู้ช่วยนักบินหญิง ก่อนจะไต่ระดับเพดานไปจนถึงเป็นกัปตันนักบิน “ปลา-ปารวี” สารถีสาวสวยวัย 36 บนเส้นทางนกเหล็ก ที่น่ารู้จัก
ไม่ใช่ “นางฟ้า” ก็พอๆ กับนางฟ้า และถ้าจะว่ากันอย่างถูกต้อง บรรดา “นางฟ้า” นั้นเหมือนน้องๆ ของเธออีกที เพราะ “ปลา-ปารวี วาสิกะสิน” ดำรงตำแหน่งในฐานะกัปตันนักบินผู้ดูแลความเรียบร้อยทุกสิ่งอย่างตลอดการเดินทางหนึ่งเที่ยวบิน
อย่างไรก็ดี ก่อนที่สาวสวยคนนี้จะเท็กอ๊อฟจากขอบสนามบินแล้วทะยานขึ้นสู่เวหาอย่างทุกวันนี้ ก็มีความเป็นมาที่น่าสนใจในตัวเธอไม่น้อย เพราะถ้าไม่นับรวมว่า นี่คือนักบินหญิงคนแรกๆ ของเมืองไทย หลายสิ่งอย่างที่หลอมรวมร่วมก่อเป็นตัวเธอ ก็น่าเป็นประสบการณ์ดีๆ สำหรับใครต่อใครในรุ่นหลังๆ ที่อยาก “บินไป” ในเส้นทางสายนี้
แต่ก่อนอื่น...โปรดคาดเข็มขัดนิรภัยของท่านให้เรียบร้อย พร้อมกับปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด แล้วบินลัดฟ้าไปหาฝัน พร้อมกับเธอ...ปลา-ปารวี กัปตันสตรีแห่งสายการบินแอร์เอเชีย...
ถนัดคณิต-สนิทศิลป์
ก่อนโบยบินสู่เวหา
“บางคนอาจจะมีความฝันชัดเจนและมุ่งไปทางนั้น แต่สำหรับเราจะเป็นความฝันกว้างๆ มากกว่า คือยังไม่ทราบแน่ชัดตั้งแต่แรก”
กัปตันสาวเริ่มเล่าย้อนก่อนถึงเส้นทางกว่า 10 ปีในการเป็นนักบิน ซึ่งต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงมากมาย และทดลองหลากหลาย จนกว่าสิ่งที่ใช่จะเดินทางมาถึง...
“ตอนเด็กๆ เราถนัดด้านศิลปะและคณิตศาสตร์ สองวิชานี้เราชอบเป็นพิเศษและได้คะแนนค่อนข้างดี ตอนนั้นก็เลยคิดว่าอยากเรียนอะไรที่เกี่ยวกับศิลปะ จึงตัดสินใจไปเรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนช่วงที่เรียนเป็นช่วงปี พ.ศ. 2540 ที่ประเทศกำลังเจอกับพิษเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เราจบหลังจากนั้น 3-4 ปี เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้นตัว งานทางด้านสถาปัตย์ค่อนข้างซบเซา เราจึงมองหาอย่างอื่นทำ
“พอดีเพื่อนสนิทชวนไปเปิดบริษัทกราฟฟิก เป็นบริษัทเล็กๆ กึ่งๆ ฟรีแลนซ์ เพื่อนบอกว่ามีงานต่อเนื่อง เราซึ่งอยู่ในช่วงค้าหาตัวเองก็เห็นว่าน่าสนใจเลยไปลองทำดู พอทำไปได้สักพักก็ไปเรียนต่อต่างประเทศเลยปิดบริษัทไป หลังจากนั้นก็มีโอกาสเข้าไปทำบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ ตำแหน่งครีเอทีฟ ก็จับพลัดจับผลูไปทำ เพราะเพื่อนชวนไปสมัคร อีกแล้ว (หัวเราะ) แต่ก็สนุกนะ รู้สึกว่าเจองานที่ชอบแล้ว เพื่อนร่วมงานก็น่ารัก”
กัปตันสาวเล่าด้วยรอยยิ้มเต็มดวงหน้า เพราะถึงแม้ภาระงานจะหลากหลาย เรียกว่าไม้จิ้มฟันยันเรือรบ ที่ต้องทำตั้งแต่คิดออกแบบรายการ ติดต่อประสานงาน ออกกองทั้งในและนอกสตูดิโอ กระทั่งตัดต่อ เธอก็ทำ ทว่าจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญก็มาถึง เมื่อคุณพ่อล้มป่วยหนัก
“การทำงานตรงนั้น เวลามันจะไม่ค่อยตรงกับชาวบ้าน บางทีงานมันก็ไม่จบในวันเดียว แล้วก็พักผ่อนไม่เป็นเวลา กำหนดเวลาตัวเองไม่ค่อยได้ ทีนี้ คุณพ่อก็ป่วยหนัก เขาก็มาบอกกับเราว่ารู้สึกว่างานเราไม่ค่อยมั่นคง เหมือนกับไม่ค่อยดีกับสุขภาพเท่าไหร่ เขาก็เป็นห่วง ตอนนั้นพอดีมีเปิดรับพนักงานตอนรับบนบิน คุณพ่อก็อยากให้เราไปทำ เหมือนขอเรากลายๆ เราก็โอเค
“เพราะความสำคัญอันดับแรกสำหรับเราคือครอบครัวต้องมาก่อน ฉะนั้น ตอนที่คุณพ่อป่วย เรารู้สึกว่าอันดับแรก ต้องทำให้ท่านสบายใจ ก็เลยไปสมัคร พอได้ทำก็รู้ว่าไม่เหมาะกับเรา แต่ก็ไม่ได้รู้สึกลำบากใจในตอนนั้น เพราะทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เราเข้าใจว่าเรากำลังทำอะไรอยู่และทำเพื่ออะไร
“พอคุณพ่อท่านเสีย เราก็คิดว่าเราจะออกเมื่อครบสัญญา แต่บังเอิญว่าตอนนั้น เรารับจ็อบทำงานออกแบบผลิตภัณฑ์ให้แอร์เอเชีย ซึ่งเป็นสายการบินที่พึ่งก่อตั้ง เราก็ทำร่วมกับเพื่อน ออกแบบสินค้าเพื่อขายบนเครื่องบิน เช่น เสื้อยืด กระเป๋า ร่ม แล้วตอนนั้นเพื่อนก็บอกว่า มีเปิดรับสมัครนักบินพอดี เป็นปีแรกของแอร์เอเชียที่รับนักบิน (Student Pilot) แล้วก็รับผู้หญิงด้วย ก็ลองสมัครสมัครออนไลน์ทิ้งไว้ มีคนสมัครประมาณ 2,000 คน หลังจากนั้นก็สอบตามขั้นตอนแล้วก็มาเป็นนักบินนี่แหล่ะค่ะ”
“คือฝันลึกๆ ของเราอยากเป็นนักบินเหมือนคุณพ่อ”
“ตอนเด็กๆ เราได้ติดตามคุณพ่อไปต่างประเทศบ่อยๆ แล้วก็มีโอกาสได้เข้าไปในห้องนักบิน ตอนนั้นจำได้ว่าตื่นเต้นมากๆ ตื่นตาตื่นใจไปซะหมด ทั้งแผงควบคุมการบิน ทั้งวิวสวยๆ นอกหน้าต่าง จนคุณพ่อต้องดุว่าให้นั่งเงียบๆ (หัวเราะ) ลึกๆ ก็คือประทับใจในอาชีพของคุณพ่อ แต่ไม่ได้ฝันว่าจะเป็นนักบิน เพราะว่านักบินสมัยก่อนมีน้อยมาก เราก็เลยไม่ได้นึกถึงโอกาสตรงนี้ ไม่แน่ถ้าเรารู้ตั้งแต่แรกก็อาจจะมุ่งมั่นมาทางนี้เลย อย่างน้องๆ เดี๋ยวนี้ค่อนข้างโชคดี เพราะมีสื่อมากขึ้น อินเตอร์เน็ตตอนนี้ก็สามารถค้นหาข้อมูลที่สนใจได้หมด เรียกว่าไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไปแล้ว"
"เคยมีคนถามเหมือนกันว่าเรารู้สึกเสียเวลาหรือไม่ กว่าที่จะมาเป็นนักบินทำอะไรอยู่ตั้งนาน เราก็ไม่ได้รู้สึกแบบนั้น เพราะทุกอย่างก็เป็นประสบการณ์ที่ดี อย่างทำงานบริษัทกราฟฟิกตอนนั้น เริ่มแรกเราคิดว่าการทำธุรกิจมันง่าย เรารู้สึกว่าการทำธุรกิจมันง่าย แต่พอไปดูเรื่องการจัดการ เวลา ต้นทุน และการติดต่อต่างๆ แล้ว มันก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิด แต่มันก็เป็นประสบการณ์ที่ดีในด้านการฝึกฝนฝีมือตัวเอง และเป็นผลดีในเวลาต่อมา เพราะเราก็สามารถมารับงานออกแบบสินค้า และทำให้เราได้มาเจอโอกาสที่เขาเปิดรับนักบินผู้หญิง ปลาเลยคิดว่าทุกประสบการณ์มีคุณค่าเสมอ”
“ส่วนตัวคิดว่ามันเป็นเรื่องผสมผสานระหว่าง 3 สิ่ง เรื่องความชอบ ความถนัด และจังหวะเวลา ถ้าเกิดเราเจอ 3 อย่างนี้ลงตัวเร็ว มันก็ดี ที่ได้ไปเจอสิ่งที่ตัวเองชอบ และถนัดเร็ว แต่บางครั้งสิ่งที่เราชอบ เราไม่ถนัด สิ่งที่เราถนัด เราไม่ชอบ ก็ต้องอาจจะใช้เวลานิดหนึ่ง แล้วก็ใช้ความพยายามมากหน่อย แล้วสมมุติว่า ถึงแม้เราจะพยายามสุดๆ แล้ว เราก็อาจจะไม่ได้เป็นในสิ่งที่เราอยากเป็นก็ได้
“แต่เชื่อเถอะว่า สุดท้าย ความพยายามทั้งหมดมันไม่เสียประโยชน์ เพราะมันอาจจะได้ไปทำอย่างอื่น เชื่อว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น มันอาจจะมีโอกาสที่ดีอื่นๆ รออยู่ เหมือนเราอาจจะไม่ได้เป็นสถาปนิกแต่แรก สุดท้ายเราได้มาเป็นนักบินก็ถือว่าตัวเองก็ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตัวเองฝันเหมือนกัน”
เทคอ๊อฟ...ส้นสูงบนรันเวย์
หนึ่งใน “นักบินหญิง” คนแรกๆ ของเมืองไทย
“ตอนลองมาสมัครเป็นนักบิน ก็ยังไม่แน่ใจร้อยเปอร์เซ็นต์นะ ว่าจะเหมาะกับเรา”
เสียงหัวเราะเบาๆ ดังขึ้นมาติดๆ หลังจบประโยค
“แต่พอมาทำแล้วก็มีความสุข รู้สึกชอบ ดีใจที่มาสมัคร คือเวลาบินอยู่บนท้องฟ้า มันรู้สึกอิสระ วิวบนท้องฟ้ามันสวยจริงๆ เหมือนเรามองภาพศิลปะ แต่เป็นศิลปะจากธรรมชาติ และศิลปะนอกหน้าตาต่างเครื่องบินก็เปลี่ยนไปทุกวัน แสง สภาพอากาศ ไม่เหมือนกันเลยในแต่ละวัน”
กัปตันสาวเผยถึงความรู้สึกหลังจากผ่านหลากหลายอาชีพจนเจอสิ่งที่ใช่
“อย่างตอนที่เป็นพนักงานต้อนรับ การแก้ปัญหามันไม่ได้มีเฉพาะเจาะจง และส่วนใหญ่เป็นปัญหาเกี่ยวกับคนซึ่งเราไม่ถนัดตรงนั้น แต่การเป็นนักบิน การที่มีปัญหาขึ้นมามันมีตัวหนังสือรองรับ มีอะไรเกิดขึ้นต้องทำอย่างไรมันก็ง่ายต่อการปฏิบัติงาน คล้ายๆ นิสัยของเราเหมือนกันที่ คือมีหลักการของตัวเอง แต่ก็เป็นคนที่ยืดหยุ่นบ้าง เรียกว่าปรับตัวง่าย นักบินก็เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
“ตอนสอบนักบิน ข้อสอบก็จะมีวิชาการ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แล้วก็ยังมีพวกแอตติจูดเทสต์ (Aptitude test) เป็นข้อสอบความถนัดกับจิตวิทยา พวกนี้จะใช้เรื่องศิลปะเข้ามาช่วยในการมองภาพรวม มันคล้ายๆ ข้อสอบที่ความถนัดสถาปัตย์นิดๆ
“ส่วนตอนที่เรียนในรุ่นปีนั้น เข้ามาทั้งหมด 40 คน มีผู้หญิง 6 คน เป็นรุ่นแรกของ Student pilot ที่เรียนที่โรงเรียนการบิน บางกอก เอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ (BAC) เรียนอยู่ 1 ปีกว่า ในสมัยนั้นยังอยู่ที่ดอนเมือง ก็จะแบ่งเป็นเรียนเรื่องทฤษฏี และเรียนเรื่องปฏิบัติ ซึ่งก็เริ่มบินเครื่องเล็ก เก็บชั่วโมง เราก็จะได้ไลเซ่นส์ (Licence) หรือใบอนุญาตการบิน เหมือนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์"
เริ่มจาก PPL (Private Pilot License) หรือใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล เป็นหลักสูตรแรกสุดสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการบินมาก่อน มีทั้งภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติที่จะต้องใช้ระยะเวลาชั่วโมงบินประมาณ 40 ชั่วโมง ต่อจากนั้นก็ CPL (Commercial Pilot License) หลักสูตรนักบินพาณิชย์ มีทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างน้อย 200 ชั่วโมง หลังจากนั้นถึงจะมาขับเครื่องบินแอร์ไลน์ได้ ก่อนที่จะต้องสะสมชั่วโมงบินจากโรงเรียนการบินไปสู่นักบินผู้ช่วย จนกระทั่งกัปตัน
“ก็ยากประมาณหนึ่ง แต่ก็ไม่เกินความสามารถ”
กัปตันสาวแซมยิ้ม ก่อนจะอธิบายเสริม
“ในส่วนของปลา จำได้ว่าตอนนั้นฝึกทั้งหมด 4,500 ชั่วโมง ก็นานพอสมควร เพราะสายการบินเพิ่งเปิด ตารางบินก็อาจจะน้อย แต่ถ้าเป็นน้องๆ เดี๋ยวนี้ ตารางบินเยอะขึ้น ก็อาจจะครบเร็วขึ้น
“แต่หลักๆ สิ่งที่ยากคือต้องมีวินัยในตัวเองสูง เพราะเราต้องทำงานบนความรับผิดชอบต่อผู้โดยสาร เราต้องทราบว่าเราต้องบังคับตัวเองให้พักผ่อนเพียงพอ รักษาสุขภาพให้ดีทุกครั้งก่อนมาบิน เพื่อให้เรามีความพร้อมในการบิน แล้วขั้นตอนก่อนเริ่มการบิน ผู้ช่วยนักบินและกัปตันก็จะต้องมาคุยกัน ตรวจดูเอกสาร ดูสภาพอากาศของสนามบิน ข่าวต่างๆ ของสนามบิน เช่น บางวันอาจมีปิดทางวิ่ง ลงไม่ได้ เราก็จะได้วางแผนถูก เราต้องบรีฟเกี่ยวกับสนามบินที่จะไป สนามบินระหว่างทาง สนามบินสำรอง
“รวมไปถึงเส้นทางที่ไปด้วย เพราะบางวันก็อาจจะมีรายการแจ้งพิเศษ เช่นอาจจะมีโคมลอย อย่างล่าสุด วันลอยกระทงที่ผ่านมา เราก็ต้องเตรียมตัว มีแผนที่อากาศระหว่างทางด้วยว่าตรงไหนมีเมฆ มีภูเขาไฟระเบิดไหม หลังจากนั้นก็ต้องตรวจคำนวณระยะทาง ความสูงเพดานการบินว่าถูกต้องหรือไม่ และสุดท้ายก็คือขั้นตอนของการสั่งน้ำมัน”
เมื่อถึงคำถามเกี่ยวกับการที่ผู้หญิงเป็นก้าวขึ้นมาเป็นผู้บังคับนำขับเครื่องบิน
“ก็ไม่ง่ายค่ะ แต่ก็ไม่ได้เหนือความคาดหมายที่คิดไว้ ว่าอาจจะต้องโดนอยู่แล้ว มันมีโอกาสที่จะเกิดอยู่แล้ว คือถึงแม้จะไม่ได้เป็นผู้หญิงก็มีโอกาสที่คนจะมองในทางลบ คนเรามีทั้งลบและบวก เป็นผู้หญิงก็อาจจะมีช่วงตรงนี้เพิ่มขึ้นมาหน่อย แต่ก็รู้สึกว่ามันไม่ได้มาทำให้เรารู้สึกไม่ดีหรือว่าอะไรอย่างนั้น เพาะเรารู้ว่า ลึกๆ แล้วมันไม่ต่างกันในเรื่องความสามารถ แต่อาจจะต่างกันในเรื่องสรีระหรือรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยอย่างเช่น ข้อดีของผู้ชายอาจจะตัดสินใจได้เร็วกว่าเล็กน้อย แต่ข้อดีของผู้หญิงคือความละเอียดอ่อนในการทำงาน ซึ่งมันก็ไม่ได้มีบทพิสูจน์ผลลัพธ์อะไรมากมายนัก
“แต่ว่าถ้าคนอื่นมองว่าต่างกัน เราก็ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์มากกว่าค่ะ”
“แต่ตอนนี้ก็เปิดกว้างมาขึ้นเรื่อยแล้ว”
กัปตันสาวเล่าถึงประสบการณ์ 10 ปี จาก 6 คนในรุ่นแรกของแอร์เอเชีย ปัจจุบันนักบินหญิงของประเทศไทยมีหลายสิบคน ซึ่งเป็นบทพิสูจน์แล้วว่า “ผู้หญิง” สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสารถีเหนือเวหาได้อย่างสง่าผ่าเผยไม่น้อยไปกว่าผู้ชาย
“เราก็อาจจะต้องใช้ความพยายามมากกว่านักบินผู้ชายมากหน่อย เพราะด้วยความคาดหวังของคนอื่น บางคนอาจยังมีคำถามในใจ แต่ก็เป็นสิ่งที่เขาสามารถคิดได้ เหมือนกับบางทีเราก็อาจจะตัดสินคนจากการแต่งตัว จากสภาพร่างกาย ขณที่ในส่วนของเรา เขาก็อาจจะตัดสินเราจากเพศ แต่เรารู้ว่า จริงๆ แล้วเราทำได้หรือไม่ได้
“เราก็พยายามไม่เก็บมาใส่ใจ ก็เข้าใจเขา จะได้ไม่ทำให้ตัวเองท้อถอยอะไรมากมาย เราก็อาจจะต้องใช้เวลาพิสูจน์มากกว่าคนอื่นหรือใช้ความพยายามมากกว่าคนอื่น แต่ว่ามันก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคที่มากเกินไปในการทำงานค่ะ
“ก็รู้สึกดีนะคะที่เหมือนกับคนมองเห็นความสามารถของผู้หญิงมากขึ้น ให้โอกาสมากขึ้นในที่ต่างๆ อย่างที่เราเห็นเพื่อนผู้หญิงได้ทำงานดีๆ ได้เป็นระดับผู้บริหารกันหลายที่ ก็รู้สึกว่าดีใจที่ผู้หญิงได้รับการยอมรับ หวังว่าจะเป็นโอกาสที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตค่ะ”
ทุกความพยายาม
ไม่มีคำว่า “สูญเปล่า”
“จริงๆ ก็ไม่ถึงกับใช้ความกล้า เพราะเวลาที่เรามีโอกาสอะไรสักอย่าง เราก็ควรจะคว้าไว้ และเพราะมันเป็นสิ่งที่เราอยากจะทำ พอมันเป็นสิ่งที่เราอยากจะทำ ลองทำ ไม่ต้องใช้ความกล้า มันก็รู้สึกว่าได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง
“แต่เราควรรู้พื้นฐานก่อน คืออย่างน้อยเราก็ต้องมีข้อมูลประมาณหนึ่งว่าเราจะไปทำอะไร เราชอบหรือเราถนัดสิ่งนั้นหรือไม่ ก็เป็นสิ่งที่แต่ละคนควรไปหาข้อมูลดู อย่างที่เล่าไป บางคนอาจจะทราบแต่แรก บางคนอาจจะไม่ทราบ ก็คือต้องเตรียมตัวพื้นฐานด้วย”
คติชีวิตสำหรับกัปตันสาวผู้นี้จึงไม่ต่างไปจากข้อความที่เรามักได้ยินจากนักพูดหลายๆ ท่านที่หยิบมากระตุ้นกำลังใจตัวเอง
"ถ้าเราอยากจะลองทำอะไร ก็เริ่มทำ นักพูดหลายคนเขาก็ชอบพูดกันว่า การที่เราจะประสบความสำเร็จได้ มันไม่ใช่ความอยาก มันไม่ใช่ความใฝ่ฝัน แต่คือการลงมือทำ ถ้าเราไม่ทำ มันก็จะสำเร็จไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ก็แค่ลงมือทำก่อนเท่านั้น"
กัปตันสาวยิ้มกว้าง อย่างคนซึ่งยินดีกับชีวิตที่ผ่านมาและดำเนินอยู่
“เราก็เตรียมตัวของเราให้ดีที่สุด แล้วเราก็ใช้ความพยายามทุ่มเทของเราให้เต็มที่ สุดท้ายเราก็มีโอกาสมากขึ้นที่จะได้สิ่งที่หวัง ที่ตั้งใจ
“ก็อยากจะแนะนำน้องๆ ถ้าอยากเป็นนักบินมีใจรักทางนี้ ก็ต้องตั้งใจเตรียมเรื่องวิชาการความรู้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แล้วก็อาจจะไปลองดูว่าข้อสอบในการบินในปีก่อนๆ เป็นอย่างไร ก็ลองเปิดดู ทำดู ลองศึกษาข้อมูลจากสิ่งรอบๆ ตัว พี่เป็นกำลังใจให้
“ส่วนในเรื่องที่ว่าตนเองจะค้นหาสิ่งที่ชอบได้อย่างไร ก็อย่างที่บอก ทดลองแล้วก็กล้าที่จะลงมือ ถ้าไม่ได้ ไม่สำเร็จ มันก็อาจจะนำไปสู่โอกาสอื่นๆ ที่ดีถัดไป อย่าคิดว่าเสียเวลา หรืออย่างน้อยๆ เราก็ได้ลองทำเต็มที่แล้ว แต่ถ้าเราไม่ได้ลองทำ อันนั้นแหละอาจจะเป็นการเสียโอกาสจริงๆ”
เรื่อง: รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ: ศิวกร เสนสอน และเฟซบุ๊ก Parman Vasikasin
ไม่ใช่ “นางฟ้า” ก็พอๆ กับนางฟ้า และถ้าจะว่ากันอย่างถูกต้อง บรรดา “นางฟ้า” นั้นเหมือนน้องๆ ของเธออีกที เพราะ “ปลา-ปารวี วาสิกะสิน” ดำรงตำแหน่งในฐานะกัปตันนักบินผู้ดูแลความเรียบร้อยทุกสิ่งอย่างตลอดการเดินทางหนึ่งเที่ยวบิน
อย่างไรก็ดี ก่อนที่สาวสวยคนนี้จะเท็กอ๊อฟจากขอบสนามบินแล้วทะยานขึ้นสู่เวหาอย่างทุกวันนี้ ก็มีความเป็นมาที่น่าสนใจในตัวเธอไม่น้อย เพราะถ้าไม่นับรวมว่า นี่คือนักบินหญิงคนแรกๆ ของเมืองไทย หลายสิ่งอย่างที่หลอมรวมร่วมก่อเป็นตัวเธอ ก็น่าเป็นประสบการณ์ดีๆ สำหรับใครต่อใครในรุ่นหลังๆ ที่อยาก “บินไป” ในเส้นทางสายนี้
แต่ก่อนอื่น...โปรดคาดเข็มขัดนิรภัยของท่านให้เรียบร้อย พร้อมกับปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด แล้วบินลัดฟ้าไปหาฝัน พร้อมกับเธอ...ปลา-ปารวี กัปตันสตรีแห่งสายการบินแอร์เอเชีย...
ถนัดคณิต-สนิทศิลป์
ก่อนโบยบินสู่เวหา
“บางคนอาจจะมีความฝันชัดเจนและมุ่งไปทางนั้น แต่สำหรับเราจะเป็นความฝันกว้างๆ มากกว่า คือยังไม่ทราบแน่ชัดตั้งแต่แรก”
กัปตันสาวเริ่มเล่าย้อนก่อนถึงเส้นทางกว่า 10 ปีในการเป็นนักบิน ซึ่งต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงมากมาย และทดลองหลากหลาย จนกว่าสิ่งที่ใช่จะเดินทางมาถึง...
“ตอนเด็กๆ เราถนัดด้านศิลปะและคณิตศาสตร์ สองวิชานี้เราชอบเป็นพิเศษและได้คะแนนค่อนข้างดี ตอนนั้นก็เลยคิดว่าอยากเรียนอะไรที่เกี่ยวกับศิลปะ จึงตัดสินใจไปเรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนช่วงที่เรียนเป็นช่วงปี พ.ศ. 2540 ที่ประเทศกำลังเจอกับพิษเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เราจบหลังจากนั้น 3-4 ปี เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้นตัว งานทางด้านสถาปัตย์ค่อนข้างซบเซา เราจึงมองหาอย่างอื่นทำ
“พอดีเพื่อนสนิทชวนไปเปิดบริษัทกราฟฟิก เป็นบริษัทเล็กๆ กึ่งๆ ฟรีแลนซ์ เพื่อนบอกว่ามีงานต่อเนื่อง เราซึ่งอยู่ในช่วงค้าหาตัวเองก็เห็นว่าน่าสนใจเลยไปลองทำดู พอทำไปได้สักพักก็ไปเรียนต่อต่างประเทศเลยปิดบริษัทไป หลังจากนั้นก็มีโอกาสเข้าไปทำบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ ตำแหน่งครีเอทีฟ ก็จับพลัดจับผลูไปทำ เพราะเพื่อนชวนไปสมัคร อีกแล้ว (หัวเราะ) แต่ก็สนุกนะ รู้สึกว่าเจองานที่ชอบแล้ว เพื่อนร่วมงานก็น่ารัก”
กัปตันสาวเล่าด้วยรอยยิ้มเต็มดวงหน้า เพราะถึงแม้ภาระงานจะหลากหลาย เรียกว่าไม้จิ้มฟันยันเรือรบ ที่ต้องทำตั้งแต่คิดออกแบบรายการ ติดต่อประสานงาน ออกกองทั้งในและนอกสตูดิโอ กระทั่งตัดต่อ เธอก็ทำ ทว่าจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญก็มาถึง เมื่อคุณพ่อล้มป่วยหนัก
“การทำงานตรงนั้น เวลามันจะไม่ค่อยตรงกับชาวบ้าน บางทีงานมันก็ไม่จบในวันเดียว แล้วก็พักผ่อนไม่เป็นเวลา กำหนดเวลาตัวเองไม่ค่อยได้ ทีนี้ คุณพ่อก็ป่วยหนัก เขาก็มาบอกกับเราว่ารู้สึกว่างานเราไม่ค่อยมั่นคง เหมือนกับไม่ค่อยดีกับสุขภาพเท่าไหร่ เขาก็เป็นห่วง ตอนนั้นพอดีมีเปิดรับพนักงานตอนรับบนบิน คุณพ่อก็อยากให้เราไปทำ เหมือนขอเรากลายๆ เราก็โอเค
“เพราะความสำคัญอันดับแรกสำหรับเราคือครอบครัวต้องมาก่อน ฉะนั้น ตอนที่คุณพ่อป่วย เรารู้สึกว่าอันดับแรก ต้องทำให้ท่านสบายใจ ก็เลยไปสมัคร พอได้ทำก็รู้ว่าไม่เหมาะกับเรา แต่ก็ไม่ได้รู้สึกลำบากใจในตอนนั้น เพราะทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เราเข้าใจว่าเรากำลังทำอะไรอยู่และทำเพื่ออะไร
“พอคุณพ่อท่านเสีย เราก็คิดว่าเราจะออกเมื่อครบสัญญา แต่บังเอิญว่าตอนนั้น เรารับจ็อบทำงานออกแบบผลิตภัณฑ์ให้แอร์เอเชีย ซึ่งเป็นสายการบินที่พึ่งก่อตั้ง เราก็ทำร่วมกับเพื่อน ออกแบบสินค้าเพื่อขายบนเครื่องบิน เช่น เสื้อยืด กระเป๋า ร่ม แล้วตอนนั้นเพื่อนก็บอกว่า มีเปิดรับสมัครนักบินพอดี เป็นปีแรกของแอร์เอเชียที่รับนักบิน (Student Pilot) แล้วก็รับผู้หญิงด้วย ก็ลองสมัครสมัครออนไลน์ทิ้งไว้ มีคนสมัครประมาณ 2,000 คน หลังจากนั้นก็สอบตามขั้นตอนแล้วก็มาเป็นนักบินนี่แหล่ะค่ะ”
“คือฝันลึกๆ ของเราอยากเป็นนักบินเหมือนคุณพ่อ”
“ตอนเด็กๆ เราได้ติดตามคุณพ่อไปต่างประเทศบ่อยๆ แล้วก็มีโอกาสได้เข้าไปในห้องนักบิน ตอนนั้นจำได้ว่าตื่นเต้นมากๆ ตื่นตาตื่นใจไปซะหมด ทั้งแผงควบคุมการบิน ทั้งวิวสวยๆ นอกหน้าต่าง จนคุณพ่อต้องดุว่าให้นั่งเงียบๆ (หัวเราะ) ลึกๆ ก็คือประทับใจในอาชีพของคุณพ่อ แต่ไม่ได้ฝันว่าจะเป็นนักบิน เพราะว่านักบินสมัยก่อนมีน้อยมาก เราก็เลยไม่ได้นึกถึงโอกาสตรงนี้ ไม่แน่ถ้าเรารู้ตั้งแต่แรกก็อาจจะมุ่งมั่นมาทางนี้เลย อย่างน้องๆ เดี๋ยวนี้ค่อนข้างโชคดี เพราะมีสื่อมากขึ้น อินเตอร์เน็ตตอนนี้ก็สามารถค้นหาข้อมูลที่สนใจได้หมด เรียกว่าไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไปแล้ว"
"เคยมีคนถามเหมือนกันว่าเรารู้สึกเสียเวลาหรือไม่ กว่าที่จะมาเป็นนักบินทำอะไรอยู่ตั้งนาน เราก็ไม่ได้รู้สึกแบบนั้น เพราะทุกอย่างก็เป็นประสบการณ์ที่ดี อย่างทำงานบริษัทกราฟฟิกตอนนั้น เริ่มแรกเราคิดว่าการทำธุรกิจมันง่าย เรารู้สึกว่าการทำธุรกิจมันง่าย แต่พอไปดูเรื่องการจัดการ เวลา ต้นทุน และการติดต่อต่างๆ แล้ว มันก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิด แต่มันก็เป็นประสบการณ์ที่ดีในด้านการฝึกฝนฝีมือตัวเอง และเป็นผลดีในเวลาต่อมา เพราะเราก็สามารถมารับงานออกแบบสินค้า และทำให้เราได้มาเจอโอกาสที่เขาเปิดรับนักบินผู้หญิง ปลาเลยคิดว่าทุกประสบการณ์มีคุณค่าเสมอ”
“ส่วนตัวคิดว่ามันเป็นเรื่องผสมผสานระหว่าง 3 สิ่ง เรื่องความชอบ ความถนัด และจังหวะเวลา ถ้าเกิดเราเจอ 3 อย่างนี้ลงตัวเร็ว มันก็ดี ที่ได้ไปเจอสิ่งที่ตัวเองชอบ และถนัดเร็ว แต่บางครั้งสิ่งที่เราชอบ เราไม่ถนัด สิ่งที่เราถนัด เราไม่ชอบ ก็ต้องอาจจะใช้เวลานิดหนึ่ง แล้วก็ใช้ความพยายามมากหน่อย แล้วสมมุติว่า ถึงแม้เราจะพยายามสุดๆ แล้ว เราก็อาจจะไม่ได้เป็นในสิ่งที่เราอยากเป็นก็ได้
“แต่เชื่อเถอะว่า สุดท้าย ความพยายามทั้งหมดมันไม่เสียประโยชน์ เพราะมันอาจจะได้ไปทำอย่างอื่น เชื่อว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น มันอาจจะมีโอกาสที่ดีอื่นๆ รออยู่ เหมือนเราอาจจะไม่ได้เป็นสถาปนิกแต่แรก สุดท้ายเราได้มาเป็นนักบินก็ถือว่าตัวเองก็ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตัวเองฝันเหมือนกัน”
เทคอ๊อฟ...ส้นสูงบนรันเวย์
หนึ่งใน “นักบินหญิง” คนแรกๆ ของเมืองไทย
“ตอนลองมาสมัครเป็นนักบิน ก็ยังไม่แน่ใจร้อยเปอร์เซ็นต์นะ ว่าจะเหมาะกับเรา”
เสียงหัวเราะเบาๆ ดังขึ้นมาติดๆ หลังจบประโยค
“แต่พอมาทำแล้วก็มีความสุข รู้สึกชอบ ดีใจที่มาสมัคร คือเวลาบินอยู่บนท้องฟ้า มันรู้สึกอิสระ วิวบนท้องฟ้ามันสวยจริงๆ เหมือนเรามองภาพศิลปะ แต่เป็นศิลปะจากธรรมชาติ และศิลปะนอกหน้าตาต่างเครื่องบินก็เปลี่ยนไปทุกวัน แสง สภาพอากาศ ไม่เหมือนกันเลยในแต่ละวัน”
กัปตันสาวเผยถึงความรู้สึกหลังจากผ่านหลากหลายอาชีพจนเจอสิ่งที่ใช่
“อย่างตอนที่เป็นพนักงานต้อนรับ การแก้ปัญหามันไม่ได้มีเฉพาะเจาะจง และส่วนใหญ่เป็นปัญหาเกี่ยวกับคนซึ่งเราไม่ถนัดตรงนั้น แต่การเป็นนักบิน การที่มีปัญหาขึ้นมามันมีตัวหนังสือรองรับ มีอะไรเกิดขึ้นต้องทำอย่างไรมันก็ง่ายต่อการปฏิบัติงาน คล้ายๆ นิสัยของเราเหมือนกันที่ คือมีหลักการของตัวเอง แต่ก็เป็นคนที่ยืดหยุ่นบ้าง เรียกว่าปรับตัวง่าย นักบินก็เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
“ตอนสอบนักบิน ข้อสอบก็จะมีวิชาการ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แล้วก็ยังมีพวกแอตติจูดเทสต์ (Aptitude test) เป็นข้อสอบความถนัดกับจิตวิทยา พวกนี้จะใช้เรื่องศิลปะเข้ามาช่วยในการมองภาพรวม มันคล้ายๆ ข้อสอบที่ความถนัดสถาปัตย์นิดๆ
“ส่วนตอนที่เรียนในรุ่นปีนั้น เข้ามาทั้งหมด 40 คน มีผู้หญิง 6 คน เป็นรุ่นแรกของ Student pilot ที่เรียนที่โรงเรียนการบิน บางกอก เอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ (BAC) เรียนอยู่ 1 ปีกว่า ในสมัยนั้นยังอยู่ที่ดอนเมือง ก็จะแบ่งเป็นเรียนเรื่องทฤษฏี และเรียนเรื่องปฏิบัติ ซึ่งก็เริ่มบินเครื่องเล็ก เก็บชั่วโมง เราก็จะได้ไลเซ่นส์ (Licence) หรือใบอนุญาตการบิน เหมือนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์"
เริ่มจาก PPL (Private Pilot License) หรือใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล เป็นหลักสูตรแรกสุดสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการบินมาก่อน มีทั้งภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติที่จะต้องใช้ระยะเวลาชั่วโมงบินประมาณ 40 ชั่วโมง ต่อจากนั้นก็ CPL (Commercial Pilot License) หลักสูตรนักบินพาณิชย์ มีทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างน้อย 200 ชั่วโมง หลังจากนั้นถึงจะมาขับเครื่องบินแอร์ไลน์ได้ ก่อนที่จะต้องสะสมชั่วโมงบินจากโรงเรียนการบินไปสู่นักบินผู้ช่วย จนกระทั่งกัปตัน
“ก็ยากประมาณหนึ่ง แต่ก็ไม่เกินความสามารถ”
กัปตันสาวแซมยิ้ม ก่อนจะอธิบายเสริม
“ในส่วนของปลา จำได้ว่าตอนนั้นฝึกทั้งหมด 4,500 ชั่วโมง ก็นานพอสมควร เพราะสายการบินเพิ่งเปิด ตารางบินก็อาจจะน้อย แต่ถ้าเป็นน้องๆ เดี๋ยวนี้ ตารางบินเยอะขึ้น ก็อาจจะครบเร็วขึ้น
“แต่หลักๆ สิ่งที่ยากคือต้องมีวินัยในตัวเองสูง เพราะเราต้องทำงานบนความรับผิดชอบต่อผู้โดยสาร เราต้องทราบว่าเราต้องบังคับตัวเองให้พักผ่อนเพียงพอ รักษาสุขภาพให้ดีทุกครั้งก่อนมาบิน เพื่อให้เรามีความพร้อมในการบิน แล้วขั้นตอนก่อนเริ่มการบิน ผู้ช่วยนักบินและกัปตันก็จะต้องมาคุยกัน ตรวจดูเอกสาร ดูสภาพอากาศของสนามบิน ข่าวต่างๆ ของสนามบิน เช่น บางวันอาจมีปิดทางวิ่ง ลงไม่ได้ เราก็จะได้วางแผนถูก เราต้องบรีฟเกี่ยวกับสนามบินที่จะไป สนามบินระหว่างทาง สนามบินสำรอง
“รวมไปถึงเส้นทางที่ไปด้วย เพราะบางวันก็อาจจะมีรายการแจ้งพิเศษ เช่นอาจจะมีโคมลอย อย่างล่าสุด วันลอยกระทงที่ผ่านมา เราก็ต้องเตรียมตัว มีแผนที่อากาศระหว่างทางด้วยว่าตรงไหนมีเมฆ มีภูเขาไฟระเบิดไหม หลังจากนั้นก็ต้องตรวจคำนวณระยะทาง ความสูงเพดานการบินว่าถูกต้องหรือไม่ และสุดท้ายก็คือขั้นตอนของการสั่งน้ำมัน”
เมื่อถึงคำถามเกี่ยวกับการที่ผู้หญิงเป็นก้าวขึ้นมาเป็นผู้บังคับนำขับเครื่องบิน
“ก็ไม่ง่ายค่ะ แต่ก็ไม่ได้เหนือความคาดหมายที่คิดไว้ ว่าอาจจะต้องโดนอยู่แล้ว มันมีโอกาสที่จะเกิดอยู่แล้ว คือถึงแม้จะไม่ได้เป็นผู้หญิงก็มีโอกาสที่คนจะมองในทางลบ คนเรามีทั้งลบและบวก เป็นผู้หญิงก็อาจจะมีช่วงตรงนี้เพิ่มขึ้นมาหน่อย แต่ก็รู้สึกว่ามันไม่ได้มาทำให้เรารู้สึกไม่ดีหรือว่าอะไรอย่างนั้น เพาะเรารู้ว่า ลึกๆ แล้วมันไม่ต่างกันในเรื่องความสามารถ แต่อาจจะต่างกันในเรื่องสรีระหรือรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยอย่างเช่น ข้อดีของผู้ชายอาจจะตัดสินใจได้เร็วกว่าเล็กน้อย แต่ข้อดีของผู้หญิงคือความละเอียดอ่อนในการทำงาน ซึ่งมันก็ไม่ได้มีบทพิสูจน์ผลลัพธ์อะไรมากมายนัก
“แต่ว่าถ้าคนอื่นมองว่าต่างกัน เราก็ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์มากกว่าค่ะ”
“แต่ตอนนี้ก็เปิดกว้างมาขึ้นเรื่อยแล้ว”
กัปตันสาวเล่าถึงประสบการณ์ 10 ปี จาก 6 คนในรุ่นแรกของแอร์เอเชีย ปัจจุบันนักบินหญิงของประเทศไทยมีหลายสิบคน ซึ่งเป็นบทพิสูจน์แล้วว่า “ผู้หญิง” สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสารถีเหนือเวหาได้อย่างสง่าผ่าเผยไม่น้อยไปกว่าผู้ชาย
“เราก็อาจจะต้องใช้ความพยายามมากกว่านักบินผู้ชายมากหน่อย เพราะด้วยความคาดหวังของคนอื่น บางคนอาจยังมีคำถามในใจ แต่ก็เป็นสิ่งที่เขาสามารถคิดได้ เหมือนกับบางทีเราก็อาจจะตัดสินคนจากการแต่งตัว จากสภาพร่างกาย ขณที่ในส่วนของเรา เขาก็อาจจะตัดสินเราจากเพศ แต่เรารู้ว่า จริงๆ แล้วเราทำได้หรือไม่ได้
“เราก็พยายามไม่เก็บมาใส่ใจ ก็เข้าใจเขา จะได้ไม่ทำให้ตัวเองท้อถอยอะไรมากมาย เราก็อาจจะต้องใช้เวลาพิสูจน์มากกว่าคนอื่นหรือใช้ความพยายามมากกว่าคนอื่น แต่ว่ามันก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคที่มากเกินไปในการทำงานค่ะ
“ก็รู้สึกดีนะคะที่เหมือนกับคนมองเห็นความสามารถของผู้หญิงมากขึ้น ให้โอกาสมากขึ้นในที่ต่างๆ อย่างที่เราเห็นเพื่อนผู้หญิงได้ทำงานดีๆ ได้เป็นระดับผู้บริหารกันหลายที่ ก็รู้สึกว่าดีใจที่ผู้หญิงได้รับการยอมรับ หวังว่าจะเป็นโอกาสที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตค่ะ”
ทุกความพยายาม
ไม่มีคำว่า “สูญเปล่า”
“จริงๆ ก็ไม่ถึงกับใช้ความกล้า เพราะเวลาที่เรามีโอกาสอะไรสักอย่าง เราก็ควรจะคว้าไว้ และเพราะมันเป็นสิ่งที่เราอยากจะทำ พอมันเป็นสิ่งที่เราอยากจะทำ ลองทำ ไม่ต้องใช้ความกล้า มันก็รู้สึกว่าได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง
“แต่เราควรรู้พื้นฐานก่อน คืออย่างน้อยเราก็ต้องมีข้อมูลประมาณหนึ่งว่าเราจะไปทำอะไร เราชอบหรือเราถนัดสิ่งนั้นหรือไม่ ก็เป็นสิ่งที่แต่ละคนควรไปหาข้อมูลดู อย่างที่เล่าไป บางคนอาจจะทราบแต่แรก บางคนอาจจะไม่ทราบ ก็คือต้องเตรียมตัวพื้นฐานด้วย”
คติชีวิตสำหรับกัปตันสาวผู้นี้จึงไม่ต่างไปจากข้อความที่เรามักได้ยินจากนักพูดหลายๆ ท่านที่หยิบมากระตุ้นกำลังใจตัวเอง
"ถ้าเราอยากจะลองทำอะไร ก็เริ่มทำ นักพูดหลายคนเขาก็ชอบพูดกันว่า การที่เราจะประสบความสำเร็จได้ มันไม่ใช่ความอยาก มันไม่ใช่ความใฝ่ฝัน แต่คือการลงมือทำ ถ้าเราไม่ทำ มันก็จะสำเร็จไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ก็แค่ลงมือทำก่อนเท่านั้น"
กัปตันสาวยิ้มกว้าง อย่างคนซึ่งยินดีกับชีวิตที่ผ่านมาและดำเนินอยู่
“เราก็เตรียมตัวของเราให้ดีที่สุด แล้วเราก็ใช้ความพยายามทุ่มเทของเราให้เต็มที่ สุดท้ายเราก็มีโอกาสมากขึ้นที่จะได้สิ่งที่หวัง ที่ตั้งใจ
“ก็อยากจะแนะนำน้องๆ ถ้าอยากเป็นนักบินมีใจรักทางนี้ ก็ต้องตั้งใจเตรียมเรื่องวิชาการความรู้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แล้วก็อาจจะไปลองดูว่าข้อสอบในการบินในปีก่อนๆ เป็นอย่างไร ก็ลองเปิดดู ทำดู ลองศึกษาข้อมูลจากสิ่งรอบๆ ตัว พี่เป็นกำลังใจให้
“ส่วนในเรื่องที่ว่าตนเองจะค้นหาสิ่งที่ชอบได้อย่างไร ก็อย่างที่บอก ทดลองแล้วก็กล้าที่จะลงมือ ถ้าไม่ได้ ไม่สำเร็จ มันก็อาจจะนำไปสู่โอกาสอื่นๆ ที่ดีถัดไป อย่าคิดว่าเสียเวลา หรืออย่างน้อยๆ เราก็ได้ลองทำเต็มที่แล้ว แต่ถ้าเราไม่ได้ลองทำ อันนั้นแหละอาจจะเป็นการเสียโอกาสจริงๆ”
เรื่อง: รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ: ศิวกร เสนสอน และเฟซบุ๊ก Parman Vasikasin