บทสัมภาษณ์ดังต่อไปนี้เป็นไปตามข้อตกลงในการไกล่เกลี่ยของศาลอาญากรุงเทพใต้ ระหว่าง นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ฝ่ายโจทก์ กับบุคคลในเครือ ASTV - ผู้จัดการ ฝ่ายจำเลย โดยที่ไม่ได้มีการสรุปว่าฝ่ายโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายถูกหรือผิดหรือไม่อย่างไร แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายโจทก์ได้ชี้แจงข้อมูลของฝ่ายตนเองในอีกด้านหนึ่งตามบทบาทของสื่อมวลชนเท่านั้น และมิได้มีความหมายว่าฝ่ายจำเลยจะเห็นด้วยตามคำชี้แจงของโจทก์หรือไม่อย่างไร และฝ่ายจำเลยไม่ได้รับผลตอบแทนหรือค่าโฆษณาจากคำสัมภาษณ์นี้ของโจทก์แต่ประการใด ("บทสัมภาษณ์ ปิยสวัสดิ์แจงทุกประเด็น “พลังงานไทย” (ตอนที่ 1) ได้มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 และบทสัมภาษณ์ ปิยสวัสดิ์แจงทุกประเด็น “พลังงานไทย” (ตอนจบ) ได้มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558")
กรณีที่สื่อมวลชนและโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊กหลายรายได้มีการนำเสนอข่าวพาดพิงเกี่ยวกับนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และ ปตท. จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม การอนุมัติ และต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม การขัดขวางมิให้มีการปราศรัยเรื่องพลังงานในเวทีการชุมนุมของ กปปส. การแปรรูป ปตท. และนโยบายทางด้านพลังงานที่เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนบางรายและนายทักษิณ ชินวัตร นายปิยสวัสดิ์ฯ จึงได้ชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
ถามมีการพูดกันว่าการตราพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ที่เกิดขึ้นในสมัยที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานนั้น ทำให้ประเทศได้รับความเสียหายและเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทน้ำมัน แท้จริงแล้วเหตุใดจึงมีการแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียม
ตอบ เหตุผลของการแก้ไขกฎหมายคือกระทรวงพลังงานพิจารณาเห็นว่าแหล่งปิโตรเลียมในประเทศส่วนใหญ่เป็นแหล่งขนาดเล็ก หรือมีสภาพทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อนต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงมาก แหล่งปิโตรเลียมหลายแหล่งก็เริ่มมีกำลังการผลิตลดต่ำลง รวมทั้งแหล่งต่างๆที่มีการให้สัมปทานในช่วงหลัง
ก็ค้นพบปิโตรเลียมน้อยลงมากดังจะเห็นได้ว่าปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ค้นพบจากการออกสัมปทานในรอบ 18 มีปริมาณเท่ากับการใช้ไม่ถึง 2 เดือน ผู้ประกอบการปิโตรเลียมมีความเสี่ยงในการลงทุนสูง ไม่จูงใจผู้ประกอบการให้ทำการสำรวจ หรือผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติม ทำให้ประเทศเสียโอกาสทางเศรษฐกิจในการนำทรัพยากรปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์ ต้องเข้าใจนะครับว่าประเทศไทยไม่ใช่ซาอุดีอาระเบียตะวันออกอย่างที่มีการกล่าวกัน ดังจะเห็นได้ว่ากว่า 55% ของพลังงานเชิงพาณิชย์ที่เราใช้นั้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มูลค่าการนำเข้าพลังงานสุทธิในช่วง 3 ปีที่ผ่านมากว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี นับว่าสูงที่สุดในอาเซียน โดยเฉพาะน้ำมันดิบที่ร้อยละ 85 นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดของไทย ในปัจจุบันการผลิตในประเทศก็ไม่เพียงพอตอบสนองความต้องการ โดยประมาณร้อยละ 22 นำเข้าทางท่อจากประเทศพม่าและนำเข้าในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ส่วนแนวโน้มในอนาคตนั้นน่าเป็นห่วงเพราะปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งในที่สุดจะมีผลให้การผลิตในประเทศลดลง และเราจะต้องนำเข้าทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
โดยสรุปการแก้กฎหมายก็เพื่อเป็นการจูงใจให้บริษัทพลังงานเข้ามาขอสัมปทานเพื่อสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว
ถามการตราพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 มีการดำเนินการโดยบุคคลใด
ตอบ การตรากฎหมายปิโตรเลียมฉบับดังกล่าวมีกระบวนการและจัดทำกันมาอย่างเป็นระบบด้วยความรอบคอบ ตั้งแต่ก่อนที่ผมจะเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อตุลาคม 2549 กล่าวคือ กระทรวงพลังงานได้ว่าจ้างคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ทำการศึกษาวิจัยว่าควรทำการแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียมในเรื่องใด ซึ่งผลการวิจัยก็ได้มีการเสนอต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และคณะกรรมการปิโตรเลียมตามลำดับ เมื่อคณะกรรมการปิโตรเลียมได้เห็นชอบร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้วก็ได้นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานซึ่งมีผมเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในขณะนั้นเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ และนำเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาตรวจร่าง ตามขั้นตอนก่อนที่จะนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งผมก็ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้ชี้แจงร่างพ.ร.บ. ปิโตรเลียมดังกล่าวต่อ สนช. ในวาระที่ 1 และเมื่อ สนช. เห็นชอบในวาระที่ 1 แล้วก็มีการมอบหมายให้คณะกรรมาธิการการพลังงานของ สนช. ทำการแปรญัตติเพื่อเสนอให้ สนช.ลงความเห็นในวาระที่ 2 และที่ 3 ผู้เสนอกฎหมายจึงเป็นคณะกรรมาธิการการพลังงาน ซึ่งผมก็ไม่ได้อยู่ในคณะกรรมาธิการและผู้ตรา พ.ร.บ. ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ก็คือ สนช.
ถาม เหตุใดพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 จึงมีการแก้ไขมาตรา 28 ยกเลิกการกำหนดจำนวนแปลงและพื้นที่สัมปทานปิโตรเลียม ซึ่งหมายความว่าใครก็สามารถครอบครองพื้นที่มากเท่าใดก็ได้หรือจะยึดครองทั้งประเทศเลยก็ย่อมได้
ตอบ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าการให้สัมปทานคืออะไร เอกชนที่ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมไปจากรัฐ เรียกว่า ผู้รับสัมปทาน ซึ่งจะได้รับสิทธิในการสำรวจ และในกรณีสำรวจพบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์แล้วจึงจะได้รับสิทธิในการผลิตและขายปิโตรเลียมนั้น โดยไม่ได้หมายรวมถึงสิทธิความเป็นเจ้าของหรือการเข้าครอบครองพื้นดินและทรัพยากรใต้ดินทั้งหมด ประชาชนยังครอบครองและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้เหมือนเดิม ยกเว้นพื้นที่ส่วนน้อยที่ใช้ดำเนินการขุดเจาะ หรือใช้ในการผลิต นอกจากนั้น การทำกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายปิโตรเลียมและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย รวมทั้งการขออนุมัติรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหากมีการผลิตปิโตรเลียมก็จะต้องชำระค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้แก่รัฐ โดยในปัจจุบันรัฐมีรายได้ภาษีจากการผลิตปิโตรเลียมเป็นเงินประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อปี เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อไป โดยระบบสัมปทานที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 ระบบคือ ระบบที่ใช้กับสัมปทานที่ให้ไปก่อน
พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 เรียกว่า ระบบ Thailand I และระบบที่ใช้กับสัมปทานที่ให้ไปหลัง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 เรียกว่า ระบบ Thailand III
ระบบ Thailand I กำหนดให้มีระยะเวลาสำรวจ 3 ช่วง รวมไม่เกิน 12 ปี และมีระยะเวลาผลิต 30 ปี ต่อได้ 10 ปี ผู้รับสัมปทานแต่ละรายมีสิทธิได้รับแปลงสำรวจไม่เกิน 4+1 แปลง โดยมีพื้นที่รวมกันไม่เกิน 50,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ในทะเลกำหนดให้มีขนาดแปลงละไม่เกิน 10,000 ตารางกิโลเมตร ผู้รับสัมปทานต้องทยอยคืนพื้นที่กลับคืนให้รัฐ ร้อยละ 50 ในปีที่ 5 ร้อยละ 75 ในปีที่ 8 และ คืนทั้งหมดเมื่อสิ้นระยะเวลาสำรวจ
พื้นที่ภายในแปลงสำรวจที่รัฐออกให้แก่ผู้รับสัมปทาน เรียกว่า “พื้นที่สำรวจ” ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ต้องลงทุนสำรวจหาปิโตรเลียมตามข้อผูกพันที่ได้ทำสัญญาไว้กับรัฐ ผู้ใดได้รับสิทธิสำรวจหลายแปลงก็มีโอกาสต้องจ่ายเงินลงทุนสูงตามไปด้วย จะถือสิทธิอยู่เฉย ๆ ไม่ได้
ในกรณีสำรวจพบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ ก่อนทำการผลิตผู้รับสัมปทานต้องได้รับอนุมัติกำหนดเป็น “พื้นที่ผลิต” เสียก่อนจึงจะทำการผลิตได้ โดยกำหนดขอบเขตของพื้นที่ที่พบปิโตรเลียมและบริเวณใกล้เคียงที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาเพื่อการผลิตเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิผลิตจะมีสิทธิขอสงวนพื้นที่สำรวจที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ผลิตไว้ได้ เพื่อทำการสำรวจและพัฒนาต่อ เรียกว่า “พื้นที่สงวน” โดยมีขนาดพื้นที่ไม่เกินร้อยละ 12.5 ของพื้นที่สำรวจเดิมของแปลงนั้น
ในปัจจุบันแปลงสำรวจทุกแปลง ภายใต้ระบบ Thailand I อยู่ในช่วงระยะเวลาผลิต ทั้งนี้ ไม่รวมแปลงที่มีปัญหาพื้นที่ทับซ้อนไทย - กัมพูชา
ระบบสัมปทานปัจจุบัน เรียกว่า Thailand III กำหนดให้มีช่วงระยะเวลาสำรวจ 2 ช่วง ๆ ละ 3 ปี รวมเป็น 6 ปี และถ้าจะลงทุนสำรวจต่อก็จะขอต่อได้อีก 3 ปี รวมระยะเวลาสำรวจทั้งหมดไม่เกิน 9 ปี โดยผู้รับสัมปทานต้องทยอยคืนพื้นที่กลับคืนให้รัฐ ร้อยละ 50 ในปีที่ 4 ร้อยละ 75 ในปีที่ 6 และคืนทั้งหมดเมื่อสิ้นระยะเวลาสำรวจ และให้มีระยะเวลาผลิต 20 ปี ต่อได้ 10 ปี โดยผู้รับสัมปทานแต่ละราย มีสิทธิได้รับแปลงสำรวจไม่เกิน 4+1 แปลง โดยมีพื้นที่รวมกันไม่เกิน 20,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่บนบก กำหนดให้มีขนาด แปลงละไม่เกิน 4,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ในทะเล ให้เป็นไปตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ดังนั้น พื้นที่ของสัมปทานใหม่จะครอบคลุมพื้นที่มากเพราะเป็นพื้นที่สำรวจ แต่พื้นที่ดังกล่าวจะลดลงเรื่อยๆหากไม่พบปิโตรเลียม นอกจากนั้น การได้รับสิทธิในการสำรวจก็มาพร้อมกับภาระและหน้าที่ที่ผู้รับสัมปทานจะต้องลงทุนในการสำรวจปิโตรเลียม การคืนพื้นที่เป็นการเร่งรัดให้ผู้รับสัมปทานดำเนินการสำรวจก่อนที่จะหมดสิทธิในพื้นที่ที่ได้รับ ถ้าไม่พบปิโตรเลียมผู้รับสัมปทานก็ขาดทุนแต่ประเทศจะได้ข้อมูลการสำรวจมาใช้ในการวางแผนในอนาคต และเราก็เห็นแล้วว่าโอกาสในการพบปิโตรเลียมในช่วงหลังลดลงเรื่อยๆ จึงเป็นความเสี่ยงที่ผู้รับสัมปทานต้องรับ
การแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียม เพื่อยกเลิกการกำหนดจำนวนแปลงสัมปทาน ก็เนื่องจากในความเป็นจริงผู้ประกอบการก็ใช้วิธีการตั้งเป็นบริษัทในเครือเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายให้ถือไม่เกิน 4-5 แปลงตามกฎหมายฉบับเดิมทำให้ไม่อาจมีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวได้ และที่สำคัญปัจจุบันแหล่งปิโตรเลียมของไทยเหลือน้อยลงไม่จูงใจเอกชนให้เสี่ยงมาลงทุน โดยเฉพาะต้องไม่ลืมว่าบริษัทน้ำมันนั้นเขามีทางเลือกในการลงทุนในประเทศต่างๆทั่วโลก การจำกัดจำนวนแปลงและพื้นที่เป็นการสร้างภาระโดยไม่จำเป็นเพราะสิ่งที่เราต้องการ คือ การจูงใจให้มีการลงทุนในการสำรวจปิโตรเลียมมากขึ้น และพื้นที่สำรวจที่ดูใหญ่นั้นก็ลดลงเรื่อย ๆ หากไม่มีการพบปิโตรเลียมและจะไม่เหลือเลยในที่สุด
ดังจะเห็นได้ว่า ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ก่อนที่ผมจะพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานประมาณ 1 เดือน ประเทศไทยมีการให้สัมปทานปิโตรเลียมและยังคงมีการดำเนินการอยู่ทั้งหมด 68 แปลง ประกอบด้วยพื้นที่สำรวจ 283,426 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ผลิต 15,566 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่สงวน 7,080 ตารางกิโลเมตร แต่เนื่องจากไม่มีการออกสัมปทานรอบที่ 21 จนถึงปัจจุบัน ผู้รับสัมปทานที่ไม่พบปิโตรเลียมจึงทยอยคืนแปลงสัมปทานและพื้นที่สำรวจ ดังจะเห็นได้ว่า ณ เดือนพฤษภาคม 2558 ประเทศไทยมีสัมปทานปิโตรเลียมและยังคงมีการดำเนินการอยู่ทั้งหมด 53 แปลง ประกอบด้วยพื้นที่สำรวจ 54,361 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ผลิต 18,437 ตารางกิโลเมตรและพื้นที่สงวน 12,125 ตารางกิโลเมตร แต่ถ้าหักพื้นที่สำรวจในพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชาซึ่งไม่สามารถดำเนินการใดๆได้เพราะยังไม่มีข้อตกลงระหว่างทั้งสองประเทศ จะมีสัมปทานเหลือ 48 แปลงและพื้นที่สำรวจเพียง 27,360 ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ผู้รับสัมปทานในรอบที่ 19 จำนวน 21 แปลง ได้คืนแปลงสัมปทานแล้ว 12 แปลงเนื่องจากไม่พบปิโตรเลียม มีเพียง 5 แปลงที่พบและผลิตปิโตรเลียมแล้วแต่ปริมาณการผลิตก็น้อยมาก โดยมีการลงทุนไปแล้วรวมทั้งหมดประมาณ 50,000 ล้านบาท ส่วนสัมปทานในรอบที่ 20 นั้นผู้รับสัมปทานได้แปลงสัมปทานทั้งหมด 28 แปลง ได้คืนแปลงสัมปทานแล้ว 21 แปลง มีการพบปิโตรเลียมเพียง 1 แปลงแต่ยังไม่มีการผลิต โดยมีการลงทุนไปแล้วรวมทั้งหมดประมาณ 18,000 ล้านบาท และจำนวนพื้นสำรวจจะลดลงต่อไปเนื่องจากใกล้เวลาสิ้นสุดระยะเวลาสำรวจสำหรับผู้ที่ได้รับสัมปทานในรอบที่ 19 และ 20 แล้ว
สิ่งที่ผมอยากฝากไว้ก็คือการสำรวจปิโตรเลียมมีความเสี่ยงสูง ในปัจจุบันเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงนี้และจากการเปิดสัมปทานในสองรอบที่ผ่านมาเราก็เห็นแล้วว่าผู้รับสัมปทานต้องใช้เงินจำนวนมากในการสำรวจและมีโอกาสสูงมากที่จะไม่พบปิโตรเลียม แต่มีการเสนอโดยผู้เชี่ยวชาญบางท่านให้รัฐเป็นผู้สำรวจเอง แล้วจึงเปิดประมูลแปลงสำรวจให้บริษัทน้ำมันไปดำเนินการพัฒนา ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือเป็นการใช้งบประมาณแผ่นดินที่เหมาะสมหรือไม่ และหากไม่พบปิโตรเลียม ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
ถามมีการกล่าวว่าผลงานของท่านในการแก้กฎหมายปิโตรเลียมที่ทำให้เอกชนถือครองแปลงสัมปทานได้โดยไม่มีกำหนดจำนวนแปลงพื้นที่สัมปทานนั้น เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนหลายรายโดยเฉพาะมูบาดาลาปิโตรเลียม ที่มีข่าวว่าเป็นของนายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งกล่าวกันว่าถือพื้นที่สัมปทานไว้ถึง 100,622 ตารางกิโลเมตร ในปี 2553 และบริษัทเชฟรอนที่กล่าวกันว่าถือพื้นที่สัมปทานไว้ถึง 72,742 ตารางกิโลเมตร ในปี 2553 ส่งผลให้ทุกวันนี้บริษัท เชฟรอน สามารถผลิตปิโตรเลียมได้เกินกว่าครึ่งของที่ผลิตในไทย
ตอบ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2550 นั้นมีผลใช้บังคับกับผู้รับสัมปทานทุกรายมิได้จำกัดหรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใด ในกรณีของบริษัทเชฟรอน ผมขอเรียนว่าบริษัท ยูโนแคล ได้สัมปทานที่ในปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตปิโตรเลียมที่สำคัญมาตั้งแต่ปี 2515 และต่อมาบริษัท เชฟรอน ซื้อบริษัท ยูโนแคล สัมปทานดังกล่าวจึงกลายเป็นของเชฟรอน ไม่ใช่เพิ่งมาได้สัมปทานสมัยที่ผมเป็นรัฐมนตรี สำหรับสัมปทานรอบที่ 19 นั้น เชฟรอนได้ไป 1 แปลง ก่อนที่ผมจะมารับตำแหน่งรัฐมนตรี และในรอบที่ 20 เชฟรอน ได้ไปอีก 1 แปลง แต่ก็เป็นการร่วมทุนกับบริษัทน้ำมันอื่น เช่น ปตท.สผ. และในปัจจุบันมีเพียง 1 แปลง คือ G4/48 หรือแหล่งยูงทอง ที่มีการผลิตก๊าซในเดือนกันยายน 2558 ในระดับ 2.8 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือ 0.02% ของการใช้ในประเทศ และน้ำมันดิบ 435 บาร์เรลต่อวัน หรือ 0.06% ของการใช้ในประเทศ ส่วนแปลง G8/50 มีการพบปิโตรเลียมแต่ยังไม่มีการผลิต เชฟรอนจึงไม่ได้รับประโยชน์ใดๆจากการแก้กฎหมายตามที่กล่าวอ้าง
สำหรับมูบาดาลาปิโตรเลียมนั้น ในสมัยที่ผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มีการพิจารณาอนุมัติสัมปทานรอบที่ 19 และ 20 ให้แก่บริษัท เพิร์ลออยล์ จำกัด ในปี 2550 จำนวน 5 แปลง และต่อมาในปี 2552 ในช่วงที่คุณหมอวรรณรัตน์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มีการอนุมัติสัมปทานในรอบที่ 20 ให้แก่ บริษัท เพิร์ลออยล์ อีก 3 แปลง แต่มีคนไปพูดเท็จให้ร้ายกันว่าที่เพิร์ลออยล์ได้รับสัมปทาน เพราะมีความเกี่ยวพันกับคุณทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นความเท็จทำให้ผมเสียหายทั้งสิ้น เพราะโดยความจริงแล้วที่บริษัทเพิร์ลออยล์ได้รับสัมปทานก็ได้มาโดยถูกต้องมีการเข้าร่วมประมูลแข่งขัน แต่เหตุที่มีชื่อมูบาดาลาเป็นผู้รับสัมปทาน เนื่องจากมูบาดาลาเข้ามาซื้อกิจการของเพิร์ลออยล์ในภายหลังจึงรับโอนสัมปทานจากบริษัท เพิร์ลออยล์ มาด้วย ที่มีการกล่าวอ้างว่าผมออกสัมปทานให้แก่มูบาดาลาจึงไม่จริง โดยมูบาดาลาปิโตรเลียมนั้นคือบริษัทน้ำมันของรัฐบาลอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีธุรกิจปิโตรเลียมในหลายประเทศซึ่งไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าคุณทักษิณ ชินวัตร มีผลประโยชน์ในบริษัท มูบาดาลา แต่อย่างใด
แปลงสำรวจทั้งหมด 5 แปลงที่เพิร์ลออยล์ได้รับในการเปิดสัมปทานรอบที่ 20 และต่อมามีการโอนบางแปลงให้แก่มูบาดาลาปิโตรเลียมนั้น ไม่พบปิโตรเลียมแม้แต่แปลงเดียวและได้คืนพื้นที่ให้แก่รัฐทั้งหมดแล้ว โดยปัจจุบันบริษัทมูบาดาลาปิโตรเลียม มีสัมปทานทั้งหมด 5 แปลง โดยในหลายกรณีเป็นการร่วมทุนกับบริษัทน้ำมันอื่น มีการค้นพบปิโตรเลียมและผลิตแล้วใน 3 แปลง คือ แปลง B5/27หรือแหล่งจัสมินกับแหล่งบานเย็นที่ได้สัมปทานตั้งแต่ปี 2532 และเพิร์ลออยล์ได้มาในปี 2546 ในเดือนกันยายน 2558 มีการผลิตน้ำมันดิบ 12,329 บาร์เรลต่อวัน หรือ 2% ของการใช้ในประเทศ ส่วนอีก 2 แปลงที่ได้จากการออกสัมปทานรอบที่ 19 คือแปลง G1/48 และ G11/48 หรือแหล่งมโนราห์และนงเยาว์ตามลำดับ มีการผลิตน้ำมันดิบในเดือนกันยายน 2558 ในระดับ 18,011 บาร์เรลต่อวัน หรือ 3% ของการใช้ในประเทศ
ถาม มีการกล่าวว่าตามปกติแล้วทุกประเทศจะมีการแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียมเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ประเทศไทยไม่ได้ส่วนแบ่งกำไรเลย โดยท่านยังแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม เพื่อให้สามารถลดหย่อนค่าภาคหลวงได้ร้อยละ 90 กรณีพื้นที่ที่มีปัญหา ไม่ต่างอะไรกับการไม่เก็บค่าภาคหลวงเลย
ตอบ การที่บอกว่าราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆนั้นไม่จริง เราก็เห็นแล้วว่าในปัจจุบันราคาลดเหลือประมาณ 40 - 50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลเทียบกับระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เมื่อปีที่แล้ว ส่วนที่บอกว่าตามปรกติแล้วทุกประเทศจะมีการแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียมเพื่อให้ได้เงินมากขึ้นก็ไม่จริง ข้อเท็จจริงก็คือส่วนแบ่งของรัฐจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งปิโตรเลียมใต้ดินเป็นหลัก หากเราพยายามเก็บมากแต่ความอุดมสมบูรณ์น้อย ผลก็คือไม่มีใครอยากมาลงทุน ไม่มีการพัฒนาปิโตรเลียมและรายได้ของรัฐที่คิดว่าจะได้ก็ไม่ได้เลย เช่น ในกรณีของประเทศกัมพูชาเป็นต้นที่จนทุกวันนี้ยังไม่มีการผลิตปิโตรเลียมแม้แต่หยดเดียว ดังนั้น เมื่อความอุดมสมบูรณ์ลดลงหรือแหล่งที่เหลือเป็นแหล่งที่ยากแก่การพัฒนาเช่นเป็นแหล่งในทะเลลึก เราก็เห็นหลายๆประเทศแก้ไขเงื่อนไขในการให้สัมปทานเพื่อลดส่วนแบ่งของรัฐเพื่อจูงใจให้มีการสำรวจมากขึ้น เช่น มาเลเซีย นอร์เวย์ และ เม็กซิโก เป็นต้น
ส่วนที่บอกว่าประเทศไทยไม่ได้ส่วนแบ่งกำไรเลยก็ไม่จริง รายได้ภาษีที่รัฐได้รับจากการผลิตปิโตรเลียมในปัจจุบันเป็นเงินจำนวนไม่น้อย กล่าวคือ หากมีการผลิตปิโตรเลียม ผู้ผลิตต้องชำระค่าภาคหลวงเท่ากับ 12.5% ของมูลค่าในกรณีที่เป็นระบบสัมปทาน Thailand I และเป็นขั้นบันไดในระดับ 5-15% ในกรณีของ Thailand III นอกจากนั้นยังต้องชำระภาษีเงินได้ปิโตรเลียมซึ่งกำหนดที่ 50% ไม่ใช่ 20% เหมือนภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไป และในกรณี Thailand III ยังต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ (SRB) ให้แก่รัฐในระดับ 0-75% ของกำไรหากกำไรสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง เช่นกรณีที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากหรือโครงสร้างทางธรณีวิทยาง่ายต่อการผลิต หรือเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่ขนาดใหญ่มากเป็นต้น และนี่คือข้อดีของระบบสัมปทาน Thailand III ที่มีความยืดหยุ่นสูง ถ้าพบมาก รัฐก็ได้มาก ถ้าราคาน้ำมันสูง รัฐก็ได้มาก ถ้าพบน้อยก็ยังผลิตได้โดยรัฐได้ส่วนแบ่งน้อยแต่ก็ดีกว่าไม่ได้เลย ปิโตรเลียมทิ้งไว้ใต้ดินก็ไร้ประโยชน์ โดยในปัจจุบันรัฐมีรายได้ภาษีทุกชนิดจากการผลิตปิโตรเลียมเป็นเงินประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อปี หากพิจารณาเปรียบเทียบกับส่วนแบ่งของบริษัทน้ำมันแล้วจะพบว่าในระบบ Thailand I ส่วนแบ่งของรัฐคือ 55% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ส่วนบริษัทน้ำมันได้ 45% และภายใต้ระบบ Thailand IIII ส่วนแบ่งของรัฐจะเพิ่มเป็น 72% ส่วนบริษัทน้ำมันได้ 28% บริษัทที่ปรึกษา Daniel Johnston ได้ทำการวิเคราะห์ส่วนแบ่งรายได้ของรัฐของประเทศต่างๆทั่วโลกโดยเปรียบเทียบกับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรใต้ดิน พบว่าระบบสัมปทาน Thailand III ในปัจจุบันได้สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาลไทยในระดับที่เป็นธรรมและเหมาะสมแล้ว
อย่างไรก็ดี เนื่องจากแหล่งปิโตรเลียมจำนวนหนึ่งเป็นแหล่งที่เล็กมากหรือเป็นแหล่งปิโตรเลียมเก่าที่ใกล้จะหมด ไม่คุ้มกับการลงทุน การที่เรากำหนดค่าภาคหลวงไว้ 5 - 15% ก็อาจเพียงพอที่จะทำให้ไม่มีการลงทุนเพราะผู้รับสัมปทานต้องจ่ายเงินจำนวนนี้แก่รัฐทันทีที่ผลิตปิโตรเลียม ไม่ว่าจะมีกำไรหรือไม่ ดังนั้นเพื่อให้มีแรงจูงใจในการผลิตในแหล่งเล็กๆเหล่านี้ จึงมีการแก้ไขมาตรา 99 ทวิและมาตรา 99 ตรีของ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม เพื่อให้รัฐสามารถลดหย่อนค่าภาคหลวงได้ 90% แต่ในกฎหมายก็เขียนกระบวนการและขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ได้ส่วนลด และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการให้ส่วนลดแก่ผู้รับสัมปทานรายใด หากการให้ส่วนลดค่าภาคหลวงทำให้มีการผลิตมากขึ้นซึ่งประเทศก็จะได้ประโยชน์จากการผลิตปิโตรเลียม การจ้างงาน และรายได้ค่าภาคหลวงแม้ว่าเป็นจำนวนไม่มากก็ตาม ก็ยังดีกว่าการไม่ได้รับรายได้เลยเพราะไม่มีการผลิตปิโตรเลียม แต่หากมีการผลิตเพิ่มขึ้นจนบริษัทมีกำไร รัฐก็จะสามารถเก็บภาษีเงินได้ 50% และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ รวมถึงประเทศสามารถลดการนำเข้าปิโตรเลียมได้อีกด้วย
ถาม มีการกล่าวว่าวีรกรรมของท่านอีกประการหนึ่งคือการอนุมัติการต่อสัมปทานปิโตรเลียมให้แก่บริษัทเชฟรอนฯล่วงหน้าก่อนหมดอายุสัมปทานถึง 5 ปี เหตุไฉนกระทรวงพลังงานจึงเร่งร้อนอนุมัติให้ก่อน
ตอบ ต้องถือว่าเป็นวีรกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยส่วนรวม ในเมื่อผมได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศเราก็ต้องทำ ผมทราบอยู่แล้วว่าประเด็นการต่อระยะเวลาการผลิตจะต้องมีคนหยิบยกขึ้นมาโจมตีว่าการต่อระยะเวลาการผลิตนี้เป็นการต่อสัมปทานให้แก่ เชฟรอน และ ปตท.สผ. ขอย้ำว่า เป็นการต่อระยะเวลาการผลิตภายใต้สัมปทานเดิม ไม่ใช่การต่อสัมปทานครับ แหล่งสัมปทานในอ่าวไทยดังกล่าว ได้แก่ แปลง B10/11/12/13 ดำเนินการโดยเชฟรอน และ B15/16/17 ดำเนินการโดย ปตท.สผ. ซึ่งก็คือ แหล่งบงกชนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันผลิตก๊าซธรรมชาติถึง 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือ 50% ของการจัดหาก๊าซฯของประเทศไทย สัมปทานเหล่านี้เป็นสัมปทานที่บริษัทได้มานานแล้วภายใต้ระบบ Thailand I ซึ่งมีระยะเวลาการผลิต 30 ปีและต่อได้อีก 10 ปี ตามมาตรา 26 ของ พรบ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และมาตรา 35, 36 ของ พรบ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2532 ที่กำหนดให้เป็นสิทธิของผู้รับสัมปทานที่จะต่อภายใต้ Thailand I หากปฏิบัติตามสัมปทานทุกประการ แต่ทั้งนี้กระทรวงพลังงานได้เจรจาให้ผู้รับสัมปทานจ่ายเงินผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมจาก Thailand I คาดว่าเป็นเงินประมาณ 6 หมื่นล้านบาทในช่วง 10 ปี
เหตุผลที่ต้องต่อระยะเวลาการผลิตล่วงหน้าหลายปี ก็คือ แหล่งปิโตรเลียมของไทยเป็นกระเปาะเล็ก ๆ ผู้รับสัมปทานต้องเจาะหลุมใหม่ตลอดเวลาเพื่อให้มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพราะหลุมแต่ละหลุมจะไม่สามารถผลิตปิโตรเลียมได้นาน และนี่คือสาเหตุที่ประเทศไทยมีหลุมผลิตปิโตรเลียมจำนวนมาก เช่นในกรณีของแหล่งบงกชเหนือเรามีหลุมผลิต 334 หลุม การผลิตต่อหลุม 1.8 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในขณะที่แหล่งในประเทศอื่นแต่ละหลุมสามารถผลิตปิโตรเลียมได้เป็นระยะเวลานานและปริมาณการผลิตต่อหลุมสูงกว่ามาก เช่นแหล่งยาดานาในพม่า มีเพียง 17 หลุม การผลิตต่อหลุมเฉลี่ย 45 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ดังนั้น หากไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการต่อระยะเวลาการผลิตหรือไม่ ผู้รับสัมปทานก็จะลดการลงทุนเพราะมีความเสี่ยงว่าลงทุนไปแล้วไม่สามารถผลิตปิโตรเลียมได้เกินระยะเวลาในสัญญา ผลที่จะตามมาก็คือการผลิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว และบัดนี้ปัญหานี้ก็กลับมาที่รัฐบาลอีกครั้ง คือ สัญญาที่ต่อระยะเวลาการผลิตไปอีก 10 ปี ที่อนุมัติไปเมื่อ 8 ปีมาแล้วกำลังจะหมด ซึ่งครั้งนี้จะเป็นการสิ้นสุดสัมปทานเลย
ถามการเสนอข่าวว่าท่านมีความเกี่ยวพันและทำการต่าง ๆ เอื้อประโยชน์กับคุณทักษิณ ชินวัตร ความจริงแล้วเป็นเช่นไร
ตอบ ผมรู้จักคุณทักษิณในฐานะข้าราชการคนหนึ่งที่รับราชการในช่วงแรกของรัฐบาลทักษิณ และไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวใดๆกับคุณทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งตลอดระยะเวลาการทำหน้าที่ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือตำแหน่งอื่นใดก็ไม่เคยกระทำการสนองนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่คุณทักษิณฯ เป็นการส่วนตัว มิฉะนั้นผมคงไม่ถูกย้ายออกจากตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์หลังจากที่คุณทักษิณมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ 4 เดือน นอกจากนี้ ผมยังเคยไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการแปรรูปปตท.ของยุครัฐบาลทักษิณ ที่มิได้มีการแยกกิจการท่อก๊าซออกเป็นบริษัทในเครือของ ปตท. ก่อนการจดทะเบียน ปตท. เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น เมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 เมื่อผมถูกย้ายจากอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กลับมาเป็นเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ผมจึงได้ผลักดันให้มีมติคณะรัฐมนตรีแยกระบบท่อออกเป็นบริษัทในเครือของ ปตท. ภายในหนึ่งปีหลังการแปรรูปและเปิดให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการผ่านท่อได้ หรือที่เรียกว่า Third Party Access ซึ่งเท่ากับการลดการผูกขาดในการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯของ ปตท. และให้เร่งออก พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงานเพื่อตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการก๊าซฯและไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลในการโอนอำนาจรัฐทั้งหมดออกมาจาก บมจ.ปตท. หลังจากนั้น ผมก็ถูกย้ายไปเป็นรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งแต่กลางปี 2545 และต้นปี 2546 ก็ลาออกจากราชการ โดยรัฐบาลทักษิณก็ไม่ได้ดำเนินการแยกท่อก๊าซฯหรือออก พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน ต่อมาเมื่อผมได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จึงเข้ามาเพื่อแก้ไขสิ่งที่ยังค้างจากปี 2544 คือ การออก พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน
ถาม ผลงานชิ้นโบดำของท่านที่อดจะกล่าวไม่ได้ก็คือการแปรรูป ปตท. ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อปี 2550 ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีคำพิพากษาเพียง 3 วัน สภานิติบัญญัติแห่งชาติในช่วงรัฐบาลพลเอก สรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ออก พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เพื่อมาแก้ไขความไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมายของการแปรรูป ปตท. ศาลฯจึงตัดสินแค่เอาท่อส่งก๊าซที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินกลับคืนมา ซึ่งบัดนี้ ปตท. ก็ยังคืนไม่ครบ
ตอบ แม้ว่า พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงานจะเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาว แต่การดำเนินการทำได้ค่อนข้างเร็วเพราะมีร่างเดิมอยู่แล้วที่ผ่านคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2543 ในช่วงปลายรัฐบาล นายชวน หลีกภัย ทำให้ลดขั้นตอนได้มาก แต่การพิจารณาก็เป็นไปอย่างรอบคอบ และมีการเปิดรับฟังความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตลอด เมื่อผ่าน สนช. ในวาระแรกแล้ว ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อแปรญัตติ โดยมีผู้แทนจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเป็นกรรมาธิการด้วย ดังนั้นมูลนิธิฯย่อมทราบดีตลอดว่ารัฐบาลกำลังทำอะไร กฎหมายดังกล่าวได้ผ่าน สนช. ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2550 ไม่ใช่ 3 วันก่อนคำพิพากษาอย่างที่กล่าวอ้าง หลังจากที่ผ่าน สนช.แล้วก็มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ ทำให้ไม่สามารถประกาศลงราชกิจจาฯได้จนวันที่ 10 ธันวาคม และมีผลบังคับใช้ 11 ธันวาคม 2550
ณ ตอนนั้นผมเองก็ไม่ทราบว่าศาลฯจะมีคำพิพากษาอย่างไร แต่ก็ดีใจที่ศาลฯเห็นว่าความไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมายของการแปรรูป ปตท. ได้รับการแก้ไขโดย พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงานแล้ว เพียงตัดสินแค่เอาที่ดินและท่อส่งก๊าซฯที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินกลับคืนมา เพราะหากศาลพิพากษาให้เพิกถอนการแปรรูปเช่นในกรณีของ กฟผ. ผลกระทบต่อตลาดทุน ตลาดเงิน และเศรษฐกิจไทยจะรุนแรงมาก
ส่วนประเด็นว่าบัดนี้ ปตท. ยังคืนท่อก๊าซไม่ครบนั้น คงต้องอธิบายยาว แต่ในชั้นนี้ขอพูดสั้น ๆ ว่า ศาลปกครองได้มีคำสั่งเรื่องนี้หลายครั้งแล้วว่า ปตท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอันที่จริงผู้ที่จะบอกว่า ปตท.คืนท่อครบหรือไม่ครบตามคำพิพากษาของศาลได้ก็คือศาลเท่านั้น ไม่ใช่นักวิชาการหรือองค์กรอื่นของรัฐ ทั้งนี้ ปตท. ก็ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคำวินิจฉัยของศาลฯ จนศาลมีคำสั่งเป็นที่สุดแล้ว ปตท.จึงไม่อาจดำเนินการให้แตกต่างไปได้ มิฉะนั้นอาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ รวมทั้งมีความเสี่ยงที่คณะกรรมการอาจต้องรับผิดตามกฎหมายต่าง ๆ
ถาม มีการล่าวว่าท่านผลักดันให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติให้แยกท่อก๊าซฯ ออกมาเป็นบริษัทในเครือของ ปตท. ซึ่งไม่น่าชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการขายสมบัติของชาติครั้งที่ 2 ถ้าจะแยกท่อออกมาจาก ปตท. ต้องให้รัฐถือหุ้น 100% ใช่หรือไม่
ตอบ การกำหนดให้ ปตท.ดำเนินการแยกกิจการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ออกไปในรูปบริษัทในเครือที่ ปตท. ถือหุ้น 100% พร้อมกับการเปิดให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการผ่านท่อหรือที่เรียกว่า Third Party Access เป็นส่วนหนึ่งของมติ ครม. เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2542 ในช่วงรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย ตามข้อเสนอของ กพช. เรื่องแนวทางในการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศระยะยาว เพื่อเป็นการลดการผูกขาดของ ปตท.ในกิจการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ ซึ่งประโยชน์จะตกแก่ผู้บริโภค ส่วน ปตท. เองไม่ได้ประโยชน์แต่อย่างใดจากนโยบายดังกล่าว ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวไม่ขัดกับกฎหมายแต่อย่างใด โดยเฉพาะ พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ได้โอนอำนาจรัฐเกี่ยวกับกิจการก๊าซฯออกมาจาก ปตท. แล้วทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังไม่ได้มีการดำเนินการตามมติ ครม.ดังกล่าว กพช. จึงมีมติเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2557 เห็นชอบในหลักการให้ ปตท. รับไปดำเนินการแยกกิจการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้เป็นไปตามมติครม.ในปี 2542 โดยได้มีการเปิดให้บุคคลที่สามใช้บริการผ่านท่อบนบกได้แล้วตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2558 และคาดว่า ในปี 2559 จะเปิดให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการผ่านท่อในทะเลได้ อย่างไรก็ตาม การแยกกิจการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกไปจาก ปตท. ได้รับการคัดค้านจากบุคคลบางกลุ่ม กพช. จึงให้ชะลอการดำเนินการดังกล่าวตามมติเอาไว้ก่อน
ส่วนประเด็นที่ว่าทำไมจึงไม่ให้รัฐเข้ามาถือหุ้น 100% ก็ต้องเข้าใจว่า ท่อก๊าซในส่วนที่เป็นการลงทุนโดย ปตท. นั้น รัฐโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ปตท. อยู่แล้ว ส่วนการที่รัฐจะเป็นผู้ดำเนินการเองโดยถือหุ้นทั้ง 100% ในท่อก๊าซที่ได้รับโอนคืนกลับไปนั้น รัฐจะต้องมั่นใจว่ามีบุคลากร และงบประมาณ มาดำเนินการ เพราะจะต้องมีการลงทุนเพื่อดูแลรักษา และซ่อมแซมให้ท่อก๊าซมีความพร้อมสำหรับการให้บริการอยู่ตลอดเวลาด้วย
ถาม ตามที่มีการพูดว่าคุณปิยสวัสดิ์ เป็นผู้ขัดขวางการปฎิรูปพลังงานโดยมิให้มีการพูดเรื่องพลังงานบนเวทีของ กปปส. ความจริงแล้วเป็นเช่นไร
ตอบ ผมไม่ได้เป็นแกนนำ กปปส. และไม่มีอำนาจจัดการใด ๆ บนเวที กปปส. แต่ในช่วงการชุมนุมผมได้รับเชิญจากแกนนำกลุ่ม กปปส. ให้ปราศรัยประเด็นเรื่องพลังงานของประเทศร่วมกันกับผู้ปราศรัยอีก 2 ท่านที่เวทีปทุมวัน แต่เมื่อได้มีการพูดคุยปรึกษาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงก่อนที่จะขึ้นเวทีแล้วพบว่ามีแนวความคิดที่ไม่สอดคล้องกัน ทุกฝ่ายจึงเห็นพ้องกันว่าไม่ควรขึ้นปราศรัยในหัวข้อดังกล่าวเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนจึงมีการแจ้งแกนนำ กปปส. ขอยกเลิกการปราศรัยในหัวข้อดังกล่าว แต่เนื่องจากแกนนำ กปปส. ไม่สามารถหาผู้ขึ้นมาปราศรัยในช่วงเวลาดังกล่าวบนเวทีได้จึงเชิญให้ผมขึ้นไปปราศรัยในหัวข้อเรื่อง “การบริหารรัฐวิสาหกิจ” จึงเป็นเหตุให้คนที่ไม่รู้ความจริงกล่าวหาว่าผมขัดขวางการปฏิรูปพลังงานโดยขัดขวางไม่ให้มีการปราศรัยเรื่องพลังงานบนเวที กปปส.
กรณีที่สื่อมวลชนและโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊กหลายรายได้มีการนำเสนอข่าวพาดพิงเกี่ยวกับนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ และ ปตท. จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม การอนุมัติ และต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียม การขัดขวางมิให้มีการปราศรัยเรื่องพลังงานในเวทีการชุมนุมของ กปปส. การแปรรูป ปตท. และนโยบายทางด้านพลังงานที่เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนบางรายและนายทักษิณ ชินวัตร นายปิยสวัสดิ์ฯ จึงได้ชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
ถามมีการพูดกันว่าการตราพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ที่เกิดขึ้นในสมัยที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานนั้น ทำให้ประเทศได้รับความเสียหายและเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทน้ำมัน แท้จริงแล้วเหตุใดจึงมีการแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียม
ตอบ เหตุผลของการแก้ไขกฎหมายคือกระทรวงพลังงานพิจารณาเห็นว่าแหล่งปิโตรเลียมในประเทศส่วนใหญ่เป็นแหล่งขนาดเล็ก หรือมีสภาพทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อนต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงมาก แหล่งปิโตรเลียมหลายแหล่งก็เริ่มมีกำลังการผลิตลดต่ำลง รวมทั้งแหล่งต่างๆที่มีการให้สัมปทานในช่วงหลัง
ก็ค้นพบปิโตรเลียมน้อยลงมากดังจะเห็นได้ว่าปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ค้นพบจากการออกสัมปทานในรอบ 18 มีปริมาณเท่ากับการใช้ไม่ถึง 2 เดือน ผู้ประกอบการปิโตรเลียมมีความเสี่ยงในการลงทุนสูง ไม่จูงใจผู้ประกอบการให้ทำการสำรวจ หรือผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติม ทำให้ประเทศเสียโอกาสทางเศรษฐกิจในการนำทรัพยากรปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์ ต้องเข้าใจนะครับว่าประเทศไทยไม่ใช่ซาอุดีอาระเบียตะวันออกอย่างที่มีการกล่าวกัน ดังจะเห็นได้ว่ากว่า 55% ของพลังงานเชิงพาณิชย์ที่เราใช้นั้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มูลค่าการนำเข้าพลังงานสุทธิในช่วง 3 ปีที่ผ่านมากว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี นับว่าสูงที่สุดในอาเซียน โดยเฉพาะน้ำมันดิบที่ร้อยละ 85 นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดของไทย ในปัจจุบันการผลิตในประเทศก็ไม่เพียงพอตอบสนองความต้องการ โดยประมาณร้อยละ 22 นำเข้าทางท่อจากประเทศพม่าและนำเข้าในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ส่วนแนวโน้มในอนาคตนั้นน่าเป็นห่วงเพราะปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งในที่สุดจะมีผลให้การผลิตในประเทศลดลง และเราจะต้องนำเข้าทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
โดยสรุปการแก้กฎหมายก็เพื่อเป็นการจูงใจให้บริษัทพลังงานเข้ามาขอสัมปทานเพื่อสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาว
ถามการตราพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 มีการดำเนินการโดยบุคคลใด
ตอบ การตรากฎหมายปิโตรเลียมฉบับดังกล่าวมีกระบวนการและจัดทำกันมาอย่างเป็นระบบด้วยความรอบคอบ ตั้งแต่ก่อนที่ผมจะเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อตุลาคม 2549 กล่าวคือ กระทรวงพลังงานได้ว่าจ้างคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ทำการศึกษาวิจัยว่าควรทำการแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียมในเรื่องใด ซึ่งผลการวิจัยก็ได้มีการเสนอต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และคณะกรรมการปิโตรเลียมตามลำดับ เมื่อคณะกรรมการปิโตรเลียมได้เห็นชอบร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้วก็ได้นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานซึ่งมีผมเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในขณะนั้นเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการ และนำเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาตรวจร่าง ตามขั้นตอนก่อนที่จะนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งผมก็ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้ชี้แจงร่างพ.ร.บ. ปิโตรเลียมดังกล่าวต่อ สนช. ในวาระที่ 1 และเมื่อ สนช. เห็นชอบในวาระที่ 1 แล้วก็มีการมอบหมายให้คณะกรรมาธิการการพลังงานของ สนช. ทำการแปรญัตติเพื่อเสนอให้ สนช.ลงความเห็นในวาระที่ 2 และที่ 3 ผู้เสนอกฎหมายจึงเป็นคณะกรรมาธิการการพลังงาน ซึ่งผมก็ไม่ได้อยู่ในคณะกรรมาธิการและผู้ตรา พ.ร.บ. ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ก็คือ สนช.
ถาม เหตุใดพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 จึงมีการแก้ไขมาตรา 28 ยกเลิกการกำหนดจำนวนแปลงและพื้นที่สัมปทานปิโตรเลียม ซึ่งหมายความว่าใครก็สามารถครอบครองพื้นที่มากเท่าใดก็ได้หรือจะยึดครองทั้งประเทศเลยก็ย่อมได้
ตอบ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าการให้สัมปทานคืออะไร เอกชนที่ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมไปจากรัฐ เรียกว่า ผู้รับสัมปทาน ซึ่งจะได้รับสิทธิในการสำรวจ และในกรณีสำรวจพบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์แล้วจึงจะได้รับสิทธิในการผลิตและขายปิโตรเลียมนั้น โดยไม่ได้หมายรวมถึงสิทธิความเป็นเจ้าของหรือการเข้าครอบครองพื้นดินและทรัพยากรใต้ดินทั้งหมด ประชาชนยังครอบครองและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้เหมือนเดิม ยกเว้นพื้นที่ส่วนน้อยที่ใช้ดำเนินการขุดเจาะ หรือใช้ในการผลิต นอกจากนั้น การทำกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายปิโตรเลียมและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย รวมทั้งการขออนุมัติรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหากมีการผลิตปิโตรเลียมก็จะต้องชำระค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้แก่รัฐ โดยในปัจจุบันรัฐมีรายได้ภาษีจากการผลิตปิโตรเลียมเป็นเงินประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อปี เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อไป โดยระบบสัมปทานที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 ระบบคือ ระบบที่ใช้กับสัมปทานที่ให้ไปก่อน
พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 เรียกว่า ระบบ Thailand I และระบบที่ใช้กับสัมปทานที่ให้ไปหลัง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 เรียกว่า ระบบ Thailand III
ระบบ Thailand I กำหนดให้มีระยะเวลาสำรวจ 3 ช่วง รวมไม่เกิน 12 ปี และมีระยะเวลาผลิต 30 ปี ต่อได้ 10 ปี ผู้รับสัมปทานแต่ละรายมีสิทธิได้รับแปลงสำรวจไม่เกิน 4+1 แปลง โดยมีพื้นที่รวมกันไม่เกิน 50,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ในทะเลกำหนดให้มีขนาดแปลงละไม่เกิน 10,000 ตารางกิโลเมตร ผู้รับสัมปทานต้องทยอยคืนพื้นที่กลับคืนให้รัฐ ร้อยละ 50 ในปีที่ 5 ร้อยละ 75 ในปีที่ 8 และ คืนทั้งหมดเมื่อสิ้นระยะเวลาสำรวจ
พื้นที่ภายในแปลงสำรวจที่รัฐออกให้แก่ผู้รับสัมปทาน เรียกว่า “พื้นที่สำรวจ” ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ต้องลงทุนสำรวจหาปิโตรเลียมตามข้อผูกพันที่ได้ทำสัญญาไว้กับรัฐ ผู้ใดได้รับสิทธิสำรวจหลายแปลงก็มีโอกาสต้องจ่ายเงินลงทุนสูงตามไปด้วย จะถือสิทธิอยู่เฉย ๆ ไม่ได้
ในกรณีสำรวจพบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ ก่อนทำการผลิตผู้รับสัมปทานต้องได้รับอนุมัติกำหนดเป็น “พื้นที่ผลิต” เสียก่อนจึงจะทำการผลิตได้ โดยกำหนดขอบเขตของพื้นที่ที่พบปิโตรเลียมและบริเวณใกล้เคียงที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาเพื่อการผลิตเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิผลิตจะมีสิทธิขอสงวนพื้นที่สำรวจที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ผลิตไว้ได้ เพื่อทำการสำรวจและพัฒนาต่อ เรียกว่า “พื้นที่สงวน” โดยมีขนาดพื้นที่ไม่เกินร้อยละ 12.5 ของพื้นที่สำรวจเดิมของแปลงนั้น
ในปัจจุบันแปลงสำรวจทุกแปลง ภายใต้ระบบ Thailand I อยู่ในช่วงระยะเวลาผลิต ทั้งนี้ ไม่รวมแปลงที่มีปัญหาพื้นที่ทับซ้อนไทย - กัมพูชา
ระบบสัมปทานปัจจุบัน เรียกว่า Thailand III กำหนดให้มีช่วงระยะเวลาสำรวจ 2 ช่วง ๆ ละ 3 ปี รวมเป็น 6 ปี และถ้าจะลงทุนสำรวจต่อก็จะขอต่อได้อีก 3 ปี รวมระยะเวลาสำรวจทั้งหมดไม่เกิน 9 ปี โดยผู้รับสัมปทานต้องทยอยคืนพื้นที่กลับคืนให้รัฐ ร้อยละ 50 ในปีที่ 4 ร้อยละ 75 ในปีที่ 6 และคืนทั้งหมดเมื่อสิ้นระยะเวลาสำรวจ และให้มีระยะเวลาผลิต 20 ปี ต่อได้ 10 ปี โดยผู้รับสัมปทานแต่ละราย มีสิทธิได้รับแปลงสำรวจไม่เกิน 4+1 แปลง โดยมีพื้นที่รวมกันไม่เกิน 20,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่บนบก กำหนดให้มีขนาด แปลงละไม่เกิน 4,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ในทะเล ให้เป็นไปตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ดังนั้น พื้นที่ของสัมปทานใหม่จะครอบคลุมพื้นที่มากเพราะเป็นพื้นที่สำรวจ แต่พื้นที่ดังกล่าวจะลดลงเรื่อยๆหากไม่พบปิโตรเลียม นอกจากนั้น การได้รับสิทธิในการสำรวจก็มาพร้อมกับภาระและหน้าที่ที่ผู้รับสัมปทานจะต้องลงทุนในการสำรวจปิโตรเลียม การคืนพื้นที่เป็นการเร่งรัดให้ผู้รับสัมปทานดำเนินการสำรวจก่อนที่จะหมดสิทธิในพื้นที่ที่ได้รับ ถ้าไม่พบปิโตรเลียมผู้รับสัมปทานก็ขาดทุนแต่ประเทศจะได้ข้อมูลการสำรวจมาใช้ในการวางแผนในอนาคต และเราก็เห็นแล้วว่าโอกาสในการพบปิโตรเลียมในช่วงหลังลดลงเรื่อยๆ จึงเป็นความเสี่ยงที่ผู้รับสัมปทานต้องรับ
การแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียม เพื่อยกเลิกการกำหนดจำนวนแปลงสัมปทาน ก็เนื่องจากในความเป็นจริงผู้ประกอบการก็ใช้วิธีการตั้งเป็นบริษัทในเครือเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายให้ถือไม่เกิน 4-5 แปลงตามกฎหมายฉบับเดิมทำให้ไม่อาจมีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวได้ และที่สำคัญปัจจุบันแหล่งปิโตรเลียมของไทยเหลือน้อยลงไม่จูงใจเอกชนให้เสี่ยงมาลงทุน โดยเฉพาะต้องไม่ลืมว่าบริษัทน้ำมันนั้นเขามีทางเลือกในการลงทุนในประเทศต่างๆทั่วโลก การจำกัดจำนวนแปลงและพื้นที่เป็นการสร้างภาระโดยไม่จำเป็นเพราะสิ่งที่เราต้องการ คือ การจูงใจให้มีการลงทุนในการสำรวจปิโตรเลียมมากขึ้น และพื้นที่สำรวจที่ดูใหญ่นั้นก็ลดลงเรื่อย ๆ หากไม่มีการพบปิโตรเลียมและจะไม่เหลือเลยในที่สุด
ดังจะเห็นได้ว่า ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ก่อนที่ผมจะพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานประมาณ 1 เดือน ประเทศไทยมีการให้สัมปทานปิโตรเลียมและยังคงมีการดำเนินการอยู่ทั้งหมด 68 แปลง ประกอบด้วยพื้นที่สำรวจ 283,426 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ผลิต 15,566 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่สงวน 7,080 ตารางกิโลเมตร แต่เนื่องจากไม่มีการออกสัมปทานรอบที่ 21 จนถึงปัจจุบัน ผู้รับสัมปทานที่ไม่พบปิโตรเลียมจึงทยอยคืนแปลงสัมปทานและพื้นที่สำรวจ ดังจะเห็นได้ว่า ณ เดือนพฤษภาคม 2558 ประเทศไทยมีสัมปทานปิโตรเลียมและยังคงมีการดำเนินการอยู่ทั้งหมด 53 แปลง ประกอบด้วยพื้นที่สำรวจ 54,361 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ผลิต 18,437 ตารางกิโลเมตรและพื้นที่สงวน 12,125 ตารางกิโลเมตร แต่ถ้าหักพื้นที่สำรวจในพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชาซึ่งไม่สามารถดำเนินการใดๆได้เพราะยังไม่มีข้อตกลงระหว่างทั้งสองประเทศ จะมีสัมปทานเหลือ 48 แปลงและพื้นที่สำรวจเพียง 27,360 ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ผู้รับสัมปทานในรอบที่ 19 จำนวน 21 แปลง ได้คืนแปลงสัมปทานแล้ว 12 แปลงเนื่องจากไม่พบปิโตรเลียม มีเพียง 5 แปลงที่พบและผลิตปิโตรเลียมแล้วแต่ปริมาณการผลิตก็น้อยมาก โดยมีการลงทุนไปแล้วรวมทั้งหมดประมาณ 50,000 ล้านบาท ส่วนสัมปทานในรอบที่ 20 นั้นผู้รับสัมปทานได้แปลงสัมปทานทั้งหมด 28 แปลง ได้คืนแปลงสัมปทานแล้ว 21 แปลง มีการพบปิโตรเลียมเพียง 1 แปลงแต่ยังไม่มีการผลิต โดยมีการลงทุนไปแล้วรวมทั้งหมดประมาณ 18,000 ล้านบาท และจำนวนพื้นสำรวจจะลดลงต่อไปเนื่องจากใกล้เวลาสิ้นสุดระยะเวลาสำรวจสำหรับผู้ที่ได้รับสัมปทานในรอบที่ 19 และ 20 แล้ว
สิ่งที่ผมอยากฝากไว้ก็คือการสำรวจปิโตรเลียมมีความเสี่ยงสูง ในปัจจุบันเอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงนี้และจากการเปิดสัมปทานในสองรอบที่ผ่านมาเราก็เห็นแล้วว่าผู้รับสัมปทานต้องใช้เงินจำนวนมากในการสำรวจและมีโอกาสสูงมากที่จะไม่พบปิโตรเลียม แต่มีการเสนอโดยผู้เชี่ยวชาญบางท่านให้รัฐเป็นผู้สำรวจเอง แล้วจึงเปิดประมูลแปลงสำรวจให้บริษัทน้ำมันไปดำเนินการพัฒนา ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือเป็นการใช้งบประมาณแผ่นดินที่เหมาะสมหรือไม่ และหากไม่พบปิโตรเลียม ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
ถามมีการกล่าวว่าผลงานของท่านในการแก้กฎหมายปิโตรเลียมที่ทำให้เอกชนถือครองแปลงสัมปทานได้โดยไม่มีกำหนดจำนวนแปลงพื้นที่สัมปทานนั้น เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนหลายรายโดยเฉพาะมูบาดาลาปิโตรเลียม ที่มีข่าวว่าเป็นของนายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งกล่าวกันว่าถือพื้นที่สัมปทานไว้ถึง 100,622 ตารางกิโลเมตร ในปี 2553 และบริษัทเชฟรอนที่กล่าวกันว่าถือพื้นที่สัมปทานไว้ถึง 72,742 ตารางกิโลเมตร ในปี 2553 ส่งผลให้ทุกวันนี้บริษัท เชฟรอน สามารถผลิตปิโตรเลียมได้เกินกว่าครึ่งของที่ผลิตในไทย
ตอบ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2550 นั้นมีผลใช้บังคับกับผู้รับสัมปทานทุกรายมิได้จำกัดหรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใด ในกรณีของบริษัทเชฟรอน ผมขอเรียนว่าบริษัท ยูโนแคล ได้สัมปทานที่ในปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตปิโตรเลียมที่สำคัญมาตั้งแต่ปี 2515 และต่อมาบริษัท เชฟรอน ซื้อบริษัท ยูโนแคล สัมปทานดังกล่าวจึงกลายเป็นของเชฟรอน ไม่ใช่เพิ่งมาได้สัมปทานสมัยที่ผมเป็นรัฐมนตรี สำหรับสัมปทานรอบที่ 19 นั้น เชฟรอนได้ไป 1 แปลง ก่อนที่ผมจะมารับตำแหน่งรัฐมนตรี และในรอบที่ 20 เชฟรอน ได้ไปอีก 1 แปลง แต่ก็เป็นการร่วมทุนกับบริษัทน้ำมันอื่น เช่น ปตท.สผ. และในปัจจุบันมีเพียง 1 แปลง คือ G4/48 หรือแหล่งยูงทอง ที่มีการผลิตก๊าซในเดือนกันยายน 2558 ในระดับ 2.8 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือ 0.02% ของการใช้ในประเทศ และน้ำมันดิบ 435 บาร์เรลต่อวัน หรือ 0.06% ของการใช้ในประเทศ ส่วนแปลง G8/50 มีการพบปิโตรเลียมแต่ยังไม่มีการผลิต เชฟรอนจึงไม่ได้รับประโยชน์ใดๆจากการแก้กฎหมายตามที่กล่าวอ้าง
สำหรับมูบาดาลาปิโตรเลียมนั้น ในสมัยที่ผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มีการพิจารณาอนุมัติสัมปทานรอบที่ 19 และ 20 ให้แก่บริษัท เพิร์ลออยล์ จำกัด ในปี 2550 จำนวน 5 แปลง และต่อมาในปี 2552 ในช่วงที่คุณหมอวรรณรัตน์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มีการอนุมัติสัมปทานในรอบที่ 20 ให้แก่ บริษัท เพิร์ลออยล์ อีก 3 แปลง แต่มีคนไปพูดเท็จให้ร้ายกันว่าที่เพิร์ลออยล์ได้รับสัมปทาน เพราะมีความเกี่ยวพันกับคุณทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นความเท็จทำให้ผมเสียหายทั้งสิ้น เพราะโดยความจริงแล้วที่บริษัทเพิร์ลออยล์ได้รับสัมปทานก็ได้มาโดยถูกต้องมีการเข้าร่วมประมูลแข่งขัน แต่เหตุที่มีชื่อมูบาดาลาเป็นผู้รับสัมปทาน เนื่องจากมูบาดาลาเข้ามาซื้อกิจการของเพิร์ลออยล์ในภายหลังจึงรับโอนสัมปทานจากบริษัท เพิร์ลออยล์ มาด้วย ที่มีการกล่าวอ้างว่าผมออกสัมปทานให้แก่มูบาดาลาจึงไม่จริง โดยมูบาดาลาปิโตรเลียมนั้นคือบริษัทน้ำมันของรัฐบาลอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีธุรกิจปิโตรเลียมในหลายประเทศซึ่งไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าคุณทักษิณ ชินวัตร มีผลประโยชน์ในบริษัท มูบาดาลา แต่อย่างใด
แปลงสำรวจทั้งหมด 5 แปลงที่เพิร์ลออยล์ได้รับในการเปิดสัมปทานรอบที่ 20 และต่อมามีการโอนบางแปลงให้แก่มูบาดาลาปิโตรเลียมนั้น ไม่พบปิโตรเลียมแม้แต่แปลงเดียวและได้คืนพื้นที่ให้แก่รัฐทั้งหมดแล้ว โดยปัจจุบันบริษัทมูบาดาลาปิโตรเลียม มีสัมปทานทั้งหมด 5 แปลง โดยในหลายกรณีเป็นการร่วมทุนกับบริษัทน้ำมันอื่น มีการค้นพบปิโตรเลียมและผลิตแล้วใน 3 แปลง คือ แปลง B5/27หรือแหล่งจัสมินกับแหล่งบานเย็นที่ได้สัมปทานตั้งแต่ปี 2532 และเพิร์ลออยล์ได้มาในปี 2546 ในเดือนกันยายน 2558 มีการผลิตน้ำมันดิบ 12,329 บาร์เรลต่อวัน หรือ 2% ของการใช้ในประเทศ ส่วนอีก 2 แปลงที่ได้จากการออกสัมปทานรอบที่ 19 คือแปลง G1/48 และ G11/48 หรือแหล่งมโนราห์และนงเยาว์ตามลำดับ มีการผลิตน้ำมันดิบในเดือนกันยายน 2558 ในระดับ 18,011 บาร์เรลต่อวัน หรือ 3% ของการใช้ในประเทศ
ถาม มีการกล่าวว่าตามปกติแล้วทุกประเทศจะมีการแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียมเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ประเทศไทยไม่ได้ส่วนแบ่งกำไรเลย โดยท่านยังแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม เพื่อให้สามารถลดหย่อนค่าภาคหลวงได้ร้อยละ 90 กรณีพื้นที่ที่มีปัญหา ไม่ต่างอะไรกับการไม่เก็บค่าภาคหลวงเลย
ตอบ การที่บอกว่าราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆนั้นไม่จริง เราก็เห็นแล้วว่าในปัจจุบันราคาลดเหลือประมาณ 40 - 50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลเทียบกับระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เมื่อปีที่แล้ว ส่วนที่บอกว่าตามปรกติแล้วทุกประเทศจะมีการแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียมเพื่อให้ได้เงินมากขึ้นก็ไม่จริง ข้อเท็จจริงก็คือส่วนแบ่งของรัฐจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งปิโตรเลียมใต้ดินเป็นหลัก หากเราพยายามเก็บมากแต่ความอุดมสมบูรณ์น้อย ผลก็คือไม่มีใครอยากมาลงทุน ไม่มีการพัฒนาปิโตรเลียมและรายได้ของรัฐที่คิดว่าจะได้ก็ไม่ได้เลย เช่น ในกรณีของประเทศกัมพูชาเป็นต้นที่จนทุกวันนี้ยังไม่มีการผลิตปิโตรเลียมแม้แต่หยดเดียว ดังนั้น เมื่อความอุดมสมบูรณ์ลดลงหรือแหล่งที่เหลือเป็นแหล่งที่ยากแก่การพัฒนาเช่นเป็นแหล่งในทะเลลึก เราก็เห็นหลายๆประเทศแก้ไขเงื่อนไขในการให้สัมปทานเพื่อลดส่วนแบ่งของรัฐเพื่อจูงใจให้มีการสำรวจมากขึ้น เช่น มาเลเซีย นอร์เวย์ และ เม็กซิโก เป็นต้น
ส่วนที่บอกว่าประเทศไทยไม่ได้ส่วนแบ่งกำไรเลยก็ไม่จริง รายได้ภาษีที่รัฐได้รับจากการผลิตปิโตรเลียมในปัจจุบันเป็นเงินจำนวนไม่น้อย กล่าวคือ หากมีการผลิตปิโตรเลียม ผู้ผลิตต้องชำระค่าภาคหลวงเท่ากับ 12.5% ของมูลค่าในกรณีที่เป็นระบบสัมปทาน Thailand I และเป็นขั้นบันไดในระดับ 5-15% ในกรณีของ Thailand III นอกจากนั้นยังต้องชำระภาษีเงินได้ปิโตรเลียมซึ่งกำหนดที่ 50% ไม่ใช่ 20% เหมือนภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไป และในกรณี Thailand III ยังต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ (SRB) ให้แก่รัฐในระดับ 0-75% ของกำไรหากกำไรสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง เช่นกรณีที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากหรือโครงสร้างทางธรณีวิทยาง่ายต่อการผลิต หรือเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่ขนาดใหญ่มากเป็นต้น และนี่คือข้อดีของระบบสัมปทาน Thailand III ที่มีความยืดหยุ่นสูง ถ้าพบมาก รัฐก็ได้มาก ถ้าราคาน้ำมันสูง รัฐก็ได้มาก ถ้าพบน้อยก็ยังผลิตได้โดยรัฐได้ส่วนแบ่งน้อยแต่ก็ดีกว่าไม่ได้เลย ปิโตรเลียมทิ้งไว้ใต้ดินก็ไร้ประโยชน์ โดยในปัจจุบันรัฐมีรายได้ภาษีทุกชนิดจากการผลิตปิโตรเลียมเป็นเงินประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อปี หากพิจารณาเปรียบเทียบกับส่วนแบ่งของบริษัทน้ำมันแล้วจะพบว่าในระบบ Thailand I ส่วนแบ่งของรัฐคือ 55% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ส่วนบริษัทน้ำมันได้ 45% และภายใต้ระบบ Thailand IIII ส่วนแบ่งของรัฐจะเพิ่มเป็น 72% ส่วนบริษัทน้ำมันได้ 28% บริษัทที่ปรึกษา Daniel Johnston ได้ทำการวิเคราะห์ส่วนแบ่งรายได้ของรัฐของประเทศต่างๆทั่วโลกโดยเปรียบเทียบกับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรใต้ดิน พบว่าระบบสัมปทาน Thailand III ในปัจจุบันได้สร้างรายได้ให้แก่รัฐบาลไทยในระดับที่เป็นธรรมและเหมาะสมแล้ว
อย่างไรก็ดี เนื่องจากแหล่งปิโตรเลียมจำนวนหนึ่งเป็นแหล่งที่เล็กมากหรือเป็นแหล่งปิโตรเลียมเก่าที่ใกล้จะหมด ไม่คุ้มกับการลงทุน การที่เรากำหนดค่าภาคหลวงไว้ 5 - 15% ก็อาจเพียงพอที่จะทำให้ไม่มีการลงทุนเพราะผู้รับสัมปทานต้องจ่ายเงินจำนวนนี้แก่รัฐทันทีที่ผลิตปิโตรเลียม ไม่ว่าจะมีกำไรหรือไม่ ดังนั้นเพื่อให้มีแรงจูงใจในการผลิตในแหล่งเล็กๆเหล่านี้ จึงมีการแก้ไขมาตรา 99 ทวิและมาตรา 99 ตรีของ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม เพื่อให้รัฐสามารถลดหย่อนค่าภาคหลวงได้ 90% แต่ในกฎหมายก็เขียนกระบวนการและขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ได้ส่วนลด และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการให้ส่วนลดแก่ผู้รับสัมปทานรายใด หากการให้ส่วนลดค่าภาคหลวงทำให้มีการผลิตมากขึ้นซึ่งประเทศก็จะได้ประโยชน์จากการผลิตปิโตรเลียม การจ้างงาน และรายได้ค่าภาคหลวงแม้ว่าเป็นจำนวนไม่มากก็ตาม ก็ยังดีกว่าการไม่ได้รับรายได้เลยเพราะไม่มีการผลิตปิโตรเลียม แต่หากมีการผลิตเพิ่มขึ้นจนบริษัทมีกำไร รัฐก็จะสามารถเก็บภาษีเงินได้ 50% และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ รวมถึงประเทศสามารถลดการนำเข้าปิโตรเลียมได้อีกด้วย
ถาม มีการกล่าวว่าวีรกรรมของท่านอีกประการหนึ่งคือการอนุมัติการต่อสัมปทานปิโตรเลียมให้แก่บริษัทเชฟรอนฯล่วงหน้าก่อนหมดอายุสัมปทานถึง 5 ปี เหตุไฉนกระทรวงพลังงานจึงเร่งร้อนอนุมัติให้ก่อน
ตอบ ต้องถือว่าเป็นวีรกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยส่วนรวม ในเมื่อผมได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศเราก็ต้องทำ ผมทราบอยู่แล้วว่าประเด็นการต่อระยะเวลาการผลิตจะต้องมีคนหยิบยกขึ้นมาโจมตีว่าการต่อระยะเวลาการผลิตนี้เป็นการต่อสัมปทานให้แก่ เชฟรอน และ ปตท.สผ. ขอย้ำว่า เป็นการต่อระยะเวลาการผลิตภายใต้สัมปทานเดิม ไม่ใช่การต่อสัมปทานครับ แหล่งสัมปทานในอ่าวไทยดังกล่าว ได้แก่ แปลง B10/11/12/13 ดำเนินการโดยเชฟรอน และ B15/16/17 ดำเนินการโดย ปตท.สผ. ซึ่งก็คือ แหล่งบงกชนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันผลิตก๊าซธรรมชาติถึง 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือ 50% ของการจัดหาก๊าซฯของประเทศไทย สัมปทานเหล่านี้เป็นสัมปทานที่บริษัทได้มานานแล้วภายใต้ระบบ Thailand I ซึ่งมีระยะเวลาการผลิต 30 ปีและต่อได้อีก 10 ปี ตามมาตรา 26 ของ พรบ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และมาตรา 35, 36 ของ พรบ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2532 ที่กำหนดให้เป็นสิทธิของผู้รับสัมปทานที่จะต่อภายใต้ Thailand I หากปฏิบัติตามสัมปทานทุกประการ แต่ทั้งนี้กระทรวงพลังงานได้เจรจาให้ผู้รับสัมปทานจ่ายเงินผลประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมจาก Thailand I คาดว่าเป็นเงินประมาณ 6 หมื่นล้านบาทในช่วง 10 ปี
เหตุผลที่ต้องต่อระยะเวลาการผลิตล่วงหน้าหลายปี ก็คือ แหล่งปิโตรเลียมของไทยเป็นกระเปาะเล็ก ๆ ผู้รับสัมปทานต้องเจาะหลุมใหม่ตลอดเวลาเพื่อให้มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพราะหลุมแต่ละหลุมจะไม่สามารถผลิตปิโตรเลียมได้นาน และนี่คือสาเหตุที่ประเทศไทยมีหลุมผลิตปิโตรเลียมจำนวนมาก เช่นในกรณีของแหล่งบงกชเหนือเรามีหลุมผลิต 334 หลุม การผลิตต่อหลุม 1.8 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในขณะที่แหล่งในประเทศอื่นแต่ละหลุมสามารถผลิตปิโตรเลียมได้เป็นระยะเวลานานและปริมาณการผลิตต่อหลุมสูงกว่ามาก เช่นแหล่งยาดานาในพม่า มีเพียง 17 หลุม การผลิตต่อหลุมเฉลี่ย 45 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ดังนั้น หากไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการต่อระยะเวลาการผลิตหรือไม่ ผู้รับสัมปทานก็จะลดการลงทุนเพราะมีความเสี่ยงว่าลงทุนไปแล้วไม่สามารถผลิตปิโตรเลียมได้เกินระยะเวลาในสัญญา ผลที่จะตามมาก็คือการผลิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว และบัดนี้ปัญหานี้ก็กลับมาที่รัฐบาลอีกครั้ง คือ สัญญาที่ต่อระยะเวลาการผลิตไปอีก 10 ปี ที่อนุมัติไปเมื่อ 8 ปีมาแล้วกำลังจะหมด ซึ่งครั้งนี้จะเป็นการสิ้นสุดสัมปทานเลย
ถามการเสนอข่าวว่าท่านมีความเกี่ยวพันและทำการต่าง ๆ เอื้อประโยชน์กับคุณทักษิณ ชินวัตร ความจริงแล้วเป็นเช่นไร
ตอบ ผมรู้จักคุณทักษิณในฐานะข้าราชการคนหนึ่งที่รับราชการในช่วงแรกของรัฐบาลทักษิณ และไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวใดๆกับคุณทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งตลอดระยะเวลาการทำหน้าที่ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือตำแหน่งอื่นใดก็ไม่เคยกระทำการสนองนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่คุณทักษิณฯ เป็นการส่วนตัว มิฉะนั้นผมคงไม่ถูกย้ายออกจากตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์หลังจากที่คุณทักษิณมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ 4 เดือน นอกจากนี้ ผมยังเคยไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการแปรรูปปตท.ของยุครัฐบาลทักษิณ ที่มิได้มีการแยกกิจการท่อก๊าซออกเป็นบริษัทในเครือของ ปตท. ก่อนการจดทะเบียน ปตท. เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น เมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 เมื่อผมถูกย้ายจากอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กลับมาเป็นเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ผมจึงได้ผลักดันให้มีมติคณะรัฐมนตรีแยกระบบท่อออกเป็นบริษัทในเครือของ ปตท. ภายในหนึ่งปีหลังการแปรรูปและเปิดให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการผ่านท่อได้ หรือที่เรียกว่า Third Party Access ซึ่งเท่ากับการลดการผูกขาดในการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯของ ปตท. และให้เร่งออก พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงานเพื่อตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการก๊าซฯและไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลในการโอนอำนาจรัฐทั้งหมดออกมาจาก บมจ.ปตท. หลังจากนั้น ผมก็ถูกย้ายไปเป็นรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งแต่กลางปี 2545 และต้นปี 2546 ก็ลาออกจากราชการ โดยรัฐบาลทักษิณก็ไม่ได้ดำเนินการแยกท่อก๊าซฯหรือออก พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน ต่อมาเมื่อผมได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จึงเข้ามาเพื่อแก้ไขสิ่งที่ยังค้างจากปี 2544 คือ การออก พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน
ถาม ผลงานชิ้นโบดำของท่านที่อดจะกล่าวไม่ได้ก็คือการแปรรูป ปตท. ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อปี 2550 ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีคำพิพากษาเพียง 3 วัน สภานิติบัญญัติแห่งชาติในช่วงรัฐบาลพลเอก สรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ออก พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เพื่อมาแก้ไขความไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมายของการแปรรูป ปตท. ศาลฯจึงตัดสินแค่เอาท่อส่งก๊าซที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินกลับคืนมา ซึ่งบัดนี้ ปตท. ก็ยังคืนไม่ครบ
ตอบ แม้ว่า พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงานจะเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาว แต่การดำเนินการทำได้ค่อนข้างเร็วเพราะมีร่างเดิมอยู่แล้วที่ผ่านคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2543 ในช่วงปลายรัฐบาล นายชวน หลีกภัย ทำให้ลดขั้นตอนได้มาก แต่การพิจารณาก็เป็นไปอย่างรอบคอบ และมีการเปิดรับฟังความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตลอด เมื่อผ่าน สนช. ในวาระแรกแล้ว ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อแปรญัตติ โดยมีผู้แทนจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเป็นกรรมาธิการด้วย ดังนั้นมูลนิธิฯย่อมทราบดีตลอดว่ารัฐบาลกำลังทำอะไร กฎหมายดังกล่าวได้ผ่าน สนช. ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2550 ไม่ใช่ 3 วันก่อนคำพิพากษาอย่างที่กล่าวอ้าง หลังจากที่ผ่าน สนช.แล้วก็มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ ทำให้ไม่สามารถประกาศลงราชกิจจาฯได้จนวันที่ 10 ธันวาคม และมีผลบังคับใช้ 11 ธันวาคม 2550
ณ ตอนนั้นผมเองก็ไม่ทราบว่าศาลฯจะมีคำพิพากษาอย่างไร แต่ก็ดีใจที่ศาลฯเห็นว่าความไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมายของการแปรรูป ปตท. ได้รับการแก้ไขโดย พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงานแล้ว เพียงตัดสินแค่เอาที่ดินและท่อส่งก๊าซฯที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินกลับคืนมา เพราะหากศาลพิพากษาให้เพิกถอนการแปรรูปเช่นในกรณีของ กฟผ. ผลกระทบต่อตลาดทุน ตลาดเงิน และเศรษฐกิจไทยจะรุนแรงมาก
ส่วนประเด็นว่าบัดนี้ ปตท. ยังคืนท่อก๊าซไม่ครบนั้น คงต้องอธิบายยาว แต่ในชั้นนี้ขอพูดสั้น ๆ ว่า ศาลปกครองได้มีคำสั่งเรื่องนี้หลายครั้งแล้วว่า ปตท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอันที่จริงผู้ที่จะบอกว่า ปตท.คืนท่อครบหรือไม่ครบตามคำพิพากษาของศาลได้ก็คือศาลเท่านั้น ไม่ใช่นักวิชาการหรือองค์กรอื่นของรัฐ ทั้งนี้ ปตท. ก็ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคำวินิจฉัยของศาลฯ จนศาลมีคำสั่งเป็นที่สุดแล้ว ปตท.จึงไม่อาจดำเนินการให้แตกต่างไปได้ มิฉะนั้นอาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ รวมทั้งมีความเสี่ยงที่คณะกรรมการอาจต้องรับผิดตามกฎหมายต่าง ๆ
ถาม มีการล่าวว่าท่านผลักดันให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติให้แยกท่อก๊าซฯ ออกมาเป็นบริษัทในเครือของ ปตท. ซึ่งไม่น่าชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการขายสมบัติของชาติครั้งที่ 2 ถ้าจะแยกท่อออกมาจาก ปตท. ต้องให้รัฐถือหุ้น 100% ใช่หรือไม่
ตอบ การกำหนดให้ ปตท.ดำเนินการแยกกิจการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ออกไปในรูปบริษัทในเครือที่ ปตท. ถือหุ้น 100% พร้อมกับการเปิดให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการผ่านท่อหรือที่เรียกว่า Third Party Access เป็นส่วนหนึ่งของมติ ครม. เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2542 ในช่วงรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย ตามข้อเสนอของ กพช. เรื่องแนวทางในการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศระยะยาว เพื่อเป็นการลดการผูกขาดของ ปตท.ในกิจการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ ซึ่งประโยชน์จะตกแก่ผู้บริโภค ส่วน ปตท. เองไม่ได้ประโยชน์แต่อย่างใดจากนโยบายดังกล่าว ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวไม่ขัดกับกฎหมายแต่อย่างใด โดยเฉพาะ พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ได้โอนอำนาจรัฐเกี่ยวกับกิจการก๊าซฯออกมาจาก ปตท. แล้วทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังไม่ได้มีการดำเนินการตามมติ ครม.ดังกล่าว กพช. จึงมีมติเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2557 เห็นชอบในหลักการให้ ปตท. รับไปดำเนินการแยกกิจการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้เป็นไปตามมติครม.ในปี 2542 โดยได้มีการเปิดให้บุคคลที่สามใช้บริการผ่านท่อบนบกได้แล้วตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2558 และคาดว่า ในปี 2559 จะเปิดให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการผ่านท่อในทะเลได้ อย่างไรก็ตาม การแยกกิจการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกไปจาก ปตท. ได้รับการคัดค้านจากบุคคลบางกลุ่ม กพช. จึงให้ชะลอการดำเนินการดังกล่าวตามมติเอาไว้ก่อน
ส่วนประเด็นที่ว่าทำไมจึงไม่ให้รัฐเข้ามาถือหุ้น 100% ก็ต้องเข้าใจว่า ท่อก๊าซในส่วนที่เป็นการลงทุนโดย ปตท. นั้น รัฐโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ปตท. อยู่แล้ว ส่วนการที่รัฐจะเป็นผู้ดำเนินการเองโดยถือหุ้นทั้ง 100% ในท่อก๊าซที่ได้รับโอนคืนกลับไปนั้น รัฐจะต้องมั่นใจว่ามีบุคลากร และงบประมาณ มาดำเนินการ เพราะจะต้องมีการลงทุนเพื่อดูแลรักษา และซ่อมแซมให้ท่อก๊าซมีความพร้อมสำหรับการให้บริการอยู่ตลอดเวลาด้วย
ถาม ตามที่มีการพูดว่าคุณปิยสวัสดิ์ เป็นผู้ขัดขวางการปฎิรูปพลังงานโดยมิให้มีการพูดเรื่องพลังงานบนเวทีของ กปปส. ความจริงแล้วเป็นเช่นไร
ตอบ ผมไม่ได้เป็นแกนนำ กปปส. และไม่มีอำนาจจัดการใด ๆ บนเวที กปปส. แต่ในช่วงการชุมนุมผมได้รับเชิญจากแกนนำกลุ่ม กปปส. ให้ปราศรัยประเด็นเรื่องพลังงานของประเทศร่วมกันกับผู้ปราศรัยอีก 2 ท่านที่เวทีปทุมวัน แต่เมื่อได้มีการพูดคุยปรึกษาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงก่อนที่จะขึ้นเวทีแล้วพบว่ามีแนวความคิดที่ไม่สอดคล้องกัน ทุกฝ่ายจึงเห็นพ้องกันว่าไม่ควรขึ้นปราศรัยในหัวข้อดังกล่าวเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนจึงมีการแจ้งแกนนำ กปปส. ขอยกเลิกการปราศรัยในหัวข้อดังกล่าว แต่เนื่องจากแกนนำ กปปส. ไม่สามารถหาผู้ขึ้นมาปราศรัยในช่วงเวลาดังกล่าวบนเวทีได้จึงเชิญให้ผมขึ้นไปปราศรัยในหัวข้อเรื่อง “การบริหารรัฐวิสาหกิจ” จึงเป็นเหตุให้คนที่ไม่รู้ความจริงกล่าวหาว่าผมขัดขวางการปฏิรูปพลังงานโดยขัดขวางไม่ให้มีการปราศรัยเรื่องพลังงานบนเวที กปปส.