คุยกับจิตแพทย์สาวสวย “หมอนุ่น-พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์” ผู้เดินตรงมาในเส้นทางสายนี้ด้วยใจที่เป็นสุข มุ่งหวังช่วยคนให้ก้าวพ้นจากทุกข์ทางใจ ไม่ใช่แม่พระก็คล้ายแม่พระ และเมื่อได้สนทนากับเธอ คุณจะรู้ว่าการไปหาจิตแพทย์นั้น ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด
จากเด็กสาวที่สนใจศาสตร์ด้านจิตวิทยา อีกทั้งชอบศึกษาเรื่องราวศาสนาและหลักธรรมคำสอน ทำให้เธอมุ่งหมายที่จะได้ใช้ความรู้ด้านดังกล่าวในการช่วยเหลือผู้คน เฉพาะอย่างยิ่ง สังคมปัจจุบันที่ถูกรุมเร้าด้วยปัญหาสารพัน ผลักผู้คนให้ตกสู่ความกดดัน ตึงเครียด และนำไปสู่ภาวะเจ็บป่วยทางใจ ซึ่งในทางการแพทย์ เรียกภาวะอาการแบบนี้ว่าผู้ป่วยจิตเวช
เมื่อป่วยไข้ทางใจ หลายคนอาจจะค้นพบทางออกหรือมีใครใจดีช่วยบอกช่วยเยียวยาให้ผ่านพ้น แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้แม้กระทั่งว่าตนเองป่วยไข้ทางจิตอยู่หรือไม่ ซ้ำร้ายไปกว่านั้น การที่จะเดินไปหาหมอเพื่อขอคำปรึกษาหรือรักษาทางจิต ในความคิดของคนไทยจำนวนไม่น้อย ต่างก็กลัวสายตาคนอื่นจะมองว่าเป็นคนบ้า
กับประสบการณ์กว่า 5 ปี ในการเป็นจิตแพทย์ “หมอนุ่น-พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์” ได้สนทนากับเราในหลากหลายแง่มุมที่เป็นประโยชน์ ตั้งแต่การดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้ความป่วยไข้ทางใจมาเยือน หรือแม้กระทั่งว่า ถ้ามาเยือนแล้ว ควรจะทำอย่างไร และรับรองว่า ถ้าได้พบจิตแพทย์จากโรงพยาบาลพระรามเก้าผู้เชี่ยวชาญในด้านจิตเวชผู้นี้ สภาพ “จิตใจ” ของคุณจะดีขึ้นอย่างแน่นอน...
• โดยพื้นฐาน เป็นคนสนใจศาสตร์ด้านจิตใจด้วยหรือเปล่าคะ จึงมาทางสายจิตแพทย์
ก่อนมาเรียนแพทย์ หมอชอบศึกษาอะไรที่เกี่ยวกับจิตใจอยู่แล้วค่ะ ชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยา อีกทั้งสนใจด้านศาสนาด้วย เพราะมันทำให้จิตใจเราสบายขึ้น คืออาจจะไม่ใช่แค่ในศาสนาพุทธ แต่รวมถึงศึกษาหลักคำสอนของศาสนาอื่นด้วย เพราะทุกศาสนามีธรรมะ มีหลักการ ที่ใช้เยียวยาจิตใจได้อยู่แล้ว เราจึงชอบฝึกจิต ฝึกสติมาตั้งแต่เด็กค่ะ
หมอเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จบ 6 ปี และด้วยความที่จิตแพทย์เป็นสาขาที่ขาดแคลนบุคลากร ทำให้ไม่ต้องไปใช้ทุน หมอเลยได้มาเรียนต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 ปี แต่เราก็มีความสนใจ ประทับใจ ที่เราสามารถช่วยคนไข้ได้ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาแพทย์ ก็เลยคิดว่ามันน่าจะเหมาะกับเรา เพราะเราชอบด้วย ตอนนี้ก็เป็นหมอทางด้านนี้มาได้ประมาณ 5 ปีกว่าแล้วค่ะ (ยิ้ม)
• สนุกไหมคะการเป็นจิตแพทย์ เพราะดูเนื้องานน่าจะเครียด
ถามว่าสนุกตรงไหม จริงๆ หมอเป็นคนที่ไม่เคยทำอะไรแล้วรู้สึกสนุกเท่าไหร่มาก่อนเลย แต่จะมีความสุขตรงที่เราสามารถทำให้คนที่เขาหน้าบึ้ง เครียด หรือร้องไห้ เขาได้ยิ้มออกมา เขาสบายใจและมีความสุขเวลาที่ได้คุยกับเรา (ยิ้ม)
• จากประสบการณ์ที่เป็นหมอทางด้านนี้มา เคยเจอเคสหนักๆ บ้างหรือเปล่าคะ เป็นอย่างไรบ้าง ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยค่ะ
เคสที่หนักๆ เลยก็วุ่นวายอาละวาดค่ะ เป็นสมัยที่หมออยู่โรงพยาบาลรัฐบาลมากกว่า ก็จะเป็นประมาณว่าวิ่งวุ่นวาย ถอดเสื้อผ้า ทำร้ายเจ้าหน้าที่ ไม่ยอมให้จับ กรีดร้องอะไรทำนองนี้ค่ะ
• เจอแบบนั้นเข้าไป แก้ไขอย่างไรคะ
ตรงนี้อันดับแรกคือการพูดการคุยจะช่วยให้ผ่อนคลาย คำพูดของเราทำให้เขาสงบได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าวุ่นวายมากๆ ก็อาจจะต้องฉีดยาเพื่อระงับอาการ เพราะคนไข้ส่วนใหญ่จะเกิดจากสารเคมีในสมองแปรปรวน ไม่สมดุล มีอาการมากถึงขึ้นอาละวาดได้
• คนป่วยทางจิตคนอาจถูกมองว่าน่ากลัวและอันตราย หมอคิดว่าคนป่วยทางจิตอันตรายไหมคะ แล้วหมอไม่กลัวเหรอคะ
ถามว่าน่ากลัวไหม อันนี้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรคอะไรมากกว่าค่ะ มันเคยมีเหตุการณ์ที่คนไข้จิตเวชไปฆ่าเด็ก 5 คนที่เชียงใหม่ นั้นเรียกว่าอันตราย แต่ว่าคนไข้ทางอารมณ์ ซึมเศร้า ไบโพล่าร์ คือช่วงที่เขารักษาดี กินยาปกติ เขาก็ดูปกติ แต่ถ้าเขาขาดยา หรือในช่วงที่เขาเครียดหนัก หรือช่วงที่เคมีในสมองแปรปรวน อาจจะทำให้เขาซึมเศร้า ก็จะอันตราย เขาสามารถทำอะไรเสี่ยงๆ ได้ เช่น ทุบทำลายข้าวของ ขับรถเร็ว ลงมาท้าต่อย อย่างนี้เรียกว่าอันตรายต่อผู้อื่น
ส่วนตัวหมอไม่กลัวนะ เพราะว่าเรารู้วิธีจัดการอยู่แล้ว แต่เราไม่ได้ทำงานคนเดียว เรามีทีม เรามีผู้ช่วยพยาบาล เรามีพยาบาล อย่างเราเป็นผู้หญิง เราไม่ต้องไปจับล็อกคนไข้ แต่มีบุรุษพยาบาลช่วย ถ้าโรงพยาบาลเอกชนจะมีเจ้าหน้าที่เวรเปลที่ช่วย เหล่านี้เขาก็ต้องไปเรียนรู้ที่จะเป็นทีมของเราด้วยค่ะ
• ปัจจุบันมีคนเข้ามารักษาโรคทางจิตเยอะไหมคะ
เยอะขึ้นมาก จากที่หมอทำงานมา 5 ปีกว่า ก็มีเยอะขึ้นเรื่อยๆ นะคะ มีคนที่เดินมาพบหมอเพิ่มมากขึ้น บางทีก็ตกใจ เพราะวันหนึ่งมีคนเดินมาพบหมอ 20-30 คนต่อวันเลย แต่ตรงนี้หมอว่าอาจจะเป็นเพราะเขาได้รับข้อมูลเข้าถึงแพทย์มากขึ้น เขาเปิดใจกว้างมากขึ้น เลยกล้าที่จะเดินมาหาหมอมากขึ้นค่ะ (ยิ้ม)
• แล้วอาการผู้ป่วยทางจิตเป็นอย่างไรบ้างคะ มีวิธีการเช็คตัวเองอย่างไรเพราะอาจจะมีที่ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตัวเองป่วย
เบื้องต้น อย่างน้อยๆ เลย ก็แค่เครียด ไม่สบายใจ ไม่มีอาการใดๆ เลย แค่เขารู้สึกว่าไม่สบายใจ เขาก็มาแล้ว นอนหลับดี กินข้าวได้ แต่เขาก็เลือกที่จะมาปรึกษาก่อนที่จะมีอาการหนัก ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นหน่อยก็จะนอนไม่หลับ ทานข้าวไม่ได้ ไม่มีสมาธิทำงาน เหม่อลอย หลงลืมก็มี บางคนอาจจะใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ อย่างเช่น ถ้าเป็นนักเรียนนักศึกษาก็ไปเรียนไม่ได้ ปวดหัว การเรียนตก ถ้าเป็นคนทำงานคือทำงานไม่ไหว มาทำงานแล้วเหม่อลอยประมาณนี้ค่ะ
• ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคทางจิตนี่มีอะไรบ้างคะคุณหมอ
มีเยอะมากเลยนะคะ ที่มาปรึกษาหมอจะมีทุกเรื่องเลย ไม่ว่าเครียดงาน ปัญหาในครอบครัว เรื่องความรัก ความสัมพันธ์กับเพื่อน สารเคมีในสมองก็มีแนวโน้มแปรปรวนได้ ส่วนหนึ่งก็จะมาจากพันธุกรรม อย่างเช่น โรคไบโพล่าร์ พันธุกรรมมีส่วนเยอะมาก สมมติว่าพ่อแม่ที่เป็นไบโพล่าร์ ลูกก็มีแนวโน้มเป็นด้วย ไบโพล่าร์คืออารมณ์แปรปรวนสองขั้ว คนไข้จะมีช่วงหนึ่งของชีวิตที่ซึมเศร้า และอีกช่วงหนึ่งเบิกบานแจ่มใส ร่าเริงผิดปกติ ซึ่งคนเป็นโรคนี้ค่อนข้างเยอะเลยค่ะ แต่ผู้ป่วยโรคนี้สามารถรู้ตัวเองนะคะ อย่างช่วงที่เป็นซึมเศร้า ส่วนใหญ่คนไข้จะรู้ตัวว่าตัวเองกำลังเป็นโรคซึมเศร้า แต่ช่วงที่ร่าเริง เบิกบาน คนไข้จะไม่ค่อยรู้ตัว ก็ต้องอาศัยญาติ หรือคนรอบข้างช่วยสังเกต
จริงๆ โรคซึมเศร้ามีสองแบบ ทั้งที่เป็นซึมเศร้าเพียวๆ กับไบโพล่าร์ 2 ขั้ว ต้องอาศัยดูไปยาวๆ เหมือนกัน บางคนเริ่มต้นด้วยซึมเศร้าแล้วอยู่ดีๆ ก็พลิกเป็นอีกขั้วหนึ่ง อันนี้เราก็จะไปวินิฉัยภายหลังว่าเป็นไบโพล่าร์หรือเป็นแบบสองขั้วค่ะ แต่โรคมันมีเยอะแยะมากมายเลยนะคะ ไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า
ส่วนปัจจัยเสี่ยงนอกจากพันธุกรรมก็มีบุคคลิกภาพ อันนี้ไม่ถึงกับเป็นโรค แต่บางคนที่มีบุคคลิกที่มีแนวโน้มจะเป็นโรค อย่างเช่นคนที่ต้องการเป็นคนสมบูรณ์แบบ คนที่ต้องเป๊ะ ทำอะไรก็ต้องเรียบร้อย ต้องสมบูรณ์ที่สุด ไม่ค่อยปล่อยวาง ไม่ค่อยรีแล็กซ์ ไม่มียืดหยุ่น มีแนวโน้มที่จะผิดหวังเพราะไม่ได้สมบูรณ์แบบเสมอไป เขาจะผิดหวังและกลายเป็นซึมเศร้าได้ หรือไม่ก็กลายเป็นคนย้ำคิดย้ำทำได้ เมื่อเขาเครียดมากๆ บางรายอาจส่งผลให้ฆ่าตัวตายได้
ขณะที่สังคมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง คือสังคมมันตึงเครียด อย่างรถติด เศรษฐกิจไม่ดี ก็กระตุ้นความเครียดได้ สื่อที่เราเข้าถึง ข่าว เหตุการณ์ต่างๆ มันมีผลกับจิตใจอยู่แล้ว ทำให้เรารู้สึกเศร้าหดหู่ อย่างสมมติมีเหตุการณ์ก่อการร้ายที่ปารีสเราก็ตกใจว่าจะเกิดกับบ้านเราไหม เพราะมันเคยเกิดขึ้นมาแล้ว หรือข่าวว่าดาราป่วย เราก็เริ่มจิตตกว่าเราจะเป็นไหม เขาเป็นเยอะไหม เรารู้สึกเศร้าเสียใจไปกับคนเหล่านั้น เราได้รับรู้ข่าวสารเพิ่มมากขึ้น เรามีแนวโน้มที่จะถูกกระทบกระเทือนจิตใจมากขึ้น
• จะว่าไปแล้ว การไปหาจิตแพทย์เป็นสิ่งที่น่ากลัวไหม เพราะหลายคนกลัวว่าถ้าเข้าพบหมอทางด้านนี้คนอาจจะมองว่าบ้าหรือเปล่า
จริงๆ คนไข้ที่ได้มาพบหมอแล้ว ไม่มีใครบอกว่าน่ากลัวเลย แต่ว่าคนที่กำลังตัดสินใจจะมาก็จะมองภาพจินตนาการไป อาจจะเห็นในหนังฝรั่ง ซึ่งมันไม่ใช่ความจริง บางคนคิดว่าต้องมานั่งเก้าอี้เอนนอนแล้วพูดไปเรื่อยๆ หมออยู่ข้างหลัง พอมาถึงไม่มีเก้าอี้อะไรแบบนี้ หรือไม่ก็คิดว่าถ้าแอดมิดก็ต้องอยู่ในที่ที่มีกรงขัง ถูกซ้อม ก็จะจินตนาการแบบนั้นไป
ในความเป็นจริง ก็แค่เข้ามาพูดคุยกัน ใช้วิธีการพูดคุย ตั้งคำถามให้เขาได้คิดได้พูดคุย จะไม่มีการส่งตรวจเลือดหรือเอ็กซเรย์ อาศัยการคุย ใช้ประสบการณ์ของหมอในการตัดสิน แต่ในรายที่มาแบบร้องไห้ เราก็จะให้เขาได้พักก่อน อย่างเช่นเขาไม่ได้หลับไม่ได้นอนมา 3 วัน เราก็จะให้เขาได้นอนก่อน แล้วสัปดาห์หน้าค่อยมาคุยกันถึงปัญหา เขาจะเริ่มมีแรงมีสมองที่จะช่วยกับเราในการแก้ปัญหา
• แบบนี้มีวิธีป้องกันไม่ให้ป่วยทางจิตไหมคะ
มีหลายวิธีนะคะ เช่น การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อันนี้สำคัญมากเลย แล้วก็ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน คือมันจำเป็นต้องทำ หมอเองก็ป้องกันด้วยวิธีนี้เหมือนกันค่ะ ทุกวันนี้ หมอก็ทำงานด้วย สอนโยคะด้วย เพราะก็ต้องยอมรับเหมือนกันว่าอาชีพหมอก็มีความเครียด เหนื่อย อีกอย่างมันกดดัน บางครั้งคนไข้เยอะก็ต้องแข่งกับเวลา หมอเลยจะใช้โยคะเพื่อช่วยเหลือตัวเอง ตรงนี้จะบอกว่าไม่จำเป็นต้องโยคะเสมอไป เพราะถ้าชอบทำอะไร ไม่ว่างานอดิเรกที่ทำแล้วมีความสุข รู้สึกผ่อนคลายหายเครียด แนะนำเลยว่าอันไหนที่ชอบ ให้แบ่งเวลาทำเยอะๆ เลยค่ะ (ยิ้ม)
• ในฐานะที่เป็นจิตแพทย์ อยากให้คนในสังคมมองคนที่มีปัญหาทางจิตอย่างไรคะ อยากให้เขาปรับทัศนคติมองคนเหล่านี้อย่างไรบ้าง
หมออยากให้ยอมรับว่ามันคือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้ค่ะ เหมือนเราเป็นไข้เป็นหวัดอะไรอย่างนั้นล่ะค่ะ เป็นได้ก็หายได้ คือการที่เราเห็นผู้ป่วยจิตเวชคนนี้ดูน่ากลัว สมัยก่อนเราจะมองแบบนั้น แต่เดียวนี้คนไข้สามารถเปิดเผยตัวเองได้ บางคนภูมิใจด้วยนะที่รู้ตัวเองว่าเขาไม่สบาย กำลังรักษาอยู่ อย่างนี้แหละ ไม่ได้บ้า แต่ถ้าไม่รู้ตัว ไม่รักษา ปฏิเสธว่าไม่เป็น อันนี้แหละอาการหนัก เป็นปัญหาต่อสังคมมมากว่า อยากให้พวกเราช่วยทำให้มันไม่เป็นตราบาปว่าคนไข้จิตเวช บางคนคิดว่าถ้ามีประวัติจะสมัครงานไม่ได้ ไม่มีใครรับเข้าทำงาน จริงๆ อยากให้มองลึกลงไป ไม่ใช่ว่าจะน่ากลัว
• แล้วอย่างคนเร่ร่อนที่เดินตามท้องถนน คุณหมอคิดอย่างไรบ้าง เพราะบางคนอาจถูกเหมารวมว่าเป็นคนบ้า
ส่วนใหญ่คนที่เดินเร่ร่อน ไม่มีที่นอนส่วนใหญ่จะมีอาการทางจิตนะ เหมือนกับว่าเขามีการผิดหวังหรือไม่ได้รับการช่วยเหลือมาในระดับหนึ่งแล้ว เขาถึงไม่มีที่พึ่ง แล้วพอออกมาอยู่เร่ร่อน แน่นอนว่ากินไม่ดี อยู่ไม่ดี แล้วนอนก็ไม่ค่อยหลับ มันยิ่งทำให้สารเคมีในสมองแปรปรวน อันนี้มันมี พรบ.สุขภาพจิต เราสามารถไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่ไปพาคนไข้มารักษา เราสามารถแจ้งได้เลยนะคะ แม้ไม่ใช่ญาติของเราเองก็ตาม อย่างโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจะรักษาฟรี เช่น โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดสุขภาพจิตต่างๆ
• จะว่าไปแล้วอาชีพไหนที่เสี่ยงต่อการป่วยทางจิตมากที่สุดคะคุณหมอ
จริงๆ ทุกอาชีพเลยค่ะ ถ้ามีความเครียดความกดดัน หมอเคยพูดถึงดารานักแสดง เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะมีอารมณ์ศิลปิน แต่ละวัน เขาต้องแสดงบทบาทที่ไม่ใช่ตัวเองออกมา มันทำให้อารมณ์ของเขาอาจจะแปรปรวนไปได้ ส่วนอาชีพอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจหรือแม้แต่อาชีพแพทย์เองก็เครียด ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นได้
• หมอมองวงการหมอด้านจิตแพทย์ในเมืองไทยอย่างไรบ้างคะ เขาเปิดกว้างขึ้นบ้างไหมคะ คนยอมรับไหม หรือจะให้ข้อมูลอย่างไรให้คนเข้าถึงหมอทางด้านนี้มากขึ้น
ดีขึ้นนะคะ คุณหมอทางกายที่เห็นว่าคนไข้มีอาการทางจิตก็จะส่งมาปรึกษาทางจิตแพทย์มากขึ้น แต่ก่อนคนไข้ไม่ยอมมา คุณหมอทางกายรักษาเองจ่ายยาทางจิตเวชเอง ทั้งที่ไม่ถนัด ก็จะมีคุณหมอหลายๆ ท่านโทรมาปรึกษาส่วนตัวบ้างว่าต้องให้ยายังไงดี เพราะคนไข้ไม่มา แต่ถ้าดูแลจนเขายอมรับมากขึ้น เปิดใจมากขึ้น เขาก็จะยอมมาตามที่คุณหมอทางร่างกายแนะนำ
หมอรู้สึกว่าเปิดกว้างขึ้นกว่าต่างประเทศอีกนะ เพราะจิตแพทย์ต่างประเทศทำงานน้อยกว่าเรามาก การแพทย์ต่างประเทศ กว่าจะเข้าถึงหมอเฉพาะทางยากมาก เขาจะมีหมอที่เป็นหมอครอบครัว ที่จะดูแลเบื้องต้นก่อน ถ้าคุณหมอคนนี้ไม่ส่งต่อปุ๊บ คนไข้ต่างประเทศก็ไม่มีทางได้พบหมอเฉพาะทาง ไม่เหมือนเมืองไทย ถ้าอยากพบหมอจิตแพทย์ก็ได้พบเลย
• สมัยก่อน คนที่เป็นผู้ป่วยทางนี้จะเข้าวัดไปหาพระหรือวัดมากกว่าจะมาหาจิตแพทย์ตรงนี้คุณหมอคิดอย่างไรคะ
จริงๆ ตอนนี้มันก็ยังช่วยได้นะคะ อะไรที่เขาทำแล้วมีความสุข มันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้ว้าวุ่นฟุ้งซ่าน ส่วนใหญ่คนไทยก็มีปัจจัยที่ดีที่ยังไม่ต้องมาพบจิตแพทย์ นั่นก็คือมีวัดหรือพระที่เหมือนเป็นที่พึ่งทางจิตใจ ได้ให้คำปรึกษาแล้วสเต็ปหนึ่ง แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้น จะต้องมาหาหมอ
ยังไงก็แล้วแต่ เขาต้องพึ่งตัวเองเป็นหลัก หลักการธรรมะก็สอนให้เราพึ่งตัวเองนี่ล่ะค่ะ แต่ว่าก็มีอาศัยเทคนิคพิธีกรรมมาช่วย อย่างหมอก็ไม่ใช่จะให้คนไข้มายึดหมอเป็นที่พึ่ง สุดท้ายแล้วหมอก็จะให้เขาพึ่งตัวเอง มีอีกอย่างที่คนไข้ไทยมักถามหมอคือ จะต้องทำยังไง ให้หมอบอกหน่อย จริงๆ แล้วหมอจิตแพทย์ไม่ได้มีหน้าที่ตัดสินชีวิตหรือให้คำตอบเหล่านั้นกับใคร แต่จะใช้การพูดคุยให้เขาตกผลึกคิดได้เองว่าชีวิตเขาจะต้องทำยังไงต่อไป
• ท้ายนี้ถ้ามีคนในครอบครัวเข้าข่ายว่าจะมีปัญหาทางจิตเราจะใช้วิธีการอย่างไร หรือมีวิธีพูดอย่างไรให้เขามาหาหมอคะ
ตรงนี้ ถ้าผู้ป่วยไม่รู้ตัวเองจริงๆ ญาติต้องค่อยๆ ปลอบ ค่อยๆ ชักชวนมา หรือถ้าเป็นมากจริงๆ แต่เขาไม่ยอมมา เดี๋ยวนี้เรามี พรบ.สุขภาพจิต สามารถบังคับรักษาได้ ญาติสามารถไปแจ้งความให้ตำรวจมานำตัวส่งโรงพยาบาลได้เลยค่ะ แต่ถ้าเคสไม่หนัก เราก็อาจจะมีวิธีหลอกล่อ เขามีอาการทางกายอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ทางจิต อย่างปวดหัว ก็ลองเอาอาการทางกายอย่างนี้เล็กๆ น้อยๆ มาปรึกษาหมอไหม แล้วทางหมอก็จะมีการเตรียมการกับญาติเอง บอกเขาว่าเราไปหาหมอเพราะปวดหัว แต่สุดท้ายแล้ว หมอก็จะคุยกับคนไข้ถึงประเด็นอาการทางใจร่วมไปด้วยค่ะ (ยิ้ม)
เรื่อง : วรัญญา งามขำ, อนงค์นาฏ ชนะกุล
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร
จากเด็กสาวที่สนใจศาสตร์ด้านจิตวิทยา อีกทั้งชอบศึกษาเรื่องราวศาสนาและหลักธรรมคำสอน ทำให้เธอมุ่งหมายที่จะได้ใช้ความรู้ด้านดังกล่าวในการช่วยเหลือผู้คน เฉพาะอย่างยิ่ง สังคมปัจจุบันที่ถูกรุมเร้าด้วยปัญหาสารพัน ผลักผู้คนให้ตกสู่ความกดดัน ตึงเครียด และนำไปสู่ภาวะเจ็บป่วยทางใจ ซึ่งในทางการแพทย์ เรียกภาวะอาการแบบนี้ว่าผู้ป่วยจิตเวช
เมื่อป่วยไข้ทางใจ หลายคนอาจจะค้นพบทางออกหรือมีใครใจดีช่วยบอกช่วยเยียวยาให้ผ่านพ้น แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้แม้กระทั่งว่าตนเองป่วยไข้ทางจิตอยู่หรือไม่ ซ้ำร้ายไปกว่านั้น การที่จะเดินไปหาหมอเพื่อขอคำปรึกษาหรือรักษาทางจิต ในความคิดของคนไทยจำนวนไม่น้อย ต่างก็กลัวสายตาคนอื่นจะมองว่าเป็นคนบ้า
กับประสบการณ์กว่า 5 ปี ในการเป็นจิตแพทย์ “หมอนุ่น-พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์” ได้สนทนากับเราในหลากหลายแง่มุมที่เป็นประโยชน์ ตั้งแต่การดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้ความป่วยไข้ทางใจมาเยือน หรือแม้กระทั่งว่า ถ้ามาเยือนแล้ว ควรจะทำอย่างไร และรับรองว่า ถ้าได้พบจิตแพทย์จากโรงพยาบาลพระรามเก้าผู้เชี่ยวชาญในด้านจิตเวชผู้นี้ สภาพ “จิตใจ” ของคุณจะดีขึ้นอย่างแน่นอน...
• โดยพื้นฐาน เป็นคนสนใจศาสตร์ด้านจิตใจด้วยหรือเปล่าคะ จึงมาทางสายจิตแพทย์
ก่อนมาเรียนแพทย์ หมอชอบศึกษาอะไรที่เกี่ยวกับจิตใจอยู่แล้วค่ะ ชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยา อีกทั้งสนใจด้านศาสนาด้วย เพราะมันทำให้จิตใจเราสบายขึ้น คืออาจจะไม่ใช่แค่ในศาสนาพุทธ แต่รวมถึงศึกษาหลักคำสอนของศาสนาอื่นด้วย เพราะทุกศาสนามีธรรมะ มีหลักการ ที่ใช้เยียวยาจิตใจได้อยู่แล้ว เราจึงชอบฝึกจิต ฝึกสติมาตั้งแต่เด็กค่ะ
หมอเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จบ 6 ปี และด้วยความที่จิตแพทย์เป็นสาขาที่ขาดแคลนบุคลากร ทำให้ไม่ต้องไปใช้ทุน หมอเลยได้มาเรียนต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 ปี แต่เราก็มีความสนใจ ประทับใจ ที่เราสามารถช่วยคนไข้ได้ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาแพทย์ ก็เลยคิดว่ามันน่าจะเหมาะกับเรา เพราะเราชอบด้วย ตอนนี้ก็เป็นหมอทางด้านนี้มาได้ประมาณ 5 ปีกว่าแล้วค่ะ (ยิ้ม)
• สนุกไหมคะการเป็นจิตแพทย์ เพราะดูเนื้องานน่าจะเครียด
ถามว่าสนุกตรงไหม จริงๆ หมอเป็นคนที่ไม่เคยทำอะไรแล้วรู้สึกสนุกเท่าไหร่มาก่อนเลย แต่จะมีความสุขตรงที่เราสามารถทำให้คนที่เขาหน้าบึ้ง เครียด หรือร้องไห้ เขาได้ยิ้มออกมา เขาสบายใจและมีความสุขเวลาที่ได้คุยกับเรา (ยิ้ม)
• จากประสบการณ์ที่เป็นหมอทางด้านนี้มา เคยเจอเคสหนักๆ บ้างหรือเปล่าคะ เป็นอย่างไรบ้าง ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยค่ะ
เคสที่หนักๆ เลยก็วุ่นวายอาละวาดค่ะ เป็นสมัยที่หมออยู่โรงพยาบาลรัฐบาลมากกว่า ก็จะเป็นประมาณว่าวิ่งวุ่นวาย ถอดเสื้อผ้า ทำร้ายเจ้าหน้าที่ ไม่ยอมให้จับ กรีดร้องอะไรทำนองนี้ค่ะ
• เจอแบบนั้นเข้าไป แก้ไขอย่างไรคะ
ตรงนี้อันดับแรกคือการพูดการคุยจะช่วยให้ผ่อนคลาย คำพูดของเราทำให้เขาสงบได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าวุ่นวายมากๆ ก็อาจจะต้องฉีดยาเพื่อระงับอาการ เพราะคนไข้ส่วนใหญ่จะเกิดจากสารเคมีในสมองแปรปรวน ไม่สมดุล มีอาการมากถึงขึ้นอาละวาดได้
• คนป่วยทางจิตคนอาจถูกมองว่าน่ากลัวและอันตราย หมอคิดว่าคนป่วยทางจิตอันตรายไหมคะ แล้วหมอไม่กลัวเหรอคะ
ถามว่าน่ากลัวไหม อันนี้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรคอะไรมากกว่าค่ะ มันเคยมีเหตุการณ์ที่คนไข้จิตเวชไปฆ่าเด็ก 5 คนที่เชียงใหม่ นั้นเรียกว่าอันตราย แต่ว่าคนไข้ทางอารมณ์ ซึมเศร้า ไบโพล่าร์ คือช่วงที่เขารักษาดี กินยาปกติ เขาก็ดูปกติ แต่ถ้าเขาขาดยา หรือในช่วงที่เขาเครียดหนัก หรือช่วงที่เคมีในสมองแปรปรวน อาจจะทำให้เขาซึมเศร้า ก็จะอันตราย เขาสามารถทำอะไรเสี่ยงๆ ได้ เช่น ทุบทำลายข้าวของ ขับรถเร็ว ลงมาท้าต่อย อย่างนี้เรียกว่าอันตรายต่อผู้อื่น
ส่วนตัวหมอไม่กลัวนะ เพราะว่าเรารู้วิธีจัดการอยู่แล้ว แต่เราไม่ได้ทำงานคนเดียว เรามีทีม เรามีผู้ช่วยพยาบาล เรามีพยาบาล อย่างเราเป็นผู้หญิง เราไม่ต้องไปจับล็อกคนไข้ แต่มีบุรุษพยาบาลช่วย ถ้าโรงพยาบาลเอกชนจะมีเจ้าหน้าที่เวรเปลที่ช่วย เหล่านี้เขาก็ต้องไปเรียนรู้ที่จะเป็นทีมของเราด้วยค่ะ
• ปัจจุบันมีคนเข้ามารักษาโรคทางจิตเยอะไหมคะ
เยอะขึ้นมาก จากที่หมอทำงานมา 5 ปีกว่า ก็มีเยอะขึ้นเรื่อยๆ นะคะ มีคนที่เดินมาพบหมอเพิ่มมากขึ้น บางทีก็ตกใจ เพราะวันหนึ่งมีคนเดินมาพบหมอ 20-30 คนต่อวันเลย แต่ตรงนี้หมอว่าอาจจะเป็นเพราะเขาได้รับข้อมูลเข้าถึงแพทย์มากขึ้น เขาเปิดใจกว้างมากขึ้น เลยกล้าที่จะเดินมาหาหมอมากขึ้นค่ะ (ยิ้ม)
• แล้วอาการผู้ป่วยทางจิตเป็นอย่างไรบ้างคะ มีวิธีการเช็คตัวเองอย่างไรเพราะอาจจะมีที่ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตัวเองป่วย
เบื้องต้น อย่างน้อยๆ เลย ก็แค่เครียด ไม่สบายใจ ไม่มีอาการใดๆ เลย แค่เขารู้สึกว่าไม่สบายใจ เขาก็มาแล้ว นอนหลับดี กินข้าวได้ แต่เขาก็เลือกที่จะมาปรึกษาก่อนที่จะมีอาการหนัก ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้นหน่อยก็จะนอนไม่หลับ ทานข้าวไม่ได้ ไม่มีสมาธิทำงาน เหม่อลอย หลงลืมก็มี บางคนอาจจะใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ อย่างเช่น ถ้าเป็นนักเรียนนักศึกษาก็ไปเรียนไม่ได้ ปวดหัว การเรียนตก ถ้าเป็นคนทำงานคือทำงานไม่ไหว มาทำงานแล้วเหม่อลอยประมาณนี้ค่ะ
• ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคทางจิตนี่มีอะไรบ้างคะคุณหมอ
มีเยอะมากเลยนะคะ ที่มาปรึกษาหมอจะมีทุกเรื่องเลย ไม่ว่าเครียดงาน ปัญหาในครอบครัว เรื่องความรัก ความสัมพันธ์กับเพื่อน สารเคมีในสมองก็มีแนวโน้มแปรปรวนได้ ส่วนหนึ่งก็จะมาจากพันธุกรรม อย่างเช่น โรคไบโพล่าร์ พันธุกรรมมีส่วนเยอะมาก สมมติว่าพ่อแม่ที่เป็นไบโพล่าร์ ลูกก็มีแนวโน้มเป็นด้วย ไบโพล่าร์คืออารมณ์แปรปรวนสองขั้ว คนไข้จะมีช่วงหนึ่งของชีวิตที่ซึมเศร้า และอีกช่วงหนึ่งเบิกบานแจ่มใส ร่าเริงผิดปกติ ซึ่งคนเป็นโรคนี้ค่อนข้างเยอะเลยค่ะ แต่ผู้ป่วยโรคนี้สามารถรู้ตัวเองนะคะ อย่างช่วงที่เป็นซึมเศร้า ส่วนใหญ่คนไข้จะรู้ตัวว่าตัวเองกำลังเป็นโรคซึมเศร้า แต่ช่วงที่ร่าเริง เบิกบาน คนไข้จะไม่ค่อยรู้ตัว ก็ต้องอาศัยญาติ หรือคนรอบข้างช่วยสังเกต
จริงๆ โรคซึมเศร้ามีสองแบบ ทั้งที่เป็นซึมเศร้าเพียวๆ กับไบโพล่าร์ 2 ขั้ว ต้องอาศัยดูไปยาวๆ เหมือนกัน บางคนเริ่มต้นด้วยซึมเศร้าแล้วอยู่ดีๆ ก็พลิกเป็นอีกขั้วหนึ่ง อันนี้เราก็จะไปวินิฉัยภายหลังว่าเป็นไบโพล่าร์หรือเป็นแบบสองขั้วค่ะ แต่โรคมันมีเยอะแยะมากมายเลยนะคะ ไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า
ส่วนปัจจัยเสี่ยงนอกจากพันธุกรรมก็มีบุคคลิกภาพ อันนี้ไม่ถึงกับเป็นโรค แต่บางคนที่มีบุคคลิกที่มีแนวโน้มจะเป็นโรค อย่างเช่นคนที่ต้องการเป็นคนสมบูรณ์แบบ คนที่ต้องเป๊ะ ทำอะไรก็ต้องเรียบร้อย ต้องสมบูรณ์ที่สุด ไม่ค่อยปล่อยวาง ไม่ค่อยรีแล็กซ์ ไม่มียืดหยุ่น มีแนวโน้มที่จะผิดหวังเพราะไม่ได้สมบูรณ์แบบเสมอไป เขาจะผิดหวังและกลายเป็นซึมเศร้าได้ หรือไม่ก็กลายเป็นคนย้ำคิดย้ำทำได้ เมื่อเขาเครียดมากๆ บางรายอาจส่งผลให้ฆ่าตัวตายได้
ขณะที่สังคมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง คือสังคมมันตึงเครียด อย่างรถติด เศรษฐกิจไม่ดี ก็กระตุ้นความเครียดได้ สื่อที่เราเข้าถึง ข่าว เหตุการณ์ต่างๆ มันมีผลกับจิตใจอยู่แล้ว ทำให้เรารู้สึกเศร้าหดหู่ อย่างสมมติมีเหตุการณ์ก่อการร้ายที่ปารีสเราก็ตกใจว่าจะเกิดกับบ้านเราไหม เพราะมันเคยเกิดขึ้นมาแล้ว หรือข่าวว่าดาราป่วย เราก็เริ่มจิตตกว่าเราจะเป็นไหม เขาเป็นเยอะไหม เรารู้สึกเศร้าเสียใจไปกับคนเหล่านั้น เราได้รับรู้ข่าวสารเพิ่มมากขึ้น เรามีแนวโน้มที่จะถูกกระทบกระเทือนจิตใจมากขึ้น
• จะว่าไปแล้ว การไปหาจิตแพทย์เป็นสิ่งที่น่ากลัวไหม เพราะหลายคนกลัวว่าถ้าเข้าพบหมอทางด้านนี้คนอาจจะมองว่าบ้าหรือเปล่า
จริงๆ คนไข้ที่ได้มาพบหมอแล้ว ไม่มีใครบอกว่าน่ากลัวเลย แต่ว่าคนที่กำลังตัดสินใจจะมาก็จะมองภาพจินตนาการไป อาจจะเห็นในหนังฝรั่ง ซึ่งมันไม่ใช่ความจริง บางคนคิดว่าต้องมานั่งเก้าอี้เอนนอนแล้วพูดไปเรื่อยๆ หมออยู่ข้างหลัง พอมาถึงไม่มีเก้าอี้อะไรแบบนี้ หรือไม่ก็คิดว่าถ้าแอดมิดก็ต้องอยู่ในที่ที่มีกรงขัง ถูกซ้อม ก็จะจินตนาการแบบนั้นไป
ในความเป็นจริง ก็แค่เข้ามาพูดคุยกัน ใช้วิธีการพูดคุย ตั้งคำถามให้เขาได้คิดได้พูดคุย จะไม่มีการส่งตรวจเลือดหรือเอ็กซเรย์ อาศัยการคุย ใช้ประสบการณ์ของหมอในการตัดสิน แต่ในรายที่มาแบบร้องไห้ เราก็จะให้เขาได้พักก่อน อย่างเช่นเขาไม่ได้หลับไม่ได้นอนมา 3 วัน เราก็จะให้เขาได้นอนก่อน แล้วสัปดาห์หน้าค่อยมาคุยกันถึงปัญหา เขาจะเริ่มมีแรงมีสมองที่จะช่วยกับเราในการแก้ปัญหา
• แบบนี้มีวิธีป้องกันไม่ให้ป่วยทางจิตไหมคะ
มีหลายวิธีนะคะ เช่น การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อันนี้สำคัญมากเลย แล้วก็ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน คือมันจำเป็นต้องทำ หมอเองก็ป้องกันด้วยวิธีนี้เหมือนกันค่ะ ทุกวันนี้ หมอก็ทำงานด้วย สอนโยคะด้วย เพราะก็ต้องยอมรับเหมือนกันว่าอาชีพหมอก็มีความเครียด เหนื่อย อีกอย่างมันกดดัน บางครั้งคนไข้เยอะก็ต้องแข่งกับเวลา หมอเลยจะใช้โยคะเพื่อช่วยเหลือตัวเอง ตรงนี้จะบอกว่าไม่จำเป็นต้องโยคะเสมอไป เพราะถ้าชอบทำอะไร ไม่ว่างานอดิเรกที่ทำแล้วมีความสุข รู้สึกผ่อนคลายหายเครียด แนะนำเลยว่าอันไหนที่ชอบ ให้แบ่งเวลาทำเยอะๆ เลยค่ะ (ยิ้ม)
• ในฐานะที่เป็นจิตแพทย์ อยากให้คนในสังคมมองคนที่มีปัญหาทางจิตอย่างไรคะ อยากให้เขาปรับทัศนคติมองคนเหล่านี้อย่างไรบ้าง
หมออยากให้ยอมรับว่ามันคือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้ค่ะ เหมือนเราเป็นไข้เป็นหวัดอะไรอย่างนั้นล่ะค่ะ เป็นได้ก็หายได้ คือการที่เราเห็นผู้ป่วยจิตเวชคนนี้ดูน่ากลัว สมัยก่อนเราจะมองแบบนั้น แต่เดียวนี้คนไข้สามารถเปิดเผยตัวเองได้ บางคนภูมิใจด้วยนะที่รู้ตัวเองว่าเขาไม่สบาย กำลังรักษาอยู่ อย่างนี้แหละ ไม่ได้บ้า แต่ถ้าไม่รู้ตัว ไม่รักษา ปฏิเสธว่าไม่เป็น อันนี้แหละอาการหนัก เป็นปัญหาต่อสังคมมมากว่า อยากให้พวกเราช่วยทำให้มันไม่เป็นตราบาปว่าคนไข้จิตเวช บางคนคิดว่าถ้ามีประวัติจะสมัครงานไม่ได้ ไม่มีใครรับเข้าทำงาน จริงๆ อยากให้มองลึกลงไป ไม่ใช่ว่าจะน่ากลัว
• แล้วอย่างคนเร่ร่อนที่เดินตามท้องถนน คุณหมอคิดอย่างไรบ้าง เพราะบางคนอาจถูกเหมารวมว่าเป็นคนบ้า
ส่วนใหญ่คนที่เดินเร่ร่อน ไม่มีที่นอนส่วนใหญ่จะมีอาการทางจิตนะ เหมือนกับว่าเขามีการผิดหวังหรือไม่ได้รับการช่วยเหลือมาในระดับหนึ่งแล้ว เขาถึงไม่มีที่พึ่ง แล้วพอออกมาอยู่เร่ร่อน แน่นอนว่ากินไม่ดี อยู่ไม่ดี แล้วนอนก็ไม่ค่อยหลับ มันยิ่งทำให้สารเคมีในสมองแปรปรวน อันนี้มันมี พรบ.สุขภาพจิต เราสามารถไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่ไปพาคนไข้มารักษา เราสามารถแจ้งได้เลยนะคะ แม้ไม่ใช่ญาติของเราเองก็ตาม อย่างโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจะรักษาฟรี เช่น โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดสุขภาพจิตต่างๆ
• จะว่าไปแล้วอาชีพไหนที่เสี่ยงต่อการป่วยทางจิตมากที่สุดคะคุณหมอ
จริงๆ ทุกอาชีพเลยค่ะ ถ้ามีความเครียดความกดดัน หมอเคยพูดถึงดารานักแสดง เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะมีอารมณ์ศิลปิน แต่ละวัน เขาต้องแสดงบทบาทที่ไม่ใช่ตัวเองออกมา มันทำให้อารมณ์ของเขาอาจจะแปรปรวนไปได้ ส่วนอาชีพอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจหรือแม้แต่อาชีพแพทย์เองก็เครียด ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นได้
• หมอมองวงการหมอด้านจิตแพทย์ในเมืองไทยอย่างไรบ้างคะ เขาเปิดกว้างขึ้นบ้างไหมคะ คนยอมรับไหม หรือจะให้ข้อมูลอย่างไรให้คนเข้าถึงหมอทางด้านนี้มากขึ้น
ดีขึ้นนะคะ คุณหมอทางกายที่เห็นว่าคนไข้มีอาการทางจิตก็จะส่งมาปรึกษาทางจิตแพทย์มากขึ้น แต่ก่อนคนไข้ไม่ยอมมา คุณหมอทางกายรักษาเองจ่ายยาทางจิตเวชเอง ทั้งที่ไม่ถนัด ก็จะมีคุณหมอหลายๆ ท่านโทรมาปรึกษาส่วนตัวบ้างว่าต้องให้ยายังไงดี เพราะคนไข้ไม่มา แต่ถ้าดูแลจนเขายอมรับมากขึ้น เปิดใจมากขึ้น เขาก็จะยอมมาตามที่คุณหมอทางร่างกายแนะนำ
หมอรู้สึกว่าเปิดกว้างขึ้นกว่าต่างประเทศอีกนะ เพราะจิตแพทย์ต่างประเทศทำงานน้อยกว่าเรามาก การแพทย์ต่างประเทศ กว่าจะเข้าถึงหมอเฉพาะทางยากมาก เขาจะมีหมอที่เป็นหมอครอบครัว ที่จะดูแลเบื้องต้นก่อน ถ้าคุณหมอคนนี้ไม่ส่งต่อปุ๊บ คนไข้ต่างประเทศก็ไม่มีทางได้พบหมอเฉพาะทาง ไม่เหมือนเมืองไทย ถ้าอยากพบหมอจิตแพทย์ก็ได้พบเลย
• สมัยก่อน คนที่เป็นผู้ป่วยทางนี้จะเข้าวัดไปหาพระหรือวัดมากกว่าจะมาหาจิตแพทย์ตรงนี้คุณหมอคิดอย่างไรคะ
จริงๆ ตอนนี้มันก็ยังช่วยได้นะคะ อะไรที่เขาทำแล้วมีความสุข มันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้ว้าวุ่นฟุ้งซ่าน ส่วนใหญ่คนไทยก็มีปัจจัยที่ดีที่ยังไม่ต้องมาพบจิตแพทย์ นั่นก็คือมีวัดหรือพระที่เหมือนเป็นที่พึ่งทางจิตใจ ได้ให้คำปรึกษาแล้วสเต็ปหนึ่ง แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้น จะต้องมาหาหมอ
ยังไงก็แล้วแต่ เขาต้องพึ่งตัวเองเป็นหลัก หลักการธรรมะก็สอนให้เราพึ่งตัวเองนี่ล่ะค่ะ แต่ว่าก็มีอาศัยเทคนิคพิธีกรรมมาช่วย อย่างหมอก็ไม่ใช่จะให้คนไข้มายึดหมอเป็นที่พึ่ง สุดท้ายแล้วหมอก็จะให้เขาพึ่งตัวเอง มีอีกอย่างที่คนไข้ไทยมักถามหมอคือ จะต้องทำยังไง ให้หมอบอกหน่อย จริงๆ แล้วหมอจิตแพทย์ไม่ได้มีหน้าที่ตัดสินชีวิตหรือให้คำตอบเหล่านั้นกับใคร แต่จะใช้การพูดคุยให้เขาตกผลึกคิดได้เองว่าชีวิตเขาจะต้องทำยังไงต่อไป
• ท้ายนี้ถ้ามีคนในครอบครัวเข้าข่ายว่าจะมีปัญหาทางจิตเราจะใช้วิธีการอย่างไร หรือมีวิธีพูดอย่างไรให้เขามาหาหมอคะ
ตรงนี้ ถ้าผู้ป่วยไม่รู้ตัวเองจริงๆ ญาติต้องค่อยๆ ปลอบ ค่อยๆ ชักชวนมา หรือถ้าเป็นมากจริงๆ แต่เขาไม่ยอมมา เดี๋ยวนี้เรามี พรบ.สุขภาพจิต สามารถบังคับรักษาได้ ญาติสามารถไปแจ้งความให้ตำรวจมานำตัวส่งโรงพยาบาลได้เลยค่ะ แต่ถ้าเคสไม่หนัก เราก็อาจจะมีวิธีหลอกล่อ เขามีอาการทางกายอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ทางจิต อย่างปวดหัว ก็ลองเอาอาการทางกายอย่างนี้เล็กๆ น้อยๆ มาปรึกษาหมอไหม แล้วทางหมอก็จะมีการเตรียมการกับญาติเอง บอกเขาว่าเราไปหาหมอเพราะปวดหัว แต่สุดท้ายแล้ว หมอก็จะคุยกับคนไข้ถึงประเด็นอาการทางใจร่วมไปด้วยค่ะ (ยิ้ม)
เรื่อง : วรัญญา งามขำ, อนงค์นาฏ ชนะกุล
ภาพ : พงษ์ฤทธิ์ฑา ขวัญเนตร