สดับภาษาธรรม ผ่านถ้อยคำของแกนนำภาษาเพลงแห่งยุค 70 “นราธิป กาญจนวัฒน์” นักร้องนำและมือกีตาร์แห่งวงชาตรีที่เป็นตำนานมากว่า 40 ปี หลังจากพาชีวิตไปใกล้ชิดรสพระธรรมนานเกือบ 20 ปี ก่อนจะสึกออกมาด้วยมุมมองที่ต่างไปจากเดิม
คอเพลงรุ่นคุณพ่อ หรือผู้ฝักใฝ่ศึกษาความเป็นมาเป็นไปของวงการเพลงไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ย่อมจะรู้ว่า “ชาตรี” วงดนตรีที่หยิบเอาชื่อหนังสือพระเครื่องมาตั้งเป็นชื่อแบนด์วงนี้ เปรียบเสมือนไม้ใหญ่ต้นหนึ่งในโลกแห่งดนตรีบ้านเรา และตลอดระยะเวลากว่าสามสิบปี “ชาตรี” ได้ก่อเกิดบทเพลงที่โด่งดังและเป็นตำนานมากมายหลายเพลงและหลายชุด เอาเท่าที่รู้จักกันวงกว้างๆ ทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นหลัง คือเพลง “แฟนฉัน” ซึ่งกลายเป็นทั้งแรงบันดาลใจและชื่อหนังไทยที่ได้รับกระแสนิยมและชื่นชมทั่วประเทศ เฉกเช่นกับบทเพลง
วันเวลาผันผ่าน ยังเหลือตำนานฝากไว้ให้จดจำ สมาชิกแห่ง “ชาตรี” แยกย้ายไปตามความสนใจเฉพาะตน โดยหนึ่งในแกนนำคนสำคัญที่ร่วมปลุกปั้นวงขึ้นมา “นราธิป กาญจนวัฒน์” ใช้เวลากว่ายี่สิบปีในวิถีแห่งสมณะ ตั้งปณิธานว่าจะบวชพระตลอดชีวิต อย่างไรก็ดี ในขวบปีแห่งการเป็นพระ ปีที่ 17 หรือราวๆ นั้น “นราธิป กาญจนวัฒน์” ได้ผลัดผ้าเหลืองออกจากร่างและเดินทางสู่โลกฆราวาสอีกครั้งหนึ่ง
หลายสิ่งนั้นเปลี่ยนไป พร้อมกับวันวัยที่เปลี่ยนแปลง แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไม่เปลี่ยนแปรคือความรักในบทเพลง หลังจากที่ขึ้นคอนเสิร์ตร่วมกับเพื่อนเมื่อเกือบสิบปีก่อน “นราธิป” กำลังเตรียมตัวขึ้นเวทีอีกครั้งในคอนเสิร์ต Yesterday Once More ครั้งที่ 2 ช่วงปลายเดือนธันวาคมนี้ แต่ขณะนี้ที่รอคอย เราจับเข่าคุยกับศิลปินรุ่นใหญ่ผู้แก่พรรษาทั้งวัดวาและการทำเพลง พิศภาษาเพลง ผ่านภาษาธรรม จากน้ำเนื้อแห่งความคิดที่กลั่นออกมาจากประสบการณ์ชีวิตของนักเพลงผู้ผ่านโลกมามากคนหนึ่ง
• ชีวิตหลังจากที่สึกออกมา ถือว่าเปลี่ยนไปไหมครับ
ไม่เปลี่ยนครับ เพราะมันเป็นความเคยชิน เหมือนกลับมาบ้านเดิม สวมเสื้อตัวเดิม มาเล่นอะไรในบทบาทเดิม เพียงแต่อาจจะเพิ่มเติมเนื้อหาขึ้นมาหน่อย คือเหมือนเราไปค้นตัวเองมาแล้วก็พบว่าถ้าเราจะค้นตัวเอง ที่ไหนก็ค้นได้ ในป่า ในเขา หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน ก็ค้นได้ ไม่ต้องเลือกสถานที่ ไม่ต้องเลือกยูนิฟอร์ม เราสามารถที่จะค้นตัวเองได้ ทุกอิริยาบถ ทุกสถานที่ ถ้าเราจะทำ ก็สามารถทำได้ทุกที่ ไม่ต้องรอว่าวันนี้หรือวันไหน
• จากที่รู้มา คุณเคยบอกว่าจะบวชตลอดชีวิต แล้วเกิดอะไรขึ้นถึงไม่เป็นเช่นนั้น
ก่อนนั้น ตั้งปณิธานว่าจะบวชตลอดชีวิต แต่พอถึงเวลา ชีวิตมันเปลี่ยน ไม่เคยคิดเหมือนกันว่ามันจะต้องเปลี่ยน แต่มันถึงเวลาแล้ว เราไม่รู้ว่าเพลงท่อนต่อไปจะเป็นอย่างไร แต่พอถึงจุดเปลี่ยนก็... “อ๋อ อย่างนี้นี่เอง” พอกลับมาใหม่ ก็กลายเป็นเราอีกคนหนึ่ง คือคนที่ไปชาร์จแบตเตอรี่ คนที่ไปเสริมข้อมูล ไปเรียนรู้ในท่ามกลางความเป็นจริงของชีวิตแล้วกลับออกมา ดังนั้น ถ้าสังเกตในเพจของผม ข้างในก็มีธรรมะทุกวัน วันละชุดพร้อมรูป คือต้องการให้คนเข้าถึงสัจธรรมแห่งความเป็นจริง เราจะได้ไม่หลงทาง คือพยายามให้คนเห็นถึงว่า สิ่งใดที่มันไม่เที่ยงกับตัวเรา เราก็อย่าไปหมายมั่นหรือยึดมั่น เช่น อย่าเชื่อว่าคนนี้จะดีเสมอไป เพราะคนเรามีบางเวลาที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง ฉะนั้น ถอนความเห็นในสิ่งที่มันไม่เที่ยง เราไม่เชื่อว่าใครจะดีเสมอไปหรือใครจะเลวเสมอไป เราเชื่อว่าคนเราเลวได้ก็สามารถกลับมาดีได้ เราเห็นคนดีหลายคนเปลี่ยนเป็นคนเลวก็เยอะ เราจะไม่เอาความเห็นไปปรักปรำใครว่าคนนี้เป็นคนเลวตลอดชีวิต
• คิดว่าอะไรคือแก่นสารของการที่เราไปบวชครับ
เหมือนกับเราไปเรียนรู้ครับ เราไปตรงนั้นเพื่อที่จะกลับไปอีกคนหนึ่ง ก่อนเราไป เรามองบทเพลงของเราเป็นรูปแบบหนึ่ง พอเราไปบวชแล้วพอกลับมา รู้สึกว่ามันแตกต่าง มุมมองในการมองชีวิต มันต่างไป เรามองชีวิตแตกต่างไป เราเข้าใจชีวิตได้มากขึ้น เข้าใจในหลายๆ เรื่องในโลกสมมตินั้น อย่างเรื่องพิธีกรรมหรือเรื่องอะไรก็ตาม ไม่ต้อง ถ้าเราสามารถอยู่ในความเป็นจริง ได้ทุกเวลาด้วยการเป็นผู้ปฎิบัติในสิ่งที่พระพุทธเจ้าให้ลดละ เพราะว่าเรามีอาวุธคือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เราสามารถใช้งานได้ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องไปใช้ในที่สงัด ในป่าในเขา ไม่ต้องไปใช้ในการหนีปัญหา เราใช้มันเผชิญปัญหาเลย บรรลุตรงปัญหา ไม่ต้องหลอกตัวเองว่าบรรลุธรรมในที่หลีกเร้นและเงียบสงัด แต่บรรลุธรรมในท่ามกลางปัญหา ท่ามกลางสิ่งที่เร่าร้อนและรุนแรง ให้เยือกเย็นได้ในท่ามกลางเหล่านี้ เขาเรียกว่าทำได้หมดในการปฎิบัติ
คือมันไม่ทุรนทุราย อย่างสมัยก่อน เวลาเราเจออะไรกระทบ มันมีความคิดว่าอยากจะหนีสิ่งนั้นไปพ้นๆ แต่เดี๋ยวนี้เราไม่หนี เช่น เราเจอคนที่ทำไม่ดีกับเรา เราใช้วิธีอภัยให้ แต่เราจะไม่เข้าไปคลุกมาก เพราะเขากับเราเป็นธาตุที่ต้องกระทบกันอยู่เรื่อย โดยธรรมชาติของมันที่เกิดแล้วกระทบๆ ไป เราก็อโหสิให้ แต่ว่าคุณอยู่ห่างกับฉัน เว้นระยะ ไม่ผูกอาฆาต ก็จัดวางไว้อย่างงั้น แล้วก็ทำให้มิตรภาพที่มีต่อกันนั้น ไม่เสื่อมลงไป แค่นั้นพอแล้ว คุณเคยมีความดีกับผม คุณเคยให้ความรักกับผม วันนี้หมดเวลานะ แต่เราก็จะไม่เกลียดกันไปกว่านี้แล้ว
• พอสึกออกมา รู้สึกว่าโลกมันเปลี่ยนๆ มั้ยครับ
ไม่เปลี่ยนนะครับ เพราะว่าเป็นคนที่ตามโลกตลอดเวลา หมายถึงว่า ดูตามความเป็นจริง เออ เขาอยู่กันอย่างนี้ เมื่อเรามาอยู่ เราก็เข้ากับเขาให้ได้โดยไม่ขัดแย้ง คิดเสมอว่าเรามาเรียน มาสอบ มาปฎิบัติ ซึ่งไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ เราก็ต้องเรียน และเราก็ดูตัวเราที่ว่า เมื่อเขาส่งข้อสอบให้ เราสอบได้มั้ย หรือสอบตก นี่คือโหมดตัวเอง ก็เลยคิดว่า ทุกเวลานาที เราอยู่กับการเรียนและการสอบ จึงรู้สึกว่าอยู่ตรงไหนก็โอเค อยู่ที่ว่าจะยอมรับกับสิ่งที่เขาให้สอบแบบนี้ ยอมรับว่าเขาให้เรียนแบบนี้ ทำข้อสอบให้ได้ แต่ถ้าสอบตก แสดงว่าเราไม่ได้ดูตัวเอง เราจะไม่รู้ว่าสอบได้หรือสอบตก เพราะเรามัวแต่ไปดูคนอื่นว่าเลวว่าชั่ว แต่ถ้าเรามีสติดู เราจะพบและคลี่คลาย แก้ไขได้ด้วยตัวเราเอง
เพราะฉะนั้น ก็จึงเฉยๆ ที่กลับออกมา เพราะเรารู้แล้วว่ามันต้องเป็นแบบนี้ แล้วก็จะเจอทุกรูปแบบ เพียงแค่เรามีมุมมองกับชีวิตแบบนี้ มุมมองที่เห็นว่า ทุกอย่างมันมีคุณค่ากับชีวิตเรา เราก็จะไม่ค่อยทุกข์ แต่คนเรามักจะทุกข์ เพราะไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ แต่ถ้าเรามีมุมมองว่า นี่คือสิ่งที่เราจะผ่านไปในแต่ละวัน คือไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ คุณก็ต้องเจอ แล้วจะไปทุกข์ทำไม ก็เรียนรู้ สอบ และดูตัวเอง ให้คะแนนตัวเองว่าคุณสอบได้หรือสอบตก ก็ทำให้มีความสุข ดูว่าชีวิตนี้มันทรงคุณค่านะ เพราะว่าถ้าเราหนีสิ่งเหล่านี้ไปแล้ว เก็บตัวเองอยู่ในที่ที่หนึ่ง มันก็ไม่ได้อะไรเลย จริงๆ เขาให้เรามาบรรลุกับสิ่งเหล่านี้ ให้มาครบ ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนที่เขาบอกว่า อย่าดูช้างแค่ตูดช้าง ให้เห็นอย่างอื่นด้วย เห็นหู เห็นงา ดูให้ครบ ดูให้หมด ดูให้ละเอียดว่า อย่างหยาบเป็นยังไง อย่างละเอียดเป็นยังไง แล้วการไม่ทุกข์แบบไม่หลอกตัวเองนั้น เป็นยังไง (ยิ้ม)
• คือใช้ชีวิตตามปกติ
คนเดิมเลยครับ จับกีตาร์ แต่งเพลง และก็ขึ้นไปร้องเพลง ทำตัวเหมือนเดิม เล่นให้สมบทบาทไป เราคิดเสมอว่าตัวเองเป็นผู้ปฎิบัติ คือตอนที่สึกก็บอกตัวเองว่า “สุดทางบวช แต่ไม่สุดทางธรรม” เพราะก็ยังปฎิบัติอยู่ ยังเป็นนักบวชอยู่ภายใน เหมือนเราได้ไปเจอแสงสว่างมา เป็นแสงสว่างของสัจธรรม พอเราได้มันมา มันก็พาเราไปในทางที่ควรเดิน
เพราะฉะนั้น เราก็เผชิญกับความเป็นจริง และถ้าจะบรรลุ ก็ขอให้บรรลุในความเป็นจริง อย่าคอยบรรลุเพราะว่าเราเสแสร้งมันขึ้นมา หรือถ้าสอบตก ก็ให้มันตกไปเลย อย่างพระพุทธเจ้าท่านยอมออกจากความสุขความสบาย ลงไปเผชิญกับชีวิตที่เป็นจริง แต่จริงๆ ท่านบำเพ็ญมานานแล้วล่ะ ไม่ใช่แค่ชาติสุดท้ายตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านเจอมาทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างเราก็เป็นลูกหลานท่าน ก็ฝึกให้หัวใจเสริมใยเหล็ก จะได้เดินต่อไป พยายามทำหน่วยกิตแห่งการบำเพ็ญของเราให้เต็มที่ เราจะไม่ดูถูกใครทั้งสิ้นว่าคนนี้ทำไมไม่ทำ บางทีเราเห็นว่าคนนี้กระโดกกระเดก แต่เขาอาจจะบำเพ็ญมาเยอะแล้วก็เป็นได้ อย่างเช่นท่านอรหันต์จี้กง คือของพวกนี้มันไม่ใช่ของที่จะมาเสแสร้งแกล้งทำ
• จากเรื่องธรรม ไปสู่เรื่องเพลง หลังสึกออกมา มีโปรเจกต์เกี่ยวกับการทำเพลงอย่างไรหรือเปล่าครับ
คือเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ทำเพลงแบบเมื่อก่อนแล้วครับ จะมีทำออกมาอยู่ใน youtube ของช่องตัวเอง เพราะเราไม่ได้สังกัดใครแล้ว เราคิดว่าบางอย่างที่ทำ ก็เป็นทานบารมีไป ให้หลายคนได้ฟังไป โลกเปลี่ยนไปแล้ว คุณก็ต้องปรับถึงจะอยู่ได้ อีกอย่าง เราเป็นตำนานไปแล้ว เวลาเจอหน้า เพลงใหม่ๆ เขาก็ไม่สนใจหรอก ก็จะขอแต่เพลงเก่าๆ ที่เราเคยทำเคยร้องเหล่านั้นล่ะ เช่นเพลง “แฟนฉัน”, “อธิษฐานรัก” มันก็เหมือนสิ่งที่ประทับไว้แล้ว
• ในสายตาของรุ่นใหญ่ มองวงการเพลงไทยในยุคนี้อย่างไรบ้างครับ
มันเหมือนกับธรรมชาตินะ คือถึงเวลาก็จะเปลี่ยนไป มันเปลี่ยนไปเอง หลายๆ คนที่อยู่ในอดีต เขาฝังใจอยู่กับแนวเพลงหรือการแต่งท่วงทำนองและลีลาแบบนั้น พอเจอแบบใหม่ บางคนรับไม่ได้ แต่คนที่เกิดยุคปัจจุบัน เขาก็รับได้ แน่นอนว่า คนเราจะมีสิ่งที่ประทับเอาไว้ แต่วงการเพลงก็เหมือนกับภาษาที่เปลี่ยนตลอดเวลา วัฒนธรรมเปลี่ยนไป โลกเปลี่ยนไป มันไม่เสถียร วิธีการร้องก็เปลี่ยน คนฟังก็เปลี่ยน ของพวกนี้มันไม่เที่ยง ถ้าเราไปจริงจัง ก็เป็นทุกข์
ดังนั้น ใครชอบก็ฟัง ใครไม่ชอบก็ปฎิเสธ แต่สำหรับตัวผม มันเป็นธรรมชาติ ก็เลยไม่รู้สึกว่ามันมีอะไรผิดปกติ เดี๋ยวมันก็เปลี่ยนอีก ลองไล่ดูสิ ยุคชาตรี ก็ไป อัสนี-วสันต์ ก็ร้องอีกแบบ พอเป็น อำพล ลำพูน ก็เป็นอีกแบบ หรือพอมายุค ป๊อด โมเดิร์นด็อก ก็เป็นอีกแบบ มันมีการเจริญเติบโต มีการซึมซับและเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มีการผสมผสานแนวดนตรีใหม่ ก็เกิดเสียงใหม่ มีการเวียนว่ายตายเกิดไป ตราบใดที่มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะเป็นอยู่อย่างงี้ เพลงก็เช่นกัน ทั้งคนนำเสนอและคนฟังก็เปลี่ยนไป
• แต่ก็มีบางวงนะครับที่นำเทรนด์ดนตรีจากวันวานมาผสานกับปัจจุบัน
เหมือนเอาน้ำเค็มกับน้ำจืดมาค่อยๆ ผสมกัน ก็จะเป็นน้ำกร่อย จนปลาไม่รู้สึกตัวว่ามันเปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งก็เปรียบว่าคนฟังนึกว่าซาวนด์ใหม่ แต่จริงๆ มัน เหมือนกับน้ำกร่อยที่ค่อยๆ เปลี่ยนจนไม่รู้สึกตัว แต่เรามีความสุขกับเด็กยุคปัจจุบันที่ทำเพลงในลักษณะนี้นะ มองแง่หนึ่งก็เป็นซาวนด์ใหม่และสามารถให้วัยรุ่นได้ไปฟังเพลงยุคอดีตด้วย ฉะนั้น เราก็ควรให้กำลังใจเขา เขามีความคิดของเขา เดินไปด้วยกัน ไม่ขัดแย้ง และยิ่งมีคนทำอย่างนี้มากเท่าไหร่ วงการยิ่งพัฒนา เราต้องให้กำลังใจและให้เกียรติ อย่าไปย่ำอยู่กับที่ ไม่ใช่ว่าพอมีของใหม่มา ก็จะต่อต้าน
เราต้องยอมรับความจริง แนวเพลงไม่อยู่กับที่ เรามองแบบนี้เหมือนกับมองโลก ถึงเวลาก็ต้องเปลี่ยน ถึงเวลาดาวเด่น ถึงเวลาดาวอับแสง ถึงเวลาคนคนหนึ่งอาจจะทำในสิ่งที่คาดไม่ถึง เราก็จะต้องรู้ว่าของทุกอย่าง เหมือนกับจัดวางอยู่บนดินอยู่แล้ว รอว่าเมื่อไหร่จะผุดขึ้นมา เมล็ดพันธุ์พวกนี้ พอได้เวลา ได้ฝน ได้น้ำ ได้อากาศ มันก็เกิดขึ้นมา ผมชอบคนที่มีความคิดของตัวเอง ยืนหยัด เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน มันเป็นสิ่งที่เขาแสดงตัวตนของเขา เราต้องสนับสนุนครับ
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พลภัทร วรรณดี
คอเพลงรุ่นคุณพ่อ หรือผู้ฝักใฝ่ศึกษาความเป็นมาเป็นไปของวงการเพลงไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ย่อมจะรู้ว่า “ชาตรี” วงดนตรีที่หยิบเอาชื่อหนังสือพระเครื่องมาตั้งเป็นชื่อแบนด์วงนี้ เปรียบเสมือนไม้ใหญ่ต้นหนึ่งในโลกแห่งดนตรีบ้านเรา และตลอดระยะเวลากว่าสามสิบปี “ชาตรี” ได้ก่อเกิดบทเพลงที่โด่งดังและเป็นตำนานมากมายหลายเพลงและหลายชุด เอาเท่าที่รู้จักกันวงกว้างๆ ทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นหลัง คือเพลง “แฟนฉัน” ซึ่งกลายเป็นทั้งแรงบันดาลใจและชื่อหนังไทยที่ได้รับกระแสนิยมและชื่นชมทั่วประเทศ เฉกเช่นกับบทเพลง
วันเวลาผันผ่าน ยังเหลือตำนานฝากไว้ให้จดจำ สมาชิกแห่ง “ชาตรี” แยกย้ายไปตามความสนใจเฉพาะตน โดยหนึ่งในแกนนำคนสำคัญที่ร่วมปลุกปั้นวงขึ้นมา “นราธิป กาญจนวัฒน์” ใช้เวลากว่ายี่สิบปีในวิถีแห่งสมณะ ตั้งปณิธานว่าจะบวชพระตลอดชีวิต อย่างไรก็ดี ในขวบปีแห่งการเป็นพระ ปีที่ 17 หรือราวๆ นั้น “นราธิป กาญจนวัฒน์” ได้ผลัดผ้าเหลืองออกจากร่างและเดินทางสู่โลกฆราวาสอีกครั้งหนึ่ง
หลายสิ่งนั้นเปลี่ยนไป พร้อมกับวันวัยที่เปลี่ยนแปลง แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไม่เปลี่ยนแปรคือความรักในบทเพลง หลังจากที่ขึ้นคอนเสิร์ตร่วมกับเพื่อนเมื่อเกือบสิบปีก่อน “นราธิป” กำลังเตรียมตัวขึ้นเวทีอีกครั้งในคอนเสิร์ต Yesterday Once More ครั้งที่ 2 ช่วงปลายเดือนธันวาคมนี้ แต่ขณะนี้ที่รอคอย เราจับเข่าคุยกับศิลปินรุ่นใหญ่ผู้แก่พรรษาทั้งวัดวาและการทำเพลง พิศภาษาเพลง ผ่านภาษาธรรม จากน้ำเนื้อแห่งความคิดที่กลั่นออกมาจากประสบการณ์ชีวิตของนักเพลงผู้ผ่านโลกมามากคนหนึ่ง
• ชีวิตหลังจากที่สึกออกมา ถือว่าเปลี่ยนไปไหมครับ
ไม่เปลี่ยนครับ เพราะมันเป็นความเคยชิน เหมือนกลับมาบ้านเดิม สวมเสื้อตัวเดิม มาเล่นอะไรในบทบาทเดิม เพียงแต่อาจจะเพิ่มเติมเนื้อหาขึ้นมาหน่อย คือเหมือนเราไปค้นตัวเองมาแล้วก็พบว่าถ้าเราจะค้นตัวเอง ที่ไหนก็ค้นได้ ในป่า ในเขา หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน ก็ค้นได้ ไม่ต้องเลือกสถานที่ ไม่ต้องเลือกยูนิฟอร์ม เราสามารถที่จะค้นตัวเองได้ ทุกอิริยาบถ ทุกสถานที่ ถ้าเราจะทำ ก็สามารถทำได้ทุกที่ ไม่ต้องรอว่าวันนี้หรือวันไหน
• จากที่รู้มา คุณเคยบอกว่าจะบวชตลอดชีวิต แล้วเกิดอะไรขึ้นถึงไม่เป็นเช่นนั้น
ก่อนนั้น ตั้งปณิธานว่าจะบวชตลอดชีวิต แต่พอถึงเวลา ชีวิตมันเปลี่ยน ไม่เคยคิดเหมือนกันว่ามันจะต้องเปลี่ยน แต่มันถึงเวลาแล้ว เราไม่รู้ว่าเพลงท่อนต่อไปจะเป็นอย่างไร แต่พอถึงจุดเปลี่ยนก็... “อ๋อ อย่างนี้นี่เอง” พอกลับมาใหม่ ก็กลายเป็นเราอีกคนหนึ่ง คือคนที่ไปชาร์จแบตเตอรี่ คนที่ไปเสริมข้อมูล ไปเรียนรู้ในท่ามกลางความเป็นจริงของชีวิตแล้วกลับออกมา ดังนั้น ถ้าสังเกตในเพจของผม ข้างในก็มีธรรมะทุกวัน วันละชุดพร้อมรูป คือต้องการให้คนเข้าถึงสัจธรรมแห่งความเป็นจริง เราจะได้ไม่หลงทาง คือพยายามให้คนเห็นถึงว่า สิ่งใดที่มันไม่เที่ยงกับตัวเรา เราก็อย่าไปหมายมั่นหรือยึดมั่น เช่น อย่าเชื่อว่าคนนี้จะดีเสมอไป เพราะคนเรามีบางเวลาที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง ฉะนั้น ถอนความเห็นในสิ่งที่มันไม่เที่ยง เราไม่เชื่อว่าใครจะดีเสมอไปหรือใครจะเลวเสมอไป เราเชื่อว่าคนเราเลวได้ก็สามารถกลับมาดีได้ เราเห็นคนดีหลายคนเปลี่ยนเป็นคนเลวก็เยอะ เราจะไม่เอาความเห็นไปปรักปรำใครว่าคนนี้เป็นคนเลวตลอดชีวิต
• คิดว่าอะไรคือแก่นสารของการที่เราไปบวชครับ
เหมือนกับเราไปเรียนรู้ครับ เราไปตรงนั้นเพื่อที่จะกลับไปอีกคนหนึ่ง ก่อนเราไป เรามองบทเพลงของเราเป็นรูปแบบหนึ่ง พอเราไปบวชแล้วพอกลับมา รู้สึกว่ามันแตกต่าง มุมมองในการมองชีวิต มันต่างไป เรามองชีวิตแตกต่างไป เราเข้าใจชีวิตได้มากขึ้น เข้าใจในหลายๆ เรื่องในโลกสมมตินั้น อย่างเรื่องพิธีกรรมหรือเรื่องอะไรก็ตาม ไม่ต้อง ถ้าเราสามารถอยู่ในความเป็นจริง ได้ทุกเวลาด้วยการเป็นผู้ปฎิบัติในสิ่งที่พระพุทธเจ้าให้ลดละ เพราะว่าเรามีอาวุธคือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เราสามารถใช้งานได้ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องไปใช้ในที่สงัด ในป่าในเขา ไม่ต้องไปใช้ในการหนีปัญหา เราใช้มันเผชิญปัญหาเลย บรรลุตรงปัญหา ไม่ต้องหลอกตัวเองว่าบรรลุธรรมในที่หลีกเร้นและเงียบสงัด แต่บรรลุธรรมในท่ามกลางปัญหา ท่ามกลางสิ่งที่เร่าร้อนและรุนแรง ให้เยือกเย็นได้ในท่ามกลางเหล่านี้ เขาเรียกว่าทำได้หมดในการปฎิบัติ
คือมันไม่ทุรนทุราย อย่างสมัยก่อน เวลาเราเจออะไรกระทบ มันมีความคิดว่าอยากจะหนีสิ่งนั้นไปพ้นๆ แต่เดี๋ยวนี้เราไม่หนี เช่น เราเจอคนที่ทำไม่ดีกับเรา เราใช้วิธีอภัยให้ แต่เราจะไม่เข้าไปคลุกมาก เพราะเขากับเราเป็นธาตุที่ต้องกระทบกันอยู่เรื่อย โดยธรรมชาติของมันที่เกิดแล้วกระทบๆ ไป เราก็อโหสิให้ แต่ว่าคุณอยู่ห่างกับฉัน เว้นระยะ ไม่ผูกอาฆาต ก็จัดวางไว้อย่างงั้น แล้วก็ทำให้มิตรภาพที่มีต่อกันนั้น ไม่เสื่อมลงไป แค่นั้นพอแล้ว คุณเคยมีความดีกับผม คุณเคยให้ความรักกับผม วันนี้หมดเวลานะ แต่เราก็จะไม่เกลียดกันไปกว่านี้แล้ว
• พอสึกออกมา รู้สึกว่าโลกมันเปลี่ยนๆ มั้ยครับ
ไม่เปลี่ยนนะครับ เพราะว่าเป็นคนที่ตามโลกตลอดเวลา หมายถึงว่า ดูตามความเป็นจริง เออ เขาอยู่กันอย่างนี้ เมื่อเรามาอยู่ เราก็เข้ากับเขาให้ได้โดยไม่ขัดแย้ง คิดเสมอว่าเรามาเรียน มาสอบ มาปฎิบัติ ซึ่งไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ เราก็ต้องเรียน และเราก็ดูตัวเราที่ว่า เมื่อเขาส่งข้อสอบให้ เราสอบได้มั้ย หรือสอบตก นี่คือโหมดตัวเอง ก็เลยคิดว่า ทุกเวลานาที เราอยู่กับการเรียนและการสอบ จึงรู้สึกว่าอยู่ตรงไหนก็โอเค อยู่ที่ว่าจะยอมรับกับสิ่งที่เขาให้สอบแบบนี้ ยอมรับว่าเขาให้เรียนแบบนี้ ทำข้อสอบให้ได้ แต่ถ้าสอบตก แสดงว่าเราไม่ได้ดูตัวเอง เราจะไม่รู้ว่าสอบได้หรือสอบตก เพราะเรามัวแต่ไปดูคนอื่นว่าเลวว่าชั่ว แต่ถ้าเรามีสติดู เราจะพบและคลี่คลาย แก้ไขได้ด้วยตัวเราเอง
เพราะฉะนั้น ก็จึงเฉยๆ ที่กลับออกมา เพราะเรารู้แล้วว่ามันต้องเป็นแบบนี้ แล้วก็จะเจอทุกรูปแบบ เพียงแค่เรามีมุมมองกับชีวิตแบบนี้ มุมมองที่เห็นว่า ทุกอย่างมันมีคุณค่ากับชีวิตเรา เราก็จะไม่ค่อยทุกข์ แต่คนเรามักจะทุกข์ เพราะไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ แต่ถ้าเรามีมุมมองว่า นี่คือสิ่งที่เราจะผ่านไปในแต่ละวัน คือไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ คุณก็ต้องเจอ แล้วจะไปทุกข์ทำไม ก็เรียนรู้ สอบ และดูตัวเอง ให้คะแนนตัวเองว่าคุณสอบได้หรือสอบตก ก็ทำให้มีความสุข ดูว่าชีวิตนี้มันทรงคุณค่านะ เพราะว่าถ้าเราหนีสิ่งเหล่านี้ไปแล้ว เก็บตัวเองอยู่ในที่ที่หนึ่ง มันก็ไม่ได้อะไรเลย จริงๆ เขาให้เรามาบรรลุกับสิ่งเหล่านี้ ให้มาครบ ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนที่เขาบอกว่า อย่าดูช้างแค่ตูดช้าง ให้เห็นอย่างอื่นด้วย เห็นหู เห็นงา ดูให้ครบ ดูให้หมด ดูให้ละเอียดว่า อย่างหยาบเป็นยังไง อย่างละเอียดเป็นยังไง แล้วการไม่ทุกข์แบบไม่หลอกตัวเองนั้น เป็นยังไง (ยิ้ม)
• คือใช้ชีวิตตามปกติ
คนเดิมเลยครับ จับกีตาร์ แต่งเพลง และก็ขึ้นไปร้องเพลง ทำตัวเหมือนเดิม เล่นให้สมบทบาทไป เราคิดเสมอว่าตัวเองเป็นผู้ปฎิบัติ คือตอนที่สึกก็บอกตัวเองว่า “สุดทางบวช แต่ไม่สุดทางธรรม” เพราะก็ยังปฎิบัติอยู่ ยังเป็นนักบวชอยู่ภายใน เหมือนเราได้ไปเจอแสงสว่างมา เป็นแสงสว่างของสัจธรรม พอเราได้มันมา มันก็พาเราไปในทางที่ควรเดิน
เพราะฉะนั้น เราก็เผชิญกับความเป็นจริง และถ้าจะบรรลุ ก็ขอให้บรรลุในความเป็นจริง อย่าคอยบรรลุเพราะว่าเราเสแสร้งมันขึ้นมา หรือถ้าสอบตก ก็ให้มันตกไปเลย อย่างพระพุทธเจ้าท่านยอมออกจากความสุขความสบาย ลงไปเผชิญกับชีวิตที่เป็นจริง แต่จริงๆ ท่านบำเพ็ญมานานแล้วล่ะ ไม่ใช่แค่ชาติสุดท้ายตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านเจอมาทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างเราก็เป็นลูกหลานท่าน ก็ฝึกให้หัวใจเสริมใยเหล็ก จะได้เดินต่อไป พยายามทำหน่วยกิตแห่งการบำเพ็ญของเราให้เต็มที่ เราจะไม่ดูถูกใครทั้งสิ้นว่าคนนี้ทำไมไม่ทำ บางทีเราเห็นว่าคนนี้กระโดกกระเดก แต่เขาอาจจะบำเพ็ญมาเยอะแล้วก็เป็นได้ อย่างเช่นท่านอรหันต์จี้กง คือของพวกนี้มันไม่ใช่ของที่จะมาเสแสร้งแกล้งทำ
• จากเรื่องธรรม ไปสู่เรื่องเพลง หลังสึกออกมา มีโปรเจกต์เกี่ยวกับการทำเพลงอย่างไรหรือเปล่าครับ
คือเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ทำเพลงแบบเมื่อก่อนแล้วครับ จะมีทำออกมาอยู่ใน youtube ของช่องตัวเอง เพราะเราไม่ได้สังกัดใครแล้ว เราคิดว่าบางอย่างที่ทำ ก็เป็นทานบารมีไป ให้หลายคนได้ฟังไป โลกเปลี่ยนไปแล้ว คุณก็ต้องปรับถึงจะอยู่ได้ อีกอย่าง เราเป็นตำนานไปแล้ว เวลาเจอหน้า เพลงใหม่ๆ เขาก็ไม่สนใจหรอก ก็จะขอแต่เพลงเก่าๆ ที่เราเคยทำเคยร้องเหล่านั้นล่ะ เช่นเพลง “แฟนฉัน”, “อธิษฐานรัก” มันก็เหมือนสิ่งที่ประทับไว้แล้ว
• ในสายตาของรุ่นใหญ่ มองวงการเพลงไทยในยุคนี้อย่างไรบ้างครับ
มันเหมือนกับธรรมชาตินะ คือถึงเวลาก็จะเปลี่ยนไป มันเปลี่ยนไปเอง หลายๆ คนที่อยู่ในอดีต เขาฝังใจอยู่กับแนวเพลงหรือการแต่งท่วงทำนองและลีลาแบบนั้น พอเจอแบบใหม่ บางคนรับไม่ได้ แต่คนที่เกิดยุคปัจจุบัน เขาก็รับได้ แน่นอนว่า คนเราจะมีสิ่งที่ประทับเอาไว้ แต่วงการเพลงก็เหมือนกับภาษาที่เปลี่ยนตลอดเวลา วัฒนธรรมเปลี่ยนไป โลกเปลี่ยนไป มันไม่เสถียร วิธีการร้องก็เปลี่ยน คนฟังก็เปลี่ยน ของพวกนี้มันไม่เที่ยง ถ้าเราไปจริงจัง ก็เป็นทุกข์
ดังนั้น ใครชอบก็ฟัง ใครไม่ชอบก็ปฎิเสธ แต่สำหรับตัวผม มันเป็นธรรมชาติ ก็เลยไม่รู้สึกว่ามันมีอะไรผิดปกติ เดี๋ยวมันก็เปลี่ยนอีก ลองไล่ดูสิ ยุคชาตรี ก็ไป อัสนี-วสันต์ ก็ร้องอีกแบบ พอเป็น อำพล ลำพูน ก็เป็นอีกแบบ หรือพอมายุค ป๊อด โมเดิร์นด็อก ก็เป็นอีกแบบ มันมีการเจริญเติบโต มีการซึมซับและเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มีการผสมผสานแนวดนตรีใหม่ ก็เกิดเสียงใหม่ มีการเวียนว่ายตายเกิดไป ตราบใดที่มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะเป็นอยู่อย่างงี้ เพลงก็เช่นกัน ทั้งคนนำเสนอและคนฟังก็เปลี่ยนไป
• แต่ก็มีบางวงนะครับที่นำเทรนด์ดนตรีจากวันวานมาผสานกับปัจจุบัน
เหมือนเอาน้ำเค็มกับน้ำจืดมาค่อยๆ ผสมกัน ก็จะเป็นน้ำกร่อย จนปลาไม่รู้สึกตัวว่ามันเปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งก็เปรียบว่าคนฟังนึกว่าซาวนด์ใหม่ แต่จริงๆ มัน เหมือนกับน้ำกร่อยที่ค่อยๆ เปลี่ยนจนไม่รู้สึกตัว แต่เรามีความสุขกับเด็กยุคปัจจุบันที่ทำเพลงในลักษณะนี้นะ มองแง่หนึ่งก็เป็นซาวนด์ใหม่และสามารถให้วัยรุ่นได้ไปฟังเพลงยุคอดีตด้วย ฉะนั้น เราก็ควรให้กำลังใจเขา เขามีความคิดของเขา เดินไปด้วยกัน ไม่ขัดแย้ง และยิ่งมีคนทำอย่างนี้มากเท่าไหร่ วงการยิ่งพัฒนา เราต้องให้กำลังใจและให้เกียรติ อย่าไปย่ำอยู่กับที่ ไม่ใช่ว่าพอมีของใหม่มา ก็จะต่อต้าน
เราต้องยอมรับความจริง แนวเพลงไม่อยู่กับที่ เรามองแบบนี้เหมือนกับมองโลก ถึงเวลาก็ต้องเปลี่ยน ถึงเวลาดาวเด่น ถึงเวลาดาวอับแสง ถึงเวลาคนคนหนึ่งอาจจะทำในสิ่งที่คาดไม่ถึง เราก็จะต้องรู้ว่าของทุกอย่าง เหมือนกับจัดวางอยู่บนดินอยู่แล้ว รอว่าเมื่อไหร่จะผุดขึ้นมา เมล็ดพันธุ์พวกนี้ พอได้เวลา ได้ฝน ได้น้ำ ได้อากาศ มันก็เกิดขึ้นมา ผมชอบคนที่มีความคิดของตัวเอง ยืนหยัด เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน มันเป็นสิ่งที่เขาแสดงตัวตนของเขา เราต้องสนับสนุนครับ
*** คอนเสิร์ต “YESTERDAY ONCE MORE RETRO MUSIC FESTIVAL VOL.2” (เยสเตอร์เดย์ วันซ์ มอร์ เรโทร มิวสิค เฟสติวัล ครั้งที่ 2) จะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม 2558 ตั้งแต่ 15.00 - 24.00 น. ที่ไบเทค บางนา *** |
เรื่อง : สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช
ภาพ : พลภัทร วรรณดี