คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.“ร.อ.ทินพันธุ์” นั่งประธาน สปท.ตามคาด ยันอายุ 81 ไม่เป็นปัญหา ขณะที่รอง ปธ.คนที่ 1-2 เป็นของ “อลงกรณ์-วลัยรัตน์” !
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ได้มีการประชุมสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ(สปท.) นัดแรก ที่รัฐสภา เพื่อเลือกประธานและรองประธาน สปท. โดยมีข่าวก่อนหน้าวันประชุมว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้วางตัวประธาน สปท.ไว้แล้วว่า ต้องการให้ ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ เป็นประธาน โดยข่าวบอกว่า คสช.ได้ประสานสมาชิก สปท.สายทหารและอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญให้ช่วยประสานสมาชิก สปท.ให้สนับสนุน ร.อ.ทินพันธุ์ เป็นประธาน สปท. ประกอบกับ ร.อ.ทินพันธุ์ มีความคุ้นเคยกับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เมื่อครั้งร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญในอดีต และ ร.อ.ทินพันธุ์ สามารถประสานการทำงานกับ กรธ.และ ครม.ได้อย่างดี
สำหรับการประชุมเพื่อเลือกประธานและรองประธาน สปท.ครั้งนี้ มีนายชัย ชิดชอบ สปท.ที่อาวุโสสูงสุด อายุ 87 ปี เป็นประธาน โดยได้เปิดโอกาสให้สมาชิกเสนอชื่อผู้เหมาะสมเป็นประธาน สปท. ซึ่ง พล.อ.ฐิติวัจน์ กำลังเอก สปท. เสนอชื่อ ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ เป็นประธาน สปท. แต่สมาชิก สปท.บางคน เช่น นายวิทยา แก้วภราดัย และนายกษิต ภิรมย์ เสนอให้เลื่อนวาระการเลือกประธานและรองประธาน สปท.ออกไปก่อน และเสนอให้มีการจัดสัมมนาเพื่อให้สมาชิกทุกคนได้ทำความรู้จักกัน เพื่อเป็นวัฒนธรรมองค์กร ก่อนตัดสินใจเลือกบุคคลที่จะเป็นประธาน เพราะหากให้ตัดสินใจเลือกบุคคลทั้งที่ยังไม่รู้จัก ก็คงเลือกไม่ได้
อย่างไรก็ตาม สมาชิก สปท.อีกส่วนหนึ่งเห็นว่าควรดำเนินการตามวาระการเลือกประธานและรองประธาน สปท.ต่อไป เช่น พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย, พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร ในที่สุด ที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินตามวาระต่อไป เมื่อไม่มีใครเสนอชื่อ สปท.คนอื่นขึ้นมาชิงตำแหน่งประธาน สปท. ร.อ.ทินพันธุ์ จึงได้รับเลือกเป็นประธาน สปท.แบบไร้คู่แข่ง
หลังจากนั้น พล.ต.ท.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา สปท.ได้เสนอชื่อนายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นรองประธาน สปท.คนที่ 1 โดยไม่มีใครเสนอชื่อคนอื่นแข่งขัน ทำให้นายอลงกรณ์ได้เป็นรองประธาน สปท.คนที่ 1 แบบไร้คู่แข่ง ขณะที่นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ สปท. ได้เสนอชื่อ น.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ เป็นรองประธาน สปท.คนที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกแบบไร้คู่แข่งเช่นกัน
ทั้งนี้ ร.อ.ทินพันธุ์ ได้กล่าวแสดงวิสัยทัศน์หลังได้รับเลือกเป็นประธาน สปท.ว่า จะทำหน้าที่รวบรวมวาระการปฏิรูปทั้งหมดต่อจาก สปช. เพราะ สปท.มีหน้าที่ปฏิรูปต่อไปให้สำเร็จตามเป้าหมายที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ ส่วนกรณีที่ ร.อ.ทินพันธุ์ อายุมากแล้ว จะเป็นปัญหาต่อการทำงานหรือไม่นั้น ร.อ.ทินพันธุ์ ยืนยันว่า วันนี้ตนยังทำงานมากกว่าตอนเป็นหนุ่มเสียอีก “สมาชิกอาจเป็นห่วงที่อายุผม 81 ปี แม้กระทั่งวันนี้ยังทำงานหนักกว่าตอนเป็นหนุ่ม ทั้งสอนหนังสือ เขียนหนังสือ งานวิจัยอยู่ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ก็สามารถยืนสอนหนังสือได้ 12 ชั่วโมง และยังว่ายน้ำอยู่ ดังนั้นไม่ต้องเป็นห่วง”
วันเดียวกัน(13 ต.ค.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พร้อมคณะ ได้เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบจริยธรรมของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีการแต่งตั้งเครือญาติและบุคคลที่เคยร่วมอาชีพเดียวกัน เป็น สปท. เข้าข่ายเลือกปฏิบัติ มีผลประโยชน์ทับซ้อน
โดยนายศรีสุวรรณ ระบุว่า รายชื่อ สปท.200 คน พบว่า มีบุคคลที่เป็นเครือญาติของนายวิษณุ ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องกฎหมายและการยุติธรรม คือ พล.อ.ต.เฉลิมพล เครืองาม และนายดุสิต เครืองาม ซึ่งทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกับนายวิษณุ ขณะเดียวกันพบว่า พล.อ.ประยุทธ์ แต่งตั้งบุคคลที่มีอาชีพหรือเคยมีอาชีพเดียวกับตนเอง คือ นายทหาร หรือตำรวจในและนอกราชการ เป็น สปท.ถึง 77 คน หรือมากกว่า 38.5% ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ทั้งที่ข้อเท็จจริง สปท.ควรประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ มากกว่าจะเป็นพี่น้องหรือคนกันเอง จึงถือว่าพฤติกรรมดังกล่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ และนายวิษณุ ในฐานะผู้ใช้อำนาจแต่งตั้ง ไม่ได้ใช้วิจารณญาณในการแต่งตั้งบุคคลตามระบบคุณธรรมจริยธรรมที่กฎหมายกำหนด ส่อขัดจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา 13 (2) ของ พ.ร.บ.ผู้ตรวจการแผ่นดิน และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ หากพบว่าเป็นการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ขอให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ดำเนินการตามกฎหมาย ป.ป.ช. เพื่อนำไปสู่การถอดถอน
2.“ยิ่งลักษณ์” ยื่นหนังสือจี้ “บิ๊กตู่” เลิกใช้คำสั่งทางปกครองเรียกค่าหายจำนำข้าว ชี้ควรฟ้องศาลแพ่งแทนหรือรอศาลฎีกานักการเมืองตัดสินก่อน!
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความ นำหนังสือร้องเรียนคดีเรียกค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าว ไปยื่นถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. โดยผ่านศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้โพสต์เนื้อหาของหนังสือดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊กก่อนหน้าจะให้ทนายความไปยื่นถึงนายกฯ 1 วันทำนองว่า การเรียกร้องค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว ควรฟ้องศาลแพ่ง แต่ฝ่ายกฎหมายของ พล.อ.ประยุทธ์ กลับพลิกมุมกฎหมายและกลไกในการเรียกค่าเสียหายใหม่ โดยให้ พล.อ.ประยุทธ์ออกคำสั่งทางปกครอง โดยไม่ต้องเข้า ครม. สั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องชำระหนี้เหมือนคำสั่งยึดทรัพย์ เพียงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมในการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จะต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมศาล เท่ากับว่านายกฯ จะใช้อำนาจหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นคำพิพากษาของศาล เป็นกลไกในการชี้ถูกผิดว่าจะให้ผู้ใดรับผิดชอบค่าเสียหายต่อการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าว ทั้งที่การพิจารณาคดีของศาลในคดีอาญายังไม่เสร็จสิ้น
ทั้งนี้ หนังสือของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ดำเนินการ 3 ข้อ 1.ทบทวนและยุติการดำเนินการตามที่ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลเสนอ ที่เสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจในฐานะนายกฯ และในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการข้าว(นบข.) ลงนามคำสั่งทางปกครอง ซึ่งขัดต่อหลักความเป็นกลาง และเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อมีคำสั่งให้บุคคลใดชำระหนี้ค่าเสียหาย ที่เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายโครงการรับจำนำข้าวที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา แทนการพิจารณาและพิพากษาคดีโดยศาล 2.หากการสอบสวนพบความเสียหาย รัฐควรให้หน่วยงานของรัฐฟ้องคดีต่อศาล เพื่อแสดงให้เห็นถึงความยุติธรรมและเที่ยงธรรมต่อทุกคนที่ถูกกล่าวหา 3.การพิจารณาคดีอาญาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยังไม่เสร็จสิ้น และอายุความในคดียังเหลือเวลาอีกนาน ตามที่ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลแถลง จึงไม่ควรเร่งรีบ รวบรัด ในการทำสำนวนการตรวจสอบความรับผิดทางละเมิด ควรให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องหรือผู้เสียหายได้ชี้แจงข้อเท็จจริง
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พูดถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมจาก พล.อ.ประยุทธ์ โดยยืนยันว่า รัฐบาลได้ดำเนินการตามขั้นตอน ทั้งหมดไม่มีอะไรลับลวงพราง เป็นไปตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า กรณีเจ้าหน้าที่จงใจกระทำผิดหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ต้องฟ้องเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 10 ของกฎหมายดังกล่าว โดยให้มีการออกคำสั่งทางปกครองภายในอายุความ 2 ปี หากผู้ถูกฟ้องไม่พอใจ สามารถฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งได้ นายวิษณุ ยังย้ำด้วยว่า เหตุที่รอให้คดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสิ้นสุดก่อนไม่ได้ เพราะอายุความในคดีเรียกค่าเสียหายมีแค่ 2 ปี โดยจะหมดอายุในเดือน ก.พ.2560 จะทิ้งไว้ให้ขาดอายุความไม่ได้ เพราะรัฐจะกลายเป็นจำเลย ยืนยันว่า รัฐไม่ได้หลีกเลี่ยงการฟ้องต่อศาลแพ่งที่ต้องมีเงินวางศาลจำนวนมาก การฟ้องธรรมดาต่อศาลแพ่ง ต้องเป็นคดีที่ข้อหาเล็กน้อย แต่กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ป.ป.ช.ส่งรายงานเอกสารยืนยันว่า เป็นเรื่องประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงต้องใช้คำสั่งทางปกครอง ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการ ไม่ใช่เลือกได้ตามใจชอบ
นายวิษณุ เผยด้วยว่า ขณะนี้ได้ขยายเวลาให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการรับจำนำข้าวออกไปอีก 30 วัน เหมือนที่ก่อนหน้านี้เคยขยายจนถึงวันที่ 30 ก.ย. และยังสามารถขยายได้อีก เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และว่า ใครที่เคยถูกเชิญมาให้ข้อมูลแล้วยังไม่มา จะถามไปอีกครั้งว่าจะมาหรือไม่ รวมถึงที่เคยเชิญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาให้ข้อมูลแล้ว แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ขอส่งข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร
3.ศาลอาญา ออกหมายจับ “ทักษิณ” คดีหมิ่นกองทัพบก พบเป็นหมายจับคดีที่ 7 แล้ว!
เมื่อวันที่ 12 ต.ค. ศาลอาญาได้นัดสอบคำให้การจำเลยและตรวจพยานหลักฐานคดีที่กองทัพบกมอบอำนาจให้ พล.ต.ศรายุทธ กลิ่นมาหอม ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328
โดยคำฟ้องโจทก์สรุปว่า เมื่อวันที่ 19-20 พ.ค. 58 จำเลยได้ให้สัมภาษณ์ใส่ความโจทก์ที่ประเทศเกาหลีใต้ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กว่า เป็นบุคคลน่ารังเกียจ เป็นอันตรายต่อประเทศ และเป็นบุคคลที่ทำความเสียหายแก่ประเทศ ซึ่งไม่ใช่ความจริง โดยจำเลยได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเมืองในไทยที่มีการเผยแพร่ผ่านยูทูบและสื่อออนไลน์ ซึ่งการกระทำนั้นส่งผลให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง จึงขอให้ศาลลงโทษจำเลย
ด้านนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความจำเลย แถลงต่อศาลว่า จำเลยอยู่ระหว่างลี้ภัยทางการเมือง จำเลยไม่ได้เข้ามาในประเทศไทยก่อนที่จะถูกฟ้องคดี ขอให้ศาลพิจารณาคำร้องตามที่เห็นสมควร ขณะที่ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์แถลงต่อศาลว่า จำเลยได้รับทราบหมายเรียกโดยชอบแล้ว ไม่เดินทางมาศาล ซึ่งขณะนี้จำเลยอยู่ต่างประเทศ จึงขอให้ศาลพิจารณาออกหมายจับหรือตามที่เห็นสมควร
ซึ่งศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยได้รับทราบนัดโดยชอบแล้ว แต่ไม่เดินทางมาศาล และขณะนี้จำเลยไม่ได้อยู่ในราชอาณาจักร จึงมีพฤติการณ์หลบหนี ให้ออกหมายจับจำเลยเพื่อให้ได้ตัวมาพิจารณาภายในอายุความ แต่ขณะที่ไม่แน่ว่าจะจับตัวจำเลยได้เมื่อใด จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว หากจับตัวจำเลยได้แล้ว ให้พิจารณาคดีต่อไป
ทั้งนี้ พล.ต.ศรายุทธ กล่าวว่า เรื่องการติดตามตัวจำเลย เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ในฐานะโจทก์จะนำคำสั่งศาลที่ออกหมายจับนี้ ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งอัยการและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อติดตามตัวต่อไป
อนึ่ง มีรายงานว่า หมายจับนายทักษิณในคดีหมิ่นกองทัพบกนี้ นับเป็นหมายจับคดีที่ 7 แล้ว โดยอีก 6 คดีที่นายทักษิณถูกออกหมายจับก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย 1.คดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) ให้รัฐบาลเมียนมาร์ วงเงิน 4,000 ล้านบาท 2.คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว (หวยบนดิน) 3.คดีทุจริตแปลงสัมปทานมือถือ-ดาวเทียมเป็นภาษีสรรพสามิต 4.คดีทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาทเศษ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาจำคุกนายทักษิณเป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา 5.คดีก่อการร้าย 6.คดีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้กลุ่มบริษัท กฤษดามหานคร ที่อัยการยื่นฟ้องนายทักษิณ กับพวกรวม 27 คนเป็นจำเลย
4.ศาลฎีกา เลื่อนอ่านคำพิพากษาคดีรื้อบาร์เบียร์ หลัง “ชูวิทย์” กลัวติดคุก ขอเปลี่ยนคำให้การจาก “ปฏิเสธ” เป็น “สารภาพ” !
เมื่อวันที่ 15 ต.ค. ศาลฎีกาได้นัดอ่านคำพิพากษาคดีรื้อบาร์เบียร์ย่านสุขุมวิทเมื่อปี 2546 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง จ.ส.อ.อภิชาติ ริมมสาร หรือรัมมะสาร, นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย และอดีตผู้บริหารบริษัท สุขุมวิท ซิลเวอร์สตาร์, พ.ท.หิมาลัย ผิวพรรณ หรือ เสธ.หิ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา บก.สส. ตำแหน่งในขณะนั้น , พ.ต.ธัญเทพ ธรรมธร หรือ เสธ.แอ๊ป นายทหารสังกัดกองพันทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ตำแหน่งในขณะนั้น กับพวกรวม 131 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์, บุกรุกในเวลากลางคืน และกักขังหน่วงเหนี่ยวข่มขืนใจให้บุคคลปราศจากเสรีภาพ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2546 เวลา 04.00 น.มีกลุ่มชายฉกรรจ์หลายร้อยคน แต่งกายชุดซาฟารี พร้อมรถแบ็กโฮบุกเข้าทำลายร้านบาร์เบียร์ 60 ร้าน ซึ่งตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ บริเวณสุขุมวิทสแควร์ ซอยสุขุมวิท 10 ถนนสุขุมวิท แขวงและเขตคลองเตย จนเสียหายราบเป็นหน้ากลอง โดยกลุ่มนายทุนกลุ่มใหม่ได้ว่าจ้างให้เข้าไปรื้อร้านค้าของผู้เช่าเดิมเพื่อจะใช้พื้นที่ทำประโยชน์ ต่อมา ตำรวจสืบสวนสอบสวนจนสามารถดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งสิ้นจำนวน 131 คน โดยพนักงานสอบสวนส่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 46 ซึ่งทั้งหมดให้การปฏิเสธ
ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2549 ให้จำคุก 1 ปี นายชาญเวทย์ มาลัยบูชา จำเลยที่ 49 ซึ่งเป็นทนายความที่นำเอกสารสิทธิ์การครอบครองที่ดินไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี ให้ลงบันทึกประจำวันช่วงเวลาเดียวกับที่กลุ่มชายฉกรรจ์กำลังรื้อถอน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้ผู้อื่นเข้าใจว่าการรื้อถอนถูกกฎหมาย และหาผู้ร่วมดำเนินการ โดยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหลายมาตรา ฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน แต่ศาลเห็นว่า คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 49 เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 8 เดือน ส่วนจำเลยอื่นศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย จึงยกฟ้อง
ต่อมาศาลอุทธรณ์ ได้พิพากษากลับว่า นายชูวิทย์ กับพวกอีก 2 คน ที่เป็นนายทหาร มีความผิดจริง จึงสั่งจำคุกคนละ 5 ปี โดยไม่รอลงอาญา ซึ่งนายทหารทั้งสอง ได้ยื่นเงินสด 5 แสนบาทบาท เพื่อประกันตัว ส่วนนายชูวิทย์ ได้รับการปล่อยตัว เพราะมีเอกสิทธิ์การเป็น ส.ส.ในขณะนั้นคุ้มครอง
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 15 ต.ค. นายชูวิทย์ได้ไปทำบุญโลงศพต่อชะตาที่บริเวณโรงทานเจใกล้กับศาลอาญากรุงเทพใต้ เนื่องจากเป็นวันที่ศาลจะกำหนดชะตาของตน พร้อมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก่อนเข้าฟังคำพิพากษาว่า เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และว่า คดีนี้ยืดเยื้อมานานกว่า 12 ปีแล้ว ยืนยันว่าที่ดินผืนดังกล่าวตนซื้อมาเอง แต่ล่าช้าเรื่องเอกสาร พร้อมยอมรับว่ามีความเครียดอยู่บ้าง และไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาอย่างไรก็จะยอมรับ
ต่อมา มีรายงานว่า จำเลยที่ยื่นฎีกา 44 คน เดินทางมาศาลไม่ครบ ศาลจึงสั่งออกหมายจับ พร้อมเลื่อนอ่านคำพิพากษาเป็นช่วงบ่ายวันเดียวกัน(15 ต.ค.) เมื่อถึงเวลานัด ศาลได้เลื่อนฟังคำพิพากษาศาลฎีกาออกไปก่อน เนื่องจากนายชูวิทย์จำเลยที่ 129 ได้ยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธ และเปลี่ยนคำให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง พร้อมทั้งขอให้ศาลลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุก โดยนายชูวิทย์ขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของตนให้ศาลฎีกาพิจารณา ซึ่งศาลได้ส่งคำร้องให้ศาลฎีกาทางโทรสาร (แฟกซ์) จากนั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเลื่อนนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไปก่อน และให้ส่งสำนวนพร้อมคำพิพากษาคืนศาลฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำร้องของนายชูวิทย์ต่อไป ทั้งนี้ ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาอีกครั้งในวันที่ 28 ม.ค. 2559 เวลา 09.00 น.
ส่วน พ.ต.ธัญเทพ หรือ เสธ.แอ๊ป จำเลยที่ 130 ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษาเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ศาลจึงออกหมายจับ และปรับนายประกัน เช่นเดียวกับจำเลย 18, 40, 68, 73, 112 และ 115
ด้านนายชูวิทย์กล่าวในเวลาต่อมาว่า ตนใคร่ครวญเรื่องนี้ดีแล้ว การพูดความจริงทำให้เรารู้สึกปลดปล่อยมากสุด ตนต่อสู้มา 12 ปี สิ่งที่ทำไปในการเป็นนักธุรกิจขณะนั้นก็รู้สึกอึดอัด ตนรับสารภาพ ยอมรับผิด “ผมอยากให้ประชาชนดูว่า การทำอะไรไม่เท่ากับการพูดความจริง ผมตรึกตรองมา 2 วันจึงยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา ทำให้รู้สึกยกภูเขาออกจากอก เราสามารถโกหกพ่อแม่ ภรรยาได้ แต่โกหกตัวเองไม่ได้” นายชูวิทย์กล่าวอีกว่า การพูดความจริงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หวังว่าพี่น้องจะเข้าใจและให้โอกาส ส่วนค่าเสียหายตนได้ชดใช้แล้วร่วม 100 ล้านบาท หลังจากนี้ไม่ได้เตรียมตัวอะไร เพียงขอให้ศาลลงโทษสถานเบา ส่วนที่ดินแปลงนี้ตนซื้อมา 500 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารรับปากจะไล่ที่ให้ พร้อมยอมรับว่า กรณีรื้อบาร์เบียร์เกิดจากความบีบคั้น และความเป็นนักธุรกิจที่โง่เขลาเบาปัญญาของตน
อนึ่ง คดีนี้ ศาลฎีกาได้นัดอ่านคำพิพากษามาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 13 ส.ค. ซึ่งวันนั้น นายชูวิทย์เดินทางมาศาลด้วยสีหน้าเคร่งขรึม ถือถุงใส่แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และของใช้ส่วนตัวมาพร้อม และประกาศขอน้อมรับทุกคำตัดสิน แต่เนื่องจากวันดังกล่าว ทนายจำเลยบางคน และนายประกันได้แจ้งต่อศาลว่า มีจำเลยบางคนเสียชีวิตแล้ว ศาลจึงต้องใช้เวลาตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทนายความและนายประกัน ศาลจึงเลื่อนอ่านคำพิพากษาเป็นช่วงเช้าวันที่ 15 ต.ค.แทน แต่ในที่สุด ก็ต้องเลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไปอีกครั้ง หลังนายชูวิทย์ขอกลับคำให้การ
5.ศาลฎีกา พิพากษายืนยกฟ้อง 3 จำเลยคดีจ้างวานฆ่า “เจริญ วัดอักษร” ด้าน “แอมเนสตี้ฯ” จี้ไทยสอบสวนใหม่!
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ฟ้องนายเสน่ห์ เหล็กล้วน, นายประจวบ หินแก้ว, นายธนู หินแก้ว ทนายความ, นายมาโนช หินแก้ว อดีต สจ.ประจวบคีรีขันธ์ และนายเจือ หินแก้ว อดีตกำนัน ต.บ่อนอก ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันจ้างวานฆ่าผู้อื่น และผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุน พ.ศ.2490
โดยโจทก์ฟ้องว่า ระหว่างต้นปี 2547-วันที่ 21 มิ.ย. 2547 จำเลยที่ 3-5 ร่วมกันจ้างวานให้จำเลยที่ 1-2 ฆ่านายเจริญ วัดอักษร อายุ 37 ปี ประธานกลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และแกนนำกลุ่มคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก โดยใช้อาวุธปืนยิงนายเจริญ 9 นัด จนถึงแก่ความตาย ที่ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังนายเจริญลงจากรถโดยสารสายกรุงเทพฯ-บางสะพาน หลังเดินทางกลับจากให้ปากคำต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เรื่องการบุกรุกที่ดินสาธารณะคลองชายธงในเขต อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งต่อมา เจ้าหน้าที่จับกุมจำเลยได้ แต่จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2551 ให้ประหารชีวิตนายธนู หินแก้ว จำเลยที่ 3 ฐานจ้างวาน ส่วนจำเลยที่ 4-5 ให้ยกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานนำสืบไม่ชัดเจน จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอ โดยระหว่างอุทธรณ์คดี จำเลยที่ 3 ได้รับการประกันตัว
ส่วนนายเสน่ห์ จำเลยที่ 1 และนายประจวบ จำเลยที่ 2 มือปืนเสียชีวิตระหว่างถูกคุมขังที่เรือนจำ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าทั้งสองป่วยเป็นเอดส์ ซึ่งสร้างความคลางแคลงใจให้สังคมและญาตินายเจริญเป็นอย่างมาก เพราะสงสัยว่าจำเลยทั้งสองป่วยตายจริงหรือถูกทำให้ตาย เพื่อตัดตอนคดีไม่ให้ถึงผู้จ้างวานฆ่านายเจริญกันแน่
ทั้งนี้ หลังศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิต นายธนูจำเลยที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์ ขณะที่อัยการโจทก์ ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4-5 ด้วย ต่อมา ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนยกฟ้องจำเลยที่ 4-5 และพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ด้วย เนื่องจากเห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่เพียงพอให้เอาผิดจำเลยได้
ด้านศาลฎีกา พิจารณาแล้วเห็นว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3-5 เป็นผู้จ้างวานใช้จำเลยที่ 1-2 ฆ่าผู้ตายหรือไม่ ซึ่งศาลเห็นว่า โจทก์มีพยานเป็นพนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยที่ 1-2 ร่วมกันยิงผู้ตาย โดยใช้อาวุธปืนคนละกระบอก ภายหลังจับกุม จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่ต่อมารับสารภาพในชั้นสอบสวน โดยซัดทอดจำเลยที่ 3 ร่วมวางแผนยิงผู้ตาย ซึ่งหลังจากยิงนายเจริญแล้ว ได้โทรศัพท์ไปหาจำเลยที่ 4 และอาวุธปืนที่ใช้ยิงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 5
นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ให้การว่า ตนอยู่ในกลุ่มผู้สนับสนุนให้สร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอก และขัดแย้งกับนายเจริญซึ่งอยู่ฝ่ายตรงข้าม วันเกิดเหตุ ได้พบกับจำเลยที่ 2 ระหว่างนั้นเห็นนายเจริญเดินมาคนเดียว จึงใช้อาวุธปืนยิง โดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน และไม่ได้มีลักษณะเป็นการจ้างวาน ศาลเห็นว่า คำให้การของจำเลยที่ 1- 2 เป็นคำซัดทอดและขัดแย้งกันเองในหลายประเด็น จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ นอกจากนี้โจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นชัดเจนว่า จำเลยที่ 4-5 เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไร และไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า ได้ร่วมกับจำเลยที่ 3 วางแผนฆ่าผู้ตายที่ใด มีเพียงคำพูดของจำเลยที่ 4 ที่สอบถามจำเลยที่ 1-2 ภายหลังยิงนายเจริญแล้วกลับมาที่บ้านพักว่าไปทำอะไรกันมา แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 4-5 ไม่น่าจะรู้เห็นด้วย จึงเห็นว่า คำให้การของจำเลยที่ 1-2 ในชั้นสอบสวน เป็นพยานบอกเล่าและเพียงคำซัดทอด อีกทั้งจำเลยที่ 1-2 เสียชีวิตระหว่างการพิจารณาคดี ทำให้จำเลยที่ 3-5 ไม่มีโอกาสซักค้าน ดังนั้น คำให้การซัดทอดดังกล่าว จึงต้องรับฟังอย่างรอบคอบและระมัดระวัง โดยต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนด้วย ซึ่งโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มั่นคงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3-5 ร่วมกันกระทำผิดฐานจ้างวานฆ่าผู้อื่น และจำเลยที่ 3-5 ให้การปฏิเสธมาโดยตลอด พยานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืนยกฟ้อง และให้ถอนหมายจับนายธนู
ด้านนายเจือ หินแก้ว อดีตกำนันตำบลบ่อนอก กล่าวหลังศาลยกฟ้องว่า ตลอดเวลา 11 ปีที่ผ่านมา ตนถูกกล่าวหา ตกเป็นจำเลย ทั้งที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขณะนี้ถือว่าได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์แล้ว
ขณะที่นางกรณ์อุมา พงษ์น้อย ภรรยาของนายเจริญ กล่าวหลังศาลฎีกายกฟ้องจำเลยว่า แม้จะไม่เห็นด้วย แต่ต้องยอมรับในคำพิพากษาของศาล เพราะในทางคดีอาญา ถือว่าถึงที่สุดแล้ว และจะไม่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง หรือศาลอื่น แต่ขอเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน นางกรณ์อุมา ยืนยันด้วยว่า ตนและชาวบ้านจะสู้ต่อไป โดยเฉพาะกรณีพื้นที่สาธารณะคลองชายธง ที่ปัจจุบันสถานการณ์ทวีความรุนแรงและตึงเครียดมากขึ้น เพราะมีนายทุน ข้าราชการ และอิทธิพลเถื่อน พยายามเข้าไปครอบครองพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นพื้นที่ระบบนิเวศและเป็นฐานทรัพยากรชุมชน เพื่อนำไปทำเป็นมหาวิทยาลัย จึงอยากให้สื่อมวลชนเฝ้าติดตามด้วย
ด้านองค์การนิรโทษกรรมสากล หรือแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการไทยสอบสวนคดีฆ่านายเจริญ วัดอักษร ใหม่ หลังศาลฎีกายกฟ้อง 3 จำเลย ซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ข้อหาจ้างวานฆ่า ทั้งที่ศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตจำเลย ทั้งนี้ แถลงการณ์ของแอมเนสตี้ฯ ชี้ว่า การที่ทางการไทยไม่สามารถทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อนายเจริญและครอบครัว นับเป็นโศกนาฏกรรมในการต่อสู้อย่างยาวนานเพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับเขาและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ ในประเทศไทย ทั้งยังสนับสนุนวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิดที่น่ารังเกียจให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้เกิดการสังหาร ทำร้ายและคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยต่อไป
6.ศาลเกาะสมุย สอบคำให้การ 2 พม่านัดสุดท้ายคดีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่า นัดฟังคำพิพากษา 24 ธ.ค.นี้!
ความคืบหน้าคดีฆาตกรรม น.ส.ฮันนาห์ วิกตอเรีย วิทเธอริดจ์ สัญชาติ อังกฤษ อายุ 24 ปี และ นายเดวิด วิลเลียม มิลเลอร์ อายุ 24 ปี สองนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานีเมื่อวันที่ 15 ก.ย.2557 ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดเกาะสมุย ได้เบิกตัวนายเวพิว และนายซอริน แรงงานต่างด้าวชาวพม่า จำเลยคดีนี้ออกจากเรือนจำ อ.เกาะสมุย เพื่อสอบปากคำจำเลยนัดสุดท้าย
หลังสอบปากคำแล้วเสร็จ ศาลได้แจ้งให้ฝ่ายจำเลย และฝ่ายโจทก์ส่งเอกสารคำแถลงปิดคดีให้แก่ศาลภายใน 15 วัน คือ วันที่ 26 ต.ค. พร้อมนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 24 ธ.ค.
สำหรับบรรยากาศการซักค้านจำเลยทั้ง 2 คนในนัดสุดท้าย นอกจากจำเลยทั้งสองแล้ว ยังมีทีมทนายความจากสภาทนายความ นางพิว ชุยนุก แม่ของนายเวพิว และนางเมไต แม่ของนายซอริน เข้าร่วมรับฟังการไต่สวนจำเลยด้วย โดยศาลได้ให้ทนายความทั้งฝ่ายจำเลย และฝ่ายโจทก์ได้ซักค้านจนเป็นที่พอใจ
ต่อมา นายนคร ชมพูชาติ ทนายความจากสภาทนายความ ซึ่งเป็นทนายความฝ่ายจำเลย กล่าวว่า ประเด็นที่ทางอัยการซักค้าน เป็นเรื่องคำรับสารภาพของจำเลยที่บางส่วนดูคล้ายกับว่าจำเลยสมัครใจในการรับสารภาพ จึงพยายามหยิบจุดเหล่านี้มาถามจำเลย แต่จำเลยยังยืนยันว่า อยู่ในสภาวะของการถูกบังคับให้รับสารภาพ นอกจากนี้ ทางอัยการยังซักว่าจำเลยได้โทรศัพท์ของผู้ตายมาได้มาอย่างไร ซึ่งจำเลยยืนยันว่า เก็บได้ที่ชายหาดใกล้ร้านอาหาร นายนคร ยังเผยด้วยว่า หลังจากมีคำพิพากษาแล้ว อาจจะมีการแจกแจงรายละเอียดให้ฟังว่า คดีนี้ได้สู้ไว้อย่างไร แต่จะสัมฤทธิผลหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับคำพิพากษาของศาลว่าจะเป็นอย่างไร
ด้านนางพิว ชุยนุก และนางเมไต กล่าวว่า ตนไม่เชื่อว่าลูกชายฆ่า 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ พร้อมหวังว่าลูกทั้ง 2 คนจะได้รับความยุติธรรมจากศาลของประเทศไทย และหวังว่าจะได้พาลูกกลับบ้านที่รัฐยะไข่ ประเทศพม่าพร้อมกัน ทั้งนี้ แม่ของจำเลยทั้งสองคนรู้สึกสงสารครอบครัวของผู้เสียชีวิตเช่นกัน และว่า ในวันที่ 24 ธ.ค. ที่ศาลจังหวัดเกาะสมุยจะตัดสินคดีนี้ ตนจะเดินทางมาร่วมรับฟังคำตัดสินด้วยตัวเอง นางพิวและนางเมไต ยังกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ตนทั้ง 2 คนสงสารลูกชายมาก หลังจากได้ฟังลูกให้รายละเอียดต่อศาลว่า ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม แล้วจับแก้ผ้าขังไว้ในห้องแอร์ พร้อมทั้งทำร้ายร่างกายด้วยการดีดที่อัณฑะ เพื่อให้รับสารภาพว่าเป็นคนฆ่า 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ
1.“ร.อ.ทินพันธุ์” นั่งประธาน สปท.ตามคาด ยันอายุ 81 ไม่เป็นปัญหา ขณะที่รอง ปธ.คนที่ 1-2 เป็นของ “อลงกรณ์-วลัยรัตน์” !
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ได้มีการประชุมสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ(สปท.) นัดแรก ที่รัฐสภา เพื่อเลือกประธานและรองประธาน สปท. โดยมีข่าวก่อนหน้าวันประชุมว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้วางตัวประธาน สปท.ไว้แล้วว่า ต้องการให้ ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ เป็นประธาน โดยข่าวบอกว่า คสช.ได้ประสานสมาชิก สปท.สายทหารและอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญให้ช่วยประสานสมาชิก สปท.ให้สนับสนุน ร.อ.ทินพันธุ์ เป็นประธาน สปท. ประกอบกับ ร.อ.ทินพันธุ์ มีความคุ้นเคยกับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เมื่อครั้งร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญในอดีต และ ร.อ.ทินพันธุ์ สามารถประสานการทำงานกับ กรธ.และ ครม.ได้อย่างดี
สำหรับการประชุมเพื่อเลือกประธานและรองประธาน สปท.ครั้งนี้ มีนายชัย ชิดชอบ สปท.ที่อาวุโสสูงสุด อายุ 87 ปี เป็นประธาน โดยได้เปิดโอกาสให้สมาชิกเสนอชื่อผู้เหมาะสมเป็นประธาน สปท. ซึ่ง พล.อ.ฐิติวัจน์ กำลังเอก สปท. เสนอชื่อ ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ เป็นประธาน สปท. แต่สมาชิก สปท.บางคน เช่น นายวิทยา แก้วภราดัย และนายกษิต ภิรมย์ เสนอให้เลื่อนวาระการเลือกประธานและรองประธาน สปท.ออกไปก่อน และเสนอให้มีการจัดสัมมนาเพื่อให้สมาชิกทุกคนได้ทำความรู้จักกัน เพื่อเป็นวัฒนธรรมองค์กร ก่อนตัดสินใจเลือกบุคคลที่จะเป็นประธาน เพราะหากให้ตัดสินใจเลือกบุคคลทั้งที่ยังไม่รู้จัก ก็คงเลือกไม่ได้
อย่างไรก็ตาม สมาชิก สปท.อีกส่วนหนึ่งเห็นว่าควรดำเนินการตามวาระการเลือกประธานและรองประธาน สปท.ต่อไป เช่น พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย, พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร ในที่สุด ที่ประชุมเห็นชอบให้ดำเนินตามวาระต่อไป เมื่อไม่มีใครเสนอชื่อ สปท.คนอื่นขึ้นมาชิงตำแหน่งประธาน สปท. ร.อ.ทินพันธุ์ จึงได้รับเลือกเป็นประธาน สปท.แบบไร้คู่แข่ง
หลังจากนั้น พล.ต.ท.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา สปท.ได้เสนอชื่อนายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นรองประธาน สปท.คนที่ 1 โดยไม่มีใครเสนอชื่อคนอื่นแข่งขัน ทำให้นายอลงกรณ์ได้เป็นรองประธาน สปท.คนที่ 1 แบบไร้คู่แข่ง ขณะที่นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ สปท. ได้เสนอชื่อ น.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ เป็นรองประธาน สปท.คนที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกแบบไร้คู่แข่งเช่นกัน
ทั้งนี้ ร.อ.ทินพันธุ์ ได้กล่าวแสดงวิสัยทัศน์หลังได้รับเลือกเป็นประธาน สปท.ว่า จะทำหน้าที่รวบรวมวาระการปฏิรูปทั้งหมดต่อจาก สปช. เพราะ สปท.มีหน้าที่ปฏิรูปต่อไปให้สำเร็จตามเป้าหมายที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ ส่วนกรณีที่ ร.อ.ทินพันธุ์ อายุมากแล้ว จะเป็นปัญหาต่อการทำงานหรือไม่นั้น ร.อ.ทินพันธุ์ ยืนยันว่า วันนี้ตนยังทำงานมากกว่าตอนเป็นหนุ่มเสียอีก “สมาชิกอาจเป็นห่วงที่อายุผม 81 ปี แม้กระทั่งวันนี้ยังทำงานหนักกว่าตอนเป็นหนุ่ม ทั้งสอนหนังสือ เขียนหนังสือ งานวิจัยอยู่ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ก็สามารถยืนสอนหนังสือได้ 12 ชั่วโมง และยังว่ายน้ำอยู่ ดังนั้นไม่ต้องเป็นห่วง”
วันเดียวกัน(13 ต.ค.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พร้อมคณะ ได้เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบจริยธรรมของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีการแต่งตั้งเครือญาติและบุคคลที่เคยร่วมอาชีพเดียวกัน เป็น สปท. เข้าข่ายเลือกปฏิบัติ มีผลประโยชน์ทับซ้อน
โดยนายศรีสุวรรณ ระบุว่า รายชื่อ สปท.200 คน พบว่า มีบุคคลที่เป็นเครือญาติของนายวิษณุ ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องกฎหมายและการยุติธรรม คือ พล.อ.ต.เฉลิมพล เครืองาม และนายดุสิต เครืองาม ซึ่งทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกับนายวิษณุ ขณะเดียวกันพบว่า พล.อ.ประยุทธ์ แต่งตั้งบุคคลที่มีอาชีพหรือเคยมีอาชีพเดียวกับตนเอง คือ นายทหาร หรือตำรวจในและนอกราชการ เป็น สปท.ถึง 77 คน หรือมากกว่า 38.5% ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ทั้งที่ข้อเท็จจริง สปท.ควรประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ มากกว่าจะเป็นพี่น้องหรือคนกันเอง จึงถือว่าพฤติกรรมดังกล่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ และนายวิษณุ ในฐานะผู้ใช้อำนาจแต่งตั้ง ไม่ได้ใช้วิจารณญาณในการแต่งตั้งบุคคลตามระบบคุณธรรมจริยธรรมที่กฎหมายกำหนด ส่อขัดจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา 13 (2) ของ พ.ร.บ.ผู้ตรวจการแผ่นดิน และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบ หากพบว่าเป็นการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ขอให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ดำเนินการตามกฎหมาย ป.ป.ช. เพื่อนำไปสู่การถอดถอน
2.“ยิ่งลักษณ์” ยื่นหนังสือจี้ “บิ๊กตู่” เลิกใช้คำสั่งทางปกครองเรียกค่าหายจำนำข้าว ชี้ควรฟ้องศาลแพ่งแทนหรือรอศาลฎีกานักการเมืองตัดสินก่อน!
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความ นำหนังสือร้องเรียนคดีเรียกค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าว ไปยื่นถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. โดยผ่านศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้โพสต์เนื้อหาของหนังสือดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊กก่อนหน้าจะให้ทนายความไปยื่นถึงนายกฯ 1 วันทำนองว่า การเรียกร้องค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว ควรฟ้องศาลแพ่ง แต่ฝ่ายกฎหมายของ พล.อ.ประยุทธ์ กลับพลิกมุมกฎหมายและกลไกในการเรียกค่าเสียหายใหม่ โดยให้ พล.อ.ประยุทธ์ออกคำสั่งทางปกครอง โดยไม่ต้องเข้า ครม. สั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องชำระหนี้เหมือนคำสั่งยึดทรัพย์ เพียงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมในการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จะต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมศาล เท่ากับว่านายกฯ จะใช้อำนาจหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นคำพิพากษาของศาล เป็นกลไกในการชี้ถูกผิดว่าจะให้ผู้ใดรับผิดชอบค่าเสียหายต่อการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าว ทั้งที่การพิจารณาคดีของศาลในคดีอาญายังไม่เสร็จสิ้น
ทั้งนี้ หนังสือของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ดำเนินการ 3 ข้อ 1.ทบทวนและยุติการดำเนินการตามที่ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลเสนอ ที่เสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจในฐานะนายกฯ และในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการข้าว(นบข.) ลงนามคำสั่งทางปกครอง ซึ่งขัดต่อหลักความเป็นกลาง และเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อมีคำสั่งให้บุคคลใดชำระหนี้ค่าเสียหาย ที่เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายโครงการรับจำนำข้าวที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา แทนการพิจารณาและพิพากษาคดีโดยศาล 2.หากการสอบสวนพบความเสียหาย รัฐควรให้หน่วยงานของรัฐฟ้องคดีต่อศาล เพื่อแสดงให้เห็นถึงความยุติธรรมและเที่ยงธรรมต่อทุกคนที่ถูกกล่าวหา 3.การพิจารณาคดีอาญาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยังไม่เสร็จสิ้น และอายุความในคดียังเหลือเวลาอีกนาน ตามที่ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลแถลง จึงไม่ควรเร่งรีบ รวบรัด ในการทำสำนวนการตรวจสอบความรับผิดทางละเมิด ควรให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องหรือผู้เสียหายได้ชี้แจงข้อเท็จจริง
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พูดถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมจาก พล.อ.ประยุทธ์ โดยยืนยันว่า รัฐบาลได้ดำเนินการตามขั้นตอน ทั้งหมดไม่มีอะไรลับลวงพราง เป็นไปตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า กรณีเจ้าหน้าที่จงใจกระทำผิดหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ต้องฟ้องเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 10 ของกฎหมายดังกล่าว โดยให้มีการออกคำสั่งทางปกครองภายในอายุความ 2 ปี หากผู้ถูกฟ้องไม่พอใจ สามารถฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งได้ นายวิษณุ ยังย้ำด้วยว่า เหตุที่รอให้คดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสิ้นสุดก่อนไม่ได้ เพราะอายุความในคดีเรียกค่าเสียหายมีแค่ 2 ปี โดยจะหมดอายุในเดือน ก.พ.2560 จะทิ้งไว้ให้ขาดอายุความไม่ได้ เพราะรัฐจะกลายเป็นจำเลย ยืนยันว่า รัฐไม่ได้หลีกเลี่ยงการฟ้องต่อศาลแพ่งที่ต้องมีเงินวางศาลจำนวนมาก การฟ้องธรรมดาต่อศาลแพ่ง ต้องเป็นคดีที่ข้อหาเล็กน้อย แต่กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ป.ป.ช.ส่งรายงานเอกสารยืนยันว่า เป็นเรื่องประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงต้องใช้คำสั่งทางปกครอง ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการ ไม่ใช่เลือกได้ตามใจชอบ
นายวิษณุ เผยด้วยว่า ขณะนี้ได้ขยายเวลาให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการรับจำนำข้าวออกไปอีก 30 วัน เหมือนที่ก่อนหน้านี้เคยขยายจนถึงวันที่ 30 ก.ย. และยังสามารถขยายได้อีก เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และว่า ใครที่เคยถูกเชิญมาให้ข้อมูลแล้วยังไม่มา จะถามไปอีกครั้งว่าจะมาหรือไม่ รวมถึงที่เคยเชิญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาให้ข้อมูลแล้ว แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ขอส่งข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร
3.ศาลอาญา ออกหมายจับ “ทักษิณ” คดีหมิ่นกองทัพบก พบเป็นหมายจับคดีที่ 7 แล้ว!
เมื่อวันที่ 12 ต.ค. ศาลอาญาได้นัดสอบคำให้การจำเลยและตรวจพยานหลักฐานคดีที่กองทัพบกมอบอำนาจให้ พล.ต.ศรายุทธ กลิ่นมาหอม ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328
โดยคำฟ้องโจทก์สรุปว่า เมื่อวันที่ 19-20 พ.ค. 58 จำเลยได้ให้สัมภาษณ์ใส่ความโจทก์ที่ประเทศเกาหลีใต้ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กว่า เป็นบุคคลน่ารังเกียจ เป็นอันตรายต่อประเทศ และเป็นบุคคลที่ทำความเสียหายแก่ประเทศ ซึ่งไม่ใช่ความจริง โดยจำเลยได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเมืองในไทยที่มีการเผยแพร่ผ่านยูทูบและสื่อออนไลน์ ซึ่งการกระทำนั้นส่งผลให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง จึงขอให้ศาลลงโทษจำเลย
ด้านนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความจำเลย แถลงต่อศาลว่า จำเลยอยู่ระหว่างลี้ภัยทางการเมือง จำเลยไม่ได้เข้ามาในประเทศไทยก่อนที่จะถูกฟ้องคดี ขอให้ศาลพิจารณาคำร้องตามที่เห็นสมควร ขณะที่ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์แถลงต่อศาลว่า จำเลยได้รับทราบหมายเรียกโดยชอบแล้ว ไม่เดินทางมาศาล ซึ่งขณะนี้จำเลยอยู่ต่างประเทศ จึงขอให้ศาลพิจารณาออกหมายจับหรือตามที่เห็นสมควร
ซึ่งศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยได้รับทราบนัดโดยชอบแล้ว แต่ไม่เดินทางมาศาล และขณะนี้จำเลยไม่ได้อยู่ในราชอาณาจักร จึงมีพฤติการณ์หลบหนี ให้ออกหมายจับจำเลยเพื่อให้ได้ตัวมาพิจารณาภายในอายุความ แต่ขณะที่ไม่แน่ว่าจะจับตัวจำเลยได้เมื่อใด จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว หากจับตัวจำเลยได้แล้ว ให้พิจารณาคดีต่อไป
ทั้งนี้ พล.ต.ศรายุทธ กล่าวว่า เรื่องการติดตามตัวจำเลย เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ในฐานะโจทก์จะนำคำสั่งศาลที่ออกหมายจับนี้ ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งอัยการและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อติดตามตัวต่อไป
อนึ่ง มีรายงานว่า หมายจับนายทักษิณในคดีหมิ่นกองทัพบกนี้ นับเป็นหมายจับคดีที่ 7 แล้ว โดยอีก 6 คดีที่นายทักษิณถูกออกหมายจับก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย 1.คดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) ให้รัฐบาลเมียนมาร์ วงเงิน 4,000 ล้านบาท 2.คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว (หวยบนดิน) 3.คดีทุจริตแปลงสัมปทานมือถือ-ดาวเทียมเป็นภาษีสรรพสามิต 4.คดีทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาทเศษ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาจำคุกนายทักษิณเป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา 5.คดีก่อการร้าย 6.คดีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้กลุ่มบริษัท กฤษดามหานคร ที่อัยการยื่นฟ้องนายทักษิณ กับพวกรวม 27 คนเป็นจำเลย
4.ศาลฎีกา เลื่อนอ่านคำพิพากษาคดีรื้อบาร์เบียร์ หลัง “ชูวิทย์” กลัวติดคุก ขอเปลี่ยนคำให้การจาก “ปฏิเสธ” เป็น “สารภาพ” !
เมื่อวันที่ 15 ต.ค. ศาลฎีกาได้นัดอ่านคำพิพากษาคดีรื้อบาร์เบียร์ย่านสุขุมวิทเมื่อปี 2546 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง จ.ส.อ.อภิชาติ ริมมสาร หรือรัมมะสาร, นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย และอดีตผู้บริหารบริษัท สุขุมวิท ซิลเวอร์สตาร์, พ.ท.หิมาลัย ผิวพรรณ หรือ เสธ.หิ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา บก.สส. ตำแหน่งในขณะนั้น , พ.ต.ธัญเทพ ธรรมธร หรือ เสธ.แอ๊ป นายทหารสังกัดกองพันทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ตำแหน่งในขณะนั้น กับพวกรวม 131 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์, บุกรุกในเวลากลางคืน และกักขังหน่วงเหนี่ยวข่มขืนใจให้บุคคลปราศจากเสรีภาพ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2546 เวลา 04.00 น.มีกลุ่มชายฉกรรจ์หลายร้อยคน แต่งกายชุดซาฟารี พร้อมรถแบ็กโฮบุกเข้าทำลายร้านบาร์เบียร์ 60 ร้าน ซึ่งตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ บริเวณสุขุมวิทสแควร์ ซอยสุขุมวิท 10 ถนนสุขุมวิท แขวงและเขตคลองเตย จนเสียหายราบเป็นหน้ากลอง โดยกลุ่มนายทุนกลุ่มใหม่ได้ว่าจ้างให้เข้าไปรื้อร้านค้าของผู้เช่าเดิมเพื่อจะใช้พื้นที่ทำประโยชน์ ต่อมา ตำรวจสืบสวนสอบสวนจนสามารถดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งสิ้นจำนวน 131 คน โดยพนักงานสอบสวนส่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 46 ซึ่งทั้งหมดให้การปฏิเสธ
ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2549 ให้จำคุก 1 ปี นายชาญเวทย์ มาลัยบูชา จำเลยที่ 49 ซึ่งเป็นทนายความที่นำเอกสารสิทธิ์การครอบครองที่ดินไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี ให้ลงบันทึกประจำวันช่วงเวลาเดียวกับที่กลุ่มชายฉกรรจ์กำลังรื้อถอน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้ผู้อื่นเข้าใจว่าการรื้อถอนถูกกฎหมาย และหาผู้ร่วมดำเนินการ โดยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหลายมาตรา ฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน แต่ศาลเห็นว่า คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 49 เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 8 เดือน ส่วนจำเลยอื่นศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย จึงยกฟ้อง
ต่อมาศาลอุทธรณ์ ได้พิพากษากลับว่า นายชูวิทย์ กับพวกอีก 2 คน ที่เป็นนายทหาร มีความผิดจริง จึงสั่งจำคุกคนละ 5 ปี โดยไม่รอลงอาญา ซึ่งนายทหารทั้งสอง ได้ยื่นเงินสด 5 แสนบาทบาท เพื่อประกันตัว ส่วนนายชูวิทย์ ได้รับการปล่อยตัว เพราะมีเอกสิทธิ์การเป็น ส.ส.ในขณะนั้นคุ้มครอง
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 15 ต.ค. นายชูวิทย์ได้ไปทำบุญโลงศพต่อชะตาที่บริเวณโรงทานเจใกล้กับศาลอาญากรุงเทพใต้ เนื่องจากเป็นวันที่ศาลจะกำหนดชะตาของตน พร้อมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก่อนเข้าฟังคำพิพากษาว่า เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และว่า คดีนี้ยืดเยื้อมานานกว่า 12 ปีแล้ว ยืนยันว่าที่ดินผืนดังกล่าวตนซื้อมาเอง แต่ล่าช้าเรื่องเอกสาร พร้อมยอมรับว่ามีความเครียดอยู่บ้าง และไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาอย่างไรก็จะยอมรับ
ต่อมา มีรายงานว่า จำเลยที่ยื่นฎีกา 44 คน เดินทางมาศาลไม่ครบ ศาลจึงสั่งออกหมายจับ พร้อมเลื่อนอ่านคำพิพากษาเป็นช่วงบ่ายวันเดียวกัน(15 ต.ค.) เมื่อถึงเวลานัด ศาลได้เลื่อนฟังคำพิพากษาศาลฎีกาออกไปก่อน เนื่องจากนายชูวิทย์จำเลยที่ 129 ได้ยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธ และเปลี่ยนคำให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง พร้อมทั้งขอให้ศาลลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุก โดยนายชูวิทย์ขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของตนให้ศาลฎีกาพิจารณา ซึ่งศาลได้ส่งคำร้องให้ศาลฎีกาทางโทรสาร (แฟกซ์) จากนั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเลื่อนนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไปก่อน และให้ส่งสำนวนพร้อมคำพิพากษาคืนศาลฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำร้องของนายชูวิทย์ต่อไป ทั้งนี้ ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาอีกครั้งในวันที่ 28 ม.ค. 2559 เวลา 09.00 น.
ส่วน พ.ต.ธัญเทพ หรือ เสธ.แอ๊ป จำเลยที่ 130 ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษาเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ศาลจึงออกหมายจับ และปรับนายประกัน เช่นเดียวกับจำเลย 18, 40, 68, 73, 112 และ 115
ด้านนายชูวิทย์กล่าวในเวลาต่อมาว่า ตนใคร่ครวญเรื่องนี้ดีแล้ว การพูดความจริงทำให้เรารู้สึกปลดปล่อยมากสุด ตนต่อสู้มา 12 ปี สิ่งที่ทำไปในการเป็นนักธุรกิจขณะนั้นก็รู้สึกอึดอัด ตนรับสารภาพ ยอมรับผิด “ผมอยากให้ประชาชนดูว่า การทำอะไรไม่เท่ากับการพูดความจริง ผมตรึกตรองมา 2 วันจึงยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา ทำให้รู้สึกยกภูเขาออกจากอก เราสามารถโกหกพ่อแม่ ภรรยาได้ แต่โกหกตัวเองไม่ได้” นายชูวิทย์กล่าวอีกว่า การพูดความจริงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หวังว่าพี่น้องจะเข้าใจและให้โอกาส ส่วนค่าเสียหายตนได้ชดใช้แล้วร่วม 100 ล้านบาท หลังจากนี้ไม่ได้เตรียมตัวอะไร เพียงขอให้ศาลลงโทษสถานเบา ส่วนที่ดินแปลงนี้ตนซื้อมา 500 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารรับปากจะไล่ที่ให้ พร้อมยอมรับว่า กรณีรื้อบาร์เบียร์เกิดจากความบีบคั้น และความเป็นนักธุรกิจที่โง่เขลาเบาปัญญาของตน
อนึ่ง คดีนี้ ศาลฎีกาได้นัดอ่านคำพิพากษามาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 13 ส.ค. ซึ่งวันนั้น นายชูวิทย์เดินทางมาศาลด้วยสีหน้าเคร่งขรึม ถือถุงใส่แปรงสีฟัน ยาสีฟัน และของใช้ส่วนตัวมาพร้อม และประกาศขอน้อมรับทุกคำตัดสิน แต่เนื่องจากวันดังกล่าว ทนายจำเลยบางคน และนายประกันได้แจ้งต่อศาลว่า มีจำเลยบางคนเสียชีวิตแล้ว ศาลจึงต้องใช้เวลาตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทนายความและนายประกัน ศาลจึงเลื่อนอ่านคำพิพากษาเป็นช่วงเช้าวันที่ 15 ต.ค.แทน แต่ในที่สุด ก็ต้องเลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาออกไปอีกครั้ง หลังนายชูวิทย์ขอกลับคำให้การ
5.ศาลฎีกา พิพากษายืนยกฟ้อง 3 จำเลยคดีจ้างวานฆ่า “เจริญ วัดอักษร” ด้าน “แอมเนสตี้ฯ” จี้ไทยสอบสวนใหม่!
เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ฟ้องนายเสน่ห์ เหล็กล้วน, นายประจวบ หินแก้ว, นายธนู หินแก้ว ทนายความ, นายมาโนช หินแก้ว อดีต สจ.ประจวบคีรีขันธ์ และนายเจือ หินแก้ว อดีตกำนัน ต.บ่อนอก ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันจ้างวานฆ่าผู้อื่น และผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุน พ.ศ.2490
โดยโจทก์ฟ้องว่า ระหว่างต้นปี 2547-วันที่ 21 มิ.ย. 2547 จำเลยที่ 3-5 ร่วมกันจ้างวานให้จำเลยที่ 1-2 ฆ่านายเจริญ วัดอักษร อายุ 37 ปี ประธานกลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และแกนนำกลุ่มคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก โดยใช้อาวุธปืนยิงนายเจริญ 9 นัด จนถึงแก่ความตาย ที่ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังนายเจริญลงจากรถโดยสารสายกรุงเทพฯ-บางสะพาน หลังเดินทางกลับจากให้ปากคำต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เรื่องการบุกรุกที่ดินสาธารณะคลองชายธงในเขต อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งต่อมา เจ้าหน้าที่จับกุมจำเลยได้ แต่จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2551 ให้ประหารชีวิตนายธนู หินแก้ว จำเลยที่ 3 ฐานจ้างวาน ส่วนจำเลยที่ 4-5 ให้ยกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานนำสืบไม่ชัดเจน จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอ โดยระหว่างอุทธรณ์คดี จำเลยที่ 3 ได้รับการประกันตัว
ส่วนนายเสน่ห์ จำเลยที่ 1 และนายประจวบ จำเลยที่ 2 มือปืนเสียชีวิตระหว่างถูกคุมขังที่เรือนจำ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าทั้งสองป่วยเป็นเอดส์ ซึ่งสร้างความคลางแคลงใจให้สังคมและญาตินายเจริญเป็นอย่างมาก เพราะสงสัยว่าจำเลยทั้งสองป่วยตายจริงหรือถูกทำให้ตาย เพื่อตัดตอนคดีไม่ให้ถึงผู้จ้างวานฆ่านายเจริญกันแน่
ทั้งนี้ หลังศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิต นายธนูจำเลยที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์ ขณะที่อัยการโจทก์ ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4-5 ด้วย ต่อมา ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนยกฟ้องจำเลยที่ 4-5 และพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ด้วย เนื่องจากเห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่เพียงพอให้เอาผิดจำเลยได้
ด้านศาลฎีกา พิจารณาแล้วเห็นว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3-5 เป็นผู้จ้างวานใช้จำเลยที่ 1-2 ฆ่าผู้ตายหรือไม่ ซึ่งศาลเห็นว่า โจทก์มีพยานเป็นพนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยที่ 1-2 ร่วมกันยิงผู้ตาย โดยใช้อาวุธปืนคนละกระบอก ภายหลังจับกุม จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่ต่อมารับสารภาพในชั้นสอบสวน โดยซัดทอดจำเลยที่ 3 ร่วมวางแผนยิงผู้ตาย ซึ่งหลังจากยิงนายเจริญแล้ว ได้โทรศัพท์ไปหาจำเลยที่ 4 และอาวุธปืนที่ใช้ยิงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 5
นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ให้การว่า ตนอยู่ในกลุ่มผู้สนับสนุนให้สร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอก และขัดแย้งกับนายเจริญซึ่งอยู่ฝ่ายตรงข้าม วันเกิดเหตุ ได้พบกับจำเลยที่ 2 ระหว่างนั้นเห็นนายเจริญเดินมาคนเดียว จึงใช้อาวุธปืนยิง โดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน และไม่ได้มีลักษณะเป็นการจ้างวาน ศาลเห็นว่า คำให้การของจำเลยที่ 1- 2 เป็นคำซัดทอดและขัดแย้งกันเองในหลายประเด็น จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ นอกจากนี้โจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นชัดเจนว่า จำเลยที่ 4-5 เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไร และไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า ได้ร่วมกับจำเลยที่ 3 วางแผนฆ่าผู้ตายที่ใด มีเพียงคำพูดของจำเลยที่ 4 ที่สอบถามจำเลยที่ 1-2 ภายหลังยิงนายเจริญแล้วกลับมาที่บ้านพักว่าไปทำอะไรกันมา แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 4-5 ไม่น่าจะรู้เห็นด้วย จึงเห็นว่า คำให้การของจำเลยที่ 1-2 ในชั้นสอบสวน เป็นพยานบอกเล่าและเพียงคำซัดทอด อีกทั้งจำเลยที่ 1-2 เสียชีวิตระหว่างการพิจารณาคดี ทำให้จำเลยที่ 3-5 ไม่มีโอกาสซักค้าน ดังนั้น คำให้การซัดทอดดังกล่าว จึงต้องรับฟังอย่างรอบคอบและระมัดระวัง โดยต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนด้วย ซึ่งโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มั่นคงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3-5 ร่วมกันกระทำผิดฐานจ้างวานฆ่าผู้อื่น และจำเลยที่ 3-5 ให้การปฏิเสธมาโดยตลอด พยานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืนยกฟ้อง และให้ถอนหมายจับนายธนู
ด้านนายเจือ หินแก้ว อดีตกำนันตำบลบ่อนอก กล่าวหลังศาลยกฟ้องว่า ตลอดเวลา 11 ปีที่ผ่านมา ตนถูกกล่าวหา ตกเป็นจำเลย ทั้งที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขณะนี้ถือว่าได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์แล้ว
ขณะที่นางกรณ์อุมา พงษ์น้อย ภรรยาของนายเจริญ กล่าวหลังศาลฎีกายกฟ้องจำเลยว่า แม้จะไม่เห็นด้วย แต่ต้องยอมรับในคำพิพากษาของศาล เพราะในทางคดีอาญา ถือว่าถึงที่สุดแล้ว และจะไม่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง หรือศาลอื่น แต่ขอเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน นางกรณ์อุมา ยืนยันด้วยว่า ตนและชาวบ้านจะสู้ต่อไป โดยเฉพาะกรณีพื้นที่สาธารณะคลองชายธง ที่ปัจจุบันสถานการณ์ทวีความรุนแรงและตึงเครียดมากขึ้น เพราะมีนายทุน ข้าราชการ และอิทธิพลเถื่อน พยายามเข้าไปครอบครองพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นพื้นที่ระบบนิเวศและเป็นฐานทรัพยากรชุมชน เพื่อนำไปทำเป็นมหาวิทยาลัย จึงอยากให้สื่อมวลชนเฝ้าติดตามด้วย
ด้านองค์การนิรโทษกรรมสากล หรือแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการไทยสอบสวนคดีฆ่านายเจริญ วัดอักษร ใหม่ หลังศาลฎีกายกฟ้อง 3 จำเลย ซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ข้อหาจ้างวานฆ่า ทั้งที่ศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตจำเลย ทั้งนี้ แถลงการณ์ของแอมเนสตี้ฯ ชี้ว่า การที่ทางการไทยไม่สามารถทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อนายเจริญและครอบครัว นับเป็นโศกนาฏกรรมในการต่อสู้อย่างยาวนานเพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับเขาและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ ในประเทศไทย ทั้งยังสนับสนุนวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิดที่น่ารังเกียจให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้เกิดการสังหาร ทำร้ายและคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยต่อไป
6.ศาลเกาะสมุย สอบคำให้การ 2 พม่านัดสุดท้ายคดีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่า นัดฟังคำพิพากษา 24 ธ.ค.นี้!
ความคืบหน้าคดีฆาตกรรม น.ส.ฮันนาห์ วิกตอเรีย วิทเธอริดจ์ สัญชาติ อังกฤษ อายุ 24 ปี และ นายเดวิด วิลเลียม มิลเลอร์ อายุ 24 ปี สองนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานีเมื่อวันที่ 15 ก.ย.2557 ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดเกาะสมุย ได้เบิกตัวนายเวพิว และนายซอริน แรงงานต่างด้าวชาวพม่า จำเลยคดีนี้ออกจากเรือนจำ อ.เกาะสมุย เพื่อสอบปากคำจำเลยนัดสุดท้าย
หลังสอบปากคำแล้วเสร็จ ศาลได้แจ้งให้ฝ่ายจำเลย และฝ่ายโจทก์ส่งเอกสารคำแถลงปิดคดีให้แก่ศาลภายใน 15 วัน คือ วันที่ 26 ต.ค. พร้อมนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 24 ธ.ค.
สำหรับบรรยากาศการซักค้านจำเลยทั้ง 2 คนในนัดสุดท้าย นอกจากจำเลยทั้งสองแล้ว ยังมีทีมทนายความจากสภาทนายความ นางพิว ชุยนุก แม่ของนายเวพิว และนางเมไต แม่ของนายซอริน เข้าร่วมรับฟังการไต่สวนจำเลยด้วย โดยศาลได้ให้ทนายความทั้งฝ่ายจำเลย และฝ่ายโจทก์ได้ซักค้านจนเป็นที่พอใจ
ต่อมา นายนคร ชมพูชาติ ทนายความจากสภาทนายความ ซึ่งเป็นทนายความฝ่ายจำเลย กล่าวว่า ประเด็นที่ทางอัยการซักค้าน เป็นเรื่องคำรับสารภาพของจำเลยที่บางส่วนดูคล้ายกับว่าจำเลยสมัครใจในการรับสารภาพ จึงพยายามหยิบจุดเหล่านี้มาถามจำเลย แต่จำเลยยังยืนยันว่า อยู่ในสภาวะของการถูกบังคับให้รับสารภาพ นอกจากนี้ ทางอัยการยังซักว่าจำเลยได้โทรศัพท์ของผู้ตายมาได้มาอย่างไร ซึ่งจำเลยยืนยันว่า เก็บได้ที่ชายหาดใกล้ร้านอาหาร นายนคร ยังเผยด้วยว่า หลังจากมีคำพิพากษาแล้ว อาจจะมีการแจกแจงรายละเอียดให้ฟังว่า คดีนี้ได้สู้ไว้อย่างไร แต่จะสัมฤทธิผลหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับคำพิพากษาของศาลว่าจะเป็นอย่างไร
ด้านนางพิว ชุยนุก และนางเมไต กล่าวว่า ตนไม่เชื่อว่าลูกชายฆ่า 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ พร้อมหวังว่าลูกทั้ง 2 คนจะได้รับความยุติธรรมจากศาลของประเทศไทย และหวังว่าจะได้พาลูกกลับบ้านที่รัฐยะไข่ ประเทศพม่าพร้อมกัน ทั้งนี้ แม่ของจำเลยทั้งสองคนรู้สึกสงสารครอบครัวของผู้เสียชีวิตเช่นกัน และว่า ในวันที่ 24 ธ.ค. ที่ศาลจังหวัดเกาะสมุยจะตัดสินคดีนี้ ตนจะเดินทางมาร่วมรับฟังคำตัดสินด้วยตัวเอง นางพิวและนางเมไต ยังกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ตนทั้ง 2 คนสงสารลูกชายมาก หลังจากได้ฟังลูกให้รายละเอียดต่อศาลว่า ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม แล้วจับแก้ผ้าขังไว้ในห้องแอร์ พร้อมทั้งทำร้ายร่างกายด้วยการดีดที่อัณฑะ เพื่อให้รับสารภาพว่าเป็นคนฆ่า 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ