คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.ไทยเฮ ที่ประชุมกลุ่มจี 77 มีมติเอกฉันท์ให้ไทยเป็นประธานปีหน้า ด้าน “บิ๊กตู่” นำคณะประชุมยูเอ็นที่สหรัฐฯ ท่ามกลางม็อบหนุนและต้าน!
เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 23 ก.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พร้อมภริยา และคณะ ได้ออกเดินทางไปนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติระดับผู้นำเพื่อรับรองวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ.2015 และการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 ระหว่างวันที่ 23 ก.ย.-1 ต.ค. โดยการเดินทางครั้งนี้ ถือเป็นการเดินทางออกนอกประเทศที่ยาวนานที่สุดของ พล.อ.ประยุทธ์ ตั้งแต่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 7 วัน มีรายงานด้วยว่า ในการเดินทางไปประชุมที่สหรัฐฯ ครั้งนี้ มีความเคลื่อนไหวของคนไทยในสหรัฐฯ ทั้งกลุ่มต้านและกลุ่มหนุนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เตรียมไปชุมนุมที่หน้าสำนักงานใหญ่ยูเอ็น โดยฝ่ายหนุนนำโดย นางไพลิน คำศิริ ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในนิวยอร์ก กลุ่ม กปปส.ต่างแดน ขณะที่ฝ่ายต้านนำโดย กลุ่มเรดนิวยอร์ก และนายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ซึ่งถูกออกหมายจับและถูกเพิกถอนหนังสือเดินทางหลังไม่เข้ารายงานตัวตามคำสั่ง คสช.
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมเต็มคณะของสมัชชาสหประชาชาติฯ เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ว่า การเข้ามาบริหารประเทศในช่วงแรก ได้มุ่งเน้นในการพลิกฟื้นสันติสุข สร้างความสามัคคี ลดความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหาเร่งด่วนทางสังคม วางแผนการปฏิรูปอย่างครบวงจร ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศระหว่างปี ค.ศ.2015-2020 ว่า "ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง ประชาคมยั่งยืน" พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันด้วยว่า รัฐบาลรับผิดชอบในการสร้างกรอบกติกาให้ทุกคนเท่าเทียมกัน และได้รับการคุ้มครองทางกระบวนการยุติธรรม ส่วนการพัฒนาประเทศได้รับแรงบันดาลใจจากแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เติบโตอย่างยั่งยืนบนหลักของความพอประมาณ เพื่อเอาชนะความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
เป็นที่น่าสังเกตว่า มีข่าวดีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ก.ย. คือที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มจี 77 ครั้งที่ 39 ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ(ยูเอ็น) ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 70 มีมติเอกฉันท์ให้ไทยทำหน้าที่ประธานของกลุ่มจี 77 ในปี 2559 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ไทยดำรงตำแหน่งดังกล่าวหลังเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งจี 77 มาตั้งแต่ปี 2507 หรือกว่า 51 ปี สำหรับจี 77 ไม่เพียงเป็นองค์กรความร่วมมือระดับรัฐบาลของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีสมาชิกรวม 134 ประเทศ แต่ยังเป็นกลุ่มเจรจาที่ใหญ่สุดในยูเอ็น ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาใช้เป็นเวทีในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือเหนือ-ใต้ด้วย
ด้านนายอภิชาติ ชินวรรโณ เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในฐานะผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ยืนยันความพร้อมของไทยต่อที่ประชุมที่จะแสดงบทบาทนำในการสานต่อความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ส่งเสริมผลประโยชน์ และผลักดันสิ่งที่กลุ่มให้ความสำคัญ พร้อมยอมรับว่า การรับหน้าที่ประธานกลุ่มจี 77 จะส่งผลดีต่อการหาเสียงของไทยในการลงสมัครชิงเก้าอี้สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
2.“ตั๊น-จิตภัสร์” แถลงทั้งน้ำตาถอนตัวเลิกสมัครเป็นตำรวจ หลัง ตร.บางส่วนไม่พอใจ ยันไม่ใช่คนทำลายป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ!
เมื่อวันที่ 20 ก.ย. มีข่าวว่า น.ส.จิตภัสร์ กฤดากร หรือตั๊น แกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) จะได้รับการบรรจุเป็นรองสารวัตร ฝ่ายอำนวยการกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ(บก.สปพ.) หรือ 191 หลังจากนั้น มีรายงานว่า ได้เกิดความไม่พอใจในหมู่ตำรวจบางส่วน ซึ่งไม่เห็นด้วยที่ น.ส.จิตภัสร์ จะรับราชการตำรวจ โดยมีการแชร์ข้อมูลในโซเชียลมีเดียว่า น.ส.จิตภัสร์ เคยเป็นแกนนำกลุ่มการเมืองที่ด่าทอ เป็นฝ่ายตรงข้ามกับตำรวจที่ควบคุมการชุมนุม เคยนำมวลชนบุกเข้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ เพจที่ไม่พอใจ น.ส.จิตภัสร์ เข้ารับราชการตำรวจ ได้ชวนให้มีการผูกริบบิ้นสีดำที่เสาวิทยุสื่อสาร เสาวิทยุติดรถยนต์ หรือกระจกมองข้างรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ด้วย
อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต.ภาณุรัตน์ หลักบุตร ผู้บังคับการ สปพ. ชี้แจงกรณี น.ส.จิตภัสร์ว่า เป็นการสมัครเข้ารับการคัดเลือก โดยสอบสัมภาษณ์ตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว และว่า โดยขั้นตอนต้องเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา ถ้าอนุมัติ ต้องเข้าสู่ขั้นตอนติดยศให้เป็น ส.ต.ต.ก่อน เมื่อผ่านการอบรมตำรวจชั้นสัญญาบัตรประมาณ 4-6 เดือน จึงจะบรรจุในตำแหน่งรองสารวัตร บก.สปพ.ได้ พล.ต.ต.ภาณุรัตน์ เผยด้วยว่า สปพ.ต้องการตำรวจหญิงที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษมาทำงานร่วมกัน เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่กำลังจะมาถึง และว่า น่าเสียดายที่ทราบข่าวว่า น.ส.จิตภัสร์ จะไปยื่นเรื่องถอนชื่อออกจากการเสนอเข้ารับราชการตำรวจในวันที่ 21 ก.ย.
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ไปถาม พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถึงกรณีที่ น.ส.จิตภัสร์ถูกออกหมายจับ จะเหมาะสมต่อการรับราชการตำรวจหรือไม่ ซึ่ง พล.ต.อ.สมยศ พูดทำนองว่าน่าจะเข้าข่ายขาดคุณสมบัติ “กรณีที่เขามีหมายจับ ไม่ต้องห่วง เพราะเชื่อว่าหน่วยงานต้นสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาเรื่องนี้ทราบดี...ผมเชื่อว่าทุกคนไม่กล้าทำอะไรที่ผิดหรือไม่ถูกต้อง” ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าตำรวจบางส่วนคัดค้าน น.ส.จิตภัสร์ เป็นตำรวจนั้น พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า บางครั้งไม่ต้องออกมาต่อต้านแต่อย่างใด เพราะด้วยคุณสมบัติของเขา ไม่อาจที่จะรับการบรรจุแต่งตั้งได้ แต่ทุกอย่างต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกคน อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.สมยศ ได้ออกมาปฏิเสธในภายหลังว่า ตนไม่เคยพูดว่า น.ส.จิตภัสร์ ขาดคุณสมบัติในการสมัครเป็นตำรวจ
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ได้พูดเหน็บ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ว่า คสช.เพิ่งใช้มาตรา 44 ถอดยศ พ.ต.ท. (ทักษิณ) ไป แต่กลับจะให้ยศ ร.ต.ต.กับคนที่ต้องคดีอีก ด้วยการอ้างว่าขาดคนมีความรู้ ความสามารถกับต่างประเทศ อยากรู้ว่าใครเป็นต้นคิดเรื่องนี้ ทำไปทำไม ไม่มีอะไรทำหรืออย่างไร ไม่รู้นายกรัฐมนตรีคิดอย่างไร แต่ตนบอกได้เลยว่า เป็นปัญหา เพราะท้าทายความรู้สึกประชาชน
ขณะที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มองว่า น.ส.จิตภัสร์ มีสิทธิที่จะสมัครเป็นตำรวจ หากจะปิดกั้น ต้องแก้ไขระเบียบ “ต้องขอถามกลับว่ากรณีดังกล่าวมีความผิดตรงไหน หากระบุว่าเคยเคลื่อนไหวกับกลุ่ม กปปส.จึงทำให้เกิดความไม่เหมาะสม คงต้องกลับไปแก้ไขระเบียบราชการ และให้มีการประกาศที่ชัดเจนว่าใครที่เคยเป็นแนวร่วมของกลุ่ม นปช.หรือ กปปส.หรือฝักใฝ่ฝ่ายการเมือง ห้ามสมัครเป็นข้าราชการ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เห็นว่ากฎหมายควรใช้อย่างเท่าเทียมกับทุกคน”
สำหรับประเด็นเรื่อง น.ส.จิตภัสร์ ถูกออกหมายจับนั้น เมื่อวันที่ 23 ก.ย. นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ได้มอบหมายให้รองโฆษกดีเอสไอแถลงความชัดเจนเรื่องนี้ โดยชี้แจงว่า น.ส.จิตภัสร์ เป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาจากกรณีชุมนุมทางการเมือง ซึ่งดีเอสไอได้ส่งสำนวนให้อัยการ และอัยการสั่งฟ้อง จึงได้ยื่นศาลออกหมายจับ แต่เมื่อ น.ส.จิตภัสร์ ได้เข้ามอบตัว ก่อนขอปล่อยตัวชั่วคราว ก็ได้มีการถอนหมายจับแล้ว
ด้าน น.ส.จิตภัสร์ ได้แถลงข่าวเปิดใจเมื่อวันที่ 24 ก.ย.ชี้แจงกรณีสมัครเข้ารับราชการตำรวจว่า เพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติ พร้อมย้ำว่า การสมัครตำรวจครั้งนี้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ อยากมีส่วนในการทำหน้าที่ตำรวจหรือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ คอยบำบัดทุกข์บำรุงสุข ซึ่งตำรวจเป็นอาชีพทรงเกียรติ เสียสละ ทำงานหนัก ผดุงความยุติธรรมให้กับประชาชน น.ส.จิตภัสร์ ยังปฏิเสธกรณีมีการเผยแพร่ภาพผู้หญิงคนหนึ่งทำลายป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และต่อมามีการนำภาพมาตัดต่อว่าเป็นตนเอง โดยยืนยันว่าไม่เป็นความจริง รวมถึงการให้สัมภาษณ์ช่วงชุมนุมเป็นภาษาอังกฤษ ก็มีการบิดเบือน ไม่เป็นความจริง
ทั้งนี้ น.ส.จิตภัสร์ ได้ประกาศถอนตัวจากการเข้ารับคัดเลือกเป็นตำรวจ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อไม่ให้กรณีของตนทำให้ประชาชนไม่สบายใจและถกเถียงกัน โดยเฉพาะแวดวงข้าราชการตำรวจทุกระดับชั้น ซึ่งอาจกลายเป็นความไม่สงบสุขในองค์กรหรือขยายผลไปเป็นความขัดแย้งในสังคม เป็นที่น่าสังเกตว่า ระหว่างแถลงข่าว น.ส.จิตภัสร์ มีน้ำเสียงสั่นเครือและสีหน้าคล้ายกับจะร้องไห้ โดยบอกด้วยว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งที่คงไม่มีวาสนาเข้ามาทำงานตำรวจ สวมเครื่องแบบตำรวจในฐานะผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย และอดีตแกนนำ กปปส. กล่าวถึงกระแสต่อต้าน น.ส.จิตภัสร์ สมัครเป็นตำรวจว่า เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะคนไทยมีสิทธิเหมือนกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็น กปปส.หรือ นปช.ก็มีสิทธิสมัครเข้ารับราชการเท่าๆ กัน ส่วนจะเอาหรือไม่เอา ก็ว่ากันตามเกณฑ์กติกาที่กำหนดไว้ “คุณจิตภัสร์ตั้งใจสมัครเป็นตำรวจ ความจริงตำรวจน่าจะดีใจ เพราะเป็นคนมีชื่อเสียง เป็นที่นิยมของประชาชนหลายๆ ล้านคน โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนที่เป็น กปปส.ที่คิดว่าคุณจิตภัสร์เป็นคนกล้าหาญ พร้อมเสียสละเพื่อส่วนรวม ถึงขนาดยอมเปลี่ยนนามสกุลเพื่อทำงานตามอุดมการณ์เพื่อบ้านเมือง ซึ่งสมควรได้รับการพิจารณาด้วยซ้ำ...”
3.ตำรวจได้หลักฐานใหม่มัด “อาเดม คาราดัก” คือชายเสื้อเหลืองวางระเบิดศาลท้าวมหาพรหม ก่อนออกหมายจับผู้ต้องหา 17 ราย ข้อหาร่วมกันฆ่า!
ความคืบหน้าเหตุระเบิดศาลท้าวมหาพรหม สี่แยกราชประสงค์ และท่าเรือสาทร สัปดาห์ที่ผ่านมา ตำรวจได้หลักฐานที่คาดว่า ชายเสื้อเหลืองมือวางระเบิดศาลท้าวมหาพรหม ก็คือ นายอาเดม คาราดัก หรือนายบิลาเติร์ก มูฮัมหมัด ที่ถูกจับกุมได้ที่พูลอนันต์ อพาร์ตเมนต์ ย่านหนองจอก
โดยเมื่อวันที่ 23 ก.ย. มีรายงานจากหน่วยงานด้านความมั่นคงว่า ได้พบหลักฐานสำคัญชิ้นใหม่ที่ระบุตัวบุคคลชายเสื้อเหลืองได้แล้ว โดยกล้องวงจรปิดจับภาพหลังชายเสื้อเหลืองเข้าไปเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ห้องน้ำในสวนลุมพินี โดยเปลี่ยนจากเสื้อเหลือง เป็นเสื้อสีเทา เปลี่ยนกางเกงขาสามส่วนเป็นกางเกงยีนส์ขายาว รวมทั้งถอดแว่นตา วิกผม และปลอกแขนออก โดยถือถุงพลาสติกสีขาวที่คาดว่าน่าจะใส่วิกผม แว่นตา เสื้อเหลือง และกางเกงขาสามส่วน โดยหลังจากถอดวิกผมออกแล้ว ชายดังกล่าวผมสั้นเกรียน
ทั้งนี้ รายงานแจ้งว่า ชายเสื้อสีเทาดังกล่าว มีส่วนเหมือนนายอาเดม หรือนายบิลาเติร์กอย่างมาก จึงได้มีการประสานทหารและเจ้าหน้าที่เรือนจำชั่วคราว เพื่อนำภาพดังกล่าวไปให้นายอาเดมดู กระทั่งนายอาเดมยอมจำนนต่อหลักฐาน และรับสารภาพว่าเป็นชายเสื้อเหลืองมือวางระเบิดจริง จากเดิมที่เคยให้การปฏิเสธ
อย่างไรก็ตาม ตอนแรก ยังไม่มีตำรวจระดับสูงรายใดยืนยันข่าวดังกล่าว โดย พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวเมื่อวันที่ 24 ก.ย.ว่า เจ้าหน้าที่ยังไม่ปักใจเชื่อ ยังไม่อยากสรุปว่าข่าวดังกล่าวเป็นความจริง ต้องรอเจ้าหน้าที่ได้หลักฐานที่ชัดเจนมัดตัวว่านายอาเดมคือชายเสื้อเหลืองจริงก่อน
วันเดียวกัน(24 ก.ย.) มีรายงานว่า ชุดสืบสวนได้นำหลักฐานเข้าไปซักถามนายอาเดมเพิ่มเติมที่เรือนจำชั่วคราว มทบ.11 โดยนำวิกผมและแว่นตากรอบดำให้นายอาเดมใส่ด้วย ปรากฏว่ามีส่วนคล้ายกับชายเสื้อเหลืองที่วางระเบิดที่แยกราชประสงค์มาก
วันต่อมา(25 ก.ย.) พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผยว่า หลังจากพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ไปสอบปากคำนายอาเดม และนายมีไรลี ยูซุฟู ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมที่ ตม.สระแก้ว เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 24 ก.ย.แล้ว มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะใช้ยืนยันจนทำให้ผู้ต้องหาทั้งสองยอมจำนนต่อพยานหลักฐาน โดยเฉพาะนายอาเดมที่เจ้าหน้าที่มีหลักฐานสำคัญหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือภาพหน้าห้องน้ำที่สวนลุมพินี ที่ปรากฏชายเสื้อสีเทาที่เชื่อว่าเป็นนายอาเดม แต่หลักฐานชิ้นดังกล่าวไม่ใช่ทั้งหมด เป็นเพียงหลักฐานส่วนหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ พล.ต.อ.สมยศ ยังไม่ยืนยันว่านายอาเดมเป็นคนวางระเบิด แต่ยอมรับว่า ส่วนตัวเห็นภาพข่าวแล้วคิดว่าคล้ายมาก พร้อมยืนยันว่า ผู้ต้องหาในคดีระเบิดทุกคนที่จับกุมตัวแล้ว ไม่ใช่แพะอย่างแน่นอน แต่ขึ้นอยู่ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องในด้านใด
ด้าน พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เผยวันเดียวกัน(25 ก.ย.)ว่า เบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้ขอศาลทหารอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาคดีระเบิดศาลท้าวมหาพรหมและท่าเรือสาทรกว่า 10 ราย มีทั้งผู้ต้องหาเก่าและใหม่ โดยหนึ่งในนั้นมีนายอาเดม คาราดัก ด้วย ข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันทำให้เกิดระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ต่อมา พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยว่า ศาลทหารได้อนุมัติหมายจับตามที่พนักงานสอบสวนร้องขอแล้วจำนวน 17 ราย ประกอบด้วย 1.นายอาเหม็ด โบซองแลน 2.นายอาลี โจลัน 3.ชายชาวตุรกีไม่ทราบชื่อตามภาพสเกตช์ 4.นายมีไรลี ยูซุฟู 5.นายอับดุลเลาะห์ อับดุลเลาะห์มาน 6.นายอับดุล ทาวับ 7.น.ส.วรรณา สวนสัน 8.นายเอ็มระห์ ดาวูโตกลู 9.นายยูซุฟ ไม่ทราบนามสกุล 10.นายอ๊อด พยุงวงศ์ หรือนายยงยุทธ พบแก้ว 11.นายอิซาน หรือนายอาบูดูซาตาร์ อาบูดูเระห์มาน 12.นายอาลี นูร์ ไม่ทราบนามสกุล 13.นายมานา มาหมัด อิสเมล 14.ชายไม่ทราบชื่อ-นามสกุล ตามภาพสเกตช์ ใส่แว่น 15.ชายไม่ทราบชื่อ-นามสกุล ตามกล้องวงจรปิดที่ห้างโลตัสหนองจอก 16.นายอาเดม คาราดัก หรือนายบิลาเติร์ก มูฮัมหมัด และ 17.นายซูแบร์ ชายเสื้อฟ้า โดยทั้งหมดถูกดำเนินคดี 7 ข้อหา หนึ่งในนั้นคือ ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
4.ศาลฎีกา พิพากษายืนจำคุก “สนธิ-สโรชา” กับพวก 6 เดือน รอลงอาญา 3 ปี คดีหมิ่นตระกูล “ดามาพงศ์” โกงทั้งโคตร!
เมื่อวันที่ 24 ก.ย. ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่ พล.ร.ท.เกียรติศักดิ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ ญาติคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน, น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร, บริษัท แมเนเจอร์ มีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน, น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์ ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของ บ.แมเนเจอร์ฯ, นายขุนทอง ลอเสรีวานิช เจ้าของและผู้จัดทำเว็บไซต์ www.manager.co.th, บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด ผู้ผลิตรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร, นายศุภชัย วงศ์วรเศรษฐ์ (โจทก์ถอนฟ้องแล้ว), นายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล, นายพชร สมุทรวณิช ซึ่งเป็นกรรมการบริหาร บ.ไทยเดย์ฯ และนายปัญจภัทร อังคสุวรรณ ผู้ควบคุมดูแลเว็บไซต์ www.manager.co.th เป็นจำเลยที่ 1-10 ในความผิดฐานร่วมกันดูหมิ่น และหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 332, 393 กรณีร่วมกันจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถ่ายทอดออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ ASTV ช่องนิวส์ 1 และเผยแพร่ตีพิมพ์ทาง นสพ.ผู้จัดการรายวัน และเว็บไซต์ www.manager.co.th โดยกล่าววิจารณ์การขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ด้วยถ้อยคำลักษณะใส่ร้ายตระกูลดามาพงศ์ และบุคคลในตระกูลดามาพงศ์ของโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 24 ม.ค. - 4 ก.พ. 2549
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2550 ให้ยกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ได้จากคำเบิกความพยานโจทก์มีความคลาดเคลื่อน จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย และไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทฯ จึงพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสิบ ต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2554 ว่า เมื่อพิจารณาจากข้อความตามฟ้องโจทก์ เช่น “ชินวัตร...ดามาพงศ์ โกงทั้งโคตร ขายชาติเลี่ยงภาษี” แม้ไม่มีชื่อโจทก์แต่การที่ลงชื่อตระกูลทำให้ผู้อ่านย่อมเข้าใจไปได้ว่าหมายถึงทั้งตระกูล โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งข้อความดังกล่าวยังเป็นความหมายในทางลบ ทำให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกว่าการกระทำของตระกูลโจทก์กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะดำเนินการไม่ใช่หน้าที่จำเลยมาตัดสิน ข้อความตามฟ้องของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่การเสนอข้อเท็จจริงโดยสุจริต ส่วนจำเลยที่ 2, 3, 5, 6 และ10 มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วม ขณะที่จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้บริหารแผนฯ ของจำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีส่วนกระทำผิด ส่วนจำเลยที่ 8 และ 9 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 5 โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่ามีส่วนร่วมกระทำผิดอย่างไร จึงพิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 1, 2, 3, 5, 6 และ 10 กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, ประกอบมาตรา 83 ให้จำคุกจำเลยที่ 1, 2, 5 และ 10 คนละ 6 เดือน ปรับคนละ 5 หมื่นบาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 3 ปี ให้ปรับจำเลยที่ 3 และ 6 ซึ่งเป็นนิติบุคคล คนละ 5 หมื่นบาท และให้ร่วมกันลงตีพิมพ์คำพิพากษาลงใน นสพ.ผู้จัดการรายวัน และเว็บไซต์ www.manager.co.th เป็นเวลา 7 วันต่อเนื่องกัน
ต่อมาจำเลยที่ 1, 2, 3, 5, 6 และ 10 ยื่นฎีกาขอให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาตรวจสำนวนปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 และ 5 กระทำผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยหรือไม่ เห็นว่า แม้ข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน และเว็บไซต์แมเนเจอร์ จะกล่าวถึงตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ แต่เมื่อพิจารณาดูในเนื้อหาข่าวนั้นไม่ได้หมายถึงคนของตระกูลดังกล่าวทั้งหมด ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 และ 5 จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ส่วนคำปราศรัยของจำเลยที่ 1 เมื่อพิจารณาคำว่า “โกงทั้งโคตร” ย่อมหมายถึงทุกคนที่อยู่ในตระกูลดามาพงศ์ได้รับความเสียหาย ไม่ใช่การใส่ความการทำงานของอดีตนายกรัฐมนตรี นายทักษิณ ชินวัตร ตามที่จำเลยกล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา 326 และ 328 ขณะที่จำเลย 2 อยู่ร่วมเวทีปราศรัยกับจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่ต้น จึงกระทำผิดฐานเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 6 และ 10 ที่ได้เผยแพร่ข้อความการปราศรัยดังกล่าว ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืนจำคุก 6 เดือน นายสนธิ จำเลยที่ 1 น.ส.สโรชา จำเลยที่ 2 และนายปัญจภัทร จำเลยที่ 10 พร้อมปรับ 5 หมื่นบาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 3 ปี ส่วนบริษัทไทยเดย์ฯ จำเลยที่ 6 คงโทษปรับ 5 หมื่นบาท และพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องบริษัท เมเนเจอร์ มีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 3 และ นายขุนทอง จำเลยที่ 5
5.ศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุก 4 แนวร่วม นปช.4 ปี คดีระเบิดพรรคภูมิใจไทยปี ’53 !
เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีวางระเบิดพรรคภูมิใจไทย ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ฟ้องนายเดชพล พุทธจง อายุ 60 ปี อาชีพค้าขาย, นายกำพล คำคง อายุ 46 ปี อาชีพขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง, นายกอบชัย หรืออ้าย บุญปลอด อายุ 47 ปี อาชีพค้าขาย, นางวริศรียา หรืออ้อ บุญสม อายุ 47 ปี อาชีพตกแต่งภายใน และนายสุริยา หรืออ้วน ภูมิวงษ์ อายุ 43 ปี อาชีพช่างทำบั้งไฟ ซึ่งเป็นแนวร่วมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันทำวัตถุระเบิด มีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธ(วัตถุระเบิด) ไปในเมืองฯ โดยไม่มีเหตุอันควร และกระทำให้เกิดระเบิดฯ ตามความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 38, 74, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 221, 222, 218, 371
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อช่วงต้นเดือน มิ.ย. 2553 จำเลยทั้งห้ากับพวกได้ร่วมกันผลิต และมีวัตถุระเบิดที่ทำขึ้น โดยร่วมกับนายเอนก สิงขุนทด ซึ่งเป็นผู้เข็นรถเข็นผลไม้ที่ซุกซ่อนระเบิดไว้ในถังแก๊ส เข็นผ่านไปที่ทำการพรรคภูมิใจไทย ใกล้ซอยพหลโยธิน 43 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม.จนเกิดระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้ผนังด้านหลังอาคารพรรคภูมิใจไทยแตกเสียหาย เพิงร้านค้าขายอาหารตามสั่งของนายแถม ตรุพิมาย ถูกแรงระเบิดพังเสียหายทั้งหลัง รถยนต์ของว่าที่ ร.ต.ภูมิรัตน์ นาคอุดม ได้รับความเสียหาย ส่วนนายอเนก สิงขุนทด ได้รับบาดเจ็บสาหัส จนตาบอดทั้งสองข้างจากเหตุระเบิดดังกล่าว ซึ่งในชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ แต่ให้การปฏิเสธในชั้นศาล
ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2556 ว่า จำเลยทั้งห้าเป็นกลุ่ม นปช. ไม่พอใจรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะนั้น โดยมีจำเลยที่ 1-3 เป็นผู้สั่งการให้นายเอนกเข็นรถผลไม้ไปที่หน้าพรรคภูมิใจไทยก่อนที่จะเกิดระเบิดขึ้น จึงมีส่วนร่วมในการกระทำผิดกับนายเอนก ขณะที่จำเลยที่ 5 รับว่า เป็นผู้ประกอบระเบิดอย่างเดียว แต่ไม่มีส่วนรู้เห็นในการวางระเบิด ส่วนจำเลยที่ 4 พยานโจทก์ยังมีข้อสงสัย จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 4
ทั้งนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1-3 กระทำผิดหลายกรรม แต่ให้ลงโทษบทหนักสุด ในความผิดฐานร่วมกันทำให้เกิดระเบิด จำคุกคนละ 5 ปี ฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง จำคุกคนละ 5 ปี และฐานพาวัตถุระเบิดไปในเมือง ปรับคนละ 100 บาท รวมโทษจำคุกคนละ 10 ปี และปรับคนละ 100 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานประกอบระเบิด และ พ.ร.บ.อาวุธปืน ลงโทษจำคุก 5 ปี แต่จำเลยที่ 1-3 และ 5 ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยที่ 1-3 คนละ 6 ปี 8 เดือน และปรับ 66.66 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 คงจำคุกไว้ 3 ปี 4 เดือน ยกฟ้องจำเลยที่ 4 แต่ให้ขังไว้ระหว่างอุทธรณ์ ต่อมา จำเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง ขณะที่อัยการโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าสถานหนัก
ด้านศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงจากการนำสืบพบว่า จำเลยที่ 1 -4 เป็นตัวการร่วมกัน สั่งการ โดยแบ่งหน้าที่กันทำ และมีวัตถุระเบิดที่จำเลยที่ 5 ประกอบขึ้น เพียงแต่วันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1-3 และนายเอนกเป็นผู้เข็นรถผลไม้ที่ซุกซ่อนระเบิดไปใกล้บริเวณที่ทำการพรรคภูมิใจไทย ส่วนจำเลยที่ 4 แม้จะไม่ได้ร่วมในเหตุการณ์ระเบิด แต่ก็คอยใช้โทรศัพท์มือถือสอบถามติดตามสถานการณ์โดยตลอด ย่อมมีความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1-3 ด้วย อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้นบางส่วน พิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 1-4 กระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษทุกกรรม ฐานร่วมกันกระทำให้ระเบิดจนเป็นอันตรายแก่บุคคล และทรัพย์สินอื่นๆ จำคุกคนละ 3 ปี ,ฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกคนละ 3 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1-4 คนละ 6 ปี ปรับคนละ 100 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 ผิดฐานประกอบวัตถุระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 ปี อย่างไรก็ตาม คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งห้า เป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษให้กระทงละ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยที่ 1-4 ไว้คนละ 4 ปี ปรับคนละ 66.66 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 จำคุก 2 ปี 8 เดือน
สำหรับนายสุริยา จำเลยที่ 5 ได้หลบหนี ศาลจึงออกหมายจับ และปรับนายประกัน 5 แสนบาท เนื่องจากไม่สามารถติดตามตัวจำเลยที่ 5 มาฟังคำพิพากษาได้ ศาลจึงได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ลับหลังจำเลย ส่วนนายอเนกซึ่งเป็นคนเข็นรถขายผลไม้ซุกซ่อนระเบิด อัยการได้แยกฟ้องอีกคดี โดยก่อนหน้านี้ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาแก้ จากเดิมที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 35 ปี โดยลดโทษจำคุกเหลือ 5 ปี และปรับ 50 บาท
อย่างไรตามในส่วนของนางวริศรียา จำเลยที่ 4 นั้น ญาติได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกาสู้คดี ซึ่งศาลพิจารณาแล้วอนุญาต โดยตีราคาประกัน 5 แสนบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ
1.ไทยเฮ ที่ประชุมกลุ่มจี 77 มีมติเอกฉันท์ให้ไทยเป็นประธานปีหน้า ด้าน “บิ๊กตู่” นำคณะประชุมยูเอ็นที่สหรัฐฯ ท่ามกลางม็อบหนุนและต้าน!
เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 23 ก.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พร้อมภริยา และคณะ ได้ออกเดินทางไปนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติระดับผู้นำเพื่อรับรองวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ.2015 และการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 ระหว่างวันที่ 23 ก.ย.-1 ต.ค. โดยการเดินทางครั้งนี้ ถือเป็นการเดินทางออกนอกประเทศที่ยาวนานที่สุดของ พล.อ.ประยุทธ์ ตั้งแต่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 7 วัน มีรายงานด้วยว่า ในการเดินทางไปประชุมที่สหรัฐฯ ครั้งนี้ มีความเคลื่อนไหวของคนไทยในสหรัฐฯ ทั้งกลุ่มต้านและกลุ่มหนุนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เตรียมไปชุมนุมที่หน้าสำนักงานใหญ่ยูเอ็น โดยฝ่ายหนุนนำโดย นางไพลิน คำศิริ ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในนิวยอร์ก กลุ่ม กปปส.ต่างแดน ขณะที่ฝ่ายต้านนำโดย กลุ่มเรดนิวยอร์ก และนายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ซึ่งถูกออกหมายจับและถูกเพิกถอนหนังสือเดินทางหลังไม่เข้ารายงานตัวตามคำสั่ง คสช.
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมเต็มคณะของสมัชชาสหประชาชาติฯ เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ว่า การเข้ามาบริหารประเทศในช่วงแรก ได้มุ่งเน้นในการพลิกฟื้นสันติสุข สร้างความสามัคคี ลดความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหาเร่งด่วนทางสังคม วางแผนการปฏิรูปอย่างครบวงจร ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศระหว่างปี ค.ศ.2015-2020 ว่า "ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง ประชาคมยั่งยืน" พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันด้วยว่า รัฐบาลรับผิดชอบในการสร้างกรอบกติกาให้ทุกคนเท่าเทียมกัน และได้รับการคุ้มครองทางกระบวนการยุติธรรม ส่วนการพัฒนาประเทศได้รับแรงบันดาลใจจากแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เติบโตอย่างยั่งยืนบนหลักของความพอประมาณ เพื่อเอาชนะความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
เป็นที่น่าสังเกตว่า มีข่าวดีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ก.ย. คือที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มจี 77 ครั้งที่ 39 ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ(ยูเอ็น) ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 70 มีมติเอกฉันท์ให้ไทยทำหน้าที่ประธานของกลุ่มจี 77 ในปี 2559 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ไทยดำรงตำแหน่งดังกล่าวหลังเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งจี 77 มาตั้งแต่ปี 2507 หรือกว่า 51 ปี สำหรับจี 77 ไม่เพียงเป็นองค์กรความร่วมมือระดับรัฐบาลของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีสมาชิกรวม 134 ประเทศ แต่ยังเป็นกลุ่มเจรจาที่ใหญ่สุดในยูเอ็น ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาใช้เป็นเวทีในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือเหนือ-ใต้ด้วย
ด้านนายอภิชาติ ชินวรรโณ เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในฐานะผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ยืนยันความพร้อมของไทยต่อที่ประชุมที่จะแสดงบทบาทนำในการสานต่อความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ส่งเสริมผลประโยชน์ และผลักดันสิ่งที่กลุ่มให้ความสำคัญ พร้อมยอมรับว่า การรับหน้าที่ประธานกลุ่มจี 77 จะส่งผลดีต่อการหาเสียงของไทยในการลงสมัครชิงเก้าอี้สมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
2.“ตั๊น-จิตภัสร์” แถลงทั้งน้ำตาถอนตัวเลิกสมัครเป็นตำรวจ หลัง ตร.บางส่วนไม่พอใจ ยันไม่ใช่คนทำลายป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ!
เมื่อวันที่ 20 ก.ย. มีข่าวว่า น.ส.จิตภัสร์ กฤดากร หรือตั๊น แกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) จะได้รับการบรรจุเป็นรองสารวัตร ฝ่ายอำนวยการกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ(บก.สปพ.) หรือ 191 หลังจากนั้น มีรายงานว่า ได้เกิดความไม่พอใจในหมู่ตำรวจบางส่วน ซึ่งไม่เห็นด้วยที่ น.ส.จิตภัสร์ จะรับราชการตำรวจ โดยมีการแชร์ข้อมูลในโซเชียลมีเดียว่า น.ส.จิตภัสร์ เคยเป็นแกนนำกลุ่มการเมืองที่ด่าทอ เป็นฝ่ายตรงข้ามกับตำรวจที่ควบคุมการชุมนุม เคยนำมวลชนบุกเข้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ เพจที่ไม่พอใจ น.ส.จิตภัสร์ เข้ารับราชการตำรวจ ได้ชวนให้มีการผูกริบบิ้นสีดำที่เสาวิทยุสื่อสาร เสาวิทยุติดรถยนต์ หรือกระจกมองข้างรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ด้วย
อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต.ภาณุรัตน์ หลักบุตร ผู้บังคับการ สปพ. ชี้แจงกรณี น.ส.จิตภัสร์ว่า เป็นการสมัครเข้ารับการคัดเลือก โดยสอบสัมภาษณ์ตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว และว่า โดยขั้นตอนต้องเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา ถ้าอนุมัติ ต้องเข้าสู่ขั้นตอนติดยศให้เป็น ส.ต.ต.ก่อน เมื่อผ่านการอบรมตำรวจชั้นสัญญาบัตรประมาณ 4-6 เดือน จึงจะบรรจุในตำแหน่งรองสารวัตร บก.สปพ.ได้ พล.ต.ต.ภาณุรัตน์ เผยด้วยว่า สปพ.ต้องการตำรวจหญิงที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษมาทำงานร่วมกัน เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่กำลังจะมาถึง และว่า น่าเสียดายที่ทราบข่าวว่า น.ส.จิตภัสร์ จะไปยื่นเรื่องถอนชื่อออกจากการเสนอเข้ารับราชการตำรวจในวันที่ 21 ก.ย.
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ไปถาม พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถึงกรณีที่ น.ส.จิตภัสร์ถูกออกหมายจับ จะเหมาะสมต่อการรับราชการตำรวจหรือไม่ ซึ่ง พล.ต.อ.สมยศ พูดทำนองว่าน่าจะเข้าข่ายขาดคุณสมบัติ “กรณีที่เขามีหมายจับ ไม่ต้องห่วง เพราะเชื่อว่าหน่วยงานต้นสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาเรื่องนี้ทราบดี...ผมเชื่อว่าทุกคนไม่กล้าทำอะไรที่ผิดหรือไม่ถูกต้อง” ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าตำรวจบางส่วนคัดค้าน น.ส.จิตภัสร์ เป็นตำรวจนั้น พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า บางครั้งไม่ต้องออกมาต่อต้านแต่อย่างใด เพราะด้วยคุณสมบัติของเขา ไม่อาจที่จะรับการบรรจุแต่งตั้งได้ แต่ทุกอย่างต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกคน อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.สมยศ ได้ออกมาปฏิเสธในภายหลังว่า ตนไม่เคยพูดว่า น.ส.จิตภัสร์ ขาดคุณสมบัติในการสมัครเป็นตำรวจ
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ได้พูดเหน็บ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ว่า คสช.เพิ่งใช้มาตรา 44 ถอดยศ พ.ต.ท. (ทักษิณ) ไป แต่กลับจะให้ยศ ร.ต.ต.กับคนที่ต้องคดีอีก ด้วยการอ้างว่าขาดคนมีความรู้ ความสามารถกับต่างประเทศ อยากรู้ว่าใครเป็นต้นคิดเรื่องนี้ ทำไปทำไม ไม่มีอะไรทำหรืออย่างไร ไม่รู้นายกรัฐมนตรีคิดอย่างไร แต่ตนบอกได้เลยว่า เป็นปัญหา เพราะท้าทายความรู้สึกประชาชน
ขณะที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มองว่า น.ส.จิตภัสร์ มีสิทธิที่จะสมัครเป็นตำรวจ หากจะปิดกั้น ต้องแก้ไขระเบียบ “ต้องขอถามกลับว่ากรณีดังกล่าวมีความผิดตรงไหน หากระบุว่าเคยเคลื่อนไหวกับกลุ่ม กปปส.จึงทำให้เกิดความไม่เหมาะสม คงต้องกลับไปแก้ไขระเบียบราชการ และให้มีการประกาศที่ชัดเจนว่าใครที่เคยเป็นแนวร่วมของกลุ่ม นปช.หรือ กปปส.หรือฝักใฝ่ฝ่ายการเมือง ห้ามสมัครเป็นข้าราชการ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เห็นว่ากฎหมายควรใช้อย่างเท่าเทียมกับทุกคน”
สำหรับประเด็นเรื่อง น.ส.จิตภัสร์ ถูกออกหมายจับนั้น เมื่อวันที่ 23 ก.ย. นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ได้มอบหมายให้รองโฆษกดีเอสไอแถลงความชัดเจนเรื่องนี้ โดยชี้แจงว่า น.ส.จิตภัสร์ เป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาจากกรณีชุมนุมทางการเมือง ซึ่งดีเอสไอได้ส่งสำนวนให้อัยการ และอัยการสั่งฟ้อง จึงได้ยื่นศาลออกหมายจับ แต่เมื่อ น.ส.จิตภัสร์ ได้เข้ามอบตัว ก่อนขอปล่อยตัวชั่วคราว ก็ได้มีการถอนหมายจับแล้ว
ด้าน น.ส.จิตภัสร์ ได้แถลงข่าวเปิดใจเมื่อวันที่ 24 ก.ย.ชี้แจงกรณีสมัครเข้ารับราชการตำรวจว่า เพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติ พร้อมย้ำว่า การสมัครตำรวจครั้งนี้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ อยากมีส่วนในการทำหน้าที่ตำรวจหรือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ คอยบำบัดทุกข์บำรุงสุข ซึ่งตำรวจเป็นอาชีพทรงเกียรติ เสียสละ ทำงานหนัก ผดุงความยุติธรรมให้กับประชาชน น.ส.จิตภัสร์ ยังปฏิเสธกรณีมีการเผยแพร่ภาพผู้หญิงคนหนึ่งทำลายป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และต่อมามีการนำภาพมาตัดต่อว่าเป็นตนเอง โดยยืนยันว่าไม่เป็นความจริง รวมถึงการให้สัมภาษณ์ช่วงชุมนุมเป็นภาษาอังกฤษ ก็มีการบิดเบือน ไม่เป็นความจริง
ทั้งนี้ น.ส.จิตภัสร์ ได้ประกาศถอนตัวจากการเข้ารับคัดเลือกเป็นตำรวจ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อไม่ให้กรณีของตนทำให้ประชาชนไม่สบายใจและถกเถียงกัน โดยเฉพาะแวดวงข้าราชการตำรวจทุกระดับชั้น ซึ่งอาจกลายเป็นความไม่สงบสุขในองค์กรหรือขยายผลไปเป็นความขัดแย้งในสังคม เป็นที่น่าสังเกตว่า ระหว่างแถลงข่าว น.ส.จิตภัสร์ มีน้ำเสียงสั่นเครือและสีหน้าคล้ายกับจะร้องไห้ โดยบอกด้วยว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งที่คงไม่มีวาสนาเข้ามาทำงานตำรวจ สวมเครื่องแบบตำรวจในฐานะผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย และอดีตแกนนำ กปปส. กล่าวถึงกระแสต่อต้าน น.ส.จิตภัสร์ สมัครเป็นตำรวจว่า เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะคนไทยมีสิทธิเหมือนกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็น กปปส.หรือ นปช.ก็มีสิทธิสมัครเข้ารับราชการเท่าๆ กัน ส่วนจะเอาหรือไม่เอา ก็ว่ากันตามเกณฑ์กติกาที่กำหนดไว้ “คุณจิตภัสร์ตั้งใจสมัครเป็นตำรวจ ความจริงตำรวจน่าจะดีใจ เพราะเป็นคนมีชื่อเสียง เป็นที่นิยมของประชาชนหลายๆ ล้านคน โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนที่เป็น กปปส.ที่คิดว่าคุณจิตภัสร์เป็นคนกล้าหาญ พร้อมเสียสละเพื่อส่วนรวม ถึงขนาดยอมเปลี่ยนนามสกุลเพื่อทำงานตามอุดมการณ์เพื่อบ้านเมือง ซึ่งสมควรได้รับการพิจารณาด้วยซ้ำ...”
3.ตำรวจได้หลักฐานใหม่มัด “อาเดม คาราดัก” คือชายเสื้อเหลืองวางระเบิดศาลท้าวมหาพรหม ก่อนออกหมายจับผู้ต้องหา 17 ราย ข้อหาร่วมกันฆ่า!
ความคืบหน้าเหตุระเบิดศาลท้าวมหาพรหม สี่แยกราชประสงค์ และท่าเรือสาทร สัปดาห์ที่ผ่านมา ตำรวจได้หลักฐานที่คาดว่า ชายเสื้อเหลืองมือวางระเบิดศาลท้าวมหาพรหม ก็คือ นายอาเดม คาราดัก หรือนายบิลาเติร์ก มูฮัมหมัด ที่ถูกจับกุมได้ที่พูลอนันต์ อพาร์ตเมนต์ ย่านหนองจอก
โดยเมื่อวันที่ 23 ก.ย. มีรายงานจากหน่วยงานด้านความมั่นคงว่า ได้พบหลักฐานสำคัญชิ้นใหม่ที่ระบุตัวบุคคลชายเสื้อเหลืองได้แล้ว โดยกล้องวงจรปิดจับภาพหลังชายเสื้อเหลืองเข้าไปเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ห้องน้ำในสวนลุมพินี โดยเปลี่ยนจากเสื้อเหลือง เป็นเสื้อสีเทา เปลี่ยนกางเกงขาสามส่วนเป็นกางเกงยีนส์ขายาว รวมทั้งถอดแว่นตา วิกผม และปลอกแขนออก โดยถือถุงพลาสติกสีขาวที่คาดว่าน่าจะใส่วิกผม แว่นตา เสื้อเหลือง และกางเกงขาสามส่วน โดยหลังจากถอดวิกผมออกแล้ว ชายดังกล่าวผมสั้นเกรียน
ทั้งนี้ รายงานแจ้งว่า ชายเสื้อสีเทาดังกล่าว มีส่วนเหมือนนายอาเดม หรือนายบิลาเติร์กอย่างมาก จึงได้มีการประสานทหารและเจ้าหน้าที่เรือนจำชั่วคราว เพื่อนำภาพดังกล่าวไปให้นายอาเดมดู กระทั่งนายอาเดมยอมจำนนต่อหลักฐาน และรับสารภาพว่าเป็นชายเสื้อเหลืองมือวางระเบิดจริง จากเดิมที่เคยให้การปฏิเสธ
อย่างไรก็ตาม ตอนแรก ยังไม่มีตำรวจระดับสูงรายใดยืนยันข่าวดังกล่าว โดย พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวเมื่อวันที่ 24 ก.ย.ว่า เจ้าหน้าที่ยังไม่ปักใจเชื่อ ยังไม่อยากสรุปว่าข่าวดังกล่าวเป็นความจริง ต้องรอเจ้าหน้าที่ได้หลักฐานที่ชัดเจนมัดตัวว่านายอาเดมคือชายเสื้อเหลืองจริงก่อน
วันเดียวกัน(24 ก.ย.) มีรายงานว่า ชุดสืบสวนได้นำหลักฐานเข้าไปซักถามนายอาเดมเพิ่มเติมที่เรือนจำชั่วคราว มทบ.11 โดยนำวิกผมและแว่นตากรอบดำให้นายอาเดมใส่ด้วย ปรากฏว่ามีส่วนคล้ายกับชายเสื้อเหลืองที่วางระเบิดที่แยกราชประสงค์มาก
วันต่อมา(25 ก.ย.) พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผยว่า หลังจากพนักงานสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ไปสอบปากคำนายอาเดม และนายมีไรลี ยูซุฟู ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมที่ ตม.สระแก้ว เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 24 ก.ย.แล้ว มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะใช้ยืนยันจนทำให้ผู้ต้องหาทั้งสองยอมจำนนต่อพยานหลักฐาน โดยเฉพาะนายอาเดมที่เจ้าหน้าที่มีหลักฐานสำคัญหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือภาพหน้าห้องน้ำที่สวนลุมพินี ที่ปรากฏชายเสื้อสีเทาที่เชื่อว่าเป็นนายอาเดม แต่หลักฐานชิ้นดังกล่าวไม่ใช่ทั้งหมด เป็นเพียงหลักฐานส่วนหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ พล.ต.อ.สมยศ ยังไม่ยืนยันว่านายอาเดมเป็นคนวางระเบิด แต่ยอมรับว่า ส่วนตัวเห็นภาพข่าวแล้วคิดว่าคล้ายมาก พร้อมยืนยันว่า ผู้ต้องหาในคดีระเบิดทุกคนที่จับกุมตัวแล้ว ไม่ใช่แพะอย่างแน่นอน แต่ขึ้นอยู่ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องในด้านใด
ด้าน พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เผยวันเดียวกัน(25 ก.ย.)ว่า เบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้ขอศาลทหารอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาคดีระเบิดศาลท้าวมหาพรหมและท่าเรือสาทรกว่า 10 ราย มีทั้งผู้ต้องหาเก่าและใหม่ โดยหนึ่งในนั้นมีนายอาเดม คาราดัก ด้วย ข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันทำให้เกิดระเบิดจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ต่อมา พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยว่า ศาลทหารได้อนุมัติหมายจับตามที่พนักงานสอบสวนร้องขอแล้วจำนวน 17 ราย ประกอบด้วย 1.นายอาเหม็ด โบซองแลน 2.นายอาลี โจลัน 3.ชายชาวตุรกีไม่ทราบชื่อตามภาพสเกตช์ 4.นายมีไรลี ยูซุฟู 5.นายอับดุลเลาะห์ อับดุลเลาะห์มาน 6.นายอับดุล ทาวับ 7.น.ส.วรรณา สวนสัน 8.นายเอ็มระห์ ดาวูโตกลู 9.นายยูซุฟ ไม่ทราบนามสกุล 10.นายอ๊อด พยุงวงศ์ หรือนายยงยุทธ พบแก้ว 11.นายอิซาน หรือนายอาบูดูซาตาร์ อาบูดูเระห์มาน 12.นายอาลี นูร์ ไม่ทราบนามสกุล 13.นายมานา มาหมัด อิสเมล 14.ชายไม่ทราบชื่อ-นามสกุล ตามภาพสเกตช์ ใส่แว่น 15.ชายไม่ทราบชื่อ-นามสกุล ตามกล้องวงจรปิดที่ห้างโลตัสหนองจอก 16.นายอาเดม คาราดัก หรือนายบิลาเติร์ก มูฮัมหมัด และ 17.นายซูแบร์ ชายเสื้อฟ้า โดยทั้งหมดถูกดำเนินคดี 7 ข้อหา หนึ่งในนั้นคือ ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
4.ศาลฎีกา พิพากษายืนจำคุก “สนธิ-สโรชา” กับพวก 6 เดือน รอลงอาญา 3 ปี คดีหมิ่นตระกูล “ดามาพงศ์” โกงทั้งโคตร!
เมื่อวันที่ 24 ก.ย. ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่ พล.ร.ท.เกียรติศักดิ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ ญาติคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน, น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร, บริษัท แมเนเจอร์ มีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน, น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์ ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของ บ.แมเนเจอร์ฯ, นายขุนทอง ลอเสรีวานิช เจ้าของและผู้จัดทำเว็บไซต์ www.manager.co.th, บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด ผู้ผลิตรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร, นายศุภชัย วงศ์วรเศรษฐ์ (โจทก์ถอนฟ้องแล้ว), นายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล, นายพชร สมุทรวณิช ซึ่งเป็นกรรมการบริหาร บ.ไทยเดย์ฯ และนายปัญจภัทร อังคสุวรรณ ผู้ควบคุมดูแลเว็บไซต์ www.manager.co.th เป็นจำเลยที่ 1-10 ในความผิดฐานร่วมกันดูหมิ่น และหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 332, 393 กรณีร่วมกันจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถ่ายทอดออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ ASTV ช่องนิวส์ 1 และเผยแพร่ตีพิมพ์ทาง นสพ.ผู้จัดการรายวัน และเว็บไซต์ www.manager.co.th โดยกล่าววิจารณ์การขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ด้วยถ้อยคำลักษณะใส่ร้ายตระกูลดามาพงศ์ และบุคคลในตระกูลดามาพงศ์ของโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 24 ม.ค. - 4 ก.พ. 2549
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2550 ให้ยกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ได้จากคำเบิกความพยานโจทก์มีความคลาดเคลื่อน จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย และไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทฯ จึงพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสิบ ต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2554 ว่า เมื่อพิจารณาจากข้อความตามฟ้องโจทก์ เช่น “ชินวัตร...ดามาพงศ์ โกงทั้งโคตร ขายชาติเลี่ยงภาษี” แม้ไม่มีชื่อโจทก์แต่การที่ลงชื่อตระกูลทำให้ผู้อ่านย่อมเข้าใจไปได้ว่าหมายถึงทั้งตระกูล โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งข้อความดังกล่าวยังเป็นความหมายในทางลบ ทำให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกว่าการกระทำของตระกูลโจทก์กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะดำเนินการไม่ใช่หน้าที่จำเลยมาตัดสิน ข้อความตามฟ้องของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่การเสนอข้อเท็จจริงโดยสุจริต ส่วนจำเลยที่ 2, 3, 5, 6 และ10 มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วม ขณะที่จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้บริหารแผนฯ ของจำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีส่วนกระทำผิด ส่วนจำเลยที่ 8 และ 9 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 5 โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่ามีส่วนร่วมกระทำผิดอย่างไร จึงพิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 1, 2, 3, 5, 6 และ 10 กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, ประกอบมาตรา 83 ให้จำคุกจำเลยที่ 1, 2, 5 และ 10 คนละ 6 เดือน ปรับคนละ 5 หมื่นบาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 3 ปี ให้ปรับจำเลยที่ 3 และ 6 ซึ่งเป็นนิติบุคคล คนละ 5 หมื่นบาท และให้ร่วมกันลงตีพิมพ์คำพิพากษาลงใน นสพ.ผู้จัดการรายวัน และเว็บไซต์ www.manager.co.th เป็นเวลา 7 วันต่อเนื่องกัน
ต่อมาจำเลยที่ 1, 2, 3, 5, 6 และ 10 ยื่นฎีกาขอให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาตรวจสำนวนปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 และ 5 กระทำผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยหรือไม่ เห็นว่า แม้ข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน และเว็บไซต์แมเนเจอร์ จะกล่าวถึงตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ แต่เมื่อพิจารณาดูในเนื้อหาข่าวนั้นไม่ได้หมายถึงคนของตระกูลดังกล่าวทั้งหมด ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 และ 5 จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ส่วนคำปราศรัยของจำเลยที่ 1 เมื่อพิจารณาคำว่า “โกงทั้งโคตร” ย่อมหมายถึงทุกคนที่อยู่ในตระกูลดามาพงศ์ได้รับความเสียหาย ไม่ใช่การใส่ความการทำงานของอดีตนายกรัฐมนตรี นายทักษิณ ชินวัตร ตามที่จำเลยกล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา 326 และ 328 ขณะที่จำเลย 2 อยู่ร่วมเวทีปราศรัยกับจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่ต้น จึงกระทำผิดฐานเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 6 และ 10 ที่ได้เผยแพร่ข้อความการปราศรัยดังกล่าว ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืนจำคุก 6 เดือน นายสนธิ จำเลยที่ 1 น.ส.สโรชา จำเลยที่ 2 และนายปัญจภัทร จำเลยที่ 10 พร้อมปรับ 5 หมื่นบาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 3 ปี ส่วนบริษัทไทยเดย์ฯ จำเลยที่ 6 คงโทษปรับ 5 หมื่นบาท และพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องบริษัท เมเนเจอร์ มีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 3 และ นายขุนทอง จำเลยที่ 5
5.ศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุก 4 แนวร่วม นปช.4 ปี คดีระเบิดพรรคภูมิใจไทยปี ’53 !
เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีวางระเบิดพรรคภูมิใจไทย ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ฟ้องนายเดชพล พุทธจง อายุ 60 ปี อาชีพค้าขาย, นายกำพล คำคง อายุ 46 ปี อาชีพขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง, นายกอบชัย หรืออ้าย บุญปลอด อายุ 47 ปี อาชีพค้าขาย, นางวริศรียา หรืออ้อ บุญสม อายุ 47 ปี อาชีพตกแต่งภายใน และนายสุริยา หรืออ้วน ภูมิวงษ์ อายุ 43 ปี อาชีพช่างทำบั้งไฟ ซึ่งเป็นแนวร่วมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันทำวัตถุระเบิด มีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธ(วัตถุระเบิด) ไปในเมืองฯ โดยไม่มีเหตุอันควร และกระทำให้เกิดระเบิดฯ ตามความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 38, 74, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 221, 222, 218, 371
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อช่วงต้นเดือน มิ.ย. 2553 จำเลยทั้งห้ากับพวกได้ร่วมกันผลิต และมีวัตถุระเบิดที่ทำขึ้น โดยร่วมกับนายเอนก สิงขุนทด ซึ่งเป็นผู้เข็นรถเข็นผลไม้ที่ซุกซ่อนระเบิดไว้ในถังแก๊ส เข็นผ่านไปที่ทำการพรรคภูมิใจไทย ใกล้ซอยพหลโยธิน 43 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม.จนเกิดระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้ผนังด้านหลังอาคารพรรคภูมิใจไทยแตกเสียหาย เพิงร้านค้าขายอาหารตามสั่งของนายแถม ตรุพิมาย ถูกแรงระเบิดพังเสียหายทั้งหลัง รถยนต์ของว่าที่ ร.ต.ภูมิรัตน์ นาคอุดม ได้รับความเสียหาย ส่วนนายอเนก สิงขุนทด ได้รับบาดเจ็บสาหัส จนตาบอดทั้งสองข้างจากเหตุระเบิดดังกล่าว ซึ่งในชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ แต่ให้การปฏิเสธในชั้นศาล
ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2556 ว่า จำเลยทั้งห้าเป็นกลุ่ม นปช. ไม่พอใจรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะนั้น โดยมีจำเลยที่ 1-3 เป็นผู้สั่งการให้นายเอนกเข็นรถผลไม้ไปที่หน้าพรรคภูมิใจไทยก่อนที่จะเกิดระเบิดขึ้น จึงมีส่วนร่วมในการกระทำผิดกับนายเอนก ขณะที่จำเลยที่ 5 รับว่า เป็นผู้ประกอบระเบิดอย่างเดียว แต่ไม่มีส่วนรู้เห็นในการวางระเบิด ส่วนจำเลยที่ 4 พยานโจทก์ยังมีข้อสงสัย จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 4
ทั้งนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1-3 กระทำผิดหลายกรรม แต่ให้ลงโทษบทหนักสุด ในความผิดฐานร่วมกันทำให้เกิดระเบิด จำคุกคนละ 5 ปี ฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง จำคุกคนละ 5 ปี และฐานพาวัตถุระเบิดไปในเมือง ปรับคนละ 100 บาท รวมโทษจำคุกคนละ 10 ปี และปรับคนละ 100 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานประกอบระเบิด และ พ.ร.บ.อาวุธปืน ลงโทษจำคุก 5 ปี แต่จำเลยที่ 1-3 และ 5 ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยที่ 1-3 คนละ 6 ปี 8 เดือน และปรับ 66.66 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 คงจำคุกไว้ 3 ปี 4 เดือน ยกฟ้องจำเลยที่ 4 แต่ให้ขังไว้ระหว่างอุทธรณ์ ต่อมา จำเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง ขณะที่อัยการโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าสถานหนัก
ด้านศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงจากการนำสืบพบว่า จำเลยที่ 1 -4 เป็นตัวการร่วมกัน สั่งการ โดยแบ่งหน้าที่กันทำ และมีวัตถุระเบิดที่จำเลยที่ 5 ประกอบขึ้น เพียงแต่วันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1-3 และนายเอนกเป็นผู้เข็นรถผลไม้ที่ซุกซ่อนระเบิดไปใกล้บริเวณที่ทำการพรรคภูมิใจไทย ส่วนจำเลยที่ 4 แม้จะไม่ได้ร่วมในเหตุการณ์ระเบิด แต่ก็คอยใช้โทรศัพท์มือถือสอบถามติดตามสถานการณ์โดยตลอด ย่อมมีความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1-3 ด้วย อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้นบางส่วน พิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 1-4 กระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษทุกกรรม ฐานร่วมกันกระทำให้ระเบิดจนเป็นอันตรายแก่บุคคล และทรัพย์สินอื่นๆ จำคุกคนละ 3 ปี ,ฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกคนละ 3 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1-4 คนละ 6 ปี ปรับคนละ 100 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 ผิดฐานประกอบวัตถุระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 ปี อย่างไรก็ตาม คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งห้า เป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษให้กระทงละ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยที่ 1-4 ไว้คนละ 4 ปี ปรับคนละ 66.66 บาท ส่วนจำเลยที่ 5 จำคุก 2 ปี 8 เดือน
สำหรับนายสุริยา จำเลยที่ 5 ได้หลบหนี ศาลจึงออกหมายจับ และปรับนายประกัน 5 แสนบาท เนื่องจากไม่สามารถติดตามตัวจำเลยที่ 5 มาฟังคำพิพากษาได้ ศาลจึงได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ลับหลังจำเลย ส่วนนายอเนกซึ่งเป็นคนเข็นรถขายผลไม้ซุกซ่อนระเบิด อัยการได้แยกฟ้องอีกคดี โดยก่อนหน้านี้ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาแก้ จากเดิมที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 35 ปี โดยลดโทษจำคุกเหลือ 5 ปี และปรับ 50 บาท
อย่างไรตามในส่วนของนางวริศรียา จำเลยที่ 4 นั้น ญาติได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกาสู้คดี ซึ่งศาลพิจารณาแล้วอนุญาต โดยตีราคาประกัน 5 แสนบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ