จิกกัดเบาๆ เจ็บแบบบางๆ แต่ก็แชร์และทอล์กกันอย่างกว้างขวาง เมื่อภาพถ่ายชุดหนึ่งที่พูดถึง “สโลว์ไลฟ์” ได้รับการปักหมุดลงไปในโลกโซเชียล เนื้อตัวบางคนร้อนผ่าว กับเรื่องราวที่สื่อผ่านรูปภาพ ขณะที่บางคนรีบกดถูกใจเพราะมันช่างสื่อออกมาได้ตรงเป๊ะ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร อย่าเพิ่งร้อนใจ อย่าได้ร้อนตัว เพราะ “ชมพู่-มรกต” เธอไม่ได้หมายกล่าวโทษเทรนด์นั้น...
เกิดเป็นกระแสแชร์กันอย่างกว้างขวาง เมื่อผลงานของ “ชมพู่-มรกต ศิริพละ” นักศึกษาสาวชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาการถ่ายภาพ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับผลงานที่ชื่อว่า I’m slow life ซึ่งถูกพูดถึงกันในวงกว้าง ในแง่ที่ตีแผ่ค่านิยมของสังคมยุคปัจจุบัน ผสานคมเขี้ยวจิกกัดเบาๆ พอเจ็บๆ ทำให้ผลงานดังกล่าวถูกอกถูกใจหลายคนอย่างมาก
ขณะที่หลายคนอาจกำลังคิดว่า นางคนนี้เป็นใครมาจากไหน หรือเก่งกาจศาสดามาจากที่ใด ถึงมาแตะต้องคำว่า “สโลว์ไลฟ์” อันเป็นไลฟ์สไตล์ที่ใช้อยู่ อย่ากระนั้นเลย เมื่อฟังความคิดของสาวน้อยคนนี้ บางที คุณอาจจะพบว่า เธอเองก็รักสโลว์ไลฟ์ ไม่ต่างไปจากใครคนอื่น และอาจจะรักมากกว่าเสียด้วยซ้ำ...และเป็นรักด้วยความเข้าใจ...
• ก่อนอื่นต้องขอถามถึงผลงานเกี่ยวกับชีวิต Slow Life ของคุณชมพู่หน่อยค่ะ เห็นว่าเป็นที่ถูกอกถูกใจใครหลายๆ คนจนเกิดการแชร์กันไปในสื่อโซเชียลอย่างกว้างขวางเลย ตรงนี้รู้สึกอย่างไรบ้าง
ต้องบอกก่อนค่ะว่า งานชุดนี้มาจากงานสเปเชียลโปรเจกต์ตัวเเรกของการเรียนมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 4 ซึ่งทุกคนจะได้รับหัวข้อมาว่า “slow life และบริโภคนิยม” เหมือนกันทั้งห้อง ซึ่งจะต้องตีความออกมาเป็นหลายๆ อย่างตามที่สนใจ เมื่อหาข้อมูลจนรู้ว่า slow life คืออะไร เราก็สร้างสรรค์งานชิ้นนี้ขึ้นมา
ตอนส่งงาน เพื่อนๆ ในห้องก็ให้ความสนใจกันมากค่ะ เราแสดงผลงานเรียงกัน ตรวจงานทีละคน ก็มีน้องๆ เพื่อนๆ เห็นงานเราก็สนใจกันเยอะ หลายๆ คนบอกว่า มันดี ดูแล้วทำให้นึกถึงตัวเอง มันเป็นอารมณ์ที่จิกกัดได้เบาๆ เลย ข้อนี้หนูเองดีใจมากที่สิ่งซึ่งเราสื่อออกไป ทำให้คนดูงานคิดต่อไปได้ มันทำให้เรารู้ว่าเราเป็น Slow life แบบที่เป็นจริงๆ หรือแค่เปลือก จนหลังจากส่งงาน ก็จะลงผลงานในเฟซบุ๊กเป็นปกติเพื่อขอบคุณเพื่อนๆ ที่มาช่วยตอนถ่ายทำ ตรงนี้คนรู้จักก็เริ่มแชร์กันออกไปตั้งเเต่ตอนนั้น จนเช้ารุ่งขึ้น ชีวิตเปลี่ยนเลยค่ะ ดังข้ามคืน งงไปหมด เพราะส่วนตัวไม่ได้คาดหวังมากขนาดนี้ เว็บไซต์ข่าวเกือบทุกเว็บ ลงงานของหนู บอกคำเดียวว่าตกใจสุดๆ ตกเป็นกระแสซะเอง (หัวเราะ) แต่ก็แอบกังวลเหมือนกันนะคะว่างานชิ้นต่อไปจะทำออกมาได้ดีแค่ไหน (ยิ้ม)
• จุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจ ที่มาที่ไปของผลงานชิ้นนี้คืออะไรคะ
พอเราได้หัวข้อมาว่า slow life เราก็ตีความได้ว่าเป็นไลฟ์สไตล์อย่างหนึ่งที่มีคนให้คำนิยามของมันว่า การใช้ชีวิอยู่กับตัวเอง สนใจสิ่งรอบข้างให้มาก มีสติและไม่ฟุ้งเฟ้อตามกระแสนิยม แต่ปัจจุบัน slow life เกิดเป็นกระแสไปเอง ทุกอย่างสวนทางกันไปหมด กลายเป็นบริโภคนิยมโดยสิ้นเชิง ในตอนนี้มันใกล้ตัวเรามากๆ ซึ่งยุคนี้เป็นยุคเทคโนโลยี มันอยู่กับชีวิตเราทุกๆ เวลา คนสื่อสารกันด้วยภาพมากขึ้น มากกว่าตอนที่กล้องตัวแรกเกิดขึ้นมาเสียอีก
เเอปพลิเคชัน Instagram ตอบโจทย์ข้อนี้สุดๆ จึงมีไอเดียที่คิดว่าถ้าเราเอาเรื่องที่มันเกิดจริง เป็นเรื่องจริงมาทำ มันก็น่าจะทำให้เข้าใจความหมายของงานเรา หรือคนดูจะอินไปกับการสื่อสารของเราด้วย และยิ่งทำให้มันดูตลก คงจะดี เพราะส่วนตัวชมพู่มองว่ามันอาจจะเป็นเรื่องที่เกิดการดราม่ากันได้ง่ายๆ ด้วย
• แล้วนิยามคำว่า Slow life ของคุณชมพู่คืออะไรคะ
ชมพู่คิดว่า slow life คือการที่เราอยู่กับตัวเอง มีสติ สมาธิ เพื่อคิดไตร่ตรองกับตัวเอง การทำอะไรก็ได้ ที่สามารถทบทวนเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ตรงนี้หนูคิดว่าความรู้สึกตอนนั้นมันเหมือนกับการจดจ่อ การควบคุมจิตใจเราเองค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่า การกินอาหารหรู เที่ยวแพงๆ จะผิดเสมอไปนะคะ เพราะคนเรามีลิมิตที่ต่างกัน ถ้าทำอะไรแล้วมีความสุข ก็ทำเถอะค่ะ ถ้าสิ่งที่เราทำ ไม่ได้ไปเดือดร้อนใคร
• แต่ก็เหมือนว่าเราจิกกัดสังคมในยุคปัจจุบันอยู่เบาๆ ด้วยเหมือนกัน
ใช่ค่ะ (ยิ้ม) เพราะทั้งหมดมาจากการรีเสิร์ชแฮชแท็กคำว่า slow life ใน Instagram ว่าคนส่วนใหญ่เขาทำอะไรกันบ้าง ถอดออกมาเป็นวิชวลต่างๆ ในผลงาน แล้วพบว่ามันขัดกับนิยามจริงๆ ของมันมาก (ลากเสียงยาว) และบวกกับประสบการณ์ของเรากับเพื่อนๆ เอง ว่าเอะอะถ่ายรูปไว้ก่อน อวดความสุขกันหน่อย แต่คำถามมักจะตามมา หลังจากที่เราทำไปแล้วเสมอว่า เราทำเพื่อใคร ทำเพื่อความสุขที่มีคนกด like เหรอ หรือความสุขที่ไหนกันนะ ซึ่งสังคมเราก็คงจะเป็นแบบนั้นเช่นกัน
• คิดว่าสังคมยุคนี้เป็นแบบที่เราต้องการจะสื่อออกมาจากผลงานหรือเปล่าคะ
ยอมรับว่าคิดค่ะ เพราะเราผ่านการรีเสิร์ชข้อมูลจากข้อมูลการใช้งานจริงๆ เเละพบเห็นได้อยู่บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน คนเราสื่อสารกันด้วยภาพมากขึ้น จึงจำเป็นที่เราจะต้องสร้างภาพลักษณ์เพื่อความนิยมในสังคม
• แล้วส่วนตัวเราเคยใช้ชีวิตแบบ Slow life บ้างหรือเปล่าคะ
บางครั้งก็มีบ้างที่เรารู้สึกว่าตัวเองจะเป็น slow life แบบเบาๆ นะคะ (หัวเราะ) แต่เป็น slow life ที่เขาให้คำนิยามกันนะคะ ไม่ใช่ Slow life ที่สวนทางแบบปัจจุบันเพราะอย่างตอนไปเที่ยวต่างจังหวัดที่ไม่มีไฟ ไม่มีน้ำประปา ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ ใช้ได้แต่โทรศัพท์ธรรมดา มันทำให้รู้สึกว่าเราไม่ต้องระวังหรือสนใจคนภายนอก สนใจแต่สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เราได้ใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองมากๆ
• แล้วมีคนรอบข้างเราใช้ชีวิตแบบนี้บ้างไหม
ถ้าพูดถึงคนที่มีไลฟ์สไตล์อย่างที่นิยามบอกไว้ คงไม่มีค่ะ เพราะโลกโซเชียลมันเสรีเเละเชื่อมต่อกันไวอย่างกับจรวด อีกอย่าง เราเลี่ยงการกระทำพวกนี้ไม่ได้เลย หนูว่ามันเป็นการเข้าสังคมอีกอย่างหนึ่งนะ เอาเป็นว่าทั้งประเทศไทย หนูคิดว่ามันต้องมีค่ะ แต่แค่สังคมที่หนูอยู่ ยังไม่ค่อยเจอ
• Slow life กับเป็นตัวของตัวเองต่างกันไหมในความคิดคุณชมพู่
ไม่ต่างค่ะ ในความคิดของหนู การเป็นตัวของตัวเองมันก็มีหลายๆ แบบ บางคนมีความมั่นใจเกินร้อย บางคนก็โลกส่วนตัวสูง หรือแม้แต่การมีสไตล์การใช้ชีวิตแบบ slow life ก็ตาม ซึ่งทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมาก็คือการมีบุคลิกที่เรียกได้ว่า ไม่ค่อยสนใจคำพูดชาวโลกเท่าไหร่ คนที่มีชีวิต slow life จริงๆ เขาคงไม่มาบอกว่าตัวเอง slow life แล้วนะทุกคน...เพราะเขาคงไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้นมั้งคะ
• แล้วแบบนี้การใช้ชีวิตแบบ Slow life ดีหรือไม่ดีอย่างไรในความคิดของเรา
ชมพู่มองว่ามันดีทั้งนั้นแหละค่ะ ถ้าไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร การที่เรามีความสุขกับสิ่งที่ทำมันดีค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปสวยๆ หรือการพักผ่อน ออกกำลังกาย แต่จะไม่ดีตรงที่ว่าเขาสร้างตัวตนขึ้นมาจนหลุดความเป็นตัวเอง ตรงนี้หนูว่ามันไม่โอเคค่ะ กับการที่ทำอะไรเพื่อสายตาของคนอื่น
• จะว่าไปแล้ว อะไรบ้างที่บ่งบอกถึงชีวิตแบบ Slow life ช่วยยกตัวอย่างและบอกเหตุผลให้เห็นภาพหน่อยค่ะ
เอาจริงๆ หนูแทบจะนึกไม่ออกว่ามันจะเป็นใครหรืออะไรยังไงเลยค่ะ ด้วยสภาพสังคมที่เป็นอยู่ตอนนี้ เทคโนโลยีต่างๆ นานามันเยอะ และเข้าถึงในทุกๆ พื้นที่ มันทำให้เราเลี่ยงจากความสะดวกสบายทันสมัยเหล่านี้ไปไม่ได้เลย ซึ่งสิ่งพวกนี้เองมันเปลี่ยนพฤติกรรมของคนเรา อย่างดีที่สุด เราต้องสามารถแยกแยะได้ว่าเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร ต้องมีเหตุผลและไม่หลงใหลไปตามกระแสนิยม
• เป็นเพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่หรือเปล่าคะที่ทำให้ทุกวันนี้คนใช้ชีวิตแบบ Slow life มากขึ้น
ถ้าเป็น slow life ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ต้องตอบว่าใช่ค่ะ เพราะการสื่อสารมันเปิดกว้าง คนเราสามารถหาความรู้กันได้ง่ายๆ มันเข้ามาแบบรวดเร็ว นำพาคนเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มตัว มีโลกอีกใบหนึ่งอยู่ในมือ ซึ่งการทำให้สังคมยอมรับหรือการพรีเซนต์ตัวเองก็เกิดขึ้นตามมา อะไรเป็นเทรนด์ เป็นกระแส ก็คงบอกให้รู้กันหน่อยว่าเราเป็นคนที่ไม่ล้าสมัย แต่ถ้ามองย้อนกลับไปที่นิยาม คงตอบว่าเทคโนโลยีบางทีก็ทำลายตัวตนของเราเองค่ะ
• แล้วสิ่งที่เราต้องการสื่อ เป็นประโยชน์อะไรกับสังคมบ้างคะ
มีหลายๆ คนที่เเชร์ หรือคอมเมนต์ตามภาพต่างๆ คิดว่าหนูพยายามทำลายภาพลักษณ์ของคนที่ชอบถ่ายภาพลงในโซเชียล หนูจึงพยายามอธิบายให้เข้าใจถึงคอนเซ็ปต์ แต่ผลจากการรีเสิร์ชของงานก็ทำให้พวกเขาเข้าใจและยอมรับผลงานชิ้นนี้
จากการแชร์กันออกไปเรื่อยๆ หนูคิดว่าคนส่วนใหญ่คิดได้ตามภาพและอาจจะตระหนักถึงเหตุการณ์ที่เป็นอยู่จริงๆ มันสามารถคิดต่อได้ว่าเราทำแบบนี้เพราะอะไร หรือเพื่ออะไรกันแน่ค่ะ (ยิ้ม)
• ในฐานะที่เป็นวัยรุ่นคนหนึ่งคิดเห็นอย่างไรที่วัยรุ่นไทยยุคนี้ชอบใช้ชีวิตแบบ Slow life เต็มเลย แล้วเราอยากฝากอะไรถึงวัยรุ่นเหล่านั้นบ้างไหมคะ
การที่เราอยาก slow life มันอาจมีวิธีที่ต่างกันของแต่ละคน เป็นความชอบส่วนตัว หรืออยากทันสมัยอย่างไรก็ตาม แต่ละคนมีลิมิตไม่เท่ากัน ตรงนี้หนูอยากให้เขาใช้ชีวิตให้พอดี ลองคิดตามว่าเราได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหนกับการมีไลฟ์สไตล์สุดฮิตแบบนี้ เกินตัวหรือไม่ ถ้าทำแล้วได้ประโยชน์ต่อตัวเรา มันก็คงไม่มีปัญหาอะไร แบบนั้นก็ทำต่อไปค่ะ (ยิ้ม)
• คิดว่าเพราะอะไร คนถึงดูเหมือนจะโหยหา Slow life กันนัก
หนูคิดว่ามันเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงกันมาก บวกกับสังคมที่สื่อสารกันด้วยภาพเลยทำให้เป็นแบบนี้ หนูเคยลองคิดว่าถ้าย้อนกลับไป ไม่มีโลกโซเชียล เราจะรู้ได้ยังไงว่าใคร slow life
• ท้ายนี้สรุปแล้ว Slow life มันเป็นความดัดจริตหรือเปล่าในทัศนะของเรา
ตรงนี้มันขึ้นอยู่กับพื้นฐานและเจตนาของคนคนนั้นนะคะ การถ่ายภาพต่างๆ ล้วนมีเบื้องหลังอยู่แล้ว จะเพื่อความสวยงามหรือเพราะอะไร มันจะทำให้ความหมายของการสื่อสารของภาพเปลี่ยนไปหรือไม่ จะเป็นคำตอบเองค่ะ
PROFILE
ชื่อ : มรกต ศิริพละ
ชื่อเล่น : ชมพู่
วันเกิด : 16 - 08 - 1993
อายุ : 22 ปี
การศึกษา : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาการถ่ายภาพ
ผลงาน : I’m slow life
ผลงาน I’m slow life ของมรกต ศิริพละ
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : Facebook Chompoo Baritone
เกิดเป็นกระแสแชร์กันอย่างกว้างขวาง เมื่อผลงานของ “ชมพู่-มรกต ศิริพละ” นักศึกษาสาวชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาการถ่ายภาพ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับผลงานที่ชื่อว่า I’m slow life ซึ่งถูกพูดถึงกันในวงกว้าง ในแง่ที่ตีแผ่ค่านิยมของสังคมยุคปัจจุบัน ผสานคมเขี้ยวจิกกัดเบาๆ พอเจ็บๆ ทำให้ผลงานดังกล่าวถูกอกถูกใจหลายคนอย่างมาก
ขณะที่หลายคนอาจกำลังคิดว่า นางคนนี้เป็นใครมาจากไหน หรือเก่งกาจศาสดามาจากที่ใด ถึงมาแตะต้องคำว่า “สโลว์ไลฟ์” อันเป็นไลฟ์สไตล์ที่ใช้อยู่ อย่ากระนั้นเลย เมื่อฟังความคิดของสาวน้อยคนนี้ บางที คุณอาจจะพบว่า เธอเองก็รักสโลว์ไลฟ์ ไม่ต่างไปจากใครคนอื่น และอาจจะรักมากกว่าเสียด้วยซ้ำ...และเป็นรักด้วยความเข้าใจ...
• ก่อนอื่นต้องขอถามถึงผลงานเกี่ยวกับชีวิต Slow Life ของคุณชมพู่หน่อยค่ะ เห็นว่าเป็นที่ถูกอกถูกใจใครหลายๆ คนจนเกิดการแชร์กันไปในสื่อโซเชียลอย่างกว้างขวางเลย ตรงนี้รู้สึกอย่างไรบ้าง
ต้องบอกก่อนค่ะว่า งานชุดนี้มาจากงานสเปเชียลโปรเจกต์ตัวเเรกของการเรียนมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 4 ซึ่งทุกคนจะได้รับหัวข้อมาว่า “slow life และบริโภคนิยม” เหมือนกันทั้งห้อง ซึ่งจะต้องตีความออกมาเป็นหลายๆ อย่างตามที่สนใจ เมื่อหาข้อมูลจนรู้ว่า slow life คืออะไร เราก็สร้างสรรค์งานชิ้นนี้ขึ้นมา
ตอนส่งงาน เพื่อนๆ ในห้องก็ให้ความสนใจกันมากค่ะ เราแสดงผลงานเรียงกัน ตรวจงานทีละคน ก็มีน้องๆ เพื่อนๆ เห็นงานเราก็สนใจกันเยอะ หลายๆ คนบอกว่า มันดี ดูแล้วทำให้นึกถึงตัวเอง มันเป็นอารมณ์ที่จิกกัดได้เบาๆ เลย ข้อนี้หนูเองดีใจมากที่สิ่งซึ่งเราสื่อออกไป ทำให้คนดูงานคิดต่อไปได้ มันทำให้เรารู้ว่าเราเป็น Slow life แบบที่เป็นจริงๆ หรือแค่เปลือก จนหลังจากส่งงาน ก็จะลงผลงานในเฟซบุ๊กเป็นปกติเพื่อขอบคุณเพื่อนๆ ที่มาช่วยตอนถ่ายทำ ตรงนี้คนรู้จักก็เริ่มแชร์กันออกไปตั้งเเต่ตอนนั้น จนเช้ารุ่งขึ้น ชีวิตเปลี่ยนเลยค่ะ ดังข้ามคืน งงไปหมด เพราะส่วนตัวไม่ได้คาดหวังมากขนาดนี้ เว็บไซต์ข่าวเกือบทุกเว็บ ลงงานของหนู บอกคำเดียวว่าตกใจสุดๆ ตกเป็นกระแสซะเอง (หัวเราะ) แต่ก็แอบกังวลเหมือนกันนะคะว่างานชิ้นต่อไปจะทำออกมาได้ดีแค่ไหน (ยิ้ม)
• จุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจ ที่มาที่ไปของผลงานชิ้นนี้คืออะไรคะ
พอเราได้หัวข้อมาว่า slow life เราก็ตีความได้ว่าเป็นไลฟ์สไตล์อย่างหนึ่งที่มีคนให้คำนิยามของมันว่า การใช้ชีวิอยู่กับตัวเอง สนใจสิ่งรอบข้างให้มาก มีสติและไม่ฟุ้งเฟ้อตามกระแสนิยม แต่ปัจจุบัน slow life เกิดเป็นกระแสไปเอง ทุกอย่างสวนทางกันไปหมด กลายเป็นบริโภคนิยมโดยสิ้นเชิง ในตอนนี้มันใกล้ตัวเรามากๆ ซึ่งยุคนี้เป็นยุคเทคโนโลยี มันอยู่กับชีวิตเราทุกๆ เวลา คนสื่อสารกันด้วยภาพมากขึ้น มากกว่าตอนที่กล้องตัวแรกเกิดขึ้นมาเสียอีก
เเอปพลิเคชัน Instagram ตอบโจทย์ข้อนี้สุดๆ จึงมีไอเดียที่คิดว่าถ้าเราเอาเรื่องที่มันเกิดจริง เป็นเรื่องจริงมาทำ มันก็น่าจะทำให้เข้าใจความหมายของงานเรา หรือคนดูจะอินไปกับการสื่อสารของเราด้วย และยิ่งทำให้มันดูตลก คงจะดี เพราะส่วนตัวชมพู่มองว่ามันอาจจะเป็นเรื่องที่เกิดการดราม่ากันได้ง่ายๆ ด้วย
• แล้วนิยามคำว่า Slow life ของคุณชมพู่คืออะไรคะ
ชมพู่คิดว่า slow life คือการที่เราอยู่กับตัวเอง มีสติ สมาธิ เพื่อคิดไตร่ตรองกับตัวเอง การทำอะไรก็ได้ ที่สามารถทบทวนเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ตรงนี้หนูคิดว่าความรู้สึกตอนนั้นมันเหมือนกับการจดจ่อ การควบคุมจิตใจเราเองค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่า การกินอาหารหรู เที่ยวแพงๆ จะผิดเสมอไปนะคะ เพราะคนเรามีลิมิตที่ต่างกัน ถ้าทำอะไรแล้วมีความสุข ก็ทำเถอะค่ะ ถ้าสิ่งที่เราทำ ไม่ได้ไปเดือดร้อนใคร
• แต่ก็เหมือนว่าเราจิกกัดสังคมในยุคปัจจุบันอยู่เบาๆ ด้วยเหมือนกัน
ใช่ค่ะ (ยิ้ม) เพราะทั้งหมดมาจากการรีเสิร์ชแฮชแท็กคำว่า slow life ใน Instagram ว่าคนส่วนใหญ่เขาทำอะไรกันบ้าง ถอดออกมาเป็นวิชวลต่างๆ ในผลงาน แล้วพบว่ามันขัดกับนิยามจริงๆ ของมันมาก (ลากเสียงยาว) และบวกกับประสบการณ์ของเรากับเพื่อนๆ เอง ว่าเอะอะถ่ายรูปไว้ก่อน อวดความสุขกันหน่อย แต่คำถามมักจะตามมา หลังจากที่เราทำไปแล้วเสมอว่า เราทำเพื่อใคร ทำเพื่อความสุขที่มีคนกด like เหรอ หรือความสุขที่ไหนกันนะ ซึ่งสังคมเราก็คงจะเป็นแบบนั้นเช่นกัน
• คิดว่าสังคมยุคนี้เป็นแบบที่เราต้องการจะสื่อออกมาจากผลงานหรือเปล่าคะ
ยอมรับว่าคิดค่ะ เพราะเราผ่านการรีเสิร์ชข้อมูลจากข้อมูลการใช้งานจริงๆ เเละพบเห็นได้อยู่บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน คนเราสื่อสารกันด้วยภาพมากขึ้น จึงจำเป็นที่เราจะต้องสร้างภาพลักษณ์เพื่อความนิยมในสังคม
• แล้วส่วนตัวเราเคยใช้ชีวิตแบบ Slow life บ้างหรือเปล่าคะ
บางครั้งก็มีบ้างที่เรารู้สึกว่าตัวเองจะเป็น slow life แบบเบาๆ นะคะ (หัวเราะ) แต่เป็น slow life ที่เขาให้คำนิยามกันนะคะ ไม่ใช่ Slow life ที่สวนทางแบบปัจจุบันเพราะอย่างตอนไปเที่ยวต่างจังหวัดที่ไม่มีไฟ ไม่มีน้ำประปา ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ ใช้ได้แต่โทรศัพท์ธรรมดา มันทำให้รู้สึกว่าเราไม่ต้องระวังหรือสนใจคนภายนอก สนใจแต่สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เราได้ใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองมากๆ
• แล้วมีคนรอบข้างเราใช้ชีวิตแบบนี้บ้างไหม
ถ้าพูดถึงคนที่มีไลฟ์สไตล์อย่างที่นิยามบอกไว้ คงไม่มีค่ะ เพราะโลกโซเชียลมันเสรีเเละเชื่อมต่อกันไวอย่างกับจรวด อีกอย่าง เราเลี่ยงการกระทำพวกนี้ไม่ได้เลย หนูว่ามันเป็นการเข้าสังคมอีกอย่างหนึ่งนะ เอาเป็นว่าทั้งประเทศไทย หนูคิดว่ามันต้องมีค่ะ แต่แค่สังคมที่หนูอยู่ ยังไม่ค่อยเจอ
• Slow life กับเป็นตัวของตัวเองต่างกันไหมในความคิดคุณชมพู่
ไม่ต่างค่ะ ในความคิดของหนู การเป็นตัวของตัวเองมันก็มีหลายๆ แบบ บางคนมีความมั่นใจเกินร้อย บางคนก็โลกส่วนตัวสูง หรือแม้แต่การมีสไตล์การใช้ชีวิตแบบ slow life ก็ตาม ซึ่งทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมาก็คือการมีบุคลิกที่เรียกได้ว่า ไม่ค่อยสนใจคำพูดชาวโลกเท่าไหร่ คนที่มีชีวิต slow life จริงๆ เขาคงไม่มาบอกว่าตัวเอง slow life แล้วนะทุกคน...เพราะเขาคงไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้นมั้งคะ
• แล้วแบบนี้การใช้ชีวิตแบบ Slow life ดีหรือไม่ดีอย่างไรในความคิดของเรา
ชมพู่มองว่ามันดีทั้งนั้นแหละค่ะ ถ้าไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร การที่เรามีความสุขกับสิ่งที่ทำมันดีค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปสวยๆ หรือการพักผ่อน ออกกำลังกาย แต่จะไม่ดีตรงที่ว่าเขาสร้างตัวตนขึ้นมาจนหลุดความเป็นตัวเอง ตรงนี้หนูว่ามันไม่โอเคค่ะ กับการที่ทำอะไรเพื่อสายตาของคนอื่น
• จะว่าไปแล้ว อะไรบ้างที่บ่งบอกถึงชีวิตแบบ Slow life ช่วยยกตัวอย่างและบอกเหตุผลให้เห็นภาพหน่อยค่ะ
เอาจริงๆ หนูแทบจะนึกไม่ออกว่ามันจะเป็นใครหรืออะไรยังไงเลยค่ะ ด้วยสภาพสังคมที่เป็นอยู่ตอนนี้ เทคโนโลยีต่างๆ นานามันเยอะ และเข้าถึงในทุกๆ พื้นที่ มันทำให้เราเลี่ยงจากความสะดวกสบายทันสมัยเหล่านี้ไปไม่ได้เลย ซึ่งสิ่งพวกนี้เองมันเปลี่ยนพฤติกรรมของคนเรา อย่างดีที่สุด เราต้องสามารถแยกแยะได้ว่าเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร ต้องมีเหตุผลและไม่หลงใหลไปตามกระแสนิยม
• เป็นเพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่หรือเปล่าคะที่ทำให้ทุกวันนี้คนใช้ชีวิตแบบ Slow life มากขึ้น
ถ้าเป็น slow life ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ต้องตอบว่าใช่ค่ะ เพราะการสื่อสารมันเปิดกว้าง คนเราสามารถหาความรู้กันได้ง่ายๆ มันเข้ามาแบบรวดเร็ว นำพาคนเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มตัว มีโลกอีกใบหนึ่งอยู่ในมือ ซึ่งการทำให้สังคมยอมรับหรือการพรีเซนต์ตัวเองก็เกิดขึ้นตามมา อะไรเป็นเทรนด์ เป็นกระแส ก็คงบอกให้รู้กันหน่อยว่าเราเป็นคนที่ไม่ล้าสมัย แต่ถ้ามองย้อนกลับไปที่นิยาม คงตอบว่าเทคโนโลยีบางทีก็ทำลายตัวตนของเราเองค่ะ
• แล้วสิ่งที่เราต้องการสื่อ เป็นประโยชน์อะไรกับสังคมบ้างคะ
มีหลายๆ คนที่เเชร์ หรือคอมเมนต์ตามภาพต่างๆ คิดว่าหนูพยายามทำลายภาพลักษณ์ของคนที่ชอบถ่ายภาพลงในโซเชียล หนูจึงพยายามอธิบายให้เข้าใจถึงคอนเซ็ปต์ แต่ผลจากการรีเสิร์ชของงานก็ทำให้พวกเขาเข้าใจและยอมรับผลงานชิ้นนี้
จากการแชร์กันออกไปเรื่อยๆ หนูคิดว่าคนส่วนใหญ่คิดได้ตามภาพและอาจจะตระหนักถึงเหตุการณ์ที่เป็นอยู่จริงๆ มันสามารถคิดต่อได้ว่าเราทำแบบนี้เพราะอะไร หรือเพื่ออะไรกันแน่ค่ะ (ยิ้ม)
• ในฐานะที่เป็นวัยรุ่นคนหนึ่งคิดเห็นอย่างไรที่วัยรุ่นไทยยุคนี้ชอบใช้ชีวิตแบบ Slow life เต็มเลย แล้วเราอยากฝากอะไรถึงวัยรุ่นเหล่านั้นบ้างไหมคะ
การที่เราอยาก slow life มันอาจมีวิธีที่ต่างกันของแต่ละคน เป็นความชอบส่วนตัว หรืออยากทันสมัยอย่างไรก็ตาม แต่ละคนมีลิมิตไม่เท่ากัน ตรงนี้หนูอยากให้เขาใช้ชีวิตให้พอดี ลองคิดตามว่าเราได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหนกับการมีไลฟ์สไตล์สุดฮิตแบบนี้ เกินตัวหรือไม่ ถ้าทำแล้วได้ประโยชน์ต่อตัวเรา มันก็คงไม่มีปัญหาอะไร แบบนั้นก็ทำต่อไปค่ะ (ยิ้ม)
• คิดว่าเพราะอะไร คนถึงดูเหมือนจะโหยหา Slow life กันนัก
หนูคิดว่ามันเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงกันมาก บวกกับสังคมที่สื่อสารกันด้วยภาพเลยทำให้เป็นแบบนี้ หนูเคยลองคิดว่าถ้าย้อนกลับไป ไม่มีโลกโซเชียล เราจะรู้ได้ยังไงว่าใคร slow life
• ท้ายนี้สรุปแล้ว Slow life มันเป็นความดัดจริตหรือเปล่าในทัศนะของเรา
ตรงนี้มันขึ้นอยู่กับพื้นฐานและเจตนาของคนคนนั้นนะคะ การถ่ายภาพต่างๆ ล้วนมีเบื้องหลังอยู่แล้ว จะเพื่อความสวยงามหรือเพราะอะไร มันจะทำให้ความหมายของการสื่อสารของภาพเปลี่ยนไปหรือไม่ จะเป็นคำตอบเองค่ะ
PROFILE
ชื่อ : มรกต ศิริพละ
ชื่อเล่น : ชมพู่
วันเกิด : 16 - 08 - 1993
อายุ : 22 ปี
การศึกษา : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาการถ่ายภาพ
ผลงาน : I’m slow life
ผลงาน I’m slow life ของมรกต ศิริพละ
เรื่อง : วรัญญา งามขำ
ภาพ : Facebook Chompoo Baritone