คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.ชาวอุยกูร์บุกสถานกงสุลไทยในตุรกี ทำลายสิ่งของ-ปลดธงชาติ ไม่พอใจไทยส่งผู้หนีภัยชาวอุยกูร์กลับไปจีน ด้าน “บิ๊กตู่” ยัน ทำตามกฎหมาย!
เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 8 ก.ค. ได้มีชาวอุยกูร์จำนวนหนึ่งบุกเข้าทำลายประตูและสิ่งของในสถานกงสุลไทยประจำนครอิสตันบูล ประเทศตุรกี รวมทั้งลดธงชาติไทยลงจากเสา เนื่องจากไม่พอใจที่ทางการไทยตัดสินใจส่งตัวชาวอุยกูร์ที่ไทยควบคุมตัวไว้จำนวนหนึ่งให้ทางการจีน
หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงอังการา ประเทศตุรกี ได้เตือนคนไทยในตุรกีและคนไทยที่จะเดินทางไปตุรกี ใช้ความระมัดระวัง ควรอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และไม่ควรใช้สัญลักษณ์ธงชาติไทย
ทั้งนี้ เหตุการณ์บุกสถานกงสุลของไทยในนครอิสตันบูลมีขึ้นหลังเว็บไซต์เรดิโอฟรีเอเชีย รายงานข่าวเมื่อวันที่ 8 ก.ค.อ้างแถลงการณ์ของกลุ่มสภาอุยกูร์โลก(WUC) ที่ระบุว่า ชาวอุยกูร์ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในศูนย์พักพิง 5 แห่งของไทย ถูกส่งตัวขึ้นเครื่องบินไปจีน พร้อมคาดการณ์ว่า รัฐบาลจีนอยู่เบื้องหลังปฏิบัติการลับและชั่วร้ายดังกล่าว โดยมีเป้าหมายนำตัวชาวอุยกูร์กลับไปลงโทษอย่างรุนแรง อาจถึงขั้นประหารชีวิต สภาอุยกูร์โลกจึงเรียกร้องให้นานาชาติป้องกันไม่ให้มีการบังคับขับไล่ชาวอุยกูร์ออกนอกประเทศ เพราะขัดกับหลักการและกฎหมายระหว่างประเทศ
เรดิโอฟรีเอเชีย ยังระบุด้วยว่า การบังคับส่งตัวชาวอุยกูร์ไปจีนครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากสัปดาห์ก่อน ไทยได้ส่งตัวชาวอุยกูร์ 173 คนไปยังประเทศตุรกี ขณะที่ทางการจีนก็ขอให้ไทยส่งตัวชาวอุยกูร์เหล่านี้ไปยังจีนเช่นกัน และว่า 2 ปีที่ผ่านมา ชาวอุยกูร์อพยพจากประเทศจีน เพื่อหลบหนีการปราบปราม โดยรัฐบาลจีนมองว่าชาวอุยกูร์เป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนและกลุ่มผู้ก่อการร้าย และยังมีการกวาดล้างศาสนาและวัฒนธรรมของชาวอุยกูร์ด้วย
ด้านสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ(UNHCR) ในไทย ได้ออกแถลงการณ์แสดงความตกใจที่ไทยส่งตัวผู้หนีภัยชาวอุยกูร์ให้จีนร่วมร้อยคน พร้อมขอให้ไทยเคารพพันธะต่อนานาชาติ ด้วยการยึดหลักไม่ขับไล่บังคับชาวอุยกูร์ออกนอกประเทศ ขอให้ไทยยอมให้ชาวอุยกูร์ที่เหลือได้ออกจากประเทศไทยด้วยความสมัครใจ และได้ไปประเทศที่ตนเลือก ขณะที่องค์การนิรโทษกรรมสากลหรือแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล(เอไอ) ก็ออกแถลงการณ์เรียกร้องไทยอย่าส่งชาวอุยกูร์ที่เหลือไปยังจีนอีก เพราะจะทำให้ชีวิตของคนจำนวนมากตกอยู่ในความเสี่ยง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าหารือเพื่อประเมินสถานการณ์ หลังเกิดเหตุชาวอุยกูร์ในตุรกีบุกทำลายทรัพย์สินของสถานกงสุลไทยในตุรกี โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้แสดงความห่วงใยและไม่สบายใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมสั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศเร่งดูแลคนไทยและเจ้าหน้าที่ชาวไทยในตุรกีที่มีอยู่ประมาณ 1,300 คน และว่า ถ้ายังเกิดความรุนแรงขึ้น อาจต้องปิดสถานทูตไทยในตุรกี แล้วหาที่ทำงานใหม่ เพื่อความปลอดภัย พล.อ.ประยุทธ์ ยังยืนยันด้วยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น ไทยเป็นประเทศที่อยู่ตรงกลาง ต้องเห็นใจไทยบ้าง ไม่อยากขยายความขัดแย้ง การดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามกฎหมายอยู่แล้ว “เหมือนกรณีปัญหาการค้ามนุษย์โรฮีนจา เนื่องจากมีการหลบหนีข้ามแดนมาอยู่กับเรา เราต้องพิสูจน์สัญชาติว่าใครเป็นพวกไหน อย่างไร เกิดที่ไหน ก็ต้องส่งกลับไปตามนั้น” พร้อมย้ำว่า ชาวอุยกูร์ที่ส่งไปจีน จีนเขารับรองความปลอดภัย เขายืนยันจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ถ้าไม่เกี่ยวข้องก็จะปล่อยตัว หาที่ทำกินให้ ถ้ามีหลักฐานประจักษ์ชัดเจน ก็ต้องดำเนินคดีตามความรุนแรงของโทษ อย่าไปคิดอะไรเรื่อยเปื่อย จะทำอย่างไรถ้าไม่ทำอย่างนี้
ด้าน พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงยืนยันว่า ไทยได้ดูแลชาวอุยกูร์ที่หลบหนีเข้าเมืองตามหลักสิทธิมนุษยชน มีการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลตุรกีและรัฐบาลจีนว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ขั้นต้นได้มีการพิสูจน์สัญชาติ เมื่อพิสูจน์ได้ว่าเป็นชาวตุรกีประมาณ 170 คน จึงส่งกลับไปที่ตุรกีตั้งแต่ปลายเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ส่วนชาวอุยกูร์อีกประมาณ 100 คนพิสูจน์ได้ว่าเป็นชาวจีนที่เกิดในจีน มีถิ่นพำนักอาศัยในจีน เพียงแต่อพยพและหลบหนีออกมาเป็นกลุ่มใหญ่ จึงได้ส่งกลับไปจีนเมื่อวันที่ 8 ก.ค. โดยได้คุยกับรัฐบาลจีนแล้ว จีนให้หลักการว่า เมื่อส่งกลับไปแล้ว จะดูแลเรื่องความปลอดภัย จึงได้ส่งกลับไป และว่า ขณะนี้ยังเหลือชาวอุยกูร์ในไทยประมาณ 50 คน ยังไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติได้ จึงยังไม่ดำเนินการใดๆ เพราะต้องให้ความเป็นธรรมกับคนเหล่านี้ คาดว่าขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติและส่งตัวกลับ ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี
พล.ต.วีรชน ยังกล่าวด้วยว่า เชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ ในตุรกียังสามารถดูแลได้ ไม่บานปลาย เพียงแต่ต้องประสานกับทางตุรกีและเร่งทำความเข้าใจ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เตรียมต่อสายไปยังผู้นำตุรกีแล้ว
ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้เชิญนายออสมัน บูเลนต์ ทูลุน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐตุรกีประจำประเทศไทย เข้าพบเพื่อหารือถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยฝ่ายตุรกีรับทราบความกังวลของฝ่ายไทย และยืนยันว่า ทางการตุรกีให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของคนไทยและสถานเอกอัครราชทูตไทยในตุรกี โดยได้เพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยให้กับสถานเอกอัครราชทูตไทยแล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในไทยเอง ได้มี 18 องค์กรมุสลิม และสำนักจุฬาราชมนตรี เปิดแถลงข่าวชื่นชมรัฐบาลที่ส่งชาวอุยกูร์ 172 คนไปยังตุรกี ว่าเป็นการกระทำที่มีมนุษยธรรม แต่ขณะเดียวกันก็ตำหนิที่รัฐบาลส่งชาวอุยกูร์อีกส่วนหนึ่งไปจีน เพราะเป็นพื้นที่อันตรายสำหรับชาวอุยกูร์ เป็นการดำเนินการที่ละเมิดกฎหมายสากลว่าด้วยเรื่องการส่งตัวผู้ลี้ภัยที่มีแนวโน้มว่าอาจถูกทรมาณและทำร้าย เป็นการดำเนินการที่น่าผิดหวังอย่างยิ่ง
2.14 นักศึกษาได้รับการปล่อยตัวแล้ว หลังศาลทหารไม่อนุญาตฝากขังต่อ ด้าน สปช.แฉ องค์กรต่างชาติหนุนหลัง “กลุ่มดาวดิน”!
ความคืบหน้ากรณีนักศึกษากลุ่มดาวดินและกลุ่มหอศิลป์เคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยต่อต้านการรัฐประหารถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม 14 คน หลังศาลทหารอนุมัติหมายจับ ข้อหาร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หรือวิธีอื่นใด มิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ประกอบมาตรา 83 รวมทั้งอนุญาตให้ฝากขังนักศึกษาทั้ง 14 คนเป็นเวลา 12 วันตามที่พนักงานสอบสวนร้องขอ ซึ่งจะครบกำหนดฝากขังครั้งแรกในวันที่ 7 ก.ค.
ปรากฏว่า เมื่อครบกำหนดฝากขัง(7 ก.ค.) พนักงานสอบสวนได้นำนักศึกษาทั้ง 14 คนจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง ประกอบด้วย นายพายุ บุญโสภณ อายุ 20 ปี , นายภานุพงษ์ ศรีธนานุวัฒน์ อายุ 20 ปี , นายสุวิชชา พิทังกรณ์ อายุ 22 ปี , นายอภิวัฒน์ สุนทรวัฒน์ อายุ 22 ปี , นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน อายุ 23 ปี , นายรัฐพล ศุภโสภณ อายุ 22 ปี , นายปกรณ์ อารีกุล อายุ 26 ปี , นายพรชัย ยวนยี อายุ 24 ปี , นายรังสิมันต์ โรม อายุ 23 ปี , นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ อายุ 29 ปี , นายศุภชัย ภูครองพลอย อายุ 23 ปี , นายทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ อายุ 22 ปี , นายวสันต์ เสตสิทธิ์ อายุ 23 ปี และ น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว อายุ 22 ปี ไปขอศาลทหารฝากขังต่อเป็นครั้งที่สอง โดยมีกลุ่มเพื่อนนักศึกษา อาจารย์ และประชาชนบางส่วนเดินทางไปให้กำลังใจที่ศาลทหาร ระหว่างนั้น ได้มีชายไม่ทราบชื่อ ถือกระดาษเขียนข้อความ “เผด็จการที่ดี ดีกว่าประชาธิปไตยที่เลว” เดินเข้ามาในพื้นที่ ทำให้นักศึกษาและประชาชนที่มาให้กำลังใจ 14 นักศึกษาไม่พอใจ เจ้าหน้าที่จึงรีบกันตัวชายดังกล่าวออกจากพื้นที่ทันที
ในเวลาต่อมา นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความของ 14 นักศึกษา ได้ออกมาเผยว่า ตำรวจ สน.สำราษฎร์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อฝากขัง 14 นักศึกษาอีก 12 วัน ข้อหามั่วสุม ชุมนุมทางการเมือง และขัดคำสั่ง คสช.ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งศาลทหารได้สอบปากคำผู้ต้องหา และทนายผู้ต้องหา โดยทนายได้คัดค้านว่าไม่มีเหตุผลฝากขังอีก ขณะที่นักศึกษาได้ชี้แจงต่อศาลว่า เป็นผู้บริสุทธิ์และไม่หลบหนีไปไหน พนักงานสอบสวนไม่มีเหตุต้องขังและข้อหาก็ไม่ใช่อาชญากร ไม่ควรขังร่วมกับผู้ทำผิดประเภทอื่น จึงควรให้โอกาสนักศึกษาไปเรียนหนังสือ ด้านศาลพิเคราะห์แล้วไม่รับฝากขัง พร้อมให้ปล่อยตัวโดยไม่กำหนดเงื่อนไขใดๆ นายกฤษฎางค์ ยังบอกด้วยว่า นักศึกษาทั้ง 14 คนสามารถเคลื่อนไหวต่อได้ เพราะเป็นสิทธิ รัฐบาลห้ามไม่ได้ และไม่จำเป็นต้องมารายงานตัวต่อศาลทหารอีก และว่า “จากนี้ไป ขึ้นอยู่กับว่าพนักงานสอบสวนต้องหาพยานหลักฐานและสำนวนส่งฟ้องต่ออัยการศาลทหาร จึงจะนำตัวนักศึกษาทั้งหมดมาฟ้องที่ศาลทหาร ส่วนระยะเวลายังระบุไม่ได้...”
นายกฤษฎางค์ ยังบอกอีกว่า หลังจากนี้คณะทนายของ 14 นักศึกษา จะหารือกันว่าจะทำหนังสือถึงคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจศาล หรือจะทำหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญว่า จะให้คดีดังกล่าวไปขึ้นศาลพลเรือน เพราะไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ต้องขึ้นศาลพลเรือนเท่านั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ระหว่างที่เพื่อนนักศึกษาและประชาชนทยอยเดินทางมายังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อมาแสดงความยินดีที่ 14 นักศึกษาจะได้รับการปล่อยตัว รวมทั้งเตรียมจัดกิจกรรมที่หน้าเรือนจำ ปรากฏว่า ได้มีประชาชนกลุ่มหนึ่งบอกว่าเป็นแม่ค้าย่านมีนบุรี นำโดยนางอรพรรณ ทรัพย์ภูริกุล อายุ 53 ปี มาชูป้ายกระดาษมีข้อความต่างๆ เช่น “ประท้วงแล้วได้อะไร ก็ตกเป็นเหยื่อเหมือนเดิม” และ “บ้านเมืองกำลังมีปัญหา แน่ใจนะ ว่าทำถูกกาลเทศะ” ทั้งนี้ นางอรพรรณ กล่าวว่า เคยมีบุตรหลานเสียชีวิตจากเหตุการณ์ทางการเมือง จึงต้องการออกมาร้องขออยากให้บ้านเมืองสงบ ปรองดองกัน ไม่อยากให้มีการประท้วง เพราะเราก็คนไทยเหมือนกัน
สำหรับการปล่อยตัว 14 นักศึกษานั้น นายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงว่า เนื่องจากครบกำหนดฝากขัง 12 วันในวันที่ 7 ก.ค.เวลา 24.00 น. ซึ่งเรือนจำมีระเบียบปฏิบัติว่าจะไม่ปล่อยผู้ต้องขังในเวลากลางคืน ดังนั้นจึงต้องปล่อยตัวช่วงเช้าวันที่ 8 ก.ค.
ทั้งนี้ หลัง 14 นักศึกษาได้รับการปล่อยตัว นายรังสิมันต์ หรือโรม 1 ใน 14 นักศึกษา กล่าวยืนยันว่า วันนี้ทุกคนกำลังใจดีและจะสู้ต่อไป จะต่อต้านกฎหมายของ คสช.ทุกฉบับ เพราะ คสช.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นการทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 7 ก.ค. พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ได้เปิดแถลงที่รัฐสภาถึงการเคลื่อนไหวของ 14 นักศึกษาที่ถูกจับกุมว่า ตนรู้จักกับ 1 ใน 14 นักศึกษากลุ่มดาวดินที่เป็นคน จ.สุรินทร์ และได้คุยกับผู้ปกครองของเด็กคนดังกล่าวที่มาเยี่ยมบุตรในเรือนจำ ซึ่งผู้ปกครองได้แสดงความเป็นห่วงลูกและไม่อยากให้เข้ามายุ่งวุ่นวายเรื่องการเมือง “ได้สอบถามถึงความเคลื่อนไหวทางการเมือง ทราบว่านักศึกษาได้เข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่มดาวดินเมื่อเดือนก่อน โดยมีองค์กรต่างชาติองค์กรหนึ่ง ซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่หวังดี มาติดต่อนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เข้ากระบวนการเป็นเวลา 2 วัน หลังจากที่ลูกชายกลับมา ก็ไม่ได้พูดคุยอะไรกับผู้ปกครอง กระบวนการเช่นนี้ในอดีตมีมาอยู่ตลอดใน จ.สุรินทร์”
3.คปพ. ยื่นนายกฯ – ประธาน สนช.ถอนร่าง กม.ปิโตรเลียมฉบับ ก.พลังงาน ชี้ แปลงร่างระบบแบ่งปันผลผลิตเป็นสัมปทานจำแลง แอบอ้างทำประชาพิจารณ์!
เมื่อวันที่ 9 ก.ค. เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.) นำโดย ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี , นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ , น.ส.บุญยืน ศิริธรรม , พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุ์ศรี , นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา , นายวีระ สมความคิด , นายคมสัน โพธิ์คง เป็นต้น พร้อมด้วยประชาชนจำนวนหนึ่งได้เดินทางไปยังศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ บริเวณสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ตรงข้ามประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นรายชื่อประชาชนต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อขอให้ถอนร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ที่กระทรวงพลังงานเป็นผู้เสนอ ออกจากการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) หลังจากที่ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปแล้ว โดยมีนายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มารับหนังสือ
หลังจากนั้น ม.ล.กรกสิวัฒน์ได้เป็นตัวแทนเดินทางไปที่รัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือต่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. และ พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน สนช.เพื่อคัดค้านร่างแก้ไข พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวในขั้นตอนการพิจารณาของ สนช.
ทั้งนี้ ม.ล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า เหตุที่ต้องมายื่นหนังสือต่อ สนช.เพราะที่ผ่านมา สนช.ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษา พ.ร.บ.ปิโตรเลียมและมีรายงานออกมาเป็นที่พอใจของประชาชน เพราะมีประโยชน์ และมีประเด็นที่จำเป็นจะต้องแก้ไข แต่ขณะที่ผลการศึกษายังไม่เสร็จสิ้น ทางกระทรวงพลังงานได้เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมและ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่มีการบรรจุหรือแก้ไขปัญหาตามที่คณะกรรมาธิการของ สนช.ทำไว้แต่อย่างใด ทำให้ภาคประชาชนกังวลว่า ร่างกฎหมายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาคงไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาตามที่ประชาชนห่วงใย
นอกจากนี้ ทางกระทรวงพลังงานงานยังอ้างว่า มีการทำประชาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับไปแล้ว ทั้งที่ในข้อเท็จจริงไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีการทำประชาพิจารณ์ หรือรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนแล้ว จึงห่วงว่าประชาชนจะเข้าใจคลาดเคลื่อนว่ากฎหมายที่ดำเนินการโดยกระทรวงพลังงานนั้นเป็นกฎหมายของ สนช. ทั้งที่ สนช.ยังไม่ได้รับร่างกฎหมายนี้แต่อย่างใด
ไม่เท่านั้น กฎหมายที่กระทรวงพลังงานเสนอ แม้จะเขียนว่า “เพิ่มเติมระบบแบ่งปันผลผลิตไปแล้ว” แต่เมื่อ คปพ.ได้อ่านแล้วปรากฏว่าไม่ใช่ กลายเป็นสัมปทานจำแลง คือ ระบบแบ่งปันผลผลิต หากมีการขุดน้ำมันขึ้นมาจะมีการแบ่งปัน โดยรัฐจะตรวจนับปริมาณปิโตรเลียมแล้วแบ่งให้เอกชน แต่กฎหมายที่กระทรวงพลังงานเสนอ กลายเป็นว่าเอกชนเอาปิโตรเลียมไปขายทั้งหมด แล้วแบ่งเงินให้รัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคประชาชนกังวลอย่างยิ่ง พลเมืองควรจะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ เพราะด้านพลังงานมีผลกระทบต่อประชาชนทุกคน ทั้งเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ คปพ.จึงต้องมายื่นหนังสือต่อประธาน สนช.ขอให้ถอนร่างของกระทรวงพลังงานออกไป และควรมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมายกร่างกฎหมายใหม่ ภายใต้การศึกษาของคณะกรรมาธิการของ พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์
ด้านนายพรเพชร กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการเสนอร่างฉบับกระทรวงพลังงานมาที่ สนช. และว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ต่างๆ ของ สนช.จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก โดยจะต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง และร่วมเป็นกรรมาธิการ เพื่อทำร่างกฎหมายให้ดีที่สุด
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. คปพ.ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ถอนร่างกฎหมายดังกล่าวออกจากการพิจารณาของกฤษฎีกาทันที เนื่องจากทั้งสองร่างฯ ยังไม่ผ่านการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน และมีเนื้อหาในลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทพลังงานของเอกชน เปิดช่องให้มีการทุจริต ให้อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติใช้ดุลพินิจโดยปราศจากการควบคุมตรวจสอบในการกำหนดวิธีการสำหรับการยื่นข้อเสนอและตกลงทำสัญญา มีการใช้ถ้อยคำอำพรางเพื่อใช้ระบบสัมปทานปิโตรเลียมแบบเดิม ซึ่งรัฐและประชาชนจะเสียเปรียบบริษัทผู้ได้รับสัมปทาน
นอกจากนี้ คปพ.ได้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีแสดงความจริงใจด้วยการปฏิบัติตามพันธะสัญญาที่มีต่อ คปพ.ตามที่ได้เกษียณหนังสือเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2558 ว่า “ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในความโปร่งใสและเป็นธรรม” ด้วยการทบทวนให้มีการถอนร่างกฎหมายทั้งสองฉบับออกจากการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยทันที และขอให้นำร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการปิโตรเลียม และร่างคำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่องการจัดหาทรัพยากรปิโตรเลียมในราชอาณาจักรของ คปพ. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ และจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ในร่างกฎหมายของภาคประชาชนดังกล่าวต่อไป
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. พูดเหมือนส่งสัญญาณจะไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับกระทรวงพลังงาน โดยพูดถึงข้อเรียกร้องของ คปพ.ที่ขอให้ถอนร่างดังกล่าวว่า เรื่องนี้ต้องถาม สนช.ว่าเขาจะว่าอย่างไร แต่ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้มีการชี้แจงและตอบปัญหาต่างๆ อยู่ตลอด และหากมัวตามใจกลุ่มต่างๆ ที่ออกมาเรียกร้อง อะไรๆ ก็คงไม่เกิดขึ้นสักอย่าง
4.รัฐบาลยอมผ่อนคลาย จัดชุดเคลื่อนที่ให้บริการเบ็ดเสร็จ 22 จังหวัดชายฝั่ง แก้ปัญหาเรือประมงผิดกฎหมาย 6-15 ก.ค.นี้!
หลังจากรัฐบาลเริ่มบังคับใช้กฎหมายจับกุมเรือประมงผิดกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและขาดการควบคุม(ไอยูยู) หรือใบเหลืองธุรกิจประมงของสหภาพยุโรป(อียู) ส่งผลให้กลุ่มผู้ประกอบการประมงหลายจังหวัดหยุดออกเรือ เพราะเป็นที่มีใบอนุญาตผิดประเภทหรือไม่มีอาชญาบัตร พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนผันการจับกุมเรือประมงผิดกฎหมายออกไปอีกระยะหนึ่ง โดยอ้างว่าแก้ปัญหาไม่ทันนั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 8 ก.ค. พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยถึงการช่วยเหลือผ่อนปรนเรือประมงที่ไม่สามารถออกทำการประมงได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. เพราะยังไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายว่า รัฐบาลได้จัดชุดเคลื่อนที่ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จไปในพื้นที่ 22 จังหวัดชายฝั่ง เพื่อให้บริการ ณ จุดที่เรือขึ้นท่า อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าของเรือไต๋เรือ และลูกเรือได้มาแสดงหลักฐานเอกสาร เพื่อให้สามารถออกทำการประมงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และว่า “นายกฯ ต้องการให้ทุกอย่างมีความชัดเจน และเอื้อต่อชาวประมงที่ประกอบอาชีพสุจริตมากที่สุด โดยชุดเคลื่อนที่จะดำเนินการระหว่างวันที่ 6 - 15 ก.ค.นี้ โดยแบ่งชุดปฏิบัติการออกเป็นหลายชุด ลงพื้นที่ครอบคลุมท่าเทียบเรือหลักทุกจังหวัด เพื่อให้บริการหลายเรื่อง อาทิ จดทะเบียนเรือ ต่อใบอนุญาตการใช้เรือ ออกใบประกาศนียบัตรนายท้ายเรือผู้ควบคุมเรือ การเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตใช้เรือ เป็นต้น”
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวด้วยว่า การดำเนินการของชุดเคลื่อนที่ดังกล่าว เป็นภารกิจที่บูรณาการหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า กรมประมง กสทช. รวมถึงหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ เชื่อว่า การอำนวยความสะดวกเช่นนี้จะช่วยให้เรือประมงจำนวนหนึ่งซึ่งไม่ได้ออกเรือแต่มีเอกสารหลักฐานครบถ้วนมาแสดง สามารถกลับไปออกเรือได้ตามปกติ ส่วนเรือที่ไม่มีเอกสาร หรือไม่สามารถดำเนินการได้ถูกต้อง ก็ต้องหยุดออกเรือ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย และเพื่อยกระดับการทำประมงของไทยและรักษาอุตสาหกรรมประมงในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาใบเหลืองอียู จะต้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและอุปกรณ์ประจำเรือ จำนวน 12 รายการ ประกอบด้วย 1. ทะเบียนเรือไทย 2. ใบอนุญาตใช้เรือ 3. ใบอาชญาบัตร หรือใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมง 4. สมุดบันทึกการทำประมง หรือ LOG BOOK 5. บัตรประชาชนไต๋เรือ 6. บัตรประชาชนนายท้ายเรือ 7. บัตรประชาชนช่างเครื่อง 8. ทะเบียนลูกจ้าง 9. บัตรสีชมพู 10. สัญญาจ้าง 11. ใบประกาศนายท้ายเรือ 12. ใบประกาศช่างเครื่อง
5.ศาลสืบพยานนัดแรกคดีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวอังกฤษที่เกาะเต่า ด้าน “บีบีซี” ชี้ดีเอ็นเอหลักฐานสำคัญสูญหาย ขณะที่ ผบ.ตร.ยันไม่หาย แค่เข้าใจผิด!
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ศาลจังหวัดเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ได้สืบพยานนัดแรกคดีฆาตกรรม น.ส.ฮานนาห์ วิคอตอเรีย วิทเธอริดจ์ และนายเดวิด วิลเลียม มิลเลอร์ 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ บนเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 15 ก.ย.2557 โดยผู้ต้องหาชาวเมียนมา 2 คน คือ นายเวพิว หรือวิน อายุ 21 ปี และนายซอลิน หรือโซเรน อายุ 21 ปี ได้ถูกนำตัวจากเรือนจำ อ.เกาะสมุย มาร่วมฟังการพิจารณาคดี ท่ามกลางสำนักข่าวจากประเทศอังกฤษและเมียนมามารอทำข่าวจำนวนมาก นอกจากนี้บิดามารดาและน้องสาวของผู้เสียชีวิต รวมทั้งเจ้าหน้าที่สถานทูตอังกฤษได้เดินทางมาฟังการสืบพยานทั้งสองฝ่ายด้วย
ด้านนายนคร ชมพูชาติ หัวหน้าทีมทนายความของผู้ต้องหาจากสภาทนายความ เผยว่า ยังคงเชื่อมั่นว่าผู้ต้องหาทั้ง 2 คนเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยทีมทนายของผู้ต้องหาได้สืบหาพยานหลักฐานในคดีนี้ เพื่อนำมาแก้ต่างให้แก่ผู้ต้องหาแล้ว และว่า ในการสืบพยานนัดแรกนี้ ทีมทนายจะฟังคำเบิกความของพยานฝ่ายโจทก์จำนวน 5 ปาก และฟังคำวินิจฉัยของศาล ที่ทีมทนายฝ่ายจำเลยยื่นขอตรวจหลักฐานตัวอย่างผลตรวจดีเอ็นเอของผู้ต้องหาทั้ง 2 คน ที่ทางอัยการนำมาเป็นหลักฐานในการดำเนินคดี 2 ผู้ต้องหา โดยศาลนัดฟังว่าจะอนุญาตให้ฝ่ายจำเลยตรวจสอบหลักฐานที่เป็นผลตรวจดีเอ็นเอหรือไม่
วันต่อมา(9 ก.ค.) ศาลได้นัดสืบพยานโจทก์เป็นวันที่ 2 โดยนำพยานขึ้นเบิกความ 4 ปาก ประกอบด้วย นายโอ ชาวเมียนมา คนสวนของบังกะโลอินทัชใกล้จุดเกิดเหตุ ซึ่งเป็นผู้นำจอบขุดดินไปทิ้งไว้บริเวณสวนหย่อมริมชายหาดจนกลายเป็นอาวุธที่คนร้ายใช้ก่อเหตุ แต่เนื่องจากติดขัดเรื่องล่ามแปลภาษา นายโอ จึงไม่สามารถเบิกความต่อศาลได้ ส่วนพยานอีก 2 ปาก คือ นายสตีเฟ่น มิสเชล ชาวต่างชาติที่ทำงานบนเกาะเต่า และนายพุฒิพล โชติช่วง ก็ไม่พร้อมเบิกความในวันดังกล่าวเช่นกัน อัยการจึงนำสืบพยานได้เพียงปากเดียว คือ น.ส.ปรัชญา ศรีอ่อน โดยเบิกความระบุว่า เห็นชาย 3 คนนั่งเล่นกีตาร์ร้องเพลงอยู่บริเวณขอนไม้ริมหาดทรายรีจุดเกิดเหตุ แต่ไม่ได้สนใจอะไร กระทั่งมาทราบข่าวในเช้าวันรุ่งขึ้นว่าเกิดการฆาตกรรมนักท่องเที่ยว
ด้านนายนคร ชมพูชาติ ทีมทนายฝ่ายจำเลย กล่าวว่า การสืบพยานในวันดังกล่าวเป็นการยืนยันว่า มีคนเล่นกีตาร์บนขอนไม้ใกล้จุดเกิดเหตุ ซึ่งทางอัยการโจทก์พยายามนำสืบยืนยันว่าเป็นจำเลย แต่รายละเอียดยังไม่ชัดเจนเรื่องเวลาและจำนวนคน ซึ่งยังขัดแย้งกัน ส่วนที่จำเลยขอนำผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบหลักฐานการชันสูตรศพผู้ตาย รวมถึงวัตถุพยานต่างๆ นายนคร บอกว่า อยู่ระหว่างรอประสานงานกับทางพนักงานสอบสวนอีกครั้ง
เป็นที่น่าสังเกตว่า บีบีซีรายงานเมื่อวันที่ 9 ก.ค.โดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.สมศักดิ์ ที่สืบสวนคดีเกาะเต่าว่า ตำรวจไทยยอมรับว่าไม่สามารถทดสอบซ้ำหลักฐานดีเอ็นเอในคดีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษบนเกาะเต่าได้ เพราะมันสูญหายไปแล้ว โดยตัวอย่างดีเอ็นเอที่หายไป รวมถึงตัวอย่างเส้นผมที่พบในมือของ น.ส.วิทเธอริดจ์ด้วย
โจนาห์ ฟีเชอร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซี รายงานจากเกาะสมุยว่า หลักฐานดีเอ็นเอดูเหมือนจะเป็นหลักฐานที่แน่นหนาที่สุดในคดีนี้ที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและสับสน แต่ตอนนี้มันก็ไม่สามารถนำไปตรวจสอบซ้ำอย่างอิสระอีกแล้ว และว่า ข่าวนี้ยิ่งสนับสนุนคำโต้แย้งของผู้คนบางส่วนที่เชื่อว่าผู้ถูกกล่าวหาถูกจัดฉากโดยเจ้าหน้าที่ไทย
ด้าน พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รีบออกมาปฏิเสธว่า หลักฐานดีเอ็นเอในคดีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษบนเกาะเต่าไม่ได้สูญหาย แต่เป็นความเข้าใจผิดของสื่อต่างชาติที่ไปสัมภาษณ์พนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนบอกไปว่า วัตถุพยานในคดีไม่มีเก็บไว้ที่พนักงานสอบสวน เพราะในทางปฏิบัติ หลังจากมีการเก็บหลักฐานวัตถุพยานในคดีที่ต้องตรวจหาดีเอ็นเอ พนักงานสอบสวนจะต้องส่งไปยังสถาบันนิติเวชวิทยา ซึ่งจะตรวจสอบว่า วัตถุพยานที่ได้รับมา มีดีเอ็นเอตรงกับตัวอย่างดีเอ็นเอของผู้ต้องหาหรือไม่ ซึ่งข้อมูลทุกอย่างจะถูกบันทึกไว้ในเครื่องตรวจดีเอ็นเอ จากนั้นสถาบันนิติเวชฯ จะส่งผลการตรวจพิสูจน์ให้พนักงานสอบสวน จึงไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องเก็บหลักฐานเหล่านั้นไว้ และว่า เมื่อทนายความของผู้ต้องหาร้องขอต่อศาลเพื่อขอวัตถุพยานที่เกี่ยวข้องกับดีเอ็นเอเพื่อให้หน่วยงานอื่นตรวจสอบ แต่พนักงานสอบสวนตอบว่าไม่มี ไม่ได้หมายความว่าวัตถุพยานในคดีนี้สูญหาย “กรณีดังกล่าวเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของผู้สื่อข่าวต่างประเทศ บางครั้งผู้สื่อข่าวต่างชาติที่มาคุยกับตำรวจ ภาษาไทยอ่อนแอ เลยเข้าใจผิดๆ เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรหาย...”
ผู้สื่อข่าวถามว่า การจะขอตรวจพิสูจน์วัตถุพยานที่เกี่ยวข้องกับดีเอ็นเอของผู้ต้องหาใหม่ สามารถทำได้หรือไม่ พล.ต.อ.สมยศ บอกว่า ขึ้นอยู่กับศาลว่าจะวินิจฉัยอย่างไร แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อทนายความผู้ต้องหาร้องขอมา แล้วตำรวจจะต้องส่งให้ ไม่ใช่หน้าที่
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนได้แถลงต่อศาลในการนัดสืบพยานวันที่สามเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ว่า วัตถุพยานบางอย่างในการตรวจนั้น อาจจะหมดไปแล้ว ตามหลักทฤษฎีการตรวจ ไม่ใช่หายไป พร้อมยกตัวอย่างสิ่งที่หมดไป เช่น สำลีที่ป้าย ส่วนสิ่งที่ยังมีแน่นอนคือ จอบ ที่สามารถตรวจดีเอ็นเอเพิ่มเติมอีกได้
ด้านนายธวัชชัย เสียงแจ้ว อธิบดีอัยการภาค 8 ได้ชี้แจงกรณีขอเลื่อนสืบพยานโจทก์ 3 ปากออกไป ประกอบด้วย นายโอ สัญชาติเมียนมา ,นายสตีเฟ่น มิสเชล ไม่ทราบสัญชาติ และนายพุฒิพล โชติช่วง ว่า เนื่องจากพยานแวดล้อมทั้ง 3 คน ยังไม่พร้อมที่จะให้ปากคำ ดังนั้นทางทีมอัยการที่ดูแลคดีนี้จะนัดให้บุคคลทั้งสามมาเป็นพยานในโอกาสต่อไป
1.ชาวอุยกูร์บุกสถานกงสุลไทยในตุรกี ทำลายสิ่งของ-ปลดธงชาติ ไม่พอใจไทยส่งผู้หนีภัยชาวอุยกูร์กลับไปจีน ด้าน “บิ๊กตู่” ยัน ทำตามกฎหมาย!
เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 8 ก.ค. ได้มีชาวอุยกูร์จำนวนหนึ่งบุกเข้าทำลายประตูและสิ่งของในสถานกงสุลไทยประจำนครอิสตันบูล ประเทศตุรกี รวมทั้งลดธงชาติไทยลงจากเสา เนื่องจากไม่พอใจที่ทางการไทยตัดสินใจส่งตัวชาวอุยกูร์ที่ไทยควบคุมตัวไว้จำนวนหนึ่งให้ทางการจีน
หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงอังการา ประเทศตุรกี ได้เตือนคนไทยในตุรกีและคนไทยที่จะเดินทางไปตุรกี ใช้ความระมัดระวัง ควรอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และไม่ควรใช้สัญลักษณ์ธงชาติไทย
ทั้งนี้ เหตุการณ์บุกสถานกงสุลของไทยในนครอิสตันบูลมีขึ้นหลังเว็บไซต์เรดิโอฟรีเอเชีย รายงานข่าวเมื่อวันที่ 8 ก.ค.อ้างแถลงการณ์ของกลุ่มสภาอุยกูร์โลก(WUC) ที่ระบุว่า ชาวอุยกูร์ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในศูนย์พักพิง 5 แห่งของไทย ถูกส่งตัวขึ้นเครื่องบินไปจีน พร้อมคาดการณ์ว่า รัฐบาลจีนอยู่เบื้องหลังปฏิบัติการลับและชั่วร้ายดังกล่าว โดยมีเป้าหมายนำตัวชาวอุยกูร์กลับไปลงโทษอย่างรุนแรง อาจถึงขั้นประหารชีวิต สภาอุยกูร์โลกจึงเรียกร้องให้นานาชาติป้องกันไม่ให้มีการบังคับขับไล่ชาวอุยกูร์ออกนอกประเทศ เพราะขัดกับหลักการและกฎหมายระหว่างประเทศ
เรดิโอฟรีเอเชีย ยังระบุด้วยว่า การบังคับส่งตัวชาวอุยกูร์ไปจีนครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากสัปดาห์ก่อน ไทยได้ส่งตัวชาวอุยกูร์ 173 คนไปยังประเทศตุรกี ขณะที่ทางการจีนก็ขอให้ไทยส่งตัวชาวอุยกูร์เหล่านี้ไปยังจีนเช่นกัน และว่า 2 ปีที่ผ่านมา ชาวอุยกูร์อพยพจากประเทศจีน เพื่อหลบหนีการปราบปราม โดยรัฐบาลจีนมองว่าชาวอุยกูร์เป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนและกลุ่มผู้ก่อการร้าย และยังมีการกวาดล้างศาสนาและวัฒนธรรมของชาวอุยกูร์ด้วย
ด้านสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ(UNHCR) ในไทย ได้ออกแถลงการณ์แสดงความตกใจที่ไทยส่งตัวผู้หนีภัยชาวอุยกูร์ให้จีนร่วมร้อยคน พร้อมขอให้ไทยเคารพพันธะต่อนานาชาติ ด้วยการยึดหลักไม่ขับไล่บังคับชาวอุยกูร์ออกนอกประเทศ ขอให้ไทยยอมให้ชาวอุยกูร์ที่เหลือได้ออกจากประเทศไทยด้วยความสมัครใจ และได้ไปประเทศที่ตนเลือก ขณะที่องค์การนิรโทษกรรมสากลหรือแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล(เอไอ) ก็ออกแถลงการณ์เรียกร้องไทยอย่าส่งชาวอุยกูร์ที่เหลือไปยังจีนอีก เพราะจะทำให้ชีวิตของคนจำนวนมากตกอยู่ในความเสี่ยง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าหารือเพื่อประเมินสถานการณ์ หลังเกิดเหตุชาวอุยกูร์ในตุรกีบุกทำลายทรัพย์สินของสถานกงสุลไทยในตุรกี โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้แสดงความห่วงใยและไม่สบายใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมสั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศเร่งดูแลคนไทยและเจ้าหน้าที่ชาวไทยในตุรกีที่มีอยู่ประมาณ 1,300 คน และว่า ถ้ายังเกิดความรุนแรงขึ้น อาจต้องปิดสถานทูตไทยในตุรกี แล้วหาที่ทำงานใหม่ เพื่อความปลอดภัย พล.อ.ประยุทธ์ ยังยืนยันด้วยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น ไทยเป็นประเทศที่อยู่ตรงกลาง ต้องเห็นใจไทยบ้าง ไม่อยากขยายความขัดแย้ง การดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามกฎหมายอยู่แล้ว “เหมือนกรณีปัญหาการค้ามนุษย์โรฮีนจา เนื่องจากมีการหลบหนีข้ามแดนมาอยู่กับเรา เราต้องพิสูจน์สัญชาติว่าใครเป็นพวกไหน อย่างไร เกิดที่ไหน ก็ต้องส่งกลับไปตามนั้น” พร้อมย้ำว่า ชาวอุยกูร์ที่ส่งไปจีน จีนเขารับรองความปลอดภัย เขายืนยันจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ถ้าไม่เกี่ยวข้องก็จะปล่อยตัว หาที่ทำกินให้ ถ้ามีหลักฐานประจักษ์ชัดเจน ก็ต้องดำเนินคดีตามความรุนแรงของโทษ อย่าไปคิดอะไรเรื่อยเปื่อย จะทำอย่างไรถ้าไม่ทำอย่างนี้
ด้าน พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงยืนยันว่า ไทยได้ดูแลชาวอุยกูร์ที่หลบหนีเข้าเมืองตามหลักสิทธิมนุษยชน มีการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลตุรกีและรัฐบาลจีนว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ขั้นต้นได้มีการพิสูจน์สัญชาติ เมื่อพิสูจน์ได้ว่าเป็นชาวตุรกีประมาณ 170 คน จึงส่งกลับไปที่ตุรกีตั้งแต่ปลายเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ส่วนชาวอุยกูร์อีกประมาณ 100 คนพิสูจน์ได้ว่าเป็นชาวจีนที่เกิดในจีน มีถิ่นพำนักอาศัยในจีน เพียงแต่อพยพและหลบหนีออกมาเป็นกลุ่มใหญ่ จึงได้ส่งกลับไปจีนเมื่อวันที่ 8 ก.ค. โดยได้คุยกับรัฐบาลจีนแล้ว จีนให้หลักการว่า เมื่อส่งกลับไปแล้ว จะดูแลเรื่องความปลอดภัย จึงได้ส่งกลับไป และว่า ขณะนี้ยังเหลือชาวอุยกูร์ในไทยประมาณ 50 คน ยังไม่สามารถพิสูจน์สัญชาติได้ จึงยังไม่ดำเนินการใดๆ เพราะต้องให้ความเป็นธรรมกับคนเหล่านี้ คาดว่าขั้นตอนการพิสูจน์สัญชาติและส่งตัวกลับ ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี
พล.ต.วีรชน ยังกล่าวด้วยว่า เชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ ในตุรกียังสามารถดูแลได้ ไม่บานปลาย เพียงแต่ต้องประสานกับทางตุรกีและเร่งทำความเข้าใจ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เตรียมต่อสายไปยังผู้นำตุรกีแล้ว
ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้เชิญนายออสมัน บูเลนต์ ทูลุน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐตุรกีประจำประเทศไทย เข้าพบเพื่อหารือถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยฝ่ายตุรกีรับทราบความกังวลของฝ่ายไทย และยืนยันว่า ทางการตุรกีให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของคนไทยและสถานเอกอัครราชทูตไทยในตุรกี โดยได้เพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยให้กับสถานเอกอัครราชทูตไทยแล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในไทยเอง ได้มี 18 องค์กรมุสลิม และสำนักจุฬาราชมนตรี เปิดแถลงข่าวชื่นชมรัฐบาลที่ส่งชาวอุยกูร์ 172 คนไปยังตุรกี ว่าเป็นการกระทำที่มีมนุษยธรรม แต่ขณะเดียวกันก็ตำหนิที่รัฐบาลส่งชาวอุยกูร์อีกส่วนหนึ่งไปจีน เพราะเป็นพื้นที่อันตรายสำหรับชาวอุยกูร์ เป็นการดำเนินการที่ละเมิดกฎหมายสากลว่าด้วยเรื่องการส่งตัวผู้ลี้ภัยที่มีแนวโน้มว่าอาจถูกทรมาณและทำร้าย เป็นการดำเนินการที่น่าผิดหวังอย่างยิ่ง
2.14 นักศึกษาได้รับการปล่อยตัวแล้ว หลังศาลทหารไม่อนุญาตฝากขังต่อ ด้าน สปช.แฉ องค์กรต่างชาติหนุนหลัง “กลุ่มดาวดิน”!
ความคืบหน้ากรณีนักศึกษากลุ่มดาวดินและกลุ่มหอศิลป์เคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยต่อต้านการรัฐประหารถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม 14 คน หลังศาลทหารอนุมัติหมายจับ ข้อหาร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หรือวิธีอื่นใด มิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ประกอบมาตรา 83 รวมทั้งอนุญาตให้ฝากขังนักศึกษาทั้ง 14 คนเป็นเวลา 12 วันตามที่พนักงานสอบสวนร้องขอ ซึ่งจะครบกำหนดฝากขังครั้งแรกในวันที่ 7 ก.ค.
ปรากฏว่า เมื่อครบกำหนดฝากขัง(7 ก.ค.) พนักงานสอบสวนได้นำนักศึกษาทั้ง 14 คนจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง ประกอบด้วย นายพายุ บุญโสภณ อายุ 20 ปี , นายภานุพงษ์ ศรีธนานุวัฒน์ อายุ 20 ปี , นายสุวิชชา พิทังกรณ์ อายุ 22 ปี , นายอภิวัฒน์ สุนทรวัฒน์ อายุ 22 ปี , นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน อายุ 23 ปี , นายรัฐพล ศุภโสภณ อายุ 22 ปี , นายปกรณ์ อารีกุล อายุ 26 ปี , นายพรชัย ยวนยี อายุ 24 ปี , นายรังสิมันต์ โรม อายุ 23 ปี , นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ อายุ 29 ปี , นายศุภชัย ภูครองพลอย อายุ 23 ปี , นายทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ อายุ 22 ปี , นายวสันต์ เสตสิทธิ์ อายุ 23 ปี และ น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว อายุ 22 ปี ไปขอศาลทหารฝากขังต่อเป็นครั้งที่สอง โดยมีกลุ่มเพื่อนนักศึกษา อาจารย์ และประชาชนบางส่วนเดินทางไปให้กำลังใจที่ศาลทหาร ระหว่างนั้น ได้มีชายไม่ทราบชื่อ ถือกระดาษเขียนข้อความ “เผด็จการที่ดี ดีกว่าประชาธิปไตยที่เลว” เดินเข้ามาในพื้นที่ ทำให้นักศึกษาและประชาชนที่มาให้กำลังใจ 14 นักศึกษาไม่พอใจ เจ้าหน้าที่จึงรีบกันตัวชายดังกล่าวออกจากพื้นที่ทันที
ในเวลาต่อมา นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความของ 14 นักศึกษา ได้ออกมาเผยว่า ตำรวจ สน.สำราษฎร์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อฝากขัง 14 นักศึกษาอีก 12 วัน ข้อหามั่วสุม ชุมนุมทางการเมือง และขัดคำสั่ง คสช.ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งศาลทหารได้สอบปากคำผู้ต้องหา และทนายผู้ต้องหา โดยทนายได้คัดค้านว่าไม่มีเหตุผลฝากขังอีก ขณะที่นักศึกษาได้ชี้แจงต่อศาลว่า เป็นผู้บริสุทธิ์และไม่หลบหนีไปไหน พนักงานสอบสวนไม่มีเหตุต้องขังและข้อหาก็ไม่ใช่อาชญากร ไม่ควรขังร่วมกับผู้ทำผิดประเภทอื่น จึงควรให้โอกาสนักศึกษาไปเรียนหนังสือ ด้านศาลพิเคราะห์แล้วไม่รับฝากขัง พร้อมให้ปล่อยตัวโดยไม่กำหนดเงื่อนไขใดๆ นายกฤษฎางค์ ยังบอกด้วยว่า นักศึกษาทั้ง 14 คนสามารถเคลื่อนไหวต่อได้ เพราะเป็นสิทธิ รัฐบาลห้ามไม่ได้ และไม่จำเป็นต้องมารายงานตัวต่อศาลทหารอีก และว่า “จากนี้ไป ขึ้นอยู่กับว่าพนักงานสอบสวนต้องหาพยานหลักฐานและสำนวนส่งฟ้องต่ออัยการศาลทหาร จึงจะนำตัวนักศึกษาทั้งหมดมาฟ้องที่ศาลทหาร ส่วนระยะเวลายังระบุไม่ได้...”
นายกฤษฎางค์ ยังบอกอีกว่า หลังจากนี้คณะทนายของ 14 นักศึกษา จะหารือกันว่าจะทำหนังสือถึงคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจศาล หรือจะทำหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญว่า จะให้คดีดังกล่าวไปขึ้นศาลพลเรือน เพราะไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ต้องขึ้นศาลพลเรือนเท่านั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ระหว่างที่เพื่อนนักศึกษาและประชาชนทยอยเดินทางมายังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อมาแสดงความยินดีที่ 14 นักศึกษาจะได้รับการปล่อยตัว รวมทั้งเตรียมจัดกิจกรรมที่หน้าเรือนจำ ปรากฏว่า ได้มีประชาชนกลุ่มหนึ่งบอกว่าเป็นแม่ค้าย่านมีนบุรี นำโดยนางอรพรรณ ทรัพย์ภูริกุล อายุ 53 ปี มาชูป้ายกระดาษมีข้อความต่างๆ เช่น “ประท้วงแล้วได้อะไร ก็ตกเป็นเหยื่อเหมือนเดิม” และ “บ้านเมืองกำลังมีปัญหา แน่ใจนะ ว่าทำถูกกาลเทศะ” ทั้งนี้ นางอรพรรณ กล่าวว่า เคยมีบุตรหลานเสียชีวิตจากเหตุการณ์ทางการเมือง จึงต้องการออกมาร้องขออยากให้บ้านเมืองสงบ ปรองดองกัน ไม่อยากให้มีการประท้วง เพราะเราก็คนไทยเหมือนกัน
สำหรับการปล่อยตัว 14 นักศึกษานั้น นายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงว่า เนื่องจากครบกำหนดฝากขัง 12 วันในวันที่ 7 ก.ค.เวลา 24.00 น. ซึ่งเรือนจำมีระเบียบปฏิบัติว่าจะไม่ปล่อยผู้ต้องขังในเวลากลางคืน ดังนั้นจึงต้องปล่อยตัวช่วงเช้าวันที่ 8 ก.ค.
ทั้งนี้ หลัง 14 นักศึกษาได้รับการปล่อยตัว นายรังสิมันต์ หรือโรม 1 ใน 14 นักศึกษา กล่าวยืนยันว่า วันนี้ทุกคนกำลังใจดีและจะสู้ต่อไป จะต่อต้านกฎหมายของ คสช.ทุกฉบับ เพราะ คสช.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นการทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 7 ก.ค. พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ได้เปิดแถลงที่รัฐสภาถึงการเคลื่อนไหวของ 14 นักศึกษาที่ถูกจับกุมว่า ตนรู้จักกับ 1 ใน 14 นักศึกษากลุ่มดาวดินที่เป็นคน จ.สุรินทร์ และได้คุยกับผู้ปกครองของเด็กคนดังกล่าวที่มาเยี่ยมบุตรในเรือนจำ ซึ่งผู้ปกครองได้แสดงความเป็นห่วงลูกและไม่อยากให้เข้ามายุ่งวุ่นวายเรื่องการเมือง “ได้สอบถามถึงความเคลื่อนไหวทางการเมือง ทราบว่านักศึกษาได้เข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่มดาวดินเมื่อเดือนก่อน โดยมีองค์กรต่างชาติองค์กรหนึ่ง ซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่หวังดี มาติดต่อนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เข้ากระบวนการเป็นเวลา 2 วัน หลังจากที่ลูกชายกลับมา ก็ไม่ได้พูดคุยอะไรกับผู้ปกครอง กระบวนการเช่นนี้ในอดีตมีมาอยู่ตลอดใน จ.สุรินทร์”
3.คปพ. ยื่นนายกฯ – ประธาน สนช.ถอนร่าง กม.ปิโตรเลียมฉบับ ก.พลังงาน ชี้ แปลงร่างระบบแบ่งปันผลผลิตเป็นสัมปทานจำแลง แอบอ้างทำประชาพิจารณ์!
เมื่อวันที่ 9 ก.ค. เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.) นำโดย ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี , นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ , น.ส.บุญยืน ศิริธรรม , พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุ์ศรี , นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา , นายวีระ สมความคิด , นายคมสัน โพธิ์คง เป็นต้น พร้อมด้วยประชาชนจำนวนหนึ่งได้เดินทางไปยังศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ บริเวณสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ตรงข้ามประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นรายชื่อประชาชนต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อขอให้ถอนร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ที่กระทรวงพลังงานเป็นผู้เสนอ ออกจากการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) หลังจากที่ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปแล้ว โดยมีนายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มารับหนังสือ
หลังจากนั้น ม.ล.กรกสิวัฒน์ได้เป็นตัวแทนเดินทางไปที่รัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือต่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. และ พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมาธิการพลังงาน สนช.เพื่อคัดค้านร่างแก้ไข พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวในขั้นตอนการพิจารณาของ สนช.
ทั้งนี้ ม.ล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า เหตุที่ต้องมายื่นหนังสือต่อ สนช.เพราะที่ผ่านมา สนช.ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษา พ.ร.บ.ปิโตรเลียมและมีรายงานออกมาเป็นที่พอใจของประชาชน เพราะมีประโยชน์ และมีประเด็นที่จำเป็นจะต้องแก้ไข แต่ขณะที่ผลการศึกษายังไม่เสร็จสิ้น ทางกระทรวงพลังงานได้เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมและ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่มีการบรรจุหรือแก้ไขปัญหาตามที่คณะกรรมาธิการของ สนช.ทำไว้แต่อย่างใด ทำให้ภาคประชาชนกังวลว่า ร่างกฎหมายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาคงไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาตามที่ประชาชนห่วงใย
นอกจากนี้ ทางกระทรวงพลังงานงานยังอ้างว่า มีการทำประชาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับไปแล้ว ทั้งที่ในข้อเท็จจริงไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีการทำประชาพิจารณ์ หรือรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนแล้ว จึงห่วงว่าประชาชนจะเข้าใจคลาดเคลื่อนว่ากฎหมายที่ดำเนินการโดยกระทรวงพลังงานนั้นเป็นกฎหมายของ สนช. ทั้งที่ สนช.ยังไม่ได้รับร่างกฎหมายนี้แต่อย่างใด
ไม่เท่านั้น กฎหมายที่กระทรวงพลังงานเสนอ แม้จะเขียนว่า “เพิ่มเติมระบบแบ่งปันผลผลิตไปแล้ว” แต่เมื่อ คปพ.ได้อ่านแล้วปรากฏว่าไม่ใช่ กลายเป็นสัมปทานจำแลง คือ ระบบแบ่งปันผลผลิต หากมีการขุดน้ำมันขึ้นมาจะมีการแบ่งปัน โดยรัฐจะตรวจนับปริมาณปิโตรเลียมแล้วแบ่งให้เอกชน แต่กฎหมายที่กระทรวงพลังงานเสนอ กลายเป็นว่าเอกชนเอาปิโตรเลียมไปขายทั้งหมด แล้วแบ่งเงินให้รัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคประชาชนกังวลอย่างยิ่ง พลเมืองควรจะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ เพราะด้านพลังงานมีผลกระทบต่อประชาชนทุกคน ทั้งเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ คปพ.จึงต้องมายื่นหนังสือต่อประธาน สนช.ขอให้ถอนร่างของกระทรวงพลังงานออกไป และควรมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมายกร่างกฎหมายใหม่ ภายใต้การศึกษาของคณะกรรมาธิการของ พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์
ด้านนายพรเพชร กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการเสนอร่างฉบับกระทรวงพลังงานมาที่ สนช. และว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ต่างๆ ของ สนช.จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก โดยจะต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง และร่วมเป็นกรรมาธิการ เพื่อทำร่างกฎหมายให้ดีที่สุด
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. คปพ.ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ถอนร่างกฎหมายดังกล่าวออกจากการพิจารณาของกฤษฎีกาทันที เนื่องจากทั้งสองร่างฯ ยังไม่ผ่านการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน และมีเนื้อหาในลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทพลังงานของเอกชน เปิดช่องให้มีการทุจริต ให้อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติใช้ดุลพินิจโดยปราศจากการควบคุมตรวจสอบในการกำหนดวิธีการสำหรับการยื่นข้อเสนอและตกลงทำสัญญา มีการใช้ถ้อยคำอำพรางเพื่อใช้ระบบสัมปทานปิโตรเลียมแบบเดิม ซึ่งรัฐและประชาชนจะเสียเปรียบบริษัทผู้ได้รับสัมปทาน
นอกจากนี้ คปพ.ได้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีแสดงความจริงใจด้วยการปฏิบัติตามพันธะสัญญาที่มีต่อ คปพ.ตามที่ได้เกษียณหนังสือเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2558 ว่า “ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในความโปร่งใสและเป็นธรรม” ด้วยการทบทวนให้มีการถอนร่างกฎหมายทั้งสองฉบับออกจากการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยทันที และขอให้นำร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการปิโตรเลียม และร่างคำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่องการจัดหาทรัพยากรปิโตรเลียมในราชอาณาจักรของ คปพ. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ และจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ในร่างกฎหมายของภาคประชาชนดังกล่าวต่อไป
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. พูดเหมือนส่งสัญญาณจะไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับกระทรวงพลังงาน โดยพูดถึงข้อเรียกร้องของ คปพ.ที่ขอให้ถอนร่างดังกล่าวว่า เรื่องนี้ต้องถาม สนช.ว่าเขาจะว่าอย่างไร แต่ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้มีการชี้แจงและตอบปัญหาต่างๆ อยู่ตลอด และหากมัวตามใจกลุ่มต่างๆ ที่ออกมาเรียกร้อง อะไรๆ ก็คงไม่เกิดขึ้นสักอย่าง
4.รัฐบาลยอมผ่อนคลาย จัดชุดเคลื่อนที่ให้บริการเบ็ดเสร็จ 22 จังหวัดชายฝั่ง แก้ปัญหาเรือประมงผิดกฎหมาย 6-15 ก.ค.นี้!
หลังจากรัฐบาลเริ่มบังคับใช้กฎหมายจับกุมเรือประมงผิดกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและขาดการควบคุม(ไอยูยู) หรือใบเหลืองธุรกิจประมงของสหภาพยุโรป(อียู) ส่งผลให้กลุ่มผู้ประกอบการประมงหลายจังหวัดหยุดออกเรือ เพราะเป็นที่มีใบอนุญาตผิดประเภทหรือไม่มีอาชญาบัตร พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนผันการจับกุมเรือประมงผิดกฎหมายออกไปอีกระยะหนึ่ง โดยอ้างว่าแก้ปัญหาไม่ทันนั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 8 ก.ค. พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยถึงการช่วยเหลือผ่อนปรนเรือประมงที่ไม่สามารถออกทำการประมงได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. เพราะยังไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายว่า รัฐบาลได้จัดชุดเคลื่อนที่ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จไปในพื้นที่ 22 จังหวัดชายฝั่ง เพื่อให้บริการ ณ จุดที่เรือขึ้นท่า อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าของเรือไต๋เรือ และลูกเรือได้มาแสดงหลักฐานเอกสาร เพื่อให้สามารถออกทำการประมงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และว่า “นายกฯ ต้องการให้ทุกอย่างมีความชัดเจน และเอื้อต่อชาวประมงที่ประกอบอาชีพสุจริตมากที่สุด โดยชุดเคลื่อนที่จะดำเนินการระหว่างวันที่ 6 - 15 ก.ค.นี้ โดยแบ่งชุดปฏิบัติการออกเป็นหลายชุด ลงพื้นที่ครอบคลุมท่าเทียบเรือหลักทุกจังหวัด เพื่อให้บริการหลายเรื่อง อาทิ จดทะเบียนเรือ ต่อใบอนุญาตการใช้เรือ ออกใบประกาศนียบัตรนายท้ายเรือผู้ควบคุมเรือ การเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตใช้เรือ เป็นต้น”
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวด้วยว่า การดำเนินการของชุดเคลื่อนที่ดังกล่าว เป็นภารกิจที่บูรณาการหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า กรมประมง กสทช. รวมถึงหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ เชื่อว่า การอำนวยความสะดวกเช่นนี้จะช่วยให้เรือประมงจำนวนหนึ่งซึ่งไม่ได้ออกเรือแต่มีเอกสารหลักฐานครบถ้วนมาแสดง สามารถกลับไปออกเรือได้ตามปกติ ส่วนเรือที่ไม่มีเอกสาร หรือไม่สามารถดำเนินการได้ถูกต้อง ก็ต้องหยุดออกเรือ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย และเพื่อยกระดับการทำประมงของไทยและรักษาอุตสาหกรรมประมงในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาใบเหลืองอียู จะต้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและอุปกรณ์ประจำเรือ จำนวน 12 รายการ ประกอบด้วย 1. ทะเบียนเรือไทย 2. ใบอนุญาตใช้เรือ 3. ใบอาชญาบัตร หรือใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมง 4. สมุดบันทึกการทำประมง หรือ LOG BOOK 5. บัตรประชาชนไต๋เรือ 6. บัตรประชาชนนายท้ายเรือ 7. บัตรประชาชนช่างเครื่อง 8. ทะเบียนลูกจ้าง 9. บัตรสีชมพู 10. สัญญาจ้าง 11. ใบประกาศนายท้ายเรือ 12. ใบประกาศช่างเครื่อง
5.ศาลสืบพยานนัดแรกคดีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวอังกฤษที่เกาะเต่า ด้าน “บีบีซี” ชี้ดีเอ็นเอหลักฐานสำคัญสูญหาย ขณะที่ ผบ.ตร.ยันไม่หาย แค่เข้าใจผิด!
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ศาลจังหวัดเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ได้สืบพยานนัดแรกคดีฆาตกรรม น.ส.ฮานนาห์ วิคอตอเรีย วิทเธอริดจ์ และนายเดวิด วิลเลียม มิลเลอร์ 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ บนเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 15 ก.ย.2557 โดยผู้ต้องหาชาวเมียนมา 2 คน คือ นายเวพิว หรือวิน อายุ 21 ปี และนายซอลิน หรือโซเรน อายุ 21 ปี ได้ถูกนำตัวจากเรือนจำ อ.เกาะสมุย มาร่วมฟังการพิจารณาคดี ท่ามกลางสำนักข่าวจากประเทศอังกฤษและเมียนมามารอทำข่าวจำนวนมาก นอกจากนี้บิดามารดาและน้องสาวของผู้เสียชีวิต รวมทั้งเจ้าหน้าที่สถานทูตอังกฤษได้เดินทางมาฟังการสืบพยานทั้งสองฝ่ายด้วย
ด้านนายนคร ชมพูชาติ หัวหน้าทีมทนายความของผู้ต้องหาจากสภาทนายความ เผยว่า ยังคงเชื่อมั่นว่าผู้ต้องหาทั้ง 2 คนเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยทีมทนายของผู้ต้องหาได้สืบหาพยานหลักฐานในคดีนี้ เพื่อนำมาแก้ต่างให้แก่ผู้ต้องหาแล้ว และว่า ในการสืบพยานนัดแรกนี้ ทีมทนายจะฟังคำเบิกความของพยานฝ่ายโจทก์จำนวน 5 ปาก และฟังคำวินิจฉัยของศาล ที่ทีมทนายฝ่ายจำเลยยื่นขอตรวจหลักฐานตัวอย่างผลตรวจดีเอ็นเอของผู้ต้องหาทั้ง 2 คน ที่ทางอัยการนำมาเป็นหลักฐานในการดำเนินคดี 2 ผู้ต้องหา โดยศาลนัดฟังว่าจะอนุญาตให้ฝ่ายจำเลยตรวจสอบหลักฐานที่เป็นผลตรวจดีเอ็นเอหรือไม่
วันต่อมา(9 ก.ค.) ศาลได้นัดสืบพยานโจทก์เป็นวันที่ 2 โดยนำพยานขึ้นเบิกความ 4 ปาก ประกอบด้วย นายโอ ชาวเมียนมา คนสวนของบังกะโลอินทัชใกล้จุดเกิดเหตุ ซึ่งเป็นผู้นำจอบขุดดินไปทิ้งไว้บริเวณสวนหย่อมริมชายหาดจนกลายเป็นอาวุธที่คนร้ายใช้ก่อเหตุ แต่เนื่องจากติดขัดเรื่องล่ามแปลภาษา นายโอ จึงไม่สามารถเบิกความต่อศาลได้ ส่วนพยานอีก 2 ปาก คือ นายสตีเฟ่น มิสเชล ชาวต่างชาติที่ทำงานบนเกาะเต่า และนายพุฒิพล โชติช่วง ก็ไม่พร้อมเบิกความในวันดังกล่าวเช่นกัน อัยการจึงนำสืบพยานได้เพียงปากเดียว คือ น.ส.ปรัชญา ศรีอ่อน โดยเบิกความระบุว่า เห็นชาย 3 คนนั่งเล่นกีตาร์ร้องเพลงอยู่บริเวณขอนไม้ริมหาดทรายรีจุดเกิดเหตุ แต่ไม่ได้สนใจอะไร กระทั่งมาทราบข่าวในเช้าวันรุ่งขึ้นว่าเกิดการฆาตกรรมนักท่องเที่ยว
ด้านนายนคร ชมพูชาติ ทีมทนายฝ่ายจำเลย กล่าวว่า การสืบพยานในวันดังกล่าวเป็นการยืนยันว่า มีคนเล่นกีตาร์บนขอนไม้ใกล้จุดเกิดเหตุ ซึ่งทางอัยการโจทก์พยายามนำสืบยืนยันว่าเป็นจำเลย แต่รายละเอียดยังไม่ชัดเจนเรื่องเวลาและจำนวนคน ซึ่งยังขัดแย้งกัน ส่วนที่จำเลยขอนำผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบหลักฐานการชันสูตรศพผู้ตาย รวมถึงวัตถุพยานต่างๆ นายนคร บอกว่า อยู่ระหว่างรอประสานงานกับทางพนักงานสอบสวนอีกครั้ง
เป็นที่น่าสังเกตว่า บีบีซีรายงานเมื่อวันที่ 9 ก.ค.โดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.สมศักดิ์ ที่สืบสวนคดีเกาะเต่าว่า ตำรวจไทยยอมรับว่าไม่สามารถทดสอบซ้ำหลักฐานดีเอ็นเอในคดีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษบนเกาะเต่าได้ เพราะมันสูญหายไปแล้ว โดยตัวอย่างดีเอ็นเอที่หายไป รวมถึงตัวอย่างเส้นผมที่พบในมือของ น.ส.วิทเธอริดจ์ด้วย
โจนาห์ ฟีเชอร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซี รายงานจากเกาะสมุยว่า หลักฐานดีเอ็นเอดูเหมือนจะเป็นหลักฐานที่แน่นหนาที่สุดในคดีนี้ที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและสับสน แต่ตอนนี้มันก็ไม่สามารถนำไปตรวจสอบซ้ำอย่างอิสระอีกแล้ว และว่า ข่าวนี้ยิ่งสนับสนุนคำโต้แย้งของผู้คนบางส่วนที่เชื่อว่าผู้ถูกกล่าวหาถูกจัดฉากโดยเจ้าหน้าที่ไทย
ด้าน พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รีบออกมาปฏิเสธว่า หลักฐานดีเอ็นเอในคดีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษบนเกาะเต่าไม่ได้สูญหาย แต่เป็นความเข้าใจผิดของสื่อต่างชาติที่ไปสัมภาษณ์พนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนบอกไปว่า วัตถุพยานในคดีไม่มีเก็บไว้ที่พนักงานสอบสวน เพราะในทางปฏิบัติ หลังจากมีการเก็บหลักฐานวัตถุพยานในคดีที่ต้องตรวจหาดีเอ็นเอ พนักงานสอบสวนจะต้องส่งไปยังสถาบันนิติเวชวิทยา ซึ่งจะตรวจสอบว่า วัตถุพยานที่ได้รับมา มีดีเอ็นเอตรงกับตัวอย่างดีเอ็นเอของผู้ต้องหาหรือไม่ ซึ่งข้อมูลทุกอย่างจะถูกบันทึกไว้ในเครื่องตรวจดีเอ็นเอ จากนั้นสถาบันนิติเวชฯ จะส่งผลการตรวจพิสูจน์ให้พนักงานสอบสวน จึงไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องเก็บหลักฐานเหล่านั้นไว้ และว่า เมื่อทนายความของผู้ต้องหาร้องขอต่อศาลเพื่อขอวัตถุพยานที่เกี่ยวข้องกับดีเอ็นเอเพื่อให้หน่วยงานอื่นตรวจสอบ แต่พนักงานสอบสวนตอบว่าไม่มี ไม่ได้หมายความว่าวัตถุพยานในคดีนี้สูญหาย “กรณีดังกล่าวเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของผู้สื่อข่าวต่างประเทศ บางครั้งผู้สื่อข่าวต่างชาติที่มาคุยกับตำรวจ ภาษาไทยอ่อนแอ เลยเข้าใจผิดๆ เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรหาย...”
ผู้สื่อข่าวถามว่า การจะขอตรวจพิสูจน์วัตถุพยานที่เกี่ยวข้องกับดีเอ็นเอของผู้ต้องหาใหม่ สามารถทำได้หรือไม่ พล.ต.อ.สมยศ บอกว่า ขึ้นอยู่กับศาลว่าจะวินิจฉัยอย่างไร แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อทนายความผู้ต้องหาร้องขอมา แล้วตำรวจจะต้องส่งให้ ไม่ใช่หน้าที่
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนได้แถลงต่อศาลในการนัดสืบพยานวันที่สามเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ว่า วัตถุพยานบางอย่างในการตรวจนั้น อาจจะหมดไปแล้ว ตามหลักทฤษฎีการตรวจ ไม่ใช่หายไป พร้อมยกตัวอย่างสิ่งที่หมดไป เช่น สำลีที่ป้าย ส่วนสิ่งที่ยังมีแน่นอนคือ จอบ ที่สามารถตรวจดีเอ็นเอเพิ่มเติมอีกได้
ด้านนายธวัชชัย เสียงแจ้ว อธิบดีอัยการภาค 8 ได้ชี้แจงกรณีขอเลื่อนสืบพยานโจทก์ 3 ปากออกไป ประกอบด้วย นายโอ สัญชาติเมียนมา ,นายสตีเฟ่น มิสเชล ไม่ทราบสัญชาติ และนายพุฒิพล โชติช่วง ว่า เนื่องจากพยานแวดล้อมทั้ง 3 คน ยังไม่พร้อมที่จะให้ปากคำ ดังนั้นทางทีมอัยการที่ดูแลคดีนี้จะนัดให้บุคคลทั้งสามมาเป็นพยานในโอกาสต่อไป