คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.คสช.-ครม.แก้ รธน.ชั่วคราว เปิดทางทำประชามติ-เปิดช่องนักการเมืองเคยถูกตัดสิทธิ นั่ง รมต.ได้ ด้าน กกต.เคาะวันประชามติ 10 ม.ค.59 !
เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่าง คสช.กับคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่ทำเนียบรัฐบาล หลังประชุม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ชั่วคราว) พ.ศ.2557 ไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ตามมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม 7 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ให้แก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ สนช. ซึ่งเดิมระบุว่า ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง แก้เป็น ไม่อยู่ในระหว่างการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะส่งผลให้คนที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและพ้นโทษดังกล่าวแล้ว สามารถเข้ามาเป็น สนช. และกรรมการอื่น หรือแม้แต่เป็น ครม.ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่ เนื่องจากมองว่า หากห้ามผู้ที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิไม่ให้เข้ามาเป็น สนช. จะเหมือนไม่ได้รับความเป็นธรรม และดูจะไม่ค่อยปรองดองเท่าที่ควร แต่กรณีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริต
2.ตำแหน่งบางตำแหน่งที่ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากแต่ละปีมีจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นภาระมากเกินไป จึงแก้ไขให้อะไรก็ตามที่ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณ นอกจากการถวายสัตย์ฯ ต่อหน้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังสามารถถวายสัตย์ฯ ต่อหน้ารัชทายาทหรือผู้แทนพระองค์ได้
3.ได้มีการขยายเวลาการทำงานให้กรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ จากเดิมที่ต้องพิจารณาข้อแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค. คสช.-ครม.มองว่า เวลาดังกล่าวกระชั้นชิดเกินไป จึงขยายเวลาให้อีกไม่เกิน 30 วัน รวมเป็น 90 วัน โดยให้ กมธ.ยกร่างฯ เป็นผู้มีมติว่าจะขยายเวลาหรือไม่ กี่วัน แล้วแจ้งให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) รับทราบ
4.เมื่อ สปช.เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ต้องมีการนำร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กำหนดหลักเกณฑ์ กติกา เงื่อนไข และผ่านความเห็นชอบจาก สนช. แต่ถ้ามีการขัดขวางการทำประชามติ กกต.ไม่สามารถกำหนดโทษได้ ต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 มาบังคับใช้ ส่วนจะทำประชามติเมื่อใดนั้น กำหนดให้ต้องมีการแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนผู้มีสิทธิให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 80 หรือประมาณ 19 ล้านครัวเรือน จากนั้น กกต.จะเป็นผู้กำหนดวันออกเสียงประชามติ ต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่ไม่ช้ากว่า 45 วัน
นอกจากนี้ยังเปิดทางให้มีการตั้งคำถามในการทำประชามติได้หลายคำถาม นอกเหนือจากถามว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ โดย สปช.และ สนช.สามารถทำคำถามเข้ามาได้ฝ่ายละ 1 คำถาม จากนั้นส่งให้ ครม. ถ้า ครม.เห็นชอบ ก็จะให้ กกต.จัดทำประชามติในคราวเดียวกัน แต่ถ้าผลของประชามติของคำถามอื่น ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ให้ กมธ.ยกร่างฯ ปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับคำถามอื่นภายใน 30 วัน และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสอดคล้องกับประชามติหรือไม่ จากนั้นส่งให้นายกฯ ทูลเกล้าฯ
5.เมื่อ สปช.ลงมติแล้ว ไม่ว่าจะลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ถือว่าภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยุบ สปช. พร้อมทั้งให้ตั้งสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ มีสมาชิกไม่เกิน 200 คน นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง ไม่ต้องนำความขึ้นทูลเกล้าฯ หากเคยเป็น สปช.ชุดเดิมก็ไม่เป็นไร โดยให้สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศทำหน้าที่เสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิรูปเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญอีก โดยอายุของสภาขับเคลื่อนฯ จะมีอายุตามที่รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขใหม่กำหนด
6.ถ้า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ 36 คนสิ้นสุดลงไม่ว่ากรณีใด ให้ตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน กรรมการ 20 คน อาจตั้ง กมธ.ยกร่างฯ คนเดิมได้ด้วย เพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรับฟังความเห็นประชาชนภายใน 180 วัน เมื่อร่างเสร็จให้ทำประชามติอีกครั้ง ทั้งนี้ หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ อาจจะมีการหยิบยกรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งขึ้นมาพิจารณา
7.ให้แก้ไขถ้อยคำ เลขมาตราที่คลาดเคลื่อนในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว คาดว่าจะส่งให้ประธาน สนช.พิจารณาได้ภายใน 1-2 วัน โดย สนช.ไม่สามารถปรับแก้ร่างนี้ได้ แค่เสนอแนะและตั้งข้อสังเกตได้เท่านั้น ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ ยังคงมี 48 มาตรา ซึ่งมาตรา 44 ก็ยังคงอยู่
ด้านนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เผยเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ว่า สนช.ได้รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราววจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ซึ่งมาตรา 46 ของรัฐรรมนูญชั่วคราว กำหนดให้ สนช.พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับร่าง หรือภายในวันที่ 25 มิ.ย. ดังนั้นจึงได้นัดสมาชิก สนช.พิจารณาเรื่องดังกล่าวในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ โดยจะเป็นการพิจารณา 3 วาระรวด และตั้งคณะกรรมาธิการเต็มสภา โดยจะเชิญตัวแทนจาก ครม.และ คสช. ซึ่งมีอำนาจเต็มในการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมด้วย
ส่วนการลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบนั้น นายพรเพชร กล่าวว่า ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ หรือ 110 คนขึ้นไปจาก 220 คน หากเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งถือว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ตกไป ส่วนการลงคะแนนจะใช้วิธีขานชื่อเรียงตามตัวอักษร หากร่างรัฐธรรมนูญขอแก้ไขผ่านความเห็นชอบก็จะส่งให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป
ด้าน พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการทำงานของ กมธ.ยกร่างฯ หลังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขยายเวลาทำงานให้ กมธ.ยกร่างฯ อีก 30 วันว่า หาก กมธ.ได้เวลาทำงานเพิ่ม กมธ.ยกร่างฯ จะส่งร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายให้ สปช.ในวันที่ 21 ส.ค. และ สปช.ลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้ในวันที่ 4 ก.ย.
ส่วนแนวโน้มเกี่ยวกับวันที่จะทำประชามตินั้น ล่าสุด นายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เผยว่า ทาง กกต.ได้เตรียมพร้อมแล้ว หาก สปช.ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 ก.ย. ทาง สปช.จะต้องส่งต้นฉบับของร่างรัฐธรรมนูญมาให้ กกต. จากนั้นวันที่ 30 ก.ย. กกต.จะต้องจัดหาโรงพิมพ์ที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพพอในการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ 19 ล้านครัวเรือน ให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน หรือภายในวันที่ 15 พ.ย. แล้วจึงทยอยแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนครบทุกครัวเรือนภายในวันที่ 30 พ.ย.เพื่อจะได้ศึกษาก่อนลงประชามติ จากนั้นจึงจะลงประชามติในวันที่ 10 ม.ค.2559
ทั้งนี้ นายศุภชัย ยืนยันด้วยว่า การตั้งคำถามในการทำประชามติ สามารถตั้งได้มากกว่า 1 คำถาม แต่ต้องเป็นคำถามที่ไม่ชี้นำหรือทำให้ประชาชนเกิดความสับสนหรือเข้าใจยาก หากมีคำถามไม่เหมาะสม กกต.อาจตั้งข้อสังเกตแจ้งให้ ครม.รับทราบได้
2.ตำรวจ รวบ “มนตรี โสตางกูร” กรมวังผู้ใหญ่อดีตพระวรชายาฯ ฐานแอบอ้างสถาบัน-ใช้ตำแหน่งแสวงหาประโยชน์ เจ้าตัวสารภาพทุกข้อกล่าวหา!
เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้นำทีมตำรวจแถลงข่าวกรณีศาลอาญา อนุมัติหมายจับนายมนตรี โสตางกูร อายุ 54 ปี กรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์อดีตพระวรชายา(ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี) ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ผู้ต้องหาตามหมายจับ ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นรัชทายาท , เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้ หรือหามาซึ่งทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ,เป็นเจ้าพนักงานเรียกรับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการใดในตำแหน่ง , เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 , 148 ,149 , 157 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ.2542 มาตรา 123 และ 123/1
พล.ต.อ.สมยศ เผยพฤติการณ์ของผู้ต้องหาว่า ขณะดำรงตำแหน่งกรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์อดีตพระวรชายา ได้แอบอ้างเบื้องสูงและใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง “โดยนายมนตรีได้แอบอ้างว่าเป็นคนรับใช้ใกล้ชิดในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไปขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) แต่งตั้งตนเองให้เป็นกรรมการในบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) การกระทำของนายมนตรีเป็นการแอบอ้าง ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่านายมนตรีเป็นคนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ”
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนได้เชิญนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที มาให้ข้อมูลถึงสาเหตุที่รัฐมนตรีทั้งสองได้ตั้งนายมนตรีดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง ซึ่งทั้งสองบอกว่า เชื่อว่าสิ่งที่นายมนตรีกล่าวอ้างเป็นความจริง พล.ต.อ.สมยศ ย้ำด้วยว่า นายมนตรีเข้าไปทำงานในวัง ตำแหน่งกรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์อดีตพระวรชายาฯ เป็นเรื่องที่พระวรชายาฯ เป็นคนเลือกให้นายมนตรีไปทำงานประจำพระองค์ มิได้เกี่ยวข้องใดๆ ในงานหรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แต่อย่างใด การกระทำของนายมนตรีจึงไม่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงหรือทำเพื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
นอกจากพฤติกรรมแอบอ้างเบื้องสูงเพื่อเข้าไปเป็นกรรมการของทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจแล้ว ยังพบข้อมูลว่า นายมนตรีมีการแอบอ้างเบื้องสูงในการเป็นนายหน้าซื้อขายที่ดิน มีการรับค่าตอบแทน ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นกว่าปกติ ถือว่าเป็นการแอบอ้างเบื้องสูงและตำแหน่งหน้าที่การงานไปแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองหรือพวกพ้อง เหตุเกิดในท้องที่ สน.ทองหล่อ และบางรัก
หลังศาลอนุมัติหมายจับนายมนตรี พล.ต.อ.สมยศ ได้ทำหนังสือถึงสำนักพระราชวัง เพื่อขอตัวนายมนตรีมาดำเนินคดี จากนั้นวันต่อมา(11 มิ.ย.) ตำรวจได้ไปรับตัวนายมนตรี ก่อนให้แพทย์ตรวจร่างกาย และนำตัวไปสอบสวนที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ทั้งนี้ ตำรวจได้สอบปากคำนายมนตรีนานกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา จากนั้นวันต่อมา(12 มิ.ย.) ตำรวจได้นำตัวนายมนตรี ไปขอศาลฝากขังผัดแรกเป็นเวลา 12 วัน(12-23 มิ.ย.) พร้อมคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูง และกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ด้านศาลอนุญาตให้ฝากขัง จากนั้นพนักงานสอบสวนได้นำตัวมนตรีไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพที่กระทรวงพลังงานและกระทรวงไอซีที
สำหรับประวัติคร่าวๆ ของนายมนตรี โสตางกูร หรือฉายา “คุณหลุยส์” ในแวดวงไฮโซ ผู้ต้องหาคดีนี้ จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , จบปริญญาโทด้านธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ธโรป สหรัฐอเมริกา เคยอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 9 มีประวัติการทำงานหลากหลาย เป็นอดีตกรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบของ ปตท. , กรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) , กรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาโทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ , กรรมการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ , กรรมการการประปาส่วนภูมิภาค , กรรมการบริหารการเคหะแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , กรรมการผู้จัดการบริษัท เพรสทิจ ไดเรคท์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด , กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด(มหาชน) ฯลฯ
ด้านนายปิยสวัสดิ์ อมระนันทน์ ประธานคณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เผยว่า ปัจจุบันนายมนตรีไม่ได้เป็นบอร์ด ปตท.แล้วตั้งแต่ปลายปี 2557 หลังขาดประชุม 2 ครั้ง ซึ่งผิดข้อกำหนดการเป็นบอร์ดของ ปตท. โดยขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งบอร์ดทำงานแทนนายมนตรีแล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในรายงานประจำปีของบริษัท ปตท.ระบุว่า เมื่อปี 2557 บอร์ดแต่ละคน ซึ่งรวมถึงนายมนตรี ได้รับค่าตอบแทนคนละ 2.6 ล้านบาทเศษ โดยแบ่งเป็นเงินโบนัสคนละ 1.8 ล้านบาทเศษ และเบี้ยประชุมกรรมการคนละเกือบ 8 แสนบาท
3.ฝนถล่มกรุง น้ำท่วมขังเกือบ 20 จุด สมาคมต้านโลกร้อนจี้นายกฯ ใช้ ม.44 ปลดผู้ว่าฯ กทม. ด้าน “สุขุมพันธุ์” บินด่วนจากเนเธอร์แลนด์กลับไทย!
เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ได้เกิดฝนตกหนักในกรุงเทพมหานครตั้งแต่เวลา 02.00-06.30 น. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังหลายพื้นที่ และการจราจรติดขัดอย่างหนัก ด้านนายสัญญา ชีนิมิตร ปลัดกรุงเทพมหานคร และนายกังวาฬ ดีสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ ได้นำเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจระบบระบายน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองเตย พร้อมเผยว่า ฝนตกหนักในกรุงเทพฯ วัดปริมาณฝนสูงสุดได้ที่ 141 มิลลิเมตร ที่บริเวณถนนพระราม 4 และพบว่า มีน้ำท่วมขังบนถนนสายหลัก 19 จุด เจ้าหน้าที่ได้ระดมกำลังเร่งระบายน้ำจนแห้งในเวลาประมาณ 09.30 น. เหลือเพียงในซอยย่อยที่ยังมีน้ำท่วมขัง ต้องใช้เวลาระบาย
ทั้งนี้ นายสัญญา เผยว่า อุปสรรคสำคัญในการระบายน้ำคือ มีขยะกีดขวางทางน้ำไหลจำนวนมาก ทั้งในท่อระบายน้ำ คลองลำราง สถานีสูบน้ำ และอุโมงค์ระบายน้ำ ต้องระดมกำลังเจ้าหน้าที่จัดเก็บตามสถานีสูบน้ำต่างๆ 300-400 คน และว่า หากฝนตกมากถึง 100 มิลลิเมตร ระบบต้องใช้เวลาในการระบายน้ำให้แห้งประมาณ 2 ชั่วโมง
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเกิดปัญหาน้ำท่วมขังถนนหลายจุด ประชาชนต่างถามหา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งนายสัญญา เผยว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ อยู่ระหว่างไปราชการที่เมืองเคลฟท์ และร็อตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับระบบระบายน้ำ ซึ่งเมืองเคลฟท์มีพื้นที่ลุ่มต่ำมาก แต่มีระบบระบายน้ำดีเป็นอันดับ 1 ของโลก อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯ กทม.ได้โทรศัพท์สอบถามถึงสถานการณ์เป็นระยะๆ
หลังเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและการจราจรติดขัด ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนไม่พอใจ และเรียกร้องให้มีการปลด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ออกจากผู้ว่าฯ กทม. โดยนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ในฐานะพลเมืองกรุงเทพฯ ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ปลดผู้ว่าฯ กทม.ออกทันที เนื่องจากเห็นว่า ฝนตกแค่ชั่วอึดใจ ก็เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ สะท้อนให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพและการเตรียมการที่ล้มเหลวของผู้บริหาร กทม.อย่างชัดแจ้ง ทั้งที่เพิ่งจะเข้าฤดูฝนเท่านั้น
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ ส่งสัญญาณไม่รับลูกปลดผู้ว่าฯ กทม. โดยบอก “ประชาชนต้องตรวจสอบ เพราะเป็นคนเลือกท่านผู้ว่าฯ มา ท่านเป็นคนเลือกไม่ใช่เหรอ ท่านจะให้ผมใช้อำนาจอย่างเดียว มันก็วุ่นวายไปหมด ก็ไปดูสิ ถ้าเขาทำดี วันหน้าเลือกใหม่ วันนี้ไม่ดี ก็สั่งข้าราชการประจำในส่วนของปลัด กทม.และมหาดไทยมาช่วยกันว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร”
พล.อ.ประยุทธ์ บอกด้วยว่า ได้สั่งให้ คสช.ตั้งหน่วยติดตามสถานการณ์เรื่องน้ำท่วมในพื้นที่ กทม.และต่างจังหวัด ดูว่ามีพื้นที่เสี่ยงตรงไหน ให้หน่วยงานรับผิดชอบไป เตรียมรถทหารไว้คอยบริการประชาชน ไม่อยากให้การจราจรติดขัดครึ่งวันหรือทั้งวัน
เป็นที่น่าสังกตว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้บินด่วนจากเนเธอร์แลนด์กลับไทยก่อนกำหนดเมื่อบ่ายวันที่ 10 มิ.ย. จากนั้นได้ประชุมด่วนคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนเปิดแถลงว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในครั้งนี้ ในภาพรวมสามารถระบายน้ำได้เร็วขึ้นกว่าเดิม และว่า ในอดีตมีจุดอ่อนน้ำท่วม 37 จุด แต่แก้ไขเหลือ 22 จุด ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ ล่าสุดได้มีสถานีเรดาห์แห่งใหม่ที่มีความแม่นยำ จะทำระบบแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้าให้วางแผนการเดินทางเมื่อเกิดฝนตก นอกจากนี้ยังมีแผนป้องกันแก้ไขน้ำท่วม โดยของบ 22,000 ล้านบาทจากรัฐบาล หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลชุดนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า รู้สึกอย่างไรที่กระแสสังคมไม่พอใจการทำงานของผู้ว่าฯ กทม.และเสนอให้นายกฯ ใช้มาตรา 44 ปลดออกจากตำแหน่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า “ผมเป็นคนทำงาน ขอทำงาน ไม่อยากมีเรื่องกับใคร... กทม.เป็นเมืองน้ำ เราหนีน้ำไม่พ้น ทำได้แค่ให้น้ำระบายเร็วขึ้น อยากขอให้ประชาชนเข้าใจ”
จากนั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ประชุมร่วมกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังประชุม พล.อ.อนุพงษ์ แถลงว่า ปัญหาหลักที่ต้องการให้ กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข ได้แก่ 1.ปัญหาขยะ 2.หากฝนตกจนเกิดน้ำท่วมขังบนผิวจราจร ต้องจัดกำลังตำรวจแก้ปัญหาระบายรถตามจุดสำคัญ 300 แยก ส่วนพื้นที่วิกฤตต้องให้ทหารเข้าช่วยเหลือ 3.หากเกิดอุบัติเหตุหรือรถเสีย ให้ประสานสถาบันอาชีวศึกษา จัดชุดเคลื่อนที่เข้าช่วยเหลือ โดยตั้งเป้า หากเกิดฝนตกหนักเหมือนเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ประชาชนต้องไม่ประสบปัญหาการจราจรติดขัดบนท้องถนนเกิน 1 ชั่วโมง หากฝนตกช่วงกลางคืน น้ำจะต้องแห้งก่อนเวลา 05.00 น. หากพื้นที่ใดไม่แห้ง ตำรวจจะปิดถนนดังกล่าวเพื่อระบายน้ำ พร้อมแจ้งประชาชนให้หลีกเลี่ยงเส้นทางและประสานทหารจัดรถยกสูงรับส่งประชาชน
4.“สมยศ” ปัดขัดแย้ง “ชัยยะ” เรื่องถอดยศ “ทักษิณ” เผย ได้รับรายงานรอบสามจาก คกก.แล้ว เบื้องต้นค่อนข้างครบถ้วน แต่โยนฝ่ายกฎหมายดูอีกที!
ความคืบหน้าเกี่ยวกับการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังคณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับการถอดยศตำรวจที่ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตั้งขึ้น โดยมี พล.ต.อ.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล ที่ปรึกษา(สบ 10) เป็นประธาน ได้มีมติเอกฉันท์ให้ถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจากเข้าเกณฑ์ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศ คือ ต้องคำพิพากษาศาลฎีกาฯ ให้จำคุก 2 ปีคดีทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาฯ และอยู่ระหว่างหลบหนีคำพิพากษาของศาล ซึ่งมีหมายจับหลายใบ จากนั้นคณะกรรมการฯ ชุด พล.ต.อ.ชัยยะ ได้ส่งรายงานมติถอดยศดังกล่าวให้ พล.ต.อ.สมยศ แต่ พล.ต.อ.สมยศ ตีกลับ โดยอ้างว่าคณะกรรมการยังไม่มีการลงนามรับรองมติ และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ส่งให้ พล.ต.อ.สมยศ เป็นรอบที่สอง พล.ต.อ.สมยศ ก็ตีกลับอีก โดยอ้างว่า องค์ประกอบของมติที่ให้ถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ครบ โดย พล.ต.อ.สมยศ ขีดเส้นให้คณะกรรมการส่งรายงานกลับมาภายในวันที่ 11 มิ.ย.
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. พล.ต.อ.สมยศ เผยว่า พล.ต.อ.ชัยยะ ได้เข้ามาพูดคุยกับตนว่า ถ้าสรุปองค์ประกอบทุกอย่างที่ตนสั่งไปเสร็จเร็ว ก็จะรีบนำมาเสนอตนก่อนวันที่ 11 มิ.ย. ทั้งนี้ พล.ต.อ.สมยศ ยืนยันว่า ตนกับ พล.ต.อ.ชัยยะไม่เคยขัดแย้งกันเรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยมีการถามไถ่พูดคุยกันอยู่ตลอด ตนก็ขอให้ทำงานอย่างละเอียดรอบครอบ ถ้าทำตามทุกองค์ประกอบที่ตนสั่งไปครบถ้วนตามหลักกฎหมายแล้วผิดจริง ตนก็เซ็นถอดยศได้เลย ไม่มีการเล่นแง่แน่นอน ไม่ได้มีใครมาสั่งตนให้ดึงเวลา ถ้าส่งเรื่องมาครบถ้วนตามองค์ประกอบที่สั่งการไป ก็ดึงเวลาไม่ได้ ต้องตัดสินเลย
ต่อมา เมื่อถึงกำหนดที่ พล.ต.อ.สมยศ ขีดเส้น(11 มิ.ย.) พล.ต.อ.สมยศ เผยว่า ได้รับมติของคณะกรรมการชุด พล.ต.อ.ชัยยะ แล้ว ซึ่งตนได้ดูรายงานสรุปเบื้องต้นแล้วค่อนข้างครบถ้วน แต่เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดและถูกต้องยิ่งขึ้น จึงมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายไปดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดความถูกต้องอีกครั้ง หากครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว จะได้ทำบันทึกถึงสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนภายใน 1-2 วัน ส่วนขั้นตอนต่างๆ จะแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย ตนไม่อยากไปเร่งรัดหรือกดดันการทำงาน
5.“สรยุทธ” ปัดจ่ายเช็คให้อดีตพนักงาน อสมท เพื่อโกงค่าโฆษณา ด้านศาลนัดสืบพยาน 17 ก.ย.นี้!
เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ศาลอาญา ได้นัดตรวจพยานหลักฐานและสอบคำให้การคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 เป็นโจทก์ฟ้องนางพิชชาภา เอี่ยมสะอาด อดีตพนักงานจัดทำคิวโฆษณาของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดย น.ส.อังคนา วัฒนมงคลศิลป์ และ น.ส.สุกัญญา แซ่ลิ่ม ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไร่ส้ม, นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรชื่อดัง และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไร่ส้ม และ น.ส.มณฑา ธีระเดช เจ้าหน้าที่บริษัท ไร่ส้ม เป็นจำเลย 1 - 4 ในความผิดฐานเป็นพนักงานเรียกรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งหน้าที่ ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่, เป็นพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่องค์กร, เป็นพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และสนับสนุนพนักงานกระทำความผิดดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 6, 8 และ 11
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2558 ว่า เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2548 - 28 เม.ย.2549 นางพิชชาภา จำเลยที่ 1 ได้จัดทำคิวโฆษณารวมในรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต ไม่รายงานการโฆษณาเกินเวลาเพื่อเรียกเก็บค่าโฆษณาเกินเวลาจากบริษัท ไร่ส้ม จำนวน 17 ครั้ง ทำให้ อสมท เสียหาย 138,790,000 บาท และยังได้เรียกรับเอาเงิน 658,996 บาท จากจำเลยที่ 2 - 4 เพื่อเป็นการตอบแทนที่นางพิชชาภา ไม่รายงานการโฆษณาด้วย
ทั้งนี้ ศาลได้อ่านคำฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ฟัง ซึ่งจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ พร้อมยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติม ขณะที่ศาลได้ชี้แจงคู่ความว่า คดีนี้เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้น ตามกฎหมายศาลจะยึดสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช. เป็นหลัก โดยจำเลยสามารถนำพยานหลักฐานมานำสืบโต้แย้งได้ โดยอัยการโจทก์แถลงขอสืบพยานตามสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช. ซึ่งมีผู้บริหารและพนักงาน อสมท ชุดปัจจุบันและอดีตที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาและจัดคิวโฆษณา รวม 19 ปาก
ขณะที่นางพิชชาภา จำเลยที่ 1 แถลงแนวทางต่อสู้ว่า ตนไม่มีอำนาจอนุมัติการโฆษณา และไม่เคยใช้น้ำยาลบคำผิดลบข้อความเกี่ยวกับการจัดคิวเวลาโฆษณา ส่วนเช็ค 6 ฉบับที่ได้รับนั้นเป็นค่าประสานงานคิวโฆษณาที่นอกเหนือจากหน้าที่ ไม่ใช่ค่าตอบแทนในการไม่ระบุการโฆษณาเกินเวลา โดยจะขอนำสืบพยาน 2 ปาก คือ จำเลยและพนักงาน อสมท ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลย
ส่วนบริษัท ไร่ส้ม จำเลยที่ 2 แถลงว่า ไม่เคยมอบให้ผู้ใดไปติดต่อเพื่อจัดคิวโฆษณาเกินเวลา และไม่เคยให้จำเลยที่ 1 ใช้น้ำยาลบคำผิดในเอกสารเกี่ยวกับการโฆษณา เช่นเดียวกับนายสรยุทธ จำเลยที่ 3 ที่แถลงว่า ไม่เคยรู้จักกับจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีหน้าที่อะไร และไม่เคยติดต่อให้ผู้ใดไม่รายงานโฆษณาที่เกินเวลา แต่ยอมรับว่า เช็ค 6 ฉบับที่จำเลยที่ 1 มี ได้ลงลายมือชื่อจำเลยที่ 3 จริง แต่เป็นเช็คที่ชำระค่าประสานงาน ไม่ใช่เงินที่ตอบแทนให้จำเลยที่ 1 ใช้น้ำยาลบคำผิดในเอกสารที่เกี่ยวกับการโฆษณา โดยจำเลยที่ 2 - 3 ขอสืบพยานทั้งหมด 25 ปาก แต่พยาน 9 ปากซ้ำกับพยานโจทก์ จึงเหลือพยานที่จะนำสืบ 16 ปาก
ขณะที่ น.ส.มณฑา จำเลยที่ 4 แถลงว่า เช็คที่ชำระให้จำเลยที่ 1 เป็นค่าประสานงานหรือค่านายหน้าในการหาโฆษณา ไม่เคยใช้ให้จำเลยที่ 1 ใช้น้ำยาลบคำผิดในเอกสารที่เกี่ยวกับการโฆษณา โดยจำเลยที่ 4 ขอสืบพยาน 8 ปาก แต่มีพยาน 2 ปากที่ซ้ำกับพยานโจทก์ จึงเหลือพยานที่จะต่อสู้คดี 6 ปาก
ด้านศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นควรให้อัยการโจทก์นำสืบพยาน 19 ปาก โดยใช้เวลา 4 นัด ในวันที่ 17-18 ก.ย. และ 29-30 ก.ย. นี้ ส่วนจำเลยที่ 1-4 ให้สืบพยาน 5 นัด ในวันที่ 2, 8 ต.ค. และ 28-30 ต.ค. 2558 พร้อมกำชับให้คู่ความนำพยานมาให้พร้อมนำสืบ ทั้งนี้ ศาลได้นัดคู่ความเพื่อตรวจความพร้อมของหลักฐานและเอกสารอีกครั้งวันที่ 17 ส.ค.นี้ เวลา 09.00 น.
ขณะที่นายสรยุทธ กล่าวว่า คดีนี้ไม่ได้ขอศาลสืบพยานลับหลัง โดยหลังจากจัดรายการเสร็จ ตนพร้อมเดินทางมาศาลเพื่อฟังคดีเองทุกนัด
1.คสช.-ครม.แก้ รธน.ชั่วคราว เปิดทางทำประชามติ-เปิดช่องนักการเมืองเคยถูกตัดสิทธิ นั่ง รมต.ได้ ด้าน กกต.เคาะวันประชามติ 10 ม.ค.59 !
เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่าง คสช.กับคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่ทำเนียบรัฐบาล หลังประชุม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ชั่วคราว) พ.ศ.2557 ไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ตามมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม 7 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ให้แก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ สนช. ซึ่งเดิมระบุว่า ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง แก้เป็น ไม่อยู่ในระหว่างการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งจะส่งผลให้คนที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและพ้นโทษดังกล่าวแล้ว สามารถเข้ามาเป็น สนช. และกรรมการอื่น หรือแม้แต่เป็น ครม.ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่ เนื่องจากมองว่า หากห้ามผู้ที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิไม่ให้เข้ามาเป็น สนช. จะเหมือนไม่ได้รับความเป็นธรรม และดูจะไม่ค่อยปรองดองเท่าที่ควร แต่กรณีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริต
2.ตำแหน่งบางตำแหน่งที่ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากแต่ละปีมีจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อไม่ให้เป็นภาระมากเกินไป จึงแก้ไขให้อะไรก็ตามที่ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณ นอกจากการถวายสัตย์ฯ ต่อหน้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังสามารถถวายสัตย์ฯ ต่อหน้ารัชทายาทหรือผู้แทนพระองค์ได้
3.ได้มีการขยายเวลาการทำงานให้กรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ จากเดิมที่ต้องพิจารณาข้อแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค. คสช.-ครม.มองว่า เวลาดังกล่าวกระชั้นชิดเกินไป จึงขยายเวลาให้อีกไม่เกิน 30 วัน รวมเป็น 90 วัน โดยให้ กมธ.ยกร่างฯ เป็นผู้มีมติว่าจะขยายเวลาหรือไม่ กี่วัน แล้วแจ้งให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) รับทราบ
4.เมื่อ สปช.เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ต้องมีการนำร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กำหนดหลักเกณฑ์ กติกา เงื่อนไข และผ่านความเห็นชอบจาก สนช. แต่ถ้ามีการขัดขวางการทำประชามติ กกต.ไม่สามารถกำหนดโทษได้ ต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 มาบังคับใช้ ส่วนจะทำประชามติเมื่อใดนั้น กำหนดให้ต้องมีการแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนผู้มีสิทธิให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 80 หรือประมาณ 19 ล้านครัวเรือน จากนั้น กกต.จะเป็นผู้กำหนดวันออกเสียงประชามติ ต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่ไม่ช้ากว่า 45 วัน
นอกจากนี้ยังเปิดทางให้มีการตั้งคำถามในการทำประชามติได้หลายคำถาม นอกเหนือจากถามว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ โดย สปช.และ สนช.สามารถทำคำถามเข้ามาได้ฝ่ายละ 1 คำถาม จากนั้นส่งให้ ครม. ถ้า ครม.เห็นชอบ ก็จะให้ กกต.จัดทำประชามติในคราวเดียวกัน แต่ถ้าผลของประชามติของคำถามอื่น ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ให้ กมธ.ยกร่างฯ ปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับคำถามอื่นภายใน 30 วัน และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสอดคล้องกับประชามติหรือไม่ จากนั้นส่งให้นายกฯ ทูลเกล้าฯ
5.เมื่อ สปช.ลงมติแล้ว ไม่ว่าจะลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ถือว่าภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยุบ สปช. พร้อมทั้งให้ตั้งสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ มีสมาชิกไม่เกิน 200 คน นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง ไม่ต้องนำความขึ้นทูลเกล้าฯ หากเคยเป็น สปช.ชุดเดิมก็ไม่เป็นไร โดยให้สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศทำหน้าที่เสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิรูปเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญอีก โดยอายุของสภาขับเคลื่อนฯ จะมีอายุตามที่รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขใหม่กำหนด
6.ถ้า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ 36 คนสิ้นสุดลงไม่ว่ากรณีใด ให้ตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน กรรมการ 20 คน อาจตั้ง กมธ.ยกร่างฯ คนเดิมได้ด้วย เพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรับฟังความเห็นประชาชนภายใน 180 วัน เมื่อร่างเสร็จให้ทำประชามติอีกครั้ง ทั้งนี้ หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ อาจจะมีการหยิบยกรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งขึ้นมาพิจารณา
7.ให้แก้ไขถ้อยคำ เลขมาตราที่คลาดเคลื่อนในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว คาดว่าจะส่งให้ประธาน สนช.พิจารณาได้ภายใน 1-2 วัน โดย สนช.ไม่สามารถปรับแก้ร่างนี้ได้ แค่เสนอแนะและตั้งข้อสังเกตได้เท่านั้น ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนี้ ยังคงมี 48 มาตรา ซึ่งมาตรา 44 ก็ยังคงอยู่
ด้านนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เผยเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ว่า สนช.ได้รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราววจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ซึ่งมาตรา 46 ของรัฐรรมนูญชั่วคราว กำหนดให้ สนช.พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับร่าง หรือภายในวันที่ 25 มิ.ย. ดังนั้นจึงได้นัดสมาชิก สนช.พิจารณาเรื่องดังกล่าวในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ โดยจะเป็นการพิจารณา 3 วาระรวด และตั้งคณะกรรมาธิการเต็มสภา โดยจะเชิญตัวแทนจาก ครม.และ คสช. ซึ่งมีอำนาจเต็มในการตัดสินใจเข้าร่วมประชุมด้วย
ส่วนการลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบนั้น นายพรเพชร กล่าวว่า ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ หรือ 110 คนขึ้นไปจาก 220 คน หากเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งถือว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ตกไป ส่วนการลงคะแนนจะใช้วิธีขานชื่อเรียงตามตัวอักษร หากร่างรัฐธรรมนูญขอแก้ไขผ่านความเห็นชอบก็จะส่งให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป
ด้าน พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการทำงานของ กมธ.ยกร่างฯ หลังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขยายเวลาทำงานให้ กมธ.ยกร่างฯ อีก 30 วันว่า หาก กมธ.ได้เวลาทำงานเพิ่ม กมธ.ยกร่างฯ จะส่งร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายให้ สปช.ในวันที่ 21 ส.ค. และ สปช.ลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้ในวันที่ 4 ก.ย.
ส่วนแนวโน้มเกี่ยวกับวันที่จะทำประชามตินั้น ล่าสุด นายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เผยว่า ทาง กกต.ได้เตรียมพร้อมแล้ว หาก สปช.ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 ก.ย. ทาง สปช.จะต้องส่งต้นฉบับของร่างรัฐธรรมนูญมาให้ กกต. จากนั้นวันที่ 30 ก.ย. กกต.จะต้องจัดหาโรงพิมพ์ที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพพอในการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ 19 ล้านครัวเรือน ให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน หรือภายในวันที่ 15 พ.ย. แล้วจึงทยอยแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนครบทุกครัวเรือนภายในวันที่ 30 พ.ย.เพื่อจะได้ศึกษาก่อนลงประชามติ จากนั้นจึงจะลงประชามติในวันที่ 10 ม.ค.2559
ทั้งนี้ นายศุภชัย ยืนยันด้วยว่า การตั้งคำถามในการทำประชามติ สามารถตั้งได้มากกว่า 1 คำถาม แต่ต้องเป็นคำถามที่ไม่ชี้นำหรือทำให้ประชาชนเกิดความสับสนหรือเข้าใจยาก หากมีคำถามไม่เหมาะสม กกต.อาจตั้งข้อสังเกตแจ้งให้ ครม.รับทราบได้
2.ตำรวจ รวบ “มนตรี โสตางกูร” กรมวังผู้ใหญ่อดีตพระวรชายาฯ ฐานแอบอ้างสถาบัน-ใช้ตำแหน่งแสวงหาประโยชน์ เจ้าตัวสารภาพทุกข้อกล่าวหา!
เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้นำทีมตำรวจแถลงข่าวกรณีศาลอาญา อนุมัติหมายจับนายมนตรี โสตางกูร อายุ 54 ปี กรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์อดีตพระวรชายา(ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี) ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ผู้ต้องหาตามหมายจับ ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นรัชทายาท , เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้ หรือหามาซึ่งทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ,เป็นเจ้าพนักงานเรียกรับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการใดในตำแหน่ง , เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 , 148 ,149 , 157 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ.2542 มาตรา 123 และ 123/1
พล.ต.อ.สมยศ เผยพฤติการณ์ของผู้ต้องหาว่า ขณะดำรงตำแหน่งกรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์อดีตพระวรชายา ได้แอบอ้างเบื้องสูงและใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง “โดยนายมนตรีได้แอบอ้างว่าเป็นคนรับใช้ใกล้ชิดในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไปขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) แต่งตั้งตนเองให้เป็นกรรมการในบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) การกระทำของนายมนตรีเป็นการแอบอ้าง ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่านายมนตรีเป็นคนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ”
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนได้เชิญนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที มาให้ข้อมูลถึงสาเหตุที่รัฐมนตรีทั้งสองได้ตั้งนายมนตรีดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง ซึ่งทั้งสองบอกว่า เชื่อว่าสิ่งที่นายมนตรีกล่าวอ้างเป็นความจริง พล.ต.อ.สมยศ ย้ำด้วยว่า นายมนตรีเข้าไปทำงานในวัง ตำแหน่งกรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์อดีตพระวรชายาฯ เป็นเรื่องที่พระวรชายาฯ เป็นคนเลือกให้นายมนตรีไปทำงานประจำพระองค์ มิได้เกี่ยวข้องใดๆ ในงานหรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แต่อย่างใด การกระทำของนายมนตรีจึงไม่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงหรือทำเพื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
นอกจากพฤติกรรมแอบอ้างเบื้องสูงเพื่อเข้าไปเป็นกรรมการของทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจแล้ว ยังพบข้อมูลว่า นายมนตรีมีการแอบอ้างเบื้องสูงในการเป็นนายหน้าซื้อขายที่ดิน มีการรับค่าตอบแทน ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นกว่าปกติ ถือว่าเป็นการแอบอ้างเบื้องสูงและตำแหน่งหน้าที่การงานไปแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองหรือพวกพ้อง เหตุเกิดในท้องที่ สน.ทองหล่อ และบางรัก
หลังศาลอนุมัติหมายจับนายมนตรี พล.ต.อ.สมยศ ได้ทำหนังสือถึงสำนักพระราชวัง เพื่อขอตัวนายมนตรีมาดำเนินคดี จากนั้นวันต่อมา(11 มิ.ย.) ตำรวจได้ไปรับตัวนายมนตรี ก่อนให้แพทย์ตรวจร่างกาย และนำตัวไปสอบสวนที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ทั้งนี้ ตำรวจได้สอบปากคำนายมนตรีนานกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา จากนั้นวันต่อมา(12 มิ.ย.) ตำรวจได้นำตัวนายมนตรี ไปขอศาลฝากขังผัดแรกเป็นเวลา 12 วัน(12-23 มิ.ย.) พร้อมคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูง และกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ด้านศาลอนุญาตให้ฝากขัง จากนั้นพนักงานสอบสวนได้นำตัวมนตรีไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพที่กระทรวงพลังงานและกระทรวงไอซีที
สำหรับประวัติคร่าวๆ ของนายมนตรี โสตางกูร หรือฉายา “คุณหลุยส์” ในแวดวงไฮโซ ผู้ต้องหาคดีนี้ จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , จบปริญญาโทด้านธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ธโรป สหรัฐอเมริกา เคยอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 9 มีประวัติการทำงานหลากหลาย เป็นอดีตกรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบของ ปตท. , กรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) , กรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาโทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ , กรรมการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ , กรรมการการประปาส่วนภูมิภาค , กรรมการบริหารการเคหะแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , กรรมการผู้จัดการบริษัท เพรสทิจ ไดเรคท์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด , กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด(มหาชน) ฯลฯ
ด้านนายปิยสวัสดิ์ อมระนันทน์ ประธานคณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เผยว่า ปัจจุบันนายมนตรีไม่ได้เป็นบอร์ด ปตท.แล้วตั้งแต่ปลายปี 2557 หลังขาดประชุม 2 ครั้ง ซึ่งผิดข้อกำหนดการเป็นบอร์ดของ ปตท. โดยขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งบอร์ดทำงานแทนนายมนตรีแล้ว
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในรายงานประจำปีของบริษัท ปตท.ระบุว่า เมื่อปี 2557 บอร์ดแต่ละคน ซึ่งรวมถึงนายมนตรี ได้รับค่าตอบแทนคนละ 2.6 ล้านบาทเศษ โดยแบ่งเป็นเงินโบนัสคนละ 1.8 ล้านบาทเศษ และเบี้ยประชุมกรรมการคนละเกือบ 8 แสนบาท
3.ฝนถล่มกรุง น้ำท่วมขังเกือบ 20 จุด สมาคมต้านโลกร้อนจี้นายกฯ ใช้ ม.44 ปลดผู้ว่าฯ กทม. ด้าน “สุขุมพันธุ์” บินด่วนจากเนเธอร์แลนด์กลับไทย!
เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ได้เกิดฝนตกหนักในกรุงเทพมหานครตั้งแต่เวลา 02.00-06.30 น. ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังหลายพื้นที่ และการจราจรติดขัดอย่างหนัก ด้านนายสัญญา ชีนิมิตร ปลัดกรุงเทพมหานคร และนายกังวาฬ ดีสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ ได้นำเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจระบบระบายน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองเตย พร้อมเผยว่า ฝนตกหนักในกรุงเทพฯ วัดปริมาณฝนสูงสุดได้ที่ 141 มิลลิเมตร ที่บริเวณถนนพระราม 4 และพบว่า มีน้ำท่วมขังบนถนนสายหลัก 19 จุด เจ้าหน้าที่ได้ระดมกำลังเร่งระบายน้ำจนแห้งในเวลาประมาณ 09.30 น. เหลือเพียงในซอยย่อยที่ยังมีน้ำท่วมขัง ต้องใช้เวลาระบาย
ทั้งนี้ นายสัญญา เผยว่า อุปสรรคสำคัญในการระบายน้ำคือ มีขยะกีดขวางทางน้ำไหลจำนวนมาก ทั้งในท่อระบายน้ำ คลองลำราง สถานีสูบน้ำ และอุโมงค์ระบายน้ำ ต้องระดมกำลังเจ้าหน้าที่จัดเก็บตามสถานีสูบน้ำต่างๆ 300-400 คน และว่า หากฝนตกมากถึง 100 มิลลิเมตร ระบบต้องใช้เวลาในการระบายน้ำให้แห้งประมาณ 2 ชั่วโมง
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเกิดปัญหาน้ำท่วมขังถนนหลายจุด ประชาชนต่างถามหา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งนายสัญญา เผยว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ อยู่ระหว่างไปราชการที่เมืองเคลฟท์ และร็อตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับระบบระบายน้ำ ซึ่งเมืองเคลฟท์มีพื้นที่ลุ่มต่ำมาก แต่มีระบบระบายน้ำดีเป็นอันดับ 1 ของโลก อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯ กทม.ได้โทรศัพท์สอบถามถึงสถานการณ์เป็นระยะๆ
หลังเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและการจราจรติดขัด ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนไม่พอใจ และเรียกร้องให้มีการปลด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ออกจากผู้ว่าฯ กทม. โดยนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ในฐานะพลเมืองกรุงเทพฯ ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ปลดผู้ว่าฯ กทม.ออกทันที เนื่องจากเห็นว่า ฝนตกแค่ชั่วอึดใจ ก็เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ สะท้อนให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพและการเตรียมการที่ล้มเหลวของผู้บริหาร กทม.อย่างชัดแจ้ง ทั้งที่เพิ่งจะเข้าฤดูฝนเท่านั้น
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ ส่งสัญญาณไม่รับลูกปลดผู้ว่าฯ กทม. โดยบอก “ประชาชนต้องตรวจสอบ เพราะเป็นคนเลือกท่านผู้ว่าฯ มา ท่านเป็นคนเลือกไม่ใช่เหรอ ท่านจะให้ผมใช้อำนาจอย่างเดียว มันก็วุ่นวายไปหมด ก็ไปดูสิ ถ้าเขาทำดี วันหน้าเลือกใหม่ วันนี้ไม่ดี ก็สั่งข้าราชการประจำในส่วนของปลัด กทม.และมหาดไทยมาช่วยกันว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร”
พล.อ.ประยุทธ์ บอกด้วยว่า ได้สั่งให้ คสช.ตั้งหน่วยติดตามสถานการณ์เรื่องน้ำท่วมในพื้นที่ กทม.และต่างจังหวัด ดูว่ามีพื้นที่เสี่ยงตรงไหน ให้หน่วยงานรับผิดชอบไป เตรียมรถทหารไว้คอยบริการประชาชน ไม่อยากให้การจราจรติดขัดครึ่งวันหรือทั้งวัน
เป็นที่น่าสังกตว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้บินด่วนจากเนเธอร์แลนด์กลับไทยก่อนกำหนดเมื่อบ่ายวันที่ 10 มิ.ย. จากนั้นได้ประชุมด่วนคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนเปิดแถลงว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในครั้งนี้ ในภาพรวมสามารถระบายน้ำได้เร็วขึ้นกว่าเดิม และว่า ในอดีตมีจุดอ่อนน้ำท่วม 37 จุด แต่แก้ไขเหลือ 22 จุด ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ ล่าสุดได้มีสถานีเรดาห์แห่งใหม่ที่มีความแม่นยำ จะทำระบบแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้าให้วางแผนการเดินทางเมื่อเกิดฝนตก นอกจากนี้ยังมีแผนป้องกันแก้ไขน้ำท่วม โดยของบ 22,000 ล้านบาทจากรัฐบาล หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลชุดนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า รู้สึกอย่างไรที่กระแสสังคมไม่พอใจการทำงานของผู้ว่าฯ กทม.และเสนอให้นายกฯ ใช้มาตรา 44 ปลดออกจากตำแหน่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า “ผมเป็นคนทำงาน ขอทำงาน ไม่อยากมีเรื่องกับใคร... กทม.เป็นเมืองน้ำ เราหนีน้ำไม่พ้น ทำได้แค่ให้น้ำระบายเร็วขึ้น อยากขอให้ประชาชนเข้าใจ”
จากนั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้ประชุมร่วมกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังประชุม พล.อ.อนุพงษ์ แถลงว่า ปัญหาหลักที่ต้องการให้ กทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไข ได้แก่ 1.ปัญหาขยะ 2.หากฝนตกจนเกิดน้ำท่วมขังบนผิวจราจร ต้องจัดกำลังตำรวจแก้ปัญหาระบายรถตามจุดสำคัญ 300 แยก ส่วนพื้นที่วิกฤตต้องให้ทหารเข้าช่วยเหลือ 3.หากเกิดอุบัติเหตุหรือรถเสีย ให้ประสานสถาบันอาชีวศึกษา จัดชุดเคลื่อนที่เข้าช่วยเหลือ โดยตั้งเป้า หากเกิดฝนตกหนักเหมือนเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ประชาชนต้องไม่ประสบปัญหาการจราจรติดขัดบนท้องถนนเกิน 1 ชั่วโมง หากฝนตกช่วงกลางคืน น้ำจะต้องแห้งก่อนเวลา 05.00 น. หากพื้นที่ใดไม่แห้ง ตำรวจจะปิดถนนดังกล่าวเพื่อระบายน้ำ พร้อมแจ้งประชาชนให้หลีกเลี่ยงเส้นทางและประสานทหารจัดรถยกสูงรับส่งประชาชน
4.“สมยศ” ปัดขัดแย้ง “ชัยยะ” เรื่องถอดยศ “ทักษิณ” เผย ได้รับรายงานรอบสามจาก คกก.แล้ว เบื้องต้นค่อนข้างครบถ้วน แต่โยนฝ่ายกฎหมายดูอีกที!
ความคืบหน้าเกี่ยวกับการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังคณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับการถอดยศตำรวจที่ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตั้งขึ้น โดยมี พล.ต.อ.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล ที่ปรึกษา(สบ 10) เป็นประธาน ได้มีมติเอกฉันท์ให้ถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจากเข้าเกณฑ์ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศ คือ ต้องคำพิพากษาศาลฎีกาฯ ให้จำคุก 2 ปีคดีทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาฯ และอยู่ระหว่างหลบหนีคำพิพากษาของศาล ซึ่งมีหมายจับหลายใบ จากนั้นคณะกรรมการฯ ชุด พล.ต.อ.ชัยยะ ได้ส่งรายงานมติถอดยศดังกล่าวให้ พล.ต.อ.สมยศ แต่ พล.ต.อ.สมยศ ตีกลับ โดยอ้างว่าคณะกรรมการยังไม่มีการลงนามรับรองมติ และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ส่งให้ พล.ต.อ.สมยศ เป็นรอบที่สอง พล.ต.อ.สมยศ ก็ตีกลับอีก โดยอ้างว่า องค์ประกอบของมติที่ให้ถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ครบ โดย พล.ต.อ.สมยศ ขีดเส้นให้คณะกรรมการส่งรายงานกลับมาภายในวันที่ 11 มิ.ย.
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. พล.ต.อ.สมยศ เผยว่า พล.ต.อ.ชัยยะ ได้เข้ามาพูดคุยกับตนว่า ถ้าสรุปองค์ประกอบทุกอย่างที่ตนสั่งไปเสร็จเร็ว ก็จะรีบนำมาเสนอตนก่อนวันที่ 11 มิ.ย. ทั้งนี้ พล.ต.อ.สมยศ ยืนยันว่า ตนกับ พล.ต.อ.ชัยยะไม่เคยขัดแย้งกันเรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยมีการถามไถ่พูดคุยกันอยู่ตลอด ตนก็ขอให้ทำงานอย่างละเอียดรอบครอบ ถ้าทำตามทุกองค์ประกอบที่ตนสั่งไปครบถ้วนตามหลักกฎหมายแล้วผิดจริง ตนก็เซ็นถอดยศได้เลย ไม่มีการเล่นแง่แน่นอน ไม่ได้มีใครมาสั่งตนให้ดึงเวลา ถ้าส่งเรื่องมาครบถ้วนตามองค์ประกอบที่สั่งการไป ก็ดึงเวลาไม่ได้ ต้องตัดสินเลย
ต่อมา เมื่อถึงกำหนดที่ พล.ต.อ.สมยศ ขีดเส้น(11 มิ.ย.) พล.ต.อ.สมยศ เผยว่า ได้รับมติของคณะกรรมการชุด พล.ต.อ.ชัยยะ แล้ว ซึ่งตนได้ดูรายงานสรุปเบื้องต้นแล้วค่อนข้างครบถ้วน แต่เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดและถูกต้องยิ่งขึ้น จึงมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายไปดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดความถูกต้องอีกครั้ง หากครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว จะได้ทำบันทึกถึงสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนภายใน 1-2 วัน ส่วนขั้นตอนต่างๆ จะแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย ตนไม่อยากไปเร่งรัดหรือกดดันการทำงาน
5.“สรยุทธ” ปัดจ่ายเช็คให้อดีตพนักงาน อสมท เพื่อโกงค่าโฆษณา ด้านศาลนัดสืบพยาน 17 ก.ย.นี้!
เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ศาลอาญา ได้นัดตรวจพยานหลักฐานและสอบคำให้การคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 เป็นโจทก์ฟ้องนางพิชชาภา เอี่ยมสะอาด อดีตพนักงานจัดทำคิวโฆษณาของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดย น.ส.อังคนา วัฒนมงคลศิลป์ และ น.ส.สุกัญญา แซ่ลิ่ม ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไร่ส้ม, นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรชื่อดัง และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไร่ส้ม และ น.ส.มณฑา ธีระเดช เจ้าหน้าที่บริษัท ไร่ส้ม เป็นจำเลย 1 - 4 ในความผิดฐานเป็นพนักงานเรียกรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งหน้าที่ ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่, เป็นพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่องค์กร, เป็นพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และสนับสนุนพนักงานกระทำความผิดดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 6, 8 และ 11
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2558 ว่า เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2548 - 28 เม.ย.2549 นางพิชชาภา จำเลยที่ 1 ได้จัดทำคิวโฆษณารวมในรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต ไม่รายงานการโฆษณาเกินเวลาเพื่อเรียกเก็บค่าโฆษณาเกินเวลาจากบริษัท ไร่ส้ม จำนวน 17 ครั้ง ทำให้ อสมท เสียหาย 138,790,000 บาท และยังได้เรียกรับเอาเงิน 658,996 บาท จากจำเลยที่ 2 - 4 เพื่อเป็นการตอบแทนที่นางพิชชาภา ไม่รายงานการโฆษณาด้วย
ทั้งนี้ ศาลได้อ่านคำฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ฟัง ซึ่งจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ พร้อมยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติม ขณะที่ศาลได้ชี้แจงคู่ความว่า คดีนี้เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้น ตามกฎหมายศาลจะยึดสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช. เป็นหลัก โดยจำเลยสามารถนำพยานหลักฐานมานำสืบโต้แย้งได้ โดยอัยการโจทก์แถลงขอสืบพยานตามสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช. ซึ่งมีผู้บริหารและพนักงาน อสมท ชุดปัจจุบันและอดีตที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาและจัดคิวโฆษณา รวม 19 ปาก
ขณะที่นางพิชชาภา จำเลยที่ 1 แถลงแนวทางต่อสู้ว่า ตนไม่มีอำนาจอนุมัติการโฆษณา และไม่เคยใช้น้ำยาลบคำผิดลบข้อความเกี่ยวกับการจัดคิวเวลาโฆษณา ส่วนเช็ค 6 ฉบับที่ได้รับนั้นเป็นค่าประสานงานคิวโฆษณาที่นอกเหนือจากหน้าที่ ไม่ใช่ค่าตอบแทนในการไม่ระบุการโฆษณาเกินเวลา โดยจะขอนำสืบพยาน 2 ปาก คือ จำเลยและพนักงาน อสมท ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลย
ส่วนบริษัท ไร่ส้ม จำเลยที่ 2 แถลงว่า ไม่เคยมอบให้ผู้ใดไปติดต่อเพื่อจัดคิวโฆษณาเกินเวลา และไม่เคยให้จำเลยที่ 1 ใช้น้ำยาลบคำผิดในเอกสารเกี่ยวกับการโฆษณา เช่นเดียวกับนายสรยุทธ จำเลยที่ 3 ที่แถลงว่า ไม่เคยรู้จักกับจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีหน้าที่อะไร และไม่เคยติดต่อให้ผู้ใดไม่รายงานโฆษณาที่เกินเวลา แต่ยอมรับว่า เช็ค 6 ฉบับที่จำเลยที่ 1 มี ได้ลงลายมือชื่อจำเลยที่ 3 จริง แต่เป็นเช็คที่ชำระค่าประสานงาน ไม่ใช่เงินที่ตอบแทนให้จำเลยที่ 1 ใช้น้ำยาลบคำผิดในเอกสารที่เกี่ยวกับการโฆษณา โดยจำเลยที่ 2 - 3 ขอสืบพยานทั้งหมด 25 ปาก แต่พยาน 9 ปากซ้ำกับพยานโจทก์ จึงเหลือพยานที่จะนำสืบ 16 ปาก
ขณะที่ น.ส.มณฑา จำเลยที่ 4 แถลงว่า เช็คที่ชำระให้จำเลยที่ 1 เป็นค่าประสานงานหรือค่านายหน้าในการหาโฆษณา ไม่เคยใช้ให้จำเลยที่ 1 ใช้น้ำยาลบคำผิดในเอกสารที่เกี่ยวกับการโฆษณา โดยจำเลยที่ 4 ขอสืบพยาน 8 ปาก แต่มีพยาน 2 ปากที่ซ้ำกับพยานโจทก์ จึงเหลือพยานที่จะต่อสู้คดี 6 ปาก
ด้านศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นควรให้อัยการโจทก์นำสืบพยาน 19 ปาก โดยใช้เวลา 4 นัด ในวันที่ 17-18 ก.ย. และ 29-30 ก.ย. นี้ ส่วนจำเลยที่ 1-4 ให้สืบพยาน 5 นัด ในวันที่ 2, 8 ต.ค. และ 28-30 ต.ค. 2558 พร้อมกำชับให้คู่ความนำพยานมาให้พร้อมนำสืบ ทั้งนี้ ศาลได้นัดคู่ความเพื่อตรวจความพร้อมของหลักฐานและเอกสารอีกครั้งวันที่ 17 ส.ค.นี้ เวลา 09.00 น.
ขณะที่นายสรยุทธ กล่าวว่า คดีนี้ไม่ได้ขอศาลสืบพยานลับหลัง โดยหลังจากจัดรายการเสร็จ ตนพร้อมเดินทางมาศาลเพื่อฟังคดีเองทุกนัด