สู้ตายๆ ไปเสียเลยดีกว่าจะยอมพิการ
เชื่อว่าหลายๆ คนที่ยังไม่ประสบพบเจอเหตุการณ์อย่างนี้ จะเอ่ยไม่ต่างไปจากนั้น...
แต่นั่นไม่ใช่สำหรับ “รต.ต่วนอัมรัน กรูโซ๊ะ” อดีตพลทหารประจำกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 5 จังหวัดยะลา ผู้ดูแลคุ้มครองชาวบ้าน ครู และลาดตระเวนตรวจความเรียบร้อยที่ต้องประสบกับการศูนย์เสียขาทั้งสองข้างด้วยจากระเบิด เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552
เพราะนอกจากเขาจะสามารถยืนหยัดกลับมาสู้ต่อ เขายังไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตา เพียรพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเองจนทุกวันนี้ไม่ต่างอะไรกับคนปกติ มิหนำซ้ำยังดูจะมีความสุขมากกว่าครั้งเก่าก่อนตอนมีขา
ยิ่งไปกว่านั้น เขายังได้นำเอาเรื่องราวแห่งความเจ็บปวดและผ่านพ้น มาถ่ายทอดผ่านตัวอักษรในหนังสือชื่อ “ไม่มีขา ใช่ว่าไม่มีลมหายใจ” นำส่งแรงบันดาลใจแห่งชีวิตสู่ผู้อ่าน ที่แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรี “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” ยังให้เกียรติแก่การกล่าวคำชมเชยผ่านคำนิยมในหนังสือเล่มนี้...
“...ร้อยตรีต่วนอัมรัน กรูโซ๊ะ คือบุคคลที่แสดงให้เห็นถึงการไม่ยอมแพ้และยืนหยัดด้วยหัวใจที่ควรยกย่อง การร้อยเรียงตัวอักษรของเขาบอกเล่าเรื่องราวของชีวิต ความรู้สึก และความคิดเพื่อให้ผู้อ่านสัมผัสกับประสบการณ์ของผู้ชายคนหนึ่งที่เติบโตมาด้วยการดิ้นรนและต่อสู้ชีวิตตลอดเวลา เมื่อเข้ารับราชการเป็นทหารอาชีพ เขาก็ปฏิบัติหน้าที่อย่างอดทนและเสียสละเพื่อดูแลปกป้องประชาชนและประเทศชาติอย่างเต็มกำลังความสามารถ หนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่แค่การบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต แต่คือตำราการต่อสู้ด้วยหัวใจที่แข็งแกร่งของเขา...”
อยู่หรือตาย...
ขอไว้ลายชาติทหาร
"มันเริ่มจากที่ผมเห็นพี่ชายเป็นทหารพราน" ร้อยตรีต่วนอัมรัน กรูโซ๊ะ เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของการร้องขอเป็นทหารบกกองประจำการผลัด 1 ปี 2550 ที่จังหวัดนราธิวาส ในทันทีที่อายุครบกำหนดเกณฑ์
"คือเราชอบเครื่องแบบทหาร ยิ่งเราเห็นพี่ชายใส่ชุด เรายิ่งรู้สึกว่าเขาเท่ (ยิ้ม) และเพราะความที่ผมเกิดมาในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ คุณพ่อคุณแม่แยกทางกัน คุณพ่อเขาก็ไม่ได้สนใจเลี้ยงดูเราเท่าไหร่ โดนด่า โดนว่า โดนตี โดนไล่ออกจากบ้าน คือสารพัด ขนาดที่อายุก็มากแล้ว คนที่อยู่บ้านติดกันจะรู้ประจำ เพราะจะได้ยินประจำ ด่าเสียงดัง ด่าต่อหน้าผู้คน ที่สาธารณะ บอกตรงๆ ว่าท้อ อาย ก็เป็นเหตุหนึ่งด้วยที่ผมอยากจะหนีออกจากบ้าน แต่ผมไม่มีที่ไป โอกาสเดียวก็คือการเป็นทหาร
"และก็ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เพราะเราต้องอาศัยที่เขาอยู่ บางคนใจดีก็ให้อยู่ บางทีเราไม่จ่ายเงินเขาก็ไม่ให้เราอยู่ ก็ต้องย้ายไปเรื่อยๆ จนทำให้เบื่อกับการที่จะต้องเร่ร่อน แต่ก็โชคดีที่คุณย่ารับมาเลี้ยง แต่ผมก็อยู่กับย่าไม่ได้นาน เนื่องจากเราไม่มีสวนยาง งานต่างๆ ที่เราทำก็แค่รับจ้างทั่วไปใช้แรงกาย ขุดบ่อน้ำ เก็บเศษเหล็ก ก่ออิฐบล็อก สารพัด เพราะต้องช่วยเหลือตัวเองและครอบครัว"
เมื่อความชอบ บวกสถานการณ์และวันเวลาที่เหมาะเจาะ เขาจึงไม่ลังเลที่จะเลือกเดินเส้นทางชีวิตในชุดลายพราง เป็นทหารหาญ
"แต่ตอนแรกก็เกือบไม่ได้เป็นนะ" อดีตพลทหารหนุ่มประจำกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 5 กล่าวด้วยสีหน้ายิ้มแย้มอย่างมีความสุข ชนิดไม่เหลือเค้าเรื่องราวแห่งทุกข์โศก
"เพราะว่าผมสูง 159 เซนติเมตร ตามเกณฑ์เขาเอา 160 เซนติเมตรขึ้นไป ผมก็เลยร้องขอสมัคร ก็โชคดีได้ เขาก็ให้ผมเลือกว่าจะเป็นทหารบกหรือทหารเรือ ผมก็เลยคิดว่าทหารบกมันโหดดีนะ เอาโหดๆ นี่แหละ เพราะไหนๆ ก็เป็นแล้ว ก็เอาให้สุดๆ เลย
"หนึ่งเดือนก่อนจะเข้าไปกรม ก็เตรียมความพร้อมร่างกายในการไปเป็นทหาร วิ่งรอบหมู่บ้านเช้า-เย็น แล้วก็ทำทุกอย่างที่อยากทำ อะไรที่ไม่เคยเที่ยวก็ไปหมด ไปร้องเพลงตู้คาราโอเกะ ไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ พี่ๆ รุ่นน้อง เพราะคิดว่าวันข้างหน้าไม่รู้จะมีโอกาสทำอย่างนั้นอีกหรือเปล่า"
ท่าทางจริงจังของพลทหารหนุ่มทำให้รู้ว่าเขาคิดและรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งใครที่เคยเป็นจะโดยสมัครใจหรือไม่สมัครใจ ย่อมล้วนแต่จะต้องทำสิ่งนี้เผื่อแทบทั้งนั้น
"พอครบกำหนดวันที่ 1 พฤษภาคม ก็ไปรวมตัวอยู่ที่โรงยิมจังหวัด จากนั้นก็ไปคัดตัว ผมหยิบได้ ร.5 พัน 2 ต้องอยู่ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร (พื้นที่ ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี) จำได้ว่าตอนนั้นในระหว่างที่รอรับเสื้อกางเกงขาสั้นสีเขียวขี้ม้าคนละ 3-4 ชุด ต่างคนก็ต่างมองหน้ากันที่จุดรวมพล ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะโดนอะไรกัน"
"ช่วงแรกๆ ที่ฝึกก็เหนื่อยเลย (หัวเราะ) เพราะต้องปรับเรื่องระเบียบวินัยทหารใหม่ จากที่เราไม่เคยเหนื่อย เราไปฟิตซ้อมร่างกายมาดีขนาดไหน ก็ไม่เท่า มันเหนื่อยจริงๆ ตื่นเช้าตีห้า ตีห้าครึ่ง ได้ยินเสียงนกหวีดคือต้องวิ่ง ไม่มีการเดิน เอื่อยเฉื่อยไม่ได้ ทุกคนต้องวิ่งแล้วมาเข้าแถวตามที่เขาจัดเป็นหมวดเป็นหมู่ ฝึกตั้งแต่ก้าวเท้าให้พร้อมกัน เริ่มจากตบเท้าซ้าย การเดินทุกอย่างก็ผ่านไปได้ดีด้วยการฝึก ก็ได้อะไรมากกว่าที่คิด เหมือนกับที่เขาว่า "เป็นทหารได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด" อย่างไรอย่างนั้นเลย (ยิ้ม)
"คือได้ทั้งความเหนื่อย ความยากลำบาก แล้วก็สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันจนถึงทุกวันนี้ได้ อย่างเช่น ความสามัคคี ความเสียสละอดทน ความรับผิดชอบ อันนี้ที่สำคัญคือได้เรื่องของการรู้จักหน้าที่ของเรา การทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด"
70 วัน ระยะเวลาร่วม 2 เดือนกว่าๆ ของการฝึกหฤโหดภายใต้กฎระเบียบทหารใหม่ทุกกระเบียดนิ้ว ชีวิตราชการทหารก็ดูจะเบาบางลงด้วยภาระหน้าที่ใหม่ คือ "ผู้ช่วยครูฝึก" นับวันรอปลดประจำการ แต่ทว่าด้วยความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า เขาก็เลือกที่จะอาสารับใช้ชาติอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ไม่ใช่เพียงการเตรียมความพร้อมเป็นกองสำรอง แต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ภาคสนาม
"ตายซะดีกว่าที่จะละทิ้งหน้าที่...คือมันเป็นหน้าที่ ถ้าเราไม่ทำแล้วใครจะทำ" พลทหารหนุ่มเผย "อยู่ในกรมก็ได้ เป็นผู้ช่วยครูฝึก ทำงานรับใช้จ่ากอง ช่วยเสิร์ฟน้ำชากาแฟ แล้วก็ทำกิจวัตรประจำวันตามที่จ่ากองร้อยสั่ง เพราะไม่มีชื่อเราที่ต้องไปลงปฏิบัติ แต่เรารักที่จะช่วยเหลือคนอื่น เพื่อนๆ เราออกไปประจำการ แล้วเรามาเป็นทหารแล้ว ตรงนี้มันก็เป็นหน้าที่ของเราเหมือนกัน ถ้าเราไม่ทำแล้วเราจะให้คนอื่นทำมันก็ไม่ใช่"
"ก็เลยขออาสาลงพื้นที่ ตอนที่อาสาลงก็บอกกับตัวเองว่า "อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด แต่ถ้าเลือกได้ ขอตายในสนามรบ" อันว่าการตายในสนามรบเป็นเกียรติของทหาร ก็ได้ไปประจำอยู่ที่ฐานประจำวัดหลักห้า ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา เป็นฐานแรก ตอนนั้นไปเป็นกองบัญชาการในวัดเลย ซึ่งเราเป็นอิสลามจริงๆ ก็มีกฎห้าม แต่ว่าเราเข้าไปเพราะว่ามันเป็นหน้าที่"
รัศมีขอบเขตการดูแลรับผิดทั้งหมดทั้งตำบล "สะเตงนอก" สลับกับสับเปลี่ยนย้ายฐานไปยังจุดต่างๆ ตามความเหมาะสมและคำสั่งของผู้บังคับบัญชา นอกจากนี้ยังต้องลาดตระเวนเดินเท้าพื้นที่ท้องถนนและเส้นทางรถไฟ ลาดตระเวนด้วยรถมอเตอร์ไซค์ เป็นชุด รปภ.คุ้มครองครูคอยรับส่ง ตั้งด่านตรวจสกัดเพื่อความสงบเรียบร้อยทั้งกลางวันและกลางคืน คือภารกิจหลักหน้าที่ในทุกๆ วันที่ต้องเสี่ยงกับ "ความตาย"
"คือเราห้ามประมาท ถ้าเราประมาทเราจะตาย เพราะทุกอย่างก้าวคือความตายทั้งนั้น ไม่ว่าเราไปไหนมาไหนในสนาม เนื่องจากว่าเราเป็นทหาร เราใส่เครื่องแบบ เขาจะรู้ว่าเราไปไหนมาไหน เวลาใด แต่เราไม่สามารถรู้เขาได้ เหมือนกับว่าเราอยู่ที่สว่าง เขาอยู่ที่มืด โอกาสที่จะรอดถ้าเขาซุ่มโจมตีคือไม่มี" พลทหารหนุ่มว่า ก่อนจะเสริมบรรยายประสบการณ์ "ต้องเตรียมพร้อมตลอด รองเท้าคอมแบตแทบไม่ถอด ใส่นอนทั้งอย่างนั้นเลย เพราะว่าอีกสองสามชั่วโมง หัวหน้าชุดบอกเร็วๆ เราก็ต้องไปพรึ่บทีเดียวเลย ยิ่งถ้าเกิดวันไหนมีเหตุการณ์ ต้องตรวจละเอียด ทุกอย่างอะไรที่เราสงสัย การแต่งตัว การพูดจา หรือคนที่เข้าหา ต้องตรวจหมด"
แต่จนแล้วจนรอดเกือบ 6 เดือนที่สลับเปลี่ยนลงปฏิบัติหน้าที่ ความฝันการเป็น "ทหารพราน" ที่กำลังรอก่อร่างหลังการหมดผลัดประจำการในอีกสองถึงสามเดือนที่จะถึง ก็เป็นอันต้องจบลงจากชีวิตตลอดกาล ท่ามกลางเสียงระเบิดบนเส้นทางลัดสายยะลา-บันนังสตา บ้านกำปงตือเงาะ หมู่ที่ 2 ต.สะเตงนอก อ.เมืองยะลา ในเวลาเช้าตรู่ประมาณ 07.15 น. ของวันที่ 29 มกราคม 2552
"วันนั้น เราไปลาดตระเวนด้วยรถยูนิมอก ออกไปปฏิบัติชุด 5 คน เพื่อไปรอคุ้มครองเส้นทางครูในการสัญจรตรงนั้น คือที่เกิดเหตุเป็นร้านสังกะสีอยู่ร้านหนึ่งริมถนน ซึ่งเราจะไปพักอยู่ตรงนั้น เราก็ตรวจดูสิ่งของบริเวณรอบๆ ว่า มีอะไรที่ไม่เข้าท่าหรือที่ผิดปกติ เราก็ตรวจดูก่อน ปรากฏว่าหาอะไรในขยะก็ไม่มี ยกม้าหินอ่อนใต้ฐานรองในช่องก็ไม่มี"
"แต่ก่อนหน้านั้น เราก็บอกพลขับแล้วว่า เราไปพักที่อื่นก่อนไหม แต่เขาบอกว่ารอตรงนี้แหละ เดี๋ยวชุดอื่นจะมาเปลี่ยนต่อ" พลทหารหนุ่มเผยลางสังหรณ์ก่อนเหตุการณ์ร้ายจะมาเยือนโดยไม่รู้ตัว
"มันเนียนมาก จริงๆ มันอยู่ใต้โต๊ะหินอ่อน อยู่ข้างล่างเลย ก็คือไปอยู่สักพักหนึ่งตรงนั้น เพื่อนๆ ก็นั่งอยู่ด้วยกัน ในร้านก็มีโต๊ะหินอ่อน 2 ชุด ชุดแรกก็คือที่ผมนั่ง ชุดที่สองห่างกันประมาณสัก 10 เมตร ก็นั่งคุยกันว่าเดี๋ยวจบภารกิจ ชุดอื่นจะมา แต่ในระหว่างคุยก็รู้สึกในใจสงสัย สงสัยว่าทำไมวันนี้รถมันไม่ค่อยวิ่ง แล้วชาวบ้านรู้สึกเขาจะเงียบๆ เป็นพิเศษ ก็รู้สึกอยากจะไป อยากจะลุกจากที่นี่แล้วก็ไปที่อื่น ในระหว่างที่คิดนั้นเพื่อนคนหนึ่งก็ไปซื้อน้ำ ไม่ถึง 5 นาที เสียงระเบิดก็ดังขึ้น"
สีหน้าของอดีตทหารหนุ่มไฟแรง ทำให้เราพอจะคาดเดาได้ถึงความรู้สึกอัดแน่นของแรงระเบิดที่ไม่ใช่เพียงขาทั้งสองข้างที่ขาดกระเด็นไปคนละทิศทางอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว แต่มันคือการพังทลายล้มทั้งยืนของชีวิตคนทั้งคน
"พอเสียงตูม...ดังขึ้น แรกเลยคือผมรู้สึกมึน แต่ยังพอมีสติอยู่ รู้สึกได้ว่าชาๆ ช่วงล่าง แต่ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าตัวเองขาขาด เพราะตัวเรานอนหงายอยู่ ก็เลยค่อยๆ เอามือมายันพื้นเพื่อที่จะลุก ปรากฏว่าลุกขึ้นไม่ได้ ก็เลยมองไปที่ขา สภาพที่เห็นคือ ขาขวาไม่มี ไม่รู้อยู่ไหน ส่วนขาซ้ายเละยุ้ยหมดเลย" พลทหารหนุ่มเว้นวรรคเล็กน้อย ก่อนจะค่อยๆ เล่าความรู้สึกในเวลาเสี้ยววินาทีที่เสียงโกลาหลแทรกเอาความฝันอนาคตวิ่งผ่านเลยเขาไป
"คือความรู้สึกตอนนั้น โห่...เลย แวบแรกเสียใจมากๆ แล้วทุกอย่าง ความฝันอนาคตมันวิ่งเข้ามาหมดเลย
"มีแต่เสียงโกลาหล ต่างคนต่างเรียกร้องช่วยคนนี้ที ช่วยคนโน้นที และเพื่อนที่บอกว่าไปซื้อน้ำ ก็มาจับหลังผมลุกขึ้น แต่เราก็พยายามดิ้น เพราะมันเสียใจมาก ใจมันไม่มี ใจมันหมดแล้ว เพื่อนก็พยายามพูดใกล้ๆ หูว่าให้นึกถึงพระเจ้าเอาไว้ๆ เพราะว่าศาสนาอิสลามเวลาคนเราจะตายจะมีคำคำหนึ่งซึ่งจะต้องพูดเพื่อให้เราได้ขึ้นสวรรค์ ผมก็พยายามพูดได้ 3 ครั้ง จากนั้นผมก็สลบไป"
นั่นคือเรื่องราวฉากสุดท้ายในฐานะ “ทหารกล้า” ผู้ที่ปกป้องผืนแผ่นดินเพื่อความสงบสุขของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลงเหลือไว้เพียงอนุสรณ์ และนี่คือข้อความที่ยืนยันถึงอุดมการณ์แรงกล้าซึ่งแม้จะเผชิญกับจุดเปลี่ยนที่ขา แต่ทว่าไม่เคยเปลี่ยนที่ใจ ผ่านข้อความที่เขาบันทึกไว้ในสเตตัสบนเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553...
"ถึงแม้ว่าผมจะสูญเสียทุกอย่างในชีวิตผมไป ความหวัง ความรัก หรือหลายๆ อย่างที่ผมรอคอยวันนั้นจะมาถึง แต่มาวันนี้มันไม่มีอีกแล้ว ผมดีใจที่ได้เกิดมารับใช้ประเทศชาติบ้านเมือง อาชีพทหาร เป็นอาชีพที่ผมรักมาก คือความจริงแล้ว ผมอยากทำอาชีพนี้ไปจนถึงตาย แต่มาวันนี้ผมได้แค่ทำหน้าตรงนี้แค่ 2 ปีเอง ผมรู้สึกว่ามันน้อยมากสำหรับผม อยากบอกถึงความรู้สึกในใจว่า อยากกลับไปรับราชการทหารต่อเหมือนๆ ที่ผมทำมา แต่มันคงเป็นไปไม่ได้แล้ว ชาติหน้ามีจริงผมขอเกิดมาเป็นคนไทยและรับใช้ชาติแบบนี้อีกครั้ง"
กลางทางแยก
ที่ต้องใช้หัวใจเดิน
"แล้วผ่านพ้นคืนวันเหล่านั้นมาได้อย่างไร"
เราถามต่อเนื่องหลังจากเหตุการณ์ก่อนหน้านี้
"โอ้...มันทุกข์ทรมานมาก ผมนอนอยู่ที่โรงพยาบาลยะลา 15 วัน ขามันชาอยู่ประมาณ 2-3 วัน ชาเหมือนกับกลบเกลื่อนความเจ็บปวด เพราะในความชา มันเหมือนเราโดนหยิกทั่วร่างกาย แต่หลังจากนั้นแหละ มันคือ 'นรก' หลังจากหมดชาเข้าสู่ความเจ็บ อยู่ในสภาพเหมือนผัก คือร่อแร่ตลอด ตื่นขึ้นมาต้องขอมอร์ฟีน 4 ชั่วโมงให้หมอฉีดมอร์ฟีนครั้งหนึ่ง พอฉีดมอร์ฟีนร่างกายสะลึมสะลือ ก็หลับ พอตื่นขึ้นมาก็เรียกร้องอยู่อย่างนี้ มันคือช่วงที่ท้อแท้สุดๆ แล้วก็เจ็บสุดๆ เป็นอะไรที่อยากจะผ่านช่วงนี้ให้เร็วที่สุด
"หลังจากนั้น ทางกองทัพบกได้ส่งตัวขึ้นเครื่องบิน C-130 ของกองทัพอากาศ ไปที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ย้ายไปอยู่บนเตียงที่โน่นก็ต้องเป็นห้องแยก เพราะถ้าไม่แยกเราจะติดเชื้อแน่นอน หมอเขาก็กลัว ก็นอนอยู่บนเตียงอย่างเดียว ไม่ได้ลุกขึ้นมานั่งอะไรเลย คือนอนอย่างนั้นประมาณ 8 เดือนได้ ทำทุกอย่างบนเตียงหมด ซึ่งเป็นอะไรที่เราไม่เคย แต่วันนี้เราต้องเผชิญกับมัน”
...“มันเป็นอะไรที่ชีวิต เอาผมไปฆ่าเถอะ" คำตัดพ้อร้องขอในช่วงเวลานั้นที่ยากเกินจะรับไหว ยิ่งเฉพาะเวลาทำแผลทุกๆ 2 วันด้วยแล้ว ฆ่าให้ตายซะยังดีกว่า เพราะมันเจ็บเกินจะบรรยาย
"ผมพยายามพูดกับหมอ หมอทำอะไรก็ได้ให้ผมตายเถอะ ผมไม่อยากอยู่แล้ว เวลาที่หมอมาล้างแผลไม่อยากให้มาล้าง มันเจ็บมาก เพราะหมอเขาเทน้ำยาล้างแผลที 2-3 ขวด แถมต้องกินยากันติดเชื้อที่รสขมจนจะอ้วก เพื่อกันไม่ให้ติดเชื้อ เพราะถ้าติดเชื้อ หมอจะต้องตัดทันที”
"แต่ก็ติดเชื้อจนได้ หมอก็เลยต้องให้เข้าห้องผ่าตัด 2-3 ชั่วโมงอยู่ในนั้น เพื่อไปล้างแผลในห้องผ้าตัด แล้วก็ตัดชิ้นเนื้อที่มันตาย มันไม่ดี ที่ใช้การไม่ได้ นั่นคือช่วงเวลาที่ท้อแท้สุดๆ"
นอกจากแผลภายนอกที่ยากจะทำใจรักษา พลทหารต่วนอัมรันเล่าว่า “แผลที่จิตใจ” อาการก็ซ้ำร้ายลงกว่าเดิม เพราะต้องใช้เวลาในการเยียวยาถึง 2 ปี ในการยอมรับสภาพความพิการที่ตัวเองเป็นอยู่
“โลกเปลี่ยนมาก” ทหารหนุ่มลากเสียงยาว ก่อนจะกล่าวถึงความรู้สึก “คือแค่สิ่งต่างๆ นานา ที่เขาพูดถึงคนพิการอย่างโน้นอย่างนี้ เราก็ไม่ชอบแล้ว ก็เก็บตัว ไม่เข้าหาใครก่อน”
“แต่พอเราได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ก็ทำให้เข้าใจว่าสังคมเขาอยู่กันอย่างนี้ ก็เลยเปิดใจกว้าง จากนั้นก็มีทางผู้บังคับบัญชามาเยี่ยม เพื่อนที่โดนระเบิดมาปลอบว่าเดี๋ยวก็ได้ย้ายไปอยู่ตึกเดียวกัน ที่นั่นเพื่อนเยอะแยะ ก็มีกำลังใจขึ้นมาบ้าง แต่มันก็ยังทุกข์ทรมานอยู่ดี มันยังไม่หายไปจากใจเราหมด
“จนพอได้ย้ายมาตึกเดียวกับเพื่อนๆ ได้รู้จักเพื่อนเพิ่ม ได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกันว่า เออ นายคนนี้ ไปโดนที่ไหนมาขาขาด ชุดกี่คน หน่วยไหน สังกัดไหน ก็ทำให้มีเพื่อนที่คล้ายๆ เรา แต่ที่บาดเจ็บสาหัสที่สุดก็คือเรานี่แหละ ตอนนั้นกำลังก็มีมาเรื่อยๆ หลังจากได้เข้าสังคม จากนั้นก็จะมีประชาชนทั่วไปที่มีจิตอาสาทำกิจกรรมเข้าไปพูดคุยและให้กำลังใจ”
“เป็นกำลังใจให้นะๆ” “สู้ๆ นะ” คือคลื่นคำน้ำมิตรที่หลั่งไหลเข้ามา กว่าพันครั้งหมื่นครั้ง ช่วยพยุงจิตใจให้ลุกขึ้นตามลำดับ
“แรกๆ ผมก็คิดว่าเขาไม่ใช่ญาติเรา แล้วอีกอย่างเราก็ไม่รู้จักเขา (หัวเราะ) ก็คิดว่าเขาจะทำให้เราดีขึ้นได้อย่างไร ก็คิดอย่างนั้น แต่ว่าพอเขามา ผมกลับรู้สึกดีขึ้น คือเขาทำให้รู้ว่าเขามาอย่างจริงใจ เขามาอย่างจิตอาสาจริงๆ ก็พูดคุย ถ่ายรูปเล่นกัน มาทำกิจกรรม ร้องเพลงคาราโอเกะ เลี้ยงอาหาร ก็ทำให้เริ่มมีกำลังใจ ดีใจ
“แล้วในทุกเดือนหรือสองเดือน ก็มีจะหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาทั้งกองทัพบก ผู้บัญชาการทหารบก แม่ทัพ มาดูอาการของลูกน้องว่าเป็นอย่างไรบ้าง ผู้บัญชาการทหารบก ท่านห่วงใย สภาพร่างกายและจิตใจ จึงมีโครงการ "บำรุงขวัญเติมใจให้กับทหารหาญ" เพื่อที่จะพาทหารที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไปทัศนนศึกษา ไปเปิดหูเปิดตา นั่นก็เป็นอีกกำลังใจหนึ่งที่ทำให้ผมคิดได้ว่า ถึงแม้เราพิการ เราก็สามารถที่จะไปไหนมาไหนได้ ทำกิจกรรม มันก็เลยทำให้ผมรู้สึกว่าดีขึ้นๆ ซึ่งผมอยู่ที่นั่น ผมได้อะไรมาเยอะมาก ผมได้เรียนรู้ชีวิตตัวเอง ปรับสภาพกับสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ เพื่อน มิตรภาพ ผู้ใหญ่”
นอกจากนี้ก็ยังมี “แม่ศรี” พยาบาลเกษียณอันเป็นที่เคารพของเหล่าทหารหาญที่บาดเจ็บรักษาตัวทุกคนในโรงพยาบาลพระมุงกฎเกล้า และที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับ “กำลังใจพิเศษ” จากแฟนสาวที่รู้จักกันผ่านการแนะนำของเพื่อนทหารผู้เป็นกำลังใจสำคัญ
“จากที่ร้อนเป็นไฟอยู่ในใจ เขาเป็นเหมือนน้ำที่ดับไฟในในใจผม” ทหารหนุ่มกล่าวแซมยิ้ม เมื่อพูดถึงผู้หญิงที่เข้ามาในชีวิตรัก
“คือตอนที่นอนรักษาตัวและพักฟื้นจิตใจ อยู่โรงพยาบาล นอนนิ่งมันเบื่อมันเหงา เห็นเพื่อนเล่นคอมพิวเตอร์ เราก็เลยอยากมีบ้าง จริงๆ จะเอาไว้ฟังเพลง ดูหนัง เฉยๆ แต่พอมีแล้วอาสาเขาก็มาสอน เราก็เรียนรู้เอาไว้ ก็ทำให้เรารู้จักการเข้าอินเทอร์เน็ต รู้จักโปรแกรมต่างๆ อีเมล ตอนนั้นผมก็เริ่มมีเฟซบุ๊ก เขาก็สอนว่ามันคือการติดต่อระหว่างเพื่อน
“คือมันเหมือนเปิดโลกกว้าง เทคโนโลยีทุกวันนี้เหมือนกับว่าต่อให้เราอยู่กับที่ เราก็สามารถไปอีกที่ที่หนึ่งได้ พอเรียนรู้แล้วเราชอบ พอชอบก็อยากจะมีเพื่อน ซึ่งเฟซบุ๊กนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนนให้กับผม คือทำให้ผมเปลี่ยนจากที่เคยนั่งแล้วก็รอให้ใครเข้ามาพูด เข้ามาคุย ก็ทำให้เรากล้าเปิดตัวมากขึ้น
“ผมกับแฟนก็เลยได้รู้จักกัน” ทหารหนุ่มเผย ก่อนจะเล่าเรื่องราวอย่างแม่นยำตั้งแต่ปี พ.ศ.ที่รู้จัก จนไปถึงการพบกันครั้งแรกอย่างไม่ลืมเลือน
“แฟนเข้ามาตั้งแต่ปี 53 ซึ่ง เธอเป็นรุ่นน้องนายร้อย จปร.ที่เป็นเพื่อนผม เขาก็เลยแนะนำเรื่องของผมให้เธอฟังว่า มีทหารคนหนึ่งโดนระเบิดจากยะลาตอนนี้เขากำลังท้อแท้มาก อยากได้กำลังใจ จากนั้นแฟนผมก็แอดเพิ่มเพื่อนผม”
“ก็คุยกันในเฟซบุ๊ก หลังจากนั้นสักระยะหนึ่งก็เปลี่ยนเป็นโทร.คุยกัน แล้วเขาก็บอกว่าอยากจะมาเยี่ยมผม ผมก็บอกเขาว่าผมขาขาดนะ ผมไปไหนไม่ได้ เขาก็บอกว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวเขาจะมาเอง พอเขามาถึงผมได้เห็นเขาครั้งแรก เขาก็ไม่ได้รังเกียจไม่ได้อะไร (ยิ้ม) คือเขาอาจจะเข้าใจว่าทหารโดนระเบิดเป็นอย่างนี้ขาขาด นั่งวีลแชร์
“จริงๆ ผมก็ประเมินตัวเองก่อนนะที่จะชอบเขา คือตัวเองขาขาดแล้วก็ไปรักคนที่ขาดี เหมือนกับปิดตัวเอง ผมจะเป็นคนแบบนี้ ก็บอกเขาตรงๆ ว่าผมมีความสุข เวลาที่คุยพูดได้คุยกัน เขาเป็นคนที่ให้กำลังใจผมดีมาก เขาก็ให้กำลังใจแล้วก็พูดคุยได้ทุกอย่าง คือเหมือนกับเติมพลังให้ผมตลอด ทำให้ผมยืนขึ้นมาได้”
ไม่มีขา ใช่ว่าไม่มีลมหายใจ
ไม่มี "ใครอื่นใด" ...เพราะเราคือผองไทยด้วยกัน
เมื่อกำลังใจกลับคืนมา การไม่มีขา แล้วจะต้องไร้ชีวิต...ดูจะเป็นความคิดที่ห่างไกลไปเรื่อยๆ สำหรับ “ต่วนอัมรัน กรูโซ๊ะ” ในวันเวลานี้ เพราะแม้ว่าต่อให้ยังไม่มีเป้าหมายในชีวิตเหมือนเมื่อครั้งหนหลัง แต่เขาก็รับรู้ได้ถึงการมีชีวิต
“คือผมไม่รู้ว่าคนพิการเขาเหมาะกับงานไหน ตอนนั้นยังคิดไม่ออก ผมก็เลยไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ธุรการเกี่ยวผู้ป่วยชื่อพี่ต้อม ซึ่งอยู่ประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผมต้องทำงานอาชีพอะไร พี่เขาก็แนะนำให้ผมไปอยู่ที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก หรือแฟลตเกาหลี รามอินทรา 27 แล้วอีกที่หนึ่งก็คือมูลนนิธิสายใจไทย”
“ตอนนั้นไปดูสถานที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก เราก็รู้แล้วว่า โอเค มีงานให้เราทำประมาณนี้ๆ แกะสลักลวดไม้ ทำพวกศิลปะทางด้านนี้ แต่บรรยากาศโรงพยาบาลก็คือโรงพยาล ไม่ต่างจากที่เรานอนอยู่ตอนนี้ (ยิ้ม) คือคิดว่านอนอยู่บนเตียงแล้วอนาคตเราจะเป็นอย่างไร เราต้องการใช้ชีวิตประจำวันได้ ก็ขอไปดูที่แฟลตเกาหลี แฟลตเกาหลีก็มีเพื่อนเยอะอยู่ที่นั้น แต่ห้องพักจะติดๆ กัน พูดตะโกนหน่อยก็ได้ยินไปอีกห้องหนึ่งแล้ว เราก็คิดว่ายังไม่เป็นส่วนตัวพอ ก็มาได้ที่มูลนิธิสายใจไทย
“คือพอผมมาที่นี้ได้พบกับท่านผู้บริหาร ท่านมีความเมตตากับผมมาก ท่านให้ไปดูห้องพัก ซึ่งห้องผมพักที่ชั้น 2 ความกว้างและความเป็นส่วนตัวดีมาก สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องครบครัน มีที่วางทีวี มีเตียงนอน มีตู้ให้เราพร้อม ส่วนเราจะเติมเสริมอะไรก็แล้วแต่เรา ก็ชอบ ยิ่งพอมาดูงานก็ยิ่งชอบ มีหลากหลายแผนก ทั้งแผนกแก้ว แผนกเพนต์ แผนกหนัง แรกๆ เข้าไปดูแผนกเพนต์ก่อน แต่เห็นเขาทำก็คิดว่าต้องทำยาก เพราะเราไม่มีพื้นฐานประสบการณ์”
จากด้ามปืนกลขนาดใหญ่ กลายเป็นพู่กันเรียวเล็กที่อยู่ในมือ เจ้าตัวถึงกับหัวเราะเมื่อทำมือทำไม้ในท่าทางต่างกันอย่างลิบลับให้เราดู
“เป็นทหารก็จับปืน ตอนเด็กก็จับจอบจับเสียม ตอนนี้ต้องมาเปลี่ยนจับพู่กัน คือจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย (หัวเราะ)
“แต่จริงๆ ตอนนั้นแรกๆ ก็คิดว่ายาก ก็เลยจะไปทำเกี่ยวกับเช็กสต๊อกสินค้า เพราะผมมีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ เคยได้รับประกาศนียบัตรจากอาจารย์ท่านหนึ่งที่สอนพื้นฐาน แต่ก่อนจะตัดสินใจเข้ามาอยู่ ก็ไปขอเปลี่ยน เพราะคิดว่าถ้าเราฝึกฝน วันหนึ่งเราก็ต้องทำได้”
และเขาก็สามารถทำได้จนได้รับรางวัล “พัฒนาชิ้นงานดีเด่น” ซึ่งถึงตรงนี้ก็กินระยะเวลาราวร่วม 4 ปีกว่าแล้ว ที่งานศิลปะแนวเพนต์ลายกลายเป็น “อาชีพ” และสิ่งที่เขารัก ถึงขนาดวาดฝันต่อไปว่าจะเป็นศิลปินให้จงได้
“ก็อยากเป็นอย่างนั้น อยากเป็นศิลปินแล้วตอนนี้” ทหารหนุ่มกล่าวด้วยรอยยิ้มเปี่ยมสุข “คือเหมือนเริ่มชีวิตใหม่ อะไรใหม่หมด ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่บนสังคม ในองค์กร การเข้ากับสังคมว่าเขาอยู่กันอย่างไร
“ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี อบอุ่น คือมูลนิธสายใจไทย ที่นี่เราอยู่กันเหมือนครอบครัว ทุกคนช่วยเหลือกันตลอด แล้วเป้าหมายของมูลนนิธิสายใจไทย คือต้องการให้สมาชิกและครอบครัวสามารถมาอยู่ได้ อยากให้สมาชิกยืนด้วยขาของตัวเอง อันนี้คือเป้าหมายหลัก เพราะพอยืนด้วยขาตัวเองได้แล้ว จากนั้นก็เลี้ยงครอบครัวได้ พอเลี้ยงครอบครัวได้ เราก็จะทำเพื่อคนอื่นได้ ทำเพื่อสังคมได้ นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว อันนี้เป็นสิ่งที่มูลนิธิอยากให้เราได้ทำ"
เมื่อคิดได้ดังนั้น “ไม่มีขา ใช่ว่าไม่มีลมหายใจ” อันเป็นที่มาของชื่อหนังสือและเรื่องราวที่เคยเขียนไว้ตั้งแต่ตอนนอนรักษาอยู่โรงพยาบาลพระมุงกุฎเกล้า เพราะเห็นนายร้อยเขียนหนังสือของตัวเองแล้วก็ขายเป็นแรงบันดาลใจจึงเกิดขึ้น พร้อมกับสนุบสนุนรายได้ 10 บาทต่อเล่ม ให้กับมูลนิธิสายใจไทย
“คือผมคิดว่าอะไรก็ได้ที่ผมทำได้ ผมก็ยินดีที่จะทำสุดความสามารถ เพื่อส่วนรวม เพื่อเป็นประโยชน์ ผมก็คิดว่าเรื่องราวของผมจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนในสังคมอีกหลายๆ คน ก็เลยอยากจะถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของผมเพื่อเป็นแรงผลักดันให้กับสังคมที่กำลังท้อแท้และสิ้นหวัง เพื่อจะลุกขึ้นยืนอีกครั้ง ต่อสู้อีกครั้ง
“เพราะมูลนิธิให้เรามีตรงนี้ได้ ทำให้เราพร้อม เรายืนด้วยตัวเองได้ อันนี้บ่งบอกถึงความรู้สึกของผม ที่ผมมีได้ทุกวันนี้ก็เพราะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณอันเป็นล้นพ้น เป็นแสงส่องนำทางให้ผมมาอยู่ที่นี่ โดยผู้ใหญ่ให้การตอบรับเป็นอย่างดี สามารถประกอบอาชีพที่ตัวเองรักและเลี้ยงดูตัวเองได้ เลี้ยงดูครอบครัวได้และก็ทำเพื่อส่วนรวม ก็เลยอยากจะตอบแทนด้วยการเขียนหนังสือ อยากจะถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของผมที่ผ่านอะไรมาต่างๆ นานา ทั้งถูกครอบครัวกดดัน อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง คือชีวิตผ่านอะไรที่แสนสาหัสมาแทบทั้งสิ้น ความทุกข์ทรมาน โดนระเบิด แล้วต้องใช้ชีวิตอย่างไร ต้องปรับตัวเองแบบไหน เพื่อให้ฟื้นคืนกลับมา”
“จริงๆ ตอนแรกก็ไม่คิดว่าจะได้ตีพิมพ์ด้วยซ้ำ แต่โชคดีที่ได้ท่านผู้หญิงพึงใจ สินธวานนท์ ท่านเล็งเห็นความสำคัญและอนุเคราะห์ช่วยเหลือ ทั้งในแง่ทุนต่างๆ และการติดต่อประสานงานกับองค์กร จนกระทั่งได้รวมเล่มกับสำนักพิมพ์แพรว ในเครือของอมรินทร์
“ถือเป็นความโชคดีที่ท่านเห็นความสำคัญ ก็ต้องขอบพระคุณท่านและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ทำให้หนังสือเล่มนี้ออกมาได้ ตามความฝัน แล้วก็สวยสมบูรณ์ กระแสตอบรับจากผู้อ่านก็ดีจนกำลังจะพิมพ์ครั้งที่ 3 แล้ว คือผมไม่คิดว่าประชาชนทั่วไปหรือว่าสังคมจะสนใจหนังสือผม คือคนอ่านแล้วรู้สึกว่า ไม่อยากเชื่อว่าชีวิตเราจะผ่านอะไรมาเยอะขนาดนี้ ซึ่งถ้าเป็นคนคนหนึ่ง หรือเป็นเราแทนเขาจะผ่านไปได้ไหม ผมก็เลยมีคำถามว่าผมผ่านมันมาได้อย่างไร คำตอบมันก็คือเวลาเท่านั้น ที่เยียวยาชีวิตจิตใจ แล้วก็ขอบคุณพ่อแม่ที่ทำให้ผมเป็นแบบนั้น จนผมกลายมาเป็นแบบนี้ เหมือนกับผ่านเรื่องราวเลวร้ายทุกๆ อย่างซึ่งคนบางคนไม่อาจจะทำใจยอมรับได้ บางคนโดนกลืน แต่พื้นฐานชีวิตเราเป็นแบบนั้น”
ฟังจากน้ำเสียงทหารหาญที่ยืนยันหนักแน่น คงไม่ต้องถามถึงความรู้สึกกับภาพในอดีตว่ายังคงวนเวียนทำร้ายจิตใจอยู่หรือไม่ ยิ่งโดยเฉพาะกับวันนี้ที่เวลาเยียวยาทุกสิ่งอย่าง “การปล่อยวาง” ดูจะเป็นหนทางที่เขานั้นค้นพบ
“จริงๆ แรกๆ ก็มีบ้าง แต่หลังจากนั้นก็กลายเป็นปกติ เพราะเราทำใจและยอมรับในสิ่งที่เป็นได้แล้ว มันกลายเป็นเรื่องที่มันเป็นไปแล้ว เราไม่สามารถที่จะย้อนอดีตแล้วไปแก้ไขได้ อะไรที่ผ่านเข้ามาก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ เริ่มต้นใหม่อยู่กับปัจจุบันดีกว่า ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
“คือถ้าเป็นไทยพุทธก็ต้องเข้าหาธรรมะ ฟังเทศน์ ถ้าเป็นอิสลามแบบผมก็อ่านคัมภีร์อัลกุรอาน ฟังโต๊ะอิหม่ามหรืออะไรที่ช่วยเยียวยาจิตใจ คือทำอย่างไรก็ได้ให้เรามีความสุขที่สุด พยายามที่จะเรียนรู้ให้พ้นทุกข์ ซึ่งเมื่อก่อน ผมก็ไม่เรียนรู้เกี่ยวกับไทย-พุทธ เรื่องธรรมะ คือถ้ามีธรรมะ มีพระตรงไหน ผมจะไม่เข้า เพราะว่าศาสนาเราอยู่ในกฎและระเบียบตลอด แต่หลังจากเหตุการณ์ระเบิดผมก็เปิดใจ โดยมีการฟังธรรมะของท่าน ว.วชิรเมธี หรืออีกหลายๆ ท่านที่ฟังแล้วทำให้เราคิดได้ เมื่อผมฟังแล้วผมรู้สึกว่าทำให้เรานิ่งขึ้น เราสงบ ทำให้เราจิตใจไม่วอกแวก แล้วก็บวกกับการนั่งสมาธิ ทำจิตใจให้ร่มเย็น เพราะเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี เราอยู่ร่วมกันได้ แค่เราเปิดใจรับฟัง ซึ่งกันและกัน อยู่ด้วยเหตุและผล อยู่ด้วยความเข้าใจกัน เพราะว่าสังคมหรือว่าประเทศชาติ เราต้องอยู่ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน เปิดใจยอมรับฟังอีกฝ่ายหนึ่งว่าเขาจะพูดอะไร แล้วนำข้อดีของเขาไปปฏิบัติ ผมเชื่ออย่างนี้
“ทำให้เราอยู่กับความจริง อยู่กับปัจจุบัน ไม่นึกถึงอดีต ให้อภัยคนที่เขาทำร้ายเรา ผมให้อภัยพ่อผมที่ทำกับผม ผมให้อภัยคนที่วางระเบิดแล้วทำให้ผมขาขาด ผมอยากจะขอบคุณระเบิดลูกนั้นด้วยซ้ำที่ทำให้ชีวิตผมดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน เพราะเมื่อก่อนตอนสมัยผมไม่มีเงินที่จะซื้อขนมซื้อข้าว ไปเรียนต้องกินน้ำก๊อกแทนข้าวเที่ยง แต่มาวันนี้ผมสามารถซื้อขนมได้ แล้วก็เลี้ยงตัวเองได้ เลี้ยงครอบครัวได้ แล้วอีกอย่างคือทำเพื่อส่วนรวม เพื่อองค์กร เพื่อมูลนิธิ
“แต่ประเด็นที่สำคัญ คือเราต้องให้กำลังใจตัวเอง สร้างให้ตัวเองมีความสุข ลืมเรื่องความทุกข์ นี่ล่ะครับที่ทำให้ผมยืนอยู่ได้ เรารู้สึกว่าเรามีคุณค่ามากขึ้น อยากอยู่บนโลกใบนี้ต่อไป จนมาวันนี้ผมรู้สึกว่าผมมีทุกอย่างครบ สิ่งที่ผมต้องการก็คือผมอยากมีที่พัก อยากมีงานทำที่มั่นคง มีเงินเดือน แล้วที่สำคัญคือความมั่นคง ก็คือมีทุกอย่างหมดแล้ว
“ไม่มีความทุกข์แล้วใช่ไหมตอนนี้?” เราถามย้ำเพื่อความมั่นใจ
“คนเราก็มีความทุกข์ทั้งนั้นแหละครับ แต่อยู่ที่เราจะเรียนรู้และเติบโตกับมันอย่างไร คนที่แข็งแกร่ง คือคนที่ผ่านความทุกข์ น้ำตา หรือว่าอะไรที่มันเลวร้ายซึ่งเกินจะรับได้ แต่เขาก็รับได้และผ่านมันได้ เขาก็กลายเป็นคนที่ยืนอยู่ได้ อันนี้เป็นแรงบันดาลใจชั้นเยี่ยมเลย เราเห็นคุณค่าในชีวิตแล้ว เราเห็นตัวเองมีพลัง มีเกียรติ รู้สึกเป็นที่ยอมรับ คนเราพอเป็นที่ยอมรับ เราก็จะรู้สึกภูมิใจ ภูมิใจในสิ่งที่ได้ทำ ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ นานา
“ถ้าท่านยังทุกข์ ท้อแท้อยู่ ก็เอาผมเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิต หรือดูว่าชีวิตผมผ่านอะไรมาบ้าง ตอนที่ร่างกายผมขาขาดแล้วอยู่ในช่วงขอมอร์ฟีน ตื่นขึ้นมาร้องไห้ โวยวาย ดิ้นรน แต่เวลาและกำลังใจก็ช่วยเยียวยาและทำให้ผมผ่านมาได้จนทุกวันนี้
“ความทุกข์มันผ่านมา เข้ามา ไม่นานแล้วมันก็จะผ่านไป ชีวิตคนเราก็เช่นกัน ต่อให้เราโดนอะไรมา เราทุกข์อยู่ประมาณ 2-3 วัน ถ้าเราคิดในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ ถึงเราจะไม่เหลืออะไร แต่เราก็ยังมีลมหายใจอยู่
เรายังมีลมหายใจ เราสามารถที่จะทำเพื่อตัวเอง พอทำเพื่อตัวเองเสร็จ ก็ทำเพื่อคนอื่นหรือว่าทำเพื่อส่วนรวม”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : พลภัทร วรรณดี
เชื่อว่าหลายๆ คนที่ยังไม่ประสบพบเจอเหตุการณ์อย่างนี้ จะเอ่ยไม่ต่างไปจากนั้น...
แต่นั่นไม่ใช่สำหรับ “รต.ต่วนอัมรัน กรูโซ๊ะ” อดีตพลทหารประจำกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 5 จังหวัดยะลา ผู้ดูแลคุ้มครองชาวบ้าน ครู และลาดตระเวนตรวจความเรียบร้อยที่ต้องประสบกับการศูนย์เสียขาทั้งสองข้างด้วยจากระเบิด เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552
เพราะนอกจากเขาจะสามารถยืนหยัดกลับมาสู้ต่อ เขายังไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตา เพียรพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเองจนทุกวันนี้ไม่ต่างอะไรกับคนปกติ มิหนำซ้ำยังดูจะมีความสุขมากกว่าครั้งเก่าก่อนตอนมีขา
ยิ่งไปกว่านั้น เขายังได้นำเอาเรื่องราวแห่งความเจ็บปวดและผ่านพ้น มาถ่ายทอดผ่านตัวอักษรในหนังสือชื่อ “ไม่มีขา ใช่ว่าไม่มีลมหายใจ” นำส่งแรงบันดาลใจแห่งชีวิตสู่ผู้อ่าน ที่แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรี “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” ยังให้เกียรติแก่การกล่าวคำชมเชยผ่านคำนิยมในหนังสือเล่มนี้...
“...ร้อยตรีต่วนอัมรัน กรูโซ๊ะ คือบุคคลที่แสดงให้เห็นถึงการไม่ยอมแพ้และยืนหยัดด้วยหัวใจที่ควรยกย่อง การร้อยเรียงตัวอักษรของเขาบอกเล่าเรื่องราวของชีวิต ความรู้สึก และความคิดเพื่อให้ผู้อ่านสัมผัสกับประสบการณ์ของผู้ชายคนหนึ่งที่เติบโตมาด้วยการดิ้นรนและต่อสู้ชีวิตตลอดเวลา เมื่อเข้ารับราชการเป็นทหารอาชีพ เขาก็ปฏิบัติหน้าที่อย่างอดทนและเสียสละเพื่อดูแลปกป้องประชาชนและประเทศชาติอย่างเต็มกำลังความสามารถ หนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่แค่การบันทึกเหตุการณ์ในชีวิต แต่คือตำราการต่อสู้ด้วยหัวใจที่แข็งแกร่งของเขา...”
อยู่หรือตาย...
ขอไว้ลายชาติทหาร
"มันเริ่มจากที่ผมเห็นพี่ชายเป็นทหารพราน" ร้อยตรีต่วนอัมรัน กรูโซ๊ะ เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของการร้องขอเป็นทหารบกกองประจำการผลัด 1 ปี 2550 ที่จังหวัดนราธิวาส ในทันทีที่อายุครบกำหนดเกณฑ์
"คือเราชอบเครื่องแบบทหาร ยิ่งเราเห็นพี่ชายใส่ชุด เรายิ่งรู้สึกว่าเขาเท่ (ยิ้ม) และเพราะความที่ผมเกิดมาในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ คุณพ่อคุณแม่แยกทางกัน คุณพ่อเขาก็ไม่ได้สนใจเลี้ยงดูเราเท่าไหร่ โดนด่า โดนว่า โดนตี โดนไล่ออกจากบ้าน คือสารพัด ขนาดที่อายุก็มากแล้ว คนที่อยู่บ้านติดกันจะรู้ประจำ เพราะจะได้ยินประจำ ด่าเสียงดัง ด่าต่อหน้าผู้คน ที่สาธารณะ บอกตรงๆ ว่าท้อ อาย ก็เป็นเหตุหนึ่งด้วยที่ผมอยากจะหนีออกจากบ้าน แต่ผมไม่มีที่ไป โอกาสเดียวก็คือการเป็นทหาร
"และก็ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เพราะเราต้องอาศัยที่เขาอยู่ บางคนใจดีก็ให้อยู่ บางทีเราไม่จ่ายเงินเขาก็ไม่ให้เราอยู่ ก็ต้องย้ายไปเรื่อยๆ จนทำให้เบื่อกับการที่จะต้องเร่ร่อน แต่ก็โชคดีที่คุณย่ารับมาเลี้ยง แต่ผมก็อยู่กับย่าไม่ได้นาน เนื่องจากเราไม่มีสวนยาง งานต่างๆ ที่เราทำก็แค่รับจ้างทั่วไปใช้แรงกาย ขุดบ่อน้ำ เก็บเศษเหล็ก ก่ออิฐบล็อก สารพัด เพราะต้องช่วยเหลือตัวเองและครอบครัว"
เมื่อความชอบ บวกสถานการณ์และวันเวลาที่เหมาะเจาะ เขาจึงไม่ลังเลที่จะเลือกเดินเส้นทางชีวิตในชุดลายพราง เป็นทหารหาญ
"แต่ตอนแรกก็เกือบไม่ได้เป็นนะ" อดีตพลทหารหนุ่มประจำกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 5 กล่าวด้วยสีหน้ายิ้มแย้มอย่างมีความสุข ชนิดไม่เหลือเค้าเรื่องราวแห่งทุกข์โศก
"เพราะว่าผมสูง 159 เซนติเมตร ตามเกณฑ์เขาเอา 160 เซนติเมตรขึ้นไป ผมก็เลยร้องขอสมัคร ก็โชคดีได้ เขาก็ให้ผมเลือกว่าจะเป็นทหารบกหรือทหารเรือ ผมก็เลยคิดว่าทหารบกมันโหดดีนะ เอาโหดๆ นี่แหละ เพราะไหนๆ ก็เป็นแล้ว ก็เอาให้สุดๆ เลย
"หนึ่งเดือนก่อนจะเข้าไปกรม ก็เตรียมความพร้อมร่างกายในการไปเป็นทหาร วิ่งรอบหมู่บ้านเช้า-เย็น แล้วก็ทำทุกอย่างที่อยากทำ อะไรที่ไม่เคยเที่ยวก็ไปหมด ไปร้องเพลงตู้คาราโอเกะ ไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ พี่ๆ รุ่นน้อง เพราะคิดว่าวันข้างหน้าไม่รู้จะมีโอกาสทำอย่างนั้นอีกหรือเปล่า"
ท่าทางจริงจังของพลทหารหนุ่มทำให้รู้ว่าเขาคิดและรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งใครที่เคยเป็นจะโดยสมัครใจหรือไม่สมัครใจ ย่อมล้วนแต่จะต้องทำสิ่งนี้เผื่อแทบทั้งนั้น
"พอครบกำหนดวันที่ 1 พฤษภาคม ก็ไปรวมตัวอยู่ที่โรงยิมจังหวัด จากนั้นก็ไปคัดตัว ผมหยิบได้ ร.5 พัน 2 ต้องอยู่ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร (พื้นที่ ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี) จำได้ว่าตอนนั้นในระหว่างที่รอรับเสื้อกางเกงขาสั้นสีเขียวขี้ม้าคนละ 3-4 ชุด ต่างคนก็ต่างมองหน้ากันที่จุดรวมพล ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะโดนอะไรกัน"
"ช่วงแรกๆ ที่ฝึกก็เหนื่อยเลย (หัวเราะ) เพราะต้องปรับเรื่องระเบียบวินัยทหารใหม่ จากที่เราไม่เคยเหนื่อย เราไปฟิตซ้อมร่างกายมาดีขนาดไหน ก็ไม่เท่า มันเหนื่อยจริงๆ ตื่นเช้าตีห้า ตีห้าครึ่ง ได้ยินเสียงนกหวีดคือต้องวิ่ง ไม่มีการเดิน เอื่อยเฉื่อยไม่ได้ ทุกคนต้องวิ่งแล้วมาเข้าแถวตามที่เขาจัดเป็นหมวดเป็นหมู่ ฝึกตั้งแต่ก้าวเท้าให้พร้อมกัน เริ่มจากตบเท้าซ้าย การเดินทุกอย่างก็ผ่านไปได้ดีด้วยการฝึก ก็ได้อะไรมากกว่าที่คิด เหมือนกับที่เขาว่า "เป็นทหารได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด" อย่างไรอย่างนั้นเลย (ยิ้ม)
"คือได้ทั้งความเหนื่อย ความยากลำบาก แล้วก็สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันจนถึงทุกวันนี้ได้ อย่างเช่น ความสามัคคี ความเสียสละอดทน ความรับผิดชอบ อันนี้ที่สำคัญคือได้เรื่องของการรู้จักหน้าที่ของเรา การทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด"
70 วัน ระยะเวลาร่วม 2 เดือนกว่าๆ ของการฝึกหฤโหดภายใต้กฎระเบียบทหารใหม่ทุกกระเบียดนิ้ว ชีวิตราชการทหารก็ดูจะเบาบางลงด้วยภาระหน้าที่ใหม่ คือ "ผู้ช่วยครูฝึก" นับวันรอปลดประจำการ แต่ทว่าด้วยความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า เขาก็เลือกที่จะอาสารับใช้ชาติอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ไม่ใช่เพียงการเตรียมความพร้อมเป็นกองสำรอง แต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ภาคสนาม
"ตายซะดีกว่าที่จะละทิ้งหน้าที่...คือมันเป็นหน้าที่ ถ้าเราไม่ทำแล้วใครจะทำ" พลทหารหนุ่มเผย "อยู่ในกรมก็ได้ เป็นผู้ช่วยครูฝึก ทำงานรับใช้จ่ากอง ช่วยเสิร์ฟน้ำชากาแฟ แล้วก็ทำกิจวัตรประจำวันตามที่จ่ากองร้อยสั่ง เพราะไม่มีชื่อเราที่ต้องไปลงปฏิบัติ แต่เรารักที่จะช่วยเหลือคนอื่น เพื่อนๆ เราออกไปประจำการ แล้วเรามาเป็นทหารแล้ว ตรงนี้มันก็เป็นหน้าที่ของเราเหมือนกัน ถ้าเราไม่ทำแล้วเราจะให้คนอื่นทำมันก็ไม่ใช่"
"ก็เลยขออาสาลงพื้นที่ ตอนที่อาสาลงก็บอกกับตัวเองว่า "อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด แต่ถ้าเลือกได้ ขอตายในสนามรบ" อันว่าการตายในสนามรบเป็นเกียรติของทหาร ก็ได้ไปประจำอยู่ที่ฐานประจำวัดหลักห้า ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา เป็นฐานแรก ตอนนั้นไปเป็นกองบัญชาการในวัดเลย ซึ่งเราเป็นอิสลามจริงๆ ก็มีกฎห้าม แต่ว่าเราเข้าไปเพราะว่ามันเป็นหน้าที่"
รัศมีขอบเขตการดูแลรับผิดทั้งหมดทั้งตำบล "สะเตงนอก" สลับกับสับเปลี่ยนย้ายฐานไปยังจุดต่างๆ ตามความเหมาะสมและคำสั่งของผู้บังคับบัญชา นอกจากนี้ยังต้องลาดตระเวนเดินเท้าพื้นที่ท้องถนนและเส้นทางรถไฟ ลาดตระเวนด้วยรถมอเตอร์ไซค์ เป็นชุด รปภ.คุ้มครองครูคอยรับส่ง ตั้งด่านตรวจสกัดเพื่อความสงบเรียบร้อยทั้งกลางวันและกลางคืน คือภารกิจหลักหน้าที่ในทุกๆ วันที่ต้องเสี่ยงกับ "ความตาย"
"คือเราห้ามประมาท ถ้าเราประมาทเราจะตาย เพราะทุกอย่างก้าวคือความตายทั้งนั้น ไม่ว่าเราไปไหนมาไหนในสนาม เนื่องจากว่าเราเป็นทหาร เราใส่เครื่องแบบ เขาจะรู้ว่าเราไปไหนมาไหน เวลาใด แต่เราไม่สามารถรู้เขาได้ เหมือนกับว่าเราอยู่ที่สว่าง เขาอยู่ที่มืด โอกาสที่จะรอดถ้าเขาซุ่มโจมตีคือไม่มี" พลทหารหนุ่มว่า ก่อนจะเสริมบรรยายประสบการณ์ "ต้องเตรียมพร้อมตลอด รองเท้าคอมแบตแทบไม่ถอด ใส่นอนทั้งอย่างนั้นเลย เพราะว่าอีกสองสามชั่วโมง หัวหน้าชุดบอกเร็วๆ เราก็ต้องไปพรึ่บทีเดียวเลย ยิ่งถ้าเกิดวันไหนมีเหตุการณ์ ต้องตรวจละเอียด ทุกอย่างอะไรที่เราสงสัย การแต่งตัว การพูดจา หรือคนที่เข้าหา ต้องตรวจหมด"
แต่จนแล้วจนรอดเกือบ 6 เดือนที่สลับเปลี่ยนลงปฏิบัติหน้าที่ ความฝันการเป็น "ทหารพราน" ที่กำลังรอก่อร่างหลังการหมดผลัดประจำการในอีกสองถึงสามเดือนที่จะถึง ก็เป็นอันต้องจบลงจากชีวิตตลอดกาล ท่ามกลางเสียงระเบิดบนเส้นทางลัดสายยะลา-บันนังสตา บ้านกำปงตือเงาะ หมู่ที่ 2 ต.สะเตงนอก อ.เมืองยะลา ในเวลาเช้าตรู่ประมาณ 07.15 น. ของวันที่ 29 มกราคม 2552
"วันนั้น เราไปลาดตระเวนด้วยรถยูนิมอก ออกไปปฏิบัติชุด 5 คน เพื่อไปรอคุ้มครองเส้นทางครูในการสัญจรตรงนั้น คือที่เกิดเหตุเป็นร้านสังกะสีอยู่ร้านหนึ่งริมถนน ซึ่งเราจะไปพักอยู่ตรงนั้น เราก็ตรวจดูสิ่งของบริเวณรอบๆ ว่า มีอะไรที่ไม่เข้าท่าหรือที่ผิดปกติ เราก็ตรวจดูก่อน ปรากฏว่าหาอะไรในขยะก็ไม่มี ยกม้าหินอ่อนใต้ฐานรองในช่องก็ไม่มี"
"แต่ก่อนหน้านั้น เราก็บอกพลขับแล้วว่า เราไปพักที่อื่นก่อนไหม แต่เขาบอกว่ารอตรงนี้แหละ เดี๋ยวชุดอื่นจะมาเปลี่ยนต่อ" พลทหารหนุ่มเผยลางสังหรณ์ก่อนเหตุการณ์ร้ายจะมาเยือนโดยไม่รู้ตัว
"มันเนียนมาก จริงๆ มันอยู่ใต้โต๊ะหินอ่อน อยู่ข้างล่างเลย ก็คือไปอยู่สักพักหนึ่งตรงนั้น เพื่อนๆ ก็นั่งอยู่ด้วยกัน ในร้านก็มีโต๊ะหินอ่อน 2 ชุด ชุดแรกก็คือที่ผมนั่ง ชุดที่สองห่างกันประมาณสัก 10 เมตร ก็นั่งคุยกันว่าเดี๋ยวจบภารกิจ ชุดอื่นจะมา แต่ในระหว่างคุยก็รู้สึกในใจสงสัย สงสัยว่าทำไมวันนี้รถมันไม่ค่อยวิ่ง แล้วชาวบ้านรู้สึกเขาจะเงียบๆ เป็นพิเศษ ก็รู้สึกอยากจะไป อยากจะลุกจากที่นี่แล้วก็ไปที่อื่น ในระหว่างที่คิดนั้นเพื่อนคนหนึ่งก็ไปซื้อน้ำ ไม่ถึง 5 นาที เสียงระเบิดก็ดังขึ้น"
สีหน้าของอดีตทหารหนุ่มไฟแรง ทำให้เราพอจะคาดเดาได้ถึงความรู้สึกอัดแน่นของแรงระเบิดที่ไม่ใช่เพียงขาทั้งสองข้างที่ขาดกระเด็นไปคนละทิศทางอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว แต่มันคือการพังทลายล้มทั้งยืนของชีวิตคนทั้งคน
"พอเสียงตูม...ดังขึ้น แรกเลยคือผมรู้สึกมึน แต่ยังพอมีสติอยู่ รู้สึกได้ว่าชาๆ ช่วงล่าง แต่ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าตัวเองขาขาด เพราะตัวเรานอนหงายอยู่ ก็เลยค่อยๆ เอามือมายันพื้นเพื่อที่จะลุก ปรากฏว่าลุกขึ้นไม่ได้ ก็เลยมองไปที่ขา สภาพที่เห็นคือ ขาขวาไม่มี ไม่รู้อยู่ไหน ส่วนขาซ้ายเละยุ้ยหมดเลย" พลทหารหนุ่มเว้นวรรคเล็กน้อย ก่อนจะค่อยๆ เล่าความรู้สึกในเวลาเสี้ยววินาทีที่เสียงโกลาหลแทรกเอาความฝันอนาคตวิ่งผ่านเลยเขาไป
"คือความรู้สึกตอนนั้น โห่...เลย แวบแรกเสียใจมากๆ แล้วทุกอย่าง ความฝันอนาคตมันวิ่งเข้ามาหมดเลย
"มีแต่เสียงโกลาหล ต่างคนต่างเรียกร้องช่วยคนนี้ที ช่วยคนโน้นที และเพื่อนที่บอกว่าไปซื้อน้ำ ก็มาจับหลังผมลุกขึ้น แต่เราก็พยายามดิ้น เพราะมันเสียใจมาก ใจมันไม่มี ใจมันหมดแล้ว เพื่อนก็พยายามพูดใกล้ๆ หูว่าให้นึกถึงพระเจ้าเอาไว้ๆ เพราะว่าศาสนาอิสลามเวลาคนเราจะตายจะมีคำคำหนึ่งซึ่งจะต้องพูดเพื่อให้เราได้ขึ้นสวรรค์ ผมก็พยายามพูดได้ 3 ครั้ง จากนั้นผมก็สลบไป"
นั่นคือเรื่องราวฉากสุดท้ายในฐานะ “ทหารกล้า” ผู้ที่ปกป้องผืนแผ่นดินเพื่อความสงบสุขของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลงเหลือไว้เพียงอนุสรณ์ และนี่คือข้อความที่ยืนยันถึงอุดมการณ์แรงกล้าซึ่งแม้จะเผชิญกับจุดเปลี่ยนที่ขา แต่ทว่าไม่เคยเปลี่ยนที่ใจ ผ่านข้อความที่เขาบันทึกไว้ในสเตตัสบนเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553...
"ถึงแม้ว่าผมจะสูญเสียทุกอย่างในชีวิตผมไป ความหวัง ความรัก หรือหลายๆ อย่างที่ผมรอคอยวันนั้นจะมาถึง แต่มาวันนี้มันไม่มีอีกแล้ว ผมดีใจที่ได้เกิดมารับใช้ประเทศชาติบ้านเมือง อาชีพทหาร เป็นอาชีพที่ผมรักมาก คือความจริงแล้ว ผมอยากทำอาชีพนี้ไปจนถึงตาย แต่มาวันนี้ผมได้แค่ทำหน้าตรงนี้แค่ 2 ปีเอง ผมรู้สึกว่ามันน้อยมากสำหรับผม อยากบอกถึงความรู้สึกในใจว่า อยากกลับไปรับราชการทหารต่อเหมือนๆ ที่ผมทำมา แต่มันคงเป็นไปไม่ได้แล้ว ชาติหน้ามีจริงผมขอเกิดมาเป็นคนไทยและรับใช้ชาติแบบนี้อีกครั้ง"
กลางทางแยก
ที่ต้องใช้หัวใจเดิน
"แล้วผ่านพ้นคืนวันเหล่านั้นมาได้อย่างไร"
เราถามต่อเนื่องหลังจากเหตุการณ์ก่อนหน้านี้
"โอ้...มันทุกข์ทรมานมาก ผมนอนอยู่ที่โรงพยาบาลยะลา 15 วัน ขามันชาอยู่ประมาณ 2-3 วัน ชาเหมือนกับกลบเกลื่อนความเจ็บปวด เพราะในความชา มันเหมือนเราโดนหยิกทั่วร่างกาย แต่หลังจากนั้นแหละ มันคือ 'นรก' หลังจากหมดชาเข้าสู่ความเจ็บ อยู่ในสภาพเหมือนผัก คือร่อแร่ตลอด ตื่นขึ้นมาต้องขอมอร์ฟีน 4 ชั่วโมงให้หมอฉีดมอร์ฟีนครั้งหนึ่ง พอฉีดมอร์ฟีนร่างกายสะลึมสะลือ ก็หลับ พอตื่นขึ้นมาก็เรียกร้องอยู่อย่างนี้ มันคือช่วงที่ท้อแท้สุดๆ แล้วก็เจ็บสุดๆ เป็นอะไรที่อยากจะผ่านช่วงนี้ให้เร็วที่สุด
"หลังจากนั้น ทางกองทัพบกได้ส่งตัวขึ้นเครื่องบิน C-130 ของกองทัพอากาศ ไปที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ย้ายไปอยู่บนเตียงที่โน่นก็ต้องเป็นห้องแยก เพราะถ้าไม่แยกเราจะติดเชื้อแน่นอน หมอเขาก็กลัว ก็นอนอยู่บนเตียงอย่างเดียว ไม่ได้ลุกขึ้นมานั่งอะไรเลย คือนอนอย่างนั้นประมาณ 8 เดือนได้ ทำทุกอย่างบนเตียงหมด ซึ่งเป็นอะไรที่เราไม่เคย แต่วันนี้เราต้องเผชิญกับมัน”
...“มันเป็นอะไรที่ชีวิต เอาผมไปฆ่าเถอะ" คำตัดพ้อร้องขอในช่วงเวลานั้นที่ยากเกินจะรับไหว ยิ่งเฉพาะเวลาทำแผลทุกๆ 2 วันด้วยแล้ว ฆ่าให้ตายซะยังดีกว่า เพราะมันเจ็บเกินจะบรรยาย
"ผมพยายามพูดกับหมอ หมอทำอะไรก็ได้ให้ผมตายเถอะ ผมไม่อยากอยู่แล้ว เวลาที่หมอมาล้างแผลไม่อยากให้มาล้าง มันเจ็บมาก เพราะหมอเขาเทน้ำยาล้างแผลที 2-3 ขวด แถมต้องกินยากันติดเชื้อที่รสขมจนจะอ้วก เพื่อกันไม่ให้ติดเชื้อ เพราะถ้าติดเชื้อ หมอจะต้องตัดทันที”
"แต่ก็ติดเชื้อจนได้ หมอก็เลยต้องให้เข้าห้องผ่าตัด 2-3 ชั่วโมงอยู่ในนั้น เพื่อไปล้างแผลในห้องผ้าตัด แล้วก็ตัดชิ้นเนื้อที่มันตาย มันไม่ดี ที่ใช้การไม่ได้ นั่นคือช่วงเวลาที่ท้อแท้สุดๆ"
นอกจากแผลภายนอกที่ยากจะทำใจรักษา พลทหารต่วนอัมรันเล่าว่า “แผลที่จิตใจ” อาการก็ซ้ำร้ายลงกว่าเดิม เพราะต้องใช้เวลาในการเยียวยาถึง 2 ปี ในการยอมรับสภาพความพิการที่ตัวเองเป็นอยู่
“โลกเปลี่ยนมาก” ทหารหนุ่มลากเสียงยาว ก่อนจะกล่าวถึงความรู้สึก “คือแค่สิ่งต่างๆ นานา ที่เขาพูดถึงคนพิการอย่างโน้นอย่างนี้ เราก็ไม่ชอบแล้ว ก็เก็บตัว ไม่เข้าหาใครก่อน”
“แต่พอเราได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ก็ทำให้เข้าใจว่าสังคมเขาอยู่กันอย่างนี้ ก็เลยเปิดใจกว้าง จากนั้นก็มีทางผู้บังคับบัญชามาเยี่ยม เพื่อนที่โดนระเบิดมาปลอบว่าเดี๋ยวก็ได้ย้ายไปอยู่ตึกเดียวกัน ที่นั่นเพื่อนเยอะแยะ ก็มีกำลังใจขึ้นมาบ้าง แต่มันก็ยังทุกข์ทรมานอยู่ดี มันยังไม่หายไปจากใจเราหมด
“จนพอได้ย้ายมาตึกเดียวกับเพื่อนๆ ได้รู้จักเพื่อนเพิ่ม ได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกันว่า เออ นายคนนี้ ไปโดนที่ไหนมาขาขาด ชุดกี่คน หน่วยไหน สังกัดไหน ก็ทำให้มีเพื่อนที่คล้ายๆ เรา แต่ที่บาดเจ็บสาหัสที่สุดก็คือเรานี่แหละ ตอนนั้นกำลังก็มีมาเรื่อยๆ หลังจากได้เข้าสังคม จากนั้นก็จะมีประชาชนทั่วไปที่มีจิตอาสาทำกิจกรรมเข้าไปพูดคุยและให้กำลังใจ”
“เป็นกำลังใจให้นะๆ” “สู้ๆ นะ” คือคลื่นคำน้ำมิตรที่หลั่งไหลเข้ามา กว่าพันครั้งหมื่นครั้ง ช่วยพยุงจิตใจให้ลุกขึ้นตามลำดับ
“แรกๆ ผมก็คิดว่าเขาไม่ใช่ญาติเรา แล้วอีกอย่างเราก็ไม่รู้จักเขา (หัวเราะ) ก็คิดว่าเขาจะทำให้เราดีขึ้นได้อย่างไร ก็คิดอย่างนั้น แต่ว่าพอเขามา ผมกลับรู้สึกดีขึ้น คือเขาทำให้รู้ว่าเขามาอย่างจริงใจ เขามาอย่างจิตอาสาจริงๆ ก็พูดคุย ถ่ายรูปเล่นกัน มาทำกิจกรรม ร้องเพลงคาราโอเกะ เลี้ยงอาหาร ก็ทำให้เริ่มมีกำลังใจ ดีใจ
“แล้วในทุกเดือนหรือสองเดือน ก็มีจะหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาทั้งกองทัพบก ผู้บัญชาการทหารบก แม่ทัพ มาดูอาการของลูกน้องว่าเป็นอย่างไรบ้าง ผู้บัญชาการทหารบก ท่านห่วงใย สภาพร่างกายและจิตใจ จึงมีโครงการ "บำรุงขวัญเติมใจให้กับทหารหาญ" เพื่อที่จะพาทหารที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไปทัศนนศึกษา ไปเปิดหูเปิดตา นั่นก็เป็นอีกกำลังใจหนึ่งที่ทำให้ผมคิดได้ว่า ถึงแม้เราพิการ เราก็สามารถที่จะไปไหนมาไหนได้ ทำกิจกรรม มันก็เลยทำให้ผมรู้สึกว่าดีขึ้นๆ ซึ่งผมอยู่ที่นั่น ผมได้อะไรมาเยอะมาก ผมได้เรียนรู้ชีวิตตัวเอง ปรับสภาพกับสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ เพื่อน มิตรภาพ ผู้ใหญ่”
นอกจากนี้ก็ยังมี “แม่ศรี” พยาบาลเกษียณอันเป็นที่เคารพของเหล่าทหารหาญที่บาดเจ็บรักษาตัวทุกคนในโรงพยาบาลพระมุงกฎเกล้า และที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับ “กำลังใจพิเศษ” จากแฟนสาวที่รู้จักกันผ่านการแนะนำของเพื่อนทหารผู้เป็นกำลังใจสำคัญ
“จากที่ร้อนเป็นไฟอยู่ในใจ เขาเป็นเหมือนน้ำที่ดับไฟในในใจผม” ทหารหนุ่มกล่าวแซมยิ้ม เมื่อพูดถึงผู้หญิงที่เข้ามาในชีวิตรัก
“คือตอนที่นอนรักษาตัวและพักฟื้นจิตใจ อยู่โรงพยาบาล นอนนิ่งมันเบื่อมันเหงา เห็นเพื่อนเล่นคอมพิวเตอร์ เราก็เลยอยากมีบ้าง จริงๆ จะเอาไว้ฟังเพลง ดูหนัง เฉยๆ แต่พอมีแล้วอาสาเขาก็มาสอน เราก็เรียนรู้เอาไว้ ก็ทำให้เรารู้จักการเข้าอินเทอร์เน็ต รู้จักโปรแกรมต่างๆ อีเมล ตอนนั้นผมก็เริ่มมีเฟซบุ๊ก เขาก็สอนว่ามันคือการติดต่อระหว่างเพื่อน
“คือมันเหมือนเปิดโลกกว้าง เทคโนโลยีทุกวันนี้เหมือนกับว่าต่อให้เราอยู่กับที่ เราก็สามารถไปอีกที่ที่หนึ่งได้ พอเรียนรู้แล้วเราชอบ พอชอบก็อยากจะมีเพื่อน ซึ่งเฟซบุ๊กนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนนให้กับผม คือทำให้ผมเปลี่ยนจากที่เคยนั่งแล้วก็รอให้ใครเข้ามาพูด เข้ามาคุย ก็ทำให้เรากล้าเปิดตัวมากขึ้น
“ผมกับแฟนก็เลยได้รู้จักกัน” ทหารหนุ่มเผย ก่อนจะเล่าเรื่องราวอย่างแม่นยำตั้งแต่ปี พ.ศ.ที่รู้จัก จนไปถึงการพบกันครั้งแรกอย่างไม่ลืมเลือน
“แฟนเข้ามาตั้งแต่ปี 53 ซึ่ง เธอเป็นรุ่นน้องนายร้อย จปร.ที่เป็นเพื่อนผม เขาก็เลยแนะนำเรื่องของผมให้เธอฟังว่า มีทหารคนหนึ่งโดนระเบิดจากยะลาตอนนี้เขากำลังท้อแท้มาก อยากได้กำลังใจ จากนั้นแฟนผมก็แอดเพิ่มเพื่อนผม”
“ก็คุยกันในเฟซบุ๊ก หลังจากนั้นสักระยะหนึ่งก็เปลี่ยนเป็นโทร.คุยกัน แล้วเขาก็บอกว่าอยากจะมาเยี่ยมผม ผมก็บอกเขาว่าผมขาขาดนะ ผมไปไหนไม่ได้ เขาก็บอกว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวเขาจะมาเอง พอเขามาถึงผมได้เห็นเขาครั้งแรก เขาก็ไม่ได้รังเกียจไม่ได้อะไร (ยิ้ม) คือเขาอาจจะเข้าใจว่าทหารโดนระเบิดเป็นอย่างนี้ขาขาด นั่งวีลแชร์
“จริงๆ ผมก็ประเมินตัวเองก่อนนะที่จะชอบเขา คือตัวเองขาขาดแล้วก็ไปรักคนที่ขาดี เหมือนกับปิดตัวเอง ผมจะเป็นคนแบบนี้ ก็บอกเขาตรงๆ ว่าผมมีความสุข เวลาที่คุยพูดได้คุยกัน เขาเป็นคนที่ให้กำลังใจผมดีมาก เขาก็ให้กำลังใจแล้วก็พูดคุยได้ทุกอย่าง คือเหมือนกับเติมพลังให้ผมตลอด ทำให้ผมยืนขึ้นมาได้”
ไม่มีขา ใช่ว่าไม่มีลมหายใจ
ไม่มี "ใครอื่นใด" ...เพราะเราคือผองไทยด้วยกัน
เมื่อกำลังใจกลับคืนมา การไม่มีขา แล้วจะต้องไร้ชีวิต...ดูจะเป็นความคิดที่ห่างไกลไปเรื่อยๆ สำหรับ “ต่วนอัมรัน กรูโซ๊ะ” ในวันเวลานี้ เพราะแม้ว่าต่อให้ยังไม่มีเป้าหมายในชีวิตเหมือนเมื่อครั้งหนหลัง แต่เขาก็รับรู้ได้ถึงการมีชีวิต
“คือผมไม่รู้ว่าคนพิการเขาเหมาะกับงานไหน ตอนนั้นยังคิดไม่ออก ผมก็เลยไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ธุรการเกี่ยวผู้ป่วยชื่อพี่ต้อม ซึ่งอยู่ประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผมต้องทำงานอาชีพอะไร พี่เขาก็แนะนำให้ผมไปอยู่ที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก หรือแฟลตเกาหลี รามอินทรา 27 แล้วอีกที่หนึ่งก็คือมูลนนิธิสายใจไทย”
“ตอนนั้นไปดูสถานที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก เราก็รู้แล้วว่า โอเค มีงานให้เราทำประมาณนี้ๆ แกะสลักลวดไม้ ทำพวกศิลปะทางด้านนี้ แต่บรรยากาศโรงพยาบาลก็คือโรงพยาล ไม่ต่างจากที่เรานอนอยู่ตอนนี้ (ยิ้ม) คือคิดว่านอนอยู่บนเตียงแล้วอนาคตเราจะเป็นอย่างไร เราต้องการใช้ชีวิตประจำวันได้ ก็ขอไปดูที่แฟลตเกาหลี แฟลตเกาหลีก็มีเพื่อนเยอะอยู่ที่นั้น แต่ห้องพักจะติดๆ กัน พูดตะโกนหน่อยก็ได้ยินไปอีกห้องหนึ่งแล้ว เราก็คิดว่ายังไม่เป็นส่วนตัวพอ ก็มาได้ที่มูลนิธิสายใจไทย
“คือพอผมมาที่นี้ได้พบกับท่านผู้บริหาร ท่านมีความเมตตากับผมมาก ท่านให้ไปดูห้องพัก ซึ่งห้องผมพักที่ชั้น 2 ความกว้างและความเป็นส่วนตัวดีมาก สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องครบครัน มีที่วางทีวี มีเตียงนอน มีตู้ให้เราพร้อม ส่วนเราจะเติมเสริมอะไรก็แล้วแต่เรา ก็ชอบ ยิ่งพอมาดูงานก็ยิ่งชอบ มีหลากหลายแผนก ทั้งแผนกแก้ว แผนกเพนต์ แผนกหนัง แรกๆ เข้าไปดูแผนกเพนต์ก่อน แต่เห็นเขาทำก็คิดว่าต้องทำยาก เพราะเราไม่มีพื้นฐานประสบการณ์”
จากด้ามปืนกลขนาดใหญ่ กลายเป็นพู่กันเรียวเล็กที่อยู่ในมือ เจ้าตัวถึงกับหัวเราะเมื่อทำมือทำไม้ในท่าทางต่างกันอย่างลิบลับให้เราดู
“เป็นทหารก็จับปืน ตอนเด็กก็จับจอบจับเสียม ตอนนี้ต้องมาเปลี่ยนจับพู่กัน คือจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย (หัวเราะ)
“แต่จริงๆ ตอนนั้นแรกๆ ก็คิดว่ายาก ก็เลยจะไปทำเกี่ยวกับเช็กสต๊อกสินค้า เพราะผมมีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ เคยได้รับประกาศนียบัตรจากอาจารย์ท่านหนึ่งที่สอนพื้นฐาน แต่ก่อนจะตัดสินใจเข้ามาอยู่ ก็ไปขอเปลี่ยน เพราะคิดว่าถ้าเราฝึกฝน วันหนึ่งเราก็ต้องทำได้”
และเขาก็สามารถทำได้จนได้รับรางวัล “พัฒนาชิ้นงานดีเด่น” ซึ่งถึงตรงนี้ก็กินระยะเวลาราวร่วม 4 ปีกว่าแล้ว ที่งานศิลปะแนวเพนต์ลายกลายเป็น “อาชีพ” และสิ่งที่เขารัก ถึงขนาดวาดฝันต่อไปว่าจะเป็นศิลปินให้จงได้
“ก็อยากเป็นอย่างนั้น อยากเป็นศิลปินแล้วตอนนี้” ทหารหนุ่มกล่าวด้วยรอยยิ้มเปี่ยมสุข “คือเหมือนเริ่มชีวิตใหม่ อะไรใหม่หมด ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่บนสังคม ในองค์กร การเข้ากับสังคมว่าเขาอยู่กันอย่างไร
“ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี อบอุ่น คือมูลนิธสายใจไทย ที่นี่เราอยู่กันเหมือนครอบครัว ทุกคนช่วยเหลือกันตลอด แล้วเป้าหมายของมูลนนิธิสายใจไทย คือต้องการให้สมาชิกและครอบครัวสามารถมาอยู่ได้ อยากให้สมาชิกยืนด้วยขาของตัวเอง อันนี้คือเป้าหมายหลัก เพราะพอยืนด้วยขาตัวเองได้แล้ว จากนั้นก็เลี้ยงครอบครัวได้ พอเลี้ยงครอบครัวได้ เราก็จะทำเพื่อคนอื่นได้ ทำเพื่อสังคมได้ นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว อันนี้เป็นสิ่งที่มูลนิธิอยากให้เราได้ทำ"
เมื่อคิดได้ดังนั้น “ไม่มีขา ใช่ว่าไม่มีลมหายใจ” อันเป็นที่มาของชื่อหนังสือและเรื่องราวที่เคยเขียนไว้ตั้งแต่ตอนนอนรักษาอยู่โรงพยาบาลพระมุงกุฎเกล้า เพราะเห็นนายร้อยเขียนหนังสือของตัวเองแล้วก็ขายเป็นแรงบันดาลใจจึงเกิดขึ้น พร้อมกับสนุบสนุนรายได้ 10 บาทต่อเล่ม ให้กับมูลนิธิสายใจไทย
“คือผมคิดว่าอะไรก็ได้ที่ผมทำได้ ผมก็ยินดีที่จะทำสุดความสามารถ เพื่อส่วนรวม เพื่อเป็นประโยชน์ ผมก็คิดว่าเรื่องราวของผมจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนในสังคมอีกหลายๆ คน ก็เลยอยากจะถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของผมเพื่อเป็นแรงผลักดันให้กับสังคมที่กำลังท้อแท้และสิ้นหวัง เพื่อจะลุกขึ้นยืนอีกครั้ง ต่อสู้อีกครั้ง
“เพราะมูลนิธิให้เรามีตรงนี้ได้ ทำให้เราพร้อม เรายืนด้วยตัวเองได้ อันนี้บ่งบอกถึงความรู้สึกของผม ที่ผมมีได้ทุกวันนี้ก็เพราะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณอันเป็นล้นพ้น เป็นแสงส่องนำทางให้ผมมาอยู่ที่นี่ โดยผู้ใหญ่ให้การตอบรับเป็นอย่างดี สามารถประกอบอาชีพที่ตัวเองรักและเลี้ยงดูตัวเองได้ เลี้ยงดูครอบครัวได้และก็ทำเพื่อส่วนรวม ก็เลยอยากจะตอบแทนด้วยการเขียนหนังสือ อยากจะถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของผมที่ผ่านอะไรมาต่างๆ นานา ทั้งถูกครอบครัวกดดัน อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง คือชีวิตผ่านอะไรที่แสนสาหัสมาแทบทั้งสิ้น ความทุกข์ทรมาน โดนระเบิด แล้วต้องใช้ชีวิตอย่างไร ต้องปรับตัวเองแบบไหน เพื่อให้ฟื้นคืนกลับมา”
“จริงๆ ตอนแรกก็ไม่คิดว่าจะได้ตีพิมพ์ด้วยซ้ำ แต่โชคดีที่ได้ท่านผู้หญิงพึงใจ สินธวานนท์ ท่านเล็งเห็นความสำคัญและอนุเคราะห์ช่วยเหลือ ทั้งในแง่ทุนต่างๆ และการติดต่อประสานงานกับองค์กร จนกระทั่งได้รวมเล่มกับสำนักพิมพ์แพรว ในเครือของอมรินทร์
“ถือเป็นความโชคดีที่ท่านเห็นความสำคัญ ก็ต้องขอบพระคุณท่านและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ทำให้หนังสือเล่มนี้ออกมาได้ ตามความฝัน แล้วก็สวยสมบูรณ์ กระแสตอบรับจากผู้อ่านก็ดีจนกำลังจะพิมพ์ครั้งที่ 3 แล้ว คือผมไม่คิดว่าประชาชนทั่วไปหรือว่าสังคมจะสนใจหนังสือผม คือคนอ่านแล้วรู้สึกว่า ไม่อยากเชื่อว่าชีวิตเราจะผ่านอะไรมาเยอะขนาดนี้ ซึ่งถ้าเป็นคนคนหนึ่ง หรือเป็นเราแทนเขาจะผ่านไปได้ไหม ผมก็เลยมีคำถามว่าผมผ่านมันมาได้อย่างไร คำตอบมันก็คือเวลาเท่านั้น ที่เยียวยาชีวิตจิตใจ แล้วก็ขอบคุณพ่อแม่ที่ทำให้ผมเป็นแบบนั้น จนผมกลายมาเป็นแบบนี้ เหมือนกับผ่านเรื่องราวเลวร้ายทุกๆ อย่างซึ่งคนบางคนไม่อาจจะทำใจยอมรับได้ บางคนโดนกลืน แต่พื้นฐานชีวิตเราเป็นแบบนั้น”
ฟังจากน้ำเสียงทหารหาญที่ยืนยันหนักแน่น คงไม่ต้องถามถึงความรู้สึกกับภาพในอดีตว่ายังคงวนเวียนทำร้ายจิตใจอยู่หรือไม่ ยิ่งโดยเฉพาะกับวันนี้ที่เวลาเยียวยาทุกสิ่งอย่าง “การปล่อยวาง” ดูจะเป็นหนทางที่เขานั้นค้นพบ
“จริงๆ แรกๆ ก็มีบ้าง แต่หลังจากนั้นก็กลายเป็นปกติ เพราะเราทำใจและยอมรับในสิ่งที่เป็นได้แล้ว มันกลายเป็นเรื่องที่มันเป็นไปแล้ว เราไม่สามารถที่จะย้อนอดีตแล้วไปแก้ไขได้ อะไรที่ผ่านเข้ามาก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ เริ่มต้นใหม่อยู่กับปัจจุบันดีกว่า ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
“คือถ้าเป็นไทยพุทธก็ต้องเข้าหาธรรมะ ฟังเทศน์ ถ้าเป็นอิสลามแบบผมก็อ่านคัมภีร์อัลกุรอาน ฟังโต๊ะอิหม่ามหรืออะไรที่ช่วยเยียวยาจิตใจ คือทำอย่างไรก็ได้ให้เรามีความสุขที่สุด พยายามที่จะเรียนรู้ให้พ้นทุกข์ ซึ่งเมื่อก่อน ผมก็ไม่เรียนรู้เกี่ยวกับไทย-พุทธ เรื่องธรรมะ คือถ้ามีธรรมะ มีพระตรงไหน ผมจะไม่เข้า เพราะว่าศาสนาเราอยู่ในกฎและระเบียบตลอด แต่หลังจากเหตุการณ์ระเบิดผมก็เปิดใจ โดยมีการฟังธรรมะของท่าน ว.วชิรเมธี หรืออีกหลายๆ ท่านที่ฟังแล้วทำให้เราคิดได้ เมื่อผมฟังแล้วผมรู้สึกว่าทำให้เรานิ่งขึ้น เราสงบ ทำให้เราจิตใจไม่วอกแวก แล้วก็บวกกับการนั่งสมาธิ ทำจิตใจให้ร่มเย็น เพราะเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี เราอยู่ร่วมกันได้ แค่เราเปิดใจรับฟัง ซึ่งกันและกัน อยู่ด้วยเหตุและผล อยู่ด้วยความเข้าใจกัน เพราะว่าสังคมหรือว่าประเทศชาติ เราต้องอยู่ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน เปิดใจยอมรับฟังอีกฝ่ายหนึ่งว่าเขาจะพูดอะไร แล้วนำข้อดีของเขาไปปฏิบัติ ผมเชื่ออย่างนี้
“ทำให้เราอยู่กับความจริง อยู่กับปัจจุบัน ไม่นึกถึงอดีต ให้อภัยคนที่เขาทำร้ายเรา ผมให้อภัยพ่อผมที่ทำกับผม ผมให้อภัยคนที่วางระเบิดแล้วทำให้ผมขาขาด ผมอยากจะขอบคุณระเบิดลูกนั้นด้วยซ้ำที่ทำให้ชีวิตผมดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน เพราะเมื่อก่อนตอนสมัยผมไม่มีเงินที่จะซื้อขนมซื้อข้าว ไปเรียนต้องกินน้ำก๊อกแทนข้าวเที่ยง แต่มาวันนี้ผมสามารถซื้อขนมได้ แล้วก็เลี้ยงตัวเองได้ เลี้ยงครอบครัวได้ แล้วอีกอย่างคือทำเพื่อส่วนรวม เพื่อองค์กร เพื่อมูลนิธิ
“แต่ประเด็นที่สำคัญ คือเราต้องให้กำลังใจตัวเอง สร้างให้ตัวเองมีความสุข ลืมเรื่องความทุกข์ นี่ล่ะครับที่ทำให้ผมยืนอยู่ได้ เรารู้สึกว่าเรามีคุณค่ามากขึ้น อยากอยู่บนโลกใบนี้ต่อไป จนมาวันนี้ผมรู้สึกว่าผมมีทุกอย่างครบ สิ่งที่ผมต้องการก็คือผมอยากมีที่พัก อยากมีงานทำที่มั่นคง มีเงินเดือน แล้วที่สำคัญคือความมั่นคง ก็คือมีทุกอย่างหมดแล้ว
“ไม่มีความทุกข์แล้วใช่ไหมตอนนี้?” เราถามย้ำเพื่อความมั่นใจ
“คนเราก็มีความทุกข์ทั้งนั้นแหละครับ แต่อยู่ที่เราจะเรียนรู้และเติบโตกับมันอย่างไร คนที่แข็งแกร่ง คือคนที่ผ่านความทุกข์ น้ำตา หรือว่าอะไรที่มันเลวร้ายซึ่งเกินจะรับได้ แต่เขาก็รับได้และผ่านมันได้ เขาก็กลายเป็นคนที่ยืนอยู่ได้ อันนี้เป็นแรงบันดาลใจชั้นเยี่ยมเลย เราเห็นคุณค่าในชีวิตแล้ว เราเห็นตัวเองมีพลัง มีเกียรติ รู้สึกเป็นที่ยอมรับ คนเราพอเป็นที่ยอมรับ เราก็จะรู้สึกภูมิใจ ภูมิใจในสิ่งที่ได้ทำ ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ นานา
“ถ้าท่านยังทุกข์ ท้อแท้อยู่ ก็เอาผมเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิต หรือดูว่าชีวิตผมผ่านอะไรมาบ้าง ตอนที่ร่างกายผมขาขาดแล้วอยู่ในช่วงขอมอร์ฟีน ตื่นขึ้นมาร้องไห้ โวยวาย ดิ้นรน แต่เวลาและกำลังใจก็ช่วยเยียวยาและทำให้ผมผ่านมาได้จนทุกวันนี้
“ความทุกข์มันผ่านมา เข้ามา ไม่นานแล้วมันก็จะผ่านไป ชีวิตคนเราก็เช่นกัน ต่อให้เราโดนอะไรมา เราทุกข์อยู่ประมาณ 2-3 วัน ถ้าเราคิดในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ ถึงเราจะไม่เหลืออะไร แต่เราก็ยังมีลมหายใจอยู่
เรายังมีลมหายใจ เราสามารถที่จะทำเพื่อตัวเอง พอทำเพื่อตัวเองเสร็จ ก็ทำเพื่อคนอื่นหรือว่าทำเพื่อส่วนรวม”
เรื่อง : รัชพล ธนศุทธิสกุล
ภาพ : พลภัทร วรรณดี