xs
xsm
sm
md
lg

ย้อนคดี “ดักฟังโทรศัพท์” ไม้เด็ดการเมืองเล่นงานศัตรู

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายณัฐวุฒิ  ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง เดินทางไปฟังคำพิพากษาคดีดักฟังโทรโทรศัพท์ที่ศาลอาญารัชดา เมื่อ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา
ศาลอาญา รัชดา พิพากษาจำคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำคนเสื้อแดง ในคดี “ดักฟังโทรศัพท์” เหตุเกิดเมื่อปี 2550 แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งเดียวที่การดักฟังถูกนำไปใช้เล่นงานแฉกันในการเมืองกัน แต่หากย้อนกลับไปจะพบว่ามีการใช้วิธีการนี้บ่อยครั้ง

เมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมา ศาลอาญา รัชดา ได้พิพากษา จำคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำคนเสื้อแดง ในคดีที่อัยการยื่นฟ้องฐานดักฟัง รับไว้ ใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยข้อความข่าวสาร ร่วมกันดักรับฟังใช้ประโยชน์ หรือเปิดเผยข้อความที่มีการติดต่อทางโทรศัพท์ จากกรณีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2550 นายจตุพร และ นายณัฐวุฒิ กับพวกร่วมกันนำข้อความ ที่ พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ กับ นายวิรัช ชินวินิชกุล อดีตเลขานุการศาลฎีกา และ นายไพโรจน์ นวานุช ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ประจำสำนักประธานศาลฎีกา ไปเปิดบนเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง

อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปจะพบว่าการดักฟังถูกนำไปใช้เล่นงานแฉกันในการเมืองกันบ่อยครั้ง

ครั้งหนึ่ง เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้สั่งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงหน่วยหนึ่ง ทำการติดต่อประสานงานบริษัทผลิตเครื่องดักฟังจากต่างประเทศ ซึ่งเคยนำมาใช้ดักฟังโทรศัพท์ในการปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติด โดยครั้งนี้ให้สั่งซื้อเครื่องดักฟังรุ่นใหม่ที่มีความทันสมัยที่สุดจำนวน 20 เครื่อง เพื่อมาใช้งานทั้งเรื่องการเมืองและงานด้านยาเสพติด

“เครื่องดักฟังรุ่นนี้มีความทันสมัยมากกว่ารุ่นก่อน ที่เคยใช้สืบจับขบวนการค้ายาเสพติดที่เมืองไทยมีอยู่ เพราะรุ่นนี้นอกจากสามารถดักฟังโทรศัพท์ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถตรวจสอบอีเมลต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งเชื่อว่านอกจากจะนำมาใช้งานด้านยาเสพติดแล้ว ก็น่าจะเอามาใช้งานการเมือง เพื่อคอยติดตามความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล” แหล่งข่าวกล่าว

หรือแม้กระทั่ง “นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค” รมว.ยุติธรรม เคยเป็นข่าวอยู่หลายครั้ง ออกมาบอกว่า ถูกดักฟังโทรศัพท์จากบุคคลบางกลุ่ม จนทำให้ถูกมองว่าจะใช้ประเด็นนี้มาโยกย้าย “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นหน่วยที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องการดักฟังโทรศัพท์ เนื่องจาก “มาตรา 25 ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ระบุว่าในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เอกสารหรือข้อมูลข่าวสารอื่นใดซึ่งส่งทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการสื่อสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด ถูกใช้หรืออาจถูกใช้ เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดที่เป็นคดีพิเศษพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ

มาตรา 25 เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐสามารถดักฟังโทรศัพท์ อ่านจดหมาย หรือการสื่อสารใดๆ ของประชาชนได้ เพราะอำนาจปกติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเจ้าหน้าที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม ดังนั้น อำนาจพิเศษของดีเอสไอตามมาตรา 25 นี้จึงเป็นอำนาจที่พิเศษ

หรือจะเป็นคดีลอบสังหาร นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ ภายหลังจากที่ชุดสืบสวนสอบสวนคลี่คลายคดีคนร้ายใช้อาวุธสงครามลอบสังหาร นำโดย พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร. ได้ออกหมายจับผู้ต้องหาที่เข้าร่วมขบวนการลอบสังหารไปแล้วรวม 3 คน โดยหนึ่งในผู้ที่ถูกออกหมายจับคือ ส.ต.ท.วรวุฒิ มุ่งสันติ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข่าวกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ช่วยราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แต่ทว่าทั้ง บช.ปส. และดีเอสไอ ต่างปฏิเสธว่า ส.ต.ท.วรวุฒิ ไม่ได้อยู่ในบังคัญบัญชา แม้ล่าสุดชุดคลี่คลายคดีจะสามารถตามยึดรถยนต์เชฟโรเลตของกลางจากนักค้ายาเสพติด ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษของนำมาใช้ในราชการ และไปอยู่ในการครอบครองของ ส.ต.ท.วรวุฒิ ที่บ้านแม่ยาย

ส.ต.ท.วรวุฒิ นั้น ก่อนที่จะเข้ารับราชการ เคยถูก พ.ต.อ.ดุษฎี เมื่อครั้งยังสังกัด บช.ปส. จับกุมได้เกี่ยวกับเรื่องยาเสพติดหลายครั้ง จากนั้นเห็นว่ามีหน่วยก้านดีที่จะเป็นสายให้ตำรวจได้ จึงวางให้เป็นสายตำรวจ ประกอบกับ ส.ต.ท.วรวุฒิ นั้น เป็นผู้ที่มีความชำนาญเกี่ยวกับระบบโทรศัพท์ แต่ทักษะยังไม่เพียงพอในการสืบราชการลับ หรือทำงานใต้ดินจึงถูกส่งไปฝึกฝนในสำนักงานค่ายโทรศัพท์ยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ก่อนที่จะลาออกจากบริษัท และถูกดันให้เข้ารับการบรรจุเป็น “พลตำรวจ” รุ่นพิเศษ ที่เรียกกันว่า “รุ่นพลขับ” ซึ่งต่อมา ส.ต.ท.วรวุฒิ ก็ทำหน้าที่เป็นพลขับรถประจำผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดที่ชื่อ “พล.ต.ท.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์” ต่อมา เมื่อ พ.ต.อ.ดุษฎี โอนย้ายมาสังกัดดีเอสไอ จึงมีความพยายามที่จะดึงตัว ส.ต.ท.วรวุฒิ มาสังกัดเดียวกัน แต่สุดท้ายก็ทำได้เพียง “ช่วยราชการ” และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ” ลำดับที่ 24 เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ก่อนที่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล จะถูกลอบสังหารเพียง 2 เดือน และถนัดในการใช้เครื่องดักฟังโทรศัพท์

นอกจากนั้น กรณี นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค อดีต รมว.ยุติธรรม เคยทาบทาม นายนาม ยิ้มแย้ม อดีตประธาน คตส. เป็นที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม ไม่ทราบว่าข่าวเรื่องนี้ออกมาจากที่ไหน แต่แนวทางการทำงานส่วนตัวจะตั้งคณะทำงานหลายหน่วย ประมาณ 7 - 8 ชุด เพื่อช่วยงานด้านต่างๆ ของกระทรวง แต่ยอมรับว่าได้โทรศัพท์ทาบทามนายนาม มาเป็นคณะทำงาน ไม่ใช่ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรี

“ผมอยากบอกว่า นี่เป็นเพียงความพยายามของผมที่จะทดสอบว่าการสื่อสารทางโทรศัพท์ เพราะเชื่อว่ามีการดักฟังการสื่อสารทางโทรศัพท์ แต่ไม่ทราบเหมือนกันว่าใครเป็นคนดักฟัง และเผอิญเรื่องที่ผมพูดคงเป็นเรื่องที่เขาสนใจ เลยนำไปโยงกัน ซึ่งผมทดลองการดักฟังโทรศัพท์มาตั้งแต่ผมรับตำแหน่ง”

ขณะที่ กระทรวงการต่างประเทศก็เคยเกิดเรื่องลักษณะนี้ขึ้น กรณี นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง อ้างมีเทปลับสั่งการเลขานุการเอก สถานทูตไทยในกัมพูชา ให้หาข้อมูลตารางบินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ขอท้า นายจตุพร ให้นำเทปมาเปิดเผยต่อสาธารณชน ตนอยากฟังเสียงตัวเองใจจะขาด ส.ส. มีหน้าที่ดักฟังโทรศัพท์และทำงานรับใช้กัมพูชาหรือ

นายจตุพร กล่าวถึงนายกษิตท้าทายให้นำเทปบันทึกเสียงสั่งการให้เอาข้อมูลการเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ มาเปิดเผยว่า ครั้งที่ตนนำเทปบันทึกเสียง พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ อดีตปลัดสำนักนายกฯ พูดคุยกับฝ่ายตุลาการบนเวทีคนเสื้อแดง ตนกลับถูกแจ้งความดำเนินคดีข้อหาดักฟัง ทั้งที่เทปดังกล่าวมาจาก พล.ต.ต.พีรพันธุ์ อัดเสียงมาให้ เป็นการเล่มเกมให้ตนออกมาเปิดเผยข้อมูล จะได้เล่นงานทางกฎหมาย การดักฟังตามกฎหมายของไทยนั้นมีความผิด ดังนั้น ขอให้รอฟังจากฝั่งกัมพูชา เขากำลังพิจารณาว่าจะเปิดเผยหรือไม่ โดยดูจากการแสดงความรับผิดชอบของ รมว.ต่างประเทศ ที่ไปสั่งการจนก้าวล่วงความมั่นคงของประเทศเขา การเปิดฉากคดีลอบฆ่านายสนธิ ซึ่งเริ่มจากการออกหมายจับมือไม้หางแถวแล้วภาพต่างๆ ที่แนวทางการสืบสวนเริ่มกระจ่างชัดขึ้น

ส่วนของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ก็เจอดีมาเช่นกัน กรณี นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ออกมาเปิดเผยว่า โต๊ะทำงานพบเครื่องดักฟังระดับสูง! โดยเจ้าตัวให้เหตุผลถึงการตรวจห้องทำงานจนพบอุปกรณ์ดังกล่าวว่า เพราะหลังการเดินหน้าตรวจสอบการจัดครุภัณฑ์อาชีวศึกษา ภายใต้โครงการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ไทยเข้มแข็ง ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มูลค่ากว่า 5,300 ล้านบาท เริ่มมีพยานหลักฐาน และข้อมูลชัดเจนมากขึ้น แต่บุคคลภายนอกกลับรับทราบ จึงเป็นที่มาในการขอให้เจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) มาตรวจสอบและพบเจอ

ไม่พ้นแม้แต่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ยังเคยระบุถึงเรื่องนี้ กรณีกล่าวถึง พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการเกณฑ์ทหารของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ตนคิดว่า รมว.กลาโหม เปลืองตัว อาจจะฮึกเหิม หรือหมายมั่นปั้นมือที่จะเล่นงานผู้นำฝ่ายค้านเกินไป ไม่จำเป็นที่ต้องมาเปลืองตัวลงมาเล่นหรือหมายมั่นปั้นมือที่จะเล่นงานผู้นำฝ่ายค้านเกินไป ไม่จำเป็นที่ต้องมาเปลืองตัวลงมาเล่นงานด้วยตัวเอง เพราะข้อเท็จจริงก็ว่าไปตามเอกสารหลักฐาน ก็ให้เขาพิสูจน์กันไป เข้าใจว่าใกล้เวลาที่เขาจะปรับ ครม. ท่านก็ต้องลุกขึ้นมาแสดงอิทธิฤทธิ์กันหน่อย แต่คงไม่มีผลอะไรกับนายอภิสิทธิ์ เพราะเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไม่มีอะไรที่ต้องกังวลใจ

“ได้เตือนน้องๆ และเพื่อนๆ ภายในพรรคแล้วว่าต้องทำใจ เวลาคนพาลขึ้นมาครองเมืองมันก็จะมีปัญหาอย่างนี้ วันนี้เขาทั้งดักฟังโทรศัพท์ ตั้งข้อหาต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ก็ต้องทำใจ” นายสุเทพ ระบุ

อย่างไรก็ตาม การดักฟังพบว่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐที่สามารถกระทำได้ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบที่สามารถกระทำได้อาทิ เทคโนโลยีส่งเอสเอ็มเอสมา หรือโทรศัพท์มาแล้วเจ้าของเครื่องกดรับก็เรียบร้อย เท่ากับส่งไวรัสเข้ามาฝังในเครื่อง แต่วิธีนี้ใช้เงินมาก และเป็นเทคโนโลยีที่ไฮเทคมากๆ

มือถือโดนดักจีเอสเอ็ม กล่าวคือจีเอสเอ็มเป็นเทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับโทรศัพท์มือถือซึ่งใช้กันแพร่หลายที่่สุดในโลก เนื่องจากระบบจีเอสเอ็มไม่ปลอดภัย สามารถดักสัญญาณได้ ผิดกับสไกป์ที่ไม่สามารถดักได้ ไม่มีมนุษย์คนไหนในโลกดักได้ ทำให้ผู้ก่อการร้ายใช้กันทั่วไป

หรือที่เป็นที่นิยมกันมากและสะดวกกับค่าใช้จ่ายคือซื้อเครื่องดักฟังมาลงโปรแกรมเอง มีขายที่คลองถมเครื่องละไม่กี่พันบาท โปรแกรมดักฟัง ติดตาม หรือสอดแนมต่างๆ ทุุกวันนี้มีเยอะมาก และรับลงตามร้านค้าทั่วไป ตามห้างสรรพสินค้า โดยที่ตัวเครื่องมีช่องสำหรับใส่ซิม เมื่อใส่ซิมแล้วโทร.เข้าไปจะกลายเป็นไมโครโฟน ถ้าใช้วิธีนี้กับการสนทนาทางโทรศัพท์ คู่สนทนาต้องเปิดสปีคเกอร์โฟน หรือเปิดลำโพง หรือแม้แต่สไกป์อยู่ จึงจะได้ยินเสียงทั้งสองฝ่าย

เครื่องดักฟังเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก หรือจะเรียกว่าเครื่องควบคุม มีขายตามเว็บไซต์ต่างๆ โดยเฉพาะที่ตลาดคลองถม ด้านความสามารถดักฟังได้ทุกที่ทุกเวลา และยังสามารถถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอ มีความละเอียดเหมือนกล้องโทรศัพท์มือถือ ไม่มีเสียง ไม่มีสั่น จนทำให้เป้าหมายรู้ตัว วิธีติดตั้งเครื่องดักฟังผู้ต้องการดักฟังเมื่อคนที่จะดักฟังอยากรู้ข้อมูลของอีกฝ่ายก็ทำการใช้มือถือเครื่องควบคุมโทรไปหาเครื่องเป้าหมาย เมื่อเวลาผู้จะดักฟังโทรไปฟังเครื่องเป้าหมายจะไม่มีเสียงจากทางผู้ดักฟังหลุดเข้าไปให้เป้าหมายรู้ตัว

นอกจากนั้น การสื่อสารทางโทรศัพท์มือถือยังมีช่องโหว่หรือความไม่ปลอดภัย กล่าวคือตัวเครื่องมือถือ ที่เรียกว่า อิมมี (IMEI) สมมติว่าพิมพ์ *#06# เข้าไปจะได้เลขประจำเครื่อง ตัวเลข 3 ตัวแรกบอกว่าเป็นยี่ห้ออะไร เช่น 012 คือไอโฟน 4 ถ้า 013 คือไอโฟน 4เอส หรือไอโฟน 5 ถ้า 353, 357 คือ ซัมซุงแกแลคซี อย่างนี้เป็นต้น

แต่ตัวที่ดักกันคือ อิมซี (IMSI) คือเบอร์ที่อยู่ในซิม ตัวเลข 520 คือประเทศไทย เลข 2 ตัวถัดมาคือเครือข่ายที่ใช้ เช่น 18 คือดีแทค ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ดักอากาศและสามารถดักค่าอิมซีได้ เรียกว่า “อิมซี แคทเชอร์” ฉะนั้นถ้าเรารู้เบอร์ของเป้าหมาย ขับรถไปใกล้ๆ สมมติเป็นโรงแรมแห่งหนึ่ง ใครใช้โทรศัพท์มือถือคุยกันอยู่ในโรงแรมนั้นเราจับคู่ได้หมดโดยไม่ต้องรู้จักคู่สนทนา และไม่ต้องเข้าไปในโรงแรม แค่นำรถที่ติดตั้ง “อิมซี แคทเชอร์” ราคาประมาณ 10 ล้านบาทไปจอด ก็จะมีชื่อขึ้นมาเลยว่าใครคุยกับใคร สามารถดึงมาฟังทีละคู่ๆ ได้

ครั้งหนึ่งรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยให้ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) มีถึงแผนการตรวจสอบการสื่อสารของประชาชนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) ยูทิวบ์ (YouTube) วอชต์แอป (WhatsApp) และ ไลน์ (LINE) จนถูกประชาชนรุมวิพากษ์วิจารณ์

ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 8 ปอท. ไม่มีสิทธิในการดักฟังการสื่อสารของประชาชน การดักฟังจะทำได้ก็ต่อเมื่อคดีดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่ง ดีเอสไอ จะดักฟังได้โดยอาศัยคำสั่งศาล สำหรับคดีบางประเภทเท่านั้น

เครือข่ายพลเมืองเน็ต มีความสงสัยว่า การขอ “ตรวจสอบข้อมูลการสนทนา” ของ ปอท. นั้น หมายถึง การดักฟัง หรือ การขอบันทึกการสนทนา(chat log) หรือ ข้อมูลผู้ใช้ (user's data)

ในกรณีที่เป็นการดักฟังนั้น เครือข่ายพลเมืองเน็ต เห็นว่า ปอท. ไม่มีสิทธิที่จะกระทำการดังกล่าว

นอกจากนี้ แม้รัฐธรรมนูญไทยปี 2550 มาตรา 36 ซึ่งระบุว่า “การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้งการกระทำด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน จะกระทำมิได้” มีข้อยกเว้นสำหรับการดักฟังหรือสอดส่องการสื่อสารของประชาชนอยู่สำหรับเรื่องความมั่นคง และการรักษาศีลธรรมอันดี แต่เนื่องจากข้อยกเว้นดังกล่าวสามารถตีความได้อย่างกว้างขวาง การอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงควรจะมีคำอธิบายที่มีรายละเอียด และชัดเจนต่อประชาชน การเปิดโอกาสให้เกิดการดักฟังนั้น ยังเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิประชาชนในด้านอื่นๆ ด้วย ดังนั้น แม้จะมีการดักฟังซึ่งชอบด้วยกฎหมายก็ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง และใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
จำคุก 2 ปี"ตู่-เต้น" คดีดักฟังฮัลโหล รวบ2คนโยงบึ้มกทม.
ศาลพิพากษาจำคุก “ณัฐวุฒิ - จตุพร” คนละ 3 ปี ปรับ 6 หมื่นบาท คดีดักฟังโทรศัพท์การสนทนา เปิดเผยข้อความข่าวสาร หรือข้อมูลผู้อื่น จำเลยรับสารภาพ ประกอบหนึ่งในผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ ศาลลดโทษเหลือจำคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท และให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี รอง ผบ.ตร.แถลงข่าวจับกุม 2 ผู้ต้องหาครอบครองอาวุธสงครามฯพร้อมของกลางระเบิดชนิดขว้างเอ็ม 19 เอ 2 จำนวน 1 ลูก และลูกระเบิดชนิดขว้าง อาร์จีดี 5 จำนวน 2 ลูก เผยผลสอบเค้นหนักยอมเปิดปากรับสารภาพเชื่อมโยงกับคดีระเบิดป่วนกรุงในหลายพื้นที่ ตร.เร่งเค้นสอบหาผู้อยู่เบื้องหลัง
กำลังโหลดความคิดเห็น