วานนี้ (22 มิ.ย.) นายวิชา มหาคุณ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงการแก้ปัญหาคอร์รัปชันว่า ที่ผ่านมา การทำงานของป.ป.ช ยังทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แม้จะสามารถตรวจสอบข้าราชการและนักการเมืองในการกระทำที่ส่อว่าอาจจะเกิดการทุจริต แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะป.ป.ช ไม่มีอำนาจไต่สวนอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญอย่างนักธุรกิจ หรือเอกชนได้ ดังนั้นจึงเห็นควรแก้ไขกฎหมายเพื่อเอาผิดกับเอกชนเพิ่มเติม โดยการเอาผิดกับเอกชนนั้นจะมุ่งเน้นที่นิติบุคคล ซึ่งในต่างประเทศก็ทำ โดยสหประชาชาติมีข้อแนะนำว่า ขอให้ประเทศต่างๆได้เพิ่มมาตรการนี้เข้าไป โดยถือกฎหมายของประเทศอังกฤษนำมาใช้เป็นแม่แบบ
นายวิชา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้หากพบผู้บริหารของนิติบุคคลใดๆ ก็ตามที่ไปพัวพันกับการทุจริต ก็ต้องไปพิสูจน์ให้ได้ว่าตัวเองใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ มิฉะนั้นจะมีความผิดร่วมกับนิติบุคคลเช่นเดียวกัน ซึ่งหากดูในบางประเทศดักฟังโทรศัพท์จนทำให้ทราบความเคลื่อนไหวต่างๆ ก็จะทำการไต่สวนทันที ถึงแม้ยังไม่ได้มีการจ่ายเงิน แค่เป็นการวางแผนหารือกันในบริษัทว่าจะต้องจ่ายเงินสินบนที่ญี่ปุ่นเขาจับกันคาหนังคาเขา
นายวิชา ชี้แจงว่า ป.ป.ช ดำเนินการไต่สวนมาเป็น 10 ปี จึงรู้ว่าต้นเหตุของความล่าช้าอยู่ตรงไหน หรือทำไมสาวไปไม่ถึงตัวใหญ่ๆ ได้แต่ตัวเล็กๆ นั่นเพราะเจ้าของบริษัทไม่ยอมเปิดปาก ต่างกับ ป.ป.ช.ในหลายประเทศที่เขามีอำนาจเข้าไปตรวจสอบเส้นทางเดินของเงินของบริษัท ป.ป.ช.ออสเตรเลียบอกว่าถ้าเราไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบเอกชน การทำงานมันก็ต้องคลำไปตลอด หาเบาะแสยากมาก เพราะว่าข้าราชการเขามีอำนาจสามารถตัดตอนเพื่อปกป้องตัวเองได้ เอกชนไม่มีอำนาจใดๆ ถูกบีบฝ่ายเดียว แต่ถ้าเอกชนให้เบาะแสก็จะกันไว้เป็นพยาน คุ้มครองตามระบบ การไต่สวนถึงจะเป็นไปทั้งระบบ
นายวิชา ยังเสนออีกว่า ในการทำสัญญาระหว่างภาครัฐกับเอกชนโดยเฉพาะโครงการจัดซื้อจัดจ้างขนาดใหญ่ต้องมีการกระจายอำนาจความรับผิดชอบในลักษณะของคณะกรรมการหรือหน่วยงานกลางมาดูแลควบคุม คอยตรวจสอบราคา รวมทั้งความเหมาะสมต่างๆ ตั้งแต่ต้นว่าวิธีการดำเนินงานมีความโปร่งใสหรือไม่ ทำอย่างไรถึงจะได้ของคุณภาพดีราคาถูก รัฐไม่ต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาล ซึ่งในฮ่องกง สิงคโปร์ หรือแม้แต่ออสเตรเลียก็ล้วนมีหน่วยงานเช่นนี้
นายวิชา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้หากพบผู้บริหารของนิติบุคคลใดๆ ก็ตามที่ไปพัวพันกับการทุจริต ก็ต้องไปพิสูจน์ให้ได้ว่าตัวเองใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ มิฉะนั้นจะมีความผิดร่วมกับนิติบุคคลเช่นเดียวกัน ซึ่งหากดูในบางประเทศดักฟังโทรศัพท์จนทำให้ทราบความเคลื่อนไหวต่างๆ ก็จะทำการไต่สวนทันที ถึงแม้ยังไม่ได้มีการจ่ายเงิน แค่เป็นการวางแผนหารือกันในบริษัทว่าจะต้องจ่ายเงินสินบนที่ญี่ปุ่นเขาจับกันคาหนังคาเขา
นายวิชา ชี้แจงว่า ป.ป.ช ดำเนินการไต่สวนมาเป็น 10 ปี จึงรู้ว่าต้นเหตุของความล่าช้าอยู่ตรงไหน หรือทำไมสาวไปไม่ถึงตัวใหญ่ๆ ได้แต่ตัวเล็กๆ นั่นเพราะเจ้าของบริษัทไม่ยอมเปิดปาก ต่างกับ ป.ป.ช.ในหลายประเทศที่เขามีอำนาจเข้าไปตรวจสอบเส้นทางเดินของเงินของบริษัท ป.ป.ช.ออสเตรเลียบอกว่าถ้าเราไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบเอกชน การทำงานมันก็ต้องคลำไปตลอด หาเบาะแสยากมาก เพราะว่าข้าราชการเขามีอำนาจสามารถตัดตอนเพื่อปกป้องตัวเองได้ เอกชนไม่มีอำนาจใดๆ ถูกบีบฝ่ายเดียว แต่ถ้าเอกชนให้เบาะแสก็จะกันไว้เป็นพยาน คุ้มครองตามระบบ การไต่สวนถึงจะเป็นไปทั้งระบบ
นายวิชา ยังเสนออีกว่า ในการทำสัญญาระหว่างภาครัฐกับเอกชนโดยเฉพาะโครงการจัดซื้อจัดจ้างขนาดใหญ่ต้องมีการกระจายอำนาจความรับผิดชอบในลักษณะของคณะกรรมการหรือหน่วยงานกลางมาดูแลควบคุม คอยตรวจสอบราคา รวมทั้งความเหมาะสมต่างๆ ตั้งแต่ต้นว่าวิธีการดำเนินงานมีความโปร่งใสหรือไม่ ทำอย่างไรถึงจะได้ของคุณภาพดีราคาถูก รัฐไม่ต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาล ซึ่งในฮ่องกง สิงคโปร์ หรือแม้แต่ออสเตรเลียก็ล้วนมีหน่วยงานเช่นนี้