คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.ศรส.ขอคืนพื้นที่ ปะทะชายนิรนามผ่านฟ้า ตร.ดับ 1 ผู้ชุมนุมดับ 4 เจ็บครึ่งร้อย ด้านเวที กปปส.ตราด ถูกคนร้ายปาบึ้ม-กราดยิง ดับ 2 เจ็บหลายสิบราย!
เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ(ศรส.) ได้ระดมกำลังตำรวจ 25,000 นาย พร้อมชุดปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 อาวุธครบมือ เข้าขอคืนพื้นที่จากผู้ชุมนุม 5 จุด คือ ถนนราชดำเนิน ,รอบทำเนียบรัฐบาล ,กระทรวงมหาดไทย ,กระทรวงพลังงาน และศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ซึ่งเป็นไปตามที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการ ศรส.สั่งการ โดยอ้างว่า เพื่อคืนความสงบสุขให้ประชาชน และให้รัฐบาลเข้าทำงานในทำเนียบรัฐบาลได้
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) ได้นำมวลชนจากเวทีปทุมวันมาช่วยกลุ่ม คปท.รักษาพื้นที่ โดยปักหลักอยู่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ขณะที่ตำรวจได้ส่งชุดเจรจากับแกนนำผู้ชุมนุม แต่ไม่สำเร็จ จากนั้นตำรวจได้พยายามรุกคืบด้วยการกระชับพื้นที่บริเวณสะพานผ่านฟ้า มีการจับกุมผู้ชุมนุมที่นั่งสวดมนต์ มีการยิงแก๊สน้ำตา จากนั้นมีเสียงปืนไม่ทราบฝ่ายดังขึ้นเป็นระยะ
ระหว่างนั้น มีรายงานว่า ตำรวจได้จับกุมนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ(กปท.) ไปคุมขังไว้บนรถควบคุมผู้ต้องหา จากนั้นสถานการณ์เริ่มตึงเครียดมากขึ้น มีทั้งเสียงปืนและเสียงระเบิด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและตำรวจ โดยศูนย์เอราวัณ รายงานว่า มีผู้บาดเจ็บ 69 คน เสียชีวิต 5 คน เป็นตำรวจ 1 ผู้ชุมนุม 4 โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ถูกยิงที่ศีรษะ หน้าอก และลำคอ
สำหรับคลิปเหตุการณ์ที่มีการเผยแพร่ในภายหลังพบว่า มีภาพตำรวจใช้อาวุธปืนยิง รวมทั้งขว้างระเบิดใส่ผู้ชุมนุม ขณะเดียวกันก็มีคลิปที่ระเบิดถูกขว้างใส่โล่ตำรวจ ก่อนตกลงพื้น จากนั้นตำรวจนายหนึ่งในกลุ่มดังกล่าวได้ตัดสินใจเตะระเบิดเพื่อให้พ้นตัว แต่ไม่ทัน เพราะระเบิดก่อน ส่งผลให้ตำรวจได้รับบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ระเบิดที่เหมือนถูกขว้างใส่ตำรวจนั้น เป็นความผิดพลาดจากตำรวจเองหรือไม่ ที่ตำรวจอาจขว้างระเบิดใส่เต๊นท์ผู้ชุมนุม แต่บังเอิญระเบิดไปโดนเสาเต๊นท์ก่อนกระเด็นกลับมายังตำรวจ
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังตำรวจถอยร่นออกจากพื้นที่ที่มีการปะทะ ปรากฏว่า ได้มีชายนิรนาม 5 คนเข้าช่วยเหลือนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ออกมาจากรถควบคุมตัวผู้ต้องหา ทั้งนี้ การขอคืนพื้นที่ในวันดังกล่าว แม้ว่าที่ถนนราชดำเนินและรอบทำเนียบรัฐบาลตำรวจจะไม่สามารถยึดคืนได้ แต่สามารถยึดคืนพื้นที่หน้ากระทรวงพลังงานได้สำเร็จ พร้อมควบคุมตัวผู้ชุมนุมและแกนนำทั้ง 2 คน คือ นพ.ระวี มาศฉมาดล และนายทศพล แก้วทิมา แกนนำกลุ่มกองทัพประชาชนและเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย(กคป.) ไปไว้ที่ ตชด.ภาค 1 จ.ปทุมธานี ซึ่งภายหลัง ทั้งหมดได้รับการประกันตัวแล้ว โดยศาลตั้งเงื่อนไขห้ามแกนนำทั้งสอง ยุยงปลุกปั่น หรือก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง
หลังเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่นำไปสู่การเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ปรากฏว่า ทาง ศรส.พยายามกล่าวหาว่าผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายใช้ความรุนแรงและจะดำเนินคดี กปปส. ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ประกาศ จะฟ้องดำเนินคดีอาญา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ ,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้อำนวยการ ศรส. และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และกรรมการ ศรส.ทุกคนข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล พร้อมกันนี้ นายสุเทพ ยังได้ขอบคุณชายนิรนามที่ช่วยผู้ชุมนุม ไม่เช่นนั้นคงเกิดการสูญเสียมากกว่านี้
ทั้งนี้ นายสุเทพได้ประกาศยกระดับการชุมนุมกดดัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ด้วยการตัดท่อน้ำเลี้ยงตระกูลชินวัตร โดยมีการเคลื่อนมวลชนไปกดดันธุรกิจในเครือชินวัตร เช่น บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่อาคารชินวัตร 3 ,โรงแรมเอสซีปาร์ค พร้อมชวนให้ประชาชนย้ายค่ายโทรศัพท์มือถือ เลิกเป็นลูกค้าเอไอเอส พร้อมกันนี้ ยังประกาศจะตาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปทุกที่
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเหตุการณ์ปะทะที่ผ่านฟ้าและหลัง กปปส.ยกระดับการกดดันธุรกิจในเครือชินวัตร ปรากฏว่า ฝ่ายตรงข้ามเริ่มคุกคาม กปปส.ด้วยวิธีที่รุนแรงและอำมหิตมากขึ้นสังเกตได้จากเมื่อคืนวันที่ 21 ก.พ. คนร้ายได้ปาระเบิดใส่บริเวณแยกประตูน้ำ ใกล้เวที กปปส.ราชประสงค์ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 6 ราย และล่าสุด เมื่อคืนวันที่ 22 ก.พ. คนร้ายไม่ต่ำกว่า 5 คน ได้ใช้รถปิคอัพ 2 คันเป็นพาหนะ ปาระเบิด 2 ลูก พร้อมกราดยิงผู้ชุมนุมที่กำลังฟังการปราศรัยของแกนนำเวที กปปส.ที่ จ.ตราด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 30 คนโดยผู้บาดเจ็บมีเด็กวัย 8 ขวบรวมอยู่ด้วย และอาการสาหัส
2.ศาลแพ่ง ไม่ถอน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่สั่งเบรกข้อกำหนด 9 ข้อ ด้าน “ศรส.” ข้องใจ เล็งยื่นอุทธรณ์!
เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ศาลแพ่งได้นัดพิพากษาคดีที่นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการ ศรส. และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรองผู้อำนวยการ ศรส. เป็นจำเลยที่ 1-3 ฐานละเมิด จากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล และออกข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมิชอบและยังไม่มีเหตุจำเป็น โดยขอให้ศาลสั่งเพิกถอนประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินและห้ามใช้กำลังสลายการชุมนุม
ทั้งนี้ ศาลแพ่งพิพากษาว่า ห้ามจำเลยออกประกาศข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินจำนวน 9 ข้อ จาก 12 ข้อ ที่โจทก์ยื่นคำร้อง ประกอบด้วย 1.ห้ามส่งเจ้าหน้าที่ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของโจทก์ 2.ห้ามยึดอายัดเคมีภัณฑ์ 3.ห้ามออกคำสั่งรื้อถอนทำลายสิ่งกีดขวาง 4.กรณีซื้อขาย ใช้ และครอบครองเครื่องอุปโภคบริโภคไม่ต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่ 5.ห้ามสั่งปิดการจราจรและเส้นทางคมนาคม 6.ห้ามจำเลยสั่งห้ามไม่ให้ชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป 7.ห้ามจำเลยสั่งห้ามใช้เส้นทางการจราจร 8.ห้ามจำเลยสั่งห้ามเข้าอาคาร และ 9.ห้ามสั่งให้อพยพหรือห้ามไม่ให้เข้าออกพื้นที่ชุมนุม
เป็นที่น่าสังเกตว่า องค์คณะเสียงส่วนน้อย 2 ใน 3 เห็นว่า ควรถอนประกาศข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินทุกฉบับ เนื่องจากเห็นว่าการชุมนุมของ กปปส. เป็นไปโดยสงบปราศจากอาวุธตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ
หลังฟังคำพิพากษา นายสวัสดิ์ เจริญผล ทนายความของนายถาวร บอกว่า คำพิพากษาของศาลที่ออกมา เท่ากับว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นหมัน เพราะเพียงแค่ให้อำนาจฝ่ายบริหารออกประกาศได้ แต่ไม่สามารถใช้กับผู้ชุมนุมได้ และเมื่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นหมัน การออกหมายจับในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงต้องยกเลิกด้วย เพราะฉะนั้นทีมทนายความจะยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายจับต่อศาลอาญาต่อไป
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม ตอนแรกได้ออกมาขอบคุณศาลแพ่งที่ไม่เพิกถอน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ต่อมาได้เปลี่ยนท่าทีเเป็นเชิงตำหนิศาลที่ห้ามข้อกำหนดของ ศรส. 9 ข้อ พร้อมส่งผู้แทนไปยื่นหนังสือต่อศาลแพ่ง เพื่อขอปรึกษาขั้นตอนการปฏิบัติของ ศรส. นอกจากนี้ยังเล็งยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลแพ่งด้วย
ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในฐานะกรรมการ ศรส.แถลงเชิงตำหนิคำพิพากษาศาลแพ่งเช่นกัน โดยบอก ศรส.กังวล เพราะคำพิพากษาที่สั่งห้ามข้อกำหนดของ ศรส.ทั้ง 9 ข้อ เปรียบเสมือนภาวะสุญญากาศ ขาดการบังคับใช้กฎหมาย จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเพิ่มความขัดแย้งและความไม่สงบสุขมากขึ้น
ขณะที่ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) บอกว่า ศรส.ยังมีเวลาในการอุทธรณ์คำสั่งศาลภายใน 30 วัน ขณะเดียวกันจะขอทุเลาคำสั่งไว้ก่อน และว่า หากสถานการณ์เลวร้ายในระหว่างที่ ศรส.กำลังอุทธรณ์คำสั่งศาลแพ่ง ศรส.อาจต้องยกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเดิม และประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินกันใหม่ เพื่อให้สภาพบังคับที่ศาลห้าม 9 ข้อหมดไป
ด้านนายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พูดถึงกรณีที่เลขาธิการ สมช.ระบุว่า อาจเสนอให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อให้เงื่อนไขของศาลแพ่งที่กำหนดไว้สิ้นผล แล้วประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินใหม่ว่า การประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะมีผลได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลเห็นว่าสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้ว เมื่อสถานการณ์สิ้นสุดลงแล้ว การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นใหม่จึงเป็นการกระทำโดยมิชอบในตัวเอง
3.ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์แจ้งข้อกล่าวหา “ยิ่งลักษณ์” ไม่ระงับทุจริตจำนำข้าว เข้าข่าย ม.157 เรียกรับทราบข้อหา 27 ก.พ.!
เมื่อวันที่ 18 ก.พ. นายวิชา มหาคุณ กรรมการและโฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) แถลงว่า หลังจาก ป.ป.ช.ได้มีมติตั้งกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งชุดเป็นองค์คณะไต่สวนคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) กรณีเพิกเฉยต่อการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าว โดยได้ไต่สวนพยานบุคคลและพยานเอกสารมาระยะหนึ่งแล้ว จนมีความชัดเจนว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้รับหนังสือจาก ป.ป.ช.ที่ทักท้วงโครงการดังกล่าว เพราะจะก่อให้เกิดการทุจริตอย่างมหาศาล นอกจากนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังรับทราบเรื่องการทุจริตจากการอภิปรายในสภาฯ รวมทั้งรายงานผลการดำเนินโครงการจากประธานคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวว่ามีความเสียหายถึง 2 แสนล้านบาท ประกอบกับมีหนังสือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถึงรักษาการนายกฯ ให้ทบทวนและยุติโครงการดังกล่าว แต่แทนที่รักษาการนายกฯ จะระงับโครงการ กลับยืนยันจะดำเนินโครงการต่อไป จึงสะท้อนถึงเจตนาที่จะปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการตามมาตรา 157 รวมทั้งยังเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 อันเป็นเหตุถอดถอนออกจากตำแหน่งตามมาตรา 270
ดังนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีมติเอกฉันท์ให้มีหนังสือเรียก น.ส.ยิ่งลักษณ์ มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 27 ก.พ. เวลา 14.00น. และว่า ขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เพราะเป็นเพียงการแจ้งข้อกล่าวหา ต้องรอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์มาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน หลังจากมารับทราบข้อกล่าวหาก่อน จึงจะมีการชี้มูลต่อไป
ทั้งนี้ นายวิชา ยืนยันว่า ป.ป.ช.ทำคดีนี้อย่างตรงไปตรงมา ไม่ลำเอียง ส่วนกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำหนังสือทักท้วงไม่ให้ตนเข้าร่วมเป็นองค์คณะไต่สวนคดีนี้ ที่ประชุม ป.ป.ช. เห็นว่าไม่เข้าเหตุแห่งการร้องคัดค้าน ตนจึงเป็นองค์คณะไต่สวนเหมือนเดิม
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แถลงออกทีวีพูลเมื่อวันที่ 18 ก.พ. รวมทั้งโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 20 ก.พ. ยืนยันว่าไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหา พร้อมข้องใจว่า ป.ป.ช.มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ จึงรีบเร่งไต่สวนและชี้มูลความผิด โดยใช้เวลาดำเนินคดีแค่ 21 วัน
ด้านนายวิทยา อาคมพิทักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ออกมายืนยันว่า ป.ป.ช.ไม่ได้ใช้เวลาพิจารณาคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์แค่ 21 วัน เพราะความจริงแล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกร้องเรียนมาตั้งแต่ปี 2555 เป็นคำร้องเดียวกับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น ป.ป.ช.จึงใช้เวลาไต่สวนกรณีนี้มาปีกว่าแล้ว ไม่ใช่ 21 วันแต่อย่างใด
4.กกต. ยอมถอย ยกเลิกเลือกตั้งทดแทน 20 ,27 เม.ย. เปลี่ยนเป็น 2 มี.ค. ส่วน 28 เขต 8 จังหวัด รอศาล รธน.ชี้ขาด!
เมื่อวันที่ 19 ก.พ. คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ประชุมพิจารณาข้อเสนอ 8 ข้อของรัฐบาล-พรรคเพื่อไทย และนักวิชาการสายเพื่อไทย ก่อนมีมติว่า 1.การรับสมัคร ส.ส.28 เขต 8 จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีผู้สมัครนั้น กกต.เตรียมออกประกาศให้เปิดรับสมัคร ส.ส.ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนด่วนพิเศษ(EMS) โดยเชื่อว่าจะทำให้การขัดขวางการรับสมัครคลี่คลายได้ 2.การจัดพิมพ์และส่งบัตรเลือกตั้ง กกต.รับข้อเสนอ เช่น จะดำเนินการอย่างลับๆ 3.การหากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง(กปน.) หากเปิดหน่วยเลือกตั้งแล้ว กปน.ไม่มา ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าเป็น กปน.ได้ และจะมีมาตรการลงโทษทางวินัยกรณี กปน.ละทิ้งหน้าที่ ส่วนกรณีที่จะให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตเข้ามาเป็น กปน.นั้น กกต.เห็นว่า กฎหมายเปิดช่องให้ทำได้เฉพาะกรณี กปน.ทั้งหมด 9 คนไม่มาปฏิบัติหน้าที่ในวันเลือกตั้ง ซึ่งกรณีนี้ กกต.มีมติจะแก้ปัญหาด้วยการตั้ง กปน.สำรองให้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้
ส่วนข้อ 4 และ 5 กรณีมีการขัดขวางการกระจายบัตรเลือกตั้ง และเกิดเหตุในวันเลือกตั้ง กกต.รับข้อเสนอ เช่น เพิ่มจุดกระจายบัตร จัดอุปกรณ์สำรอง แต่ที่ กกต.รับไม่ได้คือ การให้มีบัตรสำรอง เพราะอาจถูกกล่าวหาว่ามีบัตรเลือกตั้งเกินได้ 6.กกต.รับข้อเสนอที่จะมีหนังสือสั่งการไปยังหน่วยงานความมั่นคง ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองให้ช่วย กกต.จัดการเลือกตั้ง 7.กกต.ยืนยันว่า หากการเลือกตั้ง ส.ส.ยังไม่แล้วเสร็จครบทั้ง 375 เขต กกต.จะไม่สามารถคำนวณและประกาศผล ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ และอาจเสี่ยงต่อการทำให้การเลือกตั้งทั้งหมดเสียไป โดย กกต.จะเร่งจัดการเลือกตั้งในส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ส่วนข้อ 8 ที่รัฐบาลเสนอให้เปลี่ยนแปลงกรอบเวลาวันลงคะแนนเลือกตั้งทดแทนให้เร็วขึ้น จากเดิมที่ กกต.กำหนดไว้ในวันที่ 20 และ 27 เม.ย.นั้น กกต.มีมติให้ยกเลิกกำหนดวันดังกล่าว และให้จัดลงคะแนนเลือกตั้งในวันที่ 2 มี.ค.แทน เพื่อให้อยู่ในกรอบเวลา 30 วันนับแต่วันเลือกตั้งที่จะต้องมีการเปิดประชุมสภาตามมาตรา 127 โดยจะเป็นการจัดลงคะแนนใน 5 จังหวัดที่มีความพร้อม และ กกต.ประเมินว่าจะไม่มีการขัดขวางการลงคะแนนเลือกตั้ง ประกอบด้วย การเลือกตั้ง ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้งของ จ.เพชรบุรี 74 หน่วย ,จ.ระยอง 27 หน่วย และการเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งกลางทดแทนการลงคะแนนนอกเขตจังหวัดใน จ.เพชรบูรณ์ ,สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
ทั้งนี้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง บอกว่า หากในวันที่ 2 มี.ค.มีการขัดขวางการลงคะแนนเลือกตั้งอีก กกต.จะประกาศงดการลงคะแนนตามมาตรา 78 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. และ กกต.จะพิจารณาจัดลงคะแนนใหม่ต่อไป พร้อมยอมรับว่า แม้จะจัดลงคะแนนเลือกตั้งวันที่ 2 มี.ค.แล้ว ก็ยังไม่สามารถได้ ส.ส.ร้อยละ 95 ที่จะเปิดประชุมสภาครั้งแรกได้
ส่วนเขตเลือกตั้งที่เหลือและยังมีปัญหาจัดการเลือกตั้งไม่แล้วเสร็จ รวมถึง 28 เขตใน 8 จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีผู้สมัครนั้น กกต.มีมติจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากมีความเห็นแย้งระหว่าง กกต.และรัฐบาล โดย กกต.เห็นว่า รัฐบาลควรออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ แต่รัฐบาลได้มีหนังสือตอบกลับมายัง กกต.โดยอ้างความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า รัฐบาลไม่สามารถออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ได้
ด้านแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล 4 พรรค ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย ,พรรคชาติไทยพัฒนา ,พรรคชาติพัฒนา และพรรคพลังชล ได้ประชุมหารือเรื่องเลือกตั้งเมื่อวันที่ 21 ก.พ. โดยได้ข้อสรุปว่า พรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่า กกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ทันเปิดประชุมสภาให้ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง พร้อมอ้างว่า กกต.สามารถประกาศผลเลือกตั้งที่เลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว ไม่จำเป็นต้องรอให้เลือกตั้งครบทุกหน่วย
ขณะที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้ช่องให้ กกต.จัดเลือกตั้ง ส.ส.ใน 28 เขต 8 จังหวัดภาคใต้พร้อมกับการเลือกตั้ง ส.ว.ในวันที่ 30 มี.ค.
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ยืนยันว่า ที่มีการเรียกร้องให้ กกต.จัดเลือกตั้งให้แล้วเสร็จในกรอบ 30 วันหลังวันเลือกตั้ง เป็นไปไม่ได้ เพราะการเลือกตั้งใน 28 เขต 8 จังหวัดยังไม่มีความชัดเจนว่าจะให้เกิดขึ้นอย่างไร และว่า กกต.จะเชิญผู้บริหารพรรค 4 พรรคมาร่วมงานสัมมนาเพื่อจัดการเลือกตั้งให้สำเร็จ ซึ่ง กกต.จะจัดขึ้นในวันที่ 7 มี.ค.ที่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของหลายจังหวัดที่มีปัญหา
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ได้มีนักวิชาการยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การจัดเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.เป็นโมฆะ เนื่องจากเห็นว่ามีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยผู้ร้องคือ นายกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้อ่านแถลงการณ์ผ่านทีวีพูลเมื่อวันที่ 18 ก.พ.เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ได้ออกมาชี้ว่า อาจเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญและผิดกฎหมายเลือกตั้ง เนื่องจากช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงของการเลือกตั้ง นักการเมืองและผู้สมัคร ส.ส.ไม่ควรใช้สื่อของรัฐมาทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในคะแนนนิยม หรือสัญญาว่าจะให้
นายสมชัย ยังได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กพร้อมภาพข่าวและหนังสือสั่งการของนายศิริพงษ์ ห่านตระกูล อธิบดีกรมการปกครอง ที่มีคำสั่งด่วนให้ปลัดจังหวัดและนายอำเภอทั่วประเทศทำซีดีบันทึกเสียง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่แถลงผ่านทีวีพูล เพื่อเปิดตามหอกระจายข่าวให้ชาวบ้านฟัง โดยนายสมชัย ระบุว่า การกระทำดังกล่าวเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายเลือกตั้ง
ด้านนายจาตุรันต์ บุญเบ็ญจรัตน์ ผู้ช่วยผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต.เพื่อขอให้ตรวจสอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กรณีแถลงผ่านทีวีพูลชี้แจงโครงการรับจำนำข้าว ว่าเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (4) และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.หรือไม่ รวมทั้งผิดมาตรา 53 (1) (2) กรณีจัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้หรือไม่ และขอให้ กกต.เร่งพิจารณาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งยุบพรรคเพื่อไทยด้วย
5.ปล่อยกู้จำนำข้าวพ่นพิษ คนแห่ถอนเงินแบงก์ออมสินนับแสนล้าน ด้าน รบ.เตรียมออกพันธบัตรขายจ่ายชาวนา ขณะที่อดีต รมว.คลัง ยัน ทำไม่ได้-ผิด กม.!
ความคืบหน้ากรณีที่รัฐบาลพยายามหาเงินมาจ่ายชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวจำนวน 1.3 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลได้โกหกชาวนาหลายครั้งว่าจะได้เงินวันนั้นวันนี้ สุดท้ายเมื่อไม่ได้เงิน ชาวนาจึงได้รวมตัวกันเดินทางเข้า กทม.มาปักหลักชุมนุมที่หน้ากระทรวงพาณิชย์ ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกมายืนยันว่า เงินจะถึงมือชาวนาตั้งแต่วันที่ 17 ก.พ.เป็นต้นไปนั้น
ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด(17 ก.พ.) มีการจ่ายเงินให้ชาวนาได้แค่บางคนบางจังหวัด ส่งผลให้ชาวนาหลายจังหวัดไม่พอใจ เตรียมเคลื่อนเข้า กทม.มาสมทบชาวนาที่ปักหลักอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ ส่วนกรณีที่ธนาคารออมสินปล่อยกู้ระหว่างธนาคาร(อินเตอร์แบงก์) ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) 5 พันล้านบาท จากวงเงินที่จะให้กู้ 2 หมื่นล้านบาท โดยนายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ได้ออกมายอมรับว่า ปล่อยกู้ให้ ธ.ก.ส.จริง พร้อมยืนยันว่า การปล่อยกู้ในลักษณะอินเตอร์แบงก์เป็นเรื่องปกติ เพื่อให้แบงก์ที่กู้นำไปเสริมสภาพคล่อง และเป็นการกู้ในระยะสั้นๆ 30 วัน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข่าวยืนยันว่า เงินที่ ธ.ก.ส.กู้จากธนคารออมสิน ไม่ใช่เพื่อเสริมสภาพคล่อง แต่รัฐบาลต้องการให้นำไปจ่ายชาวนาในโครงการรับจำนำข้าว ทำให้ประชาชนไม่พอใจและแห่ไปถอนเงินฝากจากธนาคารออมสินนับแสนล้านบาท
ขณะที่พนักงานธนาคารออมสินก็ไม่พอใจ ได้นัดแต่งชุดดำ พร้อมเรียกร้องให้ผู้อำนวยการและบอร์ดธนาคารออมสินลาออก เพื่อรับผิดชอบต่อการบริหารงานที่ล้มเหลวและนำธนาคารไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง จนกระทบต่อความเชื่อมั่นและเกิดการแห่ถอนเงิน ซึ่งในที่สุด นายวรวิทย์ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการเมื่อวันที่ 18 ก.พ. โดยจะมีผลในอีก 30 วัน ขณะที่บอร์ดไม่ยอมลาออก โดยอ้างเหตุผลว่า หากลาออกในช่วงนี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคารออมสิน เนื่องจากรัฐบาลรักษาการไม่สามารถแต่งตั้งบอร์ดธนาคารได้ พร้อมกันนี้ บอร์ดยังได้ทำตามที่พนักงานเรียกร้อง ด้วยการมีมติยุติการให้ ธ.ก.ส.กู้เงิน 2 หมื่นล้าน รวมทั้งให้ ธ.ก.ส.คืนเงิน 5 พันล้านที่ธนาคารออมสินได้ปล่อยกู้ให้ไปแล้ว ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ในเวลาต่อมา โดย ธ.ก.ส.ไม่กล้านำเงินดังกล่าวไปใช้เช่นกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังประชาชนแห่ถอนเงินจากธนาคารออมสิน ปรากฏว่า แกนนำพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดง ได้พากันไปฝากเงินที่ธนาคารออมสิน โดยอ้างเหตุผลว่าต้องการช่วยเหลือชาวนา ขณะที่นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้นำเงินไปฝากธนาคารออมสินเช่นกันประมาณ 11 ล้านบาท
ด้านรัฐบาล หลังใช้วิธีให้ ธ.ก.ส.กู้เงินธนาคารออมสินเพื่อมาจ่ายชาวนา แต่กลับล้มเหลวไม่เป็นท่า ปรากฏว่า ล่าสุด นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ผุดไอเดียใหม่ในการหาเงินมาจ่ายชาวนา โดยจะออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 1.1 แสนล้าน เพื่อให้นักลงทุนและเอกชนมาซื้อ พร้อมย้ำว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยขอร้องหรือสั่งการให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจใดมาซื้อพันธบัตรของรัฐบาล ไม่ว่าจะบริษัทท่าอากาศยานไทย(ทอท.) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.)
ทั้งนี้ มีรายงานว่า การออกพันธบัตรดังกล่าว นายกิตติรัตน์ต้องเซ็นค้ำประกัน โดยในวันที่ 24 ก.พ.จะมีการประชุมของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อมีมติออกพันธบัตรดังกล่าว ก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยคาดว่า จะนำพันธบัตรออกขายให้ผู้สนใจได้ตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค.เป็นต้นไป โดยประเมินว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จึงจะขายได้หมด
ด้านนายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้ว่า รัฐบาลไม่สามารถออกพันธบัตรได้ เพราะกฎหมายห้ามรัฐบาลรักษาการออกกฎหมายเกี่ยวกับการเงินหรือเกี่ยวกับการใช้งบประมาณ รวมถึงแนวคิดที่จะให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกซอฟต์โลน เหมือนในอดีต ก็ทำไม่ได้เช่นกัน เพราะรัฐบาลค้ำประกันไม่ได้
ส่วนความเคลื่อนไหวของชาวนาที่ปักหลักชุมนุมเรียกร้องค่าจำนำข้าวที่หน้ากระทรวงพาณิชย์นั้น ได้มีการยกระดับการเรียกร้องด้วยการปิดกระทรวง ไม่ให้ข้าราชการเข้าทำงาน ขณะที่นายระวี รุ่งเรือง ประธานเครือข่ายชาวนาไทย เผยว่า มติแกนนำเครือข่ายชาวนาไทยต้องการความชัดเจนและเงินค่าข้าวภายใน 7 วัน หรือไม่เกินวันที่ 28 ก.พ.
ทั้งนี้ นอกจากชาวนากลุ่มนายระวีแล้ว ยังมีชาวนาภาคกลาง นำโดยนายชาดา ไทยเศรษฐ์ อดีต ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา ที่นำชาวนาพร้อมรถอีแต๊ก รถอีแต๋น หลายร้อยคันเคลื่อนขบวนมุ่งหน้าเข้ากรุงเช่นกัน โดยได้ยื่นคำขาดขอคุยกับนายกรัฐมนตรี หากไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน จะทุบหม้อข้าวเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิ
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ รีบให้นายชาดาเข้าหารือเมื่อวันที่ 21 ก.พ. พร้อมขอร้องอย่านำชาวนาไปปิดสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะจะสร้างความเสียหายต่อประเทศ โดยรัฐบาลยืนยันว่า ชาวนาที่ถือใบประทวนจะได้รับเงินทุกบาททุกสตางค์ หลังจากนั้น นายชาดาได้กลับไปหารือกับแกนนำชาวนาจังหวัดต่างๆ โดยบอกว่า รัฐบาลให้คำมั่นว่าจะเร่งจ่ายเงินจำนำข้าวแก่ชาวนา จ.อุทัยธานีกว่า 3 พันล้านบาทในสัปดาห์หน้า คาดว่าใช้เวลาไม่เกิน 6 สัปดาห์จะจ่ายได้ครบ ส่วนจังหวัดอื่นก็จะได้รับการช่วยเหลือแบบเดียวกัน ซึ่งชาวนาฟังแล้ว ยอมเชื่อคำพูดนายกฯ อีกครั้ง โดยตัดสินใจกลับบ้าน แต่หากไม่เป็นไปตามสัญญา จะกลับมาประท้วงใหม่ โดยคราวนี้จะมาแบบกองโจรบุกยึดสนามบินและ ธ.ก.ส. รวมทั้งสถานที่สำคัญของรัฐบาลแน่นอน
1.ศรส.ขอคืนพื้นที่ ปะทะชายนิรนามผ่านฟ้า ตร.ดับ 1 ผู้ชุมนุมดับ 4 เจ็บครึ่งร้อย ด้านเวที กปปส.ตราด ถูกคนร้ายปาบึ้ม-กราดยิง ดับ 2 เจ็บหลายสิบราย!
เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ(ศรส.) ได้ระดมกำลังตำรวจ 25,000 นาย พร้อมชุดปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 อาวุธครบมือ เข้าขอคืนพื้นที่จากผู้ชุมนุม 5 จุด คือ ถนนราชดำเนิน ,รอบทำเนียบรัฐบาล ,กระทรวงมหาดไทย ,กระทรวงพลังงาน และศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ซึ่งเป็นไปตามที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการ ศรส.สั่งการ โดยอ้างว่า เพื่อคืนความสงบสุขให้ประชาชน และให้รัฐบาลเข้าทำงานในทำเนียบรัฐบาลได้
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) ได้นำมวลชนจากเวทีปทุมวันมาช่วยกลุ่ม คปท.รักษาพื้นที่ โดยปักหลักอยู่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ขณะที่ตำรวจได้ส่งชุดเจรจากับแกนนำผู้ชุมนุม แต่ไม่สำเร็จ จากนั้นตำรวจได้พยายามรุกคืบด้วยการกระชับพื้นที่บริเวณสะพานผ่านฟ้า มีการจับกุมผู้ชุมนุมที่นั่งสวดมนต์ มีการยิงแก๊สน้ำตา จากนั้นมีเสียงปืนไม่ทราบฝ่ายดังขึ้นเป็นระยะ
ระหว่างนั้น มีรายงานว่า ตำรวจได้จับกุมนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ(กปท.) ไปคุมขังไว้บนรถควบคุมผู้ต้องหา จากนั้นสถานการณ์เริ่มตึงเครียดมากขึ้น มีทั้งเสียงปืนและเสียงระเบิด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและตำรวจ โดยศูนย์เอราวัณ รายงานว่า มีผู้บาดเจ็บ 69 คน เสียชีวิต 5 คน เป็นตำรวจ 1 ผู้ชุมนุม 4 โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ถูกยิงที่ศีรษะ หน้าอก และลำคอ
สำหรับคลิปเหตุการณ์ที่มีการเผยแพร่ในภายหลังพบว่า มีภาพตำรวจใช้อาวุธปืนยิง รวมทั้งขว้างระเบิดใส่ผู้ชุมนุม ขณะเดียวกันก็มีคลิปที่ระเบิดถูกขว้างใส่โล่ตำรวจ ก่อนตกลงพื้น จากนั้นตำรวจนายหนึ่งในกลุ่มดังกล่าวได้ตัดสินใจเตะระเบิดเพื่อให้พ้นตัว แต่ไม่ทัน เพราะระเบิดก่อน ส่งผลให้ตำรวจได้รับบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ระเบิดที่เหมือนถูกขว้างใส่ตำรวจนั้น เป็นความผิดพลาดจากตำรวจเองหรือไม่ ที่ตำรวจอาจขว้างระเบิดใส่เต๊นท์ผู้ชุมนุม แต่บังเอิญระเบิดไปโดนเสาเต๊นท์ก่อนกระเด็นกลับมายังตำรวจ
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังตำรวจถอยร่นออกจากพื้นที่ที่มีการปะทะ ปรากฏว่า ได้มีชายนิรนาม 5 คนเข้าช่วยเหลือนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ออกมาจากรถควบคุมตัวผู้ต้องหา ทั้งนี้ การขอคืนพื้นที่ในวันดังกล่าว แม้ว่าที่ถนนราชดำเนินและรอบทำเนียบรัฐบาลตำรวจจะไม่สามารถยึดคืนได้ แต่สามารถยึดคืนพื้นที่หน้ากระทรวงพลังงานได้สำเร็จ พร้อมควบคุมตัวผู้ชุมนุมและแกนนำทั้ง 2 คน คือ นพ.ระวี มาศฉมาดล และนายทศพล แก้วทิมา แกนนำกลุ่มกองทัพประชาชนและเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย(กคป.) ไปไว้ที่ ตชด.ภาค 1 จ.ปทุมธานี ซึ่งภายหลัง ทั้งหมดได้รับการประกันตัวแล้ว โดยศาลตั้งเงื่อนไขห้ามแกนนำทั้งสอง ยุยงปลุกปั่น หรือก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง
หลังเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่นำไปสู่การเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ปรากฏว่า ทาง ศรส.พยายามกล่าวหาว่าผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายใช้ความรุนแรงและจะดำเนินคดี กปปส. ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ประกาศ จะฟ้องดำเนินคดีอาญา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ ,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้อำนวยการ ศรส. และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และกรรมการ ศรส.ทุกคนข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล พร้อมกันนี้ นายสุเทพ ยังได้ขอบคุณชายนิรนามที่ช่วยผู้ชุมนุม ไม่เช่นนั้นคงเกิดการสูญเสียมากกว่านี้
ทั้งนี้ นายสุเทพได้ประกาศยกระดับการชุมนุมกดดัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ด้วยการตัดท่อน้ำเลี้ยงตระกูลชินวัตร โดยมีการเคลื่อนมวลชนไปกดดันธุรกิจในเครือชินวัตร เช่น บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่อาคารชินวัตร 3 ,โรงแรมเอสซีปาร์ค พร้อมชวนให้ประชาชนย้ายค่ายโทรศัพท์มือถือ เลิกเป็นลูกค้าเอไอเอส พร้อมกันนี้ ยังประกาศจะตาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปทุกที่
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเหตุการณ์ปะทะที่ผ่านฟ้าและหลัง กปปส.ยกระดับการกดดันธุรกิจในเครือชินวัตร ปรากฏว่า ฝ่ายตรงข้ามเริ่มคุกคาม กปปส.ด้วยวิธีที่รุนแรงและอำมหิตมากขึ้นสังเกตได้จากเมื่อคืนวันที่ 21 ก.พ. คนร้ายได้ปาระเบิดใส่บริเวณแยกประตูน้ำ ใกล้เวที กปปส.ราชประสงค์ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 6 ราย และล่าสุด เมื่อคืนวันที่ 22 ก.พ. คนร้ายไม่ต่ำกว่า 5 คน ได้ใช้รถปิคอัพ 2 คันเป็นพาหนะ ปาระเบิด 2 ลูก พร้อมกราดยิงผู้ชุมนุมที่กำลังฟังการปราศรัยของแกนนำเวที กปปส.ที่ จ.ตราด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 30 คนโดยผู้บาดเจ็บมีเด็กวัย 8 ขวบรวมอยู่ด้วย และอาการสาหัส
2.ศาลแพ่ง ไม่ถอน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่สั่งเบรกข้อกำหนด 9 ข้อ ด้าน “ศรส.” ข้องใจ เล็งยื่นอุทธรณ์!
เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ศาลแพ่งได้นัดพิพากษาคดีที่นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ,ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการ ศรส. และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรองผู้อำนวยการ ศรส. เป็นจำเลยที่ 1-3 ฐานละเมิด จากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล และออกข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมิชอบและยังไม่มีเหตุจำเป็น โดยขอให้ศาลสั่งเพิกถอนประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินและห้ามใช้กำลังสลายการชุมนุม
ทั้งนี้ ศาลแพ่งพิพากษาว่า ห้ามจำเลยออกประกาศข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินจำนวน 9 ข้อ จาก 12 ข้อ ที่โจทก์ยื่นคำร้อง ประกอบด้วย 1.ห้ามส่งเจ้าหน้าที่ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของโจทก์ 2.ห้ามยึดอายัดเคมีภัณฑ์ 3.ห้ามออกคำสั่งรื้อถอนทำลายสิ่งกีดขวาง 4.กรณีซื้อขาย ใช้ และครอบครองเครื่องอุปโภคบริโภคไม่ต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่ 5.ห้ามสั่งปิดการจราจรและเส้นทางคมนาคม 6.ห้ามจำเลยสั่งห้ามไม่ให้ชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป 7.ห้ามจำเลยสั่งห้ามใช้เส้นทางการจราจร 8.ห้ามจำเลยสั่งห้ามเข้าอาคาร และ 9.ห้ามสั่งให้อพยพหรือห้ามไม่ให้เข้าออกพื้นที่ชุมนุม
เป็นที่น่าสังเกตว่า องค์คณะเสียงส่วนน้อย 2 ใน 3 เห็นว่า ควรถอนประกาศข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินทุกฉบับ เนื่องจากเห็นว่าการชุมนุมของ กปปส. เป็นไปโดยสงบปราศจากอาวุธตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ
หลังฟังคำพิพากษา นายสวัสดิ์ เจริญผล ทนายความของนายถาวร บอกว่า คำพิพากษาของศาลที่ออกมา เท่ากับว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นหมัน เพราะเพียงแค่ให้อำนาจฝ่ายบริหารออกประกาศได้ แต่ไม่สามารถใช้กับผู้ชุมนุมได้ และเมื่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นหมัน การออกหมายจับในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงต้องยกเลิกด้วย เพราะฉะนั้นทีมทนายความจะยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายจับต่อศาลอาญาต่อไป
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม ตอนแรกได้ออกมาขอบคุณศาลแพ่งที่ไม่เพิกถอน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ต่อมาได้เปลี่ยนท่าทีเเป็นเชิงตำหนิศาลที่ห้ามข้อกำหนดของ ศรส. 9 ข้อ พร้อมส่งผู้แทนไปยื่นหนังสือต่อศาลแพ่ง เพื่อขอปรึกษาขั้นตอนการปฏิบัติของ ศรส. นอกจากนี้ยังเล็งยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลแพ่งด้วย
ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในฐานะกรรมการ ศรส.แถลงเชิงตำหนิคำพิพากษาศาลแพ่งเช่นกัน โดยบอก ศรส.กังวล เพราะคำพิพากษาที่สั่งห้ามข้อกำหนดของ ศรส.ทั้ง 9 ข้อ เปรียบเสมือนภาวะสุญญากาศ ขาดการบังคับใช้กฎหมาย จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเพิ่มความขัดแย้งและความไม่สงบสุขมากขึ้น
ขณะที่ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) บอกว่า ศรส.ยังมีเวลาในการอุทธรณ์คำสั่งศาลภายใน 30 วัน ขณะเดียวกันจะขอทุเลาคำสั่งไว้ก่อน และว่า หากสถานการณ์เลวร้ายในระหว่างที่ ศรส.กำลังอุทธรณ์คำสั่งศาลแพ่ง ศรส.อาจต้องยกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเดิม และประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินกันใหม่ เพื่อให้สภาพบังคับที่ศาลห้าม 9 ข้อหมดไป
ด้านนายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พูดถึงกรณีที่เลขาธิการ สมช.ระบุว่า อาจเสนอให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อให้เงื่อนไขของศาลแพ่งที่กำหนดไว้สิ้นผล แล้วประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินใหม่ว่า การประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะมีผลได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลเห็นว่าสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้ว เมื่อสถานการณ์สิ้นสุดลงแล้ว การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นใหม่จึงเป็นการกระทำโดยมิชอบในตัวเอง
3.ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์แจ้งข้อกล่าวหา “ยิ่งลักษณ์” ไม่ระงับทุจริตจำนำข้าว เข้าข่าย ม.157 เรียกรับทราบข้อหา 27 ก.พ.!
เมื่อวันที่ 18 ก.พ. นายวิชา มหาคุณ กรรมการและโฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) แถลงว่า หลังจาก ป.ป.ช.ได้มีมติตั้งกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งชุดเป็นองค์คณะไต่สวนคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) กรณีเพิกเฉยต่อการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าว โดยได้ไต่สวนพยานบุคคลและพยานเอกสารมาระยะหนึ่งแล้ว จนมีความชัดเจนว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้รับหนังสือจาก ป.ป.ช.ที่ทักท้วงโครงการดังกล่าว เพราะจะก่อให้เกิดการทุจริตอย่างมหาศาล นอกจากนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังรับทราบเรื่องการทุจริตจากการอภิปรายในสภาฯ รวมทั้งรายงานผลการดำเนินโครงการจากประธานคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวว่ามีความเสียหายถึง 2 แสนล้านบาท ประกอบกับมีหนังสือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถึงรักษาการนายกฯ ให้ทบทวนและยุติโครงการดังกล่าว แต่แทนที่รักษาการนายกฯ จะระงับโครงการ กลับยืนยันจะดำเนินโครงการต่อไป จึงสะท้อนถึงเจตนาที่จะปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการตามมาตรา 157 รวมทั้งยังเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 อันเป็นเหตุถอดถอนออกจากตำแหน่งตามมาตรา 270
ดังนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีมติเอกฉันท์ให้มีหนังสือเรียก น.ส.ยิ่งลักษณ์ มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 27 ก.พ. เวลา 14.00น. และว่า ขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เพราะเป็นเพียงการแจ้งข้อกล่าวหา ต้องรอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์มาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน หลังจากมารับทราบข้อกล่าวหาก่อน จึงจะมีการชี้มูลต่อไป
ทั้งนี้ นายวิชา ยืนยันว่า ป.ป.ช.ทำคดีนี้อย่างตรงไปตรงมา ไม่ลำเอียง ส่วนกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำหนังสือทักท้วงไม่ให้ตนเข้าร่วมเป็นองค์คณะไต่สวนคดีนี้ ที่ประชุม ป.ป.ช. เห็นว่าไม่เข้าเหตุแห่งการร้องคัดค้าน ตนจึงเป็นองค์คณะไต่สวนเหมือนเดิม
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แถลงออกทีวีพูลเมื่อวันที่ 18 ก.พ. รวมทั้งโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 20 ก.พ. ยืนยันว่าไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหา พร้อมข้องใจว่า ป.ป.ช.มีวาระซ่อนเร้นหรือไม่ จึงรีบเร่งไต่สวนและชี้มูลความผิด โดยใช้เวลาดำเนินคดีแค่ 21 วัน
ด้านนายวิทยา อาคมพิทักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ออกมายืนยันว่า ป.ป.ช.ไม่ได้ใช้เวลาพิจารณาคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์แค่ 21 วัน เพราะความจริงแล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกร้องเรียนมาตั้งแต่ปี 2555 เป็นคำร้องเดียวกับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น ป.ป.ช.จึงใช้เวลาไต่สวนกรณีนี้มาปีกว่าแล้ว ไม่ใช่ 21 วันแต่อย่างใด
4.กกต. ยอมถอย ยกเลิกเลือกตั้งทดแทน 20 ,27 เม.ย. เปลี่ยนเป็น 2 มี.ค. ส่วน 28 เขต 8 จังหวัด รอศาล รธน.ชี้ขาด!
เมื่อวันที่ 19 ก.พ. คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ประชุมพิจารณาข้อเสนอ 8 ข้อของรัฐบาล-พรรคเพื่อไทย และนักวิชาการสายเพื่อไทย ก่อนมีมติว่า 1.การรับสมัคร ส.ส.28 เขต 8 จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีผู้สมัครนั้น กกต.เตรียมออกประกาศให้เปิดรับสมัคร ส.ส.ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนด่วนพิเศษ(EMS) โดยเชื่อว่าจะทำให้การขัดขวางการรับสมัครคลี่คลายได้ 2.การจัดพิมพ์และส่งบัตรเลือกตั้ง กกต.รับข้อเสนอ เช่น จะดำเนินการอย่างลับๆ 3.การหากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง(กปน.) หากเปิดหน่วยเลือกตั้งแล้ว กปน.ไม่มา ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าเป็น กปน.ได้ และจะมีมาตรการลงโทษทางวินัยกรณี กปน.ละทิ้งหน้าที่ ส่วนกรณีที่จะให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตเข้ามาเป็น กปน.นั้น กกต.เห็นว่า กฎหมายเปิดช่องให้ทำได้เฉพาะกรณี กปน.ทั้งหมด 9 คนไม่มาปฏิบัติหน้าที่ในวันเลือกตั้ง ซึ่งกรณีนี้ กกต.มีมติจะแก้ปัญหาด้วยการตั้ง กปน.สำรองให้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้
ส่วนข้อ 4 และ 5 กรณีมีการขัดขวางการกระจายบัตรเลือกตั้ง และเกิดเหตุในวันเลือกตั้ง กกต.รับข้อเสนอ เช่น เพิ่มจุดกระจายบัตร จัดอุปกรณ์สำรอง แต่ที่ กกต.รับไม่ได้คือ การให้มีบัตรสำรอง เพราะอาจถูกกล่าวหาว่ามีบัตรเลือกตั้งเกินได้ 6.กกต.รับข้อเสนอที่จะมีหนังสือสั่งการไปยังหน่วยงานความมั่นคง ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองให้ช่วย กกต.จัดการเลือกตั้ง 7.กกต.ยืนยันว่า หากการเลือกตั้ง ส.ส.ยังไม่แล้วเสร็จครบทั้ง 375 เขต กกต.จะไม่สามารถคำนวณและประกาศผล ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ และอาจเสี่ยงต่อการทำให้การเลือกตั้งทั้งหมดเสียไป โดย กกต.จะเร่งจัดการเลือกตั้งในส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ส่วนข้อ 8 ที่รัฐบาลเสนอให้เปลี่ยนแปลงกรอบเวลาวันลงคะแนนเลือกตั้งทดแทนให้เร็วขึ้น จากเดิมที่ กกต.กำหนดไว้ในวันที่ 20 และ 27 เม.ย.นั้น กกต.มีมติให้ยกเลิกกำหนดวันดังกล่าว และให้จัดลงคะแนนเลือกตั้งในวันที่ 2 มี.ค.แทน เพื่อให้อยู่ในกรอบเวลา 30 วันนับแต่วันเลือกตั้งที่จะต้องมีการเปิดประชุมสภาตามมาตรา 127 โดยจะเป็นการจัดลงคะแนนใน 5 จังหวัดที่มีความพร้อม และ กกต.ประเมินว่าจะไม่มีการขัดขวางการลงคะแนนเลือกตั้ง ประกอบด้วย การเลือกตั้ง ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้งของ จ.เพชรบุรี 74 หน่วย ,จ.ระยอง 27 หน่วย และการเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งกลางทดแทนการลงคะแนนนอกเขตจังหวัดใน จ.เพชรบูรณ์ ,สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
ทั้งนี้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง บอกว่า หากในวันที่ 2 มี.ค.มีการขัดขวางการลงคะแนนเลือกตั้งอีก กกต.จะประกาศงดการลงคะแนนตามมาตรา 78 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. และ กกต.จะพิจารณาจัดลงคะแนนใหม่ต่อไป พร้อมยอมรับว่า แม้จะจัดลงคะแนนเลือกตั้งวันที่ 2 มี.ค.แล้ว ก็ยังไม่สามารถได้ ส.ส.ร้อยละ 95 ที่จะเปิดประชุมสภาครั้งแรกได้
ส่วนเขตเลือกตั้งที่เหลือและยังมีปัญหาจัดการเลือกตั้งไม่แล้วเสร็จ รวมถึง 28 เขตใน 8 จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีผู้สมัครนั้น กกต.มีมติจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากมีความเห็นแย้งระหว่าง กกต.และรัฐบาล โดย กกต.เห็นว่า รัฐบาลควรออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ แต่รัฐบาลได้มีหนังสือตอบกลับมายัง กกต.โดยอ้างความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า รัฐบาลไม่สามารถออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ได้
ด้านแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล 4 พรรค ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย ,พรรคชาติไทยพัฒนา ,พรรคชาติพัฒนา และพรรคพลังชล ได้ประชุมหารือเรื่องเลือกตั้งเมื่อวันที่ 21 ก.พ. โดยได้ข้อสรุปว่า พรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่า กกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ทันเปิดประชุมสภาให้ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง พร้อมอ้างว่า กกต.สามารถประกาศผลเลือกตั้งที่เลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว ไม่จำเป็นต้องรอให้เลือกตั้งครบทุกหน่วย
ขณะที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้ช่องให้ กกต.จัดเลือกตั้ง ส.ส.ใน 28 เขต 8 จังหวัดภาคใต้พร้อมกับการเลือกตั้ง ส.ว.ในวันที่ 30 มี.ค.
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ยืนยันว่า ที่มีการเรียกร้องให้ กกต.จัดเลือกตั้งให้แล้วเสร็จในกรอบ 30 วันหลังวันเลือกตั้ง เป็นไปไม่ได้ เพราะการเลือกตั้งใน 28 เขต 8 จังหวัดยังไม่มีความชัดเจนว่าจะให้เกิดขึ้นอย่างไร และว่า กกต.จะเชิญผู้บริหารพรรค 4 พรรคมาร่วมงานสัมมนาเพื่อจัดการเลือกตั้งให้สำเร็จ ซึ่ง กกต.จะจัดขึ้นในวันที่ 7 มี.ค.ที่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของหลายจังหวัดที่มีปัญหา
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ได้มีนักวิชาการยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การจัดเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.เป็นโมฆะ เนื่องจากเห็นว่ามีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยผู้ร้องคือ นายกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้อ่านแถลงการณ์ผ่านทีวีพูลเมื่อวันที่ 18 ก.พ.เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ได้ออกมาชี้ว่า อาจเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญและผิดกฎหมายเลือกตั้ง เนื่องจากช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงของการเลือกตั้ง นักการเมืองและผู้สมัคร ส.ส.ไม่ควรใช้สื่อของรัฐมาทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในคะแนนนิยม หรือสัญญาว่าจะให้
นายสมชัย ยังได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กพร้อมภาพข่าวและหนังสือสั่งการของนายศิริพงษ์ ห่านตระกูล อธิบดีกรมการปกครอง ที่มีคำสั่งด่วนให้ปลัดจังหวัดและนายอำเภอทั่วประเทศทำซีดีบันทึกเสียง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่แถลงผ่านทีวีพูล เพื่อเปิดตามหอกระจายข่าวให้ชาวบ้านฟัง โดยนายสมชัย ระบุว่า การกระทำดังกล่าวเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายเลือกตั้ง
ด้านนายจาตุรันต์ บุญเบ็ญจรัตน์ ผู้ช่วยผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต.เพื่อขอให้ตรวจสอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กรณีแถลงผ่านทีวีพูลชี้แจงโครงการรับจำนำข้าว ว่าเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (4) และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.หรือไม่ รวมทั้งผิดมาตรา 53 (1) (2) กรณีจัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้หรือไม่ และขอให้ กกต.เร่งพิจารณาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งยุบพรรคเพื่อไทยด้วย
5.ปล่อยกู้จำนำข้าวพ่นพิษ คนแห่ถอนเงินแบงก์ออมสินนับแสนล้าน ด้าน รบ.เตรียมออกพันธบัตรขายจ่ายชาวนา ขณะที่อดีต รมว.คลัง ยัน ทำไม่ได้-ผิด กม.!
ความคืบหน้ากรณีที่รัฐบาลพยายามหาเงินมาจ่ายชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวจำนวน 1.3 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลได้โกหกชาวนาหลายครั้งว่าจะได้เงินวันนั้นวันนี้ สุดท้ายเมื่อไม่ได้เงิน ชาวนาจึงได้รวมตัวกันเดินทางเข้า กทม.มาปักหลักชุมนุมที่หน้ากระทรวงพาณิชย์ ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกมายืนยันว่า เงินจะถึงมือชาวนาตั้งแต่วันที่ 17 ก.พ.เป็นต้นไปนั้น
ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด(17 ก.พ.) มีการจ่ายเงินให้ชาวนาได้แค่บางคนบางจังหวัด ส่งผลให้ชาวนาหลายจังหวัดไม่พอใจ เตรียมเคลื่อนเข้า กทม.มาสมทบชาวนาที่ปักหลักอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ ส่วนกรณีที่ธนาคารออมสินปล่อยกู้ระหว่างธนาคาร(อินเตอร์แบงก์) ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) 5 พันล้านบาท จากวงเงินที่จะให้กู้ 2 หมื่นล้านบาท โดยนายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ได้ออกมายอมรับว่า ปล่อยกู้ให้ ธ.ก.ส.จริง พร้อมยืนยันว่า การปล่อยกู้ในลักษณะอินเตอร์แบงก์เป็นเรื่องปกติ เพื่อให้แบงก์ที่กู้นำไปเสริมสภาพคล่อง และเป็นการกู้ในระยะสั้นๆ 30 วัน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข่าวยืนยันว่า เงินที่ ธ.ก.ส.กู้จากธนคารออมสิน ไม่ใช่เพื่อเสริมสภาพคล่อง แต่รัฐบาลต้องการให้นำไปจ่ายชาวนาในโครงการรับจำนำข้าว ทำให้ประชาชนไม่พอใจและแห่ไปถอนเงินฝากจากธนาคารออมสินนับแสนล้านบาท
ขณะที่พนักงานธนาคารออมสินก็ไม่พอใจ ได้นัดแต่งชุดดำ พร้อมเรียกร้องให้ผู้อำนวยการและบอร์ดธนาคารออมสินลาออก เพื่อรับผิดชอบต่อการบริหารงานที่ล้มเหลวและนำธนาคารไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง จนกระทบต่อความเชื่อมั่นและเกิดการแห่ถอนเงิน ซึ่งในที่สุด นายวรวิทย์ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการเมื่อวันที่ 18 ก.พ. โดยจะมีผลในอีก 30 วัน ขณะที่บอร์ดไม่ยอมลาออก โดยอ้างเหตุผลว่า หากลาออกในช่วงนี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคารออมสิน เนื่องจากรัฐบาลรักษาการไม่สามารถแต่งตั้งบอร์ดธนาคารได้ พร้อมกันนี้ บอร์ดยังได้ทำตามที่พนักงานเรียกร้อง ด้วยการมีมติยุติการให้ ธ.ก.ส.กู้เงิน 2 หมื่นล้าน รวมทั้งให้ ธ.ก.ส.คืนเงิน 5 พันล้านที่ธนาคารออมสินได้ปล่อยกู้ให้ไปแล้ว ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ในเวลาต่อมา โดย ธ.ก.ส.ไม่กล้านำเงินดังกล่าวไปใช้เช่นกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังประชาชนแห่ถอนเงินจากธนาคารออมสิน ปรากฏว่า แกนนำพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดง ได้พากันไปฝากเงินที่ธนาคารออมสิน โดยอ้างเหตุผลว่าต้องการช่วยเหลือชาวนา ขณะที่นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้นำเงินไปฝากธนาคารออมสินเช่นกันประมาณ 11 ล้านบาท
ด้านรัฐบาล หลังใช้วิธีให้ ธ.ก.ส.กู้เงินธนาคารออมสินเพื่อมาจ่ายชาวนา แต่กลับล้มเหลวไม่เป็นท่า ปรากฏว่า ล่าสุด นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ผุดไอเดียใหม่ในการหาเงินมาจ่ายชาวนา โดยจะออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 1.1 แสนล้าน เพื่อให้นักลงทุนและเอกชนมาซื้อ พร้อมย้ำว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยขอร้องหรือสั่งการให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจใดมาซื้อพันธบัตรของรัฐบาล ไม่ว่าจะบริษัทท่าอากาศยานไทย(ทอท.) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.)
ทั้งนี้ มีรายงานว่า การออกพันธบัตรดังกล่าว นายกิตติรัตน์ต้องเซ็นค้ำประกัน โดยในวันที่ 24 ก.พ.จะมีการประชุมของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อมีมติออกพันธบัตรดังกล่าว ก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยคาดว่า จะนำพันธบัตรออกขายให้ผู้สนใจได้ตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค.เป็นต้นไป โดยประเมินว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จึงจะขายได้หมด
ด้านนายทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้ว่า รัฐบาลไม่สามารถออกพันธบัตรได้ เพราะกฎหมายห้ามรัฐบาลรักษาการออกกฎหมายเกี่ยวกับการเงินหรือเกี่ยวกับการใช้งบประมาณ รวมถึงแนวคิดที่จะให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกซอฟต์โลน เหมือนในอดีต ก็ทำไม่ได้เช่นกัน เพราะรัฐบาลค้ำประกันไม่ได้
ส่วนความเคลื่อนไหวของชาวนาที่ปักหลักชุมนุมเรียกร้องค่าจำนำข้าวที่หน้ากระทรวงพาณิชย์นั้น ได้มีการยกระดับการเรียกร้องด้วยการปิดกระทรวง ไม่ให้ข้าราชการเข้าทำงาน ขณะที่นายระวี รุ่งเรือง ประธานเครือข่ายชาวนาไทย เผยว่า มติแกนนำเครือข่ายชาวนาไทยต้องการความชัดเจนและเงินค่าข้าวภายใน 7 วัน หรือไม่เกินวันที่ 28 ก.พ.
ทั้งนี้ นอกจากชาวนากลุ่มนายระวีแล้ว ยังมีชาวนาภาคกลาง นำโดยนายชาดา ไทยเศรษฐ์ อดีต ส.ส.อุทัยธานี พรรคชาติไทยพัฒนา ที่นำชาวนาพร้อมรถอีแต๊ก รถอีแต๋น หลายร้อยคันเคลื่อนขบวนมุ่งหน้าเข้ากรุงเช่นกัน โดยได้ยื่นคำขาดขอคุยกับนายกรัฐมนตรี หากไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน จะทุบหม้อข้าวเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิ
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ รีบให้นายชาดาเข้าหารือเมื่อวันที่ 21 ก.พ. พร้อมขอร้องอย่านำชาวนาไปปิดสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะจะสร้างความเสียหายต่อประเทศ โดยรัฐบาลยืนยันว่า ชาวนาที่ถือใบประทวนจะได้รับเงินทุกบาททุกสตางค์ หลังจากนั้น นายชาดาได้กลับไปหารือกับแกนนำชาวนาจังหวัดต่างๆ โดยบอกว่า รัฐบาลให้คำมั่นว่าจะเร่งจ่ายเงินจำนำข้าวแก่ชาวนา จ.อุทัยธานีกว่า 3 พันล้านบาทในสัปดาห์หน้า คาดว่าใช้เวลาไม่เกิน 6 สัปดาห์จะจ่ายได้ครบ ส่วนจังหวัดอื่นก็จะได้รับการช่วยเหลือแบบเดียวกัน ซึ่งชาวนาฟังแล้ว ยอมเชื่อคำพูดนายกฯ อีกครั้ง โดยตัดสินใจกลับบ้าน แต่หากไม่เป็นไปตามสัญญา จะกลับมาประท้วงใหม่ โดยคราวนี้จะมาแบบกองโจรบุกยึดสนามบินและ ธ.ก.ส. รวมทั้งสถานที่สำคัญของรัฐบาลแน่นอน