คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1. โปรดเกล้าฯ ครม. ยิ่งลักษณ์ 5 แล้ว “ปู” ควบกลาโหม ด้าน “เฉลิม” ฟิวส์ขาด ซัด “ทวี” ฟ้องทักษิณจนหลุดเก้าอี้ ขณะที่ “บุญทรง” สังเวยจำนำข้าวตามคาด!
หลังมีข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.) ครั้งใหญ่ เพื่อดึงภาพลักษณ์รัฐบาลไม่ให้ตกต่ำไปมากกว่านี้ โดยเฉพาะจากปัญหาการขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าว 2.6 แสนล้านบาท โดยมีรายงานว่า ได้มีการทูลเกล้าฯ รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่แล้วเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ปรากฏว่า ล่าสุด วันนี้(30 มิ.ย.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่แล้ว
สำหรับรายชื่อรัฐมนตรีใหม่ ประกอบด้วย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีกตำแหน่งหนึ่ง ,พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม , นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ,พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก พ้นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองนายกรัฐมนตรี , นายชัยเกษม นิติสิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา พ้นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองนายกรัฐมนตรีตำแหน่งเดียว ,นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ , ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง พ้นจากรองนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ,นายสันติ พร้อมพัฒน์ พ้นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ,นางปวีณา หงสกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกตำแหน่งหนึ่ง ,นายพีรพันธุ์ พาลุสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ,นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , นางเบญจา หลุยเจริญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ,นายพ้อง ชีวานันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ,นายยรรยง พวงราช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ,นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ,นายสรวงศ์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
สำหรับรัฐมนตรีที่หลุดจากตำแหน่งเลย ประกอบด้วย น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ,นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ,นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ,พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ,นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ,นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ,นายชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ รัฐมนตรีใหม่บางคนเป็นผู้ที่ถูกมองว่าเคยทำงานรับใช้ระบอบทักษิณ จึงได้รับการปูนบำเหน็จในครั้งนี้ เช่น นายชัยเกษม นิติสิริ อดีตอัยการสูงสุด โดยได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนางเบญจา หลุยเจริญ อดีตอธิบดีกรมศุลกากร เป็นข้าราชการที่ถูกมองว่า มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบ้านจันทร์ส่องหล้า และเคยเป็นข่าวฮือฮาสมัยเป็นอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากรที่ตอบข้อหารือคดีซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของนายพานทองแท้ และนางพิณทองทา ชินวัตรว่า ไม่ต้องเสียภาษี
เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะนำรัฐมนตรีใหม่เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณที่โรงพยาบาลศิริราช ได้มีการนัดรัฐมนตรีถ่ายรูปหมู่ร่วมกันที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ปรากฏว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งถูกโยกพ้นตำแหน่งรองนายกฯ ที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ไม่ได้มาร่วมถ่ายรูปด้วยแต่อย่างใด เมื่อรัฐมนตรีบางคนสอบถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ถึงเรื่องนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า ร.ต.อ.เฉลิม ไปรอที่โรงพยาบาลศิริราชแล้ว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ร.ต.อ.เฉลิม ออกอาการไม่พอใจที่รู้ว่าถูกโยกพ้นรองนายกฯ ไปคุมกระทรวงแรงงาน โดยได้ออกมาซัดว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ที่ทำให้ตนถูกโยกย้ายครั้งนี้ “ไอ้ทวี มันเอาความเท็จไปฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และยิ่งลักษณ์ จนเป็นที่มาของการปรับ ครม.ให้ผมออกจากเก้าอี้ แล้วเอา พล.ต.อ.ประชา มาแทน เพราะไอ้ทวี เป็นคนไปฟ้องว่า ไอ้เฉลิมเป็นคนตั้งบ่อน ตำรวจก็ไม่พอใจ นักข่าวที่สนิทกันก็มาถาม ผมก็ไม่แก้ตัว แต่ให้มึงไปถาม ผบ.ตร.ถาม ผบช.น. หรือ ผบก.ภ.จว.ว่า ผมเปิดบ่อนจริงหรือไม่ ผมขอสาปแช่งเลยว่า ใครเอาเรื่องนี้มาใส่ร้ายผม ขอให้มันฉิบหายเจ็ดชั่วโคตร”
2. ศาล ปค. เบรกแผนจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ชี้ รบ.ละเลยหน้าที่ - สั่งทำประชาพิจารณ์ ปชช.-ผู้มีส่วนได้เสียก่อน ด้าน ปชป. เล็งยื่นถอดถอน ครม.ทั้งคณะ!
เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ศาลปกครองกลางได้นัดพิพากษากรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และชาวบ้านรวม 45 คน ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ,คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ(กยน.) ,คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(กนอช.) และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-4 กรณีเป็นเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยมิชอบ จากกรณีจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน นอกจากนี้ยังใช้อำนาจทางปกครองของฝ่ายบริหารผ่านคณะรัฐมนตรี(ครม.) เร่งรีบออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 จำนวน 3.5 แสนล้านบาท มาบังคับใช้ทันที โดยไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะออก พ.ร.ก. เพราะยังไม่ทราบเลยว่าจะมีรายละเอียดของโครงการหรือกิจกรรมใดเกิดขึ้นได้จริงบ้าง แต่กลับเร่งรีบออกกฎหมายกู้เงิน 3.5 แสนล้าน
ด้านศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องทั้ง 45 คนมีสิทธิฟ้องคดี ทั้งนี้ คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า การจัดทำแผนแม่บทฯ ของ กยน.ผู้ถูกฟ้องที่ 2 เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ซึ่งศาลเห็นว่า รายละเอียดของแผนที่จะดำเนินการ อาจมีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างหลายพื้นที่ รวมทั้งมีการใช้อำนาจทางปกครองเพื่อดำเนินการตามแผนแม่บท ที่มีลักษณะจะเป็นการเปลี่ยนแปลงผังเมือง และกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 วรรค 2 แต่นายกฯ และ กยน.ไม่ได้ดำเนินการหรือมีแผนที่จะจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนการจัดทำแผนแม่บทฯ แต่อย่างใด จึงเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 ละเลยต่อหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
ส่วนผู้ถูกฟ้องที่ 1-4 ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติในการจะดำเนินการตามแผนแม่บทฯ หรือไม่ ศาลเห็นว่า ถ้าดำเนินการตามทีโออาร์โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศ จะต้องใช้พื้นที่ป่าไม้และที่ดินของประชาชน ดังนั้นอาจก่อผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง
ส่วนกรณีที่ทีโออาร์กำหนดให้เอกชนผู้รับจ้าง ทำหน้าที่ศึกษาและจัดให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนนั้น ศาลเห็นว่า ผลอาจเบี่ยงเบนหรือไม่ตรงความเป็นจริง เพราะเอกชนเป็นผู้ได้ทำสัญญารับจ้างออกแบบและก่อสร้างกับรัฐไปแล้ว ย่อมจะคำนึงถึงผลกำไรสูงสุดเป็นสำคัญ จึงอาจพยายามให้ผลการศึกษาออกมาในลักษณะให้มีการก่อสร้าง ซึ่งจะทำให้ไม่เป็นที่มั่นใจในความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ทั้งยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 ที่กำหนดให้มีการศึกษาผลกระทบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน ซึ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 ก็กำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ ที่ต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จึงถือว่าผู้ถูกฟ้องทั้ง 4 ละเลยต่อหน้าที่อย่างแน่แท้ จึงพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 4 ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 วรรค 2 และ 67 วรรค 2 ด้วยการนำแผนแม่บทไปดำเนินการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนจะดำเนินการจ้างออกแบบและก่อสร้างในแต่ละแผนงาน(โมดูล)
ทั้งนี้ หลังศาลปกครองมีคำพิพากาษาดังกล่าว นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ขอให้ตรวจสอบการกระทำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ,นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี และประธาน กบอ. และนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างชัดเจน จึงขอให้ ป.ป.ช.ไต่สวน และยื่นต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาดักคอรัฐบาลว่า ไม่ว่าจะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองก็ตาม ยังไม่ควรลงนามสัญญาจ้างบริษัทเอกชนมาดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำ เพราะหากมีปัญหาข้อกฎหมายในภายหลัง อาจต้องชดเชยความเสียหาย ส่วน พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านเพื่อดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำ ที่กำหนดว่ารัฐบาลต้องเซ็นสัญญากู้เงินภายในวันที่ 30 มิ.ย. นายอภิสิทธิ์ ชี้ว่า เมื่อรัฐบาลยังไม่พร้อม ก็ไม่ควรเร่งกู้เงินมากองไว้ เพราะสามารถเสนอขอใช้งบประมาณตามปกติได้ พร้อมย้ำว่า เมื่อคำสั่งศาลปกครองออกมาเช่นนี้ พรรคจะยื่นถอดถอนคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ เนื่องจากทำผิดกฎหมาย
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้นายอภิสิทธิ์จะดักคอรัฐบาลไว้ แต่กระทรวงการคลังก็ไม่สน โดยนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ได้เดินหน้าเซ็นสัญญาเงินกู้โครงการบริหารจัดการน้ำกว่า 3.2 แสนล้าน กับ 4 ธนาคารแล้วเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน ,ธนาคารกรุงไทย ,ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย และว่า ก่อนหน้านี้ได้กู้ไว้ก่อนแล้วกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 349,999 ล้านบาท สามารถเบิกจ่ายได้ถึงปี 2561
ทั้งนี้ นอกจากประเด็นศาลปกครองสั่งเบรกแผนแม่บทบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านของรัฐบาลแล้ว ยังมีความไม่ชอบมาพากลของบริษัท เค วอเตอร์ ซึ่งเป็น 1 ในบริษัทผู้ชนะประมูลโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านใน 2 โมดูล วงเงิน 1.6 แสนล้านบาทด้วย ซึ่งนายยัม ฮคองเชิล ผู้อำนวยการสหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ ได้ออกมาเผยกลางเวทีเสวนาเรื่องการจัดการน้ำ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ว่า เค วอเตอร์ มีประวัติไม่ดีนัก แม้บริษัทดังกล่าวจะเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่รัฐบาลเกาหลีใต้ถือหุ้นมากถึง 99% แต่ผลงานการสร้างเขื่อนใน 4 แม่น้ำที่เกาหลีใต้ ได้ก่อหนี้สินสูงถึง 758% ขณะที่ความไม่โปร่งใสเรื่องการเงินของเค วอเตอร์ ก็อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและ ป.ป.ช.ของเกาหลีใต้ นอกจากนี้เค วอเตอร์ ยังเข้าข่ายทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะการสร้างเขื่อนใน 4 แม่น้ำ ได้ทำให้สัตว์และพืชสำคัญเกิดความสียหายอย่างรุนแรง
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลัง ผอ.สหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ ออกมาแฉประวัติฉาวของ เค วอเตอร์ ปรากฏว่า สื่อมวลชนบางสำนักได้เสนอข่าวดังกล่าว รวมทั้งรายการ “ฮาร์ดคอร์ข่าว” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ที่ผลิตโดยบริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) ได้นำเสนอสกู๊ปข่าวเกี่ยวกับ เค วอเตอร์ เช่นกันเมื่อเย็นวันที่ 26 มิ.ย. แต่ปรากฏว่า ทันทีที่เริ่มเข้าเนื้อหาสกู๊ป ทางช่อง 5 ก็ตัดสัญญาณรายการดังกล่าว แล้วตัดเข้าโฆษณาทันที
ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวของผู้บริหารช่อง 5 ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ว่าทำเพื่อเอาใจนักการเมืองหรือมีใบสั่งจากนักการเมือง กระทั่ง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ได้ออกมาชี้แจงโดยอ้างว่า ข่าวดังกล่าวเกิดความผิดพลาด เมื่อเนื้อหายังไม่ชัดเจน สถานีจะไม่ให้ออกอากาศ เพราะหากนำเสนอไม่ตรงกับข้อเท็จจริง อาจถูกฟ้องร้องได้ ถือเป็นการป้องกันไว้ก่อน
เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจากความน่ากังขาในศักยภาพและสถานะของบริษัท เค วอเตอร์แล้ว ยังมีภาพชวนให้สงสัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคำพิพากษาจำคุก 2 ปีคดีซื้อที่รัชดาฯ อาจเป็นผู้อยู่เบื้องหลังที่ทำให้ เค วอเตอร์ ชนะประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำ 1.6 แสนล้าน โดยเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. มีการแพร่ภาพ พ.ต.ท.ทักษิณ ถ่ายรูปร่วมกับทีมผู้บริหารบริษัท เค วอเตอร์ พร้อมมีป้ายข้อความยินดีต้อนรับ พ.ต.ท.ทักษิณที่หน้าตึกอย่างเป็นทางการ
ด้านผู้บริหารบริษัท เค วอเตอร์ ได้ควงเอกอัครราชทูตเกาหลีประจำประเทศไทย นายชอน แจ มัน เปิดแถลงข่าวเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. โดยยืนยันศักยภาพและฐานะการเงินของเค วอเตอร์ ว่าไม่ได้เป็นอย่างที่นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของเกาหลีใต้ระบุ พร้อมเผยว่า บริษัทได้ฟ้องร้องกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียงต่อศาลเกาหลีแล้ว ส่วนในไทยกำลังดำเนินการอยู่
3. ผลตรวจสต๊อกข้าวทั่ว ปท. พบทั้งข้าวขาด-ข้าวเกิน สะพัด! สหรัฐฯ กักข้าวไทย หลังมีข่าวใช้ยาฆ่าแมลงรมข้าว ด้าน รบ.รีบปฏิเสธ!
เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ชุดปฏิบัติการตำรวจร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ได้ออกตรวจสอบปริมาณข้าวคงเหลือขององค์การคลังสินค้า(อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อตก.) ในโกดังและโรงสีทั่วประเทศจำนวน 2,071 แห่งตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล สำหรับการตรวจสอบปริมาณข้าวครั้งนี้มีขึ้นหลังนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อ้างว่า ตัวเลขขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวของคณะกรรมการปิดบัญชีฯ สูงกว่าตัวเลขขาดทุนของกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากคณะกรรมการปิดบัญชีฯ ไม่ได้นำปริมาณข้าวเปลือกในสต๊อกที่อยู่ระหว่างการสี มาคำนวณด้วยจำนวน 2.59 ล้านตัน ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบว่า ข้าว 2.59 ล้านตันดังกล่าวมีอยู่ในสต๊อกจริง
วันต่อมา(28 มิ.ย.) พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แถลงผลการตรวจสอบว่า เบื้องต้นพบความผิดปกติของปริมาณข้าวสารไม่ตรงกับบัญชีที่แจ้งไว้ 26 แห่ง มีทั้งข้าวขาดและข้าวเกิน ส่วนใหญ่เป็นข้าวเกิน รวมทั้งหมดที่เกินจากบัญชี 3-4 หมื่นตัน ซึ่งแต่ละโรงสียอมรับว่า ที่เกิน เพราะ อคส.สั่งให้สี แต่สีไม่ทัน ทำให้ข้าวตกค้าง ส่วนข้าวที่ขาด รวมทั้งหมดกว่า 300 ตัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะได้ตัวเลขที่ชัดเจนของข้าวขาด-ข้าวเกินในวันที่ 1 ก.ค.
เป็นที่น่าสังเกตว่า จากการตรวจสอบ พบข้าวหายในหลายจังหวัด เช่น ที่ จ.เพชรบูรณ์ พบข้าวหายไปจากโรงสีเกษตรผลเจริญ จำนวน 4,200 ตัน มูลค่า 135 ล้านบาท ,ที่ จ.เชียงราย พบข้าวหายไปจากโรงสี ที พี เอ็น ไรซ์มิล จำกัด จำนวนกว่า 1,000 ตัน ,ที่ จ.ชัยภูมิ พบข้าวหายไปจากโรงสีข้าวนพภร จำนวน 750 ตัน โดยพบว่ามีการขนข้าวออกจากโรงสีไปสวมสิทธิ ,ที่ จ.พิษณุโลก พบข้าวหายไปจากโกดังเซ็นเตอร์ไรน์ จำนวนกว่า 6.6 หมื่นกระสอบ ฯลฯ
ส่วนความคืบหน้ากรณีชาวนาไม่พอใจที่รัฐบาลปรับลดราคารับจำนำข้าวจากตันละ 15,000 บาท เหลือ 12,000 บาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. ปรากฏว่า ชาวนาหลายกลุ่มได้มายื่นหนังสือต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทบทวนการลดราคารับจำนำข้าว เพราะทำให้ชาวนาเดือดร้อนและขาดทุน ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า ข้อเสนอของชาวนาต้องให้ทางคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) เป็นผู้พิจารณา โดยมีกำหนดประชุมวันที่ 1 ก.ค. ด้านนายพรม บุญมาช่วย ประธานสภาเกษตรกร จ.สุพรรณบุรี บอกว่า ชาวนา 26 จังหวัดภาคกลาง มีมติว่า จะรอคำตอบจากรัฐบาลจนถึงสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ หากรัฐบาลไม่ทบทวน ชาวนา 26 จังหวัดจะเคลื่อนไหวแน่นอน แต่ยังไม่บอกว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไร
เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจากปัญหาข้าวขาด-ข้าวเกินในโรงสีและโกดังทั่วประเทศแล้ว ยังมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นอีก โดยเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา(USFDA) ได้แจ้งให้ท่าเรือและผู้นำเข้าทุกรายทั่วสหรัฐฯ กักข้าวที่นำเข้าจากไทยทุกตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพให้ละเอียดก่อน หลังมีข่าวในไทยว่า ข้าวในสต๊อกของรัฐบาลไทยมีการรมยาฆ่าแมลงในปริมาณมาก จนอาจเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมทั้งมีมอดและเชื้อราด้วย
ทั้งนี้ หลังมีข่าวดังกล่าว ทั้งรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบออกมาปฏิเสธเป็นการใหญ่ โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า ได้มีการสอบถามบริษัทผู้นำเข้าข้าวไทยแล้ว ยืนยันว่าไม่มีการห้ามนำเข้าหรือกักกันข้าวไทย และไม่มีสัญญาณว่าจะประกาศแจ้งเตือนใดใดออกมา ขณะที่ นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ของไทย ได้แถลงผลการตรวจคุณภาพข้าวบรรจุถุง โดยยืนยันว่า ไม่พบการใช้สารเคมีในการรมข้าวเกินมาตรฐานที่กำหนดแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออกข้าวไปสหรัฐฯ และนำเข้าข้าวในสหรัฐฯ ได้นำเอกสารที่ข้าวไทยถูก USFDA กักกันที่มลรัฐนิวยอร์กออกมาเปิดเผย โดยข้าวที่ถูกกักกันคือ ข้าวเหนียวและข้าวเหนียวดำจำนวนหลายล็อต ด้วยเหตุผลว่าข้าวที่นำเข้าจากไทยดังกล่าวมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลง แหล่งข่าวยังเผยด้วยว่า “เดือน พ.ค.-มิ.ย.(2556) ข้าวเหนียวกับข้าวเหนียวดำจากไทยโดนกักที่นิวยอร์ก เจ้าหน้าที่ไทยยังไม่รู้เรื่องเลย ล่าสุดที่ลอสแองเจลิส ข้าวสารจากไทยก็โดนไปแล้ว 4 ตั๋ว เกือบ 20 ตู้แล้ว ก็ยังไม่รู้เรื่องเลย เจ้าหน้าที่ใน USFDA เตือนแล้วยังไม่ไปตรวจสอบให้ดี...”
4. ตร. ไขข้อสงสัย 13 ประเด็น เตรียมสรุปคดีเอกยุทธใน 1 เดือน ด้าน “ทนายสุวัตร” เผย พบเบอร์โทรศัพท์ใหม่ของผู้ต้องหาแล้ว!
เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้เรียกประชุมชุดคลี่คลายคดีอุ้มฆ่านายเอกยุทธ อัญชันบุตร นักธุรกิจชื่อดัง เพื่อสรุปข้อสงสัยทั้ง 13 ประเด็นที่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความนายเอกยุทธ และคณะกรรมาธิการตำรวจตั้งข้อสังเกตโดยไม่เชื่อว่านายสันติภาพ เพ็งด้วง หรือ บอล และนายสุทธิพงษ์ พิมพิสาร หรือ เบิ้ม วางแผนอุ้มฆ่านายเอกยุทธ เพื่อชิงทรัพย์
ทั้งนี้ หลังประชุม พล.ต.ท.คำรณวิทย์ เผยข้อสรุปเพื่อคลี่คลายข้อสงสัยว่า บางประเด็นเป็นความลับในสำนวน จึงไม่สามารถเปิดเผยได้ จึงขอชี้แจงบางประเด็นเท่านั้น เช่น การนำรถโฟล์กที่คนร้ายใช้ก่อเหตุ ไปทำแผน ยืนยันว่า หลังเกิดเหตุ กองพิสูจน์หลักฐานได้นำรถไปตรวจพิสูจน์แล้ว การเอารถไปทำแผน จึงไม่มีผลทำให้หลักฐานต่างๆ หมดไป
ขณะที่ พ.ต.อ.ณัฏฐ์ บุรณศิริ นวท.(สบ 4) กลุ่มงานตรวจสถานที่เกิดเหตุ เสริมว่า ผลตรวจเบื้องต้นไม่พบดีเอ็นเอหรือลายนิ้วมือของบุคคลอื่นที่รถโฟล์ก นอกจากของกลุ่มผู้ต้องหา ส่วนประเด็นที่ว่า หลังออกจากร้านครัวกระแต น่าจะมีบุคคลอื่นช่วยล็อคตัวนายเอกยุทธขณะอยู่ในรถ ไม่น่าจะมีเพียงนายบอลและนายเบิ้ม เพราะหากมีแค่ 2 คน นายเอกยุทธน่าจะแย่งปืนหรือหนีลงจากรถนั้น พล.ต.ต.นัยวัฒน์ ผะเดิมชิต ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 4 ชี้แจงว่า ขณะเกิดเหตุนายบอลจอดรถข้างทางย่านถนนลาดพร้าว จากนั้นใช้ปืนหันไปจี้นายเอกยุทธ แล้วต่อรองว่าต้องการทรัพย์ ขอให้นายเอกยุทธอย่าขัดขืน ซึ่งนายเอกยุทธยินยอม จากนั้นให้นายเอกยุทธหันหลังและเอามือไพล่หลังไว้ ก่อนจะมีการปีนจากห้องคนขับเพื่อนำกุญแจมือไปล็อก จึงเป็นเหตุผลทำให้นายเอกยุทธไม่ได้แย่งปืน
ด้าน พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผู้บังคับการกองปราบปราม พูดถึงแรงจูงใจของผู้ต้องหาที่ฆ่านายเอกยุทธเพื่อชิงทรัพย์ว่า เนื่องจากบอลเป็นเด็กแว้นมาก่อน มีนิสัยก้าวร้าว ก่อคดีวิ่งราวทรัพย์และกรรโชกทรัพย์ ก่อนเข้าสู่วงการคนขับรถและเป็นพนักงานขับรถของผู้บริหารบริษัท นอกจากนี้ยังพบว่านายบอลทำความผิดโดยประสงค์ต่อทรัพย์มาหลายครั้งแล้ว
ขณะที่ พล.ต.ต.พรชัย สุธีรคุณ ผู้บังคับการนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ พูดถึงประเด็นลูกอัณฑะนายเอกยุทธบวมว่า น่าจะเกิดจากการเน่า เพราะขณะตรวจสอบ นายเอกยุทธเสียชีวิตมาประมาณ 5 วันแล้ว ส่วนใบหน้านายเอกยุทธ พบบาดแผลแค่รอยช้ำที่ปลายจมูกนิดหน่อย ไม่น่าจะเกิดจากการทำร้าย
ด้าน พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พูดถึงสำนวนคดีนายเอกยุทธว่า คงจะสรุปคดีได้ภายใน 1 เดือน หากมีพยานหลักฐานอื่นๆ ก็สามารถนำมาประกอบสำนวนได้ภายในอายุความ 20 ปี
วันเดียวกัน(26 มิ.ย.) นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความนายเอกยุทธ ได้เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ เพื่อรับฟังคำชี้แจงข้อสงสัย 13 ประเด็น หลังฟังคำชี้แจง นายสุวัตร บอกว่า พอใจคำชี้แจงของตำรวจ แต่ยังมีหลายประเด็นที่ทำใจให้เชื่อไม่ได้ เช่น ประเด็นฮาร์ดดิสก์กล้องวงจรปิดที่บ้านนายเอกยุทธ ซึ่งผู้ต้องหาบอกว่าเอาไปทุบจนแหลกละเอียดและนำซากไปโปรยทิ้ง ส่วนเสื้อผ้าก็บอกว่าฉีกเป็นชิ้นๆ และนำไปโปรยทิ้ง รวมทั้งกระเป๋าหลุยส์วิตตอง ที่บอกว่านำไปหั่นเป็นชิ้นๆ แล้วเอาไปทำลาย และกรณีที่ผู้ต้องหานำรถโฟล์กไปล้างในราคา 4,900 บาท
นายสุวัตร ยังเผยด้วยว่า ได้พบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งเป็นเบอร์ใหม่ที่นายบอลใช้สื่อสาร เบื้องต้นพบว่าเบอร์นี้ถูกเริ่มใช้บริเวณร้านครัวกระแต จึงจะเสนอให้พนักงานสอบสวนตรวจสอบการใช้งานเบอร์ดังกล่าวตั้งแต่ช่วงก่อนวันที่ 6 มิ.ย.และหลังวันที่ 8 มิ.ย. ที่นายเอกยุทธเสียชีวิต ว่าติดต่อกับใครบ้าง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ได้มีการประกอบพิธีฌาปนกิจศพนายเอกยุทธที่วัดลาดพร้าว โดยมีเพียงครอบครัว ญาติ และเพื่อนนายเอกยุทธมาร่วมงานประมาณ 200 คน ซึ่งบรรยากาศเต็มไปด้วยความโศกเศร้า
1. โปรดเกล้าฯ ครม. ยิ่งลักษณ์ 5 แล้ว “ปู” ควบกลาโหม ด้าน “เฉลิม” ฟิวส์ขาด ซัด “ทวี” ฟ้องทักษิณจนหลุดเก้าอี้ ขณะที่ “บุญทรง” สังเวยจำนำข้าวตามคาด!
หลังมีข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.) ครั้งใหญ่ เพื่อดึงภาพลักษณ์รัฐบาลไม่ให้ตกต่ำไปมากกว่านี้ โดยเฉพาะจากปัญหาการขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าว 2.6 แสนล้านบาท โดยมีรายงานว่า ได้มีการทูลเกล้าฯ รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่แล้วเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ปรากฏว่า ล่าสุด วันนี้(30 มิ.ย.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่แล้ว
สำหรับรายชื่อรัฐมนตรีใหม่ ประกอบด้วย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีกตำแหน่งหนึ่ง ,พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม , นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ,พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก พ้นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองนายกรัฐมนตรี , นายชัยเกษม นิติสิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา พ้นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองนายกรัฐมนตรีตำแหน่งเดียว ,นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ , ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง พ้นจากรองนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ,นายสันติ พร้อมพัฒน์ พ้นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ,นางปวีณา หงสกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกตำแหน่งหนึ่ง ,นายพีรพันธุ์ พาลุสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ,นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , นางเบญจา หลุยเจริญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ,นายพ้อง ชีวานันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ,นายยรรยง พวงราช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ,นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ,นายสรวงศ์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
สำหรับรัฐมนตรีที่หลุดจากตำแหน่งเลย ประกอบด้วย น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ,นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ,นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ,พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ,นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ,นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ,นายชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ รัฐมนตรีใหม่บางคนเป็นผู้ที่ถูกมองว่าเคยทำงานรับใช้ระบอบทักษิณ จึงได้รับการปูนบำเหน็จในครั้งนี้ เช่น นายชัยเกษม นิติสิริ อดีตอัยการสูงสุด โดยได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนางเบญจา หลุยเจริญ อดีตอธิบดีกรมศุลกากร เป็นข้าราชการที่ถูกมองว่า มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบ้านจันทร์ส่องหล้า และเคยเป็นข่าวฮือฮาสมัยเป็นอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากรที่ตอบข้อหารือคดีซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของนายพานทองแท้ และนางพิณทองทา ชินวัตรว่า ไม่ต้องเสียภาษี
เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะนำรัฐมนตรีใหม่เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณที่โรงพยาบาลศิริราช ได้มีการนัดรัฐมนตรีถ่ายรูปหมู่ร่วมกันที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ปรากฏว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งถูกโยกพ้นตำแหน่งรองนายกฯ ที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ไม่ได้มาร่วมถ่ายรูปด้วยแต่อย่างใด เมื่อรัฐมนตรีบางคนสอบถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ถึงเรื่องนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า ร.ต.อ.เฉลิม ไปรอที่โรงพยาบาลศิริราชแล้ว
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ร.ต.อ.เฉลิม ออกอาการไม่พอใจที่รู้ว่าถูกโยกพ้นรองนายกฯ ไปคุมกระทรวงแรงงาน โดยได้ออกมาซัดว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ที่ทำให้ตนถูกโยกย้ายครั้งนี้ “ไอ้ทวี มันเอาความเท็จไปฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และยิ่งลักษณ์ จนเป็นที่มาของการปรับ ครม.ให้ผมออกจากเก้าอี้ แล้วเอา พล.ต.อ.ประชา มาแทน เพราะไอ้ทวี เป็นคนไปฟ้องว่า ไอ้เฉลิมเป็นคนตั้งบ่อน ตำรวจก็ไม่พอใจ นักข่าวที่สนิทกันก็มาถาม ผมก็ไม่แก้ตัว แต่ให้มึงไปถาม ผบ.ตร.ถาม ผบช.น. หรือ ผบก.ภ.จว.ว่า ผมเปิดบ่อนจริงหรือไม่ ผมขอสาปแช่งเลยว่า ใครเอาเรื่องนี้มาใส่ร้ายผม ขอให้มันฉิบหายเจ็ดชั่วโคตร”
2. ศาล ปค. เบรกแผนจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ชี้ รบ.ละเลยหน้าที่ - สั่งทำประชาพิจารณ์ ปชช.-ผู้มีส่วนได้เสียก่อน ด้าน ปชป. เล็งยื่นถอดถอน ครม.ทั้งคณะ!
เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ศาลปกครองกลางได้นัดพิพากษากรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และชาวบ้านรวม 45 คน ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ,คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ(กยน.) ,คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(กนอช.) และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-4 กรณีเป็นเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยมิชอบ จากกรณีจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน นอกจากนี้ยังใช้อำนาจทางปกครองของฝ่ายบริหารผ่านคณะรัฐมนตรี(ครม.) เร่งรีบออก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำ และสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 จำนวน 3.5 แสนล้านบาท มาบังคับใช้ทันที โดยไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะออก พ.ร.ก. เพราะยังไม่ทราบเลยว่าจะมีรายละเอียดของโครงการหรือกิจกรรมใดเกิดขึ้นได้จริงบ้าง แต่กลับเร่งรีบออกกฎหมายกู้เงิน 3.5 แสนล้าน
ด้านศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องทั้ง 45 คนมีสิทธิฟ้องคดี ทั้งนี้ คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า การจัดทำแผนแม่บทฯ ของ กยน.ผู้ถูกฟ้องที่ 2 เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ซึ่งศาลเห็นว่า รายละเอียดของแผนที่จะดำเนินการ อาจมีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างหลายพื้นที่ รวมทั้งมีการใช้อำนาจทางปกครองเพื่อดำเนินการตามแผนแม่บท ที่มีลักษณะจะเป็นการเปลี่ยนแปลงผังเมือง และกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 วรรค 2 แต่นายกฯ และ กยน.ไม่ได้ดำเนินการหรือมีแผนที่จะจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนการจัดทำแผนแม่บทฯ แต่อย่างใด จึงเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 ละเลยต่อหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
ส่วนผู้ถูกฟ้องที่ 1-4 ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติในการจะดำเนินการตามแผนแม่บทฯ หรือไม่ ศาลเห็นว่า ถ้าดำเนินการตามทีโออาร์โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศ จะต้องใช้พื้นที่ป่าไม้และที่ดินของประชาชน ดังนั้นอาจก่อผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง
ส่วนกรณีที่ทีโออาร์กำหนดให้เอกชนผู้รับจ้าง ทำหน้าที่ศึกษาและจัดให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนนั้น ศาลเห็นว่า ผลอาจเบี่ยงเบนหรือไม่ตรงความเป็นจริง เพราะเอกชนเป็นผู้ได้ทำสัญญารับจ้างออกแบบและก่อสร้างกับรัฐไปแล้ว ย่อมจะคำนึงถึงผลกำไรสูงสุดเป็นสำคัญ จึงอาจพยายามให้ผลการศึกษาออกมาในลักษณะให้มีการก่อสร้าง ซึ่งจะทำให้ไม่เป็นที่มั่นใจในความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ทั้งยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 ที่กำหนดให้มีการศึกษาผลกระทบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน ซึ่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 ก็กำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ ที่ต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จึงถือว่าผู้ถูกฟ้องทั้ง 4 ละเลยต่อหน้าที่อย่างแน่แท้ จึงพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 4 ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 วรรค 2 และ 67 วรรค 2 ด้วยการนำแผนแม่บทไปดำเนินการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนจะดำเนินการจ้างออกแบบและก่อสร้างในแต่ละแผนงาน(โมดูล)
ทั้งนี้ หลังศาลปกครองมีคำพิพากาษาดังกล่าว นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ขอให้ตรวจสอบการกระทำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ,นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี และประธาน กบอ. และนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างชัดเจน จึงขอให้ ป.ป.ช.ไต่สวน และยื่นต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาดักคอรัฐบาลว่า ไม่ว่าจะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองก็ตาม ยังไม่ควรลงนามสัญญาจ้างบริษัทเอกชนมาดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำ เพราะหากมีปัญหาข้อกฎหมายในภายหลัง อาจต้องชดเชยความเสียหาย ส่วน พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านเพื่อดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำ ที่กำหนดว่ารัฐบาลต้องเซ็นสัญญากู้เงินภายในวันที่ 30 มิ.ย. นายอภิสิทธิ์ ชี้ว่า เมื่อรัฐบาลยังไม่พร้อม ก็ไม่ควรเร่งกู้เงินมากองไว้ เพราะสามารถเสนอขอใช้งบประมาณตามปกติได้ พร้อมย้ำว่า เมื่อคำสั่งศาลปกครองออกมาเช่นนี้ พรรคจะยื่นถอดถอนคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ เนื่องจากทำผิดกฎหมาย
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้นายอภิสิทธิ์จะดักคอรัฐบาลไว้ แต่กระทรวงการคลังก็ไม่สน โดยนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ได้เดินหน้าเซ็นสัญญาเงินกู้โครงการบริหารจัดการน้ำกว่า 3.2 แสนล้าน กับ 4 ธนาคารแล้วเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน ,ธนาคารกรุงไทย ,ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย และว่า ก่อนหน้านี้ได้กู้ไว้ก่อนแล้วกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 349,999 ล้านบาท สามารถเบิกจ่ายได้ถึงปี 2561
ทั้งนี้ นอกจากประเด็นศาลปกครองสั่งเบรกแผนแม่บทบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านของรัฐบาลแล้ว ยังมีความไม่ชอบมาพากลของบริษัท เค วอเตอร์ ซึ่งเป็น 1 ในบริษัทผู้ชนะประมูลโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านใน 2 โมดูล วงเงิน 1.6 แสนล้านบาทด้วย ซึ่งนายยัม ฮคองเชิล ผู้อำนวยการสหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ ได้ออกมาเผยกลางเวทีเสวนาเรื่องการจัดการน้ำ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ว่า เค วอเตอร์ มีประวัติไม่ดีนัก แม้บริษัทดังกล่าวจะเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่รัฐบาลเกาหลีใต้ถือหุ้นมากถึง 99% แต่ผลงานการสร้างเขื่อนใน 4 แม่น้ำที่เกาหลีใต้ ได้ก่อหนี้สินสูงถึง 758% ขณะที่ความไม่โปร่งใสเรื่องการเงินของเค วอเตอร์ ก็อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและ ป.ป.ช.ของเกาหลีใต้ นอกจากนี้เค วอเตอร์ ยังเข้าข่ายทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะการสร้างเขื่อนใน 4 แม่น้ำ ได้ทำให้สัตว์และพืชสำคัญเกิดความสียหายอย่างรุนแรง
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลัง ผอ.สหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ ออกมาแฉประวัติฉาวของ เค วอเตอร์ ปรากฏว่า สื่อมวลชนบางสำนักได้เสนอข่าวดังกล่าว รวมทั้งรายการ “ฮาร์ดคอร์ข่าว” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ที่ผลิตโดยบริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) ได้นำเสนอสกู๊ปข่าวเกี่ยวกับ เค วอเตอร์ เช่นกันเมื่อเย็นวันที่ 26 มิ.ย. แต่ปรากฏว่า ทันทีที่เริ่มเข้าเนื้อหาสกู๊ป ทางช่อง 5 ก็ตัดสัญญาณรายการดังกล่าว แล้วตัดเข้าโฆษณาทันที
ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวของผู้บริหารช่อง 5 ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ว่าทำเพื่อเอาใจนักการเมืองหรือมีใบสั่งจากนักการเมือง กระทั่ง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ได้ออกมาชี้แจงโดยอ้างว่า ข่าวดังกล่าวเกิดความผิดพลาด เมื่อเนื้อหายังไม่ชัดเจน สถานีจะไม่ให้ออกอากาศ เพราะหากนำเสนอไม่ตรงกับข้อเท็จจริง อาจถูกฟ้องร้องได้ ถือเป็นการป้องกันไว้ก่อน
เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจากความน่ากังขาในศักยภาพและสถานะของบริษัท เค วอเตอร์แล้ว ยังมีภาพชวนให้สงสัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคำพิพากษาจำคุก 2 ปีคดีซื้อที่รัชดาฯ อาจเป็นผู้อยู่เบื้องหลังที่ทำให้ เค วอเตอร์ ชนะประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำ 1.6 แสนล้าน โดยเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. มีการแพร่ภาพ พ.ต.ท.ทักษิณ ถ่ายรูปร่วมกับทีมผู้บริหารบริษัท เค วอเตอร์ พร้อมมีป้ายข้อความยินดีต้อนรับ พ.ต.ท.ทักษิณที่หน้าตึกอย่างเป็นทางการ
ด้านผู้บริหารบริษัท เค วอเตอร์ ได้ควงเอกอัครราชทูตเกาหลีประจำประเทศไทย นายชอน แจ มัน เปิดแถลงข่าวเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. โดยยืนยันศักยภาพและฐานะการเงินของเค วอเตอร์ ว่าไม่ได้เป็นอย่างที่นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของเกาหลีใต้ระบุ พร้อมเผยว่า บริษัทได้ฟ้องร้องกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียงต่อศาลเกาหลีแล้ว ส่วนในไทยกำลังดำเนินการอยู่
3. ผลตรวจสต๊อกข้าวทั่ว ปท. พบทั้งข้าวขาด-ข้าวเกิน สะพัด! สหรัฐฯ กักข้าวไทย หลังมีข่าวใช้ยาฆ่าแมลงรมข้าว ด้าน รบ.รีบปฏิเสธ!
เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. ชุดปฏิบัติการตำรวจร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ได้ออกตรวจสอบปริมาณข้าวคงเหลือขององค์การคลังสินค้า(อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อตก.) ในโกดังและโรงสีทั่วประเทศจำนวน 2,071 แห่งตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล สำหรับการตรวจสอบปริมาณข้าวครั้งนี้มีขึ้นหลังนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อ้างว่า ตัวเลขขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าวของคณะกรรมการปิดบัญชีฯ สูงกว่าตัวเลขขาดทุนของกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากคณะกรรมการปิดบัญชีฯ ไม่ได้นำปริมาณข้าวเปลือกในสต๊อกที่อยู่ระหว่างการสี มาคำนวณด้วยจำนวน 2.59 ล้านตัน ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบว่า ข้าว 2.59 ล้านตันดังกล่าวมีอยู่ในสต๊อกจริง
วันต่อมา(28 มิ.ย.) พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แถลงผลการตรวจสอบว่า เบื้องต้นพบความผิดปกติของปริมาณข้าวสารไม่ตรงกับบัญชีที่แจ้งไว้ 26 แห่ง มีทั้งข้าวขาดและข้าวเกิน ส่วนใหญ่เป็นข้าวเกิน รวมทั้งหมดที่เกินจากบัญชี 3-4 หมื่นตัน ซึ่งแต่ละโรงสียอมรับว่า ที่เกิน เพราะ อคส.สั่งให้สี แต่สีไม่ทัน ทำให้ข้าวตกค้าง ส่วนข้าวที่ขาด รวมทั้งหมดกว่า 300 ตัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะได้ตัวเลขที่ชัดเจนของข้าวขาด-ข้าวเกินในวันที่ 1 ก.ค.
เป็นที่น่าสังเกตว่า จากการตรวจสอบ พบข้าวหายในหลายจังหวัด เช่น ที่ จ.เพชรบูรณ์ พบข้าวหายไปจากโรงสีเกษตรผลเจริญ จำนวน 4,200 ตัน มูลค่า 135 ล้านบาท ,ที่ จ.เชียงราย พบข้าวหายไปจากโรงสี ที พี เอ็น ไรซ์มิล จำกัด จำนวนกว่า 1,000 ตัน ,ที่ จ.ชัยภูมิ พบข้าวหายไปจากโรงสีข้าวนพภร จำนวน 750 ตัน โดยพบว่ามีการขนข้าวออกจากโรงสีไปสวมสิทธิ ,ที่ จ.พิษณุโลก พบข้าวหายไปจากโกดังเซ็นเตอร์ไรน์ จำนวนกว่า 6.6 หมื่นกระสอบ ฯลฯ
ส่วนความคืบหน้ากรณีชาวนาไม่พอใจที่รัฐบาลปรับลดราคารับจำนำข้าวจากตันละ 15,000 บาท เหลือ 12,000 บาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. ปรากฏว่า ชาวนาหลายกลุ่มได้มายื่นหนังสือต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทบทวนการลดราคารับจำนำข้าว เพราะทำให้ชาวนาเดือดร้อนและขาดทุน ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า ข้อเสนอของชาวนาต้องให้ทางคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) เป็นผู้พิจารณา โดยมีกำหนดประชุมวันที่ 1 ก.ค. ด้านนายพรม บุญมาช่วย ประธานสภาเกษตรกร จ.สุพรรณบุรี บอกว่า ชาวนา 26 จังหวัดภาคกลาง มีมติว่า จะรอคำตอบจากรัฐบาลจนถึงสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ หากรัฐบาลไม่ทบทวน ชาวนา 26 จังหวัดจะเคลื่อนไหวแน่นอน แต่ยังไม่บอกว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไร
เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจากปัญหาข้าวขาด-ข้าวเกินในโรงสีและโกดังทั่วประเทศแล้ว ยังมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นอีก โดยเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา(USFDA) ได้แจ้งให้ท่าเรือและผู้นำเข้าทุกรายทั่วสหรัฐฯ กักข้าวที่นำเข้าจากไทยทุกตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพให้ละเอียดก่อน หลังมีข่าวในไทยว่า ข้าวในสต๊อกของรัฐบาลไทยมีการรมยาฆ่าแมลงในปริมาณมาก จนอาจเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมทั้งมีมอดและเชื้อราด้วย
ทั้งนี้ หลังมีข่าวดังกล่าว ทั้งรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบออกมาปฏิเสธเป็นการใหญ่ โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า ได้มีการสอบถามบริษัทผู้นำเข้าข้าวไทยแล้ว ยืนยันว่าไม่มีการห้ามนำเข้าหรือกักกันข้าวไทย และไม่มีสัญญาณว่าจะประกาศแจ้งเตือนใดใดออกมา ขณะที่ นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ของไทย ได้แถลงผลการตรวจคุณภาพข้าวบรรจุถุง โดยยืนยันว่า ไม่พบการใช้สารเคมีในการรมข้าวเกินมาตรฐานที่กำหนดแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออกข้าวไปสหรัฐฯ และนำเข้าข้าวในสหรัฐฯ ได้นำเอกสารที่ข้าวไทยถูก USFDA กักกันที่มลรัฐนิวยอร์กออกมาเปิดเผย โดยข้าวที่ถูกกักกันคือ ข้าวเหนียวและข้าวเหนียวดำจำนวนหลายล็อต ด้วยเหตุผลว่าข้าวที่นำเข้าจากไทยดังกล่าวมีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลง แหล่งข่าวยังเผยด้วยว่า “เดือน พ.ค.-มิ.ย.(2556) ข้าวเหนียวกับข้าวเหนียวดำจากไทยโดนกักที่นิวยอร์ก เจ้าหน้าที่ไทยยังไม่รู้เรื่องเลย ล่าสุดที่ลอสแองเจลิส ข้าวสารจากไทยก็โดนไปแล้ว 4 ตั๋ว เกือบ 20 ตู้แล้ว ก็ยังไม่รู้เรื่องเลย เจ้าหน้าที่ใน USFDA เตือนแล้วยังไม่ไปตรวจสอบให้ดี...”
4. ตร. ไขข้อสงสัย 13 ประเด็น เตรียมสรุปคดีเอกยุทธใน 1 เดือน ด้าน “ทนายสุวัตร” เผย พบเบอร์โทรศัพท์ใหม่ของผู้ต้องหาแล้ว!
เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้เรียกประชุมชุดคลี่คลายคดีอุ้มฆ่านายเอกยุทธ อัญชันบุตร นักธุรกิจชื่อดัง เพื่อสรุปข้อสงสัยทั้ง 13 ประเด็นที่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความนายเอกยุทธ และคณะกรรมาธิการตำรวจตั้งข้อสังเกตโดยไม่เชื่อว่านายสันติภาพ เพ็งด้วง หรือ บอล และนายสุทธิพงษ์ พิมพิสาร หรือ เบิ้ม วางแผนอุ้มฆ่านายเอกยุทธ เพื่อชิงทรัพย์
ทั้งนี้ หลังประชุม พล.ต.ท.คำรณวิทย์ เผยข้อสรุปเพื่อคลี่คลายข้อสงสัยว่า บางประเด็นเป็นความลับในสำนวน จึงไม่สามารถเปิดเผยได้ จึงขอชี้แจงบางประเด็นเท่านั้น เช่น การนำรถโฟล์กที่คนร้ายใช้ก่อเหตุ ไปทำแผน ยืนยันว่า หลังเกิดเหตุ กองพิสูจน์หลักฐานได้นำรถไปตรวจพิสูจน์แล้ว การเอารถไปทำแผน จึงไม่มีผลทำให้หลักฐานต่างๆ หมดไป
ขณะที่ พ.ต.อ.ณัฏฐ์ บุรณศิริ นวท.(สบ 4) กลุ่มงานตรวจสถานที่เกิดเหตุ เสริมว่า ผลตรวจเบื้องต้นไม่พบดีเอ็นเอหรือลายนิ้วมือของบุคคลอื่นที่รถโฟล์ก นอกจากของกลุ่มผู้ต้องหา ส่วนประเด็นที่ว่า หลังออกจากร้านครัวกระแต น่าจะมีบุคคลอื่นช่วยล็อคตัวนายเอกยุทธขณะอยู่ในรถ ไม่น่าจะมีเพียงนายบอลและนายเบิ้ม เพราะหากมีแค่ 2 คน นายเอกยุทธน่าจะแย่งปืนหรือหนีลงจากรถนั้น พล.ต.ต.นัยวัฒน์ ผะเดิมชิต ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 4 ชี้แจงว่า ขณะเกิดเหตุนายบอลจอดรถข้างทางย่านถนนลาดพร้าว จากนั้นใช้ปืนหันไปจี้นายเอกยุทธ แล้วต่อรองว่าต้องการทรัพย์ ขอให้นายเอกยุทธอย่าขัดขืน ซึ่งนายเอกยุทธยินยอม จากนั้นให้นายเอกยุทธหันหลังและเอามือไพล่หลังไว้ ก่อนจะมีการปีนจากห้องคนขับเพื่อนำกุญแจมือไปล็อก จึงเป็นเหตุผลทำให้นายเอกยุทธไม่ได้แย่งปืน
ด้าน พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผู้บังคับการกองปราบปราม พูดถึงแรงจูงใจของผู้ต้องหาที่ฆ่านายเอกยุทธเพื่อชิงทรัพย์ว่า เนื่องจากบอลเป็นเด็กแว้นมาก่อน มีนิสัยก้าวร้าว ก่อคดีวิ่งราวทรัพย์และกรรโชกทรัพย์ ก่อนเข้าสู่วงการคนขับรถและเป็นพนักงานขับรถของผู้บริหารบริษัท นอกจากนี้ยังพบว่านายบอลทำความผิดโดยประสงค์ต่อทรัพย์มาหลายครั้งแล้ว
ขณะที่ พล.ต.ต.พรชัย สุธีรคุณ ผู้บังคับการนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ พูดถึงประเด็นลูกอัณฑะนายเอกยุทธบวมว่า น่าจะเกิดจากการเน่า เพราะขณะตรวจสอบ นายเอกยุทธเสียชีวิตมาประมาณ 5 วันแล้ว ส่วนใบหน้านายเอกยุทธ พบบาดแผลแค่รอยช้ำที่ปลายจมูกนิดหน่อย ไม่น่าจะเกิดจากการทำร้าย
ด้าน พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พูดถึงสำนวนคดีนายเอกยุทธว่า คงจะสรุปคดีได้ภายใน 1 เดือน หากมีพยานหลักฐานอื่นๆ ก็สามารถนำมาประกอบสำนวนได้ภายในอายุความ 20 ปี
วันเดียวกัน(26 มิ.ย.) นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความนายเอกยุทธ ได้เดินทางเข้าพบ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ เพื่อรับฟังคำชี้แจงข้อสงสัย 13 ประเด็น หลังฟังคำชี้แจง นายสุวัตร บอกว่า พอใจคำชี้แจงของตำรวจ แต่ยังมีหลายประเด็นที่ทำใจให้เชื่อไม่ได้ เช่น ประเด็นฮาร์ดดิสก์กล้องวงจรปิดที่บ้านนายเอกยุทธ ซึ่งผู้ต้องหาบอกว่าเอาไปทุบจนแหลกละเอียดและนำซากไปโปรยทิ้ง ส่วนเสื้อผ้าก็บอกว่าฉีกเป็นชิ้นๆ และนำไปโปรยทิ้ง รวมทั้งกระเป๋าหลุยส์วิตตอง ที่บอกว่านำไปหั่นเป็นชิ้นๆ แล้วเอาไปทำลาย และกรณีที่ผู้ต้องหานำรถโฟล์กไปล้างในราคา 4,900 บาท
นายสุวัตร ยังเผยด้วยว่า ได้พบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งเป็นเบอร์ใหม่ที่นายบอลใช้สื่อสาร เบื้องต้นพบว่าเบอร์นี้ถูกเริ่มใช้บริเวณร้านครัวกระแต จึงจะเสนอให้พนักงานสอบสวนตรวจสอบการใช้งานเบอร์ดังกล่าวตั้งแต่ช่วงก่อนวันที่ 6 มิ.ย.และหลังวันที่ 8 มิ.ย. ที่นายเอกยุทธเสียชีวิต ว่าติดต่อกับใครบ้าง
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ได้มีการประกอบพิธีฌาปนกิจศพนายเอกยุทธที่วัดลาดพร้าว โดยมีเพียงครอบครัว ญาติ และเพื่อนนายเอกยุทธมาร่วมงานประมาณ 200 คน ซึ่งบรรยากาศเต็มไปด้วยความโศกเศร้า