คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1. “สุรพงษ์” ชงพิกัดปราสาทพระวิหารเข้า ครม.ก่อนส่งศาลโลก ปัดเปิดเผย อ้างความลับ ด้านศาลฎีกาฯ รับฟ้องคดี “นพดล” ลงนามแถลงการณ์ร่วมฯ!
ความคืบหน้าคดีปราสาทพระวิหาร หลังฝ่ายไทยและกัมพูชาเสร็จสิ้นการแถลงด้วยวาจาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ระหว่างวันที่ 15-19 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยนายอับดุลคาวิ อะห์เม็ด ยูซูฟ ผู้พิพากษาชาวโซมาเลีย ซึ่งเป็น 1 ในองค์คณะผู้พิพากษาในศาลโลก ได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์หรือชี้จุดในแผนที่ซึ่งคู่ความคิดว่าเป็นพื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหารซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลกเมื่อปี 2505 ในวันที่ 26 เม.ย. ภายในเวลา 17.00น. และให้ทั้งสองฝ่ายส่งข้อสังเกตต่อคำตอบของคู่กรณีด้วยภายในวันที่ 3 พ.ค.เวลา 17.00น.นั้น
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะทีมทนายสู้คดีพระวิหาร ได้เดินทางกลับประเทศไทยแล้วเมื่อวันที่ 21 เม.ย. พร้อมด้วยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ ยอมรับว่า ได้มีโอกาสคุยกับนายฮอ นัมฮง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ก่อนที่จะมีการแถลงด้วยวาจาต่อศาลโลก โดยบอกไปว่า ไม่ว่าศาลจะตัดสินออกมาอย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ จะยังคงเหมือนเดิม
นายสุรพงษ์ ยังชี้แจงกรณีมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ตนเคยเสนอให้ ครม.อนุมัติตัดนายวีรชัยออกจากองค์คณะของคณะกรรมาธิการชายแดนร่วมไทย-กัมพูชา(เจบีซี) เมื่อปี 2554 โดยโบ้ยว่า ตนไม่ได้เสนอ แต่เป็นการเสนอโดยกระทรวงการต่างประเทศ ที่เห็นว่ามีทูตท่านอื่นดำเนินการแทนได้ อีกทั้งยังต้องการให้นายวีรชัยมีเวลาทำงานสู้คดีพระวิหารอย่างเต็มที่
ขณะที่นายวีรชัย ได้ขอบคุณทุกกำลังใจจากประชาชนไทยที่ส่งไปให้คณะที่ต่อสู้คดี พร้อมเชื่อมั่นว่า ได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว
วันต่อมา(22 เม.ย.) นายสุรพงษ์ ได้นำทีมทนายสู้คดีพระวิหาร ทั้งนายวีรชัย และทนายความชาวต่างประเทศ ประกอบด้วย ศ.อแลง แปลเล่ต์ ,ศ.เจมส์ ครอว์ฟอร์ด ,ศ.โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์ และ น.ส.อลินา มิรอง เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อรายงานผลการต่อสู้คดีให้ทราบ โดยมีผู้นำ 4 เหล่าทัพ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติร่วมรับฟัง แต่ไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวเข้าฟัง
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังรับฟังข้อมูลแล้วเสร็จ คณะทั้งหมดได้ร่วมถ่ายภาพหมู่กับนายกฯ แต่ระหว่างยืนถ่ายภาพ ศ.อแลง ซึ่งยืนอยู่ข้าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้หันมาหอมแก้ม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยิ้มอย่างขวยเขิน สำหรับผู้ที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเป็นพิเศษก็คือ น.ส.อลินา มิรอง ทนายผู้ช่วยของ ศ.อแลง ซึ่งถูกขอถ่ายรูปด้วยจำนวนมาก
ด้าน พล.อ.อ.สุกำพล พูดถึงการระบุพิกัดบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารเพื่อยื่นต่อศาลโลกว่า ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร คิดว่าทำเพียงแค่ 15 นาทีก็เสร็จแล้ว
ทั้งนี้ วันต่อมา(23 เม.ย.) นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอเรื่องพิกัดแผนที่บริเวณปราสาทพระวิหารที่ทีมทนายต่อสู้คดีได้ร่วมหารือกันเมื่อวันที่ 22 เม.ย. ให้ที่ประชุม ครม.รับทราบ แต่ไม่ขอเปิดเผย เพราะทีมทนายขอปิดเป็นความลับ และว่า “ต้องเสนอต่อศาลโลกในวันที่ 26 เม.ย. จากนั้นเมื่อกัมพูชาได้เสนอและมีข้อโต้แย้งแล้วเสนอกลับเข้ามา เราก็ต้องดูของกัมพูชาและเสนอกลับไปด้วยในวันที่ 3 พ.ค.” อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นความลับ แต่นายสุรพงษ์ ก็แย้มว่า “ไทยจะเสนอแนวพิกัดแบบสั้น เพราะเป็น 1 ในข้อต่อสู้ ซึ่งจะระบุว่า พื้นที่ของไทยอยู่ตรงไหนบ้าง ซึ่งไม่รวมพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ขอพูดสั้นๆ เพราะพูดมากไม่ได้”
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้แสดงความมั่นใจในหลักฐานของฝ่ายไทย แต่ผลจะออกมาอย่างไร ต้องขึ้นอยู่กับคณะผู้พิพากษาและศาลโลก “วันนี้เราจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเราหนีไปไหนกันไม่ได้ เราได้แสดงความเป็นสุภาพบุรุษอยู่แล้ว และต้องคุยกับกัมพูชาว่าเราจะอยู่อย่างสันติก่อนคำตัดสิน ส่วนหลังคำตัดสินค่อยว่ากันอีกทีว่า จะทำอย่างไร”
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 เม.ย. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้นัดฟังคำสั่งคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายนพพล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีนายนพดลไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา วันที่ 18 เม.ย.2551 สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยไม่เสนอให้รัฐสภาเห็นชอบก่อนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ซึ่งศาลฎีกาฯ มีคำสั่งรับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณา เนื่องจากเห็นว่า คำฟ้องถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย พร้อมนัดสอบคำให้การจำเลยในวันที่ 5 ก.ค. ด้านนายนพดล ยืนยันว่า พร้อมไปพิสูจน์ความบริสุทธิ์ เพราะไม่เคยมีเจตนาฝ่าฝืนมาตรา 190
ขณะที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรณีที่ศาลฎีกาฯ รับฟ้องคดีแถลงการณ์ร่วมฯ ของนายนพดลไว้พิจารณา แสดงให้เห็นว่า ใครที่อยู่เบื้องหลังการขายชาติให้กัมพูชา เพราะที่ผ่านมา นายนพดลพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อเอาตัวรอดว่าแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และยังบิดเบือนคำพูดของนายวีรชัย พลาศรัย ว่าทีมทนายไทยได้นำแถลงการณ์ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการต่อสู้คดีที่ศาลโลก ทั้งที่ข้อเท็จจริงคือ ทนายความกัมพูชาเป็นผู้หยิบยกเอาแถลงการณ์นี้มาใช้ประโยชน์ โดยระบุว่าในแถลงการณ์ร่วมฯ ยอมรับแผนที่แนบท้ายของกัมพูชา โดยไม่มีการเสนอแนวเส้นรอบปราสาทพระวิหารตามมติ ครม.ปี 2505 ทำให้นายวีรชัยต้องหักล้างข้อมูลของฝ่ายกัมพูชา
2. พท.เตรียมออก จม.ปฏิเสธอำนาจศาล รธน. พร้อมยื่นถอดถอนตุลาการฯ ขณะที่เสื้อแดงชุมนุมกดดัน ด้านศาล รธน.แจ้งจับ 4 แกนนำแดงหมิ่น!
ความคืบหน้ากรณี ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว.สายเลือกตั้งจำนวนหนึ่งที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ได้ออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่รับวินิจฉัยคำร้องของนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ซึ่งขอให้ศาลฯ วินิจฉัยว่านายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาและคณะรวม 312 คน กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ กรณีได้เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อตัดสิทธิและลิดรอนสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคที่ ส.ส.ดังกล่าวสังกัด
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 21 เม.ย. นายโภคิน พลกุล ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้ออกมาเผยว่า พรรคฯ เตรียมออกจดหมายเปิดผนึกถึงสื่อมวลชน สมาชิกรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรต่างๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่าการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องแก้รัฐธรรมนูญไว้วินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้อง เพราะเป็นอำนาจของรัฐสภา พร้อมส่งสัญญาณให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และสมาชิกรัฐสภา ไม่ต้องส่งคำชี้แจงเรื่องแก้รัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันตามที่ศาลฯ กำหนด เพราะศาลรัฐธรรมนูญกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญ
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พูดเหน็บนายโภคินและพรรคเพื่อไทยว่า ศาลฯ เพียงแค่รับพิจารณาคดี แต่กลับมีความพยายามคัดค้าน พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลพยายามผลักดันให้ทุกฝ่ายทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการอยู่ภายใต้ฝ่ายบริหารทั้งหมด ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย และถือเป็นเรื่องที่อันตราย
ขณะที่นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ซึ่งเป็น 1 ในผู้ที่ต้องทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วย เนื่องจากได้ร่วมลงชื่อสนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตรา ก็ได้ให้ฝ่ายกฎหมายของวุฒิสภาขอขยายเวลาทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญออกไปอีก 30 วัน โดยอ้างว่า เดือน เม.ย.มีวันหยุดราชการหลายวันจึงทำคำชี้แจงไม่ทัน นายนิคม ยังบอกด้วยว่า ในส่วนของ 60 ส.ว.ที่ต้องทำคำชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ อาจทำเป็นคำชี้แจงรวม แล้วให้ทั้ง 60 ส.ว.ลงชื่อ
ส่วนความเคลื่อนไหวของสภาผู้แทนราษฎรนั้น ฝ่ายกฎหมายของสภาฯ ได้มีมติให้ส่งคืนเอกสารคำฟ้องที่ศาลรัฐธรรมนูญส่งมาให้ พร้อมแนบที่อยู่ของ ส.ส.ที่ถูกยื่นฟ้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้จัดส่งเอง โดยอ้างว่า อยู่ระหว่างปิดสมัยประชุมสภา ไม่มี ส.ส.มารับเอกสารดังกล่าว ด้านศาลรัฐธรรมนูญเตรียมพิจารณาอีกครั้งว่าจะจัดส่งให้ ส.ส.หรือไม่ หรือจะปิดเอกสารดังกล่าวไว้ ณ ที่ทำการศาล หรือจะประกาศโดยวิธีอื่นใด
เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจาก ส.ส.และ ส.ว.บางส่วนที่หนุนแก้รัฐธรรมนูญจะเคลื่อนไหวด้วยการไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญแล้ว คนเสื้อแดงบางกลุ่มก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวด้วย นำโดยนายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือเล็ก บ้านดอน ผู้อำนวยการสถานีวิทยุคนไทยหัวใจเดียวกัน ได้นำมวลชนประมาณ 200 คน ไปชุมนุมที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญกดดันให้ตุลาการฯ ทั้ง 9 คน ลาออก โดยอ้างว่ามีที่มาไม่ชอบธรรม และใช้อำนาจแทรกแซงการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ
ทั้งนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงดังกล่าวได้มีการขู่ยกระดับที่จะปิดล้อมศาลรัฐธรรมนูญ หากตุลาการฯ ไม่ยอมยุติการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ฝ่ายตุลาการฯ พยายามไม่ตอบโต้ อย่างไรก็ตาม นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ให้เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลการปราศรัยของกลุ่มเสื้อแดง เพราะอาจเข้าข่ายดูหมิ่นศาล
ด้านนายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือเล็ก บ้านดอน แกนนำกลุ่มเสื้อแดงดังกล่าว นอกจากไม่หวั่นแล้ว ยังท้าทายให้ตุลาการฯ รีบฟ้องด้วย “ไม่กลัว ประชาชนมาทวงถามความชอบธรรมของตุลาการ เราพร้อมรับชะตากรรมที่เกิดขึ้น ขอท้าทายให้มาฟ้องได้เลย”
2 วันต่อมา(27 เม.ย.) สำนักเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ให้เจ้าหน้าที่ศาลฯ เข้าแจ้งความต่อตำรวจกองปราบปราม ให้ดำเนินคดีแกนนำคนเสื้อแดงที่ชุมนุมที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ 4 คน ประกอบด้วย 1.นายพงษ์พิสิษฐ์ พงษ์เสนา หรือเล็ก บ้านดอน 2.นายธนชัย สีหิน หรือ “ดีเจหนุ่มวีคลอง 11” 3.นายมงคล หนองบัวลำภู และ 4.นายศรรัก มาลัยทอง ในความผิดฐานดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 และ 198 พร้อมหลักฐานแผ่นซีดีบันทึกภาพและเสียงการปราศรัย
ขณะที่ฝ่ายเสื้อแดงอยู่ระหว่างล่าชื่อ 2 หมื่นรายชื่อ เพื่อยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนต่อ ป.ป.ช. รวมทั้งจะเดินทางไปสำนักงบประมาณเพื่อเรียกร้องให้ระงับการจ่ายเงินเดือนแก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในสัปดาห์หน้า ส่วนพรรคเพื่อไทย ก็ได้ล่าชื่อ ส.ส.เพื่อเตรียมยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกจากตำแหน่งเช่นกัน
ด้านนักวิชาการสายเสื้อแดงก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวสอดรับกับกลุ่มเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทย โดยนายวรพล พรหมมิกบุตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำประชาชน 4 คน เดินทางไปยื่นหนังสือเปิดผนึกผ่าน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ขอให้ส่งต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมยืนยันว่า รัฐสภามีอำนาจแก้รัฐธรรมนูญ นอกจากนี้นายวรพล ยังได้เข้าแจ้งความต่อกองปราบปราม เพื่อดำเนินคดีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย ขณะที่กลุ่มเสื้อแดง นำโดยนายธนชัย สีหิน หรือ “ดีเจหนุ่มวีคลอง 11” , น.ส.สมพร ไชยมาตย์ หรือ “ดีเจอ้อม” และนางผุสดี แย้มสกุลณา หรือ “อาจารย์เป้า” ก็ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจกองปราบฯ ให้ดำเนินคดีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเช่นกัน
3. “ก่อแก้ว” กลับนอนคุกอีกครั้ง หลังศาลไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ด้าน “กกต.” ยัน ยังไม่หลุดจาก ส.ส. เหตุคดียังไม่ถึงที่สุด!
เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ศาลอาญา ได้นัดฟังคำสั่งคดีที่นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) จำเลยที่ 5 คดีร่วมกันก่อการร้าย ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 15 มี.ค. ขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งนี้ นายก่อแก้วถูกศาลสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2555 เนื่องจากมีพฤติกรรมข่มขู่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และปราศรัยยุยง ปลุกปั่น และปลุกระดมทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ซึ่งถือว่าผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว แต่เนื่องจากอยู่ในช่วงของการเปิดสมัยประชุมสภาฯ นายก่อแก้วจึงได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครอง ไม่ต้องอยู่ในเรือนจำ แต่หากปิดสมัยประชุมเมื่อใด นายก่อแก้วต้องถูกคุมขังในเรือนจำ ดังนั้นก่อนที่สภาฯ จะปิดสมัยประชุมในวันที่ 20 เม.ย. นายก่อแก้วจึงยื่นตำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 15 มี.ค. เพื่อขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวในช่วงปิดสมัยประชุมด้วย
ด้านศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในชั้นไต่สวน นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่จำเลยเป็น ส.ส.อยู่ ,นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ คนที่ 1 และนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช.ได้เบิกความยืนยันจำเลยมีนิสัยอ่อนโยน เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว ไม่มีนิสัยชอบใช้ความรุนแรงหรือไม่ฟังเหตุผลผู้อื่น ประกอบกับช่วงที่จำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างสมัยประชุมสภาฯ จำเลยก็ไม่เคยให้สัมภาษณ์หรือปราศรัยในลักษณะปลุกปั่นยั่วยุให้ นปช.ออกมาชุมนุม อีกทั้งจำเลยยังช่วยรองประธานสภาฯ คนที่ 1 ทำหน้าที่ประสานกลุ่มต่างๆ ที่มีความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน ให้เข้ามาเจรจาเพื่อหาทางออก ให้เกิดความปรองดอง ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ศาลเห็นว่า แม้พยานทั้ง 3 ปากจะยืนยันถึงความประพฤติของจำเลย แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2555 แล้ว มาจากการที่จำเลยกระทำการยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดเงื่อนไขของศาล
นอกจากนี้จากการไต่สวนยังไม่ปรากฏว่า จำเลยได้ทำในสิ่งที่แสดงให้ศาลเห็นและรับฟังได้ว่า จำเลยสำนึกในการกระทำที่ผิดเงื่อนไขของศาล หรือได้มีการบรรเทาผลร้ายจากการกระทำของจำเลย ในทางตรงข้าม กลับได้ความว่าจำเลยยังคงยืนยันว่าการกระทำของจำเลยไม่ผิดเงื่อนไขของศาล จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยอีกครั้งหนึ่ง ให้ยกคำร้อง
ทั้งนี้ หลังศาลมีคำสั่งดังกล่าว นายก่อแก้วได้ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปยังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ จากนั้น วันต่อมา(23 เม.ย.) นางกุลรัตน์ พิกุลทอง ภรรยานายก่อแก้ว พร้อมกลุ่ม นปช.ประมาณ 10 คน ได้เข้าเยี่ยมนายก่อแก้ว ซึ่งนายก่อแก้ว ยืนยันว่า จะไม่ขอโทษตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหมือนที่นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก เคยทำ เพราะไม่ใช่แนวทางของตน นายก่อแก้ว ยังได้ย้อนถามศาลอาญาด้วยว่า ใช้หลักกฎหมายใดในการตีความว่าตนไม่สำนึกผิด
2 วันต่อมา(25 เม.ย.) นายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความของนายก่อแก้ว ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้นายก่อแก้วได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว โดยอ้างว่านายก่อแก้วไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขศาลอาญาแต่อย่างใด
ส่วนความคืบหน้ากรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้ยื่นเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) วินิจฉัยสมาชิกสภาพ ส.ส.ของนายก่อแก้ว ว่าการถูกคุมขังจากกรณีศาลไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวนั้น ทำให้พ้นจากการเป็น ส.ส.หรือไม่ ล่าสุด(22 เม.ย.) นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง เผยว่า กกต.มีมติเอกฉันท์ว่า นายก่อแก้วยังมีสมาชิกสภาพ ส.ส.อยู่ เนื่องจากไม่ได้ถูกคุมขังในวันเลือกตั้ง อีกทั้งคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก จึงถือว่ายังไม่ขาดคุณสมบัติแต่อย่างใด
4. สลด! โจรใต้ วางระเบิด 2 ชั้น บึ้มทหารชุดอีโอดีที่นราฯ ขณะตรวจสอบหลังเก็บกู้สำเร็จ ผล ดับ 4 เจ็บ 6 !
เมื่อวันที่ 22 เม.ย. น.อ.สมเกียรติ ผลประยูร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ ค่ายจุฬาภรณ์ อ.เมือง จ.นราธิวาส และ น.ท.ธรรมนูญ วรรณา ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 กองทัพเรือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ได้นำทหารชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด(อีโอดี) ของกองพลาธิการทหาร เข้าเก็บกู้วัตถุระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายใส่ไว้ในถังแก๊สปิคนิค หนัก 25 กิโลกรัม วางไว้โคนต้นไม้ริมถนนเพชรเกษมสายปัตตานี-นราธิวาส ใกล้สะพานบ้านจำปากอ หมู่ 1 ต.กาเยาะมาตี อ.บาเจาะ โดยมีป้ายผ้าต่อต้านการเจรจาสันติภาพกับบีอาร์เอ็นแขวนอยู่ 1 ผืน
จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เปิดเครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์มือถือและวิทยุสื่อสาร ก่อนเข้าเก็บกู้โดยใช้เวลา 15 นาที ขณะที่นายสามารถ วราดิศัย รองผู้ว่าฯ นราธิวาส ซึ่งเดินทางไปร่วมตรวจสอบ ได้ยกระเบิดดังกล่าวขึ้นจากพื้นด้วยตนเองด้วย ซึ่งทุกอย่างดูเหมือนเรียบร้อยด้วยดี
แต่ 20 นาทีต่อมา ขณะที่เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้ฯ นำวัตถุระเบิดดังกล่าวไปยังฐานปฏิบัติการ ฉก.นราธิวาส 32 เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย ปรากฏว่า ระเบิดดังกล่าวได้เกิดระเบิดขึ้น แรงระเบิดนอกจากทำให้ตัวอาคารฐานปฏิบัติการฯ ได้รับความเสียหายแล้ว ยังส่งผลให้ทหารชุดเก็บกู้เสียชีวิต 4 นาย และบาดเจ็บ 6 นาย สำหรับทหารที่เสียชีวิต 4 นาย คือ พ.จ.อ.ทัศนัย ชมพูทวีป รองหัวหน้าชุดเก็บกู้ระเบิด ,เรือโทชัยสิทธิ์ เตชะสว่างวงศ์ หัวหน้าชุดอีโอดี ,จ.อ.เรวัตร คงนาค และ จ.อ.องอาจ ศักดา
ด้าน น.อ.สมเกียรติ ผลประยูร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ ค่ายจุฬาภรณ์ บอกว่า สาเหตุของการระเบิดครั้งนี้ น่าจะเกิดจากแรงกระแทกหรือระบบไฟฟ้าในระเบิดลูกดังกล่าวเกิดการลัดวงจรขึ้นมา ซึ่งตนได้กำชับให้ทหารทุกนายเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นแล้ว
ขณะที่ น.ท.ธรรมนูญ วรรณา ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 กองทัพเรือ บอกว่า เหตุระเบิดดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งที่มีการตัดวงจรระเบิดแล้ว คาดว่าน่าจะเกิดจากการลัดวงจร ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นจะต้องนำไปศึกษาอย่างละเอียดว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร คงต้องพิจารณาหลายจุดเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
ด้าน พ.ท.สมควร คงยิ่ง หัวหน้าชุดทำลายล้างวัตถุระเบิดอโณทัย กองทัพบก พูดถึงเหตระเบิดดังกล่าวว่า ไม่น่าจะเป็นการลวงของกลุ่มคนร้ายที่ต่อชนวนไว้ 2 ชั้น แต่น่าจะมาจากการกระแทกของประจุไฟฟ้าที่อยู่ภายใน ทำให้เกิดแรงปะทุขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุลักษณะนี้อีก ต่อไปอาจต้องมีการทำลายวัตถุระเบิด ณ สถานที่ที่มีการใช้ก่อเหตุทันที
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ออกมาแสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสียจากเหตุระเบิดดังกล่าว “ผมเสียใจกับคนที่ได้รับการสูญเสียไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม วันนี้กองทัพบกดูแลเรื่องเบี้ยประกันชีวิต เงินตอบแทนและกำลังคิดดูแลผู้พิการในระยะยาว เบี้ยรายเดือน ส่วนที่ผู้ก่อเหตุจุดชนวนระเบิดไว้ 2 ชั้นนั้น ต้องไปดูสาเหตุว่าเกิดจากที่เราไปรื้อ หรือเปิดระบบอะไรหรือไม่”
ด้าน พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พูดถึงเหตุระเบิดดังกล่าวว่า หน่วยอีโอดีดังกล่าวได้รับแจ้งว่า มีวัตถุต้องสงสัย จึงเดินทางไปเก็บวัตถุระเบิด โดยคนร้ายใส่ระเบิดไว้ในถังแก๊ส ซึ่งอีโอดีชุดดังกล่าวได้เก็บกู้เรียบร้อยแล้ว แต่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เพราะคนร้ายวางระเบิดไว้ 2 ชั้น เมื่อชุดอีโอดีนำถังแก๊สมาตรวจสอบภายในหน่วย และทำการแกะชิ้นส่วน จึงทำให้เกิดระเบิดขึ้น
1. “สุรพงษ์” ชงพิกัดปราสาทพระวิหารเข้า ครม.ก่อนส่งศาลโลก ปัดเปิดเผย อ้างความลับ ด้านศาลฎีกาฯ รับฟ้องคดี “นพดล” ลงนามแถลงการณ์ร่วมฯ!
ความคืบหน้าคดีปราสาทพระวิหาร หลังฝ่ายไทยและกัมพูชาเสร็จสิ้นการแถลงด้วยวาจาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ระหว่างวันที่ 15-19 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยนายอับดุลคาวิ อะห์เม็ด ยูซูฟ ผู้พิพากษาชาวโซมาเลีย ซึ่งเป็น 1 ในองค์คณะผู้พิพากษาในศาลโลก ได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์หรือชี้จุดในแผนที่ซึ่งคู่ความคิดว่าเป็นพื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหารซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลกเมื่อปี 2505 ในวันที่ 26 เม.ย. ภายในเวลา 17.00น. และให้ทั้งสองฝ่ายส่งข้อสังเกตต่อคำตอบของคู่กรณีด้วยภายในวันที่ 3 พ.ค.เวลา 17.00น.นั้น
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะทีมทนายสู้คดีพระวิหาร ได้เดินทางกลับประเทศไทยแล้วเมื่อวันที่ 21 เม.ย. พร้อมด้วยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ ยอมรับว่า ได้มีโอกาสคุยกับนายฮอ นัมฮง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ก่อนที่จะมีการแถลงด้วยวาจาต่อศาลโลก โดยบอกไปว่า ไม่ว่าศาลจะตัดสินออกมาอย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ จะยังคงเหมือนเดิม
นายสุรพงษ์ ยังชี้แจงกรณีมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ตนเคยเสนอให้ ครม.อนุมัติตัดนายวีรชัยออกจากองค์คณะของคณะกรรมาธิการชายแดนร่วมไทย-กัมพูชา(เจบีซี) เมื่อปี 2554 โดยโบ้ยว่า ตนไม่ได้เสนอ แต่เป็นการเสนอโดยกระทรวงการต่างประเทศ ที่เห็นว่ามีทูตท่านอื่นดำเนินการแทนได้ อีกทั้งยังต้องการให้นายวีรชัยมีเวลาทำงานสู้คดีพระวิหารอย่างเต็มที่
ขณะที่นายวีรชัย ได้ขอบคุณทุกกำลังใจจากประชาชนไทยที่ส่งไปให้คณะที่ต่อสู้คดี พร้อมเชื่อมั่นว่า ได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว
วันต่อมา(22 เม.ย.) นายสุรพงษ์ ได้นำทีมทนายสู้คดีพระวิหาร ทั้งนายวีรชัย และทนายความชาวต่างประเทศ ประกอบด้วย ศ.อแลง แปลเล่ต์ ,ศ.เจมส์ ครอว์ฟอร์ด ,ศ.โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์ และ น.ส.อลินา มิรอง เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อรายงานผลการต่อสู้คดีให้ทราบ โดยมีผู้นำ 4 เหล่าทัพ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติร่วมรับฟัง แต่ไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวเข้าฟัง
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังรับฟังข้อมูลแล้วเสร็จ คณะทั้งหมดได้ร่วมถ่ายภาพหมู่กับนายกฯ แต่ระหว่างยืนถ่ายภาพ ศ.อแลง ซึ่งยืนอยู่ข้าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้หันมาหอมแก้ม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยิ้มอย่างขวยเขิน สำหรับผู้ที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเป็นพิเศษก็คือ น.ส.อลินา มิรอง ทนายผู้ช่วยของ ศ.อแลง ซึ่งถูกขอถ่ายรูปด้วยจำนวนมาก
ด้าน พล.อ.อ.สุกำพล พูดถึงการระบุพิกัดบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารเพื่อยื่นต่อศาลโลกว่า ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร คิดว่าทำเพียงแค่ 15 นาทีก็เสร็จแล้ว
ทั้งนี้ วันต่อมา(23 เม.ย.) นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอเรื่องพิกัดแผนที่บริเวณปราสาทพระวิหารที่ทีมทนายต่อสู้คดีได้ร่วมหารือกันเมื่อวันที่ 22 เม.ย. ให้ที่ประชุม ครม.รับทราบ แต่ไม่ขอเปิดเผย เพราะทีมทนายขอปิดเป็นความลับ และว่า “ต้องเสนอต่อศาลโลกในวันที่ 26 เม.ย. จากนั้นเมื่อกัมพูชาได้เสนอและมีข้อโต้แย้งแล้วเสนอกลับเข้ามา เราก็ต้องดูของกัมพูชาและเสนอกลับไปด้วยในวันที่ 3 พ.ค.” อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นความลับ แต่นายสุรพงษ์ ก็แย้มว่า “ไทยจะเสนอแนวพิกัดแบบสั้น เพราะเป็น 1 ในข้อต่อสู้ ซึ่งจะระบุว่า พื้นที่ของไทยอยู่ตรงไหนบ้าง ซึ่งไม่รวมพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ขอพูดสั้นๆ เพราะพูดมากไม่ได้”
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้แสดงความมั่นใจในหลักฐานของฝ่ายไทย แต่ผลจะออกมาอย่างไร ต้องขึ้นอยู่กับคณะผู้พิพากษาและศาลโลก “วันนี้เราจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเราหนีไปไหนกันไม่ได้ เราได้แสดงความเป็นสุภาพบุรุษอยู่แล้ว และต้องคุยกับกัมพูชาว่าเราจะอยู่อย่างสันติก่อนคำตัดสิน ส่วนหลังคำตัดสินค่อยว่ากันอีกทีว่า จะทำอย่างไร”
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 เม.ย. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้นัดฟังคำสั่งคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายนพพล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีนายนพดลไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา วันที่ 18 เม.ย.2551 สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยไม่เสนอให้รัฐสภาเห็นชอบก่อนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ซึ่งศาลฎีกาฯ มีคำสั่งรับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณา เนื่องจากเห็นว่า คำฟ้องถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย พร้อมนัดสอบคำให้การจำเลยในวันที่ 5 ก.ค. ด้านนายนพดล ยืนยันว่า พร้อมไปพิสูจน์ความบริสุทธิ์ เพราะไม่เคยมีเจตนาฝ่าฝืนมาตรา 190
ขณะที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรณีที่ศาลฎีกาฯ รับฟ้องคดีแถลงการณ์ร่วมฯ ของนายนพดลไว้พิจารณา แสดงให้เห็นว่า ใครที่อยู่เบื้องหลังการขายชาติให้กัมพูชา เพราะที่ผ่านมา นายนพดลพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อเอาตัวรอดว่าแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และยังบิดเบือนคำพูดของนายวีรชัย พลาศรัย ว่าทีมทนายไทยได้นำแถลงการณ์ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการต่อสู้คดีที่ศาลโลก ทั้งที่ข้อเท็จจริงคือ ทนายความกัมพูชาเป็นผู้หยิบยกเอาแถลงการณ์นี้มาใช้ประโยชน์ โดยระบุว่าในแถลงการณ์ร่วมฯ ยอมรับแผนที่แนบท้ายของกัมพูชา โดยไม่มีการเสนอแนวเส้นรอบปราสาทพระวิหารตามมติ ครม.ปี 2505 ทำให้นายวีรชัยต้องหักล้างข้อมูลของฝ่ายกัมพูชา
2. พท.เตรียมออก จม.ปฏิเสธอำนาจศาล รธน. พร้อมยื่นถอดถอนตุลาการฯ ขณะที่เสื้อแดงชุมนุมกดดัน ด้านศาล รธน.แจ้งจับ 4 แกนนำแดงหมิ่น!
ความคืบหน้ากรณี ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว.สายเลือกตั้งจำนวนหนึ่งที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ได้ออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่รับวินิจฉัยคำร้องของนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ซึ่งขอให้ศาลฯ วินิจฉัยว่านายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาและคณะรวม 312 คน กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ กรณีได้เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อตัดสิทธิและลิดรอนสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคที่ ส.ส.ดังกล่าวสังกัด
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 21 เม.ย. นายโภคิน พลกุล ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้ออกมาเผยว่า พรรคฯ เตรียมออกจดหมายเปิดผนึกถึงสื่อมวลชน สมาชิกรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรต่างๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่าการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องแก้รัฐธรรมนูญไว้วินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้อง เพราะเป็นอำนาจของรัฐสภา พร้อมส่งสัญญาณให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และสมาชิกรัฐสภา ไม่ต้องส่งคำชี้แจงเรื่องแก้รัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันตามที่ศาลฯ กำหนด เพราะศาลรัฐธรรมนูญกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญ
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พูดเหน็บนายโภคินและพรรคเพื่อไทยว่า ศาลฯ เพียงแค่รับพิจารณาคดี แต่กลับมีความพยายามคัดค้าน พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลพยายามผลักดันให้ทุกฝ่ายทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการอยู่ภายใต้ฝ่ายบริหารทั้งหมด ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย และถือเป็นเรื่องที่อันตราย
ขณะที่นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ซึ่งเป็น 1 ในผู้ที่ต้องทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วย เนื่องจากได้ร่วมลงชื่อสนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตรา ก็ได้ให้ฝ่ายกฎหมายของวุฒิสภาขอขยายเวลาทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญออกไปอีก 30 วัน โดยอ้างว่า เดือน เม.ย.มีวันหยุดราชการหลายวันจึงทำคำชี้แจงไม่ทัน นายนิคม ยังบอกด้วยว่า ในส่วนของ 60 ส.ว.ที่ต้องทำคำชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ อาจทำเป็นคำชี้แจงรวม แล้วให้ทั้ง 60 ส.ว.ลงชื่อ
ส่วนความเคลื่อนไหวของสภาผู้แทนราษฎรนั้น ฝ่ายกฎหมายของสภาฯ ได้มีมติให้ส่งคืนเอกสารคำฟ้องที่ศาลรัฐธรรมนูญส่งมาให้ พร้อมแนบที่อยู่ของ ส.ส.ที่ถูกยื่นฟ้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้จัดส่งเอง โดยอ้างว่า อยู่ระหว่างปิดสมัยประชุมสภา ไม่มี ส.ส.มารับเอกสารดังกล่าว ด้านศาลรัฐธรรมนูญเตรียมพิจารณาอีกครั้งว่าจะจัดส่งให้ ส.ส.หรือไม่ หรือจะปิดเอกสารดังกล่าวไว้ ณ ที่ทำการศาล หรือจะประกาศโดยวิธีอื่นใด
เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจาก ส.ส.และ ส.ว.บางส่วนที่หนุนแก้รัฐธรรมนูญจะเคลื่อนไหวด้วยการไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญแล้ว คนเสื้อแดงบางกลุ่มก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวด้วย นำโดยนายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือเล็ก บ้านดอน ผู้อำนวยการสถานีวิทยุคนไทยหัวใจเดียวกัน ได้นำมวลชนประมาณ 200 คน ไปชุมนุมที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญกดดันให้ตุลาการฯ ทั้ง 9 คน ลาออก โดยอ้างว่ามีที่มาไม่ชอบธรรม และใช้อำนาจแทรกแซงการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ
ทั้งนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงดังกล่าวได้มีการขู่ยกระดับที่จะปิดล้อมศาลรัฐธรรมนูญ หากตุลาการฯ ไม่ยอมยุติการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ฝ่ายตุลาการฯ พยายามไม่ตอบโต้ อย่างไรก็ตาม นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ให้เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลการปราศรัยของกลุ่มเสื้อแดง เพราะอาจเข้าข่ายดูหมิ่นศาล
ด้านนายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือเล็ก บ้านดอน แกนนำกลุ่มเสื้อแดงดังกล่าว นอกจากไม่หวั่นแล้ว ยังท้าทายให้ตุลาการฯ รีบฟ้องด้วย “ไม่กลัว ประชาชนมาทวงถามความชอบธรรมของตุลาการ เราพร้อมรับชะตากรรมที่เกิดขึ้น ขอท้าทายให้มาฟ้องได้เลย”
2 วันต่อมา(27 เม.ย.) สำนักเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ให้เจ้าหน้าที่ศาลฯ เข้าแจ้งความต่อตำรวจกองปราบปราม ให้ดำเนินคดีแกนนำคนเสื้อแดงที่ชุมนุมที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ 4 คน ประกอบด้วย 1.นายพงษ์พิสิษฐ์ พงษ์เสนา หรือเล็ก บ้านดอน 2.นายธนชัย สีหิน หรือ “ดีเจหนุ่มวีคลอง 11” 3.นายมงคล หนองบัวลำภู และ 4.นายศรรัก มาลัยทอง ในความผิดฐานดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 และ 198 พร้อมหลักฐานแผ่นซีดีบันทึกภาพและเสียงการปราศรัย
ขณะที่ฝ่ายเสื้อแดงอยู่ระหว่างล่าชื่อ 2 หมื่นรายชื่อ เพื่อยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนต่อ ป.ป.ช. รวมทั้งจะเดินทางไปสำนักงบประมาณเพื่อเรียกร้องให้ระงับการจ่ายเงินเดือนแก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในสัปดาห์หน้า ส่วนพรรคเพื่อไทย ก็ได้ล่าชื่อ ส.ส.เพื่อเตรียมยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกจากตำแหน่งเช่นกัน
ด้านนักวิชาการสายเสื้อแดงก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวสอดรับกับกลุ่มเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทย โดยนายวรพล พรหมมิกบุตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำประชาชน 4 คน เดินทางไปยื่นหนังสือเปิดผนึกผ่าน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ขอให้ส่งต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมยืนยันว่า รัฐสภามีอำนาจแก้รัฐธรรมนูญ นอกจากนี้นายวรพล ยังได้เข้าแจ้งความต่อกองปราบปราม เพื่อดำเนินคดีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย ขณะที่กลุ่มเสื้อแดง นำโดยนายธนชัย สีหิน หรือ “ดีเจหนุ่มวีคลอง 11” , น.ส.สมพร ไชยมาตย์ หรือ “ดีเจอ้อม” และนางผุสดี แย้มสกุลณา หรือ “อาจารย์เป้า” ก็ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจกองปราบฯ ให้ดำเนินคดีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเช่นกัน
3. “ก่อแก้ว” กลับนอนคุกอีกครั้ง หลังศาลไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ด้าน “กกต.” ยัน ยังไม่หลุดจาก ส.ส. เหตุคดียังไม่ถึงที่สุด!
เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ศาลอาญา ได้นัดฟังคำสั่งคดีที่นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) จำเลยที่ 5 คดีร่วมกันก่อการร้าย ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 15 มี.ค. ขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งนี้ นายก่อแก้วถูกศาลสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2555 เนื่องจากมีพฤติกรรมข่มขู่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และปราศรัยยุยง ปลุกปั่น และปลุกระดมทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ซึ่งถือว่าผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว แต่เนื่องจากอยู่ในช่วงของการเปิดสมัยประชุมสภาฯ นายก่อแก้วจึงได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครอง ไม่ต้องอยู่ในเรือนจำ แต่หากปิดสมัยประชุมเมื่อใด นายก่อแก้วต้องถูกคุมขังในเรือนจำ ดังนั้นก่อนที่สภาฯ จะปิดสมัยประชุมในวันที่ 20 เม.ย. นายก่อแก้วจึงยื่นตำร้องต่อศาลเมื่อวันที่ 15 มี.ค. เพื่อขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวในช่วงปิดสมัยประชุมด้วย
ด้านศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในชั้นไต่สวน นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่จำเลยเป็น ส.ส.อยู่ ,นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ คนที่ 1 และนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช.ได้เบิกความยืนยันจำเลยมีนิสัยอ่อนโยน เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว ไม่มีนิสัยชอบใช้ความรุนแรงหรือไม่ฟังเหตุผลผู้อื่น ประกอบกับช่วงที่จำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างสมัยประชุมสภาฯ จำเลยก็ไม่เคยให้สัมภาษณ์หรือปราศรัยในลักษณะปลุกปั่นยั่วยุให้ นปช.ออกมาชุมนุม อีกทั้งจำเลยยังช่วยรองประธานสภาฯ คนที่ 1 ทำหน้าที่ประสานกลุ่มต่างๆ ที่มีความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน ให้เข้ามาเจรจาเพื่อหาทางออก ให้เกิดความปรองดอง ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ศาลเห็นว่า แม้พยานทั้ง 3 ปากจะยืนยันถึงความประพฤติของจำเลย แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2555 แล้ว มาจากการที่จำเลยกระทำการยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดเงื่อนไขของศาล
นอกจากนี้จากการไต่สวนยังไม่ปรากฏว่า จำเลยได้ทำในสิ่งที่แสดงให้ศาลเห็นและรับฟังได้ว่า จำเลยสำนึกในการกระทำที่ผิดเงื่อนไขของศาล หรือได้มีการบรรเทาผลร้ายจากการกระทำของจำเลย ในทางตรงข้าม กลับได้ความว่าจำเลยยังคงยืนยันว่าการกระทำของจำเลยไม่ผิดเงื่อนไขของศาล จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยอีกครั้งหนึ่ง ให้ยกคำร้อง
ทั้งนี้ หลังศาลมีคำสั่งดังกล่าว นายก่อแก้วได้ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปยังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ จากนั้น วันต่อมา(23 เม.ย.) นางกุลรัตน์ พิกุลทอง ภรรยานายก่อแก้ว พร้อมกลุ่ม นปช.ประมาณ 10 คน ได้เข้าเยี่ยมนายก่อแก้ว ซึ่งนายก่อแก้ว ยืนยันว่า จะไม่ขอโทษตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหมือนที่นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก เคยทำ เพราะไม่ใช่แนวทางของตน นายก่อแก้ว ยังได้ย้อนถามศาลอาญาด้วยว่า ใช้หลักกฎหมายใดในการตีความว่าตนไม่สำนึกผิด
2 วันต่อมา(25 เม.ย.) นายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความของนายก่อแก้ว ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้นายก่อแก้วได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว โดยอ้างว่านายก่อแก้วไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขศาลอาญาแต่อย่างใด
ส่วนความคืบหน้ากรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้ยื่นเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) วินิจฉัยสมาชิกสภาพ ส.ส.ของนายก่อแก้ว ว่าการถูกคุมขังจากกรณีศาลไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวนั้น ทำให้พ้นจากการเป็น ส.ส.หรือไม่ ล่าสุด(22 เม.ย.) นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง เผยว่า กกต.มีมติเอกฉันท์ว่า นายก่อแก้วยังมีสมาชิกสภาพ ส.ส.อยู่ เนื่องจากไม่ได้ถูกคุมขังในวันเลือกตั้ง อีกทั้งคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก จึงถือว่ายังไม่ขาดคุณสมบัติแต่อย่างใด
4. สลด! โจรใต้ วางระเบิด 2 ชั้น บึ้มทหารชุดอีโอดีที่นราฯ ขณะตรวจสอบหลังเก็บกู้สำเร็จ ผล ดับ 4 เจ็บ 6 !
เมื่อวันที่ 22 เม.ย. น.อ.สมเกียรติ ผลประยูร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ ค่ายจุฬาภรณ์ อ.เมือง จ.นราธิวาส และ น.ท.ธรรมนูญ วรรณา ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 กองทัพเรือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ได้นำทหารชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด(อีโอดี) ของกองพลาธิการทหาร เข้าเก็บกู้วัตถุระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายใส่ไว้ในถังแก๊สปิคนิค หนัก 25 กิโลกรัม วางไว้โคนต้นไม้ริมถนนเพชรเกษมสายปัตตานี-นราธิวาส ใกล้สะพานบ้านจำปากอ หมู่ 1 ต.กาเยาะมาตี อ.บาเจาะ โดยมีป้ายผ้าต่อต้านการเจรจาสันติภาพกับบีอาร์เอ็นแขวนอยู่ 1 ผืน
จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เปิดเครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์มือถือและวิทยุสื่อสาร ก่อนเข้าเก็บกู้โดยใช้เวลา 15 นาที ขณะที่นายสามารถ วราดิศัย รองผู้ว่าฯ นราธิวาส ซึ่งเดินทางไปร่วมตรวจสอบ ได้ยกระเบิดดังกล่าวขึ้นจากพื้นด้วยตนเองด้วย ซึ่งทุกอย่างดูเหมือนเรียบร้อยด้วยดี
แต่ 20 นาทีต่อมา ขณะที่เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้ฯ นำวัตถุระเบิดดังกล่าวไปยังฐานปฏิบัติการ ฉก.นราธิวาส 32 เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย ปรากฏว่า ระเบิดดังกล่าวได้เกิดระเบิดขึ้น แรงระเบิดนอกจากทำให้ตัวอาคารฐานปฏิบัติการฯ ได้รับความเสียหายแล้ว ยังส่งผลให้ทหารชุดเก็บกู้เสียชีวิต 4 นาย และบาดเจ็บ 6 นาย สำหรับทหารที่เสียชีวิต 4 นาย คือ พ.จ.อ.ทัศนัย ชมพูทวีป รองหัวหน้าชุดเก็บกู้ระเบิด ,เรือโทชัยสิทธิ์ เตชะสว่างวงศ์ หัวหน้าชุดอีโอดี ,จ.อ.เรวัตร คงนาค และ จ.อ.องอาจ ศักดา
ด้าน น.อ.สมเกียรติ ผลประยูร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้ ค่ายจุฬาภรณ์ บอกว่า สาเหตุของการระเบิดครั้งนี้ น่าจะเกิดจากแรงกระแทกหรือระบบไฟฟ้าในระเบิดลูกดังกล่าวเกิดการลัดวงจรขึ้นมา ซึ่งตนได้กำชับให้ทหารทุกนายเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นแล้ว
ขณะที่ น.ท.ธรรมนูญ วรรณา ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 กองทัพเรือ บอกว่า เหตุระเบิดดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งที่มีการตัดวงจรระเบิดแล้ว คาดว่าน่าจะเกิดจากการลัดวงจร ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นจะต้องนำไปศึกษาอย่างละเอียดว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร คงต้องพิจารณาหลายจุดเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
ด้าน พ.ท.สมควร คงยิ่ง หัวหน้าชุดทำลายล้างวัตถุระเบิดอโณทัย กองทัพบก พูดถึงเหตระเบิดดังกล่าวว่า ไม่น่าจะเป็นการลวงของกลุ่มคนร้ายที่ต่อชนวนไว้ 2 ชั้น แต่น่าจะมาจากการกระแทกของประจุไฟฟ้าที่อยู่ภายใน ทำให้เกิดแรงปะทุขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุลักษณะนี้อีก ต่อไปอาจต้องมีการทำลายวัตถุระเบิด ณ สถานที่ที่มีการใช้ก่อเหตุทันที
ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ออกมาแสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสียจากเหตุระเบิดดังกล่าว “ผมเสียใจกับคนที่ได้รับการสูญเสียไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม วันนี้กองทัพบกดูแลเรื่องเบี้ยประกันชีวิต เงินตอบแทนและกำลังคิดดูแลผู้พิการในระยะยาว เบี้ยรายเดือน ส่วนที่ผู้ก่อเหตุจุดชนวนระเบิดไว้ 2 ชั้นนั้น ต้องไปดูสาเหตุว่าเกิดจากที่เราไปรื้อ หรือเปิดระบบอะไรหรือไม่”
ด้าน พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พูดถึงเหตุระเบิดดังกล่าวว่า หน่วยอีโอดีดังกล่าวได้รับแจ้งว่า มีวัตถุต้องสงสัย จึงเดินทางไปเก็บวัตถุระเบิด โดยคนร้ายใส่ระเบิดไว้ในถังแก๊ส ซึ่งอีโอดีชุดดังกล่าวได้เก็บกู้เรียบร้อยแล้ว แต่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เพราะคนร้ายวางระเบิดไว้ 2 ชั้น เมื่อชุดอีโอดีนำถังแก๊สมาตรวจสอบภายในหน่วย และทำการแกะชิ้นส่วน จึงทำให้เกิดระเบิดขึ้น