คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1. เขมร ให้การคดีพระวิหารต่อศาลโลกแล้ว อ้างเหตุไทยรุกราน ด้านกลุ่มทวงคืนฯ เตรียมนำธงชาติไทยขึ้นปักบนเขาพระวิหาร 17 เม.ย.!
จากกรณีที่ฝ่ายกัมพูชาได้ยื่นเรื่องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก) ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2505 เพื่อยืนยันว่า พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตร.กม.เป็นของกัมพูชา ซึ่งศาลโลกได้กำหนดให้ฝ่ายกัมพูชาและไทยชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลระหว่างวันที่ 15-19 เม.ย. ก่อนจะมีคำพิพากษาในอีกประมาณ 6 เดือนข้างหน้านั้น ปรากฏว่า กัมพูชาซึ่งเป็นฝ่ายชี้แจงก่อนในวันที่ 15 เม.ย มีนายฮอร์ นัมฮง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เป็นตัวแทน ได้ชี้แจงต่อศาลโลกที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยอ้างเหตุที่กัมพูชาต้องยื่นคำร้องให้ศาลโลกนำคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารมาตีความอีกครั้งว่า เนื่องจากกัมพูชาถูกฝ่ายไทยรุกรานและโจมตี ทำให้ปราสาทพระวิหารได้รับความเสียหาย และมีการเสียชีวิต เพราะมีการตีความคำพิพากษาที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องเขตแดน และหลังจากที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก คนไทยก็มีการคัดค้าน
ทั้งนี้ นายฮอร์ นัมฮง ยังกล่าวหาว่าไทยพยายามลดขอบเขตและความหมายของคำพิพากษาปี 2505 และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกเมื่อวันที่ 18 ก.ค.2554 ที่ให้ทั้งสองฝ่ายถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาท แสดงให้เห็นว่าไทยดูหมิ่นและทำไม่ถูกกฎหมาย และว่า ฝ่ายไทยกล่าวหาว่ากัมพูชาเอาประชาชนเข้าไปอยู่ในพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร ทั้งที่ในความเป็นจริงประชาชนกัมพูชาอยู่ในพื้นที่ของเขามานาน
เป็นที่น่าสังเกตว่า นายฮอร์ นัมฮง พยายามชี้นำให้ศาลโลกยึดหลักเขตแดนตามแผนที่ในภาคผนวกที่ 1 หรือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 เพื่อให้พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา โดยอ้างว่า แผนที่ดังกล่าวใช้อ้างอิงมาตั้งแต่คำพิพากษาเมื่อปี 2505 ซึ่งในความเป็นจริง แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 เป็นแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสทำขึ้นฝ่ายเดียวในปี พ.ศ.2450 และไม่เป็นไปตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ.2447 ทำให้ฝ่ายไทยไม่ยอมรับ ซึ่งหากยึดตามแผนที่ดังกล่าว จะส่งผลให้ไทยเสียดินแดนให้กัมพูชาประมาณ 1.8 ล้านไร่ รวมทั้งจะส่งผลต่อการแบ่งพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่จะตกเป็นของกัมพูชามากขึ้นด้วย
สำหรับตัวแทนฝ่ายไทยซึ่งนำโดยนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก มีกำหนดจะชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลโลกในวันที่ 17 เม.ย. เวลา 15.00น.-18.00น. และ 20.00น.-21.30น. จากนั้นวันที่ 18 เม.ย.จะเป็นการชี้แจงรอบสองของฝ่ายกัมพูชา ในเวลา 20.00น.-22.00น. ส่วนไทยจะชี้แจงรอบสองในวันที่ 19 เม.ย. เวลา 20.00น.-22.00น. โดยกระทรวงการต่างประเทศได้เปิดเว็บไซต์ http://www.phraviharn.org เพื่อถ่ายทอดสดภาพและเสียงการชี้แจงของทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาให้ประชาชนได้ทราบ รวมทั้งมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และวิทยุเอฟเอ็ม 92.5 เอเอ็ม 891 ของกรมประชาสัมพันธ์ด้วย
ขณะที่สถานการณ์บริเวณชายแดน อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ปรากฏว่า ทหารไทยและตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด.) ยังคงตั้งด่านตรวจเข้ม ไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องขึ้นไปบริเวณผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เด็ดขาด
ด้านนายกิติศักดิ์ พ้นภัย หัวหน้ากลุ่มกำลังแผ่นดิน เผยว่า วันที่ 17 เม.ย. กลุ่มพลังมวลชนทวงคืนแผ่นดินเขาพระวิหารทุกกลุ่มทุกเครือข่าย จะรวมพลังประชาชนชาวไทยผู้รักชาติรักแผ่นดินประมาณ 10,000 คน นำธงชาติไทย สูง 21 เมตร ขึ้นไปปักที่บริเวณเขาพระวิหาร หรือบริเวณภูมะเขือให้ได้ ส่วนที่มีข่าวว่าจะมีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) จากหลายจังหวัดมาปิดกั้นไม่ให้กลุ่มพลังมวลชนนำธงชาติขึ้นไปติดตั้งบริเวณเขาพระวิหารนั้น นายกิตติศักดิ์ บอกว่า ไม่อยากให้ นปช. หรือคนเสื้อแดงบางกลุ่มที่เป็นคนไทยแต่หัวใจเป็นคนต่างชาติ เข้ามาขัดขวางคนไทยผู้รักชาติรักแผ่นดินที่เคลื่อนไหวในครั้งนี้ พร้อมเชื่อว่าจะสามารถทำความเข้าใจกันได้ เพราะไม่อยากให้เกิดความรุนแรงระหว่างคนไทยด้วยกัน “จึงขอเชิญชวนชาวไทยผู้รักชาติทุกคนร่วมกิจกรรมทวงคืนผืนแผ่นดินเขาพระวิหารในวันที่ 17 เม.ย. และร่วมกันแสดงออกว่า ชาวไทยต้องการให้ใช้สันปันน้ำปักปันเขตแดนบริเวณเขาพระวิหาร และไม่ยอมรับอำนาจของศาลโลก”
2. “สมศักดิ์” กลัวถูกถอดถอน ยอมเรียกประชุมรัฐสภาโหวตวันแปรญัตติแก้ รธน.ใหม่ 18 เม.ย. ด้าน พท. จ่อดันสภาฯ เร่งพิจารณา พ.ร.บ.นิรโทษฯ !
หลังที่ประชุมรัฐสภาเสียงข้างมากได้รับหลักการวาระแรกร่าง พ.ร.บ.แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ ที่เสนอโดย ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว.เลือกตั้งกลุ่มนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เมื่อวันที่ 3 เม.ย. จากนั้นได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา 3 คณะ คณะละ 45 คน เพื่อพิจารณาแปรญัตติใน 15 วัน แต่พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้แปรญัตติ 60 วัน ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลต้องการ 15 วัน ซึ่งตามระเบียบต้องให้ที่ประชุมลงมติว่าเสียงส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับ 60 วันหรือ 15 วัน แต่เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา จึงสรุปให้แปรญัตติ 15 วัน ส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่พอใจ พร้อมเรียกร้องให้นายสมศักดิ์เรียกประชุมรัฐสภาอีกครั้งเพื่อลงมติเรื่องวันแปรญัตติใหม่ หาไม่แล้วอาจมีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เพราะเข้าข่ายกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ แต่นายสมศักดิ์ยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องเรียกประชุมใหม่แล้วนั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 9 เม.ย. นายสมศักดิ์ มีท่าทีอ่อนลง โดยขอให้วิปทั้ง 3 ฝ่ายไปคุยกันว่า จะสามารถเปิดประชุมได้ในวันไหน และว่า ส่วนตัวแล้วเห็นว่าอะไรที่ยอมกันได้ก็ควรจะยอม อย่าพยายามสร้างเงื่อนไข หรือเอาชนะคะคานกัน พร้อมส่งสัญญาณว่า วันที่สามารถประชุมได้คือ 18 เม.ย.ที่นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎรไว้แล้วในเวลา 10.00น.-18.00น. สามารถขอเปิดประชุมร่วมรัฐสภาได้ก่อนในเวลา 09.30น. และว่า ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีก็คงเรียบร้อย
ขณะที่นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) อ้างว่า เดิมเป็นมติของวิป 3 ฝ่ายอยู่แล้วที่ให้แปรญัตติ 15 วัน แต่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) เสนอให้แปรญัตติ 60 วัน “ผมขอถาม ปชป.ว่าจะแปรญัตติทำไมถึง 60 วัน พูดกันทีก็จะมีกว่าร้อยประเด็นออกมาให้ถกเถียง แล้วมันจะเสียเวลาไหม ผมอยากถามว่ามันควรทำหรือไม่ เพราะแม้แต่กฎหมายสำคัญๆ ที่มีมากกว่า 70-80 มาตรา ยังใช้เวลาแปรญัตติกันไม่เยอะขนาดนี้เลย...”
อย่างไรก็ตาม ในที่สุด นายสมศักดิ์ ได้นัดประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติกำหนดเวลาการแปรญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ ในวันที่ 18 เม.ย. เวลา 09.30น. ขณะที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยหลายคนไม่เห็นด้วยที่นายสมศักดิ์เรียกประชุมดังกล่าว โดยนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ บอกว่า “ประธานรัฐสภากลัวจะถูกฝ่ายค้านถอดถอน ไม่น่าโลเล ทำอย่างนี้หลายรอบแล้ว เพราะกลัวฝ่ายค้าน” ขณะที่นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย บอกว่า หากวันเปิดประชุมรัฐสภา ฝ่ายค้านพูดมาก ทาง ส.ส.รัฐบาลจะเสนอให้มีการลงมติวันแปรญัตติทันที เพื่อปิดปากฝ่ายค้าน จะให้โอกาสฝ่ายค้านมาอภิปรายด่ารัฐบาลไม่ได้
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ย้ำว่า ปชป.พร้อมขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้มีการล้มล้างการปกครอง รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนและศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ของตัวเองได้ นอกจากนี้ยังจะขวางการแก้ไขมาตรา 190 ที่ลดอำนาจการตรวจสอบของรัฐสภาด้วย “ขณะนี้คนที่มีอำนาจ เจ้าของอำนาจตัวจริง กำลังคิดทำธุรกิจในพื้นที่ในทะเลที่คาบเกี่ยวของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน จงใจแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้ข้อตกลงเหล่านี้เข้าสู่การพิจารณาของสภา มีลับลมคมใน แสวงหาผลประโยชน์ จึงต้องขวางคนโกง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ”
ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้ใช้สิทธิตามมาตรา 68 ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 9 เม.ย. ให้วินิจฉัยยุบพรรค ปชป. และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค โดยอ้างว่า ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องของนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ที่ขอให้ศาลฯ วินิจฉัยว่านายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาและคณะรวม 312 คน กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ กรณีได้เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อตัดสิทธิและลิดรอนสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคที่ ส.ส.ดังกล่าวสังกัด 6 พรรค ซึ่งนายเรืองไกรชี้ว่า ต้องยุบ ปชป. และตัดสิทธิหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคด้วย เนื่องจาก ปชป.ได้เสนอชื่อเป็นกรรมาธิการในสัดส่วนของพรรคจำนวน 11 คน จึงถือว่า 11 คนนี้มีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ด้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมพิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว มีมติเอกฉันท์ 8 เสียงไม่รับคำร้องของนายเรืองไกร เนื่องจากพิจารณาแล้วไม่พบการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 สำหรับตุลาการที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม 1 คน คือนายชัช ชลวร ซึ่งลาประชุม เนื่องจากติดภารกิจ
นอกจากนี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังได้มีมติ 5 ต่อ 3 ให้รับคำร้องของนายบวร ยสินทร และคณะ ที่ใช้สิทธิตามมาตรา 68 ขอให้ศาลฯ วินิจฉัยว่าประธานรัฐสภากับพวกรวม 312 คน กระทำการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งศาลฯ เห็นว่า การยกเลิกสิทธิของประชาชนในการที่จะใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงออกไป คงเหลือแต่เพียงยื่นต่ออัยการสูงสุดเพียงทางเดียว เป็นการลิดรอนสิทธิประชาชน จึงมีมูลที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้อง เพื่อให้ศาลฯ ตรวจสอบตามมาตรา 68 วรรคสอง
ขณะที่นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ได้ยื่นเรื่องต่อประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ตรวจสอบการกระทำของ ส.ส.และ ส.ว.ในการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ประกอบด้วย มาตรา 68 ,111-120 ซึ่งมีลักษณะขัดกันแห่งผลประโยชน์ และตัดอำนาจประชาชนในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ รวมทั้งยังเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ ส.ส.และ ส.ว.ร่วมกันกระทำในสิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน “ถือว่าเป็นการร่วมกันกระทำผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จงใจใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญและฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง...หากผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบแล้วเป็นความผิดจริงตามที่ได้ร้อง ผู้ตรวจการฯ สามารถส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ให้ยับยั้งการกระทำหรือลงโทษทางอาญาต่อไป”
เป็นที่น่าสังเกตว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 เม.ย. หลังการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติวันแปรญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น จะมีประเด็นร้อนเกิดขึ้นด้วย เพราะ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ได้ออกมาบอกแล้วว่า จะเสนอให้ที่ประชุมเลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมาพิจารณาในวันดังกล่าว โดยอ้างว่า ส.ส.ในพรรคเห็นด้วย เพราะต้องเห็นแก่ประชาชนที่ถูกจองจำในเรือนจำ พร้อมเปรียบเทียบว่า เรื่องความยากจน ความหิวโหยยังพอรอได้ แต่คนถูกจำกัดสิทธิถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการ
3. “เฉลิม” ยอมลงพื้นที่ชายแดนใต้แล้ว ลั่น ไม่เคยกลัว ด้านเลขาฯ สมช.ยัน ไม่เลื่อนเจรจาบีอาร์เอ็น!
เหตุรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังมีการอุ้มฆ่าทหารที่ จ.นราธิวาส และวางระเบิดรถนายอิศรา ทองธวัช รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เสียชีวิต ขณะที่เริ่มมีความไม่แน่นอนว่าฝ่ายความมั่นคงของไทยจะเลื่อนเจรจาสันติภาพรอบสามกับแกนนำบีอาร์เอ็น ที่กำหนดจะมีขึ้นในวันที่ 29 เม.ย.หรือไม่
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่ จ.ยะลาเมื่อวันที่ 7 เม.ย. เพื่อให้กำลังใจข้าราชการและเยี่ยมผู้บาดเจ็บจากเหตุไม่สงบ รวมทั้งได้เดินทางไปเคารพศพนายอิศรา ทองธวัช รองผู้ว่าฯ ยะลาด้วย
ขณะที่นายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ได้เรียกประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านใน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจังหวัดบ้านเกิดของนายอิศรา ก่อนมีมติรวบรวมเงินตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐ พร้อมตั้งค่าหัว 1 ล้านบาท หากเจ้าหน้าที่สามารถจับกลุ่มคนร้ายที่ลอบวางระเบิดรถนายอิศราได้
ล่าสุด เมื่อวันที่ 12 เม.ย. นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าฯ ยะลา เผยว่า ตำรวจ สภ.บันนังสตา ได้ออกหมายจับผู้ร่วมก่อเหตุแล้ว คือ นายอับดุลเลาะ ตาเปาะโอ๊ะ อายุ 26 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ใน ต.บันนังสตา เคยก่อเหตุคดีสำคัญมาแล้ว 4 คดีเมื่อปี 2552 และยังร่วมก่อเหตุลอบยิงแล้วฆ่าตัดคอ ตชด.หน่วยพลร่มที่บ้านบือซู อ.บันนังสตา เมื่อปี 2550 ด้วย
สำหรับเหตุไม่สงบยังคงเกิดขึ้นรายวัน แต่ดูเหมือนโจรใต้จะเปลี่ยนเป้าหมายมาที่เจ้าหน้าที่มากกว่าชาวบ้าน โดยเมื่อช่วงสายวันที่ 7 เม.ย. คนร้ายได้จุดชนวนระเบิดที่ฝังไว้ข้างถนนสายบ้านเมาะสาวา-บ้านบองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ขณะที่อาสาสมัครทหารพราน(อส.ทพ.) โสภณ เหมาะสม สังกัดกรมทหารพรานที่ 45 และ อส.ทพ.ก้องเกียรติ แก่นดี สังกัดกรมทหารพรานที่ 11 ขี่รถจักรยานยนต์ผ่าน ส่งผลให้รถเสียหลักล้มลง จากนั้นคนร้ายไม่ต่ำกว่า 6 คน ที่ดักซุ่มอยู่ข้างทาง ได้ใช้ปืนเอ็ม 16 และอาก้ามาจ่อยิง อส.ทพ.ทั้ง 2 นายเสียชีวิต ก่อนยึดปืนเอ็ม 16 และปืนลูกซองยาวของ อส.ทพ.ไป
กลางดึกคืนเดียวกัน ล่วงเข้าวันที่ 8 เม.ย. คนร้ายได้ยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่บ้านของนายนัจมุดดีน อูมา แกนนำกลุ่มวาดะห์ และที่ปรึกษาปัญหาชายแดนภาคใต้ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง โดยแรงระเบิดทำให้หลังคาบ้านเป็นรูโหว่ ขณะที่ตำรวจ สภ.ระแงะ สันนิษฐานเบื้องต้นว่า สาเหตุอาจเชื่อมโยงกับกรณีที่นายนัจมุดดีนเป็นที่ปรึกษาของรองนายกฯ เฉลิมในการแก้ปัญหาไฟใต้
เป็นที่น่าสังเกตว่า คนร้ายได้ยิงเอ็ม 79 ถล่มบ้านนายนัจมุดดีนซ้ำอีกรอบในคืนต่อมา แต่กระสุนพลาดเป้าไปตกบนถนน ห่างจากรั้วบ้านของนายนัจมุดดีนประมาณ 100 เมตร โดยสะเก็ดระเบิดกระเด็นไปถูกนายสุไลมาน สะมะแอ ซึ่งกำลังนอนหลับอยู่ในบ้านบริเวณดังกล่าวได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้ ขณะเกิดเหตุ นายนัจมุดดีนและครอบครัวไม่ได้อยู่ในบ้านพัก เพราะเกรงไม่ปลอดภัย จึงได้พากันไปอาศัยอยู่ที่อื่นเป็นการชั่วคราว
ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ไม่ยอมลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้จะเกิดกรณีคนร้ายยิงเอ็ม 79 ถล่มบ้านนายนัจมุดดีน ที่ปรึกษาของตนก็ตาม “ผมรู้รายละเอียดหมด แต่ผมไม่จำเป็นต้องออกไปพูด เพราะเรื่องการข่าวต้องถือเป็นความลับ จะลงใต้บ้าง ไม่ลงบ้าง ลงช้าลงเร็ว ไม่ใช่ปัจจัยหลักของการทำงาน ปัจจัยทำงานคือต้องบูรณาการด้านการข่าว...”
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แนะให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดูแลปัญหาไฟใต้ด้วยตัวเอง เพราะ ร.ต.อ.เฉลิมคงจะทำงานเรื่องนี้ลำบาก เนื่องจากไม่มีส่วนร่วมพูดคุยด้วย และไม่ได้ร่วมคณะนายกฯ เดินทางลงพื้นที่
อย่างไรก็ตาม 2 วันให้หลัง(11 เม.ย.) ร.ต.อ.เฉลิม ได้ลงพื้นที่เป็นครั้งแรกที่ จ.ปัตตานี พร้อมด้วย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก่อนไปนอนค้างที่ จ.ยะลา 1 คืน พร้อมเผยว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ เนื่องจากนายกฯ มอบหมาย และไม่เคยกลัวการลงพื้นที่ภาคใต้แต่อย่างใด
ขณะที่คนร้ายได้ก่อเหตุป่วนที่ จ.ปัตตานีเมื่อคืนวันที่ 10 เม.ย.รวม 35 จุด มีทั้งระเบิดเรือประมง ,เผาสัญญาณโทรศัพท์ ,ยิงใส่ฐานอาสาสมัคร ,เผารถยนต์ ,เผาสหกรณ์การเกษตร ฯลฯ
ทั้งนี้ หลังเกิดเหตุไม่สงบอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่าเริ่มมีกระแสข่าวว่าฝ่ายความมั่นคงของไทยอาจเลื่อนเจรจาสันติภาพกับแกนนำบีอาร์เอ็นในวันที่ 29 เม.ย.ออกไปก่อน ซึ่งตอนแรก พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ก็ไม่ยืนยัน โดยบอกว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนประสานงาน เนื่องจากมาเลเซียจะมีการเลือกตั้ง แต่ภายหลัง พล.ท.ภราดร ได้ยืนยันเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ว่า ได้รับการประสานจากผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซียแล้ว โดยยืนยันว่าการพูดคุยกับแกนนำบีอาร์เอ็นในวันที่ 29 เม.ย.ยังมีอยู่เหมือนเดิม ส่วนการเลือกตั้งใหญ่ในมาเลเซียไม่ส่งผลกระทบต่อการเจรจา เพราะการเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 5 พ.ค.
4. ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ลดโทษมือระเบิดพรรคภูมิใจไทย จาก 35 ปี เหลือ 5 ปี ปรับ 50 บาท!
เมื่อวันที่ 9 เม.ย. ศาลอาญา ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเอนก สิงขุนทด ซึ่งตาบอดจากเหตุระเบิดที่หน้าพรรคภูมิใจไทยเมื่อปี 2553 เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันทำวัตถุระเบิด มีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พกวัตถุระเบิดไปในเมืองโดยไม่มีเหตุสมควร และกระทำให้เกิดระเบิด ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4 ,38 ,74 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 221 ,222 ,218 และ 371
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือน มิ.ย.2553 จำเลยกับพวกได้ร่วมกันผลิตวัตถุระเบิด และร่วมกันมีวัตถุระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยนายอเนกเป็นผู้เข็นรถเข็นผลไม้ที่ซุกซ่อนระเบิดไว้ เข็นผ่านไปทางด้านหลังที่ทำการพรรคภูมิใจไทย ใกล้ซอยพหลโยธิน 43 เขตจตุจักร กทม. ก่อนเกิดระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้ผนังด้านหลังอาคารพรรคภูมิใจไทยแตกเสียหาย ขณะที่ร้านขายอาหารและรถยนต์บริเวณใกล้เคียงก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน นอกจากนี้แรงระเบิดยังทำให้นายอเนกตาบอดทั้งสองข้างด้วย
ทั้งนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 24 เม.ย.2555 ให้จำคุกนายเอนก 2 กระทงๆ ละ 10 ปี ฐานมีระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และปรับ 100 บาท ฐานพกพาอาวุธไปในที่สาธารณะ และให้จำคุกตลอดชีวิต ฐานทำให้เกิดระเบิดเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและสถานที่ประชุม ซึ่งเป็นโทษหนักสุดตามมาตรา 222 และ 218 แต่จำเลยรับสารภาพ ศาลจึงเห็นควรลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ให้จำคุกทั้งสิ้น 35 ปี และปรับ 50 บาท ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์ขอให้ศาลลดโทษลง
ขณะที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัย จึงเชื่อว่าจำเลยกระทำผิดฐานร่วมกันทำให้เกิดระเบิด จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สถานที่ประชุมตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าไม่ได้กระทำผิด จึงฟังไม่ขึ้น ส่วนความผิดฐานร่วมกันทำและมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น แม้จำเลยจะทำและมีวัตถุระเบิด 2 ลูก โดยระเบิดอีก 1 ลูก เจ้าหน้าที่ไปตรวจยึดได้ที่ริมถนนรามอินทรา 81 นั้น ศาลเห็นว่า การกระทำของจำเลยมีเจตนามุ่งกระทำในคราวเดียว ความผิดของจำเลยฐานร่วมกันทำและมีวัตถุระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นความผิดกรรมเดียว ที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา จึงฟังขึ้น เห็นสมควรลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี จึงพิพากษาแก้ว่า จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 5 ปี ฐานทำให้เกิดระเบิดเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและสถานที่ประชุม จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพ เห็นควรลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยไว้เป็นเวลา 5 ปี และปรับ 50 บาท
1. เขมร ให้การคดีพระวิหารต่อศาลโลกแล้ว อ้างเหตุไทยรุกราน ด้านกลุ่มทวงคืนฯ เตรียมนำธงชาติไทยขึ้นปักบนเขาพระวิหาร 17 เม.ย.!
จากกรณีที่ฝ่ายกัมพูชาได้ยื่นเรื่องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก) ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2505 เพื่อยืนยันว่า พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตร.กม.เป็นของกัมพูชา ซึ่งศาลโลกได้กำหนดให้ฝ่ายกัมพูชาและไทยชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลระหว่างวันที่ 15-19 เม.ย. ก่อนจะมีคำพิพากษาในอีกประมาณ 6 เดือนข้างหน้านั้น ปรากฏว่า กัมพูชาซึ่งเป็นฝ่ายชี้แจงก่อนในวันที่ 15 เม.ย มีนายฮอร์ นัมฮง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เป็นตัวแทน ได้ชี้แจงต่อศาลโลกที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยอ้างเหตุที่กัมพูชาต้องยื่นคำร้องให้ศาลโลกนำคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารมาตีความอีกครั้งว่า เนื่องจากกัมพูชาถูกฝ่ายไทยรุกรานและโจมตี ทำให้ปราสาทพระวิหารได้รับความเสียหาย และมีการเสียชีวิต เพราะมีการตีความคำพิพากษาที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องเขตแดน และหลังจากที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก คนไทยก็มีการคัดค้าน
ทั้งนี้ นายฮอร์ นัมฮง ยังกล่าวหาว่าไทยพยายามลดขอบเขตและความหมายของคำพิพากษาปี 2505 และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกเมื่อวันที่ 18 ก.ค.2554 ที่ให้ทั้งสองฝ่ายถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาท แสดงให้เห็นว่าไทยดูหมิ่นและทำไม่ถูกกฎหมาย และว่า ฝ่ายไทยกล่าวหาว่ากัมพูชาเอาประชาชนเข้าไปอยู่ในพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร ทั้งที่ในความเป็นจริงประชาชนกัมพูชาอยู่ในพื้นที่ของเขามานาน
เป็นที่น่าสังเกตว่า นายฮอร์ นัมฮง พยายามชี้นำให้ศาลโลกยึดหลักเขตแดนตามแผนที่ในภาคผนวกที่ 1 หรือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 เพื่อให้พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา โดยอ้างว่า แผนที่ดังกล่าวใช้อ้างอิงมาตั้งแต่คำพิพากษาเมื่อปี 2505 ซึ่งในความเป็นจริง แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 เป็นแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสทำขึ้นฝ่ายเดียวในปี พ.ศ.2450 และไม่เป็นไปตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ.2447 ทำให้ฝ่ายไทยไม่ยอมรับ ซึ่งหากยึดตามแผนที่ดังกล่าว จะส่งผลให้ไทยเสียดินแดนให้กัมพูชาประมาณ 1.8 ล้านไร่ รวมทั้งจะส่งผลต่อการแบ่งพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่จะตกเป็นของกัมพูชามากขึ้นด้วย
สำหรับตัวแทนฝ่ายไทยซึ่งนำโดยนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก มีกำหนดจะชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลโลกในวันที่ 17 เม.ย. เวลา 15.00น.-18.00น. และ 20.00น.-21.30น. จากนั้นวันที่ 18 เม.ย.จะเป็นการชี้แจงรอบสองของฝ่ายกัมพูชา ในเวลา 20.00น.-22.00น. ส่วนไทยจะชี้แจงรอบสองในวันที่ 19 เม.ย. เวลา 20.00น.-22.00น. โดยกระทรวงการต่างประเทศได้เปิดเว็บไซต์ http://www.phraviharn.org เพื่อถ่ายทอดสดภาพและเสียงการชี้แจงของทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาให้ประชาชนได้ทราบ รวมทั้งมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และวิทยุเอฟเอ็ม 92.5 เอเอ็ม 891 ของกรมประชาสัมพันธ์ด้วย
ขณะที่สถานการณ์บริเวณชายแดน อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ปรากฏว่า ทหารไทยและตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด.) ยังคงตั้งด่านตรวจเข้ม ไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องขึ้นไปบริเวณผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เด็ดขาด
ด้านนายกิติศักดิ์ พ้นภัย หัวหน้ากลุ่มกำลังแผ่นดิน เผยว่า วันที่ 17 เม.ย. กลุ่มพลังมวลชนทวงคืนแผ่นดินเขาพระวิหารทุกกลุ่มทุกเครือข่าย จะรวมพลังประชาชนชาวไทยผู้รักชาติรักแผ่นดินประมาณ 10,000 คน นำธงชาติไทย สูง 21 เมตร ขึ้นไปปักที่บริเวณเขาพระวิหาร หรือบริเวณภูมะเขือให้ได้ ส่วนที่มีข่าวว่าจะมีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) จากหลายจังหวัดมาปิดกั้นไม่ให้กลุ่มพลังมวลชนนำธงชาติขึ้นไปติดตั้งบริเวณเขาพระวิหารนั้น นายกิตติศักดิ์ บอกว่า ไม่อยากให้ นปช. หรือคนเสื้อแดงบางกลุ่มที่เป็นคนไทยแต่หัวใจเป็นคนต่างชาติ เข้ามาขัดขวางคนไทยผู้รักชาติรักแผ่นดินที่เคลื่อนไหวในครั้งนี้ พร้อมเชื่อว่าจะสามารถทำความเข้าใจกันได้ เพราะไม่อยากให้เกิดความรุนแรงระหว่างคนไทยด้วยกัน “จึงขอเชิญชวนชาวไทยผู้รักชาติทุกคนร่วมกิจกรรมทวงคืนผืนแผ่นดินเขาพระวิหารในวันที่ 17 เม.ย. และร่วมกันแสดงออกว่า ชาวไทยต้องการให้ใช้สันปันน้ำปักปันเขตแดนบริเวณเขาพระวิหาร และไม่ยอมรับอำนาจของศาลโลก”
2. “สมศักดิ์” กลัวถูกถอดถอน ยอมเรียกประชุมรัฐสภาโหวตวันแปรญัตติแก้ รธน.ใหม่ 18 เม.ย. ด้าน พท. จ่อดันสภาฯ เร่งพิจารณา พ.ร.บ.นิรโทษฯ !
หลังที่ประชุมรัฐสภาเสียงข้างมากได้รับหลักการวาระแรกร่าง พ.ร.บ.แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ ที่เสนอโดย ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว.เลือกตั้งกลุ่มนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เมื่อวันที่ 3 เม.ย. จากนั้นได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา 3 คณะ คณะละ 45 คน เพื่อพิจารณาแปรญัตติใน 15 วัน แต่พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้แปรญัตติ 60 วัน ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลต้องการ 15 วัน ซึ่งตามระเบียบต้องให้ที่ประชุมลงมติว่าเสียงส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับ 60 วันหรือ 15 วัน แต่เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา จึงสรุปให้แปรญัตติ 15 วัน ส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่พอใจ พร้อมเรียกร้องให้นายสมศักดิ์เรียกประชุมรัฐสภาอีกครั้งเพื่อลงมติเรื่องวันแปรญัตติใหม่ หาไม่แล้วอาจมีการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เพราะเข้าข่ายกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ แต่นายสมศักดิ์ยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องเรียกประชุมใหม่แล้วนั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 9 เม.ย. นายสมศักดิ์ มีท่าทีอ่อนลง โดยขอให้วิปทั้ง 3 ฝ่ายไปคุยกันว่า จะสามารถเปิดประชุมได้ในวันไหน และว่า ส่วนตัวแล้วเห็นว่าอะไรที่ยอมกันได้ก็ควรจะยอม อย่าพยายามสร้างเงื่อนไข หรือเอาชนะคะคานกัน พร้อมส่งสัญญาณว่า วันที่สามารถประชุมได้คือ 18 เม.ย.ที่นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎรไว้แล้วในเวลา 10.00น.-18.00น. สามารถขอเปิดประชุมร่วมรัฐสภาได้ก่อนในเวลา 09.30น. และว่า ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีก็คงเรียบร้อย
ขณะที่นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) อ้างว่า เดิมเป็นมติของวิป 3 ฝ่ายอยู่แล้วที่ให้แปรญัตติ 15 วัน แต่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) เสนอให้แปรญัตติ 60 วัน “ผมขอถาม ปชป.ว่าจะแปรญัตติทำไมถึง 60 วัน พูดกันทีก็จะมีกว่าร้อยประเด็นออกมาให้ถกเถียง แล้วมันจะเสียเวลาไหม ผมอยากถามว่ามันควรทำหรือไม่ เพราะแม้แต่กฎหมายสำคัญๆ ที่มีมากกว่า 70-80 มาตรา ยังใช้เวลาแปรญัตติกันไม่เยอะขนาดนี้เลย...”
อย่างไรก็ตาม ในที่สุด นายสมศักดิ์ ได้นัดประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติกำหนดเวลาการแปรญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ ในวันที่ 18 เม.ย. เวลา 09.30น. ขณะที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยหลายคนไม่เห็นด้วยที่นายสมศักดิ์เรียกประชุมดังกล่าว โดยนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ บอกว่า “ประธานรัฐสภากลัวจะถูกฝ่ายค้านถอดถอน ไม่น่าโลเล ทำอย่างนี้หลายรอบแล้ว เพราะกลัวฝ่ายค้าน” ขณะที่นายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย บอกว่า หากวันเปิดประชุมรัฐสภา ฝ่ายค้านพูดมาก ทาง ส.ส.รัฐบาลจะเสนอให้มีการลงมติวันแปรญัตติทันที เพื่อปิดปากฝ่ายค้าน จะให้โอกาสฝ่ายค้านมาอภิปรายด่ารัฐบาลไม่ได้
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ย้ำว่า ปชป.พร้อมขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้มีการล้มล้างการปกครอง รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนและศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ของตัวเองได้ นอกจากนี้ยังจะขวางการแก้ไขมาตรา 190 ที่ลดอำนาจการตรวจสอบของรัฐสภาด้วย “ขณะนี้คนที่มีอำนาจ เจ้าของอำนาจตัวจริง กำลังคิดทำธุรกิจในพื้นที่ในทะเลที่คาบเกี่ยวของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน จงใจแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้ข้อตกลงเหล่านี้เข้าสู่การพิจารณาของสภา มีลับลมคมใน แสวงหาผลประโยชน์ จึงต้องขวางคนโกง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ”
ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้ใช้สิทธิตามมาตรา 68 ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 9 เม.ย. ให้วินิจฉัยยุบพรรค ปชป. และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค โดยอ้างว่า ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องของนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ที่ขอให้ศาลฯ วินิจฉัยว่านายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาและคณะรวม 312 คน กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ กรณีได้เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เพื่อตัดสิทธิและลิดรอนสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคที่ ส.ส.ดังกล่าวสังกัด 6 พรรค ซึ่งนายเรืองไกรชี้ว่า ต้องยุบ ปชป. และตัดสิทธิหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคด้วย เนื่องจาก ปชป.ได้เสนอชื่อเป็นกรรมาธิการในสัดส่วนของพรรคจำนวน 11 คน จึงถือว่า 11 คนนี้มีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ด้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประชุมพิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว มีมติเอกฉันท์ 8 เสียงไม่รับคำร้องของนายเรืองไกร เนื่องจากพิจารณาแล้วไม่พบการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 สำหรับตุลาการที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม 1 คน คือนายชัช ชลวร ซึ่งลาประชุม เนื่องจากติดภารกิจ
นอกจากนี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังได้มีมติ 5 ต่อ 3 ให้รับคำร้องของนายบวร ยสินทร และคณะ ที่ใช้สิทธิตามมาตรา 68 ขอให้ศาลฯ วินิจฉัยว่าประธานรัฐสภากับพวกรวม 312 คน กระทำการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งศาลฯ เห็นว่า การยกเลิกสิทธิของประชาชนในการที่จะใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงออกไป คงเหลือแต่เพียงยื่นต่ออัยการสูงสุดเพียงทางเดียว เป็นการลิดรอนสิทธิประชาชน จึงมีมูลที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้อง เพื่อให้ศาลฯ ตรวจสอบตามมาตรา 68 วรรคสอง
ขณะที่นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ได้ยื่นเรื่องต่อประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ตรวจสอบการกระทำของ ส.ส.และ ส.ว.ในการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ประกอบด้วย มาตรา 68 ,111-120 ซึ่งมีลักษณะขัดกันแห่งผลประโยชน์ และตัดอำนาจประชาชนในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ รวมทั้งยังเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ ส.ส.และ ส.ว.ร่วมกันกระทำในสิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน “ถือว่าเป็นการร่วมกันกระทำผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จงใจใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญและฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง...หากผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบแล้วเป็นความผิดจริงตามที่ได้ร้อง ผู้ตรวจการฯ สามารถส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ให้ยับยั้งการกระทำหรือลงโทษทางอาญาต่อไป”
เป็นที่น่าสังเกตว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 เม.ย. หลังการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติวันแปรญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น จะมีประเด็นร้อนเกิดขึ้นด้วย เพราะ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ได้ออกมาบอกแล้วว่า จะเสนอให้ที่ประชุมเลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมาพิจารณาในวันดังกล่าว โดยอ้างว่า ส.ส.ในพรรคเห็นด้วย เพราะต้องเห็นแก่ประชาชนที่ถูกจองจำในเรือนจำ พร้อมเปรียบเทียบว่า เรื่องความยากจน ความหิวโหยยังพอรอได้ แต่คนถูกจำกัดสิทธิถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการ
3. “เฉลิม” ยอมลงพื้นที่ชายแดนใต้แล้ว ลั่น ไม่เคยกลัว ด้านเลขาฯ สมช.ยัน ไม่เลื่อนเจรจาบีอาร์เอ็น!
เหตุรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังมีการอุ้มฆ่าทหารที่ จ.นราธิวาส และวางระเบิดรถนายอิศรา ทองธวัช รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เสียชีวิต ขณะที่เริ่มมีความไม่แน่นอนว่าฝ่ายความมั่นคงของไทยจะเลื่อนเจรจาสันติภาพรอบสามกับแกนนำบีอาร์เอ็น ที่กำหนดจะมีขึ้นในวันที่ 29 เม.ย.หรือไม่
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่ จ.ยะลาเมื่อวันที่ 7 เม.ย. เพื่อให้กำลังใจข้าราชการและเยี่ยมผู้บาดเจ็บจากเหตุไม่สงบ รวมทั้งได้เดินทางไปเคารพศพนายอิศรา ทองธวัช รองผู้ว่าฯ ยะลาด้วย
ขณะที่นายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ได้เรียกประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านใน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจังหวัดบ้านเกิดของนายอิศรา ก่อนมีมติรวบรวมเงินตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐ พร้อมตั้งค่าหัว 1 ล้านบาท หากเจ้าหน้าที่สามารถจับกลุ่มคนร้ายที่ลอบวางระเบิดรถนายอิศราได้
ล่าสุด เมื่อวันที่ 12 เม.ย. นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าฯ ยะลา เผยว่า ตำรวจ สภ.บันนังสตา ได้ออกหมายจับผู้ร่วมก่อเหตุแล้ว คือ นายอับดุลเลาะ ตาเปาะโอ๊ะ อายุ 26 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ใน ต.บันนังสตา เคยก่อเหตุคดีสำคัญมาแล้ว 4 คดีเมื่อปี 2552 และยังร่วมก่อเหตุลอบยิงแล้วฆ่าตัดคอ ตชด.หน่วยพลร่มที่บ้านบือซู อ.บันนังสตา เมื่อปี 2550 ด้วย
สำหรับเหตุไม่สงบยังคงเกิดขึ้นรายวัน แต่ดูเหมือนโจรใต้จะเปลี่ยนเป้าหมายมาที่เจ้าหน้าที่มากกว่าชาวบ้าน โดยเมื่อช่วงสายวันที่ 7 เม.ย. คนร้ายได้จุดชนวนระเบิดที่ฝังไว้ข้างถนนสายบ้านเมาะสาวา-บ้านบองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ขณะที่อาสาสมัครทหารพราน(อส.ทพ.) โสภณ เหมาะสม สังกัดกรมทหารพรานที่ 45 และ อส.ทพ.ก้องเกียรติ แก่นดี สังกัดกรมทหารพรานที่ 11 ขี่รถจักรยานยนต์ผ่าน ส่งผลให้รถเสียหลักล้มลง จากนั้นคนร้ายไม่ต่ำกว่า 6 คน ที่ดักซุ่มอยู่ข้างทาง ได้ใช้ปืนเอ็ม 16 และอาก้ามาจ่อยิง อส.ทพ.ทั้ง 2 นายเสียชีวิต ก่อนยึดปืนเอ็ม 16 และปืนลูกซองยาวของ อส.ทพ.ไป
กลางดึกคืนเดียวกัน ล่วงเข้าวันที่ 8 เม.ย. คนร้ายได้ยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่บ้านของนายนัจมุดดีน อูมา แกนนำกลุ่มวาดะห์ และที่ปรึกษาปัญหาชายแดนภาคใต้ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง โดยแรงระเบิดทำให้หลังคาบ้านเป็นรูโหว่ ขณะที่ตำรวจ สภ.ระแงะ สันนิษฐานเบื้องต้นว่า สาเหตุอาจเชื่อมโยงกับกรณีที่นายนัจมุดดีนเป็นที่ปรึกษาของรองนายกฯ เฉลิมในการแก้ปัญหาไฟใต้
เป็นที่น่าสังเกตว่า คนร้ายได้ยิงเอ็ม 79 ถล่มบ้านนายนัจมุดดีนซ้ำอีกรอบในคืนต่อมา แต่กระสุนพลาดเป้าไปตกบนถนน ห่างจากรั้วบ้านของนายนัจมุดดีนประมาณ 100 เมตร โดยสะเก็ดระเบิดกระเด็นไปถูกนายสุไลมาน สะมะแอ ซึ่งกำลังนอนหลับอยู่ในบ้านบริเวณดังกล่าวได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้ ขณะเกิดเหตุ นายนัจมุดดีนและครอบครัวไม่ได้อยู่ในบ้านพัก เพราะเกรงไม่ปลอดภัย จึงได้พากันไปอาศัยอยู่ที่อื่นเป็นการชั่วคราว
ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ไม่ยอมลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้จะเกิดกรณีคนร้ายยิงเอ็ม 79 ถล่มบ้านนายนัจมุดดีน ที่ปรึกษาของตนก็ตาม “ผมรู้รายละเอียดหมด แต่ผมไม่จำเป็นต้องออกไปพูด เพราะเรื่องการข่าวต้องถือเป็นความลับ จะลงใต้บ้าง ไม่ลงบ้าง ลงช้าลงเร็ว ไม่ใช่ปัจจัยหลักของการทำงาน ปัจจัยทำงานคือต้องบูรณาการด้านการข่าว...”
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แนะให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดูแลปัญหาไฟใต้ด้วยตัวเอง เพราะ ร.ต.อ.เฉลิมคงจะทำงานเรื่องนี้ลำบาก เนื่องจากไม่มีส่วนร่วมพูดคุยด้วย และไม่ได้ร่วมคณะนายกฯ เดินทางลงพื้นที่
อย่างไรก็ตาม 2 วันให้หลัง(11 เม.ย.) ร.ต.อ.เฉลิม ได้ลงพื้นที่เป็นครั้งแรกที่ จ.ปัตตานี พร้อมด้วย พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก่อนไปนอนค้างที่ จ.ยะลา 1 คืน พร้อมเผยว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ เนื่องจากนายกฯ มอบหมาย และไม่เคยกลัวการลงพื้นที่ภาคใต้แต่อย่างใด
ขณะที่คนร้ายได้ก่อเหตุป่วนที่ จ.ปัตตานีเมื่อคืนวันที่ 10 เม.ย.รวม 35 จุด มีทั้งระเบิดเรือประมง ,เผาสัญญาณโทรศัพท์ ,ยิงใส่ฐานอาสาสมัคร ,เผารถยนต์ ,เผาสหกรณ์การเกษตร ฯลฯ
ทั้งนี้ หลังเกิดเหตุไม่สงบอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่าเริ่มมีกระแสข่าวว่าฝ่ายความมั่นคงของไทยอาจเลื่อนเจรจาสันติภาพกับแกนนำบีอาร์เอ็นในวันที่ 29 เม.ย.ออกไปก่อน ซึ่งตอนแรก พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ก็ไม่ยืนยัน โดยบอกว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนประสานงาน เนื่องจากมาเลเซียจะมีการเลือกตั้ง แต่ภายหลัง พล.ท.ภราดร ได้ยืนยันเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ว่า ได้รับการประสานจากผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซียแล้ว โดยยืนยันว่าการพูดคุยกับแกนนำบีอาร์เอ็นในวันที่ 29 เม.ย.ยังมีอยู่เหมือนเดิม ส่วนการเลือกตั้งใหญ่ในมาเลเซียไม่ส่งผลกระทบต่อการเจรจา เพราะการเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 5 พ.ค.
4. ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ลดโทษมือระเบิดพรรคภูมิใจไทย จาก 35 ปี เหลือ 5 ปี ปรับ 50 บาท!
เมื่อวันที่ 9 เม.ย. ศาลอาญา ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายเอนก สิงขุนทด ซึ่งตาบอดจากเหตุระเบิดที่หน้าพรรคภูมิใจไทยเมื่อปี 2553 เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันทำวัตถุระเบิด มีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พกวัตถุระเบิดไปในเมืองโดยไม่มีเหตุสมควร และกระทำให้เกิดระเบิด ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4 ,38 ,74 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 221 ,222 ,218 และ 371
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือน มิ.ย.2553 จำเลยกับพวกได้ร่วมกันผลิตวัตถุระเบิด และร่วมกันมีวัตถุระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยนายอเนกเป็นผู้เข็นรถเข็นผลไม้ที่ซุกซ่อนระเบิดไว้ เข็นผ่านไปทางด้านหลังที่ทำการพรรคภูมิใจไทย ใกล้ซอยพหลโยธิน 43 เขตจตุจักร กทม. ก่อนเกิดระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้ผนังด้านหลังอาคารพรรคภูมิใจไทยแตกเสียหาย ขณะที่ร้านขายอาหารและรถยนต์บริเวณใกล้เคียงก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน นอกจากนี้แรงระเบิดยังทำให้นายอเนกตาบอดทั้งสองข้างด้วย
ทั้งนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 24 เม.ย.2555 ให้จำคุกนายเอนก 2 กระทงๆ ละ 10 ปี ฐานมีระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และปรับ 100 บาท ฐานพกพาอาวุธไปในที่สาธารณะ และให้จำคุกตลอดชีวิต ฐานทำให้เกิดระเบิดเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและสถานที่ประชุม ซึ่งเป็นโทษหนักสุดตามมาตรา 222 และ 218 แต่จำเลยรับสารภาพ ศาลจึงเห็นควรลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ให้จำคุกทั้งสิ้น 35 ปี และปรับ 50 บาท ซึ่งจำเลยได้อุทธรณ์ขอให้ศาลลดโทษลง
ขณะที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัย จึงเชื่อว่าจำเลยกระทำผิดฐานร่วมกันทำให้เกิดระเบิด จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สถานที่ประชุมตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าไม่ได้กระทำผิด จึงฟังไม่ขึ้น ส่วนความผิดฐานร่วมกันทำและมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น แม้จำเลยจะทำและมีวัตถุระเบิด 2 ลูก โดยระเบิดอีก 1 ลูก เจ้าหน้าที่ไปตรวจยึดได้ที่ริมถนนรามอินทรา 81 นั้น ศาลเห็นว่า การกระทำของจำเลยมีเจตนามุ่งกระทำในคราวเดียว ความผิดของจำเลยฐานร่วมกันทำและมีวัตถุระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นความผิดกรรมเดียว ที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา จึงฟังขึ้น เห็นสมควรลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี จึงพิพากษาแก้ว่า จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 5 ปี ฐานทำให้เกิดระเบิดเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและสถานที่ประชุม จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพ เห็นควรลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยไว้เป็นเวลา 5 ปี และปรับ 50 บาท