คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.โปรดเกล้าฯ ครม.“ยิ่งลักษณ์ 3” แล้ว -“จารุพงศ์” นั่ง มท.1 ด้าน “จตุพร” วืด รมต. !
เมื่อวันที่ 25 ต.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พูดถึงการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.) “ยิ่งลักษณ์ 3” โดยยอมรับว่า ได้มีการนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เรียบร้อยแล้ว ส่วนเหตุผลที่ต้องปรับ ครม.เนื่องจากนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายธีระ วงศ์สมุทร ก็แจ้งขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากนี้พรรคร่วมรัฐบาลยังได้แจ้งความจำนงขอเปลี่ยนชื่อรัฐมนตรีด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังยืนยันด้วยว่า พอใจกับภาพของ ครม.ชุดใหม่ พร้อมย้ำว่า การปรับ ครม.ครั้งนี้ ไม่มีใบสั่ง ตนทำด้วยตัวเอง และปรับเพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
ทั้งนี้ มีรายงานว่า รายชื่อรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกอบด้วย 1.นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2.พล.ท.ชัจจ์ กุลดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 3.นายประชา ประสพดี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 4.นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 5. พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 6.นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 7.นายยุคล ลิ้มแหลมทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 8.นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ 9.นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ 10. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
11. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 12.นายประเสริฐ บุญชัยสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 13.นายฐานิสร์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 14. นายสนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 15.นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นรองนายกรัฐมนตรี 16.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 17. นายวราเทพ รัตนากร เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 18.น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ 19.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 20. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน 21.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 22.นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ 23.นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ล่าสุด วันนี้(28 ต.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่แล้ว โดยรายชื่อ ครม.ชุดใหม่ เป็นไปตามที่มีรายงานข่าว
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) พูดถึงกรณีที่ตนไม่มีชื่อเป็นรัฐมนตรีใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ว่า มีบุคคลหนึ่งมาบอกว่า จะไม่มีชื่อเป็นรัฐมนตรี เพราะหากได้รับตำแหน่ง ตำหนิต่างๆ ในชีวิตอาจกระทบต่อรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ทั้งที่คดีของตนไม่เกี่ยวข้องที่จะโยงไปสู่การยุบหรือไม่ยุบพรรคแต่อย่างใด ทั้งนี้ นายจตุพร ยอมรับว่า ขณะนี้หายอยากที่จะเป็นรัฐมนตรีแล้ว พร้อมย้ำว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เรื่องตำแหน่ง รวมทั้งไม่ได้รับเงินเพื่อแลกกับตำแหน่งตามที่มีข่าวแต่อย่างใด
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า แม้จะมีการปรับ ครม.ก็จะไม่กระทบต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยคาดว่าจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในวันที่ 26-27 พ.ย.และลงมติในวันที่ 28 พ.ย. พร้อมเชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์จะไม่หนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
2.“เฉลิม” เบรก “เสธ.อ้าย” ไม่อยู่ ยืนยัน ชุมนุมใหญ่ 28 ต.ค. ด้าน “พันธมิตรฯ” ให้กำลังใจ แต่ยังไม่พร้อมเข้าร่วม!
จากกรณีที่ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย ประธานเตรียมทหารรุ่น 1 ในฐานะประธานองค์กรพิทักษ์สยาม ได้ประกาศเมื่อวันที่ 20 ต.ค.ว่าจะจัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 28 ต.ค.ที่สนามม้านางเลิ้ง เพื่อเปิดเผยข้อมูลการทุจริตในโครงการต่างๆ ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เช่น โครงการรับจำนำข้าว ,การชดเชยเยียวยาน้ำท่วม การโยกย้ายข้าราชการแบบข้ามสายงาน รวมถึงการที่รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้มีการจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์
ปรากฏว่า เริ่มมีข่าวว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปพบ เสธ.อ้าย ในวันที่ 24 ต.ค.ท่ามกลางกระแสข่าวว่า ต้องการไปล็อบบี้ให้ เสธ.อ้าย ยกเลิกการชุมนุมในวันที่ 28 ต.ค. ทั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ยอมรับว่า จะเดินทางไปพบ เสธ.อ้าย จริง เพราะรักชอบพอกัน แต่ไม่ใช่ไปคุยเรื่องชุมนุม “จะซื้อห่านท่าดินแดงไปฝากท่าน 2 ตัว อยากถามอะไรก็บอกท่าน หรือไม่เข้าใจอะไรก็กราบเรียนท่าน ส่วนการชุมนุมวันที่ 28 คงไปห้ามไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิ แต่ต้องมีการดูแลให้เรียบร้อย”
ทั้งนี้ เสธ.อ้าย ให้สัมภาษณ์ก่อนรับประทานอาหารกับ ร.ต.อ.เฉลิม ที่เดินทางมาพบ โดยยืนยันว่า การชุมนุมของตนไม่ได้เชื่อมโยงกับบันได 5 ขั้นในการล้มรัฐบาลตามที่พรรคเพื่อไทยกล่าวอ้าง แต่ตนมี 2 ขั้น คือ วันที่ 28 ต.ค.กับอีก 1 วัน หากวันที่ 28 ต.ค.มีคนมาร่วมชุมนุมจำนวนมาก ก็จะจัดชุมนุมอีก 1 วัน เพื่อบอกรัฐบาลว่า ประชาชนไม่ต้องการรัฐบาลแล้ว แต่หากวันที่ 28 ต.ค.คนมาร่วมชุมนุมน้อย ทุกอย่างก็จะจบในวันที่ 28 ต.ค. เสธ.อ้าย ยังยืนยันความปลอดภัยในการชุมนุมวันที่ 28 ต.ค.ด้วย เพราะเป็นการชุมนุมในสถานที่ปิด และจะมีตำรวจมาดูแลความสงบเรียบร้อย 300 นาย
หลังรับประทานอาหารร่วมกันแล้วเสร็จ ร.ต.อ.เฉลิม เผยว่า บรรยากาศเป็นไปอย่างชื่นมื่น และไม่มีการคุยเรื่องการเมืองแต่อย่างใด พร้อมยืนยันว่า ในวันชุมนุม จะไม่มีมือที่สามก่อความไม่สงบอย่างแน่นอน ขณะที่ เสธ.อ้าย บอกว่า หากการชุมนุมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก จะมีการจัดขึ้นอีกครั้งในอีก 3 สัปดาห์ แต่เชื่อว่าจะไม่บานปลายนำไปสู่การชุมนุมที่ยืดเยื้อ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 ต.ค. องค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่ายได้เปิดแถลงยืนยันการชุมนุมในวันที่ 28 ต.ค.อีกครั้ง โดยใช้ชื่อว่า “รวมพล คนทนไม่ไหว หยุดวิกฤตและหายนะชาติ” โดยย้ำว่า จุดยืนของกลุ่ม คือทนไม่ไหวกับความฉ้อฉลคอร์รัปชั่นของรัฐบาล ปล่อยปละการล่วงละเมิดสถาบัน แทรกแซงกลไกราชการ สร้างรัฐตำรวจข่มขู่ประชาชน ไม่ยอมรับการตรวจสอบจากภาคประชาชน นักวิชาการ และฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จึงเห็นว่า การแสดงพลังของประชาชนเท่านั้นที่จะหยุดหายนะได้ และว่า การชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมที่ไร้สีและกลุ่มองค์กร พร้อมอยากให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมมากๆ เพื่อฟังข้อเท็จจริงความบกพร่องของรัฐบาล
ด้าน น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ 1 ในภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดการชุมนุม บอกว่า การชุมนุมครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่เปลี่ยนสนามม้าเป็นสนามกู้ชาติ พร้อมปฏิเสธว่า ตนไม่ได้เป็นอีแอบอยู่เบื้องหลังการต่อต้านรัฐบาล แต่ตนอยู่เบื้องหน้าเสมอ เพราะทำงานเพื่อชาติ ไม่เหมือนพวกอีแอบตัวจริงที่หนีคุกอยู่ต่างประเทศ กับคนที่ไปพบคนหนีคุกแล้วเดินเมาตามหลัง
ส่วนท่าทีของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อการชุมนุมใหญ่ขององค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่ายนั้น เมื่อวันที่ 22 ต.ค.แกนนำพันธมิตรฯ ได้ประชุมและออกแถลงการณ์ว่า พันธมิตรฯ ยังไม่พร้อมเข้าร่วมชุมนุมใหญ่ เนื่องจากพันธมิตรฯ มีจุดยืนจะชุมนุมใหญ่ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ คือ 1.เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือออกกฎหมาย ที่ชัดเจนว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์หรือลดพระราชอำนาจ 2.เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือออกกฎหมาย ที่ชัดเจนว่าจะนำไปสู่การนิรโทษกรรมให้กับ นช.ทักษิณ ชินวัตร และ 3.เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเข้าสู่สถานการณ์เหมาะสมที่ประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตาม พันธมิตรฯ เห็นว่า องค์กรพิทักษ์สยามเป็นองค์กรภาคประชาชนองค์กรหนึ่งที่หวังดีต่อประเทศชาติ ซึ่งควรให้กำลังใจ และเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญที่จะเข้าร่วมชุมนุมใหญ่กับองค์กรพิทักษ์สยามในวันที่ 28 ต.ค.ได้
3.ป.ป.ช.ตั้งอนุ กก.ไต่สวน 3 จี แล้ว ด้าน กทค.ยัน โปร่งใส พร้อมออกกฎเหล็กก่อนให้ใบอนุญาต!
ความคืบหน้าเรื่องประมูล 3 จี หลังหลายฝ่ายได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และท้วงติงว่า การประมูลดังกล่าวอาจเข้าข่ายผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) เนื่องจากกำหนดราคาตั้งต้นของการประมูลไว้ที่ 4,500 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยศึกษาไว้ว่าควรจะอยู่ที่ 6,440 ล้านบาท นอกจากนี้การประมูลยังมีลักษณะไม่เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง เพราะผู้ประมูลและจำนวนคลื่นมีเท่ากัน และหลังการประมูล ปรากฏว่า ราคาที่ประมูลเพิ่มขึ้นจากราคาตั้งต้นแค่ 2.78% ทำให้เอกชนทั้ง 3 รายที่เข้าร่วมประมูลเหมือนได้ลาภลอยจากส่วนต่างของราคาประมูลที่หายไป 16,335 ล้านบาทนั้น
ปรากฏว่า พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) ได้พยายามลดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมด้วยการออกมาบอกว่า ขณะนี้ยังไม่มีการให้ใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการรายใด โดยอยู่ระหว่างดำเนินการ และการให้ใบอนุญาตจะอยู่ภายใต้หลักการ 6 ข้อ คือ 1.ผู้รับใบอนุญาตต้องลดค่าบริการทั้งประเภทเสียงและข้อมูลบริการ 3 จี ลงไม่น้อยกว่า 15-20% จากอัตราค่าใช้บริการในปัจจุบัน 2.คุณภาพการให้บริการต้องเป็นไปตามประกาศ กสทช.อย่างเคร่งครัด 3.ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดทำแผนความรับผิดชอบต่อสังคม(ซีเอสอาร์) และแผนคุ้มครองผู้บริโภคก่อนเริ่มให้บริการ 4.มีการติดตามพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลให้ชัดเจน เพื่อประกอบการพิจารณาให้ใบอนุญาต 5.จะปรับปรุงกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและแก้ปัญหาของประชาชนให้ทันท่วงที และ 6.จะใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องเรียนและผู้ได้รับใบอนุญาตตามระเบียบของ กสทช.
ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้ออกมาชี้ว่า ที่ กสทช.จะให้ผู้รับใบอนุญาต 3 จี ลดค่าบริการลง 15-20% จากอัตราค่าบริการในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ประมาณ 899 บาทต่อเดือน ถือว่าไม่เพียงพอ เพราะต้นทุนของผู้ประกอบการจะลดลงทันทีอยู่แล้วเกิน 15% จากการไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐประมาณ 21-23% ของรายได้ โดยเปลี่ยนมาเป็นจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมอื่น 5.5% ของรายได้ และว่า แม้ กสทช.จะให้ผู้ประกอบการลดค่าบริการ 3 จี ลงได้ 20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า ราคาของไทยก็ยังแพงกว่าของต่างประเทศมาก สังเกตได้จาก ขณะนี้ที่ประเทศอินเดีย บริษัท แอร์ เทล คิดค่าบริการโทรศัพท์ 3 จี ซึ่งจำกัดปริมาณข้อมูลที่ 3.1 กิกะไบต์ ในราคาเพียง 340 บาทต่อเดือน
ส่วนกรณีที่นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานกลุ่มกรีน ได้ยื่นฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครอง ขอให้ศาลระงับการประมูล 3 จี ก่อนที่การประมูลจะมีขึ้นในวันที่ 16 ต.ค. เนื่องจากส่อผิด พ.ร.บ.ฮั้วนั้น ปรากฏว่า ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 22 ต.ค.ไม่รับคำฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า นายสุริยะใสไม่ใช่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาลฯ ในเวลานี้ แต่หากในอนาคต ผู้ฟ้องเห็นว่า กสทช.กระทำการใดใดให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะและละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ฟ้อง สามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลฯ ได้ ทั้งนี้ ศาลฯ ได้แนะว่า หากบุคคลใดเห็นว่า กสทช.ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ สามารถใช้สิทธิร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้
ซึ่งต่อมา นายสุริยะใส ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.เกี่ยวกับการประมูล 3 จี และขอให้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองพร้อมคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉินและคำร้องขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราว ด้านนายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน บอกว่า ต้องตรวจดูคำร้องก่อนว่าอยู่ในอำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินหรือไม่
ขณะที่ น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้ยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ตรวจสอบการประมูล 3 จี เช่นกัน ว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ฮั้วหรือไม่ เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจาก น.ส.สุมลแล้ว ยังมีผู้ร้องต่อ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบการประมูล 3 จีอีกจำนวนมาก เช่น นายสุริยะใส ,น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งร้องในนามส่วนตัว ,นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขิการคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ(ภตช.) ฯลฯ ซึ่งทางคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องนี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ทาง กสทช.ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการประมูล 3 จี ของตัวเองด้วยเช่นกัน จำนวน 5 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของ กสทช. โดยบอกว่าจะใช้เวลาตรวจสอบ 15 วัน แต่ภายหลังได้ปรับเปลี่ยนตัวคณะกรรมการใหม่และเพิ่มจำนวนเป็น 7 คน โดยลดตัวแทนของ กสทช.ให้น้อยลง แล้วนำคนนอกมาร่วมมากขึ้น เช่น จากสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักนายกรัฐมนตรี
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.บอกว่า ผลการพิจารณาของคณะทำงานชุดดังกล่าวจะถือเป็นเด็ดขาด หากคณะทำงานเห็นว่ามีการทุจริตจริง กทค.จะไม่อนุมัติใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการที่ถูกชี้ว่าผิด แต่หากพบว่าโปร่งใส กระบวนการต่างๆ จะเดินหน้าต่อไปตามเดิม โดยคาดว่า หากไม่มีข้อผิดพลาดใดใด อาจออกใบอนุญาต 3 จี ได้ในวันที่ 20 พ.ย.
เป็นที่น่าสังเกตว่า กรรมการ กสทช.บางคนที่เห็นว่า การประมูล 3 จี อาจผิด พ.ร.บ.ฮั้วตามที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์ เช่น น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช.เพื่อขอให้เรียกประชุม กสทช.เป็นการเร่งด่วนเพื่อพิจารณาเรื่องการประมูล 3 จี แต่ พล.อ.อ.ธเรศ ไม่สน โดยอ้างว่า การจะเรียกประชุมวาระพิเศษต้องดูความเหมาะสม เพราะกรรมการทุกคนต่างมีภารกิจส่วนตัว การเรียกประชุมวาระด่วน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของบอร์ดได้ พร้อมการันตีแทน กทค.ด้วยว่า ได้ดำเนินกระบวนการประมูล 3 จี อย่างเหมาะสมและชี้แจงข้อเท็จจริงแก่สื่อมวลชนแล้ว
4.ศาลฎีกา พิพากษายืนประหารชีวิตอดีต ส.ว. “สุขุม เชิดชื่น” คดีจ้างวานฆ่า พญ.นิชรี ด้านทนาย เล็งยื่นฎีกาขออภัยโทษ!
เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 2 และ พล.อ.ต.สมิทธ มะกรสาร บิดาของ พญ.นิชรี มะกรสาร อดีตวิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ตาย ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายธนศักดิ์ หรือใหม่ ยิ้มดี ,นายสราวุธ หรือตั๊ก ไชยสิงห์ ,นายชัชพัฒน์ หรือเซ้ง กิตติธนากร ,นายวิเชียร หรือม่อน กิตติธนากร และนายสุขุม หรือช้าง เชิดชื่น อดีตสมาชิกวุฒิสภา เป็นจำเลยที่ 1-5 ข้อหาจ้างวาน ใช้ และร่วมกันฆ่า พญ.นิชรี โดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน และกระทำผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนและใช้เอกสารราชการปลอม
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 15-25 ต.ค.2539 จำเลยที่ 3 และ 5 ได้ร่วมกันจ้างวานใช้ให้จำเลยที่ 1 ,2 และ 4 ร่วมกันฆ่าผู้ตาย โดยให้ค่าจ้าง 5 แสนบาท จากนั้น จำเลยที่ 1 ,2 และ 4 ได้ร่วมกันใช้อาวุธปืนสั้นออโตเมติกขนาด 11 มม.ของจำเลยที่ 3 ไปยิง พญ.นิชรี จำนวน 5 นัด จนถึงแก่ความตายขณะขับรถยนต์ออกจากบ้านพักย่านห้วยขวาง กทม. สาเหตุเกิดจากนายสุขุม จำเลยที่ 5 ขัดแย้งกับผู้ตายเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนโรจน์เสรีอนุสรณ์ เนื่องจากผู้ตายสั่งปลดจำเลยที่ 5 ออกจากผู้จัดการโรงเรียน กระทั่งเกิดคดีความฟ้องร้องกันทั้งทางแพ่งและอาญาหลายคดี นอกจากนี้มารดาผู้ตายยังถูกจำเลยที่ 5 หลอกให้มอบเงิน 200 ล้านบาท ไปซื้อที่ดินที่ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี จำนวน 100 ไร่ เพื่อทำสนามกอล์ฟ ทั้งที่ผู้ตายและบิดาคัดค้าน รวมทั้งยังขัดแย้งเรื่องธุรกิจบริษัท มิลเลียน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งจำเลยที่ 1 ,2 และ 4 รับสารภาพในชั้นสอบสวน แต่ให้การปฏิเสธในชั้นศาล ส่วนจำเลยที่ 5 ปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
ทั้งนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ,2 และ 4 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน แต่จำเลยให้การในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยทั้งสามไว้ตลอดชีวิต ส่วนจำเลยที่ 5 ซึ่งมีความผิดฐานจ้างวานใช้ให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ถือว่ามีความผิดเสมือนตัวการในการฆ่า ศาลให้ลงโทษประหารชีวิตสถานเดียว
อย่างไรก็ตาม จำเลยที่ 1 ,2 ,4 และ 5 ได้อุทธรณ์ ซึ่งต่อมา ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนเช่นกัน หลังจากนั้น จำเลยที่ 2 ,4 และ 5 ได้ยื่นฎีกาขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นฎีกา ขณะที่จำเลยที่ 3 เสียชีวิตระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 3 ออกจากสารบบความ
ด้านศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยที่ 2 และ 4 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายจริง โดยมีพยานที่เป็นคนดูต้นทางให้ และมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ติดต่อให้จำเลยทั้งสามร่วมกันฆ่าผู้ตาย ส่วนที่จำเลยอ้างว่า ถูกทำร้ายร่างกายเพื่อให้รับสารภาพนั้น ศาลเห็นว่า ฟังไม่ขึ้น เพราะในวันที่ตำรวจแถลงข่าวจับกุมจำเลยต่อหน้าสื่อมวลชน จำเลยสามารถร้องเรียนได้ แต่กลับไม่ร้องเรียนแต่อย่างใด
ส่วนจำเลยที่ 5 ได้จ้างวานให้จำเลยที่ 3 ไปจ้างวานให้พวกจำเลยก่อเหตุฆ่าผู้ตายหรือไม่นั้น ศาลเห็นว่า จ.ส.อ.เมตตา เต็มชำนาญ (ยศในขณะนั้น) และนายมงคล หรือหมง นกทอง ที่เป็นผู้ติดต่อให้จำเลยที่ 3 ไปจ้างวานพวกจำเลยให้ฆ่าผู้ตาย มีความสนิทสนมกับจำเลยที่ 5 เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์ของจำเลยอย่างละเอียดแล้ว ศาลจึงพิพากษายืน ให้จำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 2 และ 4 ส่วนจำเลยที่ 5 ให้ลงโทษประหารชีวิต
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังฟังคำพิพากษา นายสุขุม จำเลยที่ 5 ถึงกับน้ำตาซึม และโผเข้ากอดญาติๆ ที่เดินทางมาฟังคำพิพากษา โดยญาติๆ ถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ขณะที่ฝ่ายโจทก์ มีเพียงทนายความเท่านั้นที่มาฟังคำพิพากษา โดยนายฉัตรมงคล ชาติพงศธร ทนายความฝ่ายโจทก์ บอกว่า ขณะนี้ พล.อ.ต.สมิทธ และนางฉลวย มะกรสาร บิดาและมารดา พญ.นิชรี เสียชีวิตแล้ว และว่า คดีความที่ยื่นฟ้องนายสุขุม ยังมีคดีปลอมแปลงเอกสารการซื้อขายที่ดิน ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกนายสุขุม 8 ปี โดยคดีอยู่ระหว่างฎีกา ส่วนทรัพย์สินที่ถูกฉ้อฉลไปนั้น ติดตามกลับคืนมาได้แล้วเกือบ 30 ล้านบาท
ด้านนายศุภวิชญ์ กัณฑ์สุข ทนายความของจำเลย บอกว่า คดีจ้างวานฆ่าและร่วมกันฆ่า พญ.นิชรี ถือว่าถึงที่สุดแล้ว จากนี้จะยื่นฎีกาขออภัยโทษ ซึ่งจะต้องดำเนินการภายใน 60 วัน
1.โปรดเกล้าฯ ครม.“ยิ่งลักษณ์ 3” แล้ว -“จารุพงศ์” นั่ง มท.1 ด้าน “จตุพร” วืด รมต. !
เมื่อวันที่ 25 ต.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พูดถึงการปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.) “ยิ่งลักษณ์ 3” โดยยอมรับว่า ได้มีการนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เรียบร้อยแล้ว ส่วนเหตุผลที่ต้องปรับ ครม.เนื่องจากนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายธีระ วงศ์สมุทร ก็แจ้งขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากนี้พรรคร่วมรัฐบาลยังได้แจ้งความจำนงขอเปลี่ยนชื่อรัฐมนตรีด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังยืนยันด้วยว่า พอใจกับภาพของ ครม.ชุดใหม่ พร้อมย้ำว่า การปรับ ครม.ครั้งนี้ ไม่มีใบสั่ง ตนทำด้วยตัวเอง และปรับเพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
ทั้งนี้ มีรายงานว่า รายชื่อรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกอบด้วย 1.นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2.พล.ท.ชัจจ์ กุลดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 3.นายประชา ประสพดี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 4.นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 5. พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 6.นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 7.นายยุคล ลิ้มแหลมทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 8.นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ 9.นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ 10. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
11. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 12.นายประเสริฐ บุญชัยสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 13.นายฐานิสร์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 14. นายสนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 15.นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นรองนายกรัฐมนตรี 16.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 17. นายวราเทพ รัตนากร เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 18.น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ 19.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 20. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน 21.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 22.นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ 23.นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ล่าสุด วันนี้(28 ต.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่แล้ว โดยรายชื่อ ครม.ชุดใหม่ เป็นไปตามที่มีรายงานข่าว
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) พูดถึงกรณีที่ตนไม่มีชื่อเป็นรัฐมนตรีใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ว่า มีบุคคลหนึ่งมาบอกว่า จะไม่มีชื่อเป็นรัฐมนตรี เพราะหากได้รับตำแหน่ง ตำหนิต่างๆ ในชีวิตอาจกระทบต่อรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ทั้งที่คดีของตนไม่เกี่ยวข้องที่จะโยงไปสู่การยุบหรือไม่ยุบพรรคแต่อย่างใด ทั้งนี้ นายจตุพร ยอมรับว่า ขณะนี้หายอยากที่จะเป็นรัฐมนตรีแล้ว พร้อมย้ำว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เรื่องตำแหน่ง รวมทั้งไม่ได้รับเงินเพื่อแลกกับตำแหน่งตามที่มีข่าวแต่อย่างใด
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า แม้จะมีการปรับ ครม.ก็จะไม่กระทบต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยคาดว่าจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในวันที่ 26-27 พ.ย.และลงมติในวันที่ 28 พ.ย. พร้อมเชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์จะไม่หนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
2.“เฉลิม” เบรก “เสธ.อ้าย” ไม่อยู่ ยืนยัน ชุมนุมใหญ่ 28 ต.ค. ด้าน “พันธมิตรฯ” ให้กำลังใจ แต่ยังไม่พร้อมเข้าร่วม!
จากกรณีที่ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย ประธานเตรียมทหารรุ่น 1 ในฐานะประธานองค์กรพิทักษ์สยาม ได้ประกาศเมื่อวันที่ 20 ต.ค.ว่าจะจัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 28 ต.ค.ที่สนามม้านางเลิ้ง เพื่อเปิดเผยข้อมูลการทุจริตในโครงการต่างๆ ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เช่น โครงการรับจำนำข้าว ,การชดเชยเยียวยาน้ำท่วม การโยกย้ายข้าราชการแบบข้ามสายงาน รวมถึงการที่รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้มีการจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์
ปรากฏว่า เริ่มมีข่าวว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปพบ เสธ.อ้าย ในวันที่ 24 ต.ค.ท่ามกลางกระแสข่าวว่า ต้องการไปล็อบบี้ให้ เสธ.อ้าย ยกเลิกการชุมนุมในวันที่ 28 ต.ค. ทั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ยอมรับว่า จะเดินทางไปพบ เสธ.อ้าย จริง เพราะรักชอบพอกัน แต่ไม่ใช่ไปคุยเรื่องชุมนุม “จะซื้อห่านท่าดินแดงไปฝากท่าน 2 ตัว อยากถามอะไรก็บอกท่าน หรือไม่เข้าใจอะไรก็กราบเรียนท่าน ส่วนการชุมนุมวันที่ 28 คงไปห้ามไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิ แต่ต้องมีการดูแลให้เรียบร้อย”
ทั้งนี้ เสธ.อ้าย ให้สัมภาษณ์ก่อนรับประทานอาหารกับ ร.ต.อ.เฉลิม ที่เดินทางมาพบ โดยยืนยันว่า การชุมนุมของตนไม่ได้เชื่อมโยงกับบันได 5 ขั้นในการล้มรัฐบาลตามที่พรรคเพื่อไทยกล่าวอ้าง แต่ตนมี 2 ขั้น คือ วันที่ 28 ต.ค.กับอีก 1 วัน หากวันที่ 28 ต.ค.มีคนมาร่วมชุมนุมจำนวนมาก ก็จะจัดชุมนุมอีก 1 วัน เพื่อบอกรัฐบาลว่า ประชาชนไม่ต้องการรัฐบาลแล้ว แต่หากวันที่ 28 ต.ค.คนมาร่วมชุมนุมน้อย ทุกอย่างก็จะจบในวันที่ 28 ต.ค. เสธ.อ้าย ยังยืนยันความปลอดภัยในการชุมนุมวันที่ 28 ต.ค.ด้วย เพราะเป็นการชุมนุมในสถานที่ปิด และจะมีตำรวจมาดูแลความสงบเรียบร้อย 300 นาย
หลังรับประทานอาหารร่วมกันแล้วเสร็จ ร.ต.อ.เฉลิม เผยว่า บรรยากาศเป็นไปอย่างชื่นมื่น และไม่มีการคุยเรื่องการเมืองแต่อย่างใด พร้อมยืนยันว่า ในวันชุมนุม จะไม่มีมือที่สามก่อความไม่สงบอย่างแน่นอน ขณะที่ เสธ.อ้าย บอกว่า หากการชุมนุมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก จะมีการจัดขึ้นอีกครั้งในอีก 3 สัปดาห์ แต่เชื่อว่าจะไม่บานปลายนำไปสู่การชุมนุมที่ยืดเยื้อ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 ต.ค. องค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่ายได้เปิดแถลงยืนยันการชุมนุมในวันที่ 28 ต.ค.อีกครั้ง โดยใช้ชื่อว่า “รวมพล คนทนไม่ไหว หยุดวิกฤตและหายนะชาติ” โดยย้ำว่า จุดยืนของกลุ่ม คือทนไม่ไหวกับความฉ้อฉลคอร์รัปชั่นของรัฐบาล ปล่อยปละการล่วงละเมิดสถาบัน แทรกแซงกลไกราชการ สร้างรัฐตำรวจข่มขู่ประชาชน ไม่ยอมรับการตรวจสอบจากภาคประชาชน นักวิชาการ และฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จึงเห็นว่า การแสดงพลังของประชาชนเท่านั้นที่จะหยุดหายนะได้ และว่า การชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมที่ไร้สีและกลุ่มองค์กร พร้อมอยากให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมมากๆ เพื่อฟังข้อเท็จจริงความบกพร่องของรัฐบาล
ด้าน น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ 1 ในภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดการชุมนุม บอกว่า การชุมนุมครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่เปลี่ยนสนามม้าเป็นสนามกู้ชาติ พร้อมปฏิเสธว่า ตนไม่ได้เป็นอีแอบอยู่เบื้องหลังการต่อต้านรัฐบาล แต่ตนอยู่เบื้องหน้าเสมอ เพราะทำงานเพื่อชาติ ไม่เหมือนพวกอีแอบตัวจริงที่หนีคุกอยู่ต่างประเทศ กับคนที่ไปพบคนหนีคุกแล้วเดินเมาตามหลัง
ส่วนท่าทีของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อการชุมนุมใหญ่ขององค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่ายนั้น เมื่อวันที่ 22 ต.ค.แกนนำพันธมิตรฯ ได้ประชุมและออกแถลงการณ์ว่า พันธมิตรฯ ยังไม่พร้อมเข้าร่วมชุมนุมใหญ่ เนื่องจากพันธมิตรฯ มีจุดยืนจะชุมนุมใหญ่ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ คือ 1.เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือออกกฎหมาย ที่ชัดเจนว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์หรือลดพระราชอำนาจ 2.เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือออกกฎหมาย ที่ชัดเจนว่าจะนำไปสู่การนิรโทษกรรมให้กับ นช.ทักษิณ ชินวัตร และ 3.เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเข้าสู่สถานการณ์เหมาะสมที่ประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตาม พันธมิตรฯ เห็นว่า องค์กรพิทักษ์สยามเป็นองค์กรภาคประชาชนองค์กรหนึ่งที่หวังดีต่อประเทศชาติ ซึ่งควรให้กำลังใจ และเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญที่จะเข้าร่วมชุมนุมใหญ่กับองค์กรพิทักษ์สยามในวันที่ 28 ต.ค.ได้
3.ป.ป.ช.ตั้งอนุ กก.ไต่สวน 3 จี แล้ว ด้าน กทค.ยัน โปร่งใส พร้อมออกกฎเหล็กก่อนให้ใบอนุญาต!
ความคืบหน้าเรื่องประมูล 3 จี หลังหลายฝ่ายได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และท้วงติงว่า การประมูลดังกล่าวอาจเข้าข่ายผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) เนื่องจากกำหนดราคาตั้งต้นของการประมูลไว้ที่ 4,500 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยศึกษาไว้ว่าควรจะอยู่ที่ 6,440 ล้านบาท นอกจากนี้การประมูลยังมีลักษณะไม่เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง เพราะผู้ประมูลและจำนวนคลื่นมีเท่ากัน และหลังการประมูล ปรากฏว่า ราคาที่ประมูลเพิ่มขึ้นจากราคาตั้งต้นแค่ 2.78% ทำให้เอกชนทั้ง 3 รายที่เข้าร่วมประมูลเหมือนได้ลาภลอยจากส่วนต่างของราคาประมูลที่หายไป 16,335 ล้านบาทนั้น
ปรากฏว่า พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) ได้พยายามลดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมด้วยการออกมาบอกว่า ขณะนี้ยังไม่มีการให้ใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการรายใด โดยอยู่ระหว่างดำเนินการ และการให้ใบอนุญาตจะอยู่ภายใต้หลักการ 6 ข้อ คือ 1.ผู้รับใบอนุญาตต้องลดค่าบริการทั้งประเภทเสียงและข้อมูลบริการ 3 จี ลงไม่น้อยกว่า 15-20% จากอัตราค่าใช้บริการในปัจจุบัน 2.คุณภาพการให้บริการต้องเป็นไปตามประกาศ กสทช.อย่างเคร่งครัด 3.ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดทำแผนความรับผิดชอบต่อสังคม(ซีเอสอาร์) และแผนคุ้มครองผู้บริโภคก่อนเริ่มให้บริการ 4.มีการติดตามพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลให้ชัดเจน เพื่อประกอบการพิจารณาให้ใบอนุญาต 5.จะปรับปรุงกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและแก้ปัญหาของประชาชนให้ทันท่วงที และ 6.จะใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องเรียนและผู้ได้รับใบอนุญาตตามระเบียบของ กสทช.
ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้ออกมาชี้ว่า ที่ กสทช.จะให้ผู้รับใบอนุญาต 3 จี ลดค่าบริการลง 15-20% จากอัตราค่าบริการในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ประมาณ 899 บาทต่อเดือน ถือว่าไม่เพียงพอ เพราะต้นทุนของผู้ประกอบการจะลดลงทันทีอยู่แล้วเกิน 15% จากการไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐประมาณ 21-23% ของรายได้ โดยเปลี่ยนมาเป็นจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมอื่น 5.5% ของรายได้ และว่า แม้ กสทช.จะให้ผู้ประกอบการลดค่าบริการ 3 จี ลงได้ 20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า ราคาของไทยก็ยังแพงกว่าของต่างประเทศมาก สังเกตได้จาก ขณะนี้ที่ประเทศอินเดีย บริษัท แอร์ เทล คิดค่าบริการโทรศัพท์ 3 จี ซึ่งจำกัดปริมาณข้อมูลที่ 3.1 กิกะไบต์ ในราคาเพียง 340 บาทต่อเดือน
ส่วนกรณีที่นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานกลุ่มกรีน ได้ยื่นฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครอง ขอให้ศาลระงับการประมูล 3 จี ก่อนที่การประมูลจะมีขึ้นในวันที่ 16 ต.ค. เนื่องจากส่อผิด พ.ร.บ.ฮั้วนั้น ปรากฏว่า ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 22 ต.ค.ไม่รับคำฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า นายสุริยะใสไม่ใช่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาลฯ ในเวลานี้ แต่หากในอนาคต ผู้ฟ้องเห็นว่า กสทช.กระทำการใดใดให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะและละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ฟ้อง สามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลฯ ได้ ทั้งนี้ ศาลฯ ได้แนะว่า หากบุคคลใดเห็นว่า กสทช.ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ สามารถใช้สิทธิร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้
ซึ่งต่อมา นายสุริยะใส ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.เกี่ยวกับการประมูล 3 จี และขอให้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองพร้อมคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉินและคำร้องขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราว ด้านนายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน บอกว่า ต้องตรวจดูคำร้องก่อนว่าอยู่ในอำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินหรือไม่
ขณะที่ น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้ยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ตรวจสอบการประมูล 3 จี เช่นกัน ว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ฮั้วหรือไม่ เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจาก น.ส.สุมลแล้ว ยังมีผู้ร้องต่อ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบการประมูล 3 จีอีกจำนวนมาก เช่น นายสุริยะใส ,น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งร้องในนามส่วนตัว ,นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขิการคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ(ภตช.) ฯลฯ ซึ่งทางคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องนี้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ทาง กสทช.ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการประมูล 3 จี ของตัวเองด้วยเช่นกัน จำนวน 5 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของ กสทช. โดยบอกว่าจะใช้เวลาตรวจสอบ 15 วัน แต่ภายหลังได้ปรับเปลี่ยนตัวคณะกรรมการใหม่และเพิ่มจำนวนเป็น 7 คน โดยลดตัวแทนของ กสทช.ให้น้อยลง แล้วนำคนนอกมาร่วมมากขึ้น เช่น จากสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักนายกรัฐมนตรี
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.บอกว่า ผลการพิจารณาของคณะทำงานชุดดังกล่าวจะถือเป็นเด็ดขาด หากคณะทำงานเห็นว่ามีการทุจริตจริง กทค.จะไม่อนุมัติใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการที่ถูกชี้ว่าผิด แต่หากพบว่าโปร่งใส กระบวนการต่างๆ จะเดินหน้าต่อไปตามเดิม โดยคาดว่า หากไม่มีข้อผิดพลาดใดใด อาจออกใบอนุญาต 3 จี ได้ในวันที่ 20 พ.ย.
เป็นที่น่าสังเกตว่า กรรมการ กสทช.บางคนที่เห็นว่า การประมูล 3 จี อาจผิด พ.ร.บ.ฮั้วตามที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์ เช่น น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ และ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช.เพื่อขอให้เรียกประชุม กสทช.เป็นการเร่งด่วนเพื่อพิจารณาเรื่องการประมูล 3 จี แต่ พล.อ.อ.ธเรศ ไม่สน โดยอ้างว่า การจะเรียกประชุมวาระพิเศษต้องดูความเหมาะสม เพราะกรรมการทุกคนต่างมีภารกิจส่วนตัว การเรียกประชุมวาระด่วน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของบอร์ดได้ พร้อมการันตีแทน กทค.ด้วยว่า ได้ดำเนินกระบวนการประมูล 3 จี อย่างเหมาะสมและชี้แจงข้อเท็จจริงแก่สื่อมวลชนแล้ว
4.ศาลฎีกา พิพากษายืนประหารชีวิตอดีต ส.ว. “สุขุม เชิดชื่น” คดีจ้างวานฆ่า พญ.นิชรี ด้านทนาย เล็งยื่นฎีกาขออภัยโทษ!
เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 2 และ พล.อ.ต.สมิทธ มะกรสาร บิดาของ พญ.นิชรี มะกรสาร อดีตวิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ตาย ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายธนศักดิ์ หรือใหม่ ยิ้มดี ,นายสราวุธ หรือตั๊ก ไชยสิงห์ ,นายชัชพัฒน์ หรือเซ้ง กิตติธนากร ,นายวิเชียร หรือม่อน กิตติธนากร และนายสุขุม หรือช้าง เชิดชื่น อดีตสมาชิกวุฒิสภา เป็นจำเลยที่ 1-5 ข้อหาจ้างวาน ใช้ และร่วมกันฆ่า พญ.นิชรี โดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน และกระทำผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนและใช้เอกสารราชการปลอม
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 15-25 ต.ค.2539 จำเลยที่ 3 และ 5 ได้ร่วมกันจ้างวานใช้ให้จำเลยที่ 1 ,2 และ 4 ร่วมกันฆ่าผู้ตาย โดยให้ค่าจ้าง 5 แสนบาท จากนั้น จำเลยที่ 1 ,2 และ 4 ได้ร่วมกันใช้อาวุธปืนสั้นออโตเมติกขนาด 11 มม.ของจำเลยที่ 3 ไปยิง พญ.นิชรี จำนวน 5 นัด จนถึงแก่ความตายขณะขับรถยนต์ออกจากบ้านพักย่านห้วยขวาง กทม. สาเหตุเกิดจากนายสุขุม จำเลยที่ 5 ขัดแย้งกับผู้ตายเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนโรจน์เสรีอนุสรณ์ เนื่องจากผู้ตายสั่งปลดจำเลยที่ 5 ออกจากผู้จัดการโรงเรียน กระทั่งเกิดคดีความฟ้องร้องกันทั้งทางแพ่งและอาญาหลายคดี นอกจากนี้มารดาผู้ตายยังถูกจำเลยที่ 5 หลอกให้มอบเงิน 200 ล้านบาท ไปซื้อที่ดินที่ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี จำนวน 100 ไร่ เพื่อทำสนามกอล์ฟ ทั้งที่ผู้ตายและบิดาคัดค้าน รวมทั้งยังขัดแย้งเรื่องธุรกิจบริษัท มิลเลียน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งจำเลยที่ 1 ,2 และ 4 รับสารภาพในชั้นสอบสวน แต่ให้การปฏิเสธในชั้นศาล ส่วนจำเลยที่ 5 ปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
ทั้งนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ,2 และ 4 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน แต่จำเลยให้การในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยทั้งสามไว้ตลอดชีวิต ส่วนจำเลยที่ 5 ซึ่งมีความผิดฐานจ้างวานใช้ให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ถือว่ามีความผิดเสมือนตัวการในการฆ่า ศาลให้ลงโทษประหารชีวิตสถานเดียว
อย่างไรก็ตาม จำเลยที่ 1 ,2 ,4 และ 5 ได้อุทธรณ์ ซึ่งต่อมา ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนเช่นกัน หลังจากนั้น จำเลยที่ 2 ,4 และ 5 ได้ยื่นฎีกาขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นฎีกา ขณะที่จำเลยที่ 3 เสียชีวิตระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 3 ออกจากสารบบความ
ด้านศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยที่ 2 และ 4 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายจริง โดยมีพยานที่เป็นคนดูต้นทางให้ และมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ติดต่อให้จำเลยทั้งสามร่วมกันฆ่าผู้ตาย ส่วนที่จำเลยอ้างว่า ถูกทำร้ายร่างกายเพื่อให้รับสารภาพนั้น ศาลเห็นว่า ฟังไม่ขึ้น เพราะในวันที่ตำรวจแถลงข่าวจับกุมจำเลยต่อหน้าสื่อมวลชน จำเลยสามารถร้องเรียนได้ แต่กลับไม่ร้องเรียนแต่อย่างใด
ส่วนจำเลยที่ 5 ได้จ้างวานให้จำเลยที่ 3 ไปจ้างวานให้พวกจำเลยก่อเหตุฆ่าผู้ตายหรือไม่นั้น ศาลเห็นว่า จ.ส.อ.เมตตา เต็มชำนาญ (ยศในขณะนั้น) และนายมงคล หรือหมง นกทอง ที่เป็นผู้ติดต่อให้จำเลยที่ 3 ไปจ้างวานพวกจำเลยให้ฆ่าผู้ตาย มีความสนิทสนมกับจำเลยที่ 5 เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์ของจำเลยอย่างละเอียดแล้ว ศาลจึงพิพากษายืน ให้จำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 2 และ 4 ส่วนจำเลยที่ 5 ให้ลงโทษประหารชีวิต
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังฟังคำพิพากษา นายสุขุม จำเลยที่ 5 ถึงกับน้ำตาซึม และโผเข้ากอดญาติๆ ที่เดินทางมาฟังคำพิพากษา โดยญาติๆ ถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ขณะที่ฝ่ายโจทก์ มีเพียงทนายความเท่านั้นที่มาฟังคำพิพากษา โดยนายฉัตรมงคล ชาติพงศธร ทนายความฝ่ายโจทก์ บอกว่า ขณะนี้ พล.อ.ต.สมิทธ และนางฉลวย มะกรสาร บิดาและมารดา พญ.นิชรี เสียชีวิตแล้ว และว่า คดีความที่ยื่นฟ้องนายสุขุม ยังมีคดีปลอมแปลงเอกสารการซื้อขายที่ดิน ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุกนายสุขุม 8 ปี โดยคดีอยู่ระหว่างฎีกา ส่วนทรัพย์สินที่ถูกฉ้อฉลไปนั้น ติดตามกลับคืนมาได้แล้วเกือบ 30 ล้านบาท
ด้านนายศุภวิชญ์ กัณฑ์สุข ทนายความของจำเลย บอกว่า คดีจ้างวานฆ่าและร่วมกันฆ่า พญ.นิชรี ถือว่าถึงที่สุดแล้ว จากนี้จะยื่นฎีกาขออภัยโทษ ซึ่งจะต้องดำเนินการภายใน 60 วัน