โปรดเกล้าฯ แล้ว ครม.ปู3 ตามโผ "สุรพงษ์” ควบรองนายกฯ “พงศ์เทพ” รองนายกฯ ควบ รมว.ศธ. “ศันสนีย์-วราเทพ” สำนักนายกฯ “ยุคล” เกษตรฯ “ศิริวัฒน์-อำมาตย์เต้น” สลับเก้าอี้ “ชัชชาติ” คุมคมนาคม "เฮียเพ้ง" พลังงาน "จารุพงศ์" คว้า มท.1 "ชัจจ์-ประชา" รมช.มหาดไทย "ภูมิธรรม" วืดแต่พร้อมเป็นเลขาพรรค แกนนำแดงยังข้องใจ "ตู่" วืด จี้นายกฯ เคลียร์ "สวนดุสิตโพล" เชลียร์รัฐบาลจะมีเสถียรภาพมากขึ้น
วานนี้ (28 ต.ค.) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เรื่องประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 และแต่งตั้งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ตามประกาศลงวันที่ 9 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 และประกาศครั้งสุดท้ายลงวันที่ 18 มกราคม พุทธศักราช 2555 นั้น บัดนี้ นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลว่า ได้มีรัฐมนตรีลาออกบางตำแหน่ง สมควรปรับปรุงรัฐมนตรีบางตำแหน่ง เพื่อความเหมาะสม และบังเกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 และมาตรา 183 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
1 . ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี, นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, นางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, นายภูมิ สาระผล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข, หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
2 . ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง , นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นรองนายกรัฐมนตรี, นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ , นายวราเทพ รัตนากร เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , นายยุคล ลิ้มแหลมทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม , พลเอกพฤณท์ สุวรรณทัต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม , นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ , นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย , พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย , นายประชา ประสพดี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายสนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายชลน่าน ศรีแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข,นายประเสริฐ บุญชัยสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ นายฐานิสร์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2555 เป็นปีที่ 67 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
** รมต.ใหม่ 14 คน สลับเก้าอี้ 9 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ มีรัฐมนตรีใหม่ 14 คน ประกอบด้วยประกอบด้วย 1.นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯและรมว.ศึกษาธิการ 2.นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ 3.น.ส. ศันสนีย์ นาคพงศ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ 4.นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รมว.เกษตรฯ 5.นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รมช.เกษตรฯ 6.พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม 7.นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมช.คมนาคม 8.นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน 9.นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย 10.นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม 11.นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ 12.นายประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข 13.นายชลน่าน ศรีแก้ว รมช.สาธารณสุข 14.นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม
ส่วนรัฐมนตรีที่สลับโยกย้ายทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย 1.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯและรมว.การต่างประเทศ 2.นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ 3.นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.เกษตรฯ 4.นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม 5.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 6.นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย 7.พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.มหาดไทย 8.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล 9.นายฐานิสร์ เทียนทอง รมช.อุตสาหกรรม
**หากนายกฯจริงใจต้องเคลียร์
จากกรณี นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวถึงการปรับ ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ว่า มีอำนาจพิเศษสกัดกั้นไม่ให้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช.ได้เป็นรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคนกันเองที่ขัดขวาง ทิ่มแทงกัน นอกจากนี้ ยังมีความพยายามจะเขี่ย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ออกจากการเป็นโฆษกพรรค ทั้งๆ ที่ตนมองไม่เห็นใครดีกว่า และนายพร้อมพงศ์ ก็ต่อสู้กับพรรคมานาน ไม่เหมือนคนบางคนที่ตอนยึดอำนาจก็โดดหนีเอาตัวรอดไปดื้อๆ พอชนะก็กลับมาเสนอหน้าแบบไม่อาย จึงอยากเตือน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เก่งด้านการบริหารประเทศ แต่อาจไม่เก่งเรื่องการเมืองเท่าไร ให้ระวังคนใกล้ชิดชื่อย่อ “ส.” จะเป็นคนที่มาทำลายพรรค มากกว่าจะมาช่วยเหลือพรรค
นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวถึง ส.ส.เพื่อไทย กลุ่มเสื้อแดงหลายคน ออกมาตั้งข้อสังเกตุ ต่อนายกรัฐมนตรีหลังจากนายจตุพร พลาดตำแหน่งรัฐมนตรีว่า เชื่อว่าปัญหาในพรรคคงไม่มี แต่อาจเกิดความเข้าใจผิดกันได้ ระหว่างคนเสื้อแดงกับรัฐบาล
ทั้งนี้ เมื่อดูตามคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ นายจตุพร มีสิทธิเป็นรัฐมนตรีได้ นายจตุพร เป็นแกนนำเสื้อแดง สามารถบริหารได้ทั้งงานในกระทรวงและงานมวลชน แต่เรื่องที่ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี คงไปขัดตา ขัดใจใครบางคน แล้วทำตัวเป็นอำมาตย์เสียเอง เลยขวางไม่ให้นายจตุพรเป็นรัฐมนตรี
ส่วนที่ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ และแกนนำเสื้อแดง เรียกร้องให้นายกฯ ออกมาอธิบายเรื่องนี้นั้น หากนายกฯมีความจริงใจ ก็ควรออกมาพูดบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปเค้นให้ท่านต้องตอบให้ได้ คนเสื้อแดงมีความอดทน แต่เรื่องนี้อาจเกิดความน้อยใจบ้าง หากท่านตอบได้ก็ตอบ ตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นอะไร แต่สักวันคงเข้าใจว่าใครเป็นนักต่อสู้ ใครเป็นของแท้ ของจริงที่คอยช่วยเหลือประชาชนจริง
เมื่อถามว่ามีกระแสข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางมาเมืองท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนด้าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ช่วงเดือนพ.ย.นี้ นพ.เชิดชัย กล่าว่า ได้ยินข่าวนี้มาเหมือนกัน และมีเพื่อนส.ส.ชักชวนให้ไปหา หากไปได้ก็ดี เพราะไม่ได้เจอกันนาน และเข้าใจว่าที่ท่านมา เพราะคิดถึงบ้าน แม้จะยังเข้าประเทศไม่ได้ เลยมาแวะ มาเยี่ยมๆ มองๆ คิดว่าคงจะมีส.ส.และคนเสื้อแดงคงเดินทางไปหาท่านอย่างแน่นอน
**เชื่อสามารถปรับความเข้าใจกันได้
นายภูมิธรรม เวชยชัย ผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ก่อนการเข้าร่วมสัมมนา สมาชิกพรรคเพื่อไทย ที่โบนันซ่า เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา โดยกล่าวถึงกรณีที่คนเสื้อแดงต้องการให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคลียร์ใจกับกลุ่มคนเสื้อแดง จากเหตุที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่มีชื่อร่วมเป็นรัฐมนตรีชุดใหม่ ว่า เป็นเรื่องปกติของการจัดสรรตำแหน่งที่จะต้องมีปัญหาบ้าง เพราะตำแหน่งมีน้อย การที่จะให้ได้ตำแหน่งกับทุกคน เป็นเรื่องยาก ทั้งนี้โดยหลักการไม่สามารถสร้างความพอใจให้ทุกคนได้ อาจมีคนไม่สบายใจบ้าง แต่ต้องค่อยๆ ปรับ เพื่อความเข่้าใจที่ตรงกัน ส่วนการประชุมใหญ่วิสามัญ พรรคเพื่อไทย วันที่ 30 ต.ค. นี้ เพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรค ตนมองว่า เป็นเรื่องสำคัญของพรรคมากกว่าการเคลียร์ใจเรื่องตำแหน่ง
เมื่อถามถึงกรณีที่มีการเปิดเผยว่ามีคนใกล้ชิดนายกฯ ชื่อย่อ "ส." เตะตัดขา นายจตุพร ไม่ให้เป็นรัฐมนตรี นายภูมิธรรม กล่าวว่า ตนไม่รู้ว่าเป็นใคร แต่เชื่อได้ว่าไม่มีใครอยากกีดกันคนเสื้อแดง ส่วนเรื่องชื่อย่อ ส. หากใครฟังอาจเข้าใจผิดได้ ดังนั้น ต้องมีการพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจกัน ซึ่งเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะทุกคนต้องมองปัญหาพื้นฐานและภารกิจครั้งนี้ เมื่อทำงานไปสักระยะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม โดยนายกฯ เป็นคนที่ตัดสินใจเอง
** "ภูมิธรรม" พร้อมนั่งเลขาพรรค
เมื่อถามว่าจะมีการปรับ ครม. เร็วๆ นี้ อีกครั้งใช่หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติ โดยนายกฯ จะเอาปัญหาเป็นที่ตั้ง โดยไม่มีเรื่องโควต้า หรือ สัดส่วน ส่วนการปรับ ครม. นายจตุพร มีตำแหน่งหรือไม่ พูดแบบนั้นไม่ได้ เพราะนายกฯ จะเป็นคนดูเอง ไม่ว่าอะไรที่เป็นปัญหาก็ต้องปรับ
เมื่อถามถึงหน้าตาของ ครม. ชุดใหม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า เมื่อดูจากนักวิชาการ สื่อมวลชน พบว่าส่วนใหญ่มองว่า การตั้งบุคลากรเข้ามาทำงาน เป็นคนที่มีประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถกำหนดกรอบให้ ครม. ชุดใหม่ทำงานได้ แต่เมื่อเริ่มนับหนึ่งแล้ว ทุกคนคงประเมินตัวเองได้
เมื่อถามว่าที่หน้าตา ครม. ออกมาดี เพราะไม่มีคนนามสกุล ชินวัตร หรือ ดามาพงศ์ อยู่ด้วยใช่หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับตระกูลใด เพราะนายก จัดสรรคนที่มีความสามารถและทำงานในหน้าที่นั้นได้
อย่างไรก็ตาม หลังการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ในวันที่ 30 ต.ค.นี้ เชื่อว่าพรรคจะมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงโครงสร้างพรรคจะมีการปรับเปลี่ยนโดยให้ นักวิชาการที่น่าเชื่อถือ และอดีตคนบ้านเลขที่ 111 เข้ามานั่งทำงานในคณะทำงานชุดต่างๆ ส่วนที่มีข่าวว่าพรรคจะเลือกตน เป็นเลขาธิการพรรค ตนก็มีความพร้อม ส่วนการลงคะแนน จะเป็นการให้ ส.ส. และสมาชิกพรรคโหวตแบบลับ
**กรณี"ตู่" เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการปรับครม. ครั้งที่ 3 ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าเป็นการตอบแทนกันเรื่องผลประโยชน์บุคคล ไม่ใช่เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารประเทศของรัฐบาล เพราะหลายตำแหน่งที่ปรับออก กระทบความต่อเนื่องในการทำงาน เช่น กระทรวงศึกษาธิการ หากกระแสข่าวเป็นจริงก็เท่ากับว่ามีการเปลี่ยนรัฐมนตรีถึง 3 คน ภายในเวลาแค่ 1 ปี 2 เดือน ทั้งที่นโยบายการศึกษา เป็นนโยบายระยะยาวที่มีความสำคัญ นอกจากนี้ การปรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ที่มีหน้าที่ดูแลสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็จะกระทบความต่อเนื่องในการคลี่คลายปัญหา
" ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของนายกฯ ที่อ้างหลักการปรับ ครม.เพื่อให้ได้หาประสบการณ์ เพราะไม่ใช่วิธีคิดที่ถูกต้องในการบริหาร โดยคนที่เป็นรัฐมนตรีควรมีความพร้อมในการทำงาน ไม่ใช่ไปสร้างประสบการณ์ในตำแหน่งซึ่งทำให้เสียเวลาไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพราะบ้านเมืองตอนนี้ประสบปัญหาหลายอย่างที่ต้องเร่งดำเนินการหลายเรื่อง จึงอยากให้มีการสำรวจความคิดเห็นประชาชนว่าการปรับคณะรัฐมนตรีจะทำให้การบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่ และประชาชนได้อะไรจากการปรับ ครม.ครั้งนี้"
ส่วนเรื่องแรงกระเพื่อมภายในพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดง กรณีนายจตุพรไม่ได้ตำแหน่งในครม.นั้น เห็นว่าเป็นเรื่องความขัดแย้งการจัดสรรผลประโยชน์ภายในพรรค ซึ่งในที่สุดแล้วคาดว่าจะมีการจัดการภายในพรรคเพื่อไทยได้ เพราะนายจตุพร ระบุว่าที่ผ่านมาเป็นเพียงละคร แต่ตัวเองกลับเล่นจริงนั้น หวังว่าคนเสื้อแดงจะได้ฉุกคิดหลายอย่าง ถึงเหตุการณ์ความวุ่นวายที่ผ่านมา เพราะความจริงที่ปรากฏ ทั้งเรื่องชายชุดดำ วิถีกระสุน ซึ่งมีการบิดเบือนมาโดยตลอด ก็เริ่มปรากฏช้อเท็จจริงมากขึ้น และสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาทั้งหมดมีต้นตอจากความต้องการของคนๆ เดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่บงการอยู่ฉากหลังของละครเรื่องนี้
** โพลชี้ปรับครม.รัฐบาลมีเสถียรภาพขึ้น
วานนี้ (28 ต.ค.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ถึงการปรับคณะรัฐมนตรีรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จำนวน 1,521 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง 32.64 % ระบุว่า เป็นเรื่องปกติทางการเมือง เป็นการปรับเพื่อให้รัฐบาลทำงานได้ดีขึ้น ได้ผู้ที่มีความรู้ เหมาะสมเข้ามาทำงาน 24.09 % ระบุว่า ไม่ว่าจะปรับกี่ครั้งการเมืองไทยก็เหมือนเดิม นักการเมืองนึกถึงแต่อำนาจและผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว อีก 20.68 % ระบุว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง ต้องการตอบแทนบุญคุณ 13.30 % ระบุว่า ส่งผลให้การทำงานของรัฐบาลหยุดชะงัก ไม่ต่อเนื่อง รมต.ใหม่ต้องมาเรียนรู้ ศึกษางานใหม่ และ 9.29% ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น การปรับ ครม.ครั้งนี้ได้รับการยอมรับมากกว่าครั้งที่แล้ว
เมื่อถามว่า การปรับ ครม.ครั้งนี้ มีผลดีต่อพรรคเพื่อไทย อย่างไร 39.54 % ระบุว่า รัฐบาลน่าจะมีเสถียรภาพ ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น 35.60 % ระบุว่าได้ผู้ที่มีความรู้ เหมาะสมเข้ามาทำงาน และ 24.86 % ระบุว่า ช่วยลดกระแส ลดแรงเสียดทานภายในพรรคและจากสังคม และเมื่อถามถึงผลเสียต่อพรรคเพื่อไทย 43.46 % ระบุว่าอาจเกิดความขัดแย้งเพราะมีผู้พลาดตำแหน่งและผู้ที่ถูกปรับออก 33.29 % ระบุว่าการทำงานหยุดชะงัก ไม่ต่อเนื่อง เสียเวลา เสียงบประมาณ และ 23.25 % ระบุว่า ถูกมองว่าการปรับครั้งนี้เป็นการตอบแทนผลประโยชน์
เมื่อถามว่า การปรับ ครม.ครั้งนี้ มีผลดีต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างไร 50.45 % ระบุว่า ทำหน้าที่แทนประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลต่อไป 32.41 % ระบุว่า ได้รู้ข้อบกพร่องในการทำงานของรัฐบาล และ 17.14 % ระบุว่ามีประเด็น มีข้อมูลในการอภิปรายเพิ่มมากขึ้น และเมื่อถามถึงผลเสียต่อพรรคประชาธิปัตย์ 45.08% ระบุว่าหากรัฐบาลทำงานได้ดีขึ้นอาจทำให้พรรคประชาธิปัตย์ค้านยากขึ้น 32.77 % ระบุว่ามีผลกระทบต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และ 22.15% ระบุว่าต้องหาข้อมูล ข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนมาอภิปราย
ส่วนประเด็นที่ว่า การปรับ ครม.ครั้งนี้มีผลดีต่อประชาชนอย่างไร 48.53 % ระบุว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่น และมั่นใจว่ารัฐบาลจะทำงานได้ดีขึ้น อีก 34.62 % ระบุว่า ได้คนเก่งมีความรู้ความสามารถมาช่วยพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น และ 16.85% ระบุว่า ได้รับการยอมรับมากขึ้น ลดกระแสความขัดแย้งในสังคม
เมื่อถามถึงผลเสียต่อประชาชน กลุ่มตัวอย่าง 51.23 % ระบุว่า ทำให้ประชาชนเบื่อหน่าย มีแต่การทะเลาะเบาะแว้งขัดแย้งกัน อีก 30.16 % ระบุว่า รู้สึกกังวล กลัวว่าจะเกิดความวุ่นวายทางการเมือง และ 18.61 % ระบุว่า การช่วยเหลือประชาชนอาจหยุดชะงัก รมต. ต้องมาเรียนรู้ใหม่.
วานนี้ (28 ต.ค.) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เรื่องประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 และแต่งตั้งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ตามประกาศลงวันที่ 9 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 และประกาศครั้งสุดท้ายลงวันที่ 18 มกราคม พุทธศักราช 2555 นั้น บัดนี้ นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลว่า ได้มีรัฐมนตรีลาออกบางตำแหน่ง สมควรปรับปรุงรัฐมนตรีบางตำแหน่ง เพื่อความเหมาะสม และบังเกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 และมาตรา 183 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
1 . ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี, นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, นางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, นายภูมิ สาระผล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข, หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
2 . ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง , นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นรองนายกรัฐมนตรี, นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ , นายวราเทพ รัตนากร เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , นายยุคล ลิ้มแหลมทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม , พลเอกพฤณท์ สุวรรณทัต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม , นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ , นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย , พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย , นายประชา ประสพดี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายสนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายชลน่าน ศรีแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข,นายประเสริฐ บุญชัยสุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ นายฐานิสร์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2555 เป็นปีที่ 67 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
** รมต.ใหม่ 14 คน สลับเก้าอี้ 9 คน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ มีรัฐมนตรีใหม่ 14 คน ประกอบด้วยประกอบด้วย 1.นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯและรมว.ศึกษาธิการ 2.นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ 3.น.ส. ศันสนีย์ นาคพงศ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ 4.นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รมว.เกษตรฯ 5.นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รมช.เกษตรฯ 6.พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม 7.นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมช.คมนาคม 8.นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน 9.นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย 10.นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม 11.นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ 12.นายประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข 13.นายชลน่าน ศรีแก้ว รมช.สาธารณสุข 14.นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม
ส่วนรัฐมนตรีที่สลับโยกย้ายทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย 1.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯและรมว.การต่างประเทศ 2.นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ 3.นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.เกษตรฯ 4.นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม 5.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 6.นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย 7.พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.มหาดไทย 8.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล 9.นายฐานิสร์ เทียนทอง รมช.อุตสาหกรรม
**หากนายกฯจริงใจต้องเคลียร์
จากกรณี นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวถึงการปรับ ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ว่า มีอำนาจพิเศษสกัดกั้นไม่ให้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช.ได้เป็นรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคนกันเองที่ขัดขวาง ทิ่มแทงกัน นอกจากนี้ ยังมีความพยายามจะเขี่ย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ออกจากการเป็นโฆษกพรรค ทั้งๆ ที่ตนมองไม่เห็นใครดีกว่า และนายพร้อมพงศ์ ก็ต่อสู้กับพรรคมานาน ไม่เหมือนคนบางคนที่ตอนยึดอำนาจก็โดดหนีเอาตัวรอดไปดื้อๆ พอชนะก็กลับมาเสนอหน้าแบบไม่อาย จึงอยากเตือน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เก่งด้านการบริหารประเทศ แต่อาจไม่เก่งเรื่องการเมืองเท่าไร ให้ระวังคนใกล้ชิดชื่อย่อ “ส.” จะเป็นคนที่มาทำลายพรรค มากกว่าจะมาช่วยเหลือพรรค
นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวถึง ส.ส.เพื่อไทย กลุ่มเสื้อแดงหลายคน ออกมาตั้งข้อสังเกตุ ต่อนายกรัฐมนตรีหลังจากนายจตุพร พลาดตำแหน่งรัฐมนตรีว่า เชื่อว่าปัญหาในพรรคคงไม่มี แต่อาจเกิดความเข้าใจผิดกันได้ ระหว่างคนเสื้อแดงกับรัฐบาล
ทั้งนี้ เมื่อดูตามคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ นายจตุพร มีสิทธิเป็นรัฐมนตรีได้ นายจตุพร เป็นแกนนำเสื้อแดง สามารถบริหารได้ทั้งงานในกระทรวงและงานมวลชน แต่เรื่องที่ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี คงไปขัดตา ขัดใจใครบางคน แล้วทำตัวเป็นอำมาตย์เสียเอง เลยขวางไม่ให้นายจตุพรเป็นรัฐมนตรี
ส่วนที่ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ และแกนนำเสื้อแดง เรียกร้องให้นายกฯ ออกมาอธิบายเรื่องนี้นั้น หากนายกฯมีความจริงใจ ก็ควรออกมาพูดบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปเค้นให้ท่านต้องตอบให้ได้ คนเสื้อแดงมีความอดทน แต่เรื่องนี้อาจเกิดความน้อยใจบ้าง หากท่านตอบได้ก็ตอบ ตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นอะไร แต่สักวันคงเข้าใจว่าใครเป็นนักต่อสู้ ใครเป็นของแท้ ของจริงที่คอยช่วยเหลือประชาชนจริง
เมื่อถามว่ามีกระแสข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางมาเมืองท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนด้าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ช่วงเดือนพ.ย.นี้ นพ.เชิดชัย กล่าว่า ได้ยินข่าวนี้มาเหมือนกัน และมีเพื่อนส.ส.ชักชวนให้ไปหา หากไปได้ก็ดี เพราะไม่ได้เจอกันนาน และเข้าใจว่าที่ท่านมา เพราะคิดถึงบ้าน แม้จะยังเข้าประเทศไม่ได้ เลยมาแวะ มาเยี่ยมๆ มองๆ คิดว่าคงจะมีส.ส.และคนเสื้อแดงคงเดินทางไปหาท่านอย่างแน่นอน
**เชื่อสามารถปรับความเข้าใจกันได้
นายภูมิธรรม เวชยชัย ผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ก่อนการเข้าร่วมสัมมนา สมาชิกพรรคเพื่อไทย ที่โบนันซ่า เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา โดยกล่าวถึงกรณีที่คนเสื้อแดงต้องการให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคลียร์ใจกับกลุ่มคนเสื้อแดง จากเหตุที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่มีชื่อร่วมเป็นรัฐมนตรีชุดใหม่ ว่า เป็นเรื่องปกติของการจัดสรรตำแหน่งที่จะต้องมีปัญหาบ้าง เพราะตำแหน่งมีน้อย การที่จะให้ได้ตำแหน่งกับทุกคน เป็นเรื่องยาก ทั้งนี้โดยหลักการไม่สามารถสร้างความพอใจให้ทุกคนได้ อาจมีคนไม่สบายใจบ้าง แต่ต้องค่อยๆ ปรับ เพื่อความเข่้าใจที่ตรงกัน ส่วนการประชุมใหญ่วิสามัญ พรรคเพื่อไทย วันที่ 30 ต.ค. นี้ เพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรค ตนมองว่า เป็นเรื่องสำคัญของพรรคมากกว่าการเคลียร์ใจเรื่องตำแหน่ง
เมื่อถามถึงกรณีที่มีการเปิดเผยว่ามีคนใกล้ชิดนายกฯ ชื่อย่อ "ส." เตะตัดขา นายจตุพร ไม่ให้เป็นรัฐมนตรี นายภูมิธรรม กล่าวว่า ตนไม่รู้ว่าเป็นใคร แต่เชื่อได้ว่าไม่มีใครอยากกีดกันคนเสื้อแดง ส่วนเรื่องชื่อย่อ ส. หากใครฟังอาจเข้าใจผิดได้ ดังนั้น ต้องมีการพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจกัน ซึ่งเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะทุกคนต้องมองปัญหาพื้นฐานและภารกิจครั้งนี้ เมื่อทำงานไปสักระยะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม โดยนายกฯ เป็นคนที่ตัดสินใจเอง
** "ภูมิธรรม" พร้อมนั่งเลขาพรรค
เมื่อถามว่าจะมีการปรับ ครม. เร็วๆ นี้ อีกครั้งใช่หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติ โดยนายกฯ จะเอาปัญหาเป็นที่ตั้ง โดยไม่มีเรื่องโควต้า หรือ สัดส่วน ส่วนการปรับ ครม. นายจตุพร มีตำแหน่งหรือไม่ พูดแบบนั้นไม่ได้ เพราะนายกฯ จะเป็นคนดูเอง ไม่ว่าอะไรที่เป็นปัญหาก็ต้องปรับ
เมื่อถามถึงหน้าตาของ ครม. ชุดใหม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า เมื่อดูจากนักวิชาการ สื่อมวลชน พบว่าส่วนใหญ่มองว่า การตั้งบุคลากรเข้ามาทำงาน เป็นคนที่มีประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถกำหนดกรอบให้ ครม. ชุดใหม่ทำงานได้ แต่เมื่อเริ่มนับหนึ่งแล้ว ทุกคนคงประเมินตัวเองได้
เมื่อถามว่าที่หน้าตา ครม. ออกมาดี เพราะไม่มีคนนามสกุล ชินวัตร หรือ ดามาพงศ์ อยู่ด้วยใช่หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับตระกูลใด เพราะนายก จัดสรรคนที่มีความสามารถและทำงานในหน้าที่นั้นได้
อย่างไรก็ตาม หลังการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ในวันที่ 30 ต.ค.นี้ เชื่อว่าพรรคจะมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงโครงสร้างพรรคจะมีการปรับเปลี่ยนโดยให้ นักวิชาการที่น่าเชื่อถือ และอดีตคนบ้านเลขที่ 111 เข้ามานั่งทำงานในคณะทำงานชุดต่างๆ ส่วนที่มีข่าวว่าพรรคจะเลือกตน เป็นเลขาธิการพรรค ตนก็มีความพร้อม ส่วนการลงคะแนน จะเป็นการให้ ส.ส. และสมาชิกพรรคโหวตแบบลับ
**กรณี"ตู่" เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการปรับครม. ครั้งที่ 3 ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าเป็นการตอบแทนกันเรื่องผลประโยชน์บุคคล ไม่ใช่เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารประเทศของรัฐบาล เพราะหลายตำแหน่งที่ปรับออก กระทบความต่อเนื่องในการทำงาน เช่น กระทรวงศึกษาธิการ หากกระแสข่าวเป็นจริงก็เท่ากับว่ามีการเปลี่ยนรัฐมนตรีถึง 3 คน ภายในเวลาแค่ 1 ปี 2 เดือน ทั้งที่นโยบายการศึกษา เป็นนโยบายระยะยาวที่มีความสำคัญ นอกจากนี้ การปรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ที่มีหน้าที่ดูแลสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็จะกระทบความต่อเนื่องในการคลี่คลายปัญหา
" ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของนายกฯ ที่อ้างหลักการปรับ ครม.เพื่อให้ได้หาประสบการณ์ เพราะไม่ใช่วิธีคิดที่ถูกต้องในการบริหาร โดยคนที่เป็นรัฐมนตรีควรมีความพร้อมในการทำงาน ไม่ใช่ไปสร้างประสบการณ์ในตำแหน่งซึ่งทำให้เสียเวลาไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพราะบ้านเมืองตอนนี้ประสบปัญหาหลายอย่างที่ต้องเร่งดำเนินการหลายเรื่อง จึงอยากให้มีการสำรวจความคิดเห็นประชาชนว่าการปรับคณะรัฐมนตรีจะทำให้การบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่ และประชาชนได้อะไรจากการปรับ ครม.ครั้งนี้"
ส่วนเรื่องแรงกระเพื่อมภายในพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดง กรณีนายจตุพรไม่ได้ตำแหน่งในครม.นั้น เห็นว่าเป็นเรื่องความขัดแย้งการจัดสรรผลประโยชน์ภายในพรรค ซึ่งในที่สุดแล้วคาดว่าจะมีการจัดการภายในพรรคเพื่อไทยได้ เพราะนายจตุพร ระบุว่าที่ผ่านมาเป็นเพียงละคร แต่ตัวเองกลับเล่นจริงนั้น หวังว่าคนเสื้อแดงจะได้ฉุกคิดหลายอย่าง ถึงเหตุการณ์ความวุ่นวายที่ผ่านมา เพราะความจริงที่ปรากฏ ทั้งเรื่องชายชุดดำ วิถีกระสุน ซึ่งมีการบิดเบือนมาโดยตลอด ก็เริ่มปรากฏช้อเท็จจริงมากขึ้น และสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาทั้งหมดมีต้นตอจากความต้องการของคนๆ เดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่บงการอยู่ฉากหลังของละครเรื่องนี้
** โพลชี้ปรับครม.รัฐบาลมีเสถียรภาพขึ้น
วานนี้ (28 ต.ค.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ถึงการปรับคณะรัฐมนตรีรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จำนวน 1,521 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง 32.64 % ระบุว่า เป็นเรื่องปกติทางการเมือง เป็นการปรับเพื่อให้รัฐบาลทำงานได้ดีขึ้น ได้ผู้ที่มีความรู้ เหมาะสมเข้ามาทำงาน 24.09 % ระบุว่า ไม่ว่าจะปรับกี่ครั้งการเมืองไทยก็เหมือนเดิม นักการเมืองนึกถึงแต่อำนาจและผลประโยชน์เพียงอย่างเดียว อีก 20.68 % ระบุว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง ต้องการตอบแทนบุญคุณ 13.30 % ระบุว่า ส่งผลให้การทำงานของรัฐบาลหยุดชะงัก ไม่ต่อเนื่อง รมต.ใหม่ต้องมาเรียนรู้ ศึกษางานใหม่ และ 9.29% ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น การปรับ ครม.ครั้งนี้ได้รับการยอมรับมากกว่าครั้งที่แล้ว
เมื่อถามว่า การปรับ ครม.ครั้งนี้ มีผลดีต่อพรรคเพื่อไทย อย่างไร 39.54 % ระบุว่า รัฐบาลน่าจะมีเสถียรภาพ ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น 35.60 % ระบุว่าได้ผู้ที่มีความรู้ เหมาะสมเข้ามาทำงาน และ 24.86 % ระบุว่า ช่วยลดกระแส ลดแรงเสียดทานภายในพรรคและจากสังคม และเมื่อถามถึงผลเสียต่อพรรคเพื่อไทย 43.46 % ระบุว่าอาจเกิดความขัดแย้งเพราะมีผู้พลาดตำแหน่งและผู้ที่ถูกปรับออก 33.29 % ระบุว่าการทำงานหยุดชะงัก ไม่ต่อเนื่อง เสียเวลา เสียงบประมาณ และ 23.25 % ระบุว่า ถูกมองว่าการปรับครั้งนี้เป็นการตอบแทนผลประโยชน์
เมื่อถามว่า การปรับ ครม.ครั้งนี้ มีผลดีต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างไร 50.45 % ระบุว่า ทำหน้าที่แทนประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลต่อไป 32.41 % ระบุว่า ได้รู้ข้อบกพร่องในการทำงานของรัฐบาล และ 17.14 % ระบุว่ามีประเด็น มีข้อมูลในการอภิปรายเพิ่มมากขึ้น และเมื่อถามถึงผลเสียต่อพรรคประชาธิปัตย์ 45.08% ระบุว่าหากรัฐบาลทำงานได้ดีขึ้นอาจทำให้พรรคประชาธิปัตย์ค้านยากขึ้น 32.77 % ระบุว่ามีผลกระทบต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และ 22.15% ระบุว่าต้องหาข้อมูล ข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนมาอภิปราย
ส่วนประเด็นที่ว่า การปรับ ครม.ครั้งนี้มีผลดีต่อประชาชนอย่างไร 48.53 % ระบุว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่น และมั่นใจว่ารัฐบาลจะทำงานได้ดีขึ้น อีก 34.62 % ระบุว่า ได้คนเก่งมีความรู้ความสามารถมาช่วยพัฒนาประเทศให้ดีขึ้น และ 16.85% ระบุว่า ได้รับการยอมรับมากขึ้น ลดกระแสความขัดแย้งในสังคม
เมื่อถามถึงผลเสียต่อประชาชน กลุ่มตัวอย่าง 51.23 % ระบุว่า ทำให้ประชาชนเบื่อหน่าย มีแต่การทะเลาะเบาะแว้งขัดแย้งกัน อีก 30.16 % ระบุว่า รู้สึกกังวล กลัวว่าจะเกิดความวุ่นวายทางการเมือง และ 18.61 % ระบุว่า การช่วยเหลือประชาชนอาจหยุดชะงัก รมต. ต้องมาเรียนรู้ใหม่.