คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1. ศาลปกครอง พิพากษา “สตช.-สำนักนายกฯ” ต้องรับผิดฐานละเมิดกรณีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ 7 ต.ค. เกินกว่าเหตุ สั่งชดเชยกว่า 32 ล้าน!
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาคดีที่นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ กับพวกรวม 250 คน ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักนายกรัฐมนตรี จากกรณีเมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 ได้มีคำสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณหน้ารัฐสภาและหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อเปิดทางให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นสามารถเข้าแถลงนโยบายต่อสภาได้ จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
ทั้งนี้ ศาลฯ พิจารณาข้อเท็จจริงจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) รวมทั้งคำให้การของสื่อมวลชนและพยานบุคคลทั้งที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมและไม่เกี่ยวข้อง พบว่า ทุกฝ่ายให้การสอดคล้องตรงกันว่า เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการนำอาวุธปืนและวัตถุระเบิดชนิดต่างๆ มาใช้ในการสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ โดยไม่ปฏิบัติตามหลักการมาตรฐานของสากล ที่ต้องเริ่มจากการเจรจาต่อรอง หากไม่เป็นผลจึงจะใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก แต่การสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับใช้อาวุธปืนยิงและขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าไปยังผู้ชุมนุมโดยตรง มีการยิงใส่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และรถพยาบาลโดยไม่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม ทั้งที่แพทย์และพยาบาลเข้าไปเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ซึ่งสะท้อนว่าแผนกรกฏ/48 ที่นำมาใช้ เป็นเพียงการอ้างหลักการตามมาตรฐานสากล แต่ในทางปฏิบัติ หาได้เป็นไปตามหลักการไม่
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังปฏิบัติการสลายการชุมนุมอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 4 ช่วง รวม 18 ชั่วโมง ตั้งแต่ 05.00น.-24.00น. ทั้งที่การสลายการชุมนุมมีเป้าหมายเพื่อเปิดทางให้ ครม. สมาชิกรัฐสภา เข้าประชุมและเดินทางกลับออกจากรัฐสภาได้ แต่ข้อเท็จจริงพบว่า รัฐสภาปิดการประชุมตั้งแต่เวลา 11.30น. สมาชิกรัฐสภาและ ครม.ออกจากสภาแล้วเสร็จตั้งแต่เวลา 18.00น. จึงไม่มีเหตุที่ต้องสลายการชุมนุมในช่วงเวลา 18.00น.-24.00น.แต่กลับยังมีการใช้อาวุธระเบิดยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมในเวลากลางคืน จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส เมื่อพิเคราะห์ผลการพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและความเห็นของ ป.ป.ช.แล้ว ศาลฯ เห็นว่า การสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการจงใจกระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อผู้ชุมนุม
ส่วนที่ผู้ถูกฟ้องอ้างว่า ที่ต้องสลายการชุมนุมเพราะผู้ชุมนุมปลุกระดมให้ผู้ชุมนุมเข้าไปทำร้ายสมาชิกรัฐสภาที่อยู่ในอาคารรัฐสภาและปลุกระดมให้บุกไปที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลเพื่อทำลายทรัพย์สินของราชการนั้น ศาลฯ เห็นว่า ในวันดังกล่าวผู้ชุมนุมมีจำนวนหลายหมื่นคน หากถูกยุยงปลุกระดมให้ทำลายสถานที่ราชการหรือเข้าจับตัวสมาชิกรัฐสภาจริง ลำพังกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2,500 นาย ก็ไม่อาจต้านทานมวลชนนับหมื่นได้ การอ้างดังกล่าวจึงเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อให้เหมาะสมกับเหตุในการสลายการชุมนุมโดยไม่ชอบเท่านั้น จึงฟังไม่ขึ้น
ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักนายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ศาลฯ เห็นว่า ขณะที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กำลังแถลงนโยบายในสภา ได้รับทราบจากสมาชิกรัฐสภาที่ลุกขึ้นคัดค้านการแถลงนโยบายแล้วว่าด้านนอกสภามีการสลายการชุมนุมและประชาชนบาดเจ็บ แต่นายสมชาย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น ซึ่งมีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและเป็นผู้บริหารประเทศ กลับไม่สนใจใยดีหรือสั่งห้ามการกระทำที่ละเมิดกฎหมายดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับที่ ป.ป.ช.สอบสวนและเห็นว่า การเพิกเฉยของบุคคลทั้งสาม เป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า บุคคลทั้งสามกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น และฆ่า ซึ่งผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักนายกรัฐมนตรีต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติการสลายการชุมนุมตามแผนกรกฏ/48 แต่เป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ ซึ่งเป็นการละเมิดตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบมาตรา 8 มาตรา 10 ของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
ศาลฯ จึงให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีและผู้ร้องสอด รวมเป็นเงินกว่า 32 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 ต.ค.2552 จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และหากผู้ฟ้องหรือผู้ร้องสอดรายใดได้รับเงินเยียวยาความเสียหายจากหน่วยงานของรัฐตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 10 ม.ค.2555 ไปแล้ว ยังมีสิทธิได้รับค่าเสียหายส่วนที่เหลือตามคำพิพากษาได้ นอกจากนี้หากภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ผู้ฟ้องหรือผู้ร้องสอดรายใดยังต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง ศาลมีสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาในส่วนของค่าเสียหายเพิ่มเติมได้
ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองกลางดังกล่าว หากคู่ความไม่พอใจ ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน
2. “ยงยุทธ” ไขก๊อก ส.ส.-หัวหน้า “เพื่อไทย” แล้ว อ้าง ไม่อยากให้พรรคที่รักถูกวิจารณ์ ด้าน ปชป. ชี้ แค่ตัดไฟไม่ให้ลามถึงพรรค!
หลังนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้แถลงลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 28 ก.ย. โดยอ้างว่าไม่อยากให้เกิดปัญหาตามมา หลังถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดว่าปฏิบัติหน้าที่มิชอบกรณีที่ดินอัลไพน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยและรักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทย ขณะที่คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน(อ.ก.พ.) กระทรวงมหาดไทยได้มีมติไล่ออกนายยงยุทธ เพื่อให้เป็นไปตามมติของ ป.ป.ช. โดยนายยงยุทธ ยืนยันจะยังคงทำหน้าที่ ส.ส.และหัวหน้าพรรคเพื่อไทยต่อไป ขณะที่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ยืนยันจะยื่นเรื่องต่อประธานสภาฯ เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติของนายยงยุทธ เพราะเชื่อว่านายยงยุทธขาดคุณสมบัติที่จะเป็น ส.ส.ต่อไปแล้ว
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 4 ต.ค. นายยงยุทธ พร้อมด้วยนายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค ได้ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายยงยุทธ บอกว่า ได้ขอลาออกจากหัวหน้าพรรคและ ส.ส.บัญชีรายชื่อตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค.เป็นต้นไป แม้คณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) จะยืนยันว่า ตนมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไปก็ตาม
นายยงยุทธ ยังเผยเหตุผลที่ลาออกด้วยว่า เนื่องจากพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคของประชาชนจำนวนมากของประเทศ จึงไม่อยากให้ใครมาวิพากษ์วิจารณ์พรรคที่ตนรักว่าขาดจริยธรรม ไม่ทำตามกฎหมายหรือหลักนิติรัฐนิติธรรม และเพื่อความชัดเจน จึงได้แสดงจริยธรรมเพื่อไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์พรรคในทางเสียหาย อย่างไรก็ตาม นายยงยุทธ บอกว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างพรรคเพื่อไทยและอยู่กับพรรคมานาน ดังนั้นจะเป็นสมาชิกเพื่อช่วยงานพรรคต่อไป
ทั้งนี้ การลาออกจากหัวหน้าพรรคของนายยงยุทธ ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 18 คน ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ แต่จะทำหน้าที่รักษาการจนกว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จะรับรองการลาออกของนายยงยุทธ จากนั้นพรรคเพื่อไทยจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ภายใน 60 วัน
นอกจากนี้การลาออกจาก ส.ส.บัญชีรายชื่อของนายยงยุทธ ยังส่งผลให้นางมาลินี อินฉัตร ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 71 ได้เลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แทนนายยงยุทธด้วย
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย รีบคุยโวว่า การลาออกจาก ส.ส.และหัวหน้าพรรคของนายยงยุทธ สะท้อนถึงสปิริตและมาตรฐานทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยที่ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง แต่ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
ขณะที่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง มองการลาออกจาก ส.ส.และหัวหน้าพรรคของนายยงยุทธว่า เป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เพื่อไม่ให้ลามถึงพรรคเพื่อไทย และเป็นการสกัดไม่ให้มีการตีความคุณสมบัติของตัวเอง เพราะถ้าให้ กกต.หรือศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายยงยุทธขาดคุณสมบัติความเป็น ส.ส. จะเกิดปัญหากับพรรคเพื่อไทยได้
ด้านนางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ เผยว่า เมื่อนายยงยุทธลาออกจาก ส.ส.และหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแล้ว กกต.จะจำหน่ายคำร้องของนายยงยุทธที่เคยยื่นให้ตรวจสอบคุณสมบัติการเป็น ส.ส.และหัวหน้าพรรค ส่วนคำร้องที่มีผู้อื่นยื่นเรื่องมาให้ กกต.ตรวจสอบอีก 3 คำร้อง ซึ่งอาจเกี่ยวโยงไปถึงการยุบพรรคการเมือง และ พ.ร.บ.ล้างมลทินนั้น ต้องนำเข้าที่ประชุม กกต.เพื่อพิจารณาว่ามีประเด็นใดบ้างที่จะต้องยุติการพิจารณา
ทั้งนี้ สถานการณ์การเมืองสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากกรณีนายยงยุทธลาออกจาก ส.ส.และหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแล้ว ยังมีกรณีนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ประกาศเลิกเล่นการเมืองด้วย โดยนายเนวินพูดเรื่องนี้ระหว่างเปิดบ้านพักที่ จ.บุรีรัมย์ ให้ ส.ส. นักการเมือง และคนใกล้ชิดเข้าอวยพรวันเกิดครบ 54 ปีเมื่อวันที่ 4 ต.ค.ว่า วันนี้ชีวิตมีความสุขดีอยู่แล้ว ทุกวันนี้ชีวิต 70% คือฟุตบอล อีก 30% คือมอเตอร์ไซค์ พร้อมยืนยัน ชีวิตหลังจากนี้จะไม่มีการลงสมัครรับเลือกตั้งหรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีก ต่อให้ถูกเชิญไปเป็นรัฐมนตรีก็จะไม่เป็น จะเอาทุกข์มาใส่ตัวทำไม “การเมืองถ้ายังเวียนว่ายอยู่แต่นักการเมืองกลุ่มเดิมๆ ที่ยังคงติดอยู่กับความขัดแย้งอย่างนี้ จะไม่มีวันจบสิ้น ถึงเวลาต้องเปลี่ยนสู่รุ่นใหม่ที่ไม่มีความขัดแย้ง ตัวผมยอมรับว่ามีความขัดแย้งในสังคมการเมืองสูง ดังนั้นการกลับเข้าไปสู่เส้นทางการเมืองของผม จะทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ถ้านักการเมืองที่รู้ตัวว่าเป็นชนวนความขัดแย้ง ช่วยกันชักฟืนออกจากไฟคนละท่อน ไฟในสังคมก็จะสามารถลดลงได้ สังคมจะกลับสู่ความสงบสุข”
3. ม็อบแดง เหิม จี้ อจ.นิด้าเลิกยื่นศาล รธน.ค้านจำนำข้าว ด้าน “ป.ป.ช.” เล็งเตือน รบ.ครั้งที่ 2 ปมทุจริตจำนำข้าว!
ตามที่อาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บางส่วน รวมทั้งนักศึกษาได้เข้าชื่อกว่า 100 คน ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยยุติหรือชะลอการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 43 และมาตรา 84(1) ที่ระบุว่า รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรม โดยอาศัยกลไกตลาดและสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและต้องไม่ประกอบกิจการในลักษณะแข่งขันกับเอกชน แต่ศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งว่า คำร้องของอาจารย์นิด้ายังไม่ครบถ้วน ยังขาดรายละเอียดคำร้องว่าจะใช้ช่องทางกฎหมายใดในการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และจะให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการอย่างไร จึงให้ผู้ร้องไปนำเอกสารมาให้ครบนั้น
ปรากฏว่า นายวิเชียร พวงลำเจียก อุปนายกสมาคมชาวนาไทย ไม่พอใจและได้ออกมาโจมตีนักวิชาการดังกล่าว “อยากทราบว่านักวิชาการกลุ่มนี้ออกมาเคลื่อนไหวเพื่ออะไร หรือเพียงต้องการล้มรัฐบาล โดยหาเหตุโครงการรับจำนำข้าวและชาวนาเป็นเครื่องมือเพื่อดิสเครดิตเท่านั้น”
ขณะที่แกนนำพรรคเพื่อไทย ต่างออกมาสวนกลับอาจารย์นิด้าเช่นกัน โดย นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ แถลงจี้ให้อาจารย์นิด้าถอนเรื่องออกจากศาลรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าสิ่งที่อาจารย์พูดไม่เป็นความจริง และว่า การรับจำนำข้าวเป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร ดังนั้นอาจารย์นิด้าไม่มีความชอบธรรมที่จะมาขวางนโยบายรัฐบาล
ด้านนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ แกนนำคนเสื้อแดง ได้นำชาวนาหลายจังหวัด เดินทางด้วยรถบัส 10 คัน มายังทำเนียบรัฐบาลเมื่อบ่ายวันที่ 2 ต.ค.เพื่อให้กำลังใจรัฐบาล พร้อมปราศรัยโจมตีอาจารย์นิด้าที่ขัดขวางโครงการรับจำนำข้าว แถมขู่ด้วยว่า หากอาจารย์นิด้ายังไม่หยุดเคลื่อนไหว จะมีชาวนานับหมื่นคนออกมาชุมนุมคัดค้านด้วย
ทั้งนี้ ในเวลาไล่เลี่ยกัน ที่หน้าประตูทางเข้านิด้า ปรากฏว่า มีกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 30 คน ไปชุมนุมพร้อมอ่านแถลงการณ์คัดค้านนักวิชาการนิด้าที่ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยับยั้งหรือยุติโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ไม่เท่านั้น วันต่อมา(3 ต.ค.) ม็อบคนเสื้อแดง จ.นครราชสีมา ได้นำแกลบมาเทปิดหน้าประตูทางเข้านิด้า ก่อนรวมตัวปิด ถ.มิตรภาพ อ.สีคิ้ว เรียกร้องให้อาจารย์นิด้าหยุดยื่นศาลรัฐธรรมนูญล้มโครงการจำนำข้าว
สำหรับความคืบหน้าการยื่นเอกสารเพิ่มต่อศาลรัฐธรรมนูญของอาจารย์นิด้านั้น นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เผยว่า นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า ได้มายื่นเอกสารครบหมดแล้วเมื่อวันที่ 3 ต.ค. แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ทันวันที่ 10 ต.ค.หรือไม่
ส่วนท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ได้ออกมาเตือนรัฐบาลว่า โครงการรับจำนำข้าวจะสร้างปัญหาทับถมไปเรื่อยๆ เป็นลูกโซ่ เพราะตอนนี้มีชาวบ้านร้องมามาก ว่ายังไม่ได้รับเงินจากการนำข้าวไปจำนำ ขณะที่รัฐบาลยังขายข้าวไม่ได้ ข้าวยังอยู่เต็มโกดัง ส่วนเงินที่ใช้หมุนเวียนจำนวนหลายแสนล้านบาทจะได้คืนมาก็ต่อเมื่อขายข้าวได้ ดังนั้นปัญหาจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรื่องที่เก็บข้าวและเรื่องเงิน ถ้ารัฐบาลยังถลำลึกลงไปอีก
ขณะที่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาชี้ว่า เครือข่ายชาวนาที่รวมตัวประท้วงอาจารย์นิด้า น่าจะเป็นม็อบจัดตั้งทางการเมือง เพราะมีนายวุฒิพงษ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ เป็นแกนนำ ซึ่งนายวุฒิพงษ์เคยนำม็อบมาคุกคามนายอภิสิทธิ์มาแล้ว จึงมองได้ว่าเครือข่ายชาวนากลุ่มนี้ต้องการดิสเครดิตอาจารย์นิด้า จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลใจกว้าง ยอมรับการตรวจสอบจากทุกภาคส่วน “ผมอยากเตือนรัฐบาลให้ตระหนักถึงผลเสียจากโครงการจำนำข้าว ที่นอกจากจะทำให้ไทยเสียแชมป์การส่งออกแล้ว ยังทำให้การพัฒนาสายพันธุ์มีปัญหา เพราะล่าสุดมีการประชุมข้าวโลกเมื่อวันที่ 26-28 ก.ย. ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีการประกวดข้าวที่ดีที่สุดในโลก ปรากฏว่า ข้าวหอมมะลิกัมพูชาได้รับรางวัลพันธุ์ข้าวดีที่สุดในโลกประจำปี 2012 ถือเป็นสัญญาณเตือนรัฐบาลให้ตระหนักถึงปัญหาในโครงการรับจำนำข้าว”
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า โครงการรับจำนำข้าวมีขึ้นเพื่อพยุงราคาและรายได้ของเกษตรกร หากมีการยื่นเรื่องร้องเรียน รัฐบาลก็ยินดีให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปชี้แจงตามข้อเท็จจริง ส่วนกรณีที่นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี เคยเขียนบทความเตือนว่า รัฐบาลจะพัง ถ้าไม่ล้มเลิกโครงการรับจำนำข้าวนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า ได้คุยกันแล้ว ไม่มีปัญหาอะไร พร้อมอ้างว่า นายวีรพงษ์เข้าใจผิด เพราะฟังข้อมูลด้านเดียว ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวพยายามไปถามนายวีรพงษ์เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวอีกครั้ง แต่นายวีรพงษ์ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์
ด้านนายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) พูดถึงโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลว่า ป.ป.ช.เคยเตือนไปแล้วว่า โครงการดังกล่าวเปิดช่องให้มีการทุจริตได้ง่าย จึงขอให้ทบทวน แต่เมื่อรัฐบาลยืนยันจะเดินหน้าก็ถือเป็นสิทธิของรัฐบาล ป.ป.ช.คงไม่มีอำนาจก้าวล่วง แต่เมื่อหลายฝ่ายเห็นพ้องกันว่านโยบายดังกล่าวสุ่มเสี่ยงต่อการเปิดช่องทุจริต ดังนั้น ป.ป.ช.จะต้องหาข้อมูลอีกครั้ง โดยให้ศูนย์วิจัยเพื่อต่อต้านการทุจริตไปศึกษาและหาข้อสรุป ก่อนส่งจดหมายเตือนไปถึงรัฐบาลเป็นครั้งที่ 2 ว่า โครงการรับจำนำข้าวเกิดปัญหาทุจริตในขั้นตอนใดบ้าง
4. สภาการ นสพ. จี้ “สรยุทธ” พิจารณาตัวเอง ขณะที่สภาวิชาชีพสื่อ ถามหาจริยธรรม “ช่อง 3” ด้านเจ้าตัว ยื่น จม.ลาออกจากสมาชิก ส.นักข่าวฯ แล้ว!
หลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้มีมติชี้มูลความผิดนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรชื่อดังและเจ้าของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด และนางพิชชาภา เอี่ยมสอาด เจ้าหน้าที่ธุรการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรณีช่วยเหลือบริษัท ไร่ส้ม โฆษณาเกินกำหนดเวลาในสัญญาเป็นเงินกว่า 138 ล้านบาท โดยมีนายสรยุทธ น.ส.มณฑา ธีระเดช และบริษัท ไร่ส้ม เป็นผู้สนับสนุน ทำให้ อสมท ได้รับความเสียหาย โดย ป.ป.ช.สรุปว่า นายสรยุทธ น.ส.มณฑา และบริษัท ไร่ส้ม มีความผิดฐานสนับสนุนพนักงานกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 6 ,8 ,11 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และส่งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหา ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 นั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 4 ต.ค. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของสื่อมวลชนกรณีบริษัท ไร่ส้ม โดยระบุว่า ตามที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดนายสรยุทธ สุทัศนะจินดร พิธีกรและผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ และบริษัท ไร่ส้ม ว่ามีส่วนพัวพันกับการทุจริตเงินรายได้โฆษณาของบริษัท อสมท และอยู่ระหว่างดำเนินคดีทางกฎหมายนั้น สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่มีหน้าที่กำกับดูแลเรื่องจริยธรรมของสื่อมวลชน เห็นว่า แม้นายสรยุทธจะไม่ได้เป็นสมาชิกโดยตรงของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ แต่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ต้องยืนยันหลักการการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ดี ต้องไม่ประพฤติปฏิบัติสิ่งที่สร้างความเสื่อมเสียแก่วิชาชีพ แม้พฤติกรรมของนายสรยุทธจะยังไม่มีบทสรุปทางกฎหมาย แต่ในแง่ของการประกอบวิชาชีพ ถือว่าไม่เหมาะสม เพราะมีการกระทำที่สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดจรรยาบรรณแล้ว ดังนั้นนายสรยุทธจึงสมควรพิจารณาตัวเอง เพื่อธำรงรักษาสถาบันสื่อทั้งระบบให้เป็นที่เชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชนต่อไป
ด้านสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ออกมาแสดงท่าทีกรณีนายสรยุทธและบริษัท ไร่ส้ม เช่นกัน โดยได้ทำหนังสือถึงนายประสาร มาลีนนท์ รักษาการกรรมการผู้จัดการบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ โดยระบุว่า กรณีนายสรยุทธและบริษัท ไร่ส้ม ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดและส่งอัยการเพื่อฟ้องดำเนินคดีข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ นั้น ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคม กระทบต่อความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชนทั้งต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาเองและผู้ปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนโดยรวม เนื่องจากข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย หมวด 3 จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพข่าว ข้อ 10 กำหนดว่า ผู้ประกอบวิชาชีพข่าว “ต้องไม่ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของผู้ประกอบวิชาชีพข่าว”
ดังนั้น สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงขอให้ทางบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ หามาตรการดำเนินการในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพให้ปฏิบัติตนภายใต้กรอบจริยธรรมที่กำหนดไว้ต่อไป
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังนายสรยุทธถูกกระแสกดดันทั้งจากสภาการหนังสือพิมพ์ฯ และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ปรากฏว่า นายสรยุทธได้ตัดสินใจยื่นจดหมายลาออกจากการเป็นสมาชิกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 ต.ค.โดยขอให้การลาออกมีผลทันที แต่ไม่แจ้งสาเหตุที่ลาออกแต่อย่างใด
ขณะที่ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น สถาบันอิศรา และมูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ได้จัดเสวนาหัวข้อ “กรณีไร่ส้ม...บทพิสูจน์ความเข้มแข็งของสังคมในการต่อสู้คอร์รัปชั่น” เมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นได้เรียกร้องให้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 แสดงความรับผิดชอบกรณีนายสรยุทธและบริษัท ไร่ส้ม พร้อมเรียกร้องให้บริษัทต่างๆ หยุดสนับสนุนรายการของนายสรยุทธ
1. ศาลปกครอง พิพากษา “สตช.-สำนักนายกฯ” ต้องรับผิดฐานละเมิดกรณีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ 7 ต.ค. เกินกว่าเหตุ สั่งชดเชยกว่า 32 ล้าน!
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาคดีที่นายชิงชัย อุดมเจริญกิจ กับพวกรวม 250 คน ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักนายกรัฐมนตรี จากกรณีเมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 ได้มีคำสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณหน้ารัฐสภาและหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล เพื่อเปิดทางให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นสามารถเข้าแถลงนโยบายต่อสภาได้ จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
ทั้งนี้ ศาลฯ พิจารณาข้อเท็จจริงจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) รวมทั้งคำให้การของสื่อมวลชนและพยานบุคคลทั้งที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมและไม่เกี่ยวข้อง พบว่า ทุกฝ่ายให้การสอดคล้องตรงกันว่า เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการนำอาวุธปืนและวัตถุระเบิดชนิดต่างๆ มาใช้ในการสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ โดยไม่ปฏิบัติตามหลักการมาตรฐานของสากล ที่ต้องเริ่มจากการเจรจาต่อรอง หากไม่เป็นผลจึงจะใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก แต่การสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับใช้อาวุธปืนยิงและขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าไปยังผู้ชุมนุมโดยตรง มีการยิงใส่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และรถพยาบาลโดยไม่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม ทั้งที่แพทย์และพยาบาลเข้าไปเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ซึ่งสะท้อนว่าแผนกรกฏ/48 ที่นำมาใช้ เป็นเพียงการอ้างหลักการตามมาตรฐานสากล แต่ในทางปฏิบัติ หาได้เป็นไปตามหลักการไม่
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยังปฏิบัติการสลายการชุมนุมอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 4 ช่วง รวม 18 ชั่วโมง ตั้งแต่ 05.00น.-24.00น. ทั้งที่การสลายการชุมนุมมีเป้าหมายเพื่อเปิดทางให้ ครม. สมาชิกรัฐสภา เข้าประชุมและเดินทางกลับออกจากรัฐสภาได้ แต่ข้อเท็จจริงพบว่า รัฐสภาปิดการประชุมตั้งแต่เวลา 11.30น. สมาชิกรัฐสภาและ ครม.ออกจากสภาแล้วเสร็จตั้งแต่เวลา 18.00น. จึงไม่มีเหตุที่ต้องสลายการชุมนุมในช่วงเวลา 18.00น.-24.00น.แต่กลับยังมีการใช้อาวุธระเบิดยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมในเวลากลางคืน จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส เมื่อพิเคราะห์ผลการพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและความเห็นของ ป.ป.ช.แล้ว ศาลฯ เห็นว่า การสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการจงใจกระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อผู้ชุมนุม
ส่วนที่ผู้ถูกฟ้องอ้างว่า ที่ต้องสลายการชุมนุมเพราะผู้ชุมนุมปลุกระดมให้ผู้ชุมนุมเข้าไปทำร้ายสมาชิกรัฐสภาที่อยู่ในอาคารรัฐสภาและปลุกระดมให้บุกไปที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลเพื่อทำลายทรัพย์สินของราชการนั้น ศาลฯ เห็นว่า ในวันดังกล่าวผู้ชุมนุมมีจำนวนหลายหมื่นคน หากถูกยุยงปลุกระดมให้ทำลายสถานที่ราชการหรือเข้าจับตัวสมาชิกรัฐสภาจริง ลำพังกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2,500 นาย ก็ไม่อาจต้านทานมวลชนนับหมื่นได้ การอ้างดังกล่าวจึงเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อให้เหมาะสมกับเหตุในการสลายการชุมนุมโดยไม่ชอบเท่านั้น จึงฟังไม่ขึ้น
ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักนายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ศาลฯ เห็นว่า ขณะที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กำลังแถลงนโยบายในสภา ได้รับทราบจากสมาชิกรัฐสภาที่ลุกขึ้นคัดค้านการแถลงนโยบายแล้วว่าด้านนอกสภามีการสลายการชุมนุมและประชาชนบาดเจ็บ แต่นายสมชาย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น ซึ่งมีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและเป็นผู้บริหารประเทศ กลับไม่สนใจใยดีหรือสั่งห้ามการกระทำที่ละเมิดกฎหมายดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับที่ ป.ป.ช.สอบสวนและเห็นว่า การเพิกเฉยของบุคคลทั้งสาม เป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า บุคคลทั้งสามกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น และฆ่า ซึ่งผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักนายกรัฐมนตรีต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติการสลายการชุมนุมตามแผนกรกฏ/48 แต่เป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ ซึ่งเป็นการละเมิดตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบมาตรา 8 มาตรา 10 ของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
ศาลฯ จึงให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีและผู้ร้องสอด รวมเป็นเงินกว่า 32 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 ต.ค.2552 จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และหากผู้ฟ้องหรือผู้ร้องสอดรายใดได้รับเงินเยียวยาความเสียหายจากหน่วยงานของรัฐตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 10 ม.ค.2555 ไปแล้ว ยังมีสิทธิได้รับค่าเสียหายส่วนที่เหลือตามคำพิพากษาได้ นอกจากนี้หากภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ผู้ฟ้องหรือผู้ร้องสอดรายใดยังต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง ศาลมีสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาในส่วนของค่าเสียหายเพิ่มเติมได้
ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองกลางดังกล่าว หากคู่ความไม่พอใจ ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วัน
2. “ยงยุทธ” ไขก๊อก ส.ส.-หัวหน้า “เพื่อไทย” แล้ว อ้าง ไม่อยากให้พรรคที่รักถูกวิจารณ์ ด้าน ปชป. ชี้ แค่ตัดไฟไม่ให้ลามถึงพรรค!
หลังนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้แถลงลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 28 ก.ย. โดยอ้างว่าไม่อยากให้เกิดปัญหาตามมา หลังถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดว่าปฏิบัติหน้าที่มิชอบกรณีที่ดินอัลไพน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยและรักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทย ขณะที่คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน(อ.ก.พ.) กระทรวงมหาดไทยได้มีมติไล่ออกนายยงยุทธ เพื่อให้เป็นไปตามมติของ ป.ป.ช. โดยนายยงยุทธ ยืนยันจะยังคงทำหน้าที่ ส.ส.และหัวหน้าพรรคเพื่อไทยต่อไป ขณะที่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ยืนยันจะยื่นเรื่องต่อประธานสภาฯ เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติของนายยงยุทธ เพราะเชื่อว่านายยงยุทธขาดคุณสมบัติที่จะเป็น ส.ส.ต่อไปแล้ว
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 4 ต.ค. นายยงยุทธ พร้อมด้วยนายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค ได้ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายยงยุทธ บอกว่า ได้ขอลาออกจากหัวหน้าพรรคและ ส.ส.บัญชีรายชื่อตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค.เป็นต้นไป แม้คณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) จะยืนยันว่า ตนมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไปก็ตาม
นายยงยุทธ ยังเผยเหตุผลที่ลาออกด้วยว่า เนื่องจากพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคของประชาชนจำนวนมากของประเทศ จึงไม่อยากให้ใครมาวิพากษ์วิจารณ์พรรคที่ตนรักว่าขาดจริยธรรม ไม่ทำตามกฎหมายหรือหลักนิติรัฐนิติธรรม และเพื่อความชัดเจน จึงได้แสดงจริยธรรมเพื่อไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์พรรคในทางเสียหาย อย่างไรก็ตาม นายยงยุทธ บอกว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างพรรคเพื่อไทยและอยู่กับพรรคมานาน ดังนั้นจะเป็นสมาชิกเพื่อช่วยงานพรรคต่อไป
ทั้งนี้ การลาออกจากหัวหน้าพรรคของนายยงยุทธ ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 18 คน ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ แต่จะทำหน้าที่รักษาการจนกว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จะรับรองการลาออกของนายยงยุทธ จากนั้นพรรคเพื่อไทยจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ภายใน 60 วัน
นอกจากนี้การลาออกจาก ส.ส.บัญชีรายชื่อของนายยงยุทธ ยังส่งผลให้นางมาลินี อินฉัตร ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 71 ได้เลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แทนนายยงยุทธด้วย
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย รีบคุยโวว่า การลาออกจาก ส.ส.และหัวหน้าพรรคของนายยงยุทธ สะท้อนถึงสปิริตและมาตรฐานทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยที่ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง แต่ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
ขณะที่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง มองการลาออกจาก ส.ส.และหัวหน้าพรรคของนายยงยุทธว่า เป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เพื่อไม่ให้ลามถึงพรรคเพื่อไทย และเป็นการสกัดไม่ให้มีการตีความคุณสมบัติของตัวเอง เพราะถ้าให้ กกต.หรือศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายยงยุทธขาดคุณสมบัติความเป็น ส.ส. จะเกิดปัญหากับพรรคเพื่อไทยได้
ด้านนางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ เผยว่า เมื่อนายยงยุทธลาออกจาก ส.ส.และหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแล้ว กกต.จะจำหน่ายคำร้องของนายยงยุทธที่เคยยื่นให้ตรวจสอบคุณสมบัติการเป็น ส.ส.และหัวหน้าพรรค ส่วนคำร้องที่มีผู้อื่นยื่นเรื่องมาให้ กกต.ตรวจสอบอีก 3 คำร้อง ซึ่งอาจเกี่ยวโยงไปถึงการยุบพรรคการเมือง และ พ.ร.บ.ล้างมลทินนั้น ต้องนำเข้าที่ประชุม กกต.เพื่อพิจารณาว่ามีประเด็นใดบ้างที่จะต้องยุติการพิจารณา
ทั้งนี้ สถานการณ์การเมืองสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากกรณีนายยงยุทธลาออกจาก ส.ส.และหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแล้ว ยังมีกรณีนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ประกาศเลิกเล่นการเมืองด้วย โดยนายเนวินพูดเรื่องนี้ระหว่างเปิดบ้านพักที่ จ.บุรีรัมย์ ให้ ส.ส. นักการเมือง และคนใกล้ชิดเข้าอวยพรวันเกิดครบ 54 ปีเมื่อวันที่ 4 ต.ค.ว่า วันนี้ชีวิตมีความสุขดีอยู่แล้ว ทุกวันนี้ชีวิต 70% คือฟุตบอล อีก 30% คือมอเตอร์ไซค์ พร้อมยืนยัน ชีวิตหลังจากนี้จะไม่มีการลงสมัครรับเลือกตั้งหรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีก ต่อให้ถูกเชิญไปเป็นรัฐมนตรีก็จะไม่เป็น จะเอาทุกข์มาใส่ตัวทำไม “การเมืองถ้ายังเวียนว่ายอยู่แต่นักการเมืองกลุ่มเดิมๆ ที่ยังคงติดอยู่กับความขัดแย้งอย่างนี้ จะไม่มีวันจบสิ้น ถึงเวลาต้องเปลี่ยนสู่รุ่นใหม่ที่ไม่มีความขัดแย้ง ตัวผมยอมรับว่ามีความขัดแย้งในสังคมการเมืองสูง ดังนั้นการกลับเข้าไปสู่เส้นทางการเมืองของผม จะทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ถ้านักการเมืองที่รู้ตัวว่าเป็นชนวนความขัดแย้ง ช่วยกันชักฟืนออกจากไฟคนละท่อน ไฟในสังคมก็จะสามารถลดลงได้ สังคมจะกลับสู่ความสงบสุข”
3. ม็อบแดง เหิม จี้ อจ.นิด้าเลิกยื่นศาล รธน.ค้านจำนำข้าว ด้าน “ป.ป.ช.” เล็งเตือน รบ.ครั้งที่ 2 ปมทุจริตจำนำข้าว!
ตามที่อาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บางส่วน รวมทั้งนักศึกษาได้เข้าชื่อกว่า 100 คน ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยยุติหรือชะลอการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 43 และมาตรา 84(1) ที่ระบุว่า รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรม โดยอาศัยกลไกตลาดและสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและต้องไม่ประกอบกิจการในลักษณะแข่งขันกับเอกชน แต่ศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งว่า คำร้องของอาจารย์นิด้ายังไม่ครบถ้วน ยังขาดรายละเอียดคำร้องว่าจะใช้ช่องทางกฎหมายใดในการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และจะให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการอย่างไร จึงให้ผู้ร้องไปนำเอกสารมาให้ครบนั้น
ปรากฏว่า นายวิเชียร พวงลำเจียก อุปนายกสมาคมชาวนาไทย ไม่พอใจและได้ออกมาโจมตีนักวิชาการดังกล่าว “อยากทราบว่านักวิชาการกลุ่มนี้ออกมาเคลื่อนไหวเพื่ออะไร หรือเพียงต้องการล้มรัฐบาล โดยหาเหตุโครงการรับจำนำข้าวและชาวนาเป็นเครื่องมือเพื่อดิสเครดิตเท่านั้น”
ขณะที่แกนนำพรรคเพื่อไทย ต่างออกมาสวนกลับอาจารย์นิด้าเช่นกัน โดย นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ แถลงจี้ให้อาจารย์นิด้าถอนเรื่องออกจากศาลรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าสิ่งที่อาจารย์พูดไม่เป็นความจริง และว่า การรับจำนำข้าวเป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร ดังนั้นอาจารย์นิด้าไม่มีความชอบธรรมที่จะมาขวางนโยบายรัฐบาล
ด้านนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ แกนนำคนเสื้อแดง ได้นำชาวนาหลายจังหวัด เดินทางด้วยรถบัส 10 คัน มายังทำเนียบรัฐบาลเมื่อบ่ายวันที่ 2 ต.ค.เพื่อให้กำลังใจรัฐบาล พร้อมปราศรัยโจมตีอาจารย์นิด้าที่ขัดขวางโครงการรับจำนำข้าว แถมขู่ด้วยว่า หากอาจารย์นิด้ายังไม่หยุดเคลื่อนไหว จะมีชาวนานับหมื่นคนออกมาชุมนุมคัดค้านด้วย
ทั้งนี้ ในเวลาไล่เลี่ยกัน ที่หน้าประตูทางเข้านิด้า ปรากฏว่า มีกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 30 คน ไปชุมนุมพร้อมอ่านแถลงการณ์คัดค้านนักวิชาการนิด้าที่ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยับยั้งหรือยุติโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ไม่เท่านั้น วันต่อมา(3 ต.ค.) ม็อบคนเสื้อแดง จ.นครราชสีมา ได้นำแกลบมาเทปิดหน้าประตูทางเข้านิด้า ก่อนรวมตัวปิด ถ.มิตรภาพ อ.สีคิ้ว เรียกร้องให้อาจารย์นิด้าหยุดยื่นศาลรัฐธรรมนูญล้มโครงการจำนำข้าว
สำหรับความคืบหน้าการยื่นเอกสารเพิ่มต่อศาลรัฐธรรมนูญของอาจารย์นิด้านั้น นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เผยว่า นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า ได้มายื่นเอกสารครบหมดแล้วเมื่อวันที่ 3 ต.ค. แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ทันวันที่ 10 ต.ค.หรือไม่
ส่วนท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ได้ออกมาเตือนรัฐบาลว่า โครงการรับจำนำข้าวจะสร้างปัญหาทับถมไปเรื่อยๆ เป็นลูกโซ่ เพราะตอนนี้มีชาวบ้านร้องมามาก ว่ายังไม่ได้รับเงินจากการนำข้าวไปจำนำ ขณะที่รัฐบาลยังขายข้าวไม่ได้ ข้าวยังอยู่เต็มโกดัง ส่วนเงินที่ใช้หมุนเวียนจำนวนหลายแสนล้านบาทจะได้คืนมาก็ต่อเมื่อขายข้าวได้ ดังนั้นปัญหาจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรื่องที่เก็บข้าวและเรื่องเงิน ถ้ารัฐบาลยังถลำลึกลงไปอีก
ขณะที่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาชี้ว่า เครือข่ายชาวนาที่รวมตัวประท้วงอาจารย์นิด้า น่าจะเป็นม็อบจัดตั้งทางการเมือง เพราะมีนายวุฒิพงษ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ เป็นแกนนำ ซึ่งนายวุฒิพงษ์เคยนำม็อบมาคุกคามนายอภิสิทธิ์มาแล้ว จึงมองได้ว่าเครือข่ายชาวนากลุ่มนี้ต้องการดิสเครดิตอาจารย์นิด้า จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลใจกว้าง ยอมรับการตรวจสอบจากทุกภาคส่วน “ผมอยากเตือนรัฐบาลให้ตระหนักถึงผลเสียจากโครงการจำนำข้าว ที่นอกจากจะทำให้ไทยเสียแชมป์การส่งออกแล้ว ยังทำให้การพัฒนาสายพันธุ์มีปัญหา เพราะล่าสุดมีการประชุมข้าวโลกเมื่อวันที่ 26-28 ก.ย. ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีการประกวดข้าวที่ดีที่สุดในโลก ปรากฏว่า ข้าวหอมมะลิกัมพูชาได้รับรางวัลพันธุ์ข้าวดีที่สุดในโลกประจำปี 2012 ถือเป็นสัญญาณเตือนรัฐบาลให้ตระหนักถึงปัญหาในโครงการรับจำนำข้าว”
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า โครงการรับจำนำข้าวมีขึ้นเพื่อพยุงราคาและรายได้ของเกษตรกร หากมีการยื่นเรื่องร้องเรียน รัฐบาลก็ยินดีให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปชี้แจงตามข้อเท็จจริง ส่วนกรณีที่นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี เคยเขียนบทความเตือนว่า รัฐบาลจะพัง ถ้าไม่ล้มเลิกโครงการรับจำนำข้าวนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า ได้คุยกันแล้ว ไม่มีปัญหาอะไร พร้อมอ้างว่า นายวีรพงษ์เข้าใจผิด เพราะฟังข้อมูลด้านเดียว ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวพยายามไปถามนายวีรพงษ์เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวอีกครั้ง แต่นายวีรพงษ์ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์
ด้านนายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) พูดถึงโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลว่า ป.ป.ช.เคยเตือนไปแล้วว่า โครงการดังกล่าวเปิดช่องให้มีการทุจริตได้ง่าย จึงขอให้ทบทวน แต่เมื่อรัฐบาลยืนยันจะเดินหน้าก็ถือเป็นสิทธิของรัฐบาล ป.ป.ช.คงไม่มีอำนาจก้าวล่วง แต่เมื่อหลายฝ่ายเห็นพ้องกันว่านโยบายดังกล่าวสุ่มเสี่ยงต่อการเปิดช่องทุจริต ดังนั้น ป.ป.ช.จะต้องหาข้อมูลอีกครั้ง โดยให้ศูนย์วิจัยเพื่อต่อต้านการทุจริตไปศึกษาและหาข้อสรุป ก่อนส่งจดหมายเตือนไปถึงรัฐบาลเป็นครั้งที่ 2 ว่า โครงการรับจำนำข้าวเกิดปัญหาทุจริตในขั้นตอนใดบ้าง
4. สภาการ นสพ. จี้ “สรยุทธ” พิจารณาตัวเอง ขณะที่สภาวิชาชีพสื่อ ถามหาจริยธรรม “ช่อง 3” ด้านเจ้าตัว ยื่น จม.ลาออกจากสมาชิก ส.นักข่าวฯ แล้ว!
หลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้มีมติชี้มูลความผิดนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรชื่อดังและเจ้าของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด และนางพิชชาภา เอี่ยมสอาด เจ้าหน้าที่ธุรการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรณีช่วยเหลือบริษัท ไร่ส้ม โฆษณาเกินกำหนดเวลาในสัญญาเป็นเงินกว่า 138 ล้านบาท โดยมีนายสรยุทธ น.ส.มณฑา ธีระเดช และบริษัท ไร่ส้ม เป็นผู้สนับสนุน ทำให้ อสมท ได้รับความเสียหาย โดย ป.ป.ช.สรุปว่า นายสรยุทธ น.ส.มณฑา และบริษัท ไร่ส้ม มีความผิดฐานสนับสนุนพนักงานกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 6 ,8 ,11 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และส่งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหา ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 นั้น
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 4 ต.ค. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของสื่อมวลชนกรณีบริษัท ไร่ส้ม โดยระบุว่า ตามที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดนายสรยุทธ สุทัศนะจินดร พิธีกรและผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ และบริษัท ไร่ส้ม ว่ามีส่วนพัวพันกับการทุจริตเงินรายได้โฆษณาของบริษัท อสมท และอยู่ระหว่างดำเนินคดีทางกฎหมายนั้น สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่มีหน้าที่กำกับดูแลเรื่องจริยธรรมของสื่อมวลชน เห็นว่า แม้นายสรยุทธจะไม่ได้เป็นสมาชิกโดยตรงของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ แต่สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ต้องยืนยันหลักการการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ดี ต้องไม่ประพฤติปฏิบัติสิ่งที่สร้างความเสื่อมเสียแก่วิชาชีพ แม้พฤติกรรมของนายสรยุทธจะยังไม่มีบทสรุปทางกฎหมาย แต่ในแง่ของการประกอบวิชาชีพ ถือว่าไม่เหมาะสม เพราะมีการกระทำที่สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดจรรยาบรรณแล้ว ดังนั้นนายสรยุทธจึงสมควรพิจารณาตัวเอง เพื่อธำรงรักษาสถาบันสื่อทั้งระบบให้เป็นที่เชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชนต่อไป
ด้านสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ออกมาแสดงท่าทีกรณีนายสรยุทธและบริษัท ไร่ส้ม เช่นกัน โดยได้ทำหนังสือถึงนายประสาร มาลีนนท์ รักษาการกรรมการผู้จัดการบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ โดยระบุว่า กรณีนายสรยุทธและบริษัท ไร่ส้ม ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดและส่งอัยการเพื่อฟ้องดำเนินคดีข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ นั้น ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคม กระทบต่อความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชนทั้งต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาเองและผู้ปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนโดยรวม เนื่องจากข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย หมวด 3 จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพข่าว ข้อ 10 กำหนดว่า ผู้ประกอบวิชาชีพข่าว “ต้องไม่ประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของผู้ประกอบวิชาชีพข่าว”
ดังนั้น สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงขอให้ทางบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ หามาตรการดำเนินการในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพให้ปฏิบัติตนภายใต้กรอบจริยธรรมที่กำหนดไว้ต่อไป
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังนายสรยุทธถูกกระแสกดดันทั้งจากสภาการหนังสือพิมพ์ฯ และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ปรากฏว่า นายสรยุทธได้ตัดสินใจยื่นจดหมายลาออกจากการเป็นสมาชิกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 ต.ค.โดยขอให้การลาออกมีผลทันที แต่ไม่แจ้งสาเหตุที่ลาออกแต่อย่างใด
ขณะที่ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น สถาบันอิศรา และมูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ได้จัดเสวนาหัวข้อ “กรณีไร่ส้ม...บทพิสูจน์ความเข้มแข็งของสังคมในการต่อสู้คอร์รัปชั่น” เมื่อวันที่ 4 ต.ค. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นได้เรียกร้องให้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 แสดงความรับผิดชอบกรณีนายสรยุทธและบริษัท ไร่ส้ม พร้อมเรียกร้องให้บริษัทต่างๆ หยุดสนับสนุนรายการของนายสรยุทธ