คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.“ในหลวง-พระราชินี” ทรงห่วงผู้บาดเจ็บคาร์บอมบ์ ด้าน ปชป. แฉ “ทักษิณ” พบแกนนำพูโล ก่อนเกิดคาร์บอมบ์!
ความคืบหน้าเหตุระเบิดใน 3 จังหวัดภาคใต้ โดยเป็นคาร์บอมบ์ 2 จังหวัด คือ ยะลาและสงขลา ส่วนปัตตานีเป็นจักรยานยนต์บอมบ์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 14 ราย และบาดเจ็บกว่า 500 คนเมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยราษฎรที่ได้รับบาดเจ็บ จึงได้พระราชทานสิ่งของแก่ผู้บาดเจ็บที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลยะลาจำนวน 30 ราย เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ รวมทั้งได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 5 แสนบาท ผ่านสภากาชาดไทย เพื่อนำไปให้โรงพยาบาลยะลาใช้จ่ายในการรักษาผู้บาดเจ็บด้วย
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอนแรกส่งสัญญาณว่าจะไม่ลงพื้นที่เพื่อดูที่เกิดเหตุหรือเยี่ยมผู้บาดเจ็บ โดยให้ 2 รัฐมนตรีลงพื้นที่แทน คือ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่หลังจากถูกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเหน็บว่านายกฯ ใจดำไม่ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนผู้บาดเจ็บ น.ส.ยิ่งลักษณ์จึงได้เปลี่ยนใจ โดยนำรัฐมนตรีลงพื้นที่เยี่ยมผู้บาดเจ็บที่หาดใหญ่เมื่อวันที่ 2 เม.ย. พร้อมให้เหตุผลที่เปลี่ยนใจลงพื้นที่ว่า อยากเป็นขวัญกำลังใจให้ประชาชน ต้องการไปดูว่าเจ้าหน้าที่มีความเป็นอยู่อย่างไร ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกตัวด้วยว่า จะลงพื้นที่ดูจุดเกิดเหตุแค่ 1-2 จุด เพราะไม่ต้องการเป็นภาระของเจ้าหน้าที่ที่ต้องมาดูแลความปลอดภัยให้
สำหรับความคืบหน้าการติดตามคนร้ายที่ก่อเหตุนั้น เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยก่อเหตุจักรยานยนต์บอมบ์ที่หน้าร้านข้าวแกง จ.ปัตตานีได้แล้ว ทราบชื่อคือ นายซำลี ปูลูดือเระ อยู่บ้านเลขที่ 60/1 หมู่ 4 ต.ม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ส่วนคนร้ายที่ก่อเหตุคาร์บอมบ์ที่หาดใหญ่นั้น นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้ตั้งรางวัลนำจับคนร้ายตามที่เห็นภาพจากกล้องวงจรปิด 2 คน คนละ 5 แสนบาท ซึ่งภายหลัง พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ได้ออกมาเพิ่มรางวัลนำจับคนร้ายทั้ง 2 คนอีกคนละ 1 ล้านบาท โดยขณะนี้มีการขอศาลออกหมายจับคนร้ายทั้ง 2 รายแล้ว
ส่วนคดีคาร์บอมบ์ที่ยะลา เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 3 ราย คือ นายดุลละหะเล็ง ยามาสกา โต๊ะอิหม่ามมัสยิด หมู่ 4 ต.จะกว๊ะ อ.รามัน เป็นหัวหน้ากลุ่มมือปืนระดับปฏิบัติการ มีสมาชิกแนวร่วมกว่า 30 ราย มีหมายจับ 9 คดี เคยก่อคดีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 คดี 2.นายอับดุลอาชิ อะตะมะ คอเต็บประจำมัสยิด หมู่ 3 ต.จะกว๊ะ มีหมายจับเช่นเดียวกับนายดุลละหะเล็ง และ 3.นายอัตนัน ดือราแม ชาว อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส อยู่ระหว่างสอบสวนว่าเคยร่วมก่อเหตุด้วยหรือไม่
ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศชต.) อ.เมืองยะลา ได้ทำเอกสารแจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งบรรดาห้างสรรพสินค้าและผู้ประกอบการโรงแรมให้ระวังเกิดคาร์บอมบ์ซ้ำ เพราะมีรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมและฆ่าเจ้าของรถรวม 5 คัน จึงอาจถูกผู้ก่อความไม่สงบนำมาก่อเหตุซ้ำได้
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พูดถึงกลุ่มผู้ก่อเหตุคาร์บอมบ์ใน 2 จังหวัดว่า เป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนเดิม หรือบีอาร์เอ็นเดิม และแยกออกมาเป็นบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต ซึ่งเป็นลูกหลานของคนสมัยก่อนทั้งสิ้น โดยแต่เดิมกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบนี้มีประมาณ 300 คน เมื่อรวมกับแนวร่วมมีประมาณ 10,000 คน แต่ถูกจับกุมไปบ้าง จึงเหลือประมาณ 4,000-5,000 คน พล.อ.ประยุทธ์ ยังบอกด้วยว่า ได้เรียนให้นายกรัฐมนตรีทราบแล้วว่า อย่าเจรจากับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น เพราะกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมีหลายกลุ่ม ไม่ได้มีแค่กลุ่มเดียว
พล.อ.ประยุทธ์ ยังประณามผู้ก่อเหตุคาร์บอมบ์ด้วยว่า เป็นพวกหมาลอบกัด โดยบอก คนพวกนี้เลว ฆ่าคนผู้บริสุทธิ์ โดยไม่สนใจว่าเป็นไทยพุทธหรือไทยมุสลิม คนพวกนี้เป็นสุนัขลอบกัด ต่อหน้าไม่เคยสู้เราได้อยู่แล้ว ดังนั้น ประชาชนควรจะต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการขจัดคนเหล่านี้ไป...
ทั้งนี้ มีรายงานจากฝ่ายความมั่นคงว่า เหตุที่โจรใต้ก่อเหตุคาร์บอมบ์และจักรยานยนต์บอมบ์ที่ยะลา สงขลา และปัตตานี เพราะไม่พอใจหลังทราบข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และตัวแทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)ไปพบผู้นำมาเลเซีย และให้ช่วยต่อสายเจรจากับ ดร.วัน กาเดร์ เจ๊ะมาน แกนนำเบอร์ซาตู อย่างไม่เป็นทางการ โดยมีนายนัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส.นราธิวาส พรรคเพื่อไทย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา ศอ.บต.ช่วยประสานด้วย กลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ไม่พอใจ จึงก่อเหตุคาร์บอมบ์และยิงเอ็ม 79 ใส่หลังคาบ้านนายนัจมุดดีน
เป็นที่น่าสังเกตว่า รายงานของฝ่ายความมั่นคงดังกล่าว สอดคล้องกับที่นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณคีรี ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ได้ออกมาแฉระหว่างยื่นกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรีกลางที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 เม.ย. โดยบอกว่า มีข่าวทั้งในไทยและในกลุ่มขบวนการต่างๆ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้ไปพูดคุยกับขบวนการพูโลที่ประเทศมาเลเซีย โดยเว็บไซต์ของขบวนการพูโลมีการลงภาพ พ.ต.ท.ทักษิณโอบกอดกับแกนนำพูโล จึงขอให้รัฐบาลไปตรวจสอบดู อย่าทำให้บ้านเมืองเสียหายไปมากกว่านี้ พร้อมถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า รู้เรื่องการเจรจาดังกล่าวด้วยใช่หรือไม่
ด้าน ส.ส.พรรคเพื่อไทยต่างออกมาปกป้องและปฏิเสธว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่เคยเจรจากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหรือขบวนการใดใด และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ไม่รู้เรื่องด้วย ขณะที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ท้าพรรคประชาธิปัตย์ว่า หากมีภาพที่อ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณกอดกับแกนนำพูโลจริง ให้นำไปดำเนินการตามกฎหมายได้เลย อย่ามาเล่นเกมการเมือง
2.สภาฯ ถกเดือด ก่อนเห็นชอบส่งรายงาน กมธ.ปรองดองให้ ครม. เมินคำขู่ ส.พระปกเกล้าถอนผลวิจัย ด้าน ปชป.ไม่ร่วมลงมติ!
หลังจากที่ประชุมรัฐสภาเสียงข้างมากนำโดยพรรคเพื่อไทย ได้ลงมติ 346 ต่อ 13 เสียงให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และอดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) เป็นประธาน โดยไม่สนคำทักท้วงและการวอล์กเอาต์ของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ปรากฏว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ได้มีหนังสือด่วนมากเรียกประชุมสภาฯ ในวันที่ 4-5 เม.ย. เพื่อพิจารณารายงานของ กมธ.ปรองดอง
ขณะที่สถาบันพระปกเกล้าได้นัดประชุมสภาสถาบันฯ เมื่อวันที่ 3 เม.ย.ก่อนหน้าการประชุมสภาผู้แทนราษฎร 1 วัน เพื่อพิจารณาว่าจะถอนผลวิจัยออกจากสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ เนื่องจากเกรงว่า กมธ.ปรองดองจะนำผลวิจัยไปอ้างเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่ม ซึ่งบิดเบือนไปจากเจตนารมณ์ของสถาบันพระปกเกล้าที่ต้องการให้เกิดความปรองดอง
โดยหลังประชุม นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ได้อ่านแถลงการณ์ของที่ประชุม สรุปความว่า สถาบันฯ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรแค่พิจารณารับทราบรายงานของ กมธ.ปรองดองที่อ้างผลวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าเท่านั้น ยังไม่ต้องเสนอ ครม.เพื่อดำเนินการต่อไป แต่ให้มีการขยายอายุของ กมธ.ปรองดองออกไปจนสิ้นสมัยประชุมสามัญสมัยหน้า และนำรายงานดังกล่าวไปจัดพูดคุยหาทางออกร่วมกันทั้งในระดับพรรคการเมืองและประชาชนทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง โดยไม่รวบรัดนำข้อเสนอที่พรรคใดพรรคหนึ่งได้ประโยชน์ไปปฏิบัติ เพราะข้อเสนอดังกล่าวเป็นเพียงประเด็นที่นักวิจัยเสนอให้นำไปพูดคุยหาทางออกเพื่อให้ได้ข้อยุติร่วมกันเท่านั้น
นายบวรศักดิ์ ยังย้ำด้วยว่า “หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบกับรายงาน และแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังข้อเสนอเดิมของ กมธ.ปรองดอง อันจะนำไปสู่ความสับสนของประชาชนและนำไปสู่สงครามความปรองดอง... สถาบันก็มีความเสียใจที่จะต้องขอรายงานการวิจัยดังกล่าวกลับคืนมา และหากผู้ใดจะทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่งานดังกล่าว จะต้องขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากสถาบันก่อน”
ทั้งนี้ หลังที่ประชุมสภาสถาบันพระปกเกล้าออกแถลงการณ์ ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาแสดงจุดยืนเห็นด้วยกับแถลงการณ์ดังกล่าว แต่ก็ยังคงเสนอให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน กมธ.ปรองดอง ถอนรายงานดังกล่าวออกจากสภาฯ ในวันที่ 4 เม.ย. ด้าน ส.ส.พรรคเพื่อไทยไม่พอใจแถลงการณ์ของสถาบันพระปกเกล้า จึงออกมาแถลงตอบโต้เป็นการใหญ่ โดยกล่าวหาว่า สถาบันพระปกเกล้ากำลังแทรกแซงการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ พร้อมอ้างว่า แถลงการณ์ของสถาบันพระปกเกล้ามีลักษณะข่มขู่ เพราะให้ขยายเวลาทำงานของ กมธ.ปรองดอง ไม่เช่นนั้นจะถอนงานวิจัย ทั้งนี้ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า กมธ.ปรองดองมีมติเอกฉันท์เสนอรายงานดังกล่าวเข้าสภาฯ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือลบล้างใดใดได้อีก
สำหรับบรรยากาศการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณารายงานของ กมธ.ปรองดองเมื่อวันที่ 4-5 เม.ย.นั้น ปรากฏว่า ที่หน้ารัฐสภา ได้มีเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินหรือกลุ่มคนเสื้อหลากสี ได้มาชุมนุมคัดค้านการที่ กมธ.ปรองดองจะเสนอรายงานต่อสภาฯ โดยอ้างอิงผลวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า
ขณะที่บรรยากาศในห้องประชุมสภาฯ ก็เป็นไปอย่างดุเดือด โดยหลังจาก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน กมธ.ปรองดอง ได้อธิบายความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องเข้าสู่กระบวนการปรองดอง เพราะความขัดแย้งทางการเมืองได้สร้างความเสียหายต่อประเทศในขั้นสูงสุด ทำให้ประเทศขาดความมั่นคง ปรากฏว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เตือนว่า หากเกิดความเสียหายใดใดตามมา รัฐบาลและ พล.อ.สนธิจะต้องรับผิดชอบ พร้อมย้ำว่า “ถ้าสภาไม่ทำตามข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า เรื่องนี้ก็จะกลายเป็นแค่ “บิ๊กบังหน้า” เอาความปรองดองมาแอบอ้างให้เป็นไปตามความต้องการของพรรคเพื่อไทย เอางานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้ามาบังหน้า”
ทั้งนี้ การประชุมได้เกิดความวุ่นวายประท้วงกันไปมา เมื่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายว่า ประชาชนมีคำถามว่าการปรองดอง จะปรองดองระหว่างใครกับใคร พร้อมพาดพิงไปถึงว่า ระบอบทักษิณมีแนวคิดจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองของไทยโดยสถาปนารัฐไทยใหม่ ไปจนถึงระบอบประธานาธิบดี ด้าน ส.ส.พรรคเพื่อไทยฟังแล้วไม่พอใจ ต่างลุกขึ้นประท้วง โดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้อภิปรายสวนกลับนายสุเทพว่า ตนไม่พร้อมปรองดองกับฆาตกร 91 ศพเช่นกัน
นายจตุพร ยังประกาศด้วยว่า ขอให้ดำเนินการนิรโทษกรรมให้กับทุกคน ยกเว้น 4 คน คือ ตน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพราะต้องการให้มีการพิสูจน์คดีก่อการร้ายและคดีบงการฆ่าพร้อมกันไปเลย
ด้านนายอภิสิทธิ์ ได้ลุกขึ้นประกาศว่า “ผมไม่ได้รับอะไรจากการนิรโทษฯ แต่ต้องการให้ลูกหลานอยู่ในบ้านเมืองที่มีขื่อมีแป ที่บอกว่าถ้าจะเอาผิดผู้ก่อการร้ายต้องเอาผิดฆาตกรด้วย ก็ระวังว่าผู้ก่อการร้ายกับฆาตกรจะเป็นคนเดียวกัน การมาท้าทายผมว่า อย่านิรโทษฯให้คน 2 ต่อ 2 ระหว่างผม นายสุเทพ กับนายจตุพร และนายณัฐวุฒิ ผมท้าให้ 2 ต่อ 1 เลย คือ อย่านิรโทษฯ ผม นายสุเทพ และ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างนี้ผมเอา ถ้าจะต้องตอบโจทย์คุณทักษิณด้วย ก็ให้วางให้ประชาชนตัดสินใจ อย่าทำลายระบบประเทศ คดีที่ตัดสินแล้วต้องรับโทษ...”
ทั้งนี้ หลังอภิปรายเกี่ยวกับรายงานของ กมธ.ปรองดองมาพอสมควร นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ได้เตรียมปิดอภิปรายและลงมติรับทราบรายงานของ กมธ.ปรองดอง ทางแกนนำพรรคประชาธิปัตย์จึงถามที่ประชุมว่า จะดำเนินการอย่างไรกับรายงานของ กมธ.ปรองดอง จะส่งรายงานให้ ครม.เพื่อดำเนินการต่อไป หรือจะทำตามแถลงการณ์ที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอ คือสภาแค่รับทราบรายงาน แล้วขยายอายุ กมธ. ปรองดองออกไปจนสิ้นสมัยประชุมหน้า และระหว่างนั้นก็ให้สถาบันพระปกเกล้าจัดเสวนาทั่วประเทศ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า เพราะรายงานของ กมธ.ปรองดอง ยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยว่ารัฐบาลอาจหยิบยกบางประเด็น เช่น ยกเลิกคดีที่เกิดจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) และ นิรโทษกรรมคนใดคนหนึ่ง ซึ่งจะกลายเป็นชนวนนำไปสู่ความแตกแยก
ด้านนายสมศักดิ์ รีบตัดบท โดยบอกว่า ที่ประชุมรับทราบรายงานเรียบร้อยแล้ว ก่อนสั่งให้ที่ประชุมลงมติรับทราบข้อสังเกตรายงานของ กมธ.ปรองดองที่จะส่งให้ ครม.ต่อไป ทางแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน จึงบอกว่า น่าเสียดายที่สถาบันพระปกเกล้าได้ชี้ทางสวรรค์ให้แล้ว แต่ไม่มีประโยชน์ วันนี้พวกตนจะไม่วอล์กเอาต์ จะอยู่จนจบ แต่จะไม่ลงมติใดใด เพราะจะเป็นความยุติธรรมของผู้ชนะ แล้วเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
จากนั้นที่ประชุมเสียงข้างมากได้ลงมติเห็นด้วยกับการส่งรายงานของ กมธ.ปรองดองให้ ครม. 307 เสียง ขณะที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งอยู่ในห้องประชุมด้วยไม่กดปุ่มใดใด ทั้งนี้ ต้องจับตาว่า สถาบันพระปกเกล้าจะถอนผลวิจัยคืนตามที่ได้ออกแถลงการณ์ไปหรือไม่ เมื่อสภาไม่ทำตามข้อเสนอเช่นนี้
3.ดีเอสไอ ปิดสำนวนคดีล้มเจ้าแล้ว อ้างไม่พบผิด 39 ผู้ต้องสงสัย ส่งให้อัยการชี้ขาดอีกครั้ง!
เมื่อวันที่ 4 เม.ย. พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีการกระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐด้วยการล่วงละเมิดสถาบัน(คดีล้มเจ้า) เผยว่า ดีเอสไอได้สรุปสำนวนคดีส่งให้อัยการคดีพิเศษพิจารณาแล้ว โดยสรุปว่า ดีเอสไอได้ดำเนินการสืบสวนหาพยานหลักฐานในคดีจนหมดครบถ้วนแล้ว แต่ไม่พบการกระทำผิดของผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 39 คน และไม่สามารถหาหลักฐานได้มากกว่านี้แล้ว โดยอัยการได้รับไว้พิจารณาและนัดประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 11 เม.ย. ส่วนจะสอบสวนต่อหรือไม่นั้น พ.ต.อ.ประเวศน์ บอกว่า ขึ้นอยู่กับอัยการว่าจะเห็นอย่างไร
พ.ต.อ.ประเวศน์ ยังชี้แจงสาเหตุที่ต้องส่งสำนวนให้อัยการพิจารณาก่อนด้วยว่า เนื่องจากบางเหตุการณ์เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร ซึ่งอัยการจะตรวจสอบว่า หลักฐานในชั้นนี้เพียงพอหรือไม่ และต้องสอบบุคคลใดเพิ่มเติมที่จะเป็นประโยชน์ต่อคดีหรือไม่
สำหรับบุคคลที่มีชื่อปรากฏอยู่ในผังเครือข่ายล้มเจ้า ได้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ,นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย และส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ,นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,นายจักรภพ เพ็ญแข ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน ,ดา ตอร์ปิโด ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน ,นายใจ อึ๊งภากรณ์ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน ฯลฯ
เป็นที่น่าสังเกตว่า คดีนายจักรภพหมิ่นสถาบัน จากกรณีที่บรรยายพิเศษที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย(เอฟซีซีที) เมื่อวันที่ 29 ส.ค.2550 นั้น เพิ่งมีข่าวออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ว่า อัยการได้สั่งไม่ฟ้องไปแล้วเช่นกันตั้งแต่เมื่อเดือน ก.ย.2554 ขณะนี้สำนวนและความเห็นของอัยการได้ส่งไปให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาว่าจะเห็นแย้งกับอัยการหรือไม่
4.“กิตติรัตน์” เมินตั้งกองทุนหมื่นล้านช่วยเอสเอ็มอี ยัน เอกชนต้องทำใจปรับค่าจ้าง 300 บ. ด้านสภาอุตฯ เตือน ราคาสินค้าพุ่งหลัง 6 เดือน!
ผลจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่นำร่องใน 7 จังหวัด และขึ้นประมาณ 40% ในจังหวัดที่เหลือตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท เพื่อจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทนั้น
ปรากฏว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส่งสัญญาณไม่เห็นด้วย โดยบอกว่า ถ้ามีการเสนอให้ตั้งกองทุนดังกล่าวจริง ก็จะไม่นำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพราะการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะเพิ่มรายได้ให้กับผู้มีรายได้น้อย และรัฐบาลไม่ได้ปรับขึ้นแบบฉับพลันแต่อย่างใด และว่า ภาคเอกชนต้องทำใจ ต้องปรับตัวให้ได้ “ผมไม่ได้เป็นพวกสังคมนิยม แต่บางเรื่องทำใจยากมาก ว่าอยู่กันได้อย่างไรกับค่าแรงวันละ 215 บาท ซื้อปัจจัย 4 ยังไม่ครบเลย”
ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง บอกว่า รัฐบาลกำลังพิจารณามาตรการอื่นๆ ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้าง 300 บาท ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะใช้ส่วนต่างของต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นค่าจ้าง นำมาเป็นส่วนต่างในการหักลดหย่อนภาษี โดยจะเสนอแนวทางดังกล่าวต่อที่ประชุม ครม.ในเร็วๆ นี้
ส่วนกรณีที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ได้รับร้องเรียนจากแรงงานว่า ถูกนายจ้างบังคับให้เซ็นยินยอมรับค่าจ้างตามที่บริษัทกำหนด โดยนำสวัสดิการต่างๆ มารวมกับค่าจ้างเพื่อให้ได้วันละ 300 บาท ไม่เช่นนั้นจะถูกไล่ออกนั้น นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน บอกว่า อยากให้ คสรท.ส่งเรื่องมา เพื่อจะได้ให้พนักงานตรวจแรงงานออกหนังสือเตือนนายจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยปรับขึ้นค่าจ้างตามอัตราใหม่ภายใน 30 วัน หากไม่ปฏิบัติตาม จะมีความผิด ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนที่ระบุว่านายจ้างบังคับให้เซ็นยินยอมนั้น นายอาทิตย์ บอกว่า กรมฯ ไม่มีอำนาจไปเอาผิดได้ เพราะเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากมีการฟ้องร้อง ก็ต้องพิสูจน์กันต่อไป
ด้านนายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ได้ออกมาเผยว่า ผลจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและสิ่งทอต้องปิดกิจการและเสี่ยงปิดกิจการประมาณ 2 แสนราย ซึ่งตัวเลขใกล้เคียงกับผลสำรวจของหอการค้าไทย จึงอยากให้รัฐบาลนำข้อมูลไปพิจารณาและเทียบเคียงกับตัวเลขที่มีอยู่
ขณะที่นายธนิต โสรัตน์ รองประธาน ส.อ.ท. บอกว่า การจะประเมินว่าโรงงานใดจะอยู่รอดหรือไม่ ก็คือหลังขึ้นค่าจ้าง 300 บาทไปแล้ว 6 เดือนหรือช่วงปลายปีนี้ และว่า หากผู้ประกอบการยังมีเงินทุนหมุนเวียนได้หลังผ่าน 6 เดือน สังคมไทยก็ต้องพร้อมรับกับราคาสินค้าที่จะปรับตัวสูงขึ้น เพราะผลจากค่าแรงทำให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมสูงขึ้นเป็น 4.5% ขณะที่กำไรเฉลี่ยก่อนปรับค่าแรงอยู่ที่ 5% ดังนั้น เมื่อส่วนต่างเหลือเพียง 0.5% ผู้ประกอบการก็ต้องขอปรับราคาเท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 4.5% เพื่อรักษากำไรให้ธุรกิจอยู่ได้
1.“ในหลวง-พระราชินี” ทรงห่วงผู้บาดเจ็บคาร์บอมบ์ ด้าน ปชป. แฉ “ทักษิณ” พบแกนนำพูโล ก่อนเกิดคาร์บอมบ์!
ความคืบหน้าเหตุระเบิดใน 3 จังหวัดภาคใต้ โดยเป็นคาร์บอมบ์ 2 จังหวัด คือ ยะลาและสงขลา ส่วนปัตตานีเป็นจักรยานยนต์บอมบ์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 14 ราย และบาดเจ็บกว่า 500 คนเมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยราษฎรที่ได้รับบาดเจ็บ จึงได้พระราชทานสิ่งของแก่ผู้บาดเจ็บที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลยะลาจำนวน 30 ราย เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ รวมทั้งได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 5 แสนบาท ผ่านสภากาชาดไทย เพื่อนำไปให้โรงพยาบาลยะลาใช้จ่ายในการรักษาผู้บาดเจ็บด้วย
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอนแรกส่งสัญญาณว่าจะไม่ลงพื้นที่เพื่อดูที่เกิดเหตุหรือเยี่ยมผู้บาดเจ็บ โดยให้ 2 รัฐมนตรีลงพื้นที่แทน คือ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่หลังจากถูกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเหน็บว่านายกฯ ใจดำไม่ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนผู้บาดเจ็บ น.ส.ยิ่งลักษณ์จึงได้เปลี่ยนใจ โดยนำรัฐมนตรีลงพื้นที่เยี่ยมผู้บาดเจ็บที่หาดใหญ่เมื่อวันที่ 2 เม.ย. พร้อมให้เหตุผลที่เปลี่ยนใจลงพื้นที่ว่า อยากเป็นขวัญกำลังใจให้ประชาชน ต้องการไปดูว่าเจ้าหน้าที่มีความเป็นอยู่อย่างไร ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกตัวด้วยว่า จะลงพื้นที่ดูจุดเกิดเหตุแค่ 1-2 จุด เพราะไม่ต้องการเป็นภาระของเจ้าหน้าที่ที่ต้องมาดูแลความปลอดภัยให้
สำหรับความคืบหน้าการติดตามคนร้ายที่ก่อเหตุนั้น เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยก่อเหตุจักรยานยนต์บอมบ์ที่หน้าร้านข้าวแกง จ.ปัตตานีได้แล้ว ทราบชื่อคือ นายซำลี ปูลูดือเระ อยู่บ้านเลขที่ 60/1 หมู่ 4 ต.ม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ส่วนคนร้ายที่ก่อเหตุคาร์บอมบ์ที่หาดใหญ่นั้น นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้ตั้งรางวัลนำจับคนร้ายตามที่เห็นภาพจากกล้องวงจรปิด 2 คน คนละ 5 แสนบาท ซึ่งภายหลัง พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ได้ออกมาเพิ่มรางวัลนำจับคนร้ายทั้ง 2 คนอีกคนละ 1 ล้านบาท โดยขณะนี้มีการขอศาลออกหมายจับคนร้ายทั้ง 2 รายแล้ว
ส่วนคดีคาร์บอมบ์ที่ยะลา เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 3 ราย คือ นายดุลละหะเล็ง ยามาสกา โต๊ะอิหม่ามมัสยิด หมู่ 4 ต.จะกว๊ะ อ.รามัน เป็นหัวหน้ากลุ่มมือปืนระดับปฏิบัติการ มีสมาชิกแนวร่วมกว่า 30 ราย มีหมายจับ 9 คดี เคยก่อคดีมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 คดี 2.นายอับดุลอาชิ อะตะมะ คอเต็บประจำมัสยิด หมู่ 3 ต.จะกว๊ะ มีหมายจับเช่นเดียวกับนายดุลละหะเล็ง และ 3.นายอัตนัน ดือราแม ชาว อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส อยู่ระหว่างสอบสวนว่าเคยร่วมก่อเหตุด้วยหรือไม่
ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศชต.) อ.เมืองยะลา ได้ทำเอกสารแจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งบรรดาห้างสรรพสินค้าและผู้ประกอบการโรงแรมให้ระวังเกิดคาร์บอมบ์ซ้ำ เพราะมีรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมและฆ่าเจ้าของรถรวม 5 คัน จึงอาจถูกผู้ก่อความไม่สงบนำมาก่อเหตุซ้ำได้
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พูดถึงกลุ่มผู้ก่อเหตุคาร์บอมบ์ใน 2 จังหวัดว่า เป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนเดิม หรือบีอาร์เอ็นเดิม และแยกออกมาเป็นบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต ซึ่งเป็นลูกหลานของคนสมัยก่อนทั้งสิ้น โดยแต่เดิมกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบนี้มีประมาณ 300 คน เมื่อรวมกับแนวร่วมมีประมาณ 10,000 คน แต่ถูกจับกุมไปบ้าง จึงเหลือประมาณ 4,000-5,000 คน พล.อ.ประยุทธ์ ยังบอกด้วยว่า ได้เรียนให้นายกรัฐมนตรีทราบแล้วว่า อย่าเจรจากับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น เพราะกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมีหลายกลุ่ม ไม่ได้มีแค่กลุ่มเดียว
พล.อ.ประยุทธ์ ยังประณามผู้ก่อเหตุคาร์บอมบ์ด้วยว่า เป็นพวกหมาลอบกัด โดยบอก คนพวกนี้เลว ฆ่าคนผู้บริสุทธิ์ โดยไม่สนใจว่าเป็นไทยพุทธหรือไทยมุสลิม คนพวกนี้เป็นสุนัขลอบกัด ต่อหน้าไม่เคยสู้เราได้อยู่แล้ว ดังนั้น ประชาชนควรจะต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการขจัดคนเหล่านี้ไป...
ทั้งนี้ มีรายงานจากฝ่ายความมั่นคงว่า เหตุที่โจรใต้ก่อเหตุคาร์บอมบ์และจักรยานยนต์บอมบ์ที่ยะลา สงขลา และปัตตานี เพราะไม่พอใจหลังทราบข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และตัวแทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)ไปพบผู้นำมาเลเซีย และให้ช่วยต่อสายเจรจากับ ดร.วัน กาเดร์ เจ๊ะมาน แกนนำเบอร์ซาตู อย่างไม่เป็นทางการ โดยมีนายนัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส.นราธิวาส พรรคเพื่อไทย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา ศอ.บต.ช่วยประสานด้วย กลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ไม่พอใจ จึงก่อเหตุคาร์บอมบ์และยิงเอ็ม 79 ใส่หลังคาบ้านนายนัจมุดดีน
เป็นที่น่าสังเกตว่า รายงานของฝ่ายความมั่นคงดังกล่าว สอดคล้องกับที่นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณคีรี ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ได้ออกมาแฉระหว่างยื่นกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรีกลางที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 เม.ย. โดยบอกว่า มีข่าวทั้งในไทยและในกลุ่มขบวนการต่างๆ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้ไปพูดคุยกับขบวนการพูโลที่ประเทศมาเลเซีย โดยเว็บไซต์ของขบวนการพูโลมีการลงภาพ พ.ต.ท.ทักษิณโอบกอดกับแกนนำพูโล จึงขอให้รัฐบาลไปตรวจสอบดู อย่าทำให้บ้านเมืองเสียหายไปมากกว่านี้ พร้อมถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า รู้เรื่องการเจรจาดังกล่าวด้วยใช่หรือไม่
ด้าน ส.ส.พรรคเพื่อไทยต่างออกมาปกป้องและปฏิเสธว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่เคยเจรจากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหรือขบวนการใดใด และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ไม่รู้เรื่องด้วย ขณะที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ท้าพรรคประชาธิปัตย์ว่า หากมีภาพที่อ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณกอดกับแกนนำพูโลจริง ให้นำไปดำเนินการตามกฎหมายได้เลย อย่ามาเล่นเกมการเมือง
2.สภาฯ ถกเดือด ก่อนเห็นชอบส่งรายงาน กมธ.ปรองดองให้ ครม. เมินคำขู่ ส.พระปกเกล้าถอนผลวิจัย ด้าน ปชป.ไม่ร่วมลงมติ!
หลังจากที่ประชุมรัฐสภาเสียงข้างมากนำโดยพรรคเพื่อไทย ได้ลงมติ 346 ต่อ 13 เสียงให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และอดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) เป็นประธาน โดยไม่สนคำทักท้วงและการวอล์กเอาต์ของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ปรากฏว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ได้มีหนังสือด่วนมากเรียกประชุมสภาฯ ในวันที่ 4-5 เม.ย. เพื่อพิจารณารายงานของ กมธ.ปรองดอง
ขณะที่สถาบันพระปกเกล้าได้นัดประชุมสภาสถาบันฯ เมื่อวันที่ 3 เม.ย.ก่อนหน้าการประชุมสภาผู้แทนราษฎร 1 วัน เพื่อพิจารณาว่าจะถอนผลวิจัยออกจากสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ เนื่องจากเกรงว่า กมธ.ปรองดองจะนำผลวิจัยไปอ้างเพื่อผลประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่ม ซึ่งบิดเบือนไปจากเจตนารมณ์ของสถาบันพระปกเกล้าที่ต้องการให้เกิดความปรองดอง
โดยหลังประชุม นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ได้อ่านแถลงการณ์ของที่ประชุม สรุปความว่า สถาบันฯ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรแค่พิจารณารับทราบรายงานของ กมธ.ปรองดองที่อ้างผลวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าเท่านั้น ยังไม่ต้องเสนอ ครม.เพื่อดำเนินการต่อไป แต่ให้มีการขยายอายุของ กมธ.ปรองดองออกไปจนสิ้นสมัยประชุมสามัญสมัยหน้า และนำรายงานดังกล่าวไปจัดพูดคุยหาทางออกร่วมกันทั้งในระดับพรรคการเมืองและประชาชนทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง โดยไม่รวบรัดนำข้อเสนอที่พรรคใดพรรคหนึ่งได้ประโยชน์ไปปฏิบัติ เพราะข้อเสนอดังกล่าวเป็นเพียงประเด็นที่นักวิจัยเสนอให้นำไปพูดคุยหาทางออกเพื่อให้ได้ข้อยุติร่วมกันเท่านั้น
นายบวรศักดิ์ ยังย้ำด้วยว่า “หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบกับรายงาน และแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังข้อเสนอเดิมของ กมธ.ปรองดอง อันจะนำไปสู่ความสับสนของประชาชนและนำไปสู่สงครามความปรองดอง... สถาบันก็มีความเสียใจที่จะต้องขอรายงานการวิจัยดังกล่าวกลับคืนมา และหากผู้ใดจะทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่งานดังกล่าว จะต้องขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากสถาบันก่อน”
ทั้งนี้ หลังที่ประชุมสภาสถาบันพระปกเกล้าออกแถลงการณ์ ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาแสดงจุดยืนเห็นด้วยกับแถลงการณ์ดังกล่าว แต่ก็ยังคงเสนอให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน กมธ.ปรองดอง ถอนรายงานดังกล่าวออกจากสภาฯ ในวันที่ 4 เม.ย. ด้าน ส.ส.พรรคเพื่อไทยไม่พอใจแถลงการณ์ของสถาบันพระปกเกล้า จึงออกมาแถลงตอบโต้เป็นการใหญ่ โดยกล่าวหาว่า สถาบันพระปกเกล้ากำลังแทรกแซงการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ พร้อมอ้างว่า แถลงการณ์ของสถาบันพระปกเกล้ามีลักษณะข่มขู่ เพราะให้ขยายเวลาทำงานของ กมธ.ปรองดอง ไม่เช่นนั้นจะถอนงานวิจัย ทั้งนี้ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า กมธ.ปรองดองมีมติเอกฉันท์เสนอรายงานดังกล่าวเข้าสภาฯ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือลบล้างใดใดได้อีก
สำหรับบรรยากาศการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณารายงานของ กมธ.ปรองดองเมื่อวันที่ 4-5 เม.ย.นั้น ปรากฏว่า ที่หน้ารัฐสภา ได้มีเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินหรือกลุ่มคนเสื้อหลากสี ได้มาชุมนุมคัดค้านการที่ กมธ.ปรองดองจะเสนอรายงานต่อสภาฯ โดยอ้างอิงผลวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า
ขณะที่บรรยากาศในห้องประชุมสภาฯ ก็เป็นไปอย่างดุเดือด โดยหลังจาก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน กมธ.ปรองดอง ได้อธิบายความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องเข้าสู่กระบวนการปรองดอง เพราะความขัดแย้งทางการเมืองได้สร้างความเสียหายต่อประเทศในขั้นสูงสุด ทำให้ประเทศขาดความมั่นคง ปรากฏว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เตือนว่า หากเกิดความเสียหายใดใดตามมา รัฐบาลและ พล.อ.สนธิจะต้องรับผิดชอบ พร้อมย้ำว่า “ถ้าสภาไม่ทำตามข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า เรื่องนี้ก็จะกลายเป็นแค่ “บิ๊กบังหน้า” เอาความปรองดองมาแอบอ้างให้เป็นไปตามความต้องการของพรรคเพื่อไทย เอางานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้ามาบังหน้า”
ทั้งนี้ การประชุมได้เกิดความวุ่นวายประท้วงกันไปมา เมื่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายว่า ประชาชนมีคำถามว่าการปรองดอง จะปรองดองระหว่างใครกับใคร พร้อมพาดพิงไปถึงว่า ระบอบทักษิณมีแนวคิดจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองของไทยโดยสถาปนารัฐไทยใหม่ ไปจนถึงระบอบประธานาธิบดี ด้าน ส.ส.พรรคเพื่อไทยฟังแล้วไม่พอใจ ต่างลุกขึ้นประท้วง โดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้อภิปรายสวนกลับนายสุเทพว่า ตนไม่พร้อมปรองดองกับฆาตกร 91 ศพเช่นกัน
นายจตุพร ยังประกาศด้วยว่า ขอให้ดำเนินการนิรโทษกรรมให้กับทุกคน ยกเว้น 4 คน คือ ตน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพราะต้องการให้มีการพิสูจน์คดีก่อการร้ายและคดีบงการฆ่าพร้อมกันไปเลย
ด้านนายอภิสิทธิ์ ได้ลุกขึ้นประกาศว่า “ผมไม่ได้รับอะไรจากการนิรโทษฯ แต่ต้องการให้ลูกหลานอยู่ในบ้านเมืองที่มีขื่อมีแป ที่บอกว่าถ้าจะเอาผิดผู้ก่อการร้ายต้องเอาผิดฆาตกรด้วย ก็ระวังว่าผู้ก่อการร้ายกับฆาตกรจะเป็นคนเดียวกัน การมาท้าทายผมว่า อย่านิรโทษฯให้คน 2 ต่อ 2 ระหว่างผม นายสุเทพ กับนายจตุพร และนายณัฐวุฒิ ผมท้าให้ 2 ต่อ 1 เลย คือ อย่านิรโทษฯ ผม นายสุเทพ และ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างนี้ผมเอา ถ้าจะต้องตอบโจทย์คุณทักษิณด้วย ก็ให้วางให้ประชาชนตัดสินใจ อย่าทำลายระบบประเทศ คดีที่ตัดสินแล้วต้องรับโทษ...”
ทั้งนี้ หลังอภิปรายเกี่ยวกับรายงานของ กมธ.ปรองดองมาพอสมควร นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ได้เตรียมปิดอภิปรายและลงมติรับทราบรายงานของ กมธ.ปรองดอง ทางแกนนำพรรคประชาธิปัตย์จึงถามที่ประชุมว่า จะดำเนินการอย่างไรกับรายงานของ กมธ.ปรองดอง จะส่งรายงานให้ ครม.เพื่อดำเนินการต่อไป หรือจะทำตามแถลงการณ์ที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอ คือสภาแค่รับทราบรายงาน แล้วขยายอายุ กมธ. ปรองดองออกไปจนสิ้นสมัยประชุมหน้า และระหว่างนั้นก็ให้สถาบันพระปกเกล้าจัดเสวนาทั่วประเทศ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า เพราะรายงานของ กมธ.ปรองดอง ยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยว่ารัฐบาลอาจหยิบยกบางประเด็น เช่น ยกเลิกคดีที่เกิดจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) และ นิรโทษกรรมคนใดคนหนึ่ง ซึ่งจะกลายเป็นชนวนนำไปสู่ความแตกแยก
ด้านนายสมศักดิ์ รีบตัดบท โดยบอกว่า ที่ประชุมรับทราบรายงานเรียบร้อยแล้ว ก่อนสั่งให้ที่ประชุมลงมติรับทราบข้อสังเกตรายงานของ กมธ.ปรองดองที่จะส่งให้ ครม.ต่อไป ทางแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน จึงบอกว่า น่าเสียดายที่สถาบันพระปกเกล้าได้ชี้ทางสวรรค์ให้แล้ว แต่ไม่มีประโยชน์ วันนี้พวกตนจะไม่วอล์กเอาต์ จะอยู่จนจบ แต่จะไม่ลงมติใดใด เพราะจะเป็นความยุติธรรมของผู้ชนะ แล้วเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
จากนั้นที่ประชุมเสียงข้างมากได้ลงมติเห็นด้วยกับการส่งรายงานของ กมธ.ปรองดองให้ ครม. 307 เสียง ขณะที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งอยู่ในห้องประชุมด้วยไม่กดปุ่มใดใด ทั้งนี้ ต้องจับตาว่า สถาบันพระปกเกล้าจะถอนผลวิจัยคืนตามที่ได้ออกแถลงการณ์ไปหรือไม่ เมื่อสภาไม่ทำตามข้อเสนอเช่นนี้
3.ดีเอสไอ ปิดสำนวนคดีล้มเจ้าแล้ว อ้างไม่พบผิด 39 ผู้ต้องสงสัย ส่งให้อัยการชี้ขาดอีกครั้ง!
เมื่อวันที่ 4 เม.ย. พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีการกระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐด้วยการล่วงละเมิดสถาบัน(คดีล้มเจ้า) เผยว่า ดีเอสไอได้สรุปสำนวนคดีส่งให้อัยการคดีพิเศษพิจารณาแล้ว โดยสรุปว่า ดีเอสไอได้ดำเนินการสืบสวนหาพยานหลักฐานในคดีจนหมดครบถ้วนแล้ว แต่ไม่พบการกระทำผิดของผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 39 คน และไม่สามารถหาหลักฐานได้มากกว่านี้แล้ว โดยอัยการได้รับไว้พิจารณาและนัดประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 11 เม.ย. ส่วนจะสอบสวนต่อหรือไม่นั้น พ.ต.อ.ประเวศน์ บอกว่า ขึ้นอยู่กับอัยการว่าจะเห็นอย่างไร
พ.ต.อ.ประเวศน์ ยังชี้แจงสาเหตุที่ต้องส่งสำนวนให้อัยการพิจารณาก่อนด้วยว่า เนื่องจากบางเหตุการณ์เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร ซึ่งอัยการจะตรวจสอบว่า หลักฐานในชั้นนี้เพียงพอหรือไม่ และต้องสอบบุคคลใดเพิ่มเติมที่จะเป็นประโยชน์ต่อคดีหรือไม่
สำหรับบุคคลที่มีชื่อปรากฏอยู่ในผังเครือข่ายล้มเจ้า ได้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ,นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย และส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ,นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,นายจักรภพ เพ็ญแข ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน ,ดา ตอร์ปิโด ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน ,นายใจ อึ๊งภากรณ์ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นสถาบัน ฯลฯ
เป็นที่น่าสังเกตว่า คดีนายจักรภพหมิ่นสถาบัน จากกรณีที่บรรยายพิเศษที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย(เอฟซีซีที) เมื่อวันที่ 29 ส.ค.2550 นั้น เพิ่งมีข่าวออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ว่า อัยการได้สั่งไม่ฟ้องไปแล้วเช่นกันตั้งแต่เมื่อเดือน ก.ย.2554 ขณะนี้สำนวนและความเห็นของอัยการได้ส่งไปให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาว่าจะเห็นแย้งกับอัยการหรือไม่
4.“กิตติรัตน์” เมินตั้งกองทุนหมื่นล้านช่วยเอสเอ็มอี ยัน เอกชนต้องทำใจปรับค่าจ้าง 300 บ. ด้านสภาอุตฯ เตือน ราคาสินค้าพุ่งหลัง 6 เดือน!
ผลจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ที่นำร่องใน 7 จังหวัด และขึ้นประมาณ 40% ในจังหวัดที่เหลือตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท เพื่อจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทนั้น
ปรากฏว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส่งสัญญาณไม่เห็นด้วย โดยบอกว่า ถ้ามีการเสนอให้ตั้งกองทุนดังกล่าวจริง ก็จะไม่นำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพราะการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะเพิ่มรายได้ให้กับผู้มีรายได้น้อย และรัฐบาลไม่ได้ปรับขึ้นแบบฉับพลันแต่อย่างใด และว่า ภาคเอกชนต้องทำใจ ต้องปรับตัวให้ได้ “ผมไม่ได้เป็นพวกสังคมนิยม แต่บางเรื่องทำใจยากมาก ว่าอยู่กันได้อย่างไรกับค่าแรงวันละ 215 บาท ซื้อปัจจัย 4 ยังไม่ครบเลย”
ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง บอกว่า รัฐบาลกำลังพิจารณามาตรการอื่นๆ ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้าง 300 บาท ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะใช้ส่วนต่างของต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นค่าจ้าง นำมาเป็นส่วนต่างในการหักลดหย่อนภาษี โดยจะเสนอแนวทางดังกล่าวต่อที่ประชุม ครม.ในเร็วๆ นี้
ส่วนกรณีที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ได้รับร้องเรียนจากแรงงานว่า ถูกนายจ้างบังคับให้เซ็นยินยอมรับค่าจ้างตามที่บริษัทกำหนด โดยนำสวัสดิการต่างๆ มารวมกับค่าจ้างเพื่อให้ได้วันละ 300 บาท ไม่เช่นนั้นจะถูกไล่ออกนั้น นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน บอกว่า อยากให้ คสรท.ส่งเรื่องมา เพื่อจะได้ให้พนักงานตรวจแรงงานออกหนังสือเตือนนายจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยปรับขึ้นค่าจ้างตามอัตราใหม่ภายใน 30 วัน หากไม่ปฏิบัติตาม จะมีความผิด ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนที่ระบุว่านายจ้างบังคับให้เซ็นยินยอมนั้น นายอาทิตย์ บอกว่า กรมฯ ไม่มีอำนาจไปเอาผิดได้ เพราะเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากมีการฟ้องร้อง ก็ต้องพิสูจน์กันต่อไป
ด้านนายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ได้ออกมาเผยว่า ผลจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและสิ่งทอต้องปิดกิจการและเสี่ยงปิดกิจการประมาณ 2 แสนราย ซึ่งตัวเลขใกล้เคียงกับผลสำรวจของหอการค้าไทย จึงอยากให้รัฐบาลนำข้อมูลไปพิจารณาและเทียบเคียงกับตัวเลขที่มีอยู่
ขณะที่นายธนิต โสรัตน์ รองประธาน ส.อ.ท. บอกว่า การจะประเมินว่าโรงงานใดจะอยู่รอดหรือไม่ ก็คือหลังขึ้นค่าจ้าง 300 บาทไปแล้ว 6 เดือนหรือช่วงปลายปีนี้ และว่า หากผู้ประกอบการยังมีเงินทุนหมุนเวียนได้หลังผ่าน 6 เดือน สังคมไทยก็ต้องพร้อมรับกับราคาสินค้าที่จะปรับตัวสูงขึ้น เพราะผลจากค่าแรงทำให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมสูงขึ้นเป็น 4.5% ขณะที่กำไรเฉลี่ยก่อนปรับค่าแรงอยู่ที่ 5% ดังนั้น เมื่อส่วนต่างเหลือเพียง 0.5% ผู้ประกอบการก็ต้องขอปรับราคาเท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 4.5% เพื่อรักษากำไรให้ธุรกิจอยู่ได้