คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.วิกฤตน้ำ ลามเข้า กทม. ชั้นใน อ่วมทั้ง ถ.วิภาวดี - ถ.พหลโยธิน ด้าน “สุขุมพันธุ์” สั่งเฝ้าระวังเขต “ดินแดง” !
สถานการณ์น้ำท่วมสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้หลายพื้นที่ของ กทม.จะจมน้ำ เช่น ย่านบางพลัด ,อรุณอมรินทร์ ,ทวีวัฒนา ,สายไหม ,ดอนเมือง ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ต้องอพยพไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย ไม่เว้นแม้แต่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยอมย้ายสถานที่ทำงานจากสนามบินดอนเมืองไปยังอาคารของกระทรวงพลังงานย่านวิภาวดี ทั้งที่ยืนยันมาตลอดว่า ศปภ.จะไม่ย้ายไปไหน ทั้งนี้ มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ศปภ.เอาตัวรอดด้วยการย้ายที่ทำการ แต่กลับทิ้งผู้ประสบอุทกภัยไว้ที่ศูนย์พักพิงดอนเมืองของ ศปภ.ให้อยู่อย่างเดือดร้อนอีกหลายร้อยคน แถมยังทิ้งของบริจาค เช่น เสื้อผ้า ,น้ำดื่ม ,สุขาลอยน้ำ ฯลฯ ที่มีผู้บริจาคผ่าน ศปภ.ให้ลอยน้ำเกลื่อนสนามบินดอนเมืองอีกจำนวนมาก
ส่วนกรณีที่มีผู้เสนอให้รัฐบาลขยายวันหยุดราชการกรณีพิเศษเพิ่มเติม หลังครบกำหนดที่ประกาศให้หยุดวันที่ 27-31 ต.ค.ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงนั้น ปรากฏว่า รัฐบาลไม่ขยาย โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้เหตุผลว่า แม้รัฐบาลจะประกาศวันหยุด แต่หน่วยงานเอกชนยังไม่หยุดงาน เพราะมีความเป็นห่วงในภาพรวม ดังนั้นรัฐบาลจะไม่ประกาศหยุดเพิ่ม ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังเชื่อด้วยว่า หลังวันที่ 31 ต.ค.สถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายขึ้น “ถ้าพ้นวันที่ 31 ต.ค.ก็น่าจะคลี่คลายลงได้... เท่าที่ติดตามดูระดับน้ำทะเลคงไม่สูงกว่านี้ ตอนนี้เราต้องรักษาคันคลองให้ดี และหากไม่มีฝนตกหรือพายุเข้ามาแรง สถานการณ์ไม่น่าจะแย่ไปกว่านี้”
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังชี้ด้วยว่า มวลน้ำก้อนใหญ่จากทางเหนือที่เคยบอกว่ามีเป็นหมื่นล้านลูกบาศก์เมตรจะเข้า กทม. ไม่มีแล้ว สังเกตได้จากปริมาณน้ำที่ไหลมาจาก จ.นครสวรรค์และชัยนาทลดลง “มวลน้ำก้อนใหญ่คงไม่เห็นอีก แต่ไม่ได้แปลว่าน้ำจะไม่ไหลเข้ามาใน กทม. เพราะน้ำจากภาคเหนือจะค่อยๆ ไหลลงมา เชื่อว่าเมื่อน้ำทะเลหนุนลดลงจะสามารถระบายตามคลองต่างๆ ออกทะเลได้มากขึ้น ถ้าไม่มีน้ำก้อนอื่นเข้ามาอีก การไหลของน้ำก็คงไม่ทำให้ท่วมมาก อาจจะเจิ่งนองบ้างตามแนวคันคลอง แต่สุดท้ายน้ำเหล่านี้ก็จะไหลลงทะเล”
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเริ่มบานปลายไม่เป็นไปอย่างที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์คาด เพราะภาวะน้ำท่วมเริ่มขยายพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งฝั่งตะวันตกของ กทม. เช่น เขตบางแค ,อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน ,หนองแขม ,ท่าพระ ,ภาษีเจริญ ฯลฯ และฝั่งเหนือของ กทม. ที่น้ำทะลักเข้าท่วมศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีปัญหาชาวบ้านเขตคลองสามวาประท้วงกดดันให้เจ้าหน้าที่เปิดประตูน้ำเพิ่มเป็น 150 ซม.เพื่อระบายน้ำที่ท่วมขังให้ลงคลองแสนแสบโดยเร็ว แต่ กทม.ไม่เห็นด้วย ขอเปิดแค่ 10 ซม.และจะทยอยๆ เปิดให้อีก เพราะหากเปิดรวดเดียว จะส่งผลกระทบต่อชาวบ้านอีกฝั่งหนึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำที่จะเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว
เมื่อตกลงกันไม่ได้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาแก้ปัญหาโดยสั่งให้เปิดประตูน้ำที่ 1 เมตร พร้อมให้มีการทำความเข้าใจกับชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบจากการเปิดประตูน้ำดังกล่าว เช่น เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ตอนแรกเชื่อว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะดีขึ้นหลัง 31 ต.ค. ได้ออกมาพูดใหม่ว่า เชื่อว่าสถานการณ์ในสัปดาห์หน้าจะดีขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่เพียงปัญหาเรื่องเปิดประตูน้ำคลองสามวา แต่ยังมีชาวบ้านบางส่วนไม่ยอมให้ปิดประตูระบายน้ำคลอง 8 และคลอง 10 ทั้งที่ กทม.อยากให้ปิด ร้อนถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ต้องออกมาขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องใจแข็งต่อข้อเรียกร้องของประชาชนส่วนน้อย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก ด้านนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.ยอมรับว่า การเปิดประตูน้ำคลองสามวาเป็น 1 เมตร จะทำให้ระดับน้ำในคลองแสนแสบเพิ่มสูงขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมบางชันได้ ขณะที่นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. แนะว่า หากรัฐบาลไม่สามารถคุมมวลชนที่กดดันให้เปิดประตูระบายน้ำได้ ก็ควรประกาศ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมมวลชน เพราะหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป อาจทำให้น้ำท่วมทั้ง 50 เขตของ กทม.ได้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ชาวบ้านบางส่วนที่ไม่พอใจการเปิด-ปิดประตูน้ำคลองสามวา ได้พยายามทำลายประตูน้ำ และไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ กทม.เข้าไปซ่อมแซม ซึ่งในที่สุด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้อำนาจตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ในการออกคำสั่งให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยคุ้มครองความปลอดภัยให้เจ้าหน้าที่ กทม.เข้าไปซ่อมแซมประตูน้ำคลองสามวาโดยด่วน หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หลังกระแสน้ำเริ่มขยายวงท่วมพื้นที่ทางเหนือของ กทม.และเริ่มลามเข้าพื้นที่ชั้นในมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งถนนวิภาวดีรังสิต ,ถนนพหลโยธิน ส่งผลให้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องใช้วิธีนำกระสอบทรายยักษ์(บิ๊กแบ๊ก) ไปวางตามจุดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำเหนือไหล่บ่าเข้าพื้นที่ชั้นในของ กทม.จากด้านเหนือ เช่น บริเวณประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ถึงสถานีรถไฟดอนเมือง ขณะที่อาคารเอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ที่ตั้งของ ศปภ.บริเวณปากซอยวิภาวดี 11 ซึ่งถูกน้ำท่วมสูงประมาณ 60 ซม.นั้น ทางกระทรวงคมนาคมต้องแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยการนำกรวดหินสูงประมาณ 50-60 ซม.มาเทตั้งแต่บริเวณทางลงโทลเวย์ลาดพร้าวถึงปากซอยวิภาวดี 11 เพื่อให้รัฐบาลและคณะทำงานสามารถเดินทางเข้า-ออก ศปภ.ได้ โดยรัฐบาลยืนยันอีกแล้วว่า จะไม่ย้ายที่ทำการ ศปภ.
ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.เผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมกรุงล่าสุด(5 พ.ย.) ว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ สถานการณ์น้ำจาก ถ.วิภาวดีรังสิต และถ.พหลโยธิน ได้ไหลลงมายังห้าแยกลาดพร้าว และกำลังจะแผ่ลงไปยังดินแดงและสะพานควาย ซึ่งเดิมจะใช้คลองบางซื่อเป็นที่รับน้ำ แต่เนื่องจากคลองบางซื่อมีปริมาณน้ำเต็ม จึงไม่สามารถรองรับมวลน้ำได้ เหลือแต่เพียงบึงมักกะสันเท่านั้น ซึ่งต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังได้ประกาศพื้นที่อพยพเพิ่มเติม คือ เขตบางกอกใหญ่ เฉพาะพื้นที่ ซ.จรัญฯ 13 แขวงท่าพระ และเขตภาษีเจริญเฉพาะแขวงคลองขวาง ,บางด้วน ,บางแวก และแขวงบางจาก เนื่องจาก กทม.ฝั่งตะวันตกยังคงมีน้ำแผ่ลงไปเรื่อยๆ ส่วนพื้นที่ที่ให้เฝ้าระวังเพิ่มเติม ได้แก่ เขตดินแดง เฉพาะชุมชนริมคลองบางซื่อ ชุมชนอยู่เจริญ ซ.อินทามะระ 41 ชุมชนอยู่เจริญโครงการ 3
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังบอกด้วยว่า ดีใจที่ ศปภ.สามารถปิดประตูระบายน้ำคลอง 8 และคลอง 10 ได้ เหลือเพียงคลอง 9 เท่านั้น ซึ่งทาง กทม.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และให้เวลา 48 ชั่วโมงจากนี้ไป หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นจะมีการทบทวนมาตรการในการจัดการกับสถานการณ์น้ำต่อ ไป
ทั้งนี้ วิกฤตน้ำท่วมยังคงส่งผลต่อการผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง(กปน.) โดยโรงงานผลิตน้ำที่บางเขน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตน้ำที่ใหญ่ที่สุดของ กปน. จำเป็นต้องลดกำลังการผลิตน้ำประปาลงอีก 2 แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน เนื่องจากค่าออกซิเจนละลายในน้ำลดต่ำลงหลังน้ำท่วมทะลักเข้าคลองประปา จึงต้องใช้เวลาในการผลิตและปรับปรุงคุณภาพน้ำนานขึ้น ส่งผลให้บางพื้นที่น้ำประปาไหลอ่อนลง
2.วุฒิสภา นัดประชุมวาระด่วนน้ำท่วม 7 พ.ย.นี้ ขณะที่รัฐบาล ยอมเปิดประชุมร่วมฯ ฟังข้อเสนอแนะจากรัฐสภาแก้ปัญหาน้ำท่วม 11-12 พ.ย.!
เมื่อวันที่ 4 พ.ย. พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ได้มีคำสั่งนัดประชุมวุฒิสภาในวันที่ 7 พ.ย.นี้ เวลา 10.00น. โดยมีวาระด่วนเพื่อพิจารณาเรื่องสถานการณ์อุทกภัยครั้งร้ายแรงใน กทม.และหลายจังหวัด สำหรับคำสั่งนัดประชุมวุฒิสภาครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากประธานวุฒิสภาได้สั่งงดการประชุมวุฒิสภาไป 2 ครั้งแล้วเนื่องจากน้ำท่วม คือเมื่อวันที่ 7 และ 31 ต.ค. เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎรก็ได้งดประชุมสภามา 2 ครั้งแล้วเช่นกัน ส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายค้านตำหนิสภาผู้แทนราษฎรว่างดประชุมเพื่อไม่ให้รัฐบาลถูกจี้ให้ชี้แจงเรื่องน้ำท่วม
ด้านนายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา บอกว่า ในการประชุมวุฒิสภาวันที่ 7 พ.ย.นี้ จะยื่นญัตติเสนอให้วุฒิฯ พิจารณาเรื่องน้ำท่วม เพราะขณะนี้ยังมีหลายพื้นที่ทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อน และว่า ที่ผ่านมารัฐบาลมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขน้ำท่วมหลายเรื่อง เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องมวลน้ำ ทิศทางการระบายน้ำและการป้องกันพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จึงอยากถามว่าขณะนี้ชาวบ้านยังเชื่อ ศปภ.ได้อีกหรือไม่
ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) แย้มว่า ทราบมาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะใช้มาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญ ขอเปิดประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 11-12 พ.ย. เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภาเกี่ยวกับปัญหาอุทกภัย โดยไม่มีการลงมติ หลังสมาชิกวุฒิ สภาเสนอมา โดยจะยกเลิกการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันดังกล่าว แล้วรวบเป็นการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อหารือเรื่องนี้ในคราวเดียวกัน
ทั้งนี้ รายงานข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ แจ้งว่า เหตุที่รัฐบาลจะตัดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาญัตติการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมออกไป แล้วใช้วิธีเปิดประชุมร่วมรัฐสภาให้มีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติตามมาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญแทนในวันที่ 11-12 พ.ย.นั้น ถือเป็นการจงใจลดการอภิปรายของฝ่ายค้าน และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบผ่านการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาเพื่อติดตามเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เพราะการอภิปรายทั่วไปของรัฐสภาเป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกรัฐสภาแล้วก็จบไป อาจไม่นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขใดใด
ขณะที่รายงานข่าวจากพรรคเพื่อไทย แจ้งว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ให้คำแนะนำ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และแกนนำพรรคเพื่อไทย เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พร้อมแสดงความไม่พอใจการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จากพรรคชาติไทยพัฒนา และนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน ที่เป็นตัวหลักในการให้ข้อมูลเรื่องน้ำแก่รัฐบาล แต่ให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงมาก จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลตัดสินใจผิดพลาดในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำหลายครั้ง ขณะที่ความร่วมมือในการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำก็ไม่เป็นไปตามที่ ครม.และ ศปภ.สั่งการ ขณะที่รัฐมนตรีบางคนของพรรคเพื่อไทย สบช่องเสนอให้มีการปรับ ครม. โดยให้เจรจากับนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อแลกกระทรวงกัน ซึ่งพรรคเพื่อไทยอยากดูแลกระทรวงเกษตรฯ เอง เพราะที่ผ่านมา แกนนำรัฐบาลเสนอให้แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา สั่งการให้อธิบดีกรมชลประทานปรับปรุงการทำงาน แต่กลับไม่ปรับปรุง ขณะที่นายธีระก็พยายามปกป้องอธิบดีกรมชลประทานมาตลอด
3.รัฐบาล ผุดไอเดีย “นิว ไทยแลนด์” ดึงต่างประเทศช่วยฟื้นฟูหลังน้ำลด คาด ใช้เงิน 8 แสนล้าน ด้าน “ทักษิณ” อ้าง น้ำท่วมหนัก เพราะตนถูกปฏิวัติ!
แม้หลายพื้นที่หลายจังหวัดจะยังประสบภาวะวิกฤตน้ำท่วม โดยเฉพาะ กทม. ที่น้ำเริ่มขยายวงเข้าท่วมเขตชั้นใน แต่รัฐบาลกลับให้ความสำคัญกับแผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลดมากกว่า ซึ่งหลายฝ่ายมองว่ารัฐบาลต้องการเบี่ยงเบนความสนใจจากความล้มเหลวในการป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยเมื่อวันที่ 30 ต.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือถึงแผนฟื้นฟูหลังน้ำท่วมคลี่คลาย
หลังประชุม นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เผยว่า นายกฯ เรียกหารือถึงการเตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลด ทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว โดยแผนระยะสั้นจะเริ่มดำเนินการหลังน้ำลด ซึ่งจะฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมทั่วประเทศ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ส่วนแผนระยะยาว จะเน้นการลงทุนพัฒนาประเทศทุกด้าน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้น ภายใต้แนวคิดสร้างประเทศไทยใหม่ หรือนิวไทยแลนด์ เพราะความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งนี้ มีมากกว่าสึนามิ ที่มาแล้วก็ผ่านไป
นายพิชัย ยังย้ำด้วยว่า แนวคิดนิวไทยแลนด์ น่าจะส่งผลดีต่อประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการที่จำเป็น เพราะทุกฝ่ายยอมรับตรงกันว่า ประเทศไทยถึงเวลาต้องปรับปรุงทั้งหมด ปล่อยให้มีสภาพแบบนี้ต่อไปไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาเกิดขึ้นอีก พร้อมชี้ว่า การลงทุนดังกล่าว จะช่วยให้ตัวเลขจีดีพีเพิ่มสูงขึ้นด้วย “แผนระยะสั้น คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท แผนระยะยาวคาดว่า จะใช้เงินประมาณ 6-8 แสนล้านบาท ส่วนที่มาของเงิน ยังไม่ได้ข้อยุติชัดเจนว่าจะนำมาจากไหน” อย่างไรก็ตาม นายพิชัย บอกว่า อาจจะหาเงินด้วยการออกพันธบัตรให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาซื้อ ซึ่งต้องแก้กฎหมายก่อน หรือออก พ.ร.ก.กู้เงิน แต่ยืนยันว่า ไม่ว่าจะหาเงินด้วยวิธีไหน ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะการเงินของประเทศ เพราะมีเงินสำรองอยู่มาก
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ(ก.พ.ร.) ไปยกร่างคำสั่งเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการฟื้นฟู โดยคณะกรรมการชุดนี้จะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ
ด้านพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาวิจารณ์แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลดของรัฐบาลภายใต้แนวคิดนิว ไทยแลนด์ โดยเฉพาะเรื่องแหล่งที่มาของเงินทุน รวมทั้งความเหมาะสมของเวลาในการนำเสนอ เพราะตอนนี้รัฐบาลควรเน้นให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นอันดับแรก ขณะที่นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ตั้งข้อสังเกตว่า ตัวเลขงบประมาณที่รัฐบาลจะใช้ในโครงการนิวไทยแลนด์ จำนวน 8 แสนล้านบาทนั้น รัฐบาลจะนำงบมาจากไหน เพราะขณะนี้รัฐบาลได้กำหนดวงเงินที่จะใช้ชดเชย ฟื้นฟู และเยียวยาเรื่องน้ำท่วม เพียง 1.2 แสนล้านบาทเท่านั้น ส่วนในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 ก็ไม่ได้ระบุถึงโครงการนิวไทยแลนด์แต่อย่างใด ดังนั้นหากรัฐบาลเลือกที่จะกู้เงินเข้ามาใช้จ่าย ควรคำนึงถึงภาระหนี้ที่จะเกิดกับคนทั้งประเทศด้วย
หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาปฏิเสธว่า ในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีคำว่า นิว ไทยแลนด์ อาจจะเป็นชื่อที่เรียกกันเล่นๆ เพราะการแก้ไขปัญหาน้ำแบบถาวรมีคณะกรรมการดูแลอยู่แล้ว ส่วนจะใช้งบเท่าใดนั้นจะศึกษารายละเอียดอีกครั้ง แต่เบื้องต้นจะใช้งบเพียง 8 หมื่นกว่าล้านบาท มาใช้ในการเยียวยาเร่งด่วน ยังไม่รวมงบที่จะนำมาใช้ในโครงการพัฒนา 25 ลุ่มน้ำ และโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมถาวร ที่จะมีการแจ้งงบที่จะใช้อีกครั้ง
ขณะที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นผู้ที่เผยผลประชุมระหว่างนายกฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และระบุคำว่า นิว ไทยแลนด์ อย่างชัดเจน ก็ออกมาพูดใหม่ โดยอ้างว่า นิว ไทยแลนด์ที่ตนพูดนั้น เป็นแค่มุขหรือกิมมิค(ลูกเล่น) แต่จุดประสงค์อยู่ที่วิธีการทำงานว่าจะทำอย่างไร ใช้วิกฤตที่เกิดขึ้นให้เป็นโอกาสในการฟื้นฟูประเทศใหม่ “ภายใต้แนวคิดการฟื้นฟูประเทศที่รัฐบาลจะดำเนินการ นอกจากการนำแผนฟื้นฟูของประเทศอื่นที่เคยประสบปัญหาวิกฤตแบบที่ประเทศไทยเป็นอยู่ เช่น สาธารณรัฐเฮติ ,อินโดนีเซีย ,จีน ,ญี่ปุ่น ,เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา มาพิจารณาแล้ว ยังจะมีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศมาช่วยเสนอแนวคิดและโมเดลต่างๆ ที่เหมาะสมกับการพัฒนาประเทศไทยด้วย”
ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และนักโทษหนีคำพิพากษาจำคุก 2 ปีคดีซื้อที่รัชดาฯ ได้ทวีตข้อความผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์(1 พ.ย.) โดยนอกจากยอมรับว่าได้ให้คำแนะนำ น.ส.ยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับแนวทางในการฟื้นฟูประเทศแล้ว ยังส่งสัญญาณทำนองว่า ถ้าตนไม่ถูกปฏิวัติ วิกฤตน้ำท่วมคงไม่เกิด เพราะตนเคยมีแผนบริหารจัดการเรื่องน้ำ แต่ไม่ทันได้ทำก็ถูกปฏิวัติเสียก่อน “ถ้าท่านจำกันได้ ตอนปี 2548 ผมเคยมีโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการที่เชิญต่างประเทศมาลงทุนให้ก่อน แล้วผ่อนป็นสินค้าเกษตร มีเรื่องน้ำรวมอยู่ด้วย แต่ผมถูกปฏิวัติเสียก่อน เหตุการณ์ครั้งนี้เราเสียหายรวมกันทั้งภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐเฉพาะทางตรง น่าจะร่วมๆ 2 แสนล้านบาท แต่อยากให้สบายใจได้ว่าหาเงินมาแก้ปัญหาได้ ผมได้คุยกับท่านนายกฯ และผู้รู้หลายท่าน รวมทั้งรัฐบาลหลายประเทศถึงแนวทางการฟื้นฟูครั้งนี้ว่าควรจะทำอย่างไร จะช่วยกันได้อย่างไร ทำอย่างไรจะให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศมั่นใจไม่หนีจากเรา เชื่อว่าท่านนายกฯ จะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้”
4.โจรใต้โหด บึ้มรถชาวบ้านที่นราธิวาส ก่อนยิงซ้ำ ดับ 6 เจ็บ 1 ด้านทหารพรานเข้าเคลียร์พื้นที่ เหยียบกับระเบิดขาขาดทันที!
เหตุไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังคนร้ายก่อเหตุระเบิด 35 จุดในเขตเทศบาลนครยะลาเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ซึ่งเป็นวันครบรอบ 7 ปีเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส ปรากฏว่า เมื่อช่วงค่ำวันที่ 30 ต.ค. คนร้ายก็ได้ก่อเหตุระเบิดอีก 15 จุดในอำเภอต่างๆ ของ จ.นราธิวาส ประกอบด้วย อ.รือเสาะ 4 จุด ,ตากใบ 2 จุด ,สุไหงปาดี 2 จุด ,สุไหง-โกลก 2 จุด ,บาเจาะ 1 จุด และยี่งอ 4 จุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการระเบิดในร้านขายของชำ โชคดีไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
ทั้งนี้ ช่วงสายวันเดียวกัน(30 ต.ค.) คนร้ายได้นำระเบิดไปวางปนกับกระสอบทรายริมถนนสายระแงะ-ดุซงญอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส จากนั้นได้จุดชนวนระเบิดหมายสังหารเจ้าหน้าที่ทหารพรานกองร้อยที่ 4507 กรมทหารพรานที่ 45 จำนวน 10 นาย ที่มาตั้งจุดตรวจบริเวณดังกล่าว แรงระเบิดส่งผลให้ อส.ทพ.รัตติกาล แพรใหญ่ อายุ 23 ปี ซึ่งยืนอยู่ใกล้กระสอบทรายถูกสะเก็ดระเบิดได้รับบาดเจ็บ
วันต่อมา(31 ต.ค.) คนร้ายได้ลอบวางระเบิดที่ อ.รามัน จ.ยะลา โดยคนร้ายนำระเบิดใส่กระสอบแล้วอำพรางด้วยหน่อกล้วยวางไว้ที่เสาหลักริมถนนสาย 410 (ป่าหวัง-บันนังสตา) เมื่อตำรวจชุดปฏิบัติการจู่โจม สภ.บันนังสตา 8 นายขับรถกระบะผ่านจุดดังกล่าว เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ คนร้ายได้จุดชนวนระเบิด ทำให้ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 3 นาย ประกอบด้วย ส.ต.ท.เรืองฤทธิ์ ทองทิพย์ ,ส.ต.ท.นเรศ ทิพย์สละ และ ด.ต.สัญญา จิตต์เหลือม ซึ่งทั้งหมดถูกสะเก็ดระเบิดตามร่างกายและใบหน้า
วันเดียวกัน(31 ต.ค.) คนร้ายได้ฝังระเบิดแบบเหยียบไว้ตามจุดต่างๆ ในพื้นที่ 3 อำเภอของ จ.นราธิวาส ประกอบด้วย อ.แว้ง ,อ.ศรีสาคร และ อ.ตากใบ ส่งผลให้ชาวบ้านที่เดินไปเหยียบกับระเบิดได้รับบาดเจ็บสาหัส 3 ราย และบาดเจ็บเล็กน้อย 1 ราย ทั้งนี้ จากการสอบสวนทราบว่า คืนก่อนหน้า คนร้ายได้โค่นต้นยางขวางถนนและโปรยตะปูเรือใบ พร้อมขึงป้ายผ้าข้อความว่า “ตุลาแห่งตากใบ ตราบใดผู้บงการฆ่าคนมลายู ยังครองอำนาจรัฐอยู่ ตราบนี้ชีวิตพี่น้องไทยพุทธต้องชดใช้”
2 วันต่อมา(2 พ.ย.) ได้เกิดเหตุระเบิดที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา โดยคนร้ายได้นำระเบิดแสวงเครื่องบรรจุใส่ถังแก๊สปิกนิกน้ำหนัก 5-10 กิโลกรัมฝังไว้ใต้ถนน หมายสังหารตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด.) ที่ขับรถกระบะผ่านบริเวณดังกล่าว ทั้งนี้ แรงระเบิดส่งผลให้ ตชด.ได้รับบาดเจ็บ 5 นาย ทราบชื่อคือ ร.ต.ท.ชิต สินสุข ผบ.ร้อย ตชด.442 ช่วยราชการ กก.ตชด. 44 หัวหน้าชุด ,ด.ต.ยุทธพงศ์ แช่มบริรักษ์ ,ส.ต.ท.สุริยัณห์ วิเชียรภัทรกุล ,ส.ต.ท.อัศวิน โพธิ์ร่าห์ บาดเจ็บเล็กน้อย ส่วน ด.ต.สรรเสริญ นะมะ พลขับ บาดเจ็บสาหัส ถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินท์ จ.สงขลา
วันเดียวกัน(2 พ.ย.) คนร้ายยังได้ลอบวางระเบิดไว้ใต้ถนนหมายสังหารทหารพรานร้อย ทพ.4708 สังกัดกรมทหารพรานที่ 47 จำนวน 5 นาย ที่บริเวณบ้านแอร้อง อ.บันนังสตา โชคดีแรงระเบิดส่งผลให้ทหารพรานบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยจำนวน 3 นาย
ส่วนที่ จ.นราธิวาส คนร้ายได้ลอบวางระเบิดรถยนต์ที่บ้านบาโงกูโบ อ.ระแงะ มีผู้เสียชีวิต 6 คน และบาดเจ็บ 1 คน จากการสอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุ ชาวบ้านทั้ง 7 คนซึ่งเป็นชุดอาสาสมัครรักษาเมือง(อรม.) ได้เข้าไปช่วยพัฒนาหมู่บ้านใน ต.บองอ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ หลังเสร็จสิ้นภารกิจ ได้ชักชวนกันเข้าไปหาของป่าในพื้นที่ใกล้เคียง จากนั้นระหว่างขับรถกลับ ได้ถูกระเบิดที่คนร้ายฝังไว้ใต้ถนน ทั้งนี้ หลังแรงระเบิดทำให้รถเสียหลัก คนร้ายได้เข้าจ่อยิงซ้ำชาวบ้านกลุ่มนี้กระทั่งเสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว หลังเกิดเหตุ อาสาสมัครทหารพรานที่ 45 ได้เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุทันที แต่ อส.ทพ.พลาดท่าเหยียบกับระเบิดที่คนร้ายลอบวางไว้ ทำให้ อส.ทพ.นริทน์ วิวัฒน์ ขาข้างซ้ายขาด ขณะที่ อส.ทพ.อุเทน ใสสุขชน บาดเจ็บเล็กน้อย
ด้านศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ใต้ รายงานสถิติการเกิดเหตุไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1-31 ต.ค.ว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 121 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการวางระเบิด 52 ครั้ง ,ยิงและปะทะ 45 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 46 คน แบ่งเป็นชาวไทยพุทธ 23 คน ชาวไทยมุสลิม 21 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 110 คน แบ่งเป็น ชาวไทยพุทธ 75 คน ชาวไทยมุสลิม 34 คน และไม่ระบุศาสนา 1 คน
1.วิกฤตน้ำ ลามเข้า กทม. ชั้นใน อ่วมทั้ง ถ.วิภาวดี - ถ.พหลโยธิน ด้าน “สุขุมพันธุ์” สั่งเฝ้าระวังเขต “ดินแดง” !
สถานการณ์น้ำท่วมสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้หลายพื้นที่ของ กทม.จะจมน้ำ เช่น ย่านบางพลัด ,อรุณอมรินทร์ ,ทวีวัฒนา ,สายไหม ,ดอนเมือง ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ต้องอพยพไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย ไม่เว้นแม้แต่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยอมย้ายสถานที่ทำงานจากสนามบินดอนเมืองไปยังอาคารของกระทรวงพลังงานย่านวิภาวดี ทั้งที่ยืนยันมาตลอดว่า ศปภ.จะไม่ย้ายไปไหน ทั้งนี้ มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ศปภ.เอาตัวรอดด้วยการย้ายที่ทำการ แต่กลับทิ้งผู้ประสบอุทกภัยไว้ที่ศูนย์พักพิงดอนเมืองของ ศปภ.ให้อยู่อย่างเดือดร้อนอีกหลายร้อยคน แถมยังทิ้งของบริจาค เช่น เสื้อผ้า ,น้ำดื่ม ,สุขาลอยน้ำ ฯลฯ ที่มีผู้บริจาคผ่าน ศปภ.ให้ลอยน้ำเกลื่อนสนามบินดอนเมืองอีกจำนวนมาก
ส่วนกรณีที่มีผู้เสนอให้รัฐบาลขยายวันหยุดราชการกรณีพิเศษเพิ่มเติม หลังครบกำหนดที่ประกาศให้หยุดวันที่ 27-31 ต.ค.ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงนั้น ปรากฏว่า รัฐบาลไม่ขยาย โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้เหตุผลว่า แม้รัฐบาลจะประกาศวันหยุด แต่หน่วยงานเอกชนยังไม่หยุดงาน เพราะมีความเป็นห่วงในภาพรวม ดังนั้นรัฐบาลจะไม่ประกาศหยุดเพิ่ม ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังเชื่อด้วยว่า หลังวันที่ 31 ต.ค.สถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายขึ้น “ถ้าพ้นวันที่ 31 ต.ค.ก็น่าจะคลี่คลายลงได้... เท่าที่ติดตามดูระดับน้ำทะเลคงไม่สูงกว่านี้ ตอนนี้เราต้องรักษาคันคลองให้ดี และหากไม่มีฝนตกหรือพายุเข้ามาแรง สถานการณ์ไม่น่าจะแย่ไปกว่านี้”
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังชี้ด้วยว่า มวลน้ำก้อนใหญ่จากทางเหนือที่เคยบอกว่ามีเป็นหมื่นล้านลูกบาศก์เมตรจะเข้า กทม. ไม่มีแล้ว สังเกตได้จากปริมาณน้ำที่ไหลมาจาก จ.นครสวรรค์และชัยนาทลดลง “มวลน้ำก้อนใหญ่คงไม่เห็นอีก แต่ไม่ได้แปลว่าน้ำจะไม่ไหลเข้ามาใน กทม. เพราะน้ำจากภาคเหนือจะค่อยๆ ไหลลงมา เชื่อว่าเมื่อน้ำทะเลหนุนลดลงจะสามารถระบายตามคลองต่างๆ ออกทะเลได้มากขึ้น ถ้าไม่มีน้ำก้อนอื่นเข้ามาอีก การไหลของน้ำก็คงไม่ทำให้ท่วมมาก อาจจะเจิ่งนองบ้างตามแนวคันคลอง แต่สุดท้ายน้ำเหล่านี้ก็จะไหลลงทะเล”
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเริ่มบานปลายไม่เป็นไปอย่างที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์คาด เพราะภาวะน้ำท่วมเริ่มขยายพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งฝั่งตะวันตกของ กทม. เช่น เขตบางแค ,อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน ,หนองแขม ,ท่าพระ ,ภาษีเจริญ ฯลฯ และฝั่งเหนือของ กทม. ที่น้ำทะลักเข้าท่วมศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีปัญหาชาวบ้านเขตคลองสามวาประท้วงกดดันให้เจ้าหน้าที่เปิดประตูน้ำเพิ่มเป็น 150 ซม.เพื่อระบายน้ำที่ท่วมขังให้ลงคลองแสนแสบโดยเร็ว แต่ กทม.ไม่เห็นด้วย ขอเปิดแค่ 10 ซม.และจะทยอยๆ เปิดให้อีก เพราะหากเปิดรวดเดียว จะส่งผลกระทบต่อชาวบ้านอีกฝั่งหนึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำที่จะเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว
เมื่อตกลงกันไม่ได้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาแก้ปัญหาโดยสั่งให้เปิดประตูน้ำที่ 1 เมตร พร้อมให้มีการทำความเข้าใจกับชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบจากการเปิดประตูน้ำดังกล่าว เช่น เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ตอนแรกเชื่อว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะดีขึ้นหลัง 31 ต.ค. ได้ออกมาพูดใหม่ว่า เชื่อว่าสถานการณ์ในสัปดาห์หน้าจะดีขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่เพียงปัญหาเรื่องเปิดประตูน้ำคลองสามวา แต่ยังมีชาวบ้านบางส่วนไม่ยอมให้ปิดประตูระบายน้ำคลอง 8 และคลอง 10 ทั้งที่ กทม.อยากให้ปิด ร้อนถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ต้องออกมาขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องใจแข็งต่อข้อเรียกร้องของประชาชนส่วนน้อย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก ด้านนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.ยอมรับว่า การเปิดประตูน้ำคลองสามวาเป็น 1 เมตร จะทำให้ระดับน้ำในคลองแสนแสบเพิ่มสูงขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมบางชันได้ ขณะที่นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. แนะว่า หากรัฐบาลไม่สามารถคุมมวลชนที่กดดันให้เปิดประตูระบายน้ำได้ ก็ควรประกาศ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมมวลชน เพราะหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป อาจทำให้น้ำท่วมทั้ง 50 เขตของ กทม.ได้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ชาวบ้านบางส่วนที่ไม่พอใจการเปิด-ปิดประตูน้ำคลองสามวา ได้พยายามทำลายประตูน้ำ และไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ กทม.เข้าไปซ่อมแซม ซึ่งในที่สุด ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้อำนาจตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ในการออกคำสั่งให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยคุ้มครองความปลอดภัยให้เจ้าหน้าที่ กทม.เข้าไปซ่อมแซมประตูน้ำคลองสามวาโดยด่วน หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หลังกระแสน้ำเริ่มขยายวงท่วมพื้นที่ทางเหนือของ กทม.และเริ่มลามเข้าพื้นที่ชั้นในมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งถนนวิภาวดีรังสิต ,ถนนพหลโยธิน ส่งผลให้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องใช้วิธีนำกระสอบทรายยักษ์(บิ๊กแบ๊ก) ไปวางตามจุดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำเหนือไหล่บ่าเข้าพื้นที่ชั้นในของ กทม.จากด้านเหนือ เช่น บริเวณประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ถึงสถานีรถไฟดอนเมือง ขณะที่อาคารเอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ที่ตั้งของ ศปภ.บริเวณปากซอยวิภาวดี 11 ซึ่งถูกน้ำท่วมสูงประมาณ 60 ซม.นั้น ทางกระทรวงคมนาคมต้องแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยการนำกรวดหินสูงประมาณ 50-60 ซม.มาเทตั้งแต่บริเวณทางลงโทลเวย์ลาดพร้าวถึงปากซอยวิภาวดี 11 เพื่อให้รัฐบาลและคณะทำงานสามารถเดินทางเข้า-ออก ศปภ.ได้ โดยรัฐบาลยืนยันอีกแล้วว่า จะไม่ย้ายที่ทำการ ศปภ.
ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.เผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมกรุงล่าสุด(5 พ.ย.) ว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ สถานการณ์น้ำจาก ถ.วิภาวดีรังสิต และถ.พหลโยธิน ได้ไหลลงมายังห้าแยกลาดพร้าว และกำลังจะแผ่ลงไปยังดินแดงและสะพานควาย ซึ่งเดิมจะใช้คลองบางซื่อเป็นที่รับน้ำ แต่เนื่องจากคลองบางซื่อมีปริมาณน้ำเต็ม จึงไม่สามารถรองรับมวลน้ำได้ เหลือแต่เพียงบึงมักกะสันเท่านั้น ซึ่งต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังได้ประกาศพื้นที่อพยพเพิ่มเติม คือ เขตบางกอกใหญ่ เฉพาะพื้นที่ ซ.จรัญฯ 13 แขวงท่าพระ และเขตภาษีเจริญเฉพาะแขวงคลองขวาง ,บางด้วน ,บางแวก และแขวงบางจาก เนื่องจาก กทม.ฝั่งตะวันตกยังคงมีน้ำแผ่ลงไปเรื่อยๆ ส่วนพื้นที่ที่ให้เฝ้าระวังเพิ่มเติม ได้แก่ เขตดินแดง เฉพาะชุมชนริมคลองบางซื่อ ชุมชนอยู่เจริญ ซ.อินทามะระ 41 ชุมชนอยู่เจริญโครงการ 3
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังบอกด้วยว่า ดีใจที่ ศปภ.สามารถปิดประตูระบายน้ำคลอง 8 และคลอง 10 ได้ เหลือเพียงคลอง 9 เท่านั้น ซึ่งทาง กทม.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และให้เวลา 48 ชั่วโมงจากนี้ไป หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นจะมีการทบทวนมาตรการในการจัดการกับสถานการณ์น้ำต่อ ไป
ทั้งนี้ วิกฤตน้ำท่วมยังคงส่งผลต่อการผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง(กปน.) โดยโรงงานผลิตน้ำที่บางเขน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตน้ำที่ใหญ่ที่สุดของ กปน. จำเป็นต้องลดกำลังการผลิตน้ำประปาลงอีก 2 แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน เนื่องจากค่าออกซิเจนละลายในน้ำลดต่ำลงหลังน้ำท่วมทะลักเข้าคลองประปา จึงต้องใช้เวลาในการผลิตและปรับปรุงคุณภาพน้ำนานขึ้น ส่งผลให้บางพื้นที่น้ำประปาไหลอ่อนลง
2.วุฒิสภา นัดประชุมวาระด่วนน้ำท่วม 7 พ.ย.นี้ ขณะที่รัฐบาล ยอมเปิดประชุมร่วมฯ ฟังข้อเสนอแนะจากรัฐสภาแก้ปัญหาน้ำท่วม 11-12 พ.ย.!
เมื่อวันที่ 4 พ.ย. พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ได้มีคำสั่งนัดประชุมวุฒิสภาในวันที่ 7 พ.ย.นี้ เวลา 10.00น. โดยมีวาระด่วนเพื่อพิจารณาเรื่องสถานการณ์อุทกภัยครั้งร้ายแรงใน กทม.และหลายจังหวัด สำหรับคำสั่งนัดประชุมวุฒิสภาครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากประธานวุฒิสภาได้สั่งงดการประชุมวุฒิสภาไป 2 ครั้งแล้วเนื่องจากน้ำท่วม คือเมื่อวันที่ 7 และ 31 ต.ค. เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎรก็ได้งดประชุมสภามา 2 ครั้งแล้วเช่นกัน ส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายค้านตำหนิสภาผู้แทนราษฎรว่างดประชุมเพื่อไม่ให้รัฐบาลถูกจี้ให้ชี้แจงเรื่องน้ำท่วม
ด้านนายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา บอกว่า ในการประชุมวุฒิสภาวันที่ 7 พ.ย.นี้ จะยื่นญัตติเสนอให้วุฒิฯ พิจารณาเรื่องน้ำท่วม เพราะขณะนี้ยังมีหลายพื้นที่ทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อน และว่า ที่ผ่านมารัฐบาลมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขน้ำท่วมหลายเรื่อง เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องมวลน้ำ ทิศทางการระบายน้ำและการป้องกันพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จึงอยากถามว่าขณะนี้ชาวบ้านยังเชื่อ ศปภ.ได้อีกหรือไม่
ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) แย้มว่า ทราบมาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะใช้มาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญ ขอเปิดประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 11-12 พ.ย. เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภาเกี่ยวกับปัญหาอุทกภัย โดยไม่มีการลงมติ หลังสมาชิกวุฒิ สภาเสนอมา โดยจะยกเลิกการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันดังกล่าว แล้วรวบเป็นการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อหารือเรื่องนี้ในคราวเดียวกัน
ทั้งนี้ รายงานข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ แจ้งว่า เหตุที่รัฐบาลจะตัดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาญัตติการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมออกไป แล้วใช้วิธีเปิดประชุมร่วมรัฐสภาให้มีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติตามมาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญแทนในวันที่ 11-12 พ.ย.นั้น ถือเป็นการจงใจลดการอภิปรายของฝ่ายค้าน และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบผ่านการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาเพื่อติดตามเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เพราะการอภิปรายทั่วไปของรัฐสภาเป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกรัฐสภาแล้วก็จบไป อาจไม่นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขใดใด
ขณะที่รายงานข่าวจากพรรคเพื่อไทย แจ้งว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ให้คำแนะนำ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และแกนนำพรรคเพื่อไทย เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พร้อมแสดงความไม่พอใจการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จากพรรคชาติไทยพัฒนา และนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน ที่เป็นตัวหลักในการให้ข้อมูลเรื่องน้ำแก่รัฐบาล แต่ให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงมาก จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลตัดสินใจผิดพลาดในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำหลายครั้ง ขณะที่ความร่วมมือในการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำก็ไม่เป็นไปตามที่ ครม.และ ศปภ.สั่งการ ขณะที่รัฐมนตรีบางคนของพรรคเพื่อไทย สบช่องเสนอให้มีการปรับ ครม. โดยให้เจรจากับนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อแลกกระทรวงกัน ซึ่งพรรคเพื่อไทยอยากดูแลกระทรวงเกษตรฯ เอง เพราะที่ผ่านมา แกนนำรัฐบาลเสนอให้แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา สั่งการให้อธิบดีกรมชลประทานปรับปรุงการทำงาน แต่กลับไม่ปรับปรุง ขณะที่นายธีระก็พยายามปกป้องอธิบดีกรมชลประทานมาตลอด
3.รัฐบาล ผุดไอเดีย “นิว ไทยแลนด์” ดึงต่างประเทศช่วยฟื้นฟูหลังน้ำลด คาด ใช้เงิน 8 แสนล้าน ด้าน “ทักษิณ” อ้าง น้ำท่วมหนัก เพราะตนถูกปฏิวัติ!
แม้หลายพื้นที่หลายจังหวัดจะยังประสบภาวะวิกฤตน้ำท่วม โดยเฉพาะ กทม. ที่น้ำเริ่มขยายวงเข้าท่วมเขตชั้นใน แต่รัฐบาลกลับให้ความสำคัญกับแผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลดมากกว่า ซึ่งหลายฝ่ายมองว่ารัฐบาลต้องการเบี่ยงเบนความสนใจจากความล้มเหลวในการป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยเมื่อวันที่ 30 ต.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือถึงแผนฟื้นฟูหลังน้ำท่วมคลี่คลาย
หลังประชุม นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เผยว่า นายกฯ เรียกหารือถึงการเตรียมความพร้อมในการจัดทำแผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลด ทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว โดยแผนระยะสั้นจะเริ่มดำเนินการหลังน้ำลด ซึ่งจะฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมทั่วประเทศ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ส่วนแผนระยะยาว จะเน้นการลงทุนพัฒนาประเทศทุกด้าน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้น ภายใต้แนวคิดสร้างประเทศไทยใหม่ หรือนิวไทยแลนด์ เพราะความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งนี้ มีมากกว่าสึนามิ ที่มาแล้วก็ผ่านไป
นายพิชัย ยังย้ำด้วยว่า แนวคิดนิวไทยแลนด์ น่าจะส่งผลดีต่อประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการที่จำเป็น เพราะทุกฝ่ายยอมรับตรงกันว่า ประเทศไทยถึงเวลาต้องปรับปรุงทั้งหมด ปล่อยให้มีสภาพแบบนี้ต่อไปไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาเกิดขึ้นอีก พร้อมชี้ว่า การลงทุนดังกล่าว จะช่วยให้ตัวเลขจีดีพีเพิ่มสูงขึ้นด้วย “แผนระยะสั้น คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท แผนระยะยาวคาดว่า จะใช้เงินประมาณ 6-8 แสนล้านบาท ส่วนที่มาของเงิน ยังไม่ได้ข้อยุติชัดเจนว่าจะนำมาจากไหน” อย่างไรก็ตาม นายพิชัย บอกว่า อาจจะหาเงินด้วยการออกพันธบัตรให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาซื้อ ซึ่งต้องแก้กฎหมายก่อน หรือออก พ.ร.ก.กู้เงิน แต่ยืนยันว่า ไม่ว่าจะหาเงินด้วยวิธีไหน ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะการเงินของประเทศ เพราะมีเงินสำรองอยู่มาก
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ(ก.พ.ร.) ไปยกร่างคำสั่งเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการฟื้นฟู โดยคณะกรรมการชุดนี้จะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ
ด้านพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมาวิจารณ์แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลดของรัฐบาลภายใต้แนวคิดนิว ไทยแลนด์ โดยเฉพาะเรื่องแหล่งที่มาของเงินทุน รวมทั้งความเหมาะสมของเวลาในการนำเสนอ เพราะตอนนี้รัฐบาลควรเน้นให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นอันดับแรก ขณะที่นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ตั้งข้อสังเกตว่า ตัวเลขงบประมาณที่รัฐบาลจะใช้ในโครงการนิวไทยแลนด์ จำนวน 8 แสนล้านบาทนั้น รัฐบาลจะนำงบมาจากไหน เพราะขณะนี้รัฐบาลได้กำหนดวงเงินที่จะใช้ชดเชย ฟื้นฟู และเยียวยาเรื่องน้ำท่วม เพียง 1.2 แสนล้านบาทเท่านั้น ส่วนในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 ก็ไม่ได้ระบุถึงโครงการนิวไทยแลนด์แต่อย่างใด ดังนั้นหากรัฐบาลเลือกที่จะกู้เงินเข้ามาใช้จ่าย ควรคำนึงถึงภาระหนี้ที่จะเกิดกับคนทั้งประเทศด้วย
หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาปฏิเสธว่า ในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีคำว่า นิว ไทยแลนด์ อาจจะเป็นชื่อที่เรียกกันเล่นๆ เพราะการแก้ไขปัญหาน้ำแบบถาวรมีคณะกรรมการดูแลอยู่แล้ว ส่วนจะใช้งบเท่าใดนั้นจะศึกษารายละเอียดอีกครั้ง แต่เบื้องต้นจะใช้งบเพียง 8 หมื่นกว่าล้านบาท มาใช้ในการเยียวยาเร่งด่วน ยังไม่รวมงบที่จะนำมาใช้ในโครงการพัฒนา 25 ลุ่มน้ำ และโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมถาวร ที่จะมีการแจ้งงบที่จะใช้อีกครั้ง
ขณะที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นผู้ที่เผยผลประชุมระหว่างนายกฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และระบุคำว่า นิว ไทยแลนด์ อย่างชัดเจน ก็ออกมาพูดใหม่ โดยอ้างว่า นิว ไทยแลนด์ที่ตนพูดนั้น เป็นแค่มุขหรือกิมมิค(ลูกเล่น) แต่จุดประสงค์อยู่ที่วิธีการทำงานว่าจะทำอย่างไร ใช้วิกฤตที่เกิดขึ้นให้เป็นโอกาสในการฟื้นฟูประเทศใหม่ “ภายใต้แนวคิดการฟื้นฟูประเทศที่รัฐบาลจะดำเนินการ นอกจากการนำแผนฟื้นฟูของประเทศอื่นที่เคยประสบปัญหาวิกฤตแบบที่ประเทศไทยเป็นอยู่ เช่น สาธารณรัฐเฮติ ,อินโดนีเซีย ,จีน ,ญี่ปุ่น ,เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา มาพิจารณาแล้ว ยังจะมีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศมาช่วยเสนอแนวคิดและโมเดลต่างๆ ที่เหมาะสมกับการพัฒนาประเทศไทยด้วย”
ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และนักโทษหนีคำพิพากษาจำคุก 2 ปีคดีซื้อที่รัชดาฯ ได้ทวีตข้อความผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์(1 พ.ย.) โดยนอกจากยอมรับว่าได้ให้คำแนะนำ น.ส.ยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับแนวทางในการฟื้นฟูประเทศแล้ว ยังส่งสัญญาณทำนองว่า ถ้าตนไม่ถูกปฏิวัติ วิกฤตน้ำท่วมคงไม่เกิด เพราะตนเคยมีแผนบริหารจัดการเรื่องน้ำ แต่ไม่ทันได้ทำก็ถูกปฏิวัติเสียก่อน “ถ้าท่านจำกันได้ ตอนปี 2548 ผมเคยมีโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการที่เชิญต่างประเทศมาลงทุนให้ก่อน แล้วผ่อนป็นสินค้าเกษตร มีเรื่องน้ำรวมอยู่ด้วย แต่ผมถูกปฏิวัติเสียก่อน เหตุการณ์ครั้งนี้เราเสียหายรวมกันทั้งภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐเฉพาะทางตรง น่าจะร่วมๆ 2 แสนล้านบาท แต่อยากให้สบายใจได้ว่าหาเงินมาแก้ปัญหาได้ ผมได้คุยกับท่านนายกฯ และผู้รู้หลายท่าน รวมทั้งรัฐบาลหลายประเทศถึงแนวทางการฟื้นฟูครั้งนี้ว่าควรจะทำอย่างไร จะช่วยกันได้อย่างไร ทำอย่างไรจะให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศมั่นใจไม่หนีจากเรา เชื่อว่าท่านนายกฯ จะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้”
4.โจรใต้โหด บึ้มรถชาวบ้านที่นราธิวาส ก่อนยิงซ้ำ ดับ 6 เจ็บ 1 ด้านทหารพรานเข้าเคลียร์พื้นที่ เหยียบกับระเบิดขาขาดทันที!
เหตุไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังคนร้ายก่อเหตุระเบิด 35 จุดในเขตเทศบาลนครยะลาเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ซึ่งเป็นวันครบรอบ 7 ปีเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส ปรากฏว่า เมื่อช่วงค่ำวันที่ 30 ต.ค. คนร้ายก็ได้ก่อเหตุระเบิดอีก 15 จุดในอำเภอต่างๆ ของ จ.นราธิวาส ประกอบด้วย อ.รือเสาะ 4 จุด ,ตากใบ 2 จุด ,สุไหงปาดี 2 จุด ,สุไหง-โกลก 2 จุด ,บาเจาะ 1 จุด และยี่งอ 4 จุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการระเบิดในร้านขายของชำ โชคดีไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
ทั้งนี้ ช่วงสายวันเดียวกัน(30 ต.ค.) คนร้ายได้นำระเบิดไปวางปนกับกระสอบทรายริมถนนสายระแงะ-ดุซงญอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส จากนั้นได้จุดชนวนระเบิดหมายสังหารเจ้าหน้าที่ทหารพรานกองร้อยที่ 4507 กรมทหารพรานที่ 45 จำนวน 10 นาย ที่มาตั้งจุดตรวจบริเวณดังกล่าว แรงระเบิดส่งผลให้ อส.ทพ.รัตติกาล แพรใหญ่ อายุ 23 ปี ซึ่งยืนอยู่ใกล้กระสอบทรายถูกสะเก็ดระเบิดได้รับบาดเจ็บ
วันต่อมา(31 ต.ค.) คนร้ายได้ลอบวางระเบิดที่ อ.รามัน จ.ยะลา โดยคนร้ายนำระเบิดใส่กระสอบแล้วอำพรางด้วยหน่อกล้วยวางไว้ที่เสาหลักริมถนนสาย 410 (ป่าหวัง-บันนังสตา) เมื่อตำรวจชุดปฏิบัติการจู่โจม สภ.บันนังสตา 8 นายขับรถกระบะผ่านจุดดังกล่าว เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ คนร้ายได้จุดชนวนระเบิด ทำให้ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 3 นาย ประกอบด้วย ส.ต.ท.เรืองฤทธิ์ ทองทิพย์ ,ส.ต.ท.นเรศ ทิพย์สละ และ ด.ต.สัญญา จิตต์เหลือม ซึ่งทั้งหมดถูกสะเก็ดระเบิดตามร่างกายและใบหน้า
วันเดียวกัน(31 ต.ค.) คนร้ายได้ฝังระเบิดแบบเหยียบไว้ตามจุดต่างๆ ในพื้นที่ 3 อำเภอของ จ.นราธิวาส ประกอบด้วย อ.แว้ง ,อ.ศรีสาคร และ อ.ตากใบ ส่งผลให้ชาวบ้านที่เดินไปเหยียบกับระเบิดได้รับบาดเจ็บสาหัส 3 ราย และบาดเจ็บเล็กน้อย 1 ราย ทั้งนี้ จากการสอบสวนทราบว่า คืนก่อนหน้า คนร้ายได้โค่นต้นยางขวางถนนและโปรยตะปูเรือใบ พร้อมขึงป้ายผ้าข้อความว่า “ตุลาแห่งตากใบ ตราบใดผู้บงการฆ่าคนมลายู ยังครองอำนาจรัฐอยู่ ตราบนี้ชีวิตพี่น้องไทยพุทธต้องชดใช้”
2 วันต่อมา(2 พ.ย.) ได้เกิดเหตุระเบิดที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา โดยคนร้ายได้นำระเบิดแสวงเครื่องบรรจุใส่ถังแก๊สปิกนิกน้ำหนัก 5-10 กิโลกรัมฝังไว้ใต้ถนน หมายสังหารตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด.) ที่ขับรถกระบะผ่านบริเวณดังกล่าว ทั้งนี้ แรงระเบิดส่งผลให้ ตชด.ได้รับบาดเจ็บ 5 นาย ทราบชื่อคือ ร.ต.ท.ชิต สินสุข ผบ.ร้อย ตชด.442 ช่วยราชการ กก.ตชด. 44 หัวหน้าชุด ,ด.ต.ยุทธพงศ์ แช่มบริรักษ์ ,ส.ต.ท.สุริยัณห์ วิเชียรภัทรกุล ,ส.ต.ท.อัศวิน โพธิ์ร่าห์ บาดเจ็บเล็กน้อย ส่วน ด.ต.สรรเสริญ นะมะ พลขับ บาดเจ็บสาหัส ถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินท์ จ.สงขลา
วันเดียวกัน(2 พ.ย.) คนร้ายยังได้ลอบวางระเบิดไว้ใต้ถนนหมายสังหารทหารพรานร้อย ทพ.4708 สังกัดกรมทหารพรานที่ 47 จำนวน 5 นาย ที่บริเวณบ้านแอร้อง อ.บันนังสตา โชคดีแรงระเบิดส่งผลให้ทหารพรานบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยจำนวน 3 นาย
ส่วนที่ จ.นราธิวาส คนร้ายได้ลอบวางระเบิดรถยนต์ที่บ้านบาโงกูโบ อ.ระแงะ มีผู้เสียชีวิต 6 คน และบาดเจ็บ 1 คน จากการสอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุ ชาวบ้านทั้ง 7 คนซึ่งเป็นชุดอาสาสมัครรักษาเมือง(อรม.) ได้เข้าไปช่วยพัฒนาหมู่บ้านใน ต.บองอ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ หลังเสร็จสิ้นภารกิจ ได้ชักชวนกันเข้าไปหาของป่าในพื้นที่ใกล้เคียง จากนั้นระหว่างขับรถกลับ ได้ถูกระเบิดที่คนร้ายฝังไว้ใต้ถนน ทั้งนี้ หลังแรงระเบิดทำให้รถเสียหลัก คนร้ายได้เข้าจ่อยิงซ้ำชาวบ้านกลุ่มนี้กระทั่งเสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว หลังเกิดเหตุ อาสาสมัครทหารพรานที่ 45 ได้เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุทันที แต่ อส.ทพ.พลาดท่าเหยียบกับระเบิดที่คนร้ายลอบวางไว้ ทำให้ อส.ทพ.นริทน์ วิวัฒน์ ขาข้างซ้ายขาด ขณะที่ อส.ทพ.อุเทน ใสสุขชน บาดเจ็บเล็กน้อย
ด้านศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ใต้ รายงานสถิติการเกิดเหตุไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1-31 ต.ค.ว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 121 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการวางระเบิด 52 ครั้ง ,ยิงและปะทะ 45 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 46 คน แบ่งเป็นชาวไทยพุทธ 23 คน ชาวไทยมุสลิม 21 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 110 คน แบ่งเป็น ชาวไทยพุทธ 75 คน ชาวไทยมุสลิม 34 คน และไม่ระบุศาสนา 1 คน