บลจ.จ่อตั้งกอง LTF ใหม่เพิ่มหลังตีความมติ ครม.เปิดช่องให้สิทธิภาษี ขณะที่ ก.ล.ต.เผยมีหลาย บลจ.ให้ความสนใจ ด้านธนชาตชี้เป็นประโยชน์ต่อ บลจ.น้องใหม่ และเพิ่มทางเลือกแก่นักลงทุน ด้าน บลจ.กสิกรไทยเตรียมเปิดใหม่เพิ่มอีก 2 กองช่วยลดความผันผวนจากการลงทุน ส่วน บลจ.กรุงไทยเตรียมเปิดเพิ่ม 2 กองเช่นกัน เล็งเอากองหุ้นผลงานดีมาเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการยกเลิกเงื่อนไขการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ว่าต้องเป็นเงินได้ที่จ่ายค่าซื้อในกองทุนดังกล่าวที่จดทะเบียนภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 นั้น ส่งผลให้มีการตีความหมายได้ว่าบ ลจ.สามารถจัดตั้งกองทุน LTF กองใหม่ได้ โดยปัจจุบันมี บลจ.หลายแห่งสนใจจัดตั้งกองทุน LTF กองใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. และคาดว่าในปีนี้น่าจะมี LTF กองใหม่สามารถเสนอขายหน่วยลงทุนได้ทันก่อนสิ้นปี
อย่างไรก็ตาม มีเงื่อนไขเพิ่มสำหรับ LTF กองใหม่ตามหนังสือเวียนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ซักซ้อมความเข้าใจบริษัทจัดการกองทุนเกี่ยวกับการขยายระยะเวลากองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ซึ่งมีประเด็นเพิ่มสำหรับกองทุนใหม่ว่า เนื่องจากการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกำหนดช่วงระยะเวลา ทั้งนี้ หาก บลจ.ประสงค์จะดำเนินการจัดการกองทุนรวมต่อไป เมื่อพ้นระยะเวลาการยกเว้นภาษี (31 ธ.ค. 2562) บลจ.ต้องเปิดเผยในรายละเอียดโครงการว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลา ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ลงทุนตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 จะไม่สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไป และต้องเปลี่ยนชื่อกองทุน และให้ถือว่ากองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนรวมทั่วไป ประเภทกองทุนรวมตราสารแห่งทุน (หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทและนโยบายในการลงทุน)
นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ธนชาตบอกว่า การเปิดโอกาสให้ บลจ.สามารถจัดตั้ง LTF กองใหม่ได้ถือเป็นผลดีต่อ บลจ.น้องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะเดิมทีหลักเกณฑ์ในการจัดตั้ง LTF กองใหม่นั้นจบไปตั้งแต่ปี 2550 แล้ว ทำให้ บลจ.เหล่านี้ไม่มีทางเลือกกองทุนประหยัดภาษีให้แก่ผู้ลงทุน โดยในส่วนของ บลจ.ธนชาตเองก็กำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้ง LTF กองใหม่ ซึ่งจะเน้นกลยุทธ์การลงทุนในหุ้น low beta เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุน และเชื่อว่า บลจ.อื่นๆ ก็จะสนใจตั้งกองใหม่ที่มีทีมการลงทุน ต่างไปจากกองทุนที่มีในปัจจุบันเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม กองทุนใหม่ที่จัดตั้งขึ้นยังคงเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับกองทุน LTF กองเดิม คือสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ถึงปี 2562 โดยจะต้องถือหน่วยลงทุนให้ครบอายุ 7 ปีปฏิทิน
นางสาวยุพาวดีกล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทมีแผนที่จะออกกองทุนรวม LTF ใหม่เพิ่มเติมจากเดิมอีก 2 กองทุน คือ กองทุนเปิดเค มินิมั่ม โวลาติลิตี้ หุ้นระยะยาว (KMVLTF) และกองทุนเปิดเค Mid Small Cap หุ้นระยะยาว (KMSLTF) โดยกองทุน KMVLTF มีนโยบายลงทุนในหุ้นไทยที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET 100 โดยใช้กลยุทธ์การบริหารที่เรียกว่า Minimum Volatility ซึ่งมีข้อดีคือ ช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนให้อยู่ในระดับต่ำ
ทั้งนี้ ในช่วงตลาดปรับตัวลงก็จะสามารถช่วยปกป้องเงินลงทุนหรือช่วยลดภาวะการขาดทุนให้น้อยลงได้ ขณะที่ในช่วงตลาดปรับตัวขึ้น แม้ว่าผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนอาจไม่ได้ปรับตัวขึ้นสูงเท่ากับตลาดเพราะกลยุทธ์ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อลดความผันผวนให้ต่ำที่สุด
สำหรับกองทุน KMSLTF มีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ไม่เกิน 50,000 ล้านบาท และเน้นการคัดเลือกหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความมั่นคง และมีแนวโน้มการเจริญเติบโตทางธุรกิจที่ดีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หรือตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สุทธิของกองทุน
นอกจากนี้ บริษัทคาดว่าจะสามารถเสนอขายกองทุนรวม LTF ใหม่นี้ได้ในช่วงปลายปี แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ลงทุนสนใจที่จะลงทุนในกองทุนรวม LTF ในช่วงนี้ บลจ.กสิกรไทยขอแนะนำกองทุนเปิดเค 20 ซีเล็คท์หุ้นระยะยาวปันผล (K20SLTF) ซึ่งมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นเด่นที่มีศักยภาพสูงไม่เกิน 20 ตัว โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 27% (ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2559)
ด้านนางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้บริษัทมีแผนที่จะออกกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ใหม่อีก 1-2 กองทุน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำโครงการ และคาดว่าจะเป็นการนำกองทุนหุ้นที่มีอยู่แล้ว และผลงานดีนำมาเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุน ยกตัวอย่างเช่น กองทุนเปิด กรุงไทย ซีเล็คทีฟ อิควิตี้ ฟันด์ (KTSE) ที่มีจุดเด่นคือ การบริหารกองทุนที่มีการบริหารจัดการแบบเชิงรุก (Active management) เน้นการลงทุนในหุ้นเป็นรายตัวและมีการจัดสรรน้ำหนักการลงทุนให้มีความเฉพาะเจาะจง (Focus) ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างทีมผู้จัดการกองทุนกับฝ่ายวิจัยของบริษัท
โดยกองทุนจะมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี รวมทั้งลงทุนในตราสารหนี้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนด โดยกองทุนจะลงทุนในหุ้นจำนวนไม่เกิน 30 หลักทรัพย์ ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน พร้อมทั้งมีนโยบายการจ่ายเงินปันผล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการยกเลิกเงื่อนไขการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ว่าต้องเป็นเงินได้ที่จ่ายค่าซื้อในกองทุนดังกล่าวที่จดทะเบียนภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 นั้น ส่งผลให้มีการตีความหมายได้ว่าบ ลจ.สามารถจัดตั้งกองทุน LTF กองใหม่ได้ โดยปัจจุบันมี บลจ.หลายแห่งสนใจจัดตั้งกองทุน LTF กองใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. และคาดว่าในปีนี้น่าจะมี LTF กองใหม่สามารถเสนอขายหน่วยลงทุนได้ทันก่อนสิ้นปี
อย่างไรก็ตาม มีเงื่อนไขเพิ่มสำหรับ LTF กองใหม่ตามหนังสือเวียนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ซักซ้อมความเข้าใจบริษัทจัดการกองทุนเกี่ยวกับการขยายระยะเวลากองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ซึ่งมีประเด็นเพิ่มสำหรับกองทุนใหม่ว่า เนื่องจากการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกำหนดช่วงระยะเวลา ทั้งนี้ หาก บลจ.ประสงค์จะดำเนินการจัดการกองทุนรวมต่อไป เมื่อพ้นระยะเวลาการยกเว้นภาษี (31 ธ.ค. 2562) บลจ.ต้องเปิดเผยในรายละเอียดโครงการว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลา ผู้ถือหน่วยลงทุนที่ลงทุนตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 จะไม่สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไป และต้องเปลี่ยนชื่อกองทุน และให้ถือว่ากองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนรวมทั่วไป ประเภทกองทุนรวมตราสารแห่งทุน (หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทและนโยบายในการลงทุน)
นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ธนชาตบอกว่า การเปิดโอกาสให้ บลจ.สามารถจัดตั้ง LTF กองใหม่ได้ถือเป็นผลดีต่อ บลจ.น้องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะเดิมทีหลักเกณฑ์ในการจัดตั้ง LTF กองใหม่นั้นจบไปตั้งแต่ปี 2550 แล้ว ทำให้ บลจ.เหล่านี้ไม่มีทางเลือกกองทุนประหยัดภาษีให้แก่ผู้ลงทุน โดยในส่วนของ บลจ.ธนชาตเองก็กำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้ง LTF กองใหม่ ซึ่งจะเน้นกลยุทธ์การลงทุนในหุ้น low beta เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุน และเชื่อว่า บลจ.อื่นๆ ก็จะสนใจตั้งกองใหม่ที่มีทีมการลงทุน ต่างไปจากกองทุนที่มีในปัจจุบันเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม กองทุนใหม่ที่จัดตั้งขึ้นยังคงเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับกองทุน LTF กองเดิม คือสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ถึงปี 2562 โดยจะต้องถือหน่วยลงทุนให้ครบอายุ 7 ปีปฏิทิน
นางสาวยุพาวดีกล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทมีแผนที่จะออกกองทุนรวม LTF ใหม่เพิ่มเติมจากเดิมอีก 2 กองทุน คือ กองทุนเปิดเค มินิมั่ม โวลาติลิตี้ หุ้นระยะยาว (KMVLTF) และกองทุนเปิดเค Mid Small Cap หุ้นระยะยาว (KMSLTF) โดยกองทุน KMVLTF มีนโยบายลงทุนในหุ้นไทยที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET 100 โดยใช้กลยุทธ์การบริหารที่เรียกว่า Minimum Volatility ซึ่งมีข้อดีคือ ช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนให้อยู่ในระดับต่ำ
ทั้งนี้ ในช่วงตลาดปรับตัวลงก็จะสามารถช่วยปกป้องเงินลงทุนหรือช่วยลดภาวะการขาดทุนให้น้อยลงได้ ขณะที่ในช่วงตลาดปรับตัวขึ้น แม้ว่าผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนอาจไม่ได้ปรับตัวขึ้นสูงเท่ากับตลาดเพราะกลยุทธ์ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อลดความผันผวนให้ต่ำที่สุด
สำหรับกองทุน KMSLTF มีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ไม่เกิน 50,000 ล้านบาท และเน้นการคัดเลือกหุ้นของบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความมั่นคง และมีแนวโน้มการเจริญเติบโตทางธุรกิจที่ดีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หรือตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สุทธิของกองทุน
นอกจากนี้ บริษัทคาดว่าจะสามารถเสนอขายกองทุนรวม LTF ใหม่นี้ได้ในช่วงปลายปี แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ลงทุนสนใจที่จะลงทุนในกองทุนรวม LTF ในช่วงนี้ บลจ.กสิกรไทยขอแนะนำกองทุนเปิดเค 20 ซีเล็คท์หุ้นระยะยาวปันผล (K20SLTF) ซึ่งมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นเด่นที่มีศักยภาพสูงไม่เกิน 20 ตัว โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 27% (ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2559)
ด้านนางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้บริษัทมีแผนที่จะออกกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ใหม่อีก 1-2 กองทุน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำโครงการ และคาดว่าจะเป็นการนำกองทุนหุ้นที่มีอยู่แล้ว และผลงานดีนำมาเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุน ยกตัวอย่างเช่น กองทุนเปิด กรุงไทย ซีเล็คทีฟ อิควิตี้ ฟันด์ (KTSE) ที่มีจุดเด่นคือ การบริหารกองทุนที่มีการบริหารจัดการแบบเชิงรุก (Active management) เน้นการลงทุนในหุ้นเป็นรายตัวและมีการจัดสรรน้ำหนักการลงทุนให้มีความเฉพาะเจาะจง (Focus) ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างทีมผู้จัดการกองทุนกับฝ่ายวิจัยของบริษัท
โดยกองทุนจะมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี รวมทั้งลงทุนในตราสารหนี้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนด โดยกองทุนจะลงทุนในหุ้นจำนวนไม่เกิน 30 หลักทรัพย์ ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน พร้อมทั้งมีนโยบายการจ่ายเงินปันผล