โดย Phillip Fund SuperMart
บล.ฟิลลิป
ในช่วงที่ผ่านมาไม่เพียงตลาดหุ้นทั่วโลกเท่านั้นที่ผันผวนค่อนข้างมาก แต่ค่าเงินหลายๆ สกุลก็มีความผันผวนมากเช่นกัน จึงทำให้มีนักลงทุนหลายท่านที่ยังสนใจลงทุนกองทุนต่างประเทศแล้วเกิดความสงสัยว่า จริงๆ แล้วหากจะลงทุนเราควรทำการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ เราจะมาคุยกันในประเด็นนี้กัน
ขอยกตัวอย่างหนึ่งตัวอย่างจากเหตุการณ์ในอดีต นั่นก็คือ ตัวอย่างของการลงทุนในกองทุนทองคำเมื่อปี 2011 ซึ่งในขณะนั้นสหรัฐฯ ได้มีการทำ QE หรือการอัดฉีดเงินดอลลาร์สหรัฐระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตให้ดีขึ้น ซึ่งการกระทำเช่นนี้ส่งผลให้นักลงทุนทั้งหลายลดความเชื่อมั่นในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ และมองสินทรัพย์ที่เรียกว่าทองคำเป็น Safe Heaven ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในขณะนั้นจึงอ่อนค่าลงมากและราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นมาก
ในกรณีนี้นักลงทุนไทยที่เข้าลงทุนในกองทุนทองคำซึ่งถ้าใครได้ซื้อสัญญาป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ก็สามารทำกำไรได้มากกว่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ซื้อสัญญาป้องกันความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากค่าเงิน
ในขณะเดียวกัน หลังจากปี 2013 เป็นต้นมาเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มดีขึ้นจึงทำให้สหรัฐฯ หยุดเจ้านโยบายที่ชื่อว่า QE ส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐกลับมาเป็นที่ต้องการ ทองคำจากที่เคยเป็น Safe Heaven ก็ถูกลดความน่าสนใจขึ้นมาทันที ในขณะนั้นเงินดอลลาร์สหรัฐก็ได้แข็งค่าขึ้นอีกครั้ง นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนทองคำที่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไว้กลับขาดทุนหนักกว่าพวกที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินเสียอีก
เช่นเดียวกันกับกองทุนหุ้นยุโรปและญี่ปุ่นในขณะนี้ซึ่งเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มดังกล่าวกำลังฟื้นตัวและมีการทำ QE ที่จะทำให้ค่าเงินของประเทศในกลุ่มดังกล่าวอ่อนค่าลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจส่งออก การลงทุนในประเทศเหล่านี้จึงควรป้องกันความเสี่ยงไว้
คำถามถัดมาคือ หากยุโรปและญี่ปุ่นเลิกทำ QE แล้ว การลงทุนในตลาดหุ้นของกลุ่มเหล่านี้ยังมีความน่าสนใจอยู่หรือไม่??
คำตอบคือ ไม่แล้วใช่ไหม
ในทางกลับกัน หากนักลงทุนคนใดสนใจหุ้นจีนต้องการลงทุนระยะยาวมากๆ 5 ปีขึ้นไป และเชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะดีขึ้นมากๆ ในอนาคต โดยที่จีนไม่ต้องทำ QE แถมเงินหยวนจะได้เข้าตะกร้า SDRs ซึ่งจะทำให้แนวโน้มความต้องการเงินหยวนในตลาดจะสูงขึ้นมาก และทำให้เงินหยวนแข็งค่าในที่สุด
คำถามคือ ถ้าเป็นแบบนี้เราควรป้องกันความเสี่ยงหรือไม่ แน่นอนคำตอบของผู้เขียนคือ....ไม่จำเป็นต้องทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน
ดังนั้นถ้าจะถามเพียงว่าลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหนหรือภูมิภาคไหนควรป้องกันความเสี่ยง ค่าเงิน หรือไม่ป้องกัน ผู้เขียนคงให้คำตอบที่ชัดเจนไม่ได้
ทั้งนี้เราต้องมองว่าค่าเงินนั้นเป็นปัจจัยที่สร้างความน่าสนใจให้สินทรัพย์ที่เราต้องการลงทุนด้วยหรือไม่ แนวโน้มเศรษฐกิจและดุลการค้าของประเทศนั้นเป็นอย่างไร
ระยะเวลาในการลงทุนของเรายาวนานแค่ไหน
ผู้เขียนเชื่อว่าทุกอย่างมันอยู่ที่สภาพแวดล้อมหลายๆปัจจัย
อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นนักลงทุนมือใหม่ หรือมือสมัครเล่น ก็ควรที่จะป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ เนื่องจากจะเป็นการลดปัจจัยและความผันผวนที่มีผลต่อผลตอบแทนของเรา และจะได้ใช้สมาธิไปกับการดูภาวะการลงทุนมากกว่าที่จะต้องดูความเสี่ยงจากการแปลค่าเงินอีกด้วย
ทั้งนี้ หากนักลงทุนท่านใดมีความสนใจที่จะลงทุนในกองทุนต่างประเทศและต้องการคำปรึกษาเรื่องการป้องกันความเสี่ยงของค่าเงิน ทาง บล.ฟิลลิปมีทีมให้คำปรึกษา
บล.ฟิลลิป
ในช่วงที่ผ่านมาไม่เพียงตลาดหุ้นทั่วโลกเท่านั้นที่ผันผวนค่อนข้างมาก แต่ค่าเงินหลายๆ สกุลก็มีความผันผวนมากเช่นกัน จึงทำให้มีนักลงทุนหลายท่านที่ยังสนใจลงทุนกองทุนต่างประเทศแล้วเกิดความสงสัยว่า จริงๆ แล้วหากจะลงทุนเราควรทำการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ เราจะมาคุยกันในประเด็นนี้กัน
ขอยกตัวอย่างหนึ่งตัวอย่างจากเหตุการณ์ในอดีต นั่นก็คือ ตัวอย่างของการลงทุนในกองทุนทองคำเมื่อปี 2011 ซึ่งในขณะนั้นสหรัฐฯ ได้มีการทำ QE หรือการอัดฉีดเงินดอลลาร์สหรัฐระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตให้ดีขึ้น ซึ่งการกระทำเช่นนี้ส่งผลให้นักลงทุนทั้งหลายลดความเชื่อมั่นในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ และมองสินทรัพย์ที่เรียกว่าทองคำเป็น Safe Heaven ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในขณะนั้นจึงอ่อนค่าลงมากและราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นมาก
ในกรณีนี้นักลงทุนไทยที่เข้าลงทุนในกองทุนทองคำซึ่งถ้าใครได้ซื้อสัญญาป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ก็สามารทำกำไรได้มากกว่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ซื้อสัญญาป้องกันความเสี่ยงที่จะขาดทุนจากค่าเงิน
ในขณะเดียวกัน หลังจากปี 2013 เป็นต้นมาเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มดีขึ้นจึงทำให้สหรัฐฯ หยุดเจ้านโยบายที่ชื่อว่า QE ส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐกลับมาเป็นที่ต้องการ ทองคำจากที่เคยเป็น Safe Heaven ก็ถูกลดความน่าสนใจขึ้นมาทันที ในขณะนั้นเงินดอลลาร์สหรัฐก็ได้แข็งค่าขึ้นอีกครั้ง นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนทองคำที่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไว้กลับขาดทุนหนักกว่าพวกที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินเสียอีก
เช่นเดียวกันกับกองทุนหุ้นยุโรปและญี่ปุ่นในขณะนี้ซึ่งเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มดังกล่าวกำลังฟื้นตัวและมีการทำ QE ที่จะทำให้ค่าเงินของประเทศในกลุ่มดังกล่าวอ่อนค่าลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจส่งออก การลงทุนในประเทศเหล่านี้จึงควรป้องกันความเสี่ยงไว้
คำถามถัดมาคือ หากยุโรปและญี่ปุ่นเลิกทำ QE แล้ว การลงทุนในตลาดหุ้นของกลุ่มเหล่านี้ยังมีความน่าสนใจอยู่หรือไม่??
คำตอบคือ ไม่แล้วใช่ไหม
ในทางกลับกัน หากนักลงทุนคนใดสนใจหุ้นจีนต้องการลงทุนระยะยาวมากๆ 5 ปีขึ้นไป และเชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะดีขึ้นมากๆ ในอนาคต โดยที่จีนไม่ต้องทำ QE แถมเงินหยวนจะได้เข้าตะกร้า SDRs ซึ่งจะทำให้แนวโน้มความต้องการเงินหยวนในตลาดจะสูงขึ้นมาก และทำให้เงินหยวนแข็งค่าในที่สุด
คำถามคือ ถ้าเป็นแบบนี้เราควรป้องกันความเสี่ยงหรือไม่ แน่นอนคำตอบของผู้เขียนคือ....ไม่จำเป็นต้องทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน
ดังนั้นถ้าจะถามเพียงว่าลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหนหรือภูมิภาคไหนควรป้องกันความเสี่ยง ค่าเงิน หรือไม่ป้องกัน ผู้เขียนคงให้คำตอบที่ชัดเจนไม่ได้
ทั้งนี้เราต้องมองว่าค่าเงินนั้นเป็นปัจจัยที่สร้างความน่าสนใจให้สินทรัพย์ที่เราต้องการลงทุนด้วยหรือไม่ แนวโน้มเศรษฐกิจและดุลการค้าของประเทศนั้นเป็นอย่างไร
ระยะเวลาในการลงทุนของเรายาวนานแค่ไหน
ผู้เขียนเชื่อว่าทุกอย่างมันอยู่ที่สภาพแวดล้อมหลายๆปัจจัย
อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นนักลงทุนมือใหม่ หรือมือสมัครเล่น ก็ควรที่จะป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ เนื่องจากจะเป็นการลดปัจจัยและความผันผวนที่มีผลต่อผลตอบแทนของเรา และจะได้ใช้สมาธิไปกับการดูภาวะการลงทุนมากกว่าที่จะต้องดูความเสี่ยงจากการแปลค่าเงินอีกด้วย
ทั้งนี้ หากนักลงทุนท่านใดมีความสนใจที่จะลงทุนในกองทุนต่างประเทศและต้องการคำปรึกษาเรื่องการป้องกันความเสี่ยงของค่าเงิน ทาง บล.ฟิลลิปมีทีมให้คำปรึกษา