บลจ.กรุงไทยเปิดขาย 2 กองทุนตราสารหนี้ในและต่างประเทศ ชูผลตอบแทนสูง จับตาการประชุม กนง. การเคลื่อนย้ายเงินลงทุนในต่างประเทศ และการโตของเศรษฐกิจโลก
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเปิดจำหน่าย 2 กองทุนตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 83 (KTFF83) และกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ทอินเวส 3 เดือน 2 (KTSIV3M2) โดยกองทุน KTFF83 เสนอขายในวันที่ 3-9 กุมภาพันธ์ 2559 อายุ 6 เดือน เน้นลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ได้แก่ MTN ที่ออกโดย Banco Latinoamericano de Comercio Exterior, S.A., เงินฝากประจำ Agricultural Bank of CHINA, Bank of China (Macau), Abu Dhabi Commercial Bank PJSC และ Ahli Bank QSC ผลตอบแทนประมาณ 1.75% ต่อปี
ส่วนกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ทอินเวส 3 เดือน 2 (KTSIV3M2) เสนอขายรอบใหม่ (Roll Over) ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 อายุ 3 เดือน เน้นลงทุนตราสารหนี้ในประเทศ ประเภทเงินฝาก ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล ในสัดส่วน 44% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน ประกอบด้วย บจ.บีเอสแอล ลีสซิ่ง, บมจ.บัตรกรุงไทย และ บมจ.แสนสิริ ผลตอบแทนประมาณ 1.50% ต่อปี
สำหรับแนวโน้มอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ในประเทศมีการปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุตามแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยในช่วงแรกของสัปดาห์ตลาดมีแรงขายทำกำไรจากนักลงทุนประเภทสถาบันที่ขายออกมาก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ สลับกับแรงซื้อจากต่างชาติที่เข้าซื้อตราสารหนี้ทั้งภูมิภาคหลัง FED คงดอกเบี้ย และธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ ในขณะที่ตราสารออกใหม่ในประเทศมีไม่เพียงพอต่อความต้องการลงทุน โดยตลาดตอบรับการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุคงเหลือ 13 ปีค่อนข้างดี สำหรับนักลงทุนต่างชาติ มียอดซื้อสุทธิจำนวน 41,412 ล้านบาท
ด้านอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอายุคงเหลือตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุ ตามความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยหลัง Fed ยังคงอัตราดอกเบี้ยคงเดิมไว้ที่ระดับ 0.25%-0.50% และได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะผันผวนในตลาดการเงิน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการที่ BOJ ได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมด้วยการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบโดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.10% ต่อปี และอาจมีการผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติมในฝั่งของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในการประชุมเดือนมีนาคม
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้จะเป็นผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทิศทางของการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนระหว่างประเทศ และการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเปิดจำหน่าย 2 กองทุนตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 83 (KTFF83) และกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ทอินเวส 3 เดือน 2 (KTSIV3M2) โดยกองทุน KTFF83 เสนอขายในวันที่ 3-9 กุมภาพันธ์ 2559 อายุ 6 เดือน เน้นลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ได้แก่ MTN ที่ออกโดย Banco Latinoamericano de Comercio Exterior, S.A., เงินฝากประจำ Agricultural Bank of CHINA, Bank of China (Macau), Abu Dhabi Commercial Bank PJSC และ Ahli Bank QSC ผลตอบแทนประมาณ 1.75% ต่อปี
ส่วนกองทุนเปิดกรุงไทยสมาร์ทอินเวส 3 เดือน 2 (KTSIV3M2) เสนอขายรอบใหม่ (Roll Over) ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 อายุ 3 เดือน เน้นลงทุนตราสารหนี้ในประเทศ ประเภทเงินฝาก ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล ในสัดส่วน 44% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน ประกอบด้วย บจ.บีเอสแอล ลีสซิ่ง, บมจ.บัตรกรุงไทย และ บมจ.แสนสิริ ผลตอบแทนประมาณ 1.50% ต่อปี
สำหรับแนวโน้มอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ในประเทศมีการปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุตามแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยในช่วงแรกของสัปดาห์ตลาดมีแรงขายทำกำไรจากนักลงทุนประเภทสถาบันที่ขายออกมาก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ สลับกับแรงซื้อจากต่างชาติที่เข้าซื้อตราสารหนี้ทั้งภูมิภาคหลัง FED คงดอกเบี้ย และธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ ในขณะที่ตราสารออกใหม่ในประเทศมีไม่เพียงพอต่อความต้องการลงทุน โดยตลาดตอบรับการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุคงเหลือ 13 ปีค่อนข้างดี สำหรับนักลงทุนต่างชาติ มียอดซื้อสุทธิจำนวน 41,412 ล้านบาท
ด้านอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอายุคงเหลือตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลงทุกช่วงอายุ ตามความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยหลัง Fed ยังคงอัตราดอกเบี้ยคงเดิมไว้ที่ระดับ 0.25%-0.50% และได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะผันผวนในตลาดการเงิน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการที่ BOJ ได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมด้วยการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบโดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.10% ต่อปี และอาจมีการผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติมในฝั่งของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในการประชุมเดือนมีนาคม
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้จะเป็นผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทิศทางของการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนระหว่างประเทศ และการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ