xs
xsm
sm
md
lg

ถ้าญี่ปุ่นไม่เพิ่ม QQE ยังมีโอกาสเติบโต??

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


โดย ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.วรรณ
Dr.win@one-asset.com

ช่วงที่ผ่านมาทางบีโอเจยังไม่ประกาศมาตรการ QQE เพิ่มเติม รวมถึงทางการญี่ปุ่นยอมรับถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจประเทศอาจจะชะลอตัวลงจากภาวะการชะลอตัวเศรษฐกิจของประเทศจีนและประเทศตลาดเกิดใหม่ก็ตาม ซึ่งตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะยังคงมีแรงผลักดันได้อีกมากน้อยแค่ไหน และทางการของประเทศญี่ปุ่นยังมีความพร้อมที่จะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ต่อไปหรือไม่อย่างไร ผมมองว่าคำถามเริ่มเป็นที่กล่าวถึงในตลาดการลงทุน

หากมองในแง่ความน่าสนใจของเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน จุดเด่นนี้จะเป็นความต่อเนื่องของนโยบายเศรษฐกิจที่จะมาจากสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศญี่ปุ่นที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ หลังจากทีมนายกฯ ชินโซ อาเบะชนะการเลือกตั้งและกลับมาบริหารประเทศต่อในสมัยที่ 2 ซึ่งได้นำนโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจสมัยที่ 2 มาดำเนินการต่อจากลูกดอกแรกทันที หรือที่เรียกกันว่ามาตรการ QQE

โดยมาตรการทางการคลัง คือ การลดภาษี เพื่อดึงดูดบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดการณ์กันว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้ามีโอกาสปรับลดภาษีนิติบุคคลลงมาอยู่ที่ 20% ขณะเดียวกันในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจซึ่งเป็นนโยบายสำคัญ โดยการประกาศใช้งบประมาณ 3.5 ล้านล้านเยน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นประชาชนในประเทศที่มีรายได้ต่ำ เน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและปฏิรูปเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ก็เป็นปัจจัยที่น่าติดตามผลสำเร็จด้วยเช่นกัน

การเลือกใช้ลูกดอกที่ 3 ด้านการปฏิรูปเศรษฐกิจดังกล่าว ผมมองว่าเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระยะยาว โดยเฉพาะการได้เปรียบทางเศรษฐกิจด้านการส่งออกจากข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) จะทำให้ธุรกิจภาคการส่งออกของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคิดเป็นประมาณ 70% ของ GDP ที่มีการเติบโตขึ้นในระยะยาว ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลประโยชน์ ได้แก่ กลุ่มยานยนต์และกลุ่มผลิตภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถลดกำแพงทางภาษีในการนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศสมาชิก 12 ประเทศ ซึ่งในที่นี้รวมถึงสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และจีน หรือคิดเป็น 40% ของ GDP โลก ทำให้ขนาดโครงการ TPP สามารถเอื้อประโยชน์ให้ญี่ปุ่นได้ค่อนข้างมาก

ในภาคการลงทุน ตลาดหุ้นประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่คือการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งผมมองแนวทางการที่ญี่ปุ่นเลือกใช้กลยุทธ์ Corporate Governance เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ โดยเร่งพัฒนาในส่วนของธรรมาภิบาล จากการจัดตั้งดัชนี JPX NIKKIE 400 ให้เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของความโปร่งใสของบริษัทจดทะเบียนที่จะเข้าซื้อขายในดัชนีนี้ เนื่องจากบริษัทที่จะเข้าซื้อขายในดัชนีนี้ต้องผ่านกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งผมได้เคยนำเสนอไว้ในฉบับก่อนหน้านี้ โดยปัจจัยเหล่านี้จะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดความโปร่งใสและการเพิ่มสัดส่วนของการซื้อหุ้นคืนของกองทุนต่างๆ รวมทั้งมีรายได้บริษัทที่ดีสม่ำเสมอ และช่วยให้เงินลงทุนยังคงอยู่ในตลาดได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ทางการญี่ปุ่นได้สนับสนุนขอให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของญี่ปุ่น (GPIF) มีการขยายวงเงินลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น ประกอบกับเพิ่มเพดานการลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญอื่น เช่น กองทุน KKR เพิ่มน้ำหนักการลงทุนจาก 13.6% เป็น 25% กองทุน The Pension and Mutual Aid Corporation for Private Schools and japan จาก 16.1% เป็น 18% อีกทั้งยังสนับสนุนให้บริษัทประกันภัยรวมถึงบริษัทรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้นประมาณ 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 204 ล้านล้านเยน รวมถึงสนับสนุนให้นักลงทุนรายย่อยมีการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ หุ้น จากเดิมที่นักลงทุนรายย่อยในประเทศนิยมลงทุนอัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงิน เนื่องจากภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นนับว่ามีสัดส่วนเงินสดขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะทำให้มีสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่มีมาตรการ QQE เพิ่มเติมเข้ามาในสินทรัพย์เสี่ยง แต่ผมมองว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังสามารถเติบโตไปต่อได้ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ และสำหรับผู้ลงทุนที่สนใจการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น ผมขอเสนอกองทุนเปิดวรรณ นิปปอน ฟันด์ (ONE-NIPPON) เป็น Asset Class ในพอร์ตการลงทุน โดยกองทุนนี้เน้นลงทุนในกองทุนเปิด Next Fund JPX-Nikkei 400 ETF เพียงกองทุนเดียว โดยกองทุนเปิด Next Fund JPX-Nikkei 400 ETF มีนโยบายลงทุนที่สร้างผลตอบแทนเลียนแบบดัชนีใหม่ JPX - Nikkei 400 Index ซึ่งกองทุน ONE-NIPPON เหมาะสำหรับการลงทุนในระยะยาวเพราะดัชนีนี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการถือลงทุนในระยะสั้น

•นักลงทุนสามารถสอบถามเพิ่มเติมและขอรับร่างหนังสือชี้ชวนได้ที่ฝ่ายบริการลูกค้าและสนับสนุนธุรกิจที่หมายเลข 0-2659-8888 ต่อ 1 ครับ

•“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน”
กำลังโหลดความคิดเห็น