คอลัมน์ Design your life by Mutual Fund
โดย บลจ.ธนชาต
คำถามในใจของนักลงทุนหลายคน เราจะไปฝากเงินของเราให้คนอื่นบริหารทำไมล่ะ เราลงทุนเอง เรียนรู้เอง ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ ไม่ได้เหรอ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้บริษัทจัดการกองทุนด้วย ที่สำคัญเก่งจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ อย่างลงทุนในกองทุนหุ้นทั่วไป 100,000 บาท จะจ่ายให้บริษัทจัดการลงทุนไม่เกิน 2000 บาทต่อปี นั้นแพงไปไหม
อาจจะใช่ค่ะ ที่นักลงทุนสามารถบริหารเงินลงทุนของตัวเองได้ แต่คำถามคือ เราพร้อมจะเสียเวลา ปลีกเวลางานประจำมาติดตามสถานการณ์ตลาด และพร้อมจะเอาเงินลงทุนของเราจ่ายเป็นค่าเรียนรู้หรือไม่
ผู้ลงทุนที่พร้อมจะเป็นผู้จัดการเงินลงทุนของตัวเอง อาจต้องทราบว่ากระบวนการทำงานในกองทุนรวมนั้นเป็นอย่างไร ค่าใช้จ่ายที่เราจ่ายให้บริษัทจัดการกองทุนนั้นเราจ่ายค่าอะไร และมันคุ้มค่าหรือไม่ ...ซึ่งเรื่องนี้ บลจ.ธนชาต มีคำตอบ
ในแต่ละกองทุนรวมจะมีผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่บริหารและปรับเปลี่ยนพอร์ตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดในขณะนั้นๆ เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนกับผู้ลงทุนให้มากที่สุด เพราะไม่มีสินทรัพย์ไหนจะดีที่สุดในทุกสถานการณ์ หุ้นตัวที่ว่าเด็ดที่สุด เมื่อถึงเวลาหนึ่งก็ต้องเปลี่ยนไปหาหุ้นที่มีโอกาสเติบโตต่อไป ตราสารหนี้ที่ว่าลงทุนง่ายๆ และปลอดภัย แต่หากว่าไม่รู้จักหาโอกาสรับผลตอบแทนจากทิศทางแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ก็เหมือนใช้ศักยภาพของตราสารหนี้ไม่เต็มที่
ในโลกการลงทุน ถ้าคุณหยุด โอกาสก็จะวิ่งหนีคุณไป การปรับพอร์ตให้ทันต่อสถานการณ์ถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็พบว่าหลายคนกลัวไม่ทัน กลัวตกรถไฟ รีบปรับพอร์ตจนติดดอยก็มี เพราะฉะนั้นผู้จัดการกองทุนนี่แหละที่จะทำหน้าที่ปรับสัดส่วนการลงทุนทั้งในแง่แต่ละสินทรัพย์ หุ้นแต่ละตัว และอายุของตราสาร เพื่อให้เหมาะสมกับช่วงเวลานั้น อย่างรูปกราฟแสดงสัดส่วนการลงทุนของกองทุนเปิดธนชาต Multi Asset Portfolio หรือ T-MAP จะเห็นได้ว่าในระยะเวลา 4 ปีกว่าๆ ผู้จัดการกองทุนของเราจะปรับพอร์ตการลงทุนตามสถานการณ์ตลาดเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ โดยอาศัยข้อมูล ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ทำงานวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มตลาดที่เกิดขึ้น
ทุกๆ เช้า หน้าที่ประจำของคนที่เป็นผู้จัดการกองทุนจะขาดไม่ได้เลยก็คือ ประชุมติดตามเกาะติดสถานการณ์ตลาดในขณะนั้นๆ เพื่อที่จะวางแผนและวิเคราะห์ทิศทางการลงทุนให้เหมาะสม บรรยากาศคงเหมือนสภากาแฟ ที่ต่างคนต่างอัปเดตสถานการณ์ และถกเถียงด้วยเหตุผลเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน
ใครว่าพวกเราจะนั่งอยู่ในห้องแอร์ หาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเฉยๆ ไม่ใช่เลยค่ะ อย่าง บลจ.ธนชาต ก็ต้องออกไป Company visit ต่อปีมากกว่า 200 ครั้งค่ะ เราไปรับรู้วิธีการทำงานของบริษัทที่เราสนใจจะลงทุน ไม่เชื่อแค่เพียงกระดาษที่ใครจะเขียนให้สวยงามอย่างไรก็ได้... นี่แหละค่ะ งานของผู้จัดการกองทุน แถมผู้จัดการกองทุนเองยังต้องถูกประเมินผลงานทั้งจากในและนอกองค์กรด้วยนะคะ อย่างในองค์กรเราประเมินผู้จัดการกองทุนด้วยกองทุนที่พวกเขาบริหาร ทั้งในหน่วยงานเองและบอร์ดบริษัท ไม่ใช่ว่าบริหารไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ผู้ลงทุนก็สบายใจได้ค่ะ ถ้ากองไหนผลงานไม่ได้หลายปีเข้า ถ้าผู้จัดการกองทุนไม่ปรับกลยุทธ์ก็คงต้องพิจารณาตัวผู้จัดการกองทุนค่ะ ส่วนภายนอกองค์กร ก็มีทั้งสถาบันที่เป็นผู้จัดอันดับ เช่น Morningstar ที่มีทั้งการให้รางวัลและให้ดาวสำหรับกองทุนที่บริหารได้ดี และผู้ที่ประเมินเราได้ดี และสำคัญที่สุดคือ ผู้ลงทุนนั่นเอง ไม่มีใครอยากอยู่กับกองทุนที่แพ้คู่แข่งไปตลอดใช่ไหมคะ พอถึงจุดหนึ่ง ถ้าบริหารไม่ได้ตามที่ผู้ลงทุนคาดหวัง ผู้ลงทุนก็สามารถย้ายบริษัทจัดการกองทุนได้เสมอค่ะ
ที่บอกมาทั้งหมด ก็ไม่ได้หมายความว่าลงทุนในกองทุนรวมมีมืออาชีพดูแล แล้วจะไม่ขาดทุนเลย ก็อย่างที่บอกล่ะค่ะการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน และการลงทุนก็เหมือนกับการเดินทางที่ต้องใช้เวลาเพื่อให้ถึงเป้าหมาย ระหว่างทางเราอาจจะเจอทั้งฝนตก แดดออก แต่สิ่งสำคัญคือ รถที่จะพาเราไปถึงจุดหมายนั้น สามารถกันแดดกันฝนให้เราได้หรือไม่ นั่นเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนต้องตัดสินใจ ศึกษา และลองประเมินดูค่ะ ว่าคุ้มค่าหรือไม่
โดย บลจ.ธนชาต
คำถามในใจของนักลงทุนหลายคน เราจะไปฝากเงินของเราให้คนอื่นบริหารทำไมล่ะ เราลงทุนเอง เรียนรู้เอง ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ ไม่ได้เหรอ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้บริษัทจัดการกองทุนด้วย ที่สำคัญเก่งจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ อย่างลงทุนในกองทุนหุ้นทั่วไป 100,000 บาท จะจ่ายให้บริษัทจัดการลงทุนไม่เกิน 2000 บาทต่อปี นั้นแพงไปไหม
อาจจะใช่ค่ะ ที่นักลงทุนสามารถบริหารเงินลงทุนของตัวเองได้ แต่คำถามคือ เราพร้อมจะเสียเวลา ปลีกเวลางานประจำมาติดตามสถานการณ์ตลาด และพร้อมจะเอาเงินลงทุนของเราจ่ายเป็นค่าเรียนรู้หรือไม่
ผู้ลงทุนที่พร้อมจะเป็นผู้จัดการเงินลงทุนของตัวเอง อาจต้องทราบว่ากระบวนการทำงานในกองทุนรวมนั้นเป็นอย่างไร ค่าใช้จ่ายที่เราจ่ายให้บริษัทจัดการกองทุนนั้นเราจ่ายค่าอะไร และมันคุ้มค่าหรือไม่ ...ซึ่งเรื่องนี้ บลจ.ธนชาต มีคำตอบ
ในแต่ละกองทุนรวมจะมีผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่บริหารและปรับเปลี่ยนพอร์ตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดในขณะนั้นๆ เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนกับผู้ลงทุนให้มากที่สุด เพราะไม่มีสินทรัพย์ไหนจะดีที่สุดในทุกสถานการณ์ หุ้นตัวที่ว่าเด็ดที่สุด เมื่อถึงเวลาหนึ่งก็ต้องเปลี่ยนไปหาหุ้นที่มีโอกาสเติบโตต่อไป ตราสารหนี้ที่ว่าลงทุนง่ายๆ และปลอดภัย แต่หากว่าไม่รู้จักหาโอกาสรับผลตอบแทนจากทิศทางแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย ก็เหมือนใช้ศักยภาพของตราสารหนี้ไม่เต็มที่
ในโลกการลงทุน ถ้าคุณหยุด โอกาสก็จะวิ่งหนีคุณไป การปรับพอร์ตให้ทันต่อสถานการณ์ถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็พบว่าหลายคนกลัวไม่ทัน กลัวตกรถไฟ รีบปรับพอร์ตจนติดดอยก็มี เพราะฉะนั้นผู้จัดการกองทุนนี่แหละที่จะทำหน้าที่ปรับสัดส่วนการลงทุนทั้งในแง่แต่ละสินทรัพย์ หุ้นแต่ละตัว และอายุของตราสาร เพื่อให้เหมาะสมกับช่วงเวลานั้น อย่างรูปกราฟแสดงสัดส่วนการลงทุนของกองทุนเปิดธนชาต Multi Asset Portfolio หรือ T-MAP จะเห็นได้ว่าในระยะเวลา 4 ปีกว่าๆ ผู้จัดการกองทุนของเราจะปรับพอร์ตการลงทุนตามสถานการณ์ตลาดเพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ โดยอาศัยข้อมูล ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ทำงานวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มตลาดที่เกิดขึ้น
ทุกๆ เช้า หน้าที่ประจำของคนที่เป็นผู้จัดการกองทุนจะขาดไม่ได้เลยก็คือ ประชุมติดตามเกาะติดสถานการณ์ตลาดในขณะนั้นๆ เพื่อที่จะวางแผนและวิเคราะห์ทิศทางการลงทุนให้เหมาะสม บรรยากาศคงเหมือนสภากาแฟ ที่ต่างคนต่างอัปเดตสถานการณ์ และถกเถียงด้วยเหตุผลเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน
ใครว่าพวกเราจะนั่งอยู่ในห้องแอร์ หาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเฉยๆ ไม่ใช่เลยค่ะ อย่าง บลจ.ธนชาต ก็ต้องออกไป Company visit ต่อปีมากกว่า 200 ครั้งค่ะ เราไปรับรู้วิธีการทำงานของบริษัทที่เราสนใจจะลงทุน ไม่เชื่อแค่เพียงกระดาษที่ใครจะเขียนให้สวยงามอย่างไรก็ได้... นี่แหละค่ะ งานของผู้จัดการกองทุน แถมผู้จัดการกองทุนเองยังต้องถูกประเมินผลงานทั้งจากในและนอกองค์กรด้วยนะคะ อย่างในองค์กรเราประเมินผู้จัดการกองทุนด้วยกองทุนที่พวกเขาบริหาร ทั้งในหน่วยงานเองและบอร์ดบริษัท ไม่ใช่ว่าบริหารไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ผู้ลงทุนก็สบายใจได้ค่ะ ถ้ากองไหนผลงานไม่ได้หลายปีเข้า ถ้าผู้จัดการกองทุนไม่ปรับกลยุทธ์ก็คงต้องพิจารณาตัวผู้จัดการกองทุนค่ะ ส่วนภายนอกองค์กร ก็มีทั้งสถาบันที่เป็นผู้จัดอันดับ เช่น Morningstar ที่มีทั้งการให้รางวัลและให้ดาวสำหรับกองทุนที่บริหารได้ดี และผู้ที่ประเมินเราได้ดี และสำคัญที่สุดคือ ผู้ลงทุนนั่นเอง ไม่มีใครอยากอยู่กับกองทุนที่แพ้คู่แข่งไปตลอดใช่ไหมคะ พอถึงจุดหนึ่ง ถ้าบริหารไม่ได้ตามที่ผู้ลงทุนคาดหวัง ผู้ลงทุนก็สามารถย้ายบริษัทจัดการกองทุนได้เสมอค่ะ
ที่บอกมาทั้งหมด ก็ไม่ได้หมายความว่าลงทุนในกองทุนรวมมีมืออาชีพดูแล แล้วจะไม่ขาดทุนเลย ก็อย่างที่บอกล่ะค่ะการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน และการลงทุนก็เหมือนกับการเดินทางที่ต้องใช้เวลาเพื่อให้ถึงเป้าหมาย ระหว่างทางเราอาจจะเจอทั้งฝนตก แดดออก แต่สิ่งสำคัญคือ รถที่จะพาเราไปถึงจุดหมายนั้น สามารถกันแดดกันฝนให้เราได้หรือไม่ นั่นเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนต้องตัดสินใจ ศึกษา และลองประเมินดูค่ะ ว่าคุ้มค่าหรือไม่