ThaiBMA มองต่างชาติยังอาจทยอยขายบอนด์จากเหตุปัจจัยทั้งใน และต่างประเทศ เผยแผนตรียมปรับโครงสร้างบริหาร SOR เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เริ่มลองใช้เดือน พ.ค.นี้
นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองไทยยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจและเริ่มมีความน่าเป็นห่วงมากขึ้นในตอนนี้ ทำให้นักลงทุนต่างชาติมีการขายตราสารหนี้ระยะยาวมาพักในตราสารหนี้สั้นแทน ซึ่งปัจจัยทางการเมืองมองว่าไม่น่ากระทบต่อปริมาณการซื้อขายในระยะยาว ในระยะเวลา 3 เดือนจากนี้น่าจะจบลง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติอาจจะมีการขายออกไปได้อีกเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน
โดยช่วงต้นปีที่ผ่านมามูลค่าซื้อขายของต่างชาติลดลงจากปีที่แล้วที่ซื้อขายเฉลี่ยวันละประมาณ 10,000 ล้านบาท ลงมาเหลือเฉลี่ยประมาณ 5,000 ล้านบาท จากปัจจัยในเรื่องการชะลอมาตรการ QE และปัจจุบันมีคงค้างของนักลงทุนต่างชาติที่ถืออยู่ประมาณ 680,000 ล้านบาท คิดเป็น 12% ของยอดคงค้างทั้งหมด 6 ล้านล้านบาท
“ในปีนี้มองว่าจะมีการออกหุ้นกู้เอกชนประมาณ 4 แสนล้าน ขณะเดียวกันทางสมาคมตั้งเป้าดึงบริษัทจดทะเบียนที่ยังไม่เคยระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ให้มาระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ไม่น้อยกว่า 10 บริษัท จากในปีก่อนที่มี 14 บริษัท”
นายนิวัฒน์กล่าวว่า ในปีนี้ทางสมาคมตราสารหนี้เตรียมที่จะปรับโครงสร้างการบริหารแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลการทำงานของสมาคมตราสารหนี้ไทย โดยรูปแบบ SOR เช่นเดียวกันกับที่ประเทศเกาหลีใต้ใช้อยู่ตอนนี้ โดยมองว่าเพื่อเป็นการให้การปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้มีการกำกับโดยตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ไม่เป็นการทำหน้าที่ซ้้ำซ้อนกับทาง ก.ล.ต. ซึ่ง ก.ล.ต.นั้นดูแลเรื่องกฎหมาย แต่ทางสมาคมตราสารหนี้ทำหน้าที่เรื่องการออกตราสารหนี้ ออกผลิตภัณฑ์ รวมถึงการกำหนดราคาซื้อขาย
“ดังนั้น การเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างเป็น SOR ก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานที่ดีกว่า เป็นการแยกเรื่องการลงทุนออกจากการตรวจสอบดูแล โดย SOR จะทำหน้าที่หลักคือ 1) การสร้างกติกาให้แก่สมาชิก 2) การตรวจสอบ 3) การลงโทษผู้กระทำผิด”
สำหรับโครงสร้างใหม่มีบอร์ดบริหารแยกออกมาจากบอร์ดบริหารเดิมที่มีอยู่ โครงสร้างใหม่จะมีบอร์ดบริหาร 9 คน มีกรรมการผู้จัดการ 1 คน กรรมการบอร์ด มีกรรมการที่มาจาก ก.ล.ต. แบงก์ชาติ และกรรมการอิสระซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ โครงสร้างนี้เริ่มมีการประชุมแต่งตั้งในเดือนมีนาคม ประกาศผลในเดือนเมษายน และเริ่มงานในเดือนพฤษภาคม ซึ่งโครงสร้างนี้จะทดลองใช้ 1 ปีหากได้ผลก็จะมีการแก้ข้อบังคับต่อไป
นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองไทยยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจและเริ่มมีความน่าเป็นห่วงมากขึ้นในตอนนี้ ทำให้นักลงทุนต่างชาติมีการขายตราสารหนี้ระยะยาวมาพักในตราสารหนี้สั้นแทน ซึ่งปัจจัยทางการเมืองมองว่าไม่น่ากระทบต่อปริมาณการซื้อขายในระยะยาว ในระยะเวลา 3 เดือนจากนี้น่าจะจบลง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติอาจจะมีการขายออกไปได้อีกเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน
โดยช่วงต้นปีที่ผ่านมามูลค่าซื้อขายของต่างชาติลดลงจากปีที่แล้วที่ซื้อขายเฉลี่ยวันละประมาณ 10,000 ล้านบาท ลงมาเหลือเฉลี่ยประมาณ 5,000 ล้านบาท จากปัจจัยในเรื่องการชะลอมาตรการ QE และปัจจุบันมีคงค้างของนักลงทุนต่างชาติที่ถืออยู่ประมาณ 680,000 ล้านบาท คิดเป็น 12% ของยอดคงค้างทั้งหมด 6 ล้านล้านบาท
“ในปีนี้มองว่าจะมีการออกหุ้นกู้เอกชนประมาณ 4 แสนล้าน ขณะเดียวกันทางสมาคมตั้งเป้าดึงบริษัทจดทะเบียนที่ยังไม่เคยระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ให้มาระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ไม่น้อยกว่า 10 บริษัท จากในปีก่อนที่มี 14 บริษัท”
นายนิวัฒน์กล่าวว่า ในปีนี้ทางสมาคมตราสารหนี้เตรียมที่จะปรับโครงสร้างการบริหารแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลการทำงานของสมาคมตราสารหนี้ไทย โดยรูปแบบ SOR เช่นเดียวกันกับที่ประเทศเกาหลีใต้ใช้อยู่ตอนนี้ โดยมองว่าเพื่อเป็นการให้การปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้มีการกำกับโดยตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ไม่เป็นการทำหน้าที่ซ้้ำซ้อนกับทาง ก.ล.ต. ซึ่ง ก.ล.ต.นั้นดูแลเรื่องกฎหมาย แต่ทางสมาคมตราสารหนี้ทำหน้าที่เรื่องการออกตราสารหนี้ ออกผลิตภัณฑ์ รวมถึงการกำหนดราคาซื้อขาย
“ดังนั้น การเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างเป็น SOR ก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานที่ดีกว่า เป็นการแยกเรื่องการลงทุนออกจากการตรวจสอบดูแล โดย SOR จะทำหน้าที่หลักคือ 1) การสร้างกติกาให้แก่สมาชิก 2) การตรวจสอบ 3) การลงโทษผู้กระทำผิด”
สำหรับโครงสร้างใหม่มีบอร์ดบริหารแยกออกมาจากบอร์ดบริหารเดิมที่มีอยู่ โครงสร้างใหม่จะมีบอร์ดบริหาร 9 คน มีกรรมการผู้จัดการ 1 คน กรรมการบอร์ด มีกรรมการที่มาจาก ก.ล.ต. แบงก์ชาติ และกรรมการอิสระซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ โครงสร้างนี้เริ่มมีการประชุมแต่งตั้งในเดือนมีนาคม ประกาศผลในเดือนเมษายน และเริ่มงานในเดือนพฤษภาคม ซึ่งโครงสร้างนี้จะทดลองใช้ 1 ปีหากได้ผลก็จะมีการแก้ข้อบังคับต่อไป