นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด และ Mr. Anthony Joseph Raza-Senior Director หัวหน้าทีมจัดสรรกลยุทธ์พอร์ตการลงทุนของ UOB Asset Management Ltd. ประเทศสิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนาลูกค้าพริวิเลจแบงกิ้งของธนาคารยูโอบี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเรเนซองส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานสถานการณ์ตลาดทั่วโลกในปัจจุบัน รวมถึงให้มุมมองต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนในการวางแผนกลยุทธ์การลงทุน
MR. Anthony Joseph Raza ได้แสดงความคิดเห็นว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพที่ชัดเจนในไตรมาส 3/2555 จากอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (QE) และยอดค้าปลีกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค มูลค่าของหุ้นเริ่มกลับมาอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย หรือที่ระดับ P/E 16.4 ส่วนวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปนั้นเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าสัญญาณการฟื้นตัวจะยังไม่ชัดเจนเท่าฝั่งสหรัฐฯ แต่ล่าสุดสัญญาณที่ชี้ว่าเศรษฐกิจเริ่มขยายตัว เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) มีการขยายตัวอย่างดีขึ้น สะท้อนมุมมองเชิงบวกจากผู้ประกอบการ ส่งผลให้มีการปรับประมาณการของตัวเลขเศรษฐกิจ GDP เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนยังคงต้องติดตามเพื่อดูสถานการณ์การฟื้นตัวอย่างใกล้ชิดต่อไป
ด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียอย่างประเทศจีนเริ่มประสบปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เห็นได้จากการเติบโตของ GDP ลดลงสู่ระดับ 7.5% รวมทั้งปัญหาหนี้นอกระบบ หรือระบบธนาคารเงา (Shadow banking) ที่ตัวเลขยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปัญหาอุปทานส่วนเกินเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่กดดันประสิทธิภาพการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศจีน อย่างไรก็ดี ประเทศจีนยังคงมีเสถียรภาพทางการเมืองและการเงินสูง นอกจากนี้ มูลค่าของตลาดหุ้นยังคงซื้อขายอยู่ในระดับที่ไม่แพง เมื่อเทียบกับภูมิภาคระดับ P/E ต่ำกว่า 10 จึงคาดว่า Downside risk เป็นไปอย่างจำกัด ส่วนในระยะยาวยังมองว่าสามารถสร้างผลตอบแทนได้ และอีกหนึ่งประเทศที่น่าจับตามองคือ ประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ได้มีการออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ปัญหาเงินฝืดที่ต่อเนื่องมาหลายสิบปีนั้นได้รับการแก้ไข มาตรการดังกล่าวส่งผลให้ราคาทรัพย์สินปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนตัวเลขความมั่นใจของผู้บริโภคและการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ด้านตลาดหุ้นตอบรับมาตรการดังกล่าว โดยได้ปรับตัวขึ้นกว่า 30% ตั้งแต่ต้นปี 2013 อย่างไรตาม ควรติดตามอย่างใกล้ชิดว่าการฟื้นตัวเป็นไปอย่างยั่งยืนหรือไม่ รวมทั้งต้องติดตามค่าเงินเยนที่คาดว่าจะอ่อนค่าต่อเนื่อง ปัญญาหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง ความแข็งแกร่งของภาคบริโภค และปัญหาโครงสร้างประชากรภาคแรงงาน (จำนวนผู้สูงอายุ) โดยมองว่าในระยะสั้นยังคงได้ผลบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ในระยะกลางและยาวยังคงมีความท้าทายอยู่
นายวนา พูลผล ได้กล่าวเสริมว่า แม้ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาจะมีความกังวลเรื่องเงินลงทุนที่ได้เคลื่อนย้ายออกจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) รวมถึงภูมิภาคเอเชีย เพื่อกลับเข้าลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) อย่างตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตามทิศทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวนั้น ยูโอบีมีมุมมองว่าในระยะต่อไปจะส่งผลดีโดยรวมต่อสมดุลของตลาดหุ้นทั่วโลก ทั้งนี้ สำหรับตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย ถึงแม้ในระยะสั้นยังคงมีความผันผวนอยู่ แต่จากปัจจัยพื้นฐานที่ยังแข็งแกร่งและมั่นคง ประกอบกับแรงสนับสนุนของโครงการพัฒนาเศรษฐกิจจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมทั้งนโยบายโครงสร้างพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต น่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้หุ้นภูมิภาคเอเชียยังคงมีความน่าสนใจ
ด้านเศรษฐกิจไทย จากการรายงานตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจที่หดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกันในไตรมาส 2 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการใช้จ่ายของครัวเรือนและการส่งออกสินค้าและบริการที่ลดลงต่อเนื่อง การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนชะลอตัวลงเหลือ 2.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน และจาก 4.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ส่วนการส่งออกสินค้าหดตัว 1.5% ในไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ดี รายรับที่ได้จากการบริการขยายตัวได้ดีต่อเนื่องโดยเฉพาะจากการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต่างชาติยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง ในระยะสั้นจึงทำให้ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความผันผวน แต่จากปัจจัยพื้นฐานที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในระยะยาว สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ หากนักลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้มากขึ้น ปัจจุบันการลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนได้สูงกว่าการลงทุนตราสารหนี้ภายในประเทศเพียงอย่างเดียว
นายวนากล่าวทิ้งท้ายว่า “แม้การลงทุนในหุ้นจะมีความเสี่ยงสูง แต่เป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ ทั้งนี้ หากผู้ลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้มาก สามารถมีน้ำหนักการลงทุนในหุ้นมากกว่าสินทรัพย์อื่นได้ ทั้งนี้ควรพิจารณาเรื่องความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้เป็นหลัก และควรกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์อื่นๆ บ้างตามระดับความเสี่ยงของตน ได้แก่ ตราสารหนี้ต่างประเทศ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ เป็นต้น”
MR. Anthony Joseph Raza ได้แสดงความคิดเห็นว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพที่ชัดเจนในไตรมาส 3/2555 จากอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (QE) และยอดค้าปลีกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค มูลค่าของหุ้นเริ่มกลับมาอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย หรือที่ระดับ P/E 16.4 ส่วนวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปนั้นเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าสัญญาณการฟื้นตัวจะยังไม่ชัดเจนเท่าฝั่งสหรัฐฯ แต่ล่าสุดสัญญาณที่ชี้ว่าเศรษฐกิจเริ่มขยายตัว เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) มีการขยายตัวอย่างดีขึ้น สะท้อนมุมมองเชิงบวกจากผู้ประกอบการ ส่งผลให้มีการปรับประมาณการของตัวเลขเศรษฐกิจ GDP เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนยังคงต้องติดตามเพื่อดูสถานการณ์การฟื้นตัวอย่างใกล้ชิดต่อไป
ด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียอย่างประเทศจีนเริ่มประสบปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เห็นได้จากการเติบโตของ GDP ลดลงสู่ระดับ 7.5% รวมทั้งปัญหาหนี้นอกระบบ หรือระบบธนาคารเงา (Shadow banking) ที่ตัวเลขยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปัญหาอุปทานส่วนเกินเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่กดดันประสิทธิภาพการขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศจีน อย่างไรก็ดี ประเทศจีนยังคงมีเสถียรภาพทางการเมืองและการเงินสูง นอกจากนี้ มูลค่าของตลาดหุ้นยังคงซื้อขายอยู่ในระดับที่ไม่แพง เมื่อเทียบกับภูมิภาคระดับ P/E ต่ำกว่า 10 จึงคาดว่า Downside risk เป็นไปอย่างจำกัด ส่วนในระยะยาวยังมองว่าสามารถสร้างผลตอบแทนได้ และอีกหนึ่งประเทศที่น่าจับตามองคือ ประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ได้มีการออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ปัญหาเงินฝืดที่ต่อเนื่องมาหลายสิบปีนั้นได้รับการแก้ไข มาตรการดังกล่าวส่งผลให้ราคาทรัพย์สินปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนตัวเลขความมั่นใจของผู้บริโภคและการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ด้านตลาดหุ้นตอบรับมาตรการดังกล่าว โดยได้ปรับตัวขึ้นกว่า 30% ตั้งแต่ต้นปี 2013 อย่างไรตาม ควรติดตามอย่างใกล้ชิดว่าการฟื้นตัวเป็นไปอย่างยั่งยืนหรือไม่ รวมทั้งต้องติดตามค่าเงินเยนที่คาดว่าจะอ่อนค่าต่อเนื่อง ปัญญาหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง ความแข็งแกร่งของภาคบริโภค และปัญหาโครงสร้างประชากรภาคแรงงาน (จำนวนผู้สูงอายุ) โดยมองว่าในระยะสั้นยังคงได้ผลบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ในระยะกลางและยาวยังคงมีความท้าทายอยู่
นายวนา พูลผล ได้กล่าวเสริมว่า แม้ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาจะมีความกังวลเรื่องเงินลงทุนที่ได้เคลื่อนย้ายออกจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) รวมถึงภูมิภาคเอเชีย เพื่อกลับเข้าลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) อย่างตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตามทิศทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวนั้น ยูโอบีมีมุมมองว่าในระยะต่อไปจะส่งผลดีโดยรวมต่อสมดุลของตลาดหุ้นทั่วโลก ทั้งนี้ สำหรับตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย ถึงแม้ในระยะสั้นยังคงมีความผันผวนอยู่ แต่จากปัจจัยพื้นฐานที่ยังแข็งแกร่งและมั่นคง ประกอบกับแรงสนับสนุนของโครงการพัฒนาเศรษฐกิจจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมทั้งนโยบายโครงสร้างพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต น่าจะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้หุ้นภูมิภาคเอเชียยังคงมีความน่าสนใจ
ด้านเศรษฐกิจไทย จากการรายงานตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจที่หดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกันในไตรมาส 2 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการใช้จ่ายของครัวเรือนและการส่งออกสินค้าและบริการที่ลดลงต่อเนื่อง การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนชะลอตัวลงเหลือ 2.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน และจาก 4.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ส่วนการส่งออกสินค้าหดตัว 1.5% ในไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ดี รายรับที่ได้จากการบริการขยายตัวได้ดีต่อเนื่องโดยเฉพาะจากการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต่างชาติยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง ในระยะสั้นจึงทำให้ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความผันผวน แต่จากปัจจัยพื้นฐานที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในระยะยาว สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ หากนักลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้มากขึ้น ปัจจุบันการลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนได้สูงกว่าการลงทุนตราสารหนี้ภายในประเทศเพียงอย่างเดียว
นายวนากล่าวทิ้งท้ายว่า “แม้การลงทุนในหุ้นจะมีความเสี่ยงสูง แต่เป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ ทั้งนี้ หากผู้ลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้มาก สามารถมีน้ำหนักการลงทุนในหุ้นมากกว่าสินทรัพย์อื่นได้ ทั้งนี้ควรพิจารณาเรื่องความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้เป็นหลัก และควรกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์อื่นๆ บ้างตามระดับความเสี่ยงของตน ได้แก่ ตราสารหนี้ต่างประเทศ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ เป็นต้น”