SCBAM มองความกังวลในเรื่อง QE สหรัฐฯ ลดลง ตลาดหุ้นไม่น่ามีการเทขายแรง แต่ครึ่งปีหลังต้องจับตาการโตของ ศก.จีนอาจจะต่ำกว่า 7% ขณะที่หุ้นไทยเคลื่อนไหวแบบ side way มองเป้าดัชนีที่ระดับ 1,550 จุด
นายศรชัย สุเนต์ตา รองกรรมการผู้อำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 56 ปัจจัยความกังวลในเรื่องการหยุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) น่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุนน้อยลงเพราะสินทรัพย์ต่างๆ ได้ปรับฐานรับข่าวลงมาในช่วงก่อนหน้าไปมากแล้ว การชะลอ QE คงจะค่อยเป็นค่อยไปเพราะตลาดการจ้างงานสหรัฐฯ ก็ยังฟื้นตัวช้าและอัตราเงินเฟ้อเองก็ยังต่ำกว่าเป้าหมายมาก ทำให้ภาพของการชะลอมาตรการ QE เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยมองว่าจะเริ่มชะลอในช่วงเดือน ก.ย. 13 และไปหยุดกลางปี 14 นั้น ภาพนี้ได้เปลี่ยนไปแล้วทำให้แรงขายในตลาดหุ้นไม่น่าจะรุนแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา การคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วยังมีแนวโน้มดีโดยเฉพาะสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ในขณะที่ความเสี่ยงในยุโรปยังมีอยู่ แต่ความเสี่ยงที่จะกลับไปเกิดวิกฤตทางการเงินก็ต่ำเช่นกัน
ทั้งนี้ ปัจจัยลบในการลงทุนช่วงครึ่งปีหลังกลับมาเป็นความกังวลในเรื่องของเศรษฐกิจจีนที่ตลาดกังวลว่าอาจจะโตต่ำกว่า 7.0% ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ใกล้ 8.0% จากนโยบายของรัฐบาลจีนที่ยังเน้นการคุมปล่อยสินเชื่อของธนาคารจีนซึ่งไม่ดีต่อเศรษฐกิจ เพราะรัฐบาลใหม่จีนต้องการให้เศรษฐกิจโตแบบมีเสถียรภาพทำให้เศรษฐกิจจีนอาจจะไม่โตเช่นในอดีตและนักลงทุนเริ่มเป็นกังวลมากขึ้น ตลอดจนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าและอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ยังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นเพื่อสะท้อนภาพเศรษฐกิจจริง โดยเสียงส่วนใหญ่ของตลาดมองว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้สหรัฐฯ ในปี 14 จะสูงกว่า 3.20% ซึ่งไม่ดีต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหุ้น และตราสารหนี้”
นายศรชัย ยังกล่าวอีกว่า อัตราผลตอบแทนของสหรัฐฯ ถือเป็นสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง (Risk Free) ที่ใช้อ้างอิงกับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นทั่วโลก เมื่ออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นนักลงทุนทั่วโลกก็คงจะต้องมีการจัดสรรเงินลงทุนใหม่อีกครั้ง เพราะถ้าจะมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอัตราผลตอบแทนที่ต้องการก็คงต้องสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย ในช่วงที่ผ่านมาหุ้นตลาดเกิดใหม่ก็ปรับตัวขึ้นมามากจึงทำให้มีแรงขายทำกำไรออกมาก่อนในช่วงที่ผ่านมานั่นเอง ในส่วนของตลาดหุ้นไทยเองก็เช่นกัน ช่วงครึ่งปีหลังมองว่าในไตรมาสที่ 3/13 ตลาดหุ้นยังคงมีการเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งออกข้าง (side way) ในกรอบ 1,400-1,500 จุดเพราะยังไม่มีข่าวดีใหม่ๆ เข้ามาในตลาด ประกอบกับในเดือน ส.ค.ก็จะมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการเมืองในประเทศเข้ามาอีก ตลาดคงรอความชัดเจนอีกครั้งทั้งเรื่องของการลงทุนภาครัฐต่างๆ ที่น่าจะมีความชัดเจนได้ในไตรมาสที่ 3/13 นี้ ก่อนที่ตลาดจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4/13 โดยบริษัทยังมองเป้าหมายตลาดหุ้นไทยปีนี้ไว้ที่ระดับ 1,550 จุด
“ในไตรมาสที่ 3 จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่มีสัญญาณชะลอตัวทั้งจากการบริโภคที่ลดลงจากหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นซึ่งกระทบกำลังซื้อของคน การที่แบงก์เริ่มคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โครงการภาครัฐที่ชะลอออกไป รวมถึงการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัวแม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมาแต่ก็เป็นการอ่อนค่าทั่วทั้งภูมิภาคจากเงินทุนที่ไหลกลับสหรัฐฯ การส่งออกของไทยอาจจะไม่ได้ประโยชน์มากอย่างที่คิดกัน ผลกระทบดังกล่าวน่าจะทำให้ตลาดอาจจะต้องมีการปรับกำไรบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ลงจากเดิม แม้ว่าในไตรมาสที่ 2 กำไรบริษัทจดทะเบียนจะออกมาตามที่ตลาดคาดก็ตาม โดยมองว่าจุดต่ำสุดของตลาดหุ้นไทยได้ผ่านพ้นไปแล้ว และแรงขายของนักลงทุนต่างชาติเองก็จะชะลอตัวลงแต่ก็คงยังไม่กลับมาตลาดเกิดใหม่ในช่วงนี้ เพราะตลาดพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีความน่าสนใจกว่านั่นเอง”
นายศรชัย สุเนต์ตา รองกรรมการผู้อำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 56 ปัจจัยความกังวลในเรื่องการหยุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) น่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุนน้อยลงเพราะสินทรัพย์ต่างๆ ได้ปรับฐานรับข่าวลงมาในช่วงก่อนหน้าไปมากแล้ว การชะลอ QE คงจะค่อยเป็นค่อยไปเพราะตลาดการจ้างงานสหรัฐฯ ก็ยังฟื้นตัวช้าและอัตราเงินเฟ้อเองก็ยังต่ำกว่าเป้าหมายมาก ทำให้ภาพของการชะลอมาตรการ QE เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยมองว่าจะเริ่มชะลอในช่วงเดือน ก.ย. 13 และไปหยุดกลางปี 14 นั้น ภาพนี้ได้เปลี่ยนไปแล้วทำให้แรงขายในตลาดหุ้นไม่น่าจะรุนแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา การคาดการณ์เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วยังมีแนวโน้มดีโดยเฉพาะสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ในขณะที่ความเสี่ยงในยุโรปยังมีอยู่ แต่ความเสี่ยงที่จะกลับไปเกิดวิกฤตทางการเงินก็ต่ำเช่นกัน
ทั้งนี้ ปัจจัยลบในการลงทุนช่วงครึ่งปีหลังกลับมาเป็นความกังวลในเรื่องของเศรษฐกิจจีนที่ตลาดกังวลว่าอาจจะโตต่ำกว่า 7.0% ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ใกล้ 8.0% จากนโยบายของรัฐบาลจีนที่ยังเน้นการคุมปล่อยสินเชื่อของธนาคารจีนซึ่งไม่ดีต่อเศรษฐกิจ เพราะรัฐบาลใหม่จีนต้องการให้เศรษฐกิจโตแบบมีเสถียรภาพทำให้เศรษฐกิจจีนอาจจะไม่โตเช่นในอดีตและนักลงทุนเริ่มเป็นกังวลมากขึ้น ตลอดจนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าและอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ยังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นเพื่อสะท้อนภาพเศรษฐกิจจริง โดยเสียงส่วนใหญ่ของตลาดมองว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้สหรัฐฯ ในปี 14 จะสูงกว่า 3.20% ซึ่งไม่ดีต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหุ้น และตราสารหนี้”
นายศรชัย ยังกล่าวอีกว่า อัตราผลตอบแทนของสหรัฐฯ ถือเป็นสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง (Risk Free) ที่ใช้อ้างอิงกับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นทั่วโลก เมื่ออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นนักลงทุนทั่วโลกก็คงจะต้องมีการจัดสรรเงินลงทุนใหม่อีกครั้ง เพราะถ้าจะมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอัตราผลตอบแทนที่ต้องการก็คงต้องสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย ในช่วงที่ผ่านมาหุ้นตลาดเกิดใหม่ก็ปรับตัวขึ้นมามากจึงทำให้มีแรงขายทำกำไรออกมาก่อนในช่วงที่ผ่านมานั่นเอง ในส่วนของตลาดหุ้นไทยเองก็เช่นกัน ช่วงครึ่งปีหลังมองว่าในไตรมาสที่ 3/13 ตลาดหุ้นยังคงมีการเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งออกข้าง (side way) ในกรอบ 1,400-1,500 จุดเพราะยังไม่มีข่าวดีใหม่ๆ เข้ามาในตลาด ประกอบกับในเดือน ส.ค.ก็จะมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการเมืองในประเทศเข้ามาอีก ตลาดคงรอความชัดเจนอีกครั้งทั้งเรื่องของการลงทุนภาครัฐต่างๆ ที่น่าจะมีความชัดเจนได้ในไตรมาสที่ 3/13 นี้ ก่อนที่ตลาดจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4/13 โดยบริษัทยังมองเป้าหมายตลาดหุ้นไทยปีนี้ไว้ที่ระดับ 1,550 จุด
“ในไตรมาสที่ 3 จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่มีสัญญาณชะลอตัวทั้งจากการบริโภคที่ลดลงจากหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นซึ่งกระทบกำลังซื้อของคน การที่แบงก์เริ่มคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โครงการภาครัฐที่ชะลอออกไป รวมถึงการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัวแม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมาแต่ก็เป็นการอ่อนค่าทั่วทั้งภูมิภาคจากเงินทุนที่ไหลกลับสหรัฐฯ การส่งออกของไทยอาจจะไม่ได้ประโยชน์มากอย่างที่คิดกัน ผลกระทบดังกล่าวน่าจะทำให้ตลาดอาจจะต้องมีการปรับกำไรบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ลงจากเดิม แม้ว่าในไตรมาสที่ 2 กำไรบริษัทจดทะเบียนจะออกมาตามที่ตลาดคาดก็ตาม โดยมองว่าจุดต่ำสุดของตลาดหุ้นไทยได้ผ่านพ้นไปแล้ว และแรงขายของนักลงทุนต่างชาติเองก็จะชะลอตัวลงแต่ก็คงยังไม่กลับมาตลาดเกิดใหม่ในช่วงนี้ เพราะตลาดพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีความน่าสนใจกว่านั่นเอง”