ในเดือนสิงหาคม 2555 มีปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง รวมทั้งสิ้น 1.75 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 83,234 ล้านบาท ปรับตัวลดลงประมาณ 8% จากเดือนกรกฎาคมที่มียอดซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณวันละ 90,725 ล้านบาท ทั้งนี้มูลค่าการซื้อขายกว่า 16% (ประมาณ 280,000 ล้านบาท) เป็นการซื้อขายผ่านการฝากประมูล นอกจากนี้แล้วยังพบว่ากว่า 72% ของมูลค่าการซื้อขายที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน (59,935 ล้านบาท) เป็นการซื้อขายในตราสารระยะสั้นที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี ในขณะที่อีกประมาณ 28% (23,300 ล้านบาท) เป็นการซื้อขายในตราสารที่มีอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี
ทางด้านกลุ่มของนักลงทุนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการซื้อขายตราสารหนี้สูงที่สุด ยังคงเป็นกลุ่มของนักลงทุนประเภทบริษัทจัดการกองทุน (Asset Management Company: AMC) โดยมีมูลค่าการซื้อขายคิดเป็น 54% ของมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนทุกๆ ประเภทรวมกัน ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติ (Foreign Investor) มีมูลค่าการซื้อขายรวม 241,438 ล้านบาท (คิดเป็นยอดซื้อสุทธิ 92,978 ล้านบาท) หรือคิดเป็น 21% ของมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนทุกๆ ประเภทรวมกัน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเฉพาะการซื้อขายในตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จะพบว่านักลงทุนต่างชาติมีมูลค่าการซื้อขายรวม 96,700 ล้านบาท (คิดเป็นยอดซื้อสุทธิ 22,424 ล้านบาท) หรือคิดเป็น สัดส่วนประมาณ 39% ของนักลงทุนทั้งหมด
สำหรับผลตอบแทนตลาด (Return) เมื่อวัดจากดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Total Return Index) พบว่าปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกรกฏาคมประมาณ 0.03% มาอยู่ที่ระดับ 217.37 จุด ในขณะที่ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corporate Bond Total Return Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.30% มาอยู่ที่ระดับ 181.56 จุด แต่หากพิจารณาเปรียบเทียบตั้งแต่ต้นปี จะพบว่าดัชนีของพันธบัตรรัฐบาล และดัชนีหุ้นกู้เอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.41% และ 2.95% ตามลำดับ
ทางด้านภาพรวมของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve) ประจำเดือนเดือนสิงหาคม พบว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี และอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวอายุ 30 ปี ปรับตัวลดลง ประมาณ 1 - 6 basis point (100 basis point เท่ากับ 1%) ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของตราสารอายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 5 - 12 bps. ซึ่งสามารถสรุปถึงปัจจัยที่มีผลทำให้อัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงได้เป็น 3 ข้อ โดยประการแรก เกิดจาก Demand ที่มีเข้ามาค่อนข้างสูง ในพันธบัตรอายุ 3 ปี และ 30 ปี ที่มีการประมูลในช่วงต้นเดือน (มีความต้องการของนักลงทุน สูงกว่าปริมาณพันธบัตรที่เปิดให้ประมูลถึง 3.2 และ 2.72 เท่า) และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรุ่นดังกล่าวปรับตัวลดลงประมาณ 1 - 4 bps.
ประการที่สอง เกิดจากการคาดการณ์ว่าอัตราผลตอบแทนในพันธบัตรระยะกลางถึงยาวอาจปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนมีการปรับพอร์ตด้วยการหันมาถือครองตราสารระยะสั้นมากขึ้น และมีผลทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวลดลง ในขณะที่สาเหตุประการสุดท้าย เกิดจากการคาดการณ์ของนักลงทุนในตลาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจนถึงช่วงปลายปี หลังจากที่ตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส 2 ขยายตัว 4.2% ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้มีแรงขายจากนักลงทุน และทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะกลางถึงยาวปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
จิตจุฑา หวานชะเอม
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
www.thaibma.or.th
ทางด้านกลุ่มของนักลงทุนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการซื้อขายตราสารหนี้สูงที่สุด ยังคงเป็นกลุ่มของนักลงทุนประเภทบริษัทจัดการกองทุน (Asset Management Company: AMC) โดยมีมูลค่าการซื้อขายคิดเป็น 54% ของมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนทุกๆ ประเภทรวมกัน ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติ (Foreign Investor) มีมูลค่าการซื้อขายรวม 241,438 ล้านบาท (คิดเป็นยอดซื้อสุทธิ 92,978 ล้านบาท) หรือคิดเป็น 21% ของมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนทุกๆ ประเภทรวมกัน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเฉพาะการซื้อขายในตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จะพบว่านักลงทุนต่างชาติมีมูลค่าการซื้อขายรวม 96,700 ล้านบาท (คิดเป็นยอดซื้อสุทธิ 22,424 ล้านบาท) หรือคิดเป็น สัดส่วนประมาณ 39% ของนักลงทุนทั้งหมด
สำหรับผลตอบแทนตลาด (Return) เมื่อวัดจากดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Total Return Index) พบว่าปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกรกฏาคมประมาณ 0.03% มาอยู่ที่ระดับ 217.37 จุด ในขณะที่ดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corporate Bond Total Return Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.30% มาอยู่ที่ระดับ 181.56 จุด แต่หากพิจารณาเปรียบเทียบตั้งแต่ต้นปี จะพบว่าดัชนีของพันธบัตรรัฐบาล และดัชนีหุ้นกู้เอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.41% และ 2.95% ตามลำดับ
ทางด้านภาพรวมของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield Curve) ประจำเดือนเดือนสิงหาคม พบว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี และอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวอายุ 30 ปี ปรับตัวลดลง ประมาณ 1 - 6 basis point (100 basis point เท่ากับ 1%) ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของตราสารอายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 5 - 12 bps. ซึ่งสามารถสรุปถึงปัจจัยที่มีผลทำให้อัตราผลตอบแทนเปลี่ยนแปลงได้เป็น 3 ข้อ โดยประการแรก เกิดจาก Demand ที่มีเข้ามาค่อนข้างสูง ในพันธบัตรอายุ 3 ปี และ 30 ปี ที่มีการประมูลในช่วงต้นเดือน (มีความต้องการของนักลงทุน สูงกว่าปริมาณพันธบัตรที่เปิดให้ประมูลถึง 3.2 และ 2.72 เท่า) และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรุ่นดังกล่าวปรับตัวลดลงประมาณ 1 - 4 bps.
ประการที่สอง เกิดจากการคาดการณ์ว่าอัตราผลตอบแทนในพันธบัตรระยะกลางถึงยาวอาจปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนมีการปรับพอร์ตด้วยการหันมาถือครองตราสารระยะสั้นมากขึ้น และมีผลทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวลดลง ในขณะที่สาเหตุประการสุดท้าย เกิดจากการคาดการณ์ของนักลงทุนในตลาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจนถึงช่วงปลายปี หลังจากที่ตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส 2 ขยายตัว 4.2% ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้มีแรงขายจากนักลงทุน และทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะกลางถึงยาวปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
จิตจุฑา หวานชะเอม
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
www.thaibma.or.th