ASTVผู้จัดการรายวัน - เศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอลงหลังรับอานิงสงส์ จากราคาอสังหาฯ พร้อมกับอัตราเงินเฟ้อลดลง คาดธนาคารกลางจีนอาจผ่อนคลายนโยบายการเงิน ด้านสหรัฐฯ การจ้างงานยังคงต่ำ ด้านธนาคารโลก เตรียมปล่อยกู้กับประเทศยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้ในยูโรโซน
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด รายงานภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศว่า ที่ปรึกษาธนาคารกลางจีน คาดการณ์เศรษฐกิจจีนโต 8.5% ปีนี้ โดยนายหลี เต้าคุย ที่ปรึกษาธนาคารกลางจีน กล่าวว่า เศรษฐกิจจีนอาจชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 8.5% ในปีนี้ ซึ่งชะลอตัวลงจาก 9.2% ในปีที่แล้ว โดยราคาอสังหาริมทรัพย์จะชะลอตัวลงอย่างช้า ๆ ซึ่งจะช่วยชะลอเศรษฐกิจ และทำให้แรงกดดันราคาลดลง อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อของจีนลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน หนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางจีนอาจผ่อนคลายนโยบายการเงิน
ขณะที่ ประเทศอินเดียการปรับลดสัดส่วนสำรองเงินสด (Cash reserve Ratio) ลง 0.5% นั้นสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอินเดียจะคงอัตราดอกเบี้ยทุกตัวไว้ที่เดิมซึ่งแสดงให้เห็นว่านโยบายการเงินเริ่มเข้าสู่วัฏจักรผ่อนคลายโดยตลาดหุ้นมีการตอบสนองในทิศทางที่ดีในสัปดาห์ที่ผ่านมาเราคาดว่าธนาคารกลางอินเดียน่าจะเดินหน้าลดอัตราดอกเบี้ยลง 1-2%ตลอดปี 2012
ด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผลสำรวจชี้ภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มการจ้างงานต่ำ แม้คาดเศรษฐกิจขยายตัวโดยมีบริษัทสหรัฐเพียงไม่กี่แห่งที่มีแผนจะเพิ่มการจ้างงานในอีก 6 เดือนข้างหน้า แม้พวกเขาคาดว่าเศรษฐกิจจะแข็งแกร่งขึ้นเล็กน้อยในปีนี้ก็ตามโดยผลสำรวจพบว่า 2 ใน 3 คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงการจ้างงานของบริษัทในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งถือเป็นสัดส่วนสูงสุดในช่วงไม่กี่ไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้ GDP ในไตรมาส 4 ของสหรัฐฯในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 2.8% ซึ่งต่ำกว่าคาดที่ 3.0% แต่ยังคงถือเป็นระดับที่ดี โดยเศรษฐกิจในไตรมาส 4 จะได้ปัจจัยหนุนชั่วคราวจากภาวะอากาศที่อบอุ่นในช่วงต้นฤดูหนาว ซึ่งช่วยหนุนการก่อสร้างและการเพิ่มสต๊อกสินค้าของภาคธุรกิจแต่การเติบโตที่ต่ำกว่าที่ตลาด คาดทำให้นักลงทุนบางส่วนผิดหวัง
นอกจากนี้ธนาคารกลางแคนาดา ชี้ความเสี่ยงล้มละลายแบบเลห์แมนในยุโรปเริ่มลดน้อยลง โดยนายมาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดาเปิดเผยว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดการล้มละลายแบบเดียวกับเลห์แมนในยุโรปได้ลดลงอย่างมาก หลังการดำเนินการด้านนโยบายในช่วงที่ผ่านมาซึ่งการตัดสินใจของธนาคารกลางยุโรปที่จะอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบการเงินนั้นได้ช่วยลดแรงกดดันของตลาดต่อสเปนและอิตาลี และหนุนความต้องการพันธบัตรของทั้งสองประเทศ
ด้าน ฟิทช์เรทติ้งส์ ได้ทำการลดอันดับเครดิต ของประเทศ สเปน, อิตาลี, เบลเยียม, สโลวีเนีย และไซปรัสลง โดยได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อของสเปนสู่ A จาก AA-, อิตาลีสู่ A- จาก A+, เบลเยียมสู่ AA จาก AA+, สโลวีเนียสู่ A จาก AA- และไซปรัสสู่ BBB- จาก BBB พร้อมระบุว่า ประเทศเหล่านี้มีโอกาสถูกลดอันดับลงอีกในช่วงเวลา 2 ปีข้างหน้านี้ ขณะเดียวกัน อียูเพิ่มโทษปรับ 0.1% ของจีดีพีหากสมาชิกไม่บังคับใช้กฎหมายงบประมาณสมดุล โดยร่างสนธิสัญญาด้านการคลังมีการกำหนดว่าศาลสูงสุดของสหภาพยุโรปจะสามารถปรับประเทศสมาชิกอียูที่ไม่นำกฎเกณฑ์ด้านงบประมาณสมดุลมาบังคับใช้ในรัฐธรรมนูญ โดยมีโทษปรับประมาณ 0.1% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศซึ่งนับเป็นมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นกว่าร่างฉบับก่อนซึ่งประเทศในอียูทั้งหมดยกเว้นอังกฤษอาจลงนามรับรอง
อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกเผยว่าจะจัดสรรเงินกู้ 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ในช่วง 2 ปีข้างหน้าให้กับประเทศ ในแถบยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤติหนี้ใน ยูโรโซน โดยเพิ่มขึ้น 7 พันล้านดอลลาร์ จากระดับในปี 2011 การเพิ่มวงเงินกู้นี้มีเป้าหมายเพื่อ ช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในการรับมือกับวิกฤติและเงินกู้ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการปฏิรูปโครงสร้างสำหรับภาคเอกชนรวมถึงการสนับสนุนภาคธนาคารและเครือข่ายความปลอดภัย ทางสังคม
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด รายงานภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศว่า ที่ปรึกษาธนาคารกลางจีน คาดการณ์เศรษฐกิจจีนโต 8.5% ปีนี้ โดยนายหลี เต้าคุย ที่ปรึกษาธนาคารกลางจีน กล่าวว่า เศรษฐกิจจีนอาจชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 8.5% ในปีนี้ ซึ่งชะลอตัวลงจาก 9.2% ในปีที่แล้ว โดยราคาอสังหาริมทรัพย์จะชะลอตัวลงอย่างช้า ๆ ซึ่งจะช่วยชะลอเศรษฐกิจ และทำให้แรงกดดันราคาลดลง อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อของจีนลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน หนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางจีนอาจผ่อนคลายนโยบายการเงิน
ขณะที่ ประเทศอินเดียการปรับลดสัดส่วนสำรองเงินสด (Cash reserve Ratio) ลง 0.5% นั้นสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอินเดียจะคงอัตราดอกเบี้ยทุกตัวไว้ที่เดิมซึ่งแสดงให้เห็นว่านโยบายการเงินเริ่มเข้าสู่วัฏจักรผ่อนคลายโดยตลาดหุ้นมีการตอบสนองในทิศทางที่ดีในสัปดาห์ที่ผ่านมาเราคาดว่าธนาคารกลางอินเดียน่าจะเดินหน้าลดอัตราดอกเบี้ยลง 1-2%ตลอดปี 2012
ด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผลสำรวจชี้ภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มการจ้างงานต่ำ แม้คาดเศรษฐกิจขยายตัวโดยมีบริษัทสหรัฐเพียงไม่กี่แห่งที่มีแผนจะเพิ่มการจ้างงานในอีก 6 เดือนข้างหน้า แม้พวกเขาคาดว่าเศรษฐกิจจะแข็งแกร่งขึ้นเล็กน้อยในปีนี้ก็ตามโดยผลสำรวจพบว่า 2 ใน 3 คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงการจ้างงานของบริษัทในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งถือเป็นสัดส่วนสูงสุดในช่วงไม่กี่ไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้ GDP ในไตรมาส 4 ของสหรัฐฯในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 2.8% ซึ่งต่ำกว่าคาดที่ 3.0% แต่ยังคงถือเป็นระดับที่ดี โดยเศรษฐกิจในไตรมาส 4 จะได้ปัจจัยหนุนชั่วคราวจากภาวะอากาศที่อบอุ่นในช่วงต้นฤดูหนาว ซึ่งช่วยหนุนการก่อสร้างและการเพิ่มสต๊อกสินค้าของภาคธุรกิจแต่การเติบโตที่ต่ำกว่าที่ตลาด คาดทำให้นักลงทุนบางส่วนผิดหวัง
นอกจากนี้ธนาคารกลางแคนาดา ชี้ความเสี่ยงล้มละลายแบบเลห์แมนในยุโรปเริ่มลดน้อยลง โดยนายมาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดาเปิดเผยว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดการล้มละลายแบบเดียวกับเลห์แมนในยุโรปได้ลดลงอย่างมาก หลังการดำเนินการด้านนโยบายในช่วงที่ผ่านมาซึ่งการตัดสินใจของธนาคารกลางยุโรปที่จะอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบการเงินนั้นได้ช่วยลดแรงกดดันของตลาดต่อสเปนและอิตาลี และหนุนความต้องการพันธบัตรของทั้งสองประเทศ
ด้าน ฟิทช์เรทติ้งส์ ได้ทำการลดอันดับเครดิต ของประเทศ สเปน, อิตาลี, เบลเยียม, สโลวีเนีย และไซปรัสลง โดยได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อของสเปนสู่ A จาก AA-, อิตาลีสู่ A- จาก A+, เบลเยียมสู่ AA จาก AA+, สโลวีเนียสู่ A จาก AA- และไซปรัสสู่ BBB- จาก BBB พร้อมระบุว่า ประเทศเหล่านี้มีโอกาสถูกลดอันดับลงอีกในช่วงเวลา 2 ปีข้างหน้านี้ ขณะเดียวกัน อียูเพิ่มโทษปรับ 0.1% ของจีดีพีหากสมาชิกไม่บังคับใช้กฎหมายงบประมาณสมดุล โดยร่างสนธิสัญญาด้านการคลังมีการกำหนดว่าศาลสูงสุดของสหภาพยุโรปจะสามารถปรับประเทศสมาชิกอียูที่ไม่นำกฎเกณฑ์ด้านงบประมาณสมดุลมาบังคับใช้ในรัฐธรรมนูญ โดยมีโทษปรับประมาณ 0.1% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศซึ่งนับเป็นมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นกว่าร่างฉบับก่อนซึ่งประเทศในอียูทั้งหมดยกเว้นอังกฤษอาจลงนามรับรอง
อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกเผยว่าจะจัดสรรเงินกู้ 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ในช่วง 2 ปีข้างหน้าให้กับประเทศ ในแถบยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤติหนี้ใน ยูโรโซน โดยเพิ่มขึ้น 7 พันล้านดอลลาร์ จากระดับในปี 2011 การเพิ่มวงเงินกู้นี้มีเป้าหมายเพื่อ ช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในการรับมือกับวิกฤติและเงินกู้ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการปฏิรูปโครงสร้างสำหรับภาคเอกชนรวมถึงการสนับสนุนภาคธนาคารและเครือข่ายความปลอดภัย ทางสังคม