xs
xsm
sm
md
lg

เศรษฐกิจเอเชีย-ไทยโตต่อ 2012จับตาปัญหาหนี้ยุโรป

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB Economic Intelligence Center (EIC)มองว่า เศรษฐกิจโลกโดยรวมในปี 2012จะดูไม่แย่ไปกว่าปี 2011 นัก โดยสำนักวิจัยในต่างประเทศมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2012 น่าจะขยายตัวได้ 2.2% สูงขึ้นจากปี 2011 เล็กน้อยในขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวได้ดีที่ 1.7% จากการฟื้นตัวของภาคการผลิตหลังเหตุการณ์สึนามิ สำหรับเศรษฐกิจจีน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าจะค่อยๆ ชะลอลงจากปีก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการส่งออกและเศรษฐกิจโลก
 
ทั้งนี้ ความเสี่ยงหลักอยู่ที่ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจในบางประเทศลง ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยสำนักวิจัยในต่างประเทศมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจยุโรปลงค่อนข้างมากโดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาหนี้สาธารณะที่เริ่มจะลุกลามไปยังประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสเปน อิตาลี หรือแม้แต่ฝรั่งเศสเองก็ถูกปรับลดระดับความน่าเชื่อถือ โดยคาดว่าเศรษฐกิจยุโรปน่าจะหดตัวราว 0.7% ในปี 2012 และจากมุมมองดังกล่าวประกอบกับตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุดของญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจนโดยเฉพาะการส่งออก ทำให้มีการปรับลดประมาณการการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 2012 ลงด้วย
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ ยังมองว่าเศรษฐกิจโลกยังมีโอกาสที่จะเลวร้ายลงอีก เนื่องจากประมาณการเศรษฐกิจข้างต้นยังมีสมมติฐานว่า เศรษฐกิจยุโรปจะชะลอลงและหดตัวแบบไม่รุนแรงนัก แต่การที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor’sปรับลดอันดับ credit rating ของฝรั่งเศสลง และส่งผลให้กองทุน European Financial Stability Facility (EFSF) ถูกปรับลดอันดับ credit rating ตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของกองทุนดังกล่าวสูงขึ้น จนอาจทำให้การช่วยเหลือประเทศ

น้ำมันส่อปรับขึ้น

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ มองว่า ราคาน้ำมันในปี 2012 ยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น แต่คาดว่าไม่น่าจะปรับขึ้นแรงเนื่องจากยังมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอยู่มากซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้นไม่มากนัก อย่างไรก็ดี แม้ว่าเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอจะเป็นปัจจัยกดดันการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน แต่ยังคงต้องจับตาดูปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่หากเกิดปัญหาลุกลามบานปลายจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นมากกว่าที่คาด

เศรษฐกิจเอเชียยังโต

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศจีนในปีนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯ มองว่า เศรษฐกิจจีนน่าจะชะลอลงอย่างช้า ๆ แต่จะยังขยายตัวได้ราว 8% ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การเติบโตของเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มจะชะลอตัวลงจากราว 9% ในปี 2011 เหลือราว 8% ในปี 2012 โดยล่าสุดทางการจีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงินด้วยการลดอัตราการกันสำรองเงินทุน ของธนาคารพาณิชย์ และยินยอมขยายเพดานการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศชดเชยการชะลอตัวลงของการส่งออก ทั้งนี้ EIC มองว่าการบริโภคในประเทศจะมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนต่อไปข้างหน้า

ส่วนเศรษฐกิจญี่ปุ่นน่าจะขยายตัวได้ราว 1.7% ในปี 2012 จากการใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูประเทศ โดยปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังเป็นเรื่องของการฟื้นฟูประเทศหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในปี 2011 โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้ผ่านงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจระรอกใหม่ในวงเงิน 12 ล้านล้านเยน (คิดเป็นราว 2.5% ของ GDP) ซึ่งจะเริ่มเบิกจ่ายในต้นปี 2012 โดยราว 3 ใน 4 ของวงเงินดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการฟื้นฟูประเทศ

ขณะที่เศรษฐกิจไทย โอกาสของภาคธุรกิจน่าจะมาจากการเติบโตที่เกิดจากแรงขับเคลื่อนในประเทศเป็นหลัก จากการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่น่าจะชะลอลง ทำให้ EIC มองว่าการส่งออกของไทยจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงด้วย ดังนั้นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักๆ จึงน่าจะมาจากภายในประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของการซ่อมแซม ก่อสร้าง และลงทุนเพิ่มเติมเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยในช่วงปลายปี 2011 ซึ่งจะทำให้เห็นการเติบโตของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในประเทศที่เร่งตัวขึ้นจากปีก่อนหน้า นอกจากนี้การลงทุนภาครัฐก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยจากการออกพระราชกำหนดเงินกู้เพื่อการบูรณะและฟื้นฟูประเทศที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ที่น่าจะมีวงเงินราว 3.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นราว 14.7% เมื่อเทียบกับงบประมาณประจำปี 2012 ซึ่งอยู่ที่ราว 2.38 ล้านล้านบาท

GDP น่าจะขยายตัวได้ราว 4.5-4.7% ในปี 2012 แม้จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตเล็กน้อยแต่ภาคธุรกิจในประเทศน่าจะขยายตัวได้ดี จากภาพเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยข้างต้น EIC มองว่า GDP ปี 2012 น่าจะขยายตัวได้ราว 4.5-4.7% ซึ่งแม้จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในอดีตซึ่งอยู่ที่ราว 5% แต่ภาคธุรกิจน่าจะยังเติบโตได้ดี เนื่องจากแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้เกิดจากกิจกรรมในประเทศเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้ภาคธุรกิจของไทยส่วนใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคและการลงทุนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี และเป็นปีที่การเติบโตจะมีความสมดุลมากกว่าบางปีในอดีตซึ่งมักถูกขับเคลื่อนโดยภาคการส่งออกเป็นหลัก
 
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่น่าจะลดลงจากระดับปัจจุบันมากนัก โดยคาดว่าจะอยู่ที่ระดับราว 3.00% ในปี 2012 ถึงแม้ว่าหลายฝ่ายจะออกมาเรียกร้องให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหลังน้ำลด แต่ในความเป็นจริงการใช้นโยบายการเงิน (ลดดอกเบี้ย) ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวที่เกิดจากความเสียหายด้านการผลิตได้มากนัก สำหรับอัตราเงินเฟ้อในปี 2012 มีแนวโน้มไม่น่าจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปี 2011 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลก (รูปที่ 9) แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ที่ราว 3.5-4.0% ซึ่งนับว่ายังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ย (อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ราว 3% ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อซึ่งอยู่ที่ราว 3.5%) ทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงยังคงติดลบ ประกอบกับล่าสุด ธปท. ยังคงส่งสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยยังไม่ใช่ขาลง ดังนั้น EIC จึงมองว่าอัตราดอกเบี้ยในปี 2012 ไม่น่าจะลดลงจากระดับ 3.25% ณ สิ้นปี 2011 ได้มากนัก
กำลังโหลดความคิดเห็น