xs
xsm
sm
md
lg

ศก.โลกดันราคาทองทำนิวไฮด์ไม่หยุด แอสเซทพลัสมองกรอบใหม่1,700US$/oz

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

บลจ. แอสเซทพลัส มองราคาทองคำวิ่งในกรอบ 1,1570-1, 700 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หลังเศรษฐกิจโลกชะลอตัวประเทศพัฒนาแล้วฟื้นตัวอย่างเปราะบาง ขณะที่ยังนักลงทุนกังวลปัญหาสหนี้ของสหรัฐฯและปัญหาหนี้ยุโรป

รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซทพลัส จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มาทำจุดสูงสุดที่ระดับ1 ,630 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม โดยทองคำได้ประโยชน์จากความไม่มีเสถียรภาพของสกุลเงินดอลลาร์จากประเด็นเรื่องการเพิ่มเพดานหนี้ ซึ่งโอบามา และสภาคองเกรสสหรัฐฯ ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการปรับเพิ่มเพดานหนี้ได้ ส่งผลให้ S&P เตือนว่ามีโอกาส 50% ที่อันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ จะถูกปรับลดจากระดับสูงสุด แม้ว่าในช่วงสัปดาห์กลางเดือนราคาทองคำจะปรับลดลงบ้างหลังจากที่ ผู้นำ EU มีการประกาศนโยบายช่วยเหลือกรีซรอบที่ 2และ มีการประกาศนโยบายเพื่อรับมือปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปเพิ่มเติม

สำหรับในสองสัปดาห์ข้างหน้า คากว่าราคาทองคำในระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อเนื่องโดยได้รับแรงหนุนจากปัญหาเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ และความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงไตรมาส 3ที่น่าจะส่งผลให้ Fed มีนโยบายกระตุ้นอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี การที่ราคาทองคำปรับสูงขึ้นค่อนข้างมากอาจจะทำให้มีแรงเทขายทำกำไรได้ในช่วงสั้น โดยคาดว่าราคาทองคำน่าจะเคลื่อนไหวระหว่าง 1,1570-1, 700 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในช่วง 2สัปดาห์ข้างหน้า

ส่วนราคาน้ำมันดิบน่าจะปรับตัวระหว่าง 95-100 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยระยะสั้นน่าจะได้รับแรงกดดันจากปัญหาเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ต่อเนื่องจนกว่ารัฐบาลและรัฐสภาสหรัฐฯ จะหานโยบายทางออกร่วมกันได้ ขณะที่ราคาน้ำมันระยะยาวยังเป็นขาขึ้นเนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลล่าร์อย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้นทางบลจ.แอสเซทพลัส ระบุว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ระดับ 1.3% ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 1.8% ทำให้ผู้ลงทุนทยอยลดการลงทุนในหุ้นและ เพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตลาดเริ่มมีการคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ในการที่ Fed จะใช้มาตรการ QE3 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ผู้จัดการกองทุนของ PIMCO ซึ่งเป็นผู้ลงทุนตราสารหนี้รายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้ให้ความเห็นว่า การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศสหรัฐฯ ไม่น่าที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการกู้ยืมเงินของสหรัฐฯ เป็นวงกว้าง โดยมูลค่าตราสารหนี้ระยะสั้นในปัจจุบันของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 14 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับมูลค่าหนี้สินของ Lehman Brothers ก่อนการล้มละลายที่ระดับ 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่สถานการณ์ของยุโณปนั้นอัตราการว่างงานของประเทศในกลุ่มประชาคมยุโรปน่าจะอยู่ที่ระดับ 9.3% ในปี2011 และ 9% ในปี 2012 ซึ่งตัวเลขอัตราการว่างงานในระดับสูง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปที่ยังเปราะบาง อาจเป็นสาเหตุทำให้ ECB จะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยทั้งในเดือนสิงหาคม และกันยายน ทั้งนี้หน่วยงาน EFSF ได้รับอนุญาตจากสมาชิกในกลุ่มยูโร ให้ช่วยเหลือประเทศสมาชิกโดยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองได้ ซึ่งการเพิ่มขอบเขตการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว น่าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของยุโรป ทั้งในด้านการกำหนดแนวทางการช่วยเหลือต่อประเทศที่กำลังประสบปัญหาหนี้สาธารณะและ การป้องกันปัญหาเศรษฐกิจที่อาจลุกลามไปยังประเทศอื่น ๆโดยประเทศสเปนจะจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ภายในวันที่ 20 กันยายน 2554

อย่างไรก็ตามกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้ยื่นข้อเสนอแก่ประเทศสมาชิกให้พิจารณาถึงการลดมูลค่าหนี้ลงประมาณ 10% ให้แก่ประเทศกรีซ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความยากลำบากของประชากรในประเทศกรีซ อันเกิดจากมาตรการลดการใช้จ่ายภาครัฐ ทั้งนี้ข้อเสนอดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันมากกว่า90% ของคะแนนเสียงทั้งหมดเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ซึ่งแนวทางข้อเสนอนี้คล้ายคลึงกับข้อเสนอที่ทางสหรัฐฯ และ IMF ได้ยื่นต่อประเทศสมาชิกเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อประเทศอุรุกวัย ในปี 2003 ซึ่งหากคะแนนเสียงเห็นชอบไม่ถึงตามระดับที่กำหนดไว้ ก็อาจทำให้ประเทศที่ประสบปัญหาหนี้สาธารณะนั้น ถูกจัดอันดับให้อยู่ในสถานะ SD หรือ Selective Default ได้
กำลังโหลดความคิดเห็น