xs
xsm
sm
md
lg

คาดหุ้นไทยปีหน้า1,200จุด แนะจับตาหนี้ยุโรป-เศรษฐกิจสหรัฐ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

บลจ.ทิสโก้คาดหุ้นไทยปีหน้ารับอานิสงส์กำไรบจ. แตะระดับ 1,250 จุด มั่นใจเศรษฐกิจโลกไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย ระบุเศรษฐกิจไทยโตแน่หลังน้ำท่วม 4.5% จากการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน แต่แนะจับตาความเสี่ยงนอกประเทศทั้งหนี้ยุโรป และการแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐ

รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ทิสโก้ เปิดเผยว่า ในปีหน้าเศรษฐกิจโลกคงจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย โดยแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในปีหน้า(2012) น่าจะอยู่ที่ระดับอยู่ที่ระดับ 1,250 จุด จากแนวโน้มการขยายตัวของกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนที่ยังคงดีอยู่หลังจากปัญหาอุทกภัยผ่านพ้น ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และมูลค่าหุ้นที่ถูก

ส่วนกลยุทธ์การลงทุนสำหรับนักลงทุนระยะสั้น บริษัทแนะนำ “ทยอยขาย” เมื่อดัชนีฯ ปรับตัวเข้าสู่ระดับ 980 จุดขึ้นไป เนื่องจาก Upside มีจำกัด ส่วนนักลงทุนระยะยาว แนะนำ “ลงทุน” เมื่อดัชนีฯ ปรับลดสู่ระดับ 950 จุด จาก Upside ของปีหน้าที่ยังมีอยู่มากประมาณ 32%

ขณะที่ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นเดือนธันวาคม บริษัท มองว่า ยังมี ปัจจัยกดดันต่อดัชนีตลาดหุ้นไทยยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องของปัญหาอุทกภัยขั้นร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี ที่ส่งผลกระทบรุนแรงกว่าที่คาด ส่งผลให้มีการปรับประมาณการณ์ของจีดีพีประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในปี 2012 เศรษฐกิจของไทยน่าจะยังคงขยายตัวได้ดี อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจคาดการณ์อยู่ที่ระดับ 4.5% จากการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนจากนโยบายรัฐฯ ที่จะเห็นผลเต็มที่ตั้งแต่ไตรมมาสที่ 1 ของปีเป็นต้นไป รวมถึงการซ่อมแซมและการฟื้นฟูหลังจากปัญหาอุทกภัยผ่านพ้น โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่จะได้รับผลบวก ยังคงเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ (Domestic sector) เช่น ค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง และธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

สำหรับปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงต่อตลาดหุ้นไทยหลังจากนี้ยังคงมาจากภายนอกประเทศ โดยหลักๆ จะมาจากปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศสมาชิกกลุ่มยูโร และปัญหาการดำเนินนโยบายการคลังของสหรัฐฯ คาดจะส่งผลกระทบต่อตลาดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรายวัน ในส่วนของปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป ความไม่แน่นอนอยู่ที่แต่ละประเทศยังคงไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมเพื่อสรุปมาตรการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมได้ และมีแต่จะยิ่งลุกลามเป็นวงกว้างออกไปมากขึ้น เห็นได้จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของแต่ละประเทศในกลุ่ม PIIGS ที่ปรับตัวขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ สะท้อนถึงต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเป็นการเพิ่มแรงกดดันว่าแต่ละประเทศมีโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น รวมถึงการทยอยถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อของประเทศต่าง ๆ

ในขณะเดียวกันความไม่แน่นอนจากการที่คณะกรรมการ Super Committee ของสหรัฐฯ ไม่สามารถหาข้อตกลงร่วม เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณภาครัฐตามแผนที่วางไว้ USD1.2 ล้านล้าน ภายในระยะเวลา 10 ปี ได้ทันตามกำหนด ซึ่งจะกระทบต่อแผนการใช้จ่ายภาครัฐ รวมถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในอนาคต จึงยังต้องติดตามรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่จะทยอยประกาศออกมาอย่างใกล้ชิด
กำลังโหลดความคิดเห็น