ASTVผู้จัดการรายวัน - บัวหลวงเผยเศรษฐกิจโลกยังน่าห่วงหวั่นกระทบส่งออกนำเข้าไทย คาดการเศรษฐกิจไทยปีนี้โตเพิ่มอีก 4 - 5% หลังการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น และลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 23%
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า มุมมองต่อการลงทุนในปีนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะยังคงเต็มไปด้วยความเสี่ยงด้วยแนวโน้มการเติบโต เนื่องจากสหรัฐอเมริกายังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันยังมีความเสี่ยงสูงที่ยุโรปจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวในระยะยาว เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มยูโรที่ยังไม่มีแนวทางแก้ไขปัญหาที่ให้ความเชื่อมั่นต่อตลาดได้ ดังนั้น จึงคาดได้ว่าปัจจัยภายนอกจะยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่สร้างความไม่แน่นอนและอาจส่งผลลบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ไปได้ตลอดปี
อย่างไรก็ตาม ในไทยยังมีปัจจัยภายในประเทศที่จะช่วยหนุนการเติบโตและช่วยทดแทนการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่จะได้รับผลลบจากปัจจัยภายนอกประเทศ ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตประมาณ 4% - 5% ด้วยองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ การบริโภคภายในประเทศ ที่มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากนโยบายภาครัฐต่างๆ และการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23
ขณะเดียวกันด้านการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน เนื่องจากมหาอุทกภัยทำให้โรงงานหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงจำเป็นต้องลงทุนเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมโรงงานและเครื่องจักรเพื่อให้กลับมาผลิตได้อย่างเดิมในช่วงต้นปี และยังมีแรงสนับสนุนจากการเตรียมความพร้อมเพื่อรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่กำลังใกล้เข้ามาซึ่งภาคเอกชนจะต้องเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับโอกาสในการขยายธุรกิจ สิ่งเหล่านี้ทำให้แนวโน้มการลงทุนของภาคเอกชนยังอยู่ในทิศทางที่จะเติบโตต่อเนื่อง
นอกจากนี้ การส่งออกและนำเข้า เป็นส่วนที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ไทยได้ปรับตัวไว้รับการชะลอตัวของเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมาระยะหนึ่งด้วยการพึ่งพาการส่ง ออกไปยังกลุ่มอาเซียนและประเทศจีนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สินค้าส่งออกของไทยจำนวนไม่น้อยเป็นสินค้ากลุ่มอาหารจึงจะได้รับผลกระทบที่จำกัดเพราะเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน
ดังนั้นในปีนี้ จึงเป็นอีกปีที่นักลงทุนจะพบกับความผันผวนอย่างมากของตลาดจากความไม่แน่นอนของโลก โดยจะมีข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มยูโร และตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อาจจะรักษาระดับการขยายตัวไว้ไม่ได้
อย่างไรก็ดี ในช่วงต้นปีนี้ภาคเอกชนไทยยังอยู่ในช่วงของการฟื้นฟูบูรณะในขณะที่ภาครัฐกำลังจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนเรื่องโครงการลงทุนขนาดใหญ่และแผนป้องกันอุทกภัยในอนาคตซึ่งต้องเห็นผลชัดเจนก่อนเข้าฤดูฝนในปีนี้ และในครึ่งปีหลังจะเป็นช่วงที่ภาคอุตสาหกรรมกลับมาผลิตเต็มกำลังอีกครั้งหนึ่งซึ่งจะส่งผลให้ปีนี้เติบโตอย่างโดดเด่นใน ช่วงหลังของปี และในเมื่อการลงทุนของภาครัฐจะเป็นกุญแจสำคัญที่สุดของความสำเร็จ การเมืองจึงเป็นปัจจัยที่ต้องจับตามอง เพราะหากเกิดรุนแรงและชะงักงันขึ้นมา ก็จะกระทบต่อบรรยากาศของการลงทุนในปีนี้ได้มาก
สำหรับในช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานโดดเด่น สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ลงทุนได้ โดยเฉพาะกองทุนรวมที่มีส่วนผสมการลงทุนในหุ้น ทั้งกองทุนหุ้นทั่วไป กองทุนผสม กองทุนรวมหุ้นระยะยาว กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่เป็นกองทุนหุ้น กองทุนผสม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเกณฑ์มาตรฐานกองทุนหุ้น หรือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยติดลบ 0.72% แต่ กองทุนบัวหลวงธนคม สามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ถึง 16.90% และ กองทุนบัวหลวงร่วมทุน บัวหลวงทศพล บัวแก้ว2 ทรัพย์บัวหลวง บัวแก้ว และ บัวแก้วปันผล ให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ระหว่าง 13.37% - 14.95%
ขณที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อย่างกองทุนบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ สามารถให้ผลตอบแทนได้โดดเด่นที่สุดในกลุ่มกองทุน RMF หุ้นในประเทศในรอบปีที่ผ่านมา ด้วยผลตอบแทนเป็นบวก 15.18% ในขณะที่ บัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ และ บัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ ก็สามารถให้ผลตอบแทนในกลุ่ม RMFแบบผสม ในช่วงดังกล่าวได้เป็นบวกถึง 14.43% และ 6.59% ตามลำดับ
ด้านกองทุนรวมหุ้นระยะยาวของ บลจ.บัวหลวง 2 กองทุนก็ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนได้อย่างน่าพอใจที่สุด โดย บัวหลวงหุ้นระยะยาว และ บัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 ให้ผลตอบแทนกับผู้ลงทุนในปี 2554 เป็นบวกได้ถึง 14.94% และ 12.78% ตามลำดับ
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า มุมมองต่อการลงทุนในปีนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะยังคงเต็มไปด้วยความเสี่ยงด้วยแนวโน้มการเติบโต เนื่องจากสหรัฐอเมริกายังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันยังมีความเสี่ยงสูงที่ยุโรปจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวในระยะยาว เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มยูโรที่ยังไม่มีแนวทางแก้ไขปัญหาที่ให้ความเชื่อมั่นต่อตลาดได้ ดังนั้น จึงคาดได้ว่าปัจจัยภายนอกจะยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่สร้างความไม่แน่นอนและอาจส่งผลลบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ไปได้ตลอดปี
อย่างไรก็ตาม ในไทยยังมีปัจจัยภายในประเทศที่จะช่วยหนุนการเติบโตและช่วยทดแทนการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่จะได้รับผลลบจากปัจจัยภายนอกประเทศ ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตประมาณ 4% - 5% ด้วยองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ การบริโภคภายในประเทศ ที่มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากนโยบายภาครัฐต่างๆ และการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23
ขณะเดียวกันด้านการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน เนื่องจากมหาอุทกภัยทำให้โรงงานหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงจำเป็นต้องลงทุนเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมโรงงานและเครื่องจักรเพื่อให้กลับมาผลิตได้อย่างเดิมในช่วงต้นปี และยังมีแรงสนับสนุนจากการเตรียมความพร้อมเพื่อรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่กำลังใกล้เข้ามาซึ่งภาคเอกชนจะต้องเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับโอกาสในการขยายธุรกิจ สิ่งเหล่านี้ทำให้แนวโน้มการลงทุนของภาคเอกชนยังอยู่ในทิศทางที่จะเติบโตต่อเนื่อง
นอกจากนี้ การส่งออกและนำเข้า เป็นส่วนที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ไทยได้ปรับตัวไว้รับการชะลอตัวของเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมาระยะหนึ่งด้วยการพึ่งพาการส่ง ออกไปยังกลุ่มอาเซียนและประเทศจีนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สินค้าส่งออกของไทยจำนวนไม่น้อยเป็นสินค้ากลุ่มอาหารจึงจะได้รับผลกระทบที่จำกัดเพราะเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน
ดังนั้นในปีนี้ จึงเป็นอีกปีที่นักลงทุนจะพบกับความผันผวนอย่างมากของตลาดจากความไม่แน่นอนของโลก โดยจะมีข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มยูโร และตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อาจจะรักษาระดับการขยายตัวไว้ไม่ได้
อย่างไรก็ดี ในช่วงต้นปีนี้ภาคเอกชนไทยยังอยู่ในช่วงของการฟื้นฟูบูรณะในขณะที่ภาครัฐกำลังจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนเรื่องโครงการลงทุนขนาดใหญ่และแผนป้องกันอุทกภัยในอนาคตซึ่งต้องเห็นผลชัดเจนก่อนเข้าฤดูฝนในปีนี้ และในครึ่งปีหลังจะเป็นช่วงที่ภาคอุตสาหกรรมกลับมาผลิตเต็มกำลังอีกครั้งหนึ่งซึ่งจะส่งผลให้ปีนี้เติบโตอย่างโดดเด่นใน ช่วงหลังของปี และในเมื่อการลงทุนของภาครัฐจะเป็นกุญแจสำคัญที่สุดของความสำเร็จ การเมืองจึงเป็นปัจจัยที่ต้องจับตามอง เพราะหากเกิดรุนแรงและชะงักงันขึ้นมา ก็จะกระทบต่อบรรยากาศของการลงทุนในปีนี้ได้มาก
สำหรับในช่วงปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานโดดเด่น สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ลงทุนได้ โดยเฉพาะกองทุนรวมที่มีส่วนผสมการลงทุนในหุ้น ทั้งกองทุนหุ้นทั่วไป กองทุนผสม กองทุนรวมหุ้นระยะยาว กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่เป็นกองทุนหุ้น กองทุนผสม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเกณฑ์มาตรฐานกองทุนหุ้น หรือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยติดลบ 0.72% แต่ กองทุนบัวหลวงธนคม สามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ถึง 16.90% และ กองทุนบัวหลวงร่วมทุน บัวหลวงทศพล บัวแก้ว2 ทรัพย์บัวหลวง บัวแก้ว และ บัวแก้วปันผล ให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ระหว่าง 13.37% - 14.95%
ขณที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อย่างกองทุนบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ สามารถให้ผลตอบแทนได้โดดเด่นที่สุดในกลุ่มกองทุน RMF หุ้นในประเทศในรอบปีที่ผ่านมา ด้วยผลตอบแทนเป็นบวก 15.18% ในขณะที่ บัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ และ บัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ ก็สามารถให้ผลตอบแทนในกลุ่ม RMFแบบผสม ในช่วงดังกล่าวได้เป็นบวกถึง 14.43% และ 6.59% ตามลำดับ
ด้านกองทุนรวมหุ้นระยะยาวของ บลจ.บัวหลวง 2 กองทุนก็ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนได้อย่างน่าพอใจที่สุด โดย บัวหลวงหุ้นระยะยาว และ บัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 ให้ผลตอบแทนกับผู้ลงทุนในปี 2554 เป็นบวกได้ถึง 14.94% และ 12.78% ตามลำดับ