ในช่วงปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมกองทุนรวมไม่ค่อยเติบโตมากนัก เพราะมีการแข่งขันการมากขึ้นระหว่าง เงินฝากธนาคารและประกันชีวิต สำหรับในปีนี้แนวโน้มอุตสาหกรรมกองทุนจะมีการแข่งขันกันมากขึ้นและน่าจะมีการเติบโตมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่หลาย บลจ. เองต่างแข่งขันกันเป็นพิเศษ เพื่อแย่งชิงกลุ่มลูกค้ากัน
**อนุสรณ์ บูรณกานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล บริษัทในกลุ่มซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย)** บอกว่า แผนการดำเนินงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปี 2555 นี้ บริษัทตั้งเป้าเติบโตเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3,000 - 4,000 ล้านบาท จากปีก่อนหน้านี้มีอยู่ประมาณ 8,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นพรินซิเพิลที่สหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทที่ใหญ่มาก ในธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกว่า 10 ล้านล้านบาท อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากมาย ทำให้เราในปีหน้าจะมีการบุกธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน จะเห็นได้ว่าในเมืองไทยยังให้ความสำคัญในส่วนนี้น้อยมาก ขณะเดียวกันในเรื่องของผลตอบแทนก็ค่อนข้างต่ำ ลักษณะการลงทุนมีอยู่ 2 - 3 รูปแบบเท่านั้น ดังนั้นบริษัทจึงให้ความสำคัญกับช่วงวัยเกษียณอายุที่จะสามารถลงทุนได้ต่อ แต่ต้องดูในเรื่องของสภาพคล่องและเรื่องของภาษีด้วย เพราะในช่วงหลังอายุ 60 ปี ไปแล้วลูกค้ากลุ่มนี้อาจจะไม่สามารถลงทุนที่เสี่ยงได้มากนัก
“ในช่วง 2 - 3 ปี ข้างหน้านี้การลงทุนในประกันชีวิตกับกองทุนรวมจะรวมกันเป็นรูปแบบของการลงทุน 1 เดียว หรือเป็นการลงทุนร่วมกันในอินชัวร์รัน โดยโปรดักซ์จะเป็นแบบผสมรวมกันหมด ดังนั้นที่ผ่านมาตลาดของคนที่เกษียณอายุหลัง 60 ปีเริ่มมีมากขึ้นจากการโฆษณาของบริษัทประกันต่าง ๆ เพราะบริษัทประกันเห็นว่าคนแก่ก็มีกำลังในการลงทุน ดังนั้นเราจึงเริ่มให้ความสำคัญ”
ส่วนกองทุนส่วนบุคคลในปี2555 จะมีการขยายเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้บริษัทเริ่มเข้าไปเปิดตัวกับสถาบันทางการเงินก่อนเป็นหลัก และค่อยขยายไปสู่นักลงทุนรายย่อยต่อไป นอกจากนี้ในเรื่องของผลตอบแทนบริษัทฯยังคงเน้นให้ความสม่ำเสมอ รวมถึงในเรื่องของความปลอดภัย
นายอนุสรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รูปแบบของบริษัทจะมีให้นักลงทุนเลือกเข้ามาลงทุนได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งรูปแบบการลงทุนแบบนี้จะมีอีก 2 บลจ.ที่ใช้อยู่เท่านั้น ได้แก่ บลจ. ทหารไทย และบลจ.ฟินันซ่า ซึ่ง ณ วันนี้การลงทุนแบบนี้น่าจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่จะมารุกตลาดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ นอกจากนี้แล้วในส่วนของการแข่งขันธุรกิจกองทุนมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น โดยในปีหน้าบริษัทจะให้ความสำคัญในเรื่องของบริการที่ดีกับลูกค้า
ด้าน บลจ. ทหารไทย ไม่น้อยหน้า ทำทัพโดย กรรมการผู้จัดการ อย่าง สมจินต์ ศรไพศาล บอกว่า แผนงานในปีนี้ธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่บริษัทคาดว่าจะมีการเติบโตค่อนข้างสูง ด้วยระบบการลงทุนทางเลือก (Employees Choice) ที่มีประสิทธิภาพของบริษัท ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทที่พนักงานเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการลงทุนค่อนข้างดี และตระหนักว่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินออมระยะยาวเพื่อการเกษียณที่จำเป็นต้องบริหารจัดการให้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการบริหารจัดการจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มีเครื่องมือ หรือทางเลือกการลงทุนให้สมาชิกเลือกลงทุน
ปัจจุบันกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทส่วนใหญ่เป็น Employees Choices และบริษัทเชื่อว่า บริษัทที่มีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจการลงทุนที่มาเลือกใช้บริการกับบริษัท จะทำให้ชื่อเสียงในธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทได้รับการบอกกล่าวต่อไปเอง และจะทำให้มีลูกค้าสนใจเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
สมจินต์ ยังต่อถึงแนวโน้มของ กองทุน สำรองเลี้ยงชีพด้วยว่า ในปีนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเป็นธุรกิจของบริษัทที่น่าจะเติบโตขึ้นด้วยระบบ Employee choice ซึ่งเป็นระบบที่ดีที่สุดที่บลจ.ทหารไทยมีและได้รับความไว้วางใจ จากบริษัทต่างๆ ขณะเดียวกันลูกจ้างในบริษัทก็เป็นกลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนที่มากที่สุด ดังนั้น เชื่อว่าในอนาคตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเติบโตขึ้นได้
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือ การมีสมาชิกคณะกรรมการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีความเข้าใจในการลงทุนในกองทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตอบวัตถุประสงค์ของการลงทุนในยามเกษียณอายุ
“เชื่อว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเป็นแกนหลักในการใช้เงินในยามเกษียณอายุซึ่งสมาชิกสามารถดูแลพอร์ตการลงทุนของตนเองได้ ดังนั้นบริษัทจึงเชื่อมั่นในความรู้ความเข้าใจของนักลงทุนและระบบ Employee choice บลจ. ทหารไทยเอง” สมจินต์ กล่าว
**อนุสรณ์ บูรณกานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล บริษัทในกลุ่มซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย)** บอกว่า แผนการดำเนินงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปี 2555 นี้ บริษัทตั้งเป้าเติบโตเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3,000 - 4,000 ล้านบาท จากปีก่อนหน้านี้มีอยู่ประมาณ 8,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นพรินซิเพิลที่สหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทที่ใหญ่มาก ในธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกว่า 10 ล้านล้านบาท อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากมาย ทำให้เราในปีหน้าจะมีการบุกธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน จะเห็นได้ว่าในเมืองไทยยังให้ความสำคัญในส่วนนี้น้อยมาก ขณะเดียวกันในเรื่องของผลตอบแทนก็ค่อนข้างต่ำ ลักษณะการลงทุนมีอยู่ 2 - 3 รูปแบบเท่านั้น ดังนั้นบริษัทจึงให้ความสำคัญกับช่วงวัยเกษียณอายุที่จะสามารถลงทุนได้ต่อ แต่ต้องดูในเรื่องของสภาพคล่องและเรื่องของภาษีด้วย เพราะในช่วงหลังอายุ 60 ปี ไปแล้วลูกค้ากลุ่มนี้อาจจะไม่สามารถลงทุนที่เสี่ยงได้มากนัก
“ในช่วง 2 - 3 ปี ข้างหน้านี้การลงทุนในประกันชีวิตกับกองทุนรวมจะรวมกันเป็นรูปแบบของการลงทุน 1 เดียว หรือเป็นการลงทุนร่วมกันในอินชัวร์รัน โดยโปรดักซ์จะเป็นแบบผสมรวมกันหมด ดังนั้นที่ผ่านมาตลาดของคนที่เกษียณอายุหลัง 60 ปีเริ่มมีมากขึ้นจากการโฆษณาของบริษัทประกันต่าง ๆ เพราะบริษัทประกันเห็นว่าคนแก่ก็มีกำลังในการลงทุน ดังนั้นเราจึงเริ่มให้ความสำคัญ”
ส่วนกองทุนส่วนบุคคลในปี2555 จะมีการขยายเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้บริษัทเริ่มเข้าไปเปิดตัวกับสถาบันทางการเงินก่อนเป็นหลัก และค่อยขยายไปสู่นักลงทุนรายย่อยต่อไป นอกจากนี้ในเรื่องของผลตอบแทนบริษัทฯยังคงเน้นให้ความสม่ำเสมอ รวมถึงในเรื่องของความปลอดภัย
นายอนุสรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รูปแบบของบริษัทจะมีให้นักลงทุนเลือกเข้ามาลงทุนได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งรูปแบบการลงทุนแบบนี้จะมีอีก 2 บลจ.ที่ใช้อยู่เท่านั้น ได้แก่ บลจ. ทหารไทย และบลจ.ฟินันซ่า ซึ่ง ณ วันนี้การลงทุนแบบนี้น่าจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่จะมารุกตลาดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ นอกจากนี้แล้วในส่วนของการแข่งขันธุรกิจกองทุนมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น โดยในปีหน้าบริษัทจะให้ความสำคัญในเรื่องของบริการที่ดีกับลูกค้า
ด้าน บลจ. ทหารไทย ไม่น้อยหน้า ทำทัพโดย กรรมการผู้จัดการ อย่าง สมจินต์ ศรไพศาล บอกว่า แผนงานในปีนี้ธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่บริษัทคาดว่าจะมีการเติบโตค่อนข้างสูง ด้วยระบบการลงทุนทางเลือก (Employees Choice) ที่มีประสิทธิภาพของบริษัท ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทที่พนักงานเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการลงทุนค่อนข้างดี และตระหนักว่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินออมระยะยาวเพื่อการเกษียณที่จำเป็นต้องบริหารจัดการให้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการบริหารจัดการจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มีเครื่องมือ หรือทางเลือกการลงทุนให้สมาชิกเลือกลงทุน
ปัจจุบันกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทส่วนใหญ่เป็น Employees Choices และบริษัทเชื่อว่า บริษัทที่มีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจการลงทุนที่มาเลือกใช้บริการกับบริษัท จะทำให้ชื่อเสียงในธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทได้รับการบอกกล่าวต่อไปเอง และจะทำให้มีลูกค้าสนใจเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
สมจินต์ ยังต่อถึงแนวโน้มของ กองทุน สำรองเลี้ยงชีพด้วยว่า ในปีนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเป็นธุรกิจของบริษัทที่น่าจะเติบโตขึ้นด้วยระบบ Employee choice ซึ่งเป็นระบบที่ดีที่สุดที่บลจ.ทหารไทยมีและได้รับความไว้วางใจ จากบริษัทต่างๆ ขณะเดียวกันลูกจ้างในบริษัทก็เป็นกลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนที่มากที่สุด ดังนั้น เชื่อว่าในอนาคตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเติบโตขึ้นได้
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือ การมีสมาชิกคณะกรรมการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีความเข้าใจในการลงทุนในกองทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตอบวัตถุประสงค์ของการลงทุนในยามเกษียณอายุ
“เชื่อว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเป็นแกนหลักในการใช้เงินในยามเกษียณอายุซึ่งสมาชิกสามารถดูแลพอร์ตการลงทุนของตนเองได้ ดังนั้นบริษัทจึงเชื่อมั่นในความรู้ความเข้าใจของนักลงทุนและระบบ Employee choice บลจ. ทหารไทยเอง” สมจินต์ กล่าว